วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2567

อิตาลียืนยันการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 และ Eurofighter Typhoon เพิ่มเติม

Italy confirms additional F-35s, Eurofighters



With 90 F-35s on order, Italy is upping its procurement of the type for a final fleet of 115 aircraft. (Italian Air Force, Italian Navy)




The Italian Air Force 26 early model Tranche 1 Eurofighters are to be replaced by 24 of the latest standard Tranche 4/4+. (Italian Air Force)

อิตาลีจะเพิ่มเติมฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighters(JSF)(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/f-35a-fort-worth.html)
และเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/eurofighter-typhoon-24.html) ของตน โดยการยืนยันการจัดซื้อจัดจ้างของเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบเพิ่มเติม

รายการในเอกสารการวางแผนหลายปี(multi-year planning document, DPP: Documento Programmatico Pluriennale) ประจำปี 2024-2026 ที่ Janes ได้เห็นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2024
แผนจะเห็นฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-35 ของกองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, AMI: Aeronautica Militare Italiana) และกองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, MMI: Marina Militare Italiana) เพิ่มจำนวนที่ที่ทำสัญญาไว้แล้ว 90เครื่องเป็น 115เครื่องตลอดทั้งสองเหล่าทัพ

ขณะนี้เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 รุ่นแรกจำนวน 26เครื่อง(กำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F-2000 ในประจำการกองทัพอากาศอิตาลี) จะถูกทดแทนโดยเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 4/4+ มาตรฐานล่าสุดจำนวน 24เครื่อง
"ในความสอดคล้องกับแนวทางทางการเมืองที่มุ่งเป้าที่การทำให้ตรงความต้องการการปฏิบัติการของกองทัพอิตาลี การเปิดตัวของระยะที่3(Phase 3 ของหลากหลายแผนการจัดซื้อจัดจ้าง F-35 ของอิตาลีที่เริ่มต้นในปี 2009)"

"จะได้รับการดำเนินการสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 เพิ่มเติมจำนวน 25เครื่อง(ความต้องการงบประมาณรวมทั้งหมดประมาณ 7 billion Euros($7.8 billion)) และเครื่องยนต์, สิ่งอุปกรณ์, การปรับปรุงเป็นระยะต่างๆ, และการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงที่เกี่ยวข้อง 
ทำให้จำนวนเครื่องบินในฝูงบินของอิตาลีทั้งหมดเป็น 115เครื่อง" เอกสารการวางแผนหลายปี DPP ของแผนการเพิ่มจำนวนเครื่องบินขับไล่ F-35 กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/f-35-lightning-ii.html)

"โครงการได้รับ(การจัดสรรงบประมาณ)ที่จำเป็นที่วงเงิน 6.9 billion Euros (สำหรับ)การผลิต...ของเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 4 ใหม่จำนวน 24เครื่อง ซึ่งจะทดแทนเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 จำนวน 26เครื่อง ที่ซึ่งการปลดประจำการคาดว่าจะมีขึ้นภายในปี 2029
กฤษฎีกากระทรวง(Ministerial Decree) ใหม่ได้รับการจัดทำขึ้นแล้ว อันเป็นกระบวนการทางการอนุมัติซึ่งกำลังอยู่ในการดำเนินการ" เอกสาร DPP กล่าวในส่วนการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/amx.html)

เครื่องบินขับไล่ F-35 ทั้ง 90เครื่องของอิตาลีที่ได้รับการสั่งจัดหาแล้วก่อนหน้าประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing) ของกองทัพอากาศอิตาลีจำนวน 60เครื่อง
และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) จำนวน 30เครื่อง แบ่งเป็นของกองทัพอากาศอิตาลีจำนวน 15เครื่อง และกองทัพเรืออิตาลีจำนวน 15เครื่อง

ขณะที่ฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 จำนวน 26เครื่องของกองทัพอากาศอิตาลี แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว F-2000A Typhoon จำนวน 16เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง TF-2000A Typhoon จำนวน 10เครื่อง
กองทัพอากาศอิตาลียังเตรียมการที่จะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่โจมตี Panavia Tornado IDS(Interdiction Strike) จำนวน 36เครื่อง และเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีสงคราม electronic แบบ Tornado ECR(Electronic Combat Reconnaissance) จำนวน 16เครื่องของตนครับ

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศอินโดนีเซียสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึก H145 เยอรมนี 4เครื่อง

Indonesian Air Force orders four Airbus H145 helicopters





A German Army Airbus H145M helicopter seen here at ILA 2024. Indonesia has ordered four units of the five-bladed variant of the aircraft for its air force training requirements. (Airbus)

บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปได้รับสัญญาที่จัดส่งเฮลิคอปเตอร์ H145 รุ่นห้ากลีบใบพัดจำนวน 4เครื่องแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
บริษัท Airbus Helicopters ประกาศเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/h145m-6.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/12/h145m-62.html)

ภายใต้สัญญา บริษัท Airbus Helicopters จะส่งมอบโครงสร้างอากาศยาน(airframe) ของเฮลิคอปเตอร์ H145 แก่ PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซีย
การส่งมอบโครงสร้างอากาศยานกึ่งประกอบเสร็จจะมีขึ้น ณ โรงงานอากาศยานของ PTDI อินโดนีเซียในนคร Bandung ในเกาะ West Java ที่ซึ่ง PTDI จะดำเนินการประกอบใหม่, ปรับแต่ง และบูรณาการอุปกรณ์ภารกิจสำหรับเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 4เครื่อง

ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลค่าวงเงินของสัญญาหรือกำหนดการส่งมอบที่ถูกคาดการณ์ไว้ได้รับการเปิดเผยออกมา(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/tiger-uht-h145m.html)
H145 เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบาสองเครื่องยนต์ที่สามารถบรรทุกนักบินประจำเครื่องได้ 2นาย และผู้โดยสารจำนวน 9คน ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูปแบบการจัดวางภายในตัวเครื่อง

เฮลิคอปเตอร์ H145 มีโครงสร้างลำตัว(fuselage) ที่มีความยาวประมาณ 6.2m และเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดประธานที่ประมาณ 11m รุ่นพื้นฐานของเฮลิคอปเตอรมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) ที่ราว 3,585kg
แต่จากรายละเอียดต่างๆที่ถูกมอบให้โดยบริษัท Airbus Helicopters ในการประกาศของตนเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2024 รุ่นที่จะส่งมอบให้อินโดนีเซียมีการบรรทุกที่ใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นอีก 150kg จากการมีรูปแบบใบพัดประธาน 5กลีบ

เฮลิคอปเตอร์ H145 จะถูกใช้สำหรับการฝึกและการปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิต(SAR: Search-and-Rescue) ขนาดเบา Airbus Helicopters เสริม(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/hadr.html)
"เรารู้สึกเป็นเกียรติโดยการเลือกของอินโดนีเซียของเฮลิคอปเตอร์ Airbus H145 เครื่องแรกของประเทศสำหรับฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ฝึกใหม่ของตน" Vincent Dubrule หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกของบริษัท Airbus Helicopters กล่าว

"เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจโดยกองทัพอากาศอินโดนีเซียผ่านคำสั่งจัดหาของตนของเฮลิคอปเตอร์ H145 ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงความทันสมัยการฝึกของตน" Gita Amperiawan ประธานผู้อำนวยการ PTDI อินโดนีเซียกล่าว
การลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H145 ได้มีขึ้นระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Bali International Airshow 2024 ที่จัดขึ้น ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ Ngurah Rai ในเกาะ Bali อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 กันยายน 2024 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567

Chaiseri ไทยเสร็จสิ้นการส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ใหม่ ๗คันแก่นาวิกโยธินไทย


Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. completed the delivery its all 7 of new AWAV (Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 for Royal Thai Marine Corps (RTMC) to Royal Thai Navy (RTN) in September 2024.
Chaiseri is winner of new 7 of Eight-wheel drive (8x8) Amphibious Armored Personnel Carrier for 448,000,000 Bath ($12,918,115) for RTMC on 3 August 2023, around year to complete the contract. (Defense Info TH via Chaiseri, Champp HelimanModels)

ให้โลกทั้งหลายเขาลือ ว่าตัวเราคือ "ทหารเรือไทย" (ซ้อมพิธีย่ำพระสุริย์ศรี)

ครบเซ็ต เข้าประจำการ

AWAV8x8 ทั้ง7คันของบริษัทชัยเสรี ที่ทำการส่งมอบให้กับกองทัพเรือครบแล้ว ภายในกรอบระยะเวลา1ปีตามข้อสัญญา

AWAV 8x8 ขณะเข้าพื้นที่การทดสอบของกองทัพเรือจากด้านบนจะเห็นตำแหน่งของป้อมปืนประจำรถ และเครื่องยิงระเบิดควันขนาด76มม.จำนวน8ท่อยิง

ก่อนการส่งมอบ AWAV8x8ทุกคันต้องผ่านการทดสอบวิ่งในสภาพท้องถนนอย่างต่อเนื่อง ในระยะทาง 200 กิโลเมตร

