วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อู่เรือ LUNAS มาเลเซียลงนาม MOU กับ PT PAL อินโดนีเซีย

DSA 2024: LUNAS signs shipbuilding MOU with PT PAL
PT PAL Multi-Role Support Ship model on display at DSA 2024. (Xavier Vavasseur)

Naval Group Littoral Combat Ship model on display at DSA 2024. (Xavier Vavasseur)




LUNAS was formerly known as Boustead Naval Shipyard. (Royal Malaysian Navy)

อู่เรือบริษัท Lumut Naval Shipyard Sdn Bhd(LUNAS) มาเลเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับ PT PAL รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของอินโดนีเซีย
ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defence Services Asia (DSA) 2024 ที่จัดขึ้นในมหานคร Kuala Lumpur มาเลเซียระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2024

บันทึกความเข้าใจ MOU มองที่จะ "สำรวจความร่วมมือต่างๆในอนาคตในโครงการการสร้างเรือต่างๆ, ส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาการในภูมิภาค ผ่านความร่วมมือนี้ อู่เรือ LUNAS มุ่งเป้าที่จะนำความเชี่ยวชาญของตนมาใช้
เพื่อส่งเสริมการสร้างเรือใหม่ๆ เช่นเดียวกับการเพิ่มขยายขีดความสามารถการซ่อมทำและปรับปรุงความทันสมัยของกองเรือที่มีอยู่" Azhar Jumaat ผู้อำนวยการบริหารของ LUNAS มาเลเซีย กล่าวในคำปราศรัยต้อนรับ ณ งานแสดง DSA 2024

อู่เรือ LUNAS มาเลเซียเดิมรู้จักในชื่ออู่เรือบริษัท Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซีย และได้รับสัญญาสำหรับโครงการสร้างเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) หรือเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela จำนวน 5ลำ
สำหรับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia)(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/maharaja-lela-lcs-2026.html)

ในงานแสดง DSA 2024 หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนาองค์กรของ LUNAS มาเลเซีย Hanif Muhammad กล่าวกับ Janes ว่าเรือฟริเกต LCS ลำแรกเรือฟริเกต KD Maharaja Lela ได้สร้างเสร็จไปแล้วร้อยละ75
เป็นที่คาดว่าเรือฟริเกต KD Maharaja Lela จะถูกนำลงสู่น้ำสำหรับการทดลองเรือในทะเลได้ในกลางปี 2024 นี้เขาเสริม(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/maharaja-lela-lcs.html)

การขึ้นระวางประจำการของเรือฟริเกต KD Maharaja Lela คาดว่าจะเป็นในปี 2026 โดยเรือที่เหลือลำที่สองเรือฟริเกต KD Sharif Mashor, ลำที่สามเรือฟริเกต KD Raja Mahadi, เรือลำที่สี่เรือฟริเกต KD Mat Salleh
จะถูกส่งมอบตามมาในช่วงระยะห่างลำละ 8เดือน โดยเรือลำที่ห้าและลำสุดท้ายเรือฟริเกต KD Tok Janggut คาดว่าจะถูกส่งมอบได้ภายในปี 2029

Boustead Naval Shipyard มาเลเซียและ PT PAL อินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ในปี 2016 ที่จะมีความร่วมมือในการสร้างเรือสนับสนุนอเนกประสงค์ MRSS(Multirole Support Ship) ในอินโดนีเซียถ้าเรือได้ถูกเลือกสำหรับสัญญา
ทว่ายังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการเรือสนับสนุนอเนกประสงค์ MRSS จนถึงขณะนี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/pt-pal-mrss.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/11/x18-mrss.html)

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สหรัฐฯอนุมัติการขายกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP แก่มาเลเซีย

US approves possible Sniper targeting pod sale to Malaysia



The Royal Malaysian Air Force's Boeing F/A-18D Hornet with Raytheon AN/ASQ-228 Advanced Targeting Forward-Looking Infrared (ATFLIR) pod. (Royal Malaysian Air Force/Syairazie Sabiyar)

