วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยสาธิตอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS








Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies SDT Composites and Pims Technologies was demonstrated MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) in 18 February 2021.

Clip: 









เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ก.พ.64 ณ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ (สวพ.ทร.) นำโดย พล.ร.ต.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผอ.สวพ.ทร. 
และคณะนักวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (MARCUS) ทำการบรรยายและสาธิตการบินของอากาศยานไร้นักบิน MARCUS 
ต่อ พล.ร.อ.สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะผู้บังคับบัญชาระดับสูงของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.), ทัพเรือภาคที่ 1 / ศรชล.ภาค 1 และกองบินทหารเรือ 
เพื่อแสดงถึงศักยภาพและผลสำเร็จของโครงการวิจัยฯ ที่เป็นผลงานของ สวพ.ทร. ซึ่งมีบริษัท SDT Composites และบริษัท Pims Technologies ที่เป็นภาคเอกชนของประเทศไทย ที่ได้ร่วมวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ด้วย
โดยรองผู้บัญชาการทหารเรือและคณะผู้บังคับบัญชาระดับสูง ได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุนผลักดันผลงานของโครงการวิจัยและพัฒนา MARCUS ให้เข้าสู่สายการผลิต และขึ้นประจำการในกองทัพเรือต่อไป

โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS(Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ร่วมกับภาคเอกชนของไทย 
คือ บริษัท SDT Composites ผู้ออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศ และบริษัท Pims Technologies ผู้พัฒนาระบบควบคุมการบินและการสื่อสาร เป็นผลงานการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้นลงทางดิ่งแบบล่าสุดของกองทัพเรือไทย

ก่อนหน้านั้นกองทัพเรือไทยได้มีการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Falcon-V FUVEC(Fixed wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) โดยความร่วมมือกับบริษัท TOP Engineering Corporation 
ที่มีการทดสอบการใช้งานจริงไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html) ซึ่งอากาศยานไร้คนขับ MARCUS เป็นระบบที่มีรูปแบบการบินคล้ายกันแต่มีขนาดต่างกัน

กองทัพเรือไทยได้มีการจัดหา UAV หลายระบบที่พัฒนาภายในประเทศโดยเฉพาะระบบที่ สวพ.ทร.ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Narai 3.0, Ongkot และ TAREM ที่มีสายการผลิตจำนวนมากและถูกนำไปใช้งานจริงโดยหน่วยปฏิบัติงานภาคสนามแล้ว
โดยล่าสุดคือระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก D-Eyes 02 Mini UAV ที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute)(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/dti-d-eyes-02-mini-uav.html)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช.(NRCT: National Research Council of Thailand) ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาแก่ สวพ.ทร.ในกรอบวงเงินราว ๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท สำหรับ VTOL UAV ปีกตรึงน้ำหนักบรรทุก 4-5kg ทำการบินได้นาน ๔-๕ชั่วโมง และบินขึ้นลงจากพื้นที่ขนาดเพียง 3mx3m ได้
หลังจาการสาธิตการทดสอบการปฏิบัติล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ณ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อากาศยานไร้คนขับ MARCUS จะถูกเปิดสายการผลิตและนำเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยเช่นเดียวกับระบบ UAV ที่มีการวิจัยและพัฒนาก่อนหน้าต่อไปครับ