การวิ่งทดสอบในสภาพภูมิประเทศ ในพื้นที่การทดสอบของหน่วยนาวิกโยธิน เพื่อทำการสอบการวิ่งผ่านสิ่งกีดขวางตามข้อกำหนดของคณะกรรมการตรวจรับของกองทัพเรือ

แม้จะเป็นรถเกราะขนาดใหญ่ แต่AWAV 8x8 ก็สามารทำการวิ่งไต่พื้นที่สูงชันได้ถึง60องศาได้ตามข้อกำหนด

คุณลักษณะตามข้อกำหนดของยานสะเทินน้ำ สะเทินบก AWAV8x8 จึงสามารทำการขับเคลื่อนได้ทั้งในน้ำและพื้นที่ชายหาดได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัด

เมื่อขับเคลื่อนในทะเล AWAV8x8จะใช้เครื่องวอเตอร์เจ็ตกำลังสูง จากการออกแบบของทีมวิศวกรชัยเสรี รูปทรงของตัวรถจึงสามารถขับเคลื่อนในทะเลได้อย่างมีเสถียรภาพ สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกับรถสายพานสะเทินน้ำ สะเทินบก แบบAAV-7A1

AWAV 8x8สามารขับขึ้นสู่หัวหาดได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนโหมดการขับเคลื่อน

การยิงทดสอบป้อมปืนแบบรีโมทคอนโทรล ควบคุมการยิงจากภายในตัวรถ แบบการ์เดี้ยน1.5 ของบริษัทEM&Eจากสเปน ในการทดสอบการยิงของป้อมปืนประจำรถทุกคัน มีอัตราความแม่นยำในการยิงปืนกลขนาด 12.7มม.เข้าเป้าหมายเฉลี่ยมากกว่า 90%

ในการทดสอบการยิงของรถทั้ง7คัน มีทั้งการจอดยิงและยิงต่อเนื่องขณะตัวรถเคลื่อนที่ และเป้าเคลื่อนที่

บริษัทชัยเสรี  ส่งมอบรถเกราะสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก 8ล้อ ให้กองทัพเรือ
หลังจากบริษัทชัยเสรี เม็ททอลแอนด์รับเบอร์ ได้รับสัญญาการสั่งซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ชนิดลำเลียงพล จำนวน7คันจากกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2566 ทางบริษัทได้ทำการผลิตและส่งมอบรถทั้ง7คันให้กับกองทัพเรือเป็นที่เรียบร้อย ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาตามข้อกำหนดในสัญญา
AWAV (Armored Wheel Amphibious Vehicle) 8x8  เป็นรถเกราะล้อยาง8ล้อ สามารถลำเลียงกำลังพลพร้อมอุปกรณ์ได้ 11นาย (ไม่นับรวมพลประจำรถ3นาย)  มีขีดความสามารถขับเคลื่อนได้ทั้งบนบกและในทะเล  ทำความเร็วบนท้องถนนได้ที่105กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ด้วยเครื่องยนต์ขนาด711แรงม้า  
สามารถปรับแต่งรูปแบบการขับเคลื่อนให้เหมาะกับสภาพภูมิประเทศได้อย่างหลากหลาย  การขับเคลื่อนในทะเลด้วยชุดวอเตอร์เจ็ตกำลังสูง2ชุด ที่สามารถทำความเร็วในทะเลได้ 10กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามความต้องการของกองทัพเรือ
ก่อนการส่งมอบ AWAV ทั้ง7คัน ได้ผ่านขั้นตอนการทดสอบของคณะตรวจรับของกองทัพเรือในทุกขั้นตอน  อาทิ การวิ่งทดสอบต่อเนื่องบนถนน ระยะทาง200 กิโลเมตร การขับเคลื่อนในทะเล ต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง การวิ่งทดสอบในสภาพภูมิประเทศ ตั้งแต่การวิ่งข้ามพื้นที่มีสิ่งกีดขวางไปจนถึง การวิ่งไต่พื้นที่ลาดชัน  
แม้AWAVจะเป็นยานยนต์ขนาดใหญ่แต่ก็สามารถทำการวิ่งไต่พื้นที่สูงชันที่60องศาได้ตามเกณฑ์สมรรถนะที่กองทัพเรือได้กำหนดไว้ได้ รวมไปถึงการทดสอบระบบป้อมปืนควบคุมจากในตัวรถ ที่ทำการทดสอบยิงในรูปแบบต่างๆโดยได้ค่าเฉลี่ยความแม่นยำในการยิงเข้าเป้าหมายได้มากกว่า90เปอร์เซ็นต์
AVAV8x8  ทั้ง7คัน จะถูกนำเข้าประจำการในกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน (พัน รนบ.)  เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับรถสายพานAAVP-7A1 นับเป็นยุทธยานยนต์แบบล่าสุดที่ออกแบบและผลิตในประเทศ ที่ได้เข้าประจำการในกองทัพไทย

บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทยได้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV(Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 ใหม่จำนวน ๗คันของตนสำหรับนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) แก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) แล้วในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) นี้
บริษัท Chaiseri ไทยเป็นผู้ชนะโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง(8x8) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๗ คัน โดยวิธีคัดเลือก วงเงิน ๔๔๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($12,918,115) ราคาต่อหน่วยคันละ ๖๔,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,845,445) ที่ประกาศเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) การพัฒนา สร้าง ทดสอบ และส่งมอบรถได้เสร็จสิ้นตามสัญญาภายในราวหนึ่งปี(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/chaiseri-awav-8x8.html)

ตามข้อมูลจาก Chaiseri ไทย รถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 มีความยาว 9.2m กว้าง 3.1m และสูง 3m ตัวรถมีน้ำหนักที่ 23.2tonnes ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 711hp ทำความเร็วได้สูงสุด 105km/h บนบกและในน้ำที่ 10km/h และมีพิสัยทำการรบที่ 600km สามารถรองรับการบรรทุกกำลังพลได้ ๑๑นาย บวกพลประจำรถ ๓นาย(พลยิง, ผู้บังคับรถ และพลขับ) 
ระบบอาวุธที่ติดตั้งคือป้อมปืน remote(RWS: Remote Weapon Station) แบบ Guardian 1.5 จากบริษัท Escribano Mechanical and Engineering(EM&E) สเปน พร้อมปืนกลหนักขนาด 12.7mm และเครื่องยิงลูกระเบิดควันขนาด 76mm ตามรถต้นแบบแรกที่เปิดตัวในงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-chaiseri-awav-8x8.html)

รถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ทั้ง ๗คันที่ถูกนำเข้าประจำการในกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย.(Marine Assault Amphibian Vehicle Battalion, Marine Division) ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากรถต้นแบบแรกในหลายจุดรวมถึงส่วนหน้าหัวรถที่ออกแบบให้เหมาะสมกับการปฏิบัติการในทะเลและพื้นที่หัวหาดที่กันไม่ให้เลนและทรายฟุ้งกระจายขึ้นมายังด้านท้ายรถ
ตำแหน่งสถานีพลขับติดกระจกกันกระสุนปืนเล็กยาวขนาดใหญ่ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการให้มุมมองที่สร้างความมั่นใจแก่พลขับในการขับเคลื่อนบนบกและในทะเล รถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 จะถูกนำมาใช้เคียงข้างไปกับรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS ของกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก พัน.รนบ.พล.นย.ที่ปรับปรุงความทันสมัยโดย Chaiseri ไทยเช่นกัน

ตามที่การออกแบบรถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ได้มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะใกล้เคียงกับรถสะเทินน้ำสะเทินบกลำเลียงพล AAVP7A1 ซึ่งจะปฏิบัติการจากเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย(LPD: landing platform dock)ของกองทัพเรือไทยคือ เรือหลวงอ่างทอง และเรือหลวงช้าง ร่วมกับ รนบ.AAV7A1 และยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chaiseri-8x8.html)
นอกจากวีดิทัศน์สั้นบน TikTok ที่เผยแพร่โดยบัญชีที่น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือไทยของการทดสอบรถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ยังมี clip การซ้อมสวนสนามพิธีย่ำพระสุริย์ศรี(sunset ceremony) ในโอกาสอำลาชีวิตราชการของกำลังพลกองทัพเรือที่จะเกษียณในส่วนของนาวิกโยธินไทยที่จะมีขึ้นในสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๖๗ นี้ที่ได้เห็นรถเกราะ AWAV 8x8 ร่วมการสวนสนามยานยนต์ด้วยครับ

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รับมอบเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab GlobalEye สวีเดนเครื่องสุดท้ายครบ 5เครื่อง

UAE receives final GlobalEye AEW&C aircraft




A file photo of a GlobalEye AEW&C platform in UAE service, accompanied by a pair of national F-16 fighters. The emirate has now received all five of the platforms it ordered from Saab. (Ministry of Defence of the United Arab Emirates)

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates) ได้รับมอบเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab GlobalEye AEW&C(Airborne Early Warning and Control) เครื่องที่ห้าและเครื่องสุดท้ายของตนแล้ว 
บริษัท Saab สวีเดนผู้ผลิตประกาศเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2024 โดยได้รับลงนามสัญญาระยะแรกจำนวน 3เครื่องภายใต้โครงการระบบตรวจการณ์ปรับเปลี่ยนบทบาท(SRSS: Swing Role Surveillance System) ในปี 2015