It is possible that Malaysia will acquire the latest version of the Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper airborne targeting pod, with the capability improvements as detailed in this 2021 Lockheed Martin infographic. (Lockheed Martin)

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod(ATP)
สำหรับฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18D Hornet ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)

สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ประกาศเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2024 ว่ากระเปาะชี้เป้าหมายทางอากาศ AN/AAQ-33 Sniper ATP จำนวน 10ระบบได้รับการอนุมัติการขายแล้ว
ตามการร้องขอจากรัฐบาลมาเลเซีย ชุดข้อเสนอการขายซึ่งรวมถึงข้อมูลทางเทคนิคและสิ่งพิมพ์, การฝึกกำลังพล, ชุดคำสั่งและอุปกรณ์การฝึก และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องของการส่งกำลังบำรุงและการสนับสนุนโครงการ มีมูลค่าที่วงเงินประมาณ $80 million

"ข้อเสนอการขายจะเพิ่มพูนขีดความสามารถของมาเลเซียที่จะตรงต่อภัยคุกคามต่างๆในปัจจุบันและอนาคตโดยการปรับปรุงความทันสมัยระบบเครื่องบินขับไล่ F/A-18D ปัจจุบันของตนด้วยกระเปาะชี้เป้าหมายร่วมกัน
ข้อเสนอการขายนี้จะยังแบ่งเบาข้อกังวลความล้าสมัยในอนาคตและทำให้กองทัพอากาศมาเลเซียจะตรงความต้องการการปฏิบัติการในอนาคต มาเลเซียจะไม่มีความยุ่งยากในการนำสิ่งอุปกรณ์นี้มาใช้ในกองทัพของตน" DSCA สหรัฐฯกล่าว

ตามข้อมูลจากรายการยุทโธปกรณ์ของ Janes กองทัพอากาศมาเลเซียมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet จำนวน 8เครื่อง ที่เข้าประจำการในฝูงบินที่18(18 Squadron) ตั้งแต่ปี 1997
ร่วมไปกับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM จำนวน 18เครื่องในฝูงบินที่12(12 Squadron) จากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/blog-post_29.html) เครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet ประกอบเป็นระบบการรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศมาเลเซีย

การติดตั้งเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet ด้วยกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP แทบจะแน่นอนว่าได้มอบการเพิ่มขยายขีดความสามารถเป็นอย่างมากแก่กองทัพอากาศมาเลเซีย ตามข้อมูลจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐ 
กระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33 สนับสนุน "การชี้เป้าหมายที่แม่นยำและภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวนที่ไม่ตามแบบแผนดั้งเดิมในสภาพแวดล้อมอากาศสู่พื้น, ทางทะเล และอากาศสู่อากาศ"

กระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33 Sniper ATP จะทำให้กำลังพลนักบินที่จะระบุและทำลายเป้าหมายได้ที่นอกระยะของภัยคุกคาม ตามข้อมูลจากบริษัท Lockheed Martin
ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet ของกองทัพอากาศมาเลเซียติดตั้งด้วยกระเปาะชี้เป้าหมาย AN/ASQ-228 Advanced Targeting Forward-Looking Infrared(ATFLIR) ครับ

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เกาหลีใต้วางแผนการลงทุนพัฒนาเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 รุ่นที่นั่งเดี่ยว

South Korean ministry plans single-seat FA-50 investment





The single-seat KAI FA-50 project intends to replace the aircraft's second cockpit and crewperson with an additional fuel tank to increase the type's combat radius. (KAI)

กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงาน(MOTIE: Ministry of Trade, Industry and Energy) สาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศแผนที่จะลงทุนการพัฒนารุ่นที่นั่งเดี่ยวของ
เครื่องบินฝึกและโจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-t-50th.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-fa-50.html)

กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2024 ว่าวงเงิน 49.4 billion Korean Won($36.39 million) จะถูกลงทุนให้กับบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี
เพื่อจะพัฒนาเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 รุ่นที่นั่งเดี่ยว "โครงการมุ่งเป้าที่จะเพิ่มพูนขีดความสาามารถของ FA-50 เพื่อจะแข่งขันในตลาดนานาชาติและขยาย "ผลงานการส่งออก" แห่งชาติ" ตามข้อมูลจากกระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลี

"โครงการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะดัดแปลงโครงสร้างอากาศยานที่นั่งเดี่ยว และรวมระบบเชื้อเพลิงเสริมเพื่อเพิ่มขยายรัศมีการปฏิบัติการขึ้นอีกร้อยละ30" กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลีกล่าว
Janes ก่อนหน้านี้ได้รายงานว่าแผนของบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีที่จะพัฒนารุ่นที่นั่งเดี่ยวโดยการนำนักบินที่สองและห้องนักบินหลังออกไปและติดตั้งระบบเชื้อเพลิงสำรองขนาด 300gal แทนในพื้นที่นั้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2023 ที่สิงคโปร์ โฆษกบริษัท KAI กล่าวกับ Janes ว่าระยะการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 รุ่นที่นั่งเดี่ยว
เป็นไปได้ที่จะเพิ่มขึ้นได้มากถึงร้อยละ20 ตามผลลัพธ์ Janes เข้าใจว่า KAI สาธารณรัฐเกาหลีกำลังดำเนินการทดสอบและตัดสินใจว่าระยะการปฏิบัติการสามารถเพิ่มขยายขึ้นได้อย่างไร

รัศมีของการปฏิบัติการปัจจุบันของเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 คือ 239nmi ในรูปแบบการบินดำเนินกลยุทธ์เพดานบินสูง-ต่ำ-ต่ำ-สูง hi-lo-lo-hi(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ta-50-block-2.html)
กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลียังมองการรวมระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(Automatic GCAS: Ground Collision Avoidance System) ที่พัฒนาในประเทศเข้ากับ FA-50 ด้วย

รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีจะลงทุนวงเงิน 29 billion Korean Won ในโครงการตั้งแต่ปี 2024-2028 กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลีกล่าว
เสริมว่า KAI สาธารณรัฐเกาหลีและประเทศหุ้นส่วนอื่นๆจะสมทบทุนในส่วนที่เหลือครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/dapa.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/12/taurus-lig-nex1-kepd-350k-2-fa-50.html)

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K จีนทำการยิงขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ใหม่

Chinese bomber launches new ballistic missile




China first unveiled the new ALBM in November 2022, during AirShow China 2022. At the time, the two missiles unveiled had a yellow stripe and a code signifying that they were training missiles (as shown in the image, in the top part of this graphic). Recent imagery shows the ALBM in a low-observable grey-blue colour scheme, indicating that the missile is progressing to production. (Janes/Gettyimages)

กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ได้เผยแพร่วีดิทัศน์ที่กำลังแสดงภาพเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Xi'an H-6K ทำการยิงขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบใหม่ขณะทำการบิน
ภาพเคลื่อนไหวของขีปนาวุธอากาศสู่พื้น(ALBM: Air-Launched Ballistic Missile) ได้ถูกทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ได้ถูกรวมในวีดิทัศน์ทางการของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2024

ในวีดิทัศน์ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นใหม่ได้ถูกทิ้งจากตำบลอาวุธด้านปีกซ้ายของเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K อาวุธปล่อนำวิถีซึ่งได้ถูกกำหนดแบบชั่วคราวว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ไม่ได้แสดงติดเครื่องยนต์ของจรวด
ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ใหม่เป็นไปได้ว่าจะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก hypersonic เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความเร็วเหนือเสียงสูงมาก hypersonic แบบ Kh-47M2 Kinzhal(NATO กำหนดรหัส AS-24 'Killjoy') รัสเซีย

