Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with
Thailand companies SIAM DRY TECH COMPOSITE CO., LTD. Pims Technologies was
demonstrated MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned
System-B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) take off and landing on
CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier.
MARCUS-B ทดสอบบิน ....อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่ 2
MARCUS-B ผลงานของ สวพ.ทร. ขณะทดสอบบินขึ้น-ลง บน ร.ล. จักรีนฤเบศร
เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 …Cr. สวพ.ทร.
เผยโฉม UAV MARCUS B สร้างในประเทศ โดยคนไทย.
เทียบเท่าของต่างประเทศ...ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลที่ชื่อว่า
MARCUS B ผลงานล่าสุดของ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
(สวพ.ทร.)
โดยร่วมงานกับบริษัท สยาม ดราย เทค จำกัด
ในด้านการออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศยานไร้คนขับด้วยวัสดุ Pre-Impregnated
หรือ Dry Carbon ที่มีความทนทานแต่มีน้ำหนักเบาพิเศษ และบริษัท พิมส์
เทคโนโลจิส จำกัด
ในด้านการพัฒนาระบบโปรแกรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ หรือ TBACCS
(Tactical-Based Aerial Command Control System)
ซึ่งนับว่าเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนของประเทศไทย
ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนา
นายทหารโครงการคือ น.อ. ภาณุพงศ์ ขุมสิน ...MARCUS B พัฒนามาจาก MARCUS
รุ่นแรก ที่ได้เปิดตัวครั้งแรกใน พิธีเปิดการฝึก ทร. 64 เมื่อ 12 มี.ค. 2564
โดยใช้เวลาพัฒนาเพียง 6 เดือนเท่านั้น
...เป้าหมายของการพัฒนา MARCUS
นั้นต้องการตอบสนองต่อความต้องการและข้อจำกัดของการใช้งานทางทะเลเป็นการเฉพาะ
โดยกำหนดให้เป็นอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่ง
อาศัยข้อดีของการเป็นอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่งที่สามารถเดินทางได้รวดเร็ว
มีระยะเวลาในการบินได้นาน เหมาะสมต่อการปฏิบัติการทางทะเลที่มีพื้นที่กว้าง
แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อดีที่สามารถขึ้นลงในทางดิ่ง
เช่นเดียวกับอากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุน จึงทำให้ MARCUS
สามารถขึ้นลงได้จากแทบทุกสถานที่
มีความสะดวกในการใช้งานและการบำรุงรักษาจากข้อจำกัดที่จะต้องใช้กำลังพลในการปฏิบัติการให้น้อยที่สุด
…MARCUS B มีขนาดใหญ่กว่าและน้ำหนักมากกว่า MARCUS รุ่นแรก
มีพื้นที่ปีกเพิ่มเป็น 3 เท่า แต่น้ำหนักขึ้นบินเพิ่มขึ้นเป็น 1.5
เท่า
โดยมี ความยาวระหว่างปลายปีกซ้ายและขวา 4.3 เมตร
ความยาวระหว่างหัวเครื่องถึงท้ายเครื่อง 2.5 เมตร
น้ำหนักขึ้นบินปกติ 45 กก. สามารถบรรทุกน้ำหนักได้กว่า 10 กก.
มีแรงยก 40 กก. ที่ความเร็ว 37 นอต ระยะบินไกล 160-180 กม.
ที่สำคัญคือ บรรทุกแบตเตอรี่ได้สูงสุด 60 Ah ทำให้สามารถบินได้นาน กว่า 2
ชม. ซึ่งบินได้นานกว่า MARCUS รุ่นแรกถึง 2 เท่า
ถึงแม้จะมีการจัดหาชิ้นส่วนจากต่างประเทศ แต่เน้นที่ต้องหาได้ง่าย ถูก
ไม่ยึดติดกับ brand หรือประเทศผู้ผลิต
ซึ่งตลาดจีนเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก ดี ถูก มีการแข่งขันสูง มีตัวเลือกมาก
ในอนาคตได้เตรียมพัฒนาถึงขั้นสามารถผลิตแผงวงจรควบคุมการบินและการสื่อสาร
ที่สามารถผลิต ซื้อได้เองในประเทศด้วย
....MARCUS B อยู่ระหว่างการทดสอบสมรรถนะขั้นสุดท้าย
และจะเข้าสู่สายการผลิตในปีนี้ เพื่อให้กองทัพเรือได้ใช้งานต่อไป...MARCUS-B
เหมาะสมต่อการขึ้นลงจากฝั่งหรือเรือใหญ่ เช่น ร.ล. จักรีนฤเบศร และ ร.ล.
อ่างทอง เป็นต้น
...การที่ สวพ.ทร. ออกแบบและสร้าง UAV ที่สามารถใช้งานได้จริง
และตอบสนองความต้องการของกองทัพเรือ ย่อมแสดงให้เห็นภูมิปัญญาของคนไทย
นอกจากนี้ยังมีราคาถูกกว่าการซื้อ UAV จากต่างประเทศ
ที่มีขีดความสามารถและคุณลักษณะใกล้เคียงกัน
ทำให้ประหยัดงบประมาณและพึ่งพาตนเองได้ ...สำหรับราคาของ MARCUS B
1 ระบบอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านบาทเท่านั้น ...ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวพ.ทร.
เชิญพบกับ MARCUS-B ได้ ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 Thailand Research
Expo 2021 บูธหมายเลข BL5, Centara Grand ชั้น 22 22-26 พ.ย.64
อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B
โดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ร่วมกับเอกชนไทยคือ บริษัท
SDT Composites ผู้ออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศ และบริษัท Pims Technologies
ผู้พัฒนาระบบควบคุมการบินและการสื่อสาร
เป็นอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้นลงทางดิ่งแบบล่าสุดของกองทัพเรือไทย
ที่พัฒนาต่อมาจากรุ่นแรก MARCUS ที่มีการทดสอบไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html) ซึ่งเป็นการออกแบบพัฒนาและสร้างภายในประเทศไทยด้วยตนเองทั้งหมด
การสาธิตการปฏิบัติการลงจอดบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
ไปในวีดิทัศน์ที่ปรากฏเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ถือเป็นความคืบหน้าการพัฒนาให้ตรงความต้องการผู้ใช้งานมากขึ้น
และยังแสดงถึงแนวคิดใหม่ในการใช้ VTOL UAV กับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
แม้ว่าจะมีการเสนอแนวคิดการใช้อากาศยานไร้คนขับ UAV กับ ร.ล.จักรีนฤเบศรบ่อยๆ
ซึ่งได้มีการชี้แจงถึงรูปแบบข้อจำกัดของระบบอากาศยานที่สามารถใช้งานบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้หรือไม่ได้มาบ้างแล้วก่อนหน้านี้(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/ski-jump-uav.html)
เช่นคงไม่ถึงกับแนวคิดของตุรกีที่มองจะใช้อากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned
Combat Aerial Vehicle)
เครื่องยนต์ไอพ่นบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Anadolu
ของตนเพื่อทดแทนที่ไม่สามารถจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B
Lightning II จากสหรัฐฯได้
ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าตุรกีจะทำได้จริงอย่างที่วาดภาพไว้หรือไม่(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/baykar-makina-mius-ucav.html) สำหรับ MARCUS-B UAV
ของไทยเองแม้ว่าจะขนาดไม่ใหญ่พอที่จะติดอาวุธหรืออุปกรณ์อะไรได้มากเท่าเฮลิคอปเตอร์
แต่ก็เป็นแนวทางพัฒนาที่เหมาะสมครับ