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้สั่งจัดหาเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab GlobalEye AEW&C เพิ่มเติมอีก 2เครื่องในปลายเดือนธันวาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/saab-globaleye-2.html)
การส่งมอบเครื่องสุดท้ายของระบบที่มีพื้นฐานติดตั้งกับเครื่องบินโดยสารทางธุรกิจไอพ่น Bombardier Global 6000 แคนาดา ที่ได้รับสัญญาแก่กองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAEAF&D: United Arab Emirates Air Force and Defence) ภายใต้โครงการ SRSS

มีขึ้นตามมาราว 4ปี 6เดือนหลังจากเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab GlobalEye AEW&C เครื่องแรกถูกส่งมอบในปลายเดือนเมษายน 2024(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/saab-globaleye.html)
เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ GlobalEye ทั้ง 5เครื่องมีกำหนดที่จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ภายในสิ้นปี 2025 หมายความว่าสัญญาได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ก่อนหน้ากำหนดการ

ระบบควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ GlobalEye ถูกสร้างจากพื้นฐาน radar แบบ Saab Erieye ER(Extended Range) ย่านความถี่ S-band(2-4 GHz) ยังคงใช้จานสัญญาณ Radar ทรง 'แท่งแผ่นกระดาน' หนอกบนหลังภายนอกเครื่องเช่นเดียวกับระบบ Erieye ดั้งเดิมของบริษัท Saab
ติดตั้งด้วย Gallium Nitride(GaN) และวิทยาการต่างๆอื่นๆ Erieye ER เป็นระบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ที่มีประสิทธิภาพพลังงานเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ Erieye radar รุ่นก่อน(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/globaleye.html)

Erieye ER มีระยะการทำงานของ radar ที่มากกว่า 650km ตามที่โดย AESA radar ทั้งหมดสามารถเพิ่มขยายการเน้นพลังงานในจุดสนใจในในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะออกไปได้อย่างมาก(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/globaleye.html
Saab กล่าวว่า Erieye ER ยังทนทานต่อการถูกก่อกวนสัญญาณ(Jamming) และมีคุณสมบัติการทำงานทุกสภาพอากาศในทุกมิติ(การตรวจการณ์อากาศ, ทะเล และภาคพื้นดิน) เช่นเดียวกับมีอัตราการปรับปรุงการติดตามต่อเป้าหมายที่กำหนดให้อยู่ในความสนใจ(targets-of-interest)ในระดับ"สูงอย่างที่สุด"

นอกจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กองทัพอากาศสวีเดน(SwAF: Swedish Air Force, Svenska flygvapnet) ยังได้สั่งจัดหา Saab GlobalEye จำนวน 3เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab ASC 890 AEW&C จำนวน 1เครื่องจากทั้งหมด 2เครื่องของตนที่บริจาคให้ยูเครน
กำหนดแบบเป็นเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab S 106 GlobalEye AEW&C รัฐบาลสวีเดนทำสัญญากับบริษัท Saab ในเดือนมิถุนายน 2022 สำหรับ 2เครื่อง และอีก 1เครื่องเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายน 2024 ซึ่งสองเครื่องแรกจะส่งมอบได้ก่อนกำหนดเดิมในปี 2027 และเครื่องสามในปี 2029 ครับ

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567

สหรัฐฯอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A แก่โรมาเนีย 32เครื่อง

US approves Romania for F-35





Romania has been cleared to buy the F-35A, which is already in service with a number of European NATO allies including Norway (pictured). (Royal Norwegian Air Force)

รัฐบาลสหรัฐได้อนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) จำนวน 32เครื่องแก่โรมาเนีย ประกาศโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2024 
การอนุมัติครอบคลุมเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing) 32เครื่อง ควบคู่ไปกับอะไหล่ต่างๆ, สิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง, การฝึก และการสนับสนุนเป็นวงเงินประมาณ $7.2 billion 

ระบบอาวุธต่างๆไม่ได้ถูกรวมในเอกสารแจ้งเตือนนี้และจะมีตามมาภายหลัง "ข้อเสนอการขายจะเพิ่มพูนขีดความสามารถของโรมาเนียที่จะตรงความต้องการภัยคุกคามต่างๆในปัจจุบันและอนาคต
โดยการประจำการเครื่องบินรบ(F-35) เพื่อดำเนินภารกิจการป้องกันตนเองและการรักษาความมั่นคงในภูมิภาค ขณะที่เพิ่มขยายการทำงานรวมกันกับสหรัฐฯและชาติสมาชิก NATO อื่นๆ" DSCA สหรัฐฯกล่าว