Janes ก่อนหน้านี้ได้ประเมินว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM น่าจะใช้กำลังขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง อย่างไรก็ตามไม่เป็นที่ชัดเจนว่า KD-21 ในวีดิทัศน์ล่าสุดได้ติดตั้งเครื่องยนต์หรือไม่
ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM ถูกเปิดตัวต่อสาธารณะครั้งแรก ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ Airshow China 2022 ใน Zhuhai จีนระหว่างวันที่ 8-13 พฤศจิกายน 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/h-6k.html)

ณ เวลานั้นขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 สองนัด(ติดตั้งในตำบลอาวุธใต้ปีกของเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K) ได้ถูกทำเครื่องหมายด้วยรหัส 2PZD-21 ซึ่งย่อมาจาก Pèi zhòng dǎodàn(配重导弹: counterweight missile, อาวุธปล่อยนำวิถีถ่วงน้ำหนัก) นี่บ่งชี้ว่านั้นไม่ใช่ลูกยิงจริง 
อย่างไรก็ตามในวีดิทัศน์ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2024 การทำเครื่องหมายแถบสีและรหัสที่เห็นบนขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ณ งานแสดงการบิน AirShow China 2022 ดูเหมือนจะหายไป

ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM ในวีดิทัศน์ล่าสุดถูกทำสีที่ใช้ในการปฏิบัติการลวดลายสีเทา-น้ำเงิน โดยหัวจรวดทำสีเทาอ่อน Janes ประเมินว่านี่เพื่อทำให้จรวดถูกตรวจพบเห็นได้ต่ำ
การนำแถบสีเหลืองที่แสดงว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีสำหรับการฝึกออกไปจากที่เห็นในวิดีทัศน์ล่าสุด บ่งชี้ว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 กำลังดำเนินการสู่ขั้นระยะการผลิต

Janes ประเมินว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM ใหม่มีความยาวประมาณ 8.5m มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ประมาณ 82-85cm และมีน้ำหนักที่ประมาณ 2tons ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Development & Production
เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ติดตั้งเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Soloviev D-30-KP2 รัสเซียสองเครื่อง ทำความเร็วได้สูงสุดราว 566knots, รัศมีการรบ 1,900nmi เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา และบรรทุกอาวุธได้ที่น้ำหนักราว 12tons ครับ

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เยอรมนีประกาศความพร้อมปฏิบัติการสำหรับอากาศยานไร้คนขับ Heron TP UAV อิสราเอล

Luftwaffe declares Heron TP ready for Germany-based operations





Seen at the ILA 2022 Berlin Air Show, the Heron TP has now been cleared for global operations by the Luftwaffe. (Luftwaffe, Janes/Gettyimages)

กองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) ได้ประกาศว่าระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft System) แบบ Israel Aerospace Industries(IAI) Heron TP อิสราเอลที่ตนเช่ามา
จะพร้อมสำหรับการปฏิบัติการจากฐานบินเยอรมนีทั่วโลก โดยการทำการบินจะดำเนินการในกลางเดือนพฤษภาคม 2024 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/heron-tp-uav.html

กองทัพอากาศเยอรมนีประกาศเหตุกาณ์สำคัญเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2024 กล่าวว่าการรับรองความสมควรเดินอากาศสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับ Heron TP UAS
ได้รับการลงนามโดยสำนักงานการบินสหพันธรัฐเยอรมนี(German Federal Aviation Office) ในนคร Cologne เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2024 เช่นเดียวกัน

"การอนุมัติของ drone ลาดตระเวนใหม่ของเราเป็นการยืนยันรับรองทั่วโลก" กองทัพอากาศเยอรมนีกล่าวโดยเสริมว่าการทำการบินจะดำเนินเร็วๆนี้จากนอกเมือง Jagel(เป็นที่รู้จักในชื่อฐานทัพอากาศ Schleswig) ในตอนเหนือสุดของเยอรมนี
การประกาศมีขึ้นตามที่อากาศยานไร้คนขับ Heron TP ได้รับการรับรองแบบโดยสำนักงานการบินทางทหารเยอรมนี(German Military Aviation Authority) ในปี 2022 ซึ่งในเวลานั้นระบบ UAS ถูกปฏิบัติการจากตำแหน่งที่ไม่เปิดเผยในอิสราเอล

