วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564

ปากีสถานรับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17B รุ่นสองที่นั่งชุดแรก 14เครื่อง

Pakistani Air Force takes delivery of 14 dual-seat JF-17 fighter aircraft




New dual-seat JF-17B fighter aircraft of Pakistani Air Force.





ตามข้อมูลที่เผยแพร่ใน Website Arab News เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2020 กองทัพอากาศปากีสถาน(Pakistan Air Force) ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจสองที่นั่ง JF-17B Thunder ชุดแรก 14เครื่อง
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง JF-17B ใหม่ 14เครื่องได้มีการทำพิธีเข้าประจำการที่จัดขึ้น ณ โรงงานอากาศยาน Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ใน Kamra ปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/jf-17b-12.html)

พิธีรับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17B รุ่นสองที่นั่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศปากีสถานได้เชิญผู้บัญชาการกองทัพอากาศปากีสถาน พลอากาศเอก Mujahid Anwar Khan เข้าร่วมพิธี
รวมถึงทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำปากีสถาน Nong Rong และเจ้าหน้าที่รัฐบาลและกองทัพไนจีเรียจำนวนหนึ่งตามที่ไนจีเรียเป็นลูกค้าส่งออกรายที่สองสำหรับเครื่องบินขับไล่ JF-17

ในปี 2017 กองทัพอากาศปากีสถานได้เปิดเผยเครื่องบินขับไล่รุ่นสองที่นั่งแบบแรกของเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่ถูกเรียกว่า JF-17B สำหรับทั้งเพิ่มขยายขีดสามารถการปฏิบัติการและการฝึก(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/jf-17bfc-1b.html)
โดยลูกค้าส่งออกและผู้ใช้งานรายแรกสำหรับเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง JF-17B คือกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei)(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/jf-17b.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/11/yak-130-jf-17.html)

JF-17 Thunder เป็นเครื่องบินขับไล่เบาพหุภารกิจเครื่องยนต์เดียวที่พัฒนาโดย PAC ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Group(CAIG) ในเครือ AVIC(Aviation Industry Corporation of China) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานสาธารณรัฐประชาชนจีน
เครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ประสบความสำเร็จการทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2003 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศปากีสถานในเดือนมีนาคม 2007 ลูกค้าส่งออกที่เป็นที่ทราบในปัจจุบันคือพม่าและไนจีเรีย

โครงสร้างอากาศยานของ JF-17 เป็นแบบ semi-monocoque ที่สร้างจากวัสดุโลหะ aluminum alloy เป็นหลัก และมีการใช้เหล็กกล้าความแข็งแรงสูง และ titanium alloy ในพื้นที่บางส่วนที่มีความความสำคัญ
เครื่องบินขับไล่ JF-17 ถูกออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 4,000ชั่วโมงบินหรือราว 25ปี การซ่อมบำรุงระดับยกเครื่อง(overhaul) ถูกกำหนดให้มีการดำเนินการเมื่อเครื่องมีอายุการใช้งาน 1,200ชั่วโมงบิน

JF-17 สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น, จรวดอากาสสู่พื้น, ลูกระเบิดธรรมดาและระเบิดนำวิถี และอุปกรณ์ต่างๆได้ถึง 4,325kg บนตำบลอาวุธภายนอกลำตัวรวม 7จุดแข็งประกอบด้วย
หนึ่งจุดใต้กลางโครงสร้าลำตัวระหว่างฐานล้อลงจอดหลัก, สองจุดใต้ปีกทั้งสองข้าง และหนึ่งจุดใต้ปีกแต่ละข้าง รวมถึงติดตั้งปืนใหญ่อากาศ GSh-23-2 สองลำกล้องขนาด 23mm ความจุกระสุน 180นัดภายในลำตัวครับ