ตามร่างเค้าโครงก่อนหน้าที่ออกโดยกระทรวงกลาโหมโรมาเนีย การอนุมัตินี้ครอบคลุมระยะที่1(Phase 1) ของแผนของโรมาเนียที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A สองฝูงบินในระยะใกล้
โดยระยะที่2(Phase 2) ที่จะตามมาในปีต่อๆไปภายหลัง เกี่ยวข้องกับการจัดหา F-35A อีกหนึ่งฝูงบินเพิ่มเติมจำนวน 16เครื่อง เพื่อทำให้จำนวนรวมทั้งหมดสามฝูงบินเป็น 48เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/f-35a-48.html)

กำหนดเวลา, เนื้อหา และมูลค่าวงเงินสุดท้ายของการจัดหาระยะที่2 จะถูกพิจารณาหลังจากกระบวนการการประกาศสัญญาจัดซื้อจัดจ้างได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลโรมาเนีย กระทรวงกลาโหมโรมาเนียได้กล่าวว่าความตั้งใจของตนคือจะวางกำลังฝูงบิน F-35A ฝูงแรกหลังปี 2030 
โรมาเนียน่าจะได้รับเครื่องบิน F-35A ของตนจากสายการผลิตหลักที่โรงงานอากาศยาน Fort Worth ในมลรัฐ Texas สหรัฐฯ หรือจากโรงงานอากาศยาน Cameri ในอิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/f-35a-fort-worth.html)

ปัจจุบันกองทัพอากาศโรมาเนีย(RoAF: Romanian Air Force) มีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16AM/BM Fighting Falcon จำนวน 17เครื่องได้รับมาจากโปรตุเกส(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/f-16.html) เพิ่มเติมอีกจำนวน 32เครื่องจากนอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/f-16ambm-32.html)
หลังการปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ MiG-21 LanceR ยุค Warsaw Pact (แม้ว่าภายหลังจะได้รับการปรับปรุงอย่างมากโดยอิสราเอล) ไปก่อนหน้าในปี 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/mig-21-lancer.html)

โรมาเนียจะเข้าร่วมกลุ่มผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35 ในกลุ่มชาติ NATO และชาติพันธมิตรของยุโรปที่รวมถึง เบลเยียม, สาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/f-35a-24.html), เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/f-35a-8.html), 
กรีซ(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/f-35a-20.html), อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/lockheed-martin-f-35a-husarz.html), สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/f-35-lightning-ii.html)

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567

LIG Nex1 เกาหลีใต้ได้รับเลือกสำหรับโครงการพัฒนายานผิวน้ำไร้คนขับ USV ลาดตระเวน

LIG Nex1 selected for South Korea's reconnaissance USV programme





LIG Nex1's reconnaissance unmanned surface vessel. (LIG Nex1, Naval News)



บริษัท LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีด้านระบบทางกลาโหมได้รับเลือกในฐานะผู้เข้าแข่งขันที่พึ่งปรารถนาในโครงการของประเทศที่จะพัฒนายานผิวน้ำไร้คนขับ(USV: Unmanned Surface Vessel) ที่สามารถวางกำลังสำหรับการปฏิบัติการลาดตระเวนทางเรือต่างๆได้
การคัดเลือกมีขึ้นโดยสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2024 บริษัท LIG Nex1 ประกาศในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ในวันที่ 12 กันยายน 2024

LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีได้ถูกเลือกหลังจากได้รับคะแนนสูงตลอดทุกหลักเกณฑ์ที่ถูกใช้ในการประเมินค่าผู้เข้าแข่งขันที่มีศักยภาพ บริษัท LIG Nex1 กล่าวในแถลงการณ์ของตน
ด้วยการคัดเลือก บริษัท LIG Nex1 ขณะนี้จะดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาและการผลิตต้นแบบยานผิวน้ำไร้คนขับ USV ขนาด 12m จำนวน 2ลำภายในปี 2027(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/hd-hhi.html)

นอกเหนือจากการปฏิบัติการตรวจการณ์และลาดตระเวน ยานผิวน้ำไร้คนขับ USV จะต้องสามารถที่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วทั้งฐานปฏิบัติการส่วนหน้าและท่าเรือหลังของสาธารณรัฐเกาหลี LIG Nex1 เสริมในแถลงการณ์ของตน
LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีได้ทำการพัฒนายานผิวน้ำไร้คนขับ USV ตระกูล Sea Sword ตั้งแต่ปี 2015 รุ่นล่าสุดในตระกูลที่สามารถจะตรงความต้องการของ DAPA สำหรับ USV ขนาด 12m คือ Sea Sword 3