อากาศยานไร้คนขับ Heron TP มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่าการปลดประจำการก่อนกำหนดของระบบอากาศยานไร้คนขับ Heron 1 UAS 
และการนำเข้าประจำการของระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE: Medium-Altitude Long-Endurance UAS) ใหม่ของยุโรปที่รู้จักในชื่ออากาศยานไร้คนขับ Eurodrone(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/eurodrone-uav.html)

โดยบริษัท Airbus Defence and Space ยุโรปกำลังปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับ Heron TP จำนวน 5เครื่องไปจนถึงปี 2027 Heron TP มีรูปแบบระบบตรวจจับ EO/IR(Electro-Optic/Infrared) และระบบสร้างภาพด้วย radar
ที่จะสนับสนุนภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) โดนเฉพาะตัวอากาศยานเป็นที่ชัดเจนว่าจะติดตั้งแท่นระบบตรวจจับ IAI(Tamam) M-19HD EO

ซึ่งระบบตรวจจับ M-19HD EO รวมการขยายภาพและการชี้เป้ากล้องกลางวันความละเอียดสูง(HD: high-definition), กล้อง zoom ความร้อน IR ความละเอียด HD, laser กำหนดเป้าหมาย, laser วัดระยะ, laser ชี้นำทาง, laser ส่องแสงใกล้ย่านความถี่ IR
กล้องอุปกรณ์ทวีคูณ electron การประจุไฟฟ้า และกล้อง IR ความถี่คลื่นสั้น ระบบสื่อสารดาวเทียมและระบบเข้ารหัสข้อมูล/เสียงกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบภารกิจที่ติดตั้งด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ฝรั่งเศสสั่งจัดหาวัสดุสำหรับการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ยุคอนาคต PA-NG

France orders first long-lead items for PA-NG carrier





An artist's impression of the French Navy's PA-NG next-generation carrier. (MO Porte Avions)

สำนักงานจัดหากลาโหมฝรั่งเศส(DGA: Direction Générale de l'Armement) ได้วางคำสั่งจัดหาแรกสำหรับวัสดุระยะเวลาดำเนินการยาวนาน(LLI: long-lead items) สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์(CVN) ในอนาคต
โครงการเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ยุคอนาคต PA-NG(Porte-Avions Nouvelle Génération) กระทรวงกองทัพฝรั่งเศส(กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส)ได้ยืนยัน(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/pa-ng.html)

ในการประกาศเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2024 กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสกล่าวว่า DGA ฝรั่งเศสได้ประกาศสัญญามูลค่าวงเงิน 600 million Euros($642.7 million) แก่ผู้รับสัญญาภาคอุตสาหกรรมหลักของโครงการ PA-NG
MO Porte-Avions(กิจการค้าร่วมของบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส และบริษัท Chantiers de l'Atlantique ฝรั่งเศสผู้สร้างเรือ) และผู้พัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บริษัท TechnicAtome ฝรั่งเศส

ครอบคลุมการจัดหาองค์ประกอบระยะเวลาดำเนินการยาวนานแก่ระบบขับเคลื่อนพลังงานนิวเคลียร์ของเรือที่มีชื่อว่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ K-22 โครงสร้างกักกันนิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดพลังงานไอน้ำ
สัญญาปูทางไปสู่การเริ่มการผลิตองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ โดยงานคาดว่าจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2024-2029 ก่อนในการเริ่มต้นของการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสกล่าว

บริษัท Naval Group ได้รับหน้าที่ของการผลิตองค์ประกอบหลักต่างของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ด้วยเหตุนี้สถานที่ของบริษัทใน Cherbourg จะรับผิดชอบสำหรับการผลิตของโครงสร้างหุ้มภายนอกกักกันนิวเคลียร์
ขณะที่สถานที่ของบริษัท Naval Group อีกแห่งใน Nantes-Indret จะผลิตถังรับความดันเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดพลังงานไอน้ำ(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/pang.html

บริษัท TechnicAtome ผู้รับสัญญาหลักสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบและการกำกับควบคุมระบบนิวเคลียร์ต่างๆเหล่านี้ และจะเป็นที่ตั้งต้นแบบชุดแรกของอุปกรณ์ห้องหม้อต้มน้ำ ณ สถานที่ของบริษัท Cadarache ในตอนใต้ของฝรั่งเศส
ขณะเดียวกันบริษัทที่ Chantiers de l'Atlantique จะรับผิดชอบสำหรับการปรับปรุงสถานที่ของตนในการเตรียมการสำหรับขั้นระยะการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน ณ อู่เรือของบริษัทใน Saint-Nazaire

เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ยุคอนาคต PA-NG มีวัตถุประสงค์ที่จะทดแทนเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ที่ประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศส(French Navy, Marine Nationale) ในปัจจุบัน
เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ R91 FS Charles de Gaulle ซึ่งจะใกล้ถึงการสิ้นสุดอายุการใช้งานในปี 2038 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/rafale-m.html)

บรูไนสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H145M 6เครื่อง

Brunei orders six H145M helicopters







The six Airbus H145M helicopters ordered by Brunei will be used in the close air support and aerial observation roles after entering service. (Airbus Helicopters)

กระทรวงกลาโหมบรูไนได้ลงนามสัญญากับบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปเพื่อจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H145M จำนวน 6เครื่อง สัญญาได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2024 ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมบรูไน 
"เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 6เครื่องจะถูกทยอยนำเข้าประจำการในกองทัพบรูไน เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2026 เพื่อจะทดแทนเฮลิคอปเตอร์ Bolkow BO-105 ซึ่งได้ถูกปลดประจำการแล้ว" กระทรวงกลาโหมบรูไนเสริม

ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมบรูไน เฮลิคอปเตอร์ H145M "จะเพิ่มขยายขีดความสามารถการปฏิบัติการต่างๆของกองทัพอากาศบรูไน(RBAirF: Royal Brunei Air Force) อย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับภารกิจต่างๆอย่างเช่น การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support), การตรวจการณ์ทางอากาศ(Aerial Observation) และการปฏิบัติการอื่นๆที่หลากหลาย"

ภารกิจที่เป็นไปได้อื่นๆรวมถึง การค้นหาในพื้นที่การรบและการส่งกลับทางสายแพทย์ และส่งหน่วยรบพิเศษเข้าแทรกซึมในพื้นที่ ตามข้อมูลทั่วไปของเฮลิคอปเตอร์ H145M ที่เผยแพร่โดย Airbus Helicopters(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/h145m-62.html)
การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H145M โดยกองทัพอากาศบรูไนน่าจะยังมอบขีดความสามารถระบบทีมมีคนบังคับ-ไร้คนขับ(MUM-T: Manned-Unmanned Teaming) ในอนาคตแก่บรูไนด้วย

เฮลิคอปเตอร์ H145M สามารถสนับสนุนการรวมการของระบบ workstation การบัญชาการ ควบคุม สื่อสาร คอมพิวเตอร์ และข่าวกรอง(C4I: Command, Control, Communications, Computers and Intelligence) ตามข้อมูลจาก Airbus Helicopters
กองทัพอากาศบรูไนเป็นกองกำลังทางอากาศขนาดค่อนข้างเล็กโดยมีอากาศยานในประจำการอย่างน้อย 24เครื่องที่ถูกใช้สำหรับการส่งกำลังบำรุงและการลำเลียงขนส่งเป็นหลัก

อากาศยานเหล่านี้รวมถึงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Airbus C295MW จำนวน 2เครื่อง ที่เข้าประจำการในปี 2024 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/c295mw.html), เสริมด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป S-70 จำนวน 16เครื่อง, 
ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทางยุทธวิธี Boeing Insitu RQ-21 Integrator Small Tactical Unmanned Air System(STUAS) จำนวน 1ระบบ ซึ่งถูกใช้สำหรับการตรวจการณ์และลาดตระเวน,