ซึ่งยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV ได้ถูกเปิดตัว ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security Expo Korea(DX Korea) 2020 ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2020 ในศูนย์จัดแสดง Kintex ที่เมือง Goyang จังหวัด Gyeonggi สาธารณรัฐเกาหลี
ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV มีระวางขับน้ำประมาณ 11 tonnes, มีความยาวเรือรวมที่ 12mm และมีความเรือรวมที่ 3.5m มิติขนาดเหล่านี้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 2 USV ที่ถูกเปิดตัวในปี 2019

แต่ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV รุ่นใหม่กว่าสามารถรอบรับการบรรทุกกำลังพลไปกับเรือได้ 8นาย ขณะที่ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 2 USV รุ่นเก่ากว่าบรรทุกกำลังได้เพียง 2นาย
ในแง่ระบบอาวุธ ยานผิวน้ำไร้คนขับ Sea Sword 3 USV สามารถติดตั้งแท่นยิง remote(RCWS: Remote-Controlled Weapon Station) ที่มีความเข้ากันได้กับปืนกลหนักขนาด 12.7mm และแท่นยิงจรวดนำวิถีขนาด 70mm แบบ Poniard LOGIR(Low-Cost Guided Imaging Rocket)

ระบบอาวุธแท่นยิง RCWS นี้ถูกติดตั้งในส่วนท้ายของเรือสำหรับแท่นยิงจรวดนำวิถี 70mm แบบ Poniard ความจุ 8นัด ระยะยิง 8km และแท่นยิงปืนกลหนัก 12.7mm ในส่วนหน้าของตัวเรือ ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบใน Sea Sword 2 USV รุ่นก่อน
LIG Nex1 ได้เสร็จสิ้นทดลองเรือในทะเลของ Sea Sword 2 และ Sea Sword 3 USV ในปี 2021 โดยบริษัทได้เสนอแก่กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) สำหรับการทดแทนเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กหลายแบบในภารกิจรักษาความมั่นคงและการลาดตระเวนชายฝั่งครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567

กองทัพบกสิงคโปร์นำอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper UAV สหรัฐฯเข้าประจำการ

Singapore Army inducts surveillance UAV





Soldiers from the Singapore Infantry Regiment's 5th Battalion test the new Vesper UAV that has been recently inducted by the service. (Singapore Army)



กองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army) ได้นำอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ตรวจการณ์ทางยุทธวิธีแบบใหม่เข้าประจำการเพื่อเพิ่มขยายการหยั่งรู้สถานการณ์ในสนามรบ
อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธีปีกหมุน quadcopter แบบพกพาได้นี้มีชื่อว่า Vesper ถูกพัฒนาโดยบริษัท Vantage Robotics สหรัฐฯที่มีที่ตั้งในมลรัฐ California กองทัพบกสิงคโปร์ประกาศในบัญชี Facebook ทางการของตนในต้นเดือนกันยายน 2024

อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper ได้รับการจัดหาโดยกองทัพบกสิงคโปร์ในความเป็นหุ้นส่วนกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมสิงคโปร์(DSTA: Defence Science and Technology Agency)
อากาศยานไร้คนขับ Vesper สามารถปฏิบัติการได้ในสภาพอากาศหลากหลายแบบเพื่อดำเนินการตรวจการณ์ทางอากาศอย่างต่อเนื่องและถ่ายทอดภาพวีดิทัศน์ความละเอียดสูงส่งให้แก่สถานีควบคุมภาคพื้นดิน(GCS: Ground Control Station) กองทัพบกสิงคโปร์กล่าว

กองทัพบกสิงคโปร์เสริมว่า อากาศยานไร้คนขับ Vesper สามารถวางกำลังได้ "ในรูปแบบบินอิสระหรือผูกยึดโยงไว้" Vesper UAV ได้ถูกใช้งานโดยกองพันที่5 กรมทหารราบสิงคโปร์(5 SIR: 5th Battalion, Singapore Infantry Regiment)
ระหว่างการฝึก Panther Strike 2024 ซึ่งเป็นการฝึกภาคสนามทางยุทธวิธีครั้งสุดท้ายของหลักสูตรนักเรียนนายทหารเหล่าทหารราบ(Infantry Officer Cadet Course) ของกองทัพบกสิงคโปร์

ชุดภาพที่เผยแพร่โดยกองทัพบกสิงคโปร์แสดงถึงทหารของกองพันที่5 กรมทหารราบสิงคโปร์ กำลังใช้อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธีปีกหมุนขึ้นลงทางดิ่ง Vesper UAV
จำลองการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย(CT: Counter-Terrorism) ในพื้นที่ฝึกที่จัดเตรียมเป็นเขตชุมชน อากาศยานไร้คนขับ Vesper สามารถเห็นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังเฝ้าติดตามภายในอาคารได้