เครื่องบินลำเลียง Airbus CN235-110M จำนวน 1เครื่องที่มีกำหนดจะถูกปลดประจำการลง, เครื่องบินฝึกใบพัด Pilatus PC-7 Mk II จำนวน 4เครื่อง
และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 206B-3 JetRanger III ไม่ทราบจำนวนที่มีอายุการใช้งานมานานที่ถูกใช้สำหรับการฝึก ทั้งนี้กองทัพอากาศบรูไนไม่เคยมีเครื่องบินรบไอพ่นประจำการครับ

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของจีน CV-18 Fujian เริ่มการทดลองเรือในทะเลครั้งแรก

China's third aircraft carrier begins maiden sea trials











China's third aircraft carrier, seen here as it embarked on its maiden sea trials on 1 May 2024. (Pu Haiyang/VCG via Getty Images)









เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 003 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ได้เริ่มต้นการทดลองเรือในทะเลครั้งแรกของตนแล้ว 
สำนักข่าว Xinhua News Agency สื่อในความควบคุมของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2024(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/type-003-cv-18-fujian.html)

เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ออกจากอู่เรือ Jiangnan Shipyard ในมหานคร Shanghai ณ เวลาราว 0800h ตามเวลาท้องถิ่นในวันที่มีการประกาศข่าว
การทดลองต่างๆเหล่านี้จะมุ่งเน้นโดยหลักเกี่ยวกับการทดสอบ "ความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพของระบบขับเคลื่อนและระบบไฟฟ้าต่างๆของเรือบรรทุกเครื่องบิน" สำนักข่าว Xinhua จีนรายงาน

"ตั้งแต่ปล่อยเรือลงน้ำในเดือนมิถุนายน 2022 เรือบรรทุกเครื่องบิน Fujian ได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือหน้าท่า, งานติดตั้ง, และการปรับแต่งสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ เรือได้ตรงความต้องการทางเทคนิคสำหรับการทดลองเรือในทะเล" รายงานเสริม
เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำโดยอู่เรือ Jiangnan ในเดือนมิถุนายน 2022 เรือถูกกำหนดว่าจะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนในภาพรวม

แต่เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนที่จะใช้แบบแผนรูปแบบการปฏิบัติการอากาศยานแบบ
CATOBAR(Catapult-Assisted Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยรางดีด catapult และรับกลับมาลงจอดด้วยการใช้ตะขอเกี่ยวลวดท้ายเรือ

วีดิทัศน์ที่เผยแพร่วนเวียนในบัญชีสื่อสังคม online ของจีนตั้งข้อสังเกตว่า การทดสอบระบบรางดีด catapult ของเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ได้เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน 2023
วีดิทัศน์เหล่านี้แสดงถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ได้ดีดส่ง apparatuses ที่รู้จักกันทั่วไปว่า 'dead loads' ลงสู่น้ำตรงหน้าเรือที่จอดอยู่บนเกาะ Changxing

เรือบรรทุกเครื่องบินสองลำแรกของจีน เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning และเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/wargames.html) แต่ละลำถูกสร้างโดยติดตั้งทางวิ่งขึ้น ski-jump 
และมีแบบแผนในรูปแบบการปฏิบัติการอากาศยานแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยทางวิ่ง ski-jump และรับกลับมาลงจอดด้วยการใช้ตะขอเกี่ยวลวดท้ายเรือ

เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian มีความยาวเรือรวมที่ประมาณ 320m และดาดฟ้าบินของเรือมีความกว้างที่ประมาณ 80m ในจุดที่กว้างที่สุด
เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ได้รับการติดตั้งรางดีด catapult ระบบแม่แหล็กไฟฟ้าสามตำแหน่ง และสายลวดเกี่ยวหยุดอากาศยานสี่เส้นติดตั้งในตำแหน่งทางวิ่งแนวเฉียงครับ