ระหว่างการฝึก Panther Strike 2024 ชุดสอดแนมทหารราบ(Infantry Scouts team) ได้ส่งอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper UAV ขึ้นบิน
เพื่อดำนินการปฏิบัติการตรวจการณ์กลุ่มเป้าหมายก่อนการมาถึงของกำลังรบทหารราบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/colt-iar.html) กองทัพบกสิงคโปร์กล่าว

กองทัพบกสิงคโปร์เสริมว่า อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ทางยุทธวิธี Vesper UAV สามารถที่จะถูกนำออกจากซองบรรจุเคลื่อนย้าย, เตรียมการ และส่งขึ้นบินได้ภายในเวลา 90วินาที
การใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้โดยอากาศยานไร้คนขับ Vesper ทำให้เหล่าผู้บัญชาการสามารถทำการปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติการต่างๆของพวกตนเพื่อเพิ่มขยายความสำเร็จของภารกิจได้ครับ 

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567

Hyundai Rotem เกาหลีใต้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถถังหลัก K1A2 ระยะที่สี่

South Korea completes batch-four K1A2 deliveries





The K1A2 is the upgraded version of the K1A1 MBT, which features a 120 mm smoothbore gun and is seen here taking part in an RoK Army exercise. (Republic of Korea Armed Forces)



บริษัท Hyundai Rotem สาธารณรัฐเกาหลีได้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถถังหลัก K1A2 MBT(Main Battle Tank) ระยะที่4 แก่กองทัพสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Armed Forces) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/k1a2.html)
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีในนครหลวง Seoul กล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2024 ว่า

รถถังหลัก K1A2 ระยะที่4 ชุดสุดท้าย ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงของรถถังหลัก K1A1(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/hyundai-rotem-k1-2024.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/08/k1-k9.html)
ได้ถูกส่งมอบให้กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army) แล้วในต้นเดือนกันยายน 2024 นี้ ยังมีการยืนยันอีกว่านาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี(ROKMC: Republic of Korea Marine Corps) ได้นำรถถังหลัก K1A2 ในระยะที่4 เข้าประจำการด้วย

DAPA กล่าวว่าการปรับปรุงรถถังหลัก K1A2 ระยะที่4 ได้มีขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2021 ถึงเดือนกันยายน 2024 แต่ไม่ได้เปิดเผยจำนวนรถแต่ละงวดที่ถูกแบ่งส่งมอบสำหรับกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี
"รถถัง(K1A2) ได้ถูกวางกำลังอย่างต่อเนื่องแก่กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี (รถถัง)คาดว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการรบ, ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และความปลอดภัยผ่านสมรรถนะที่ได้รับการเพิ่มพูน" DAPA กล่าว

DAPA เสริมว่าขีดความสามารถหลักสำคัญของรถถังหลัก K1A2 คือการบูรณาการระบบนำร่องดาวเทียม GPS ที่สามารถทำให้แบ่งปันข้อมูลในเวลาจริงและการหยั่งรู้สถานการณ์ในสนามรบอย่างแม่นยำได้ 
"ติดตั้งด้วยกล้องตรวจการณ์ที่ส่วนหลังรถ ขีดความสามารถการตอบสนองการปฏิบัติการในเวลาจริงของรถถังได้ถูกเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้น" DAPA สาธารณรัฐเกาหลีกล่าว

ตามข้อมูลจาก DAPA การปรับปรุงขีดความสามารถอื่นบนรถถังหลัก K1A2 รวมถึงระบบอำนวยการสนามรบ(BMS: Battlefield Management System) ใหม่ และระบบ digital ใหม่ 
ที่ทดแทนอุปกรณ์ analogue ดั้งเดิมที่บูรณาการกับรถถังหลัก K1A1 "รถถัง(K1A2)สามารถแบ่งปันข้อมูลแบบเวลาจริงบนพื้นฐานแผนที่ digital และการสร้างภาพเสมือนสถานการณ์สนามรบ" DAPA สาธารณรัฐเกาหลีเสริม

การปรับปรุงรถถังหลัก K1A2 ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้สามารถเพิ่มพูนการทำงานร่วมกันกับรถถังหลัก Hyundai Rotem K2 MBT(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/hyundai-rotem-k2-black-panther.html)
และรถรบทหารราบ Hanwha K21 IFV(Infantry Fighting Vehicle)(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/redback.html) ของกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีด้วยครับ