วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

เรือฟริเกต F14 UMS Sin Phyu Shin กองทัพเรือพม่าติด radar Revathi ใหม่ของอินเดีย

Myanmar equips second Kyan Sit Thar-class frigate with Indian-made radar





Myanmar's second Kyan Sit Thar-class frigate, UMS Sin Phyu Shin , seen here as it arrives at Visakhapatnam, India, for Exercise ‘Milan' 2024. It can be seen here equipped with the Revathi radar. (Royal Thai Navy and Indian MoD)

กองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy) ได้ติดตั้ง radar ตรวจการณ์ทางอากาศสามมิติ 3D แบบ Revathi ที่สร้างโดยอินเดียบนเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Kyan Sit Thar ลำที่สอง เรือฟริเกต F14 UMS Sin Phyu Shin ของตน
Janes สามารถยืนยันในขณะนี้ได้ว่า Revathi 3D radar อินเดียได้ถูกบูรณาการเข้ากับเรือฟริเกต F14 UMS Sin Phyu Shin อย่างเต็มรูปแบบในปี 2023 และการยืนยันรับรองบางส่วนของขีดความสามารถบางส่วนของเรือได้ถูกดำเนินการขึ้น 

ณ การฝึกผสมทางเรือนานาชาติ MILAN 2024 ใน Visakhapatnam อินเดียที่ดำเนินขึ้นตั้งแต่วันที่ 19-27 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/milan-2024.html)
ชุดภาพของเรือฟริเกต UMS Sin Phyu Shin ที่กำลังเดินทางมาถึง Visakhapatnam สำหรับการฝึก MILAN 2024 ที่เผยแพร่โดยกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2024 และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ตามมาหลังจากนั้น

ชุดภาพได้แสดงถึงเรือฟริเกต UMS Sin Phyu Shin กองทัพเรือพม่าพร้อมกับสิ่งที่ปรากฏว่าจะเป็นระบบตรวจจับใหม่บนแท่นยก(pedestal) เหนือด้านท้ายของดาดฟ้ายก(superstructure) ของเรือ
ระบบตรวจจับที่เคยถูกพบว่าติดตั้งบนแท่นยกดังกล่าวคือ radar ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ Bharat Electronics Limited(BEL) RAWL-02 อินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/blog-post_24.html)

Janes ได้ตรวจสอบยืนยันตั้งแต่นั้นว่าบริษัท Bharat Electronics Limited(BEL) อินเดียได้รับสัญญาที่จะทดแทน radar RAWL-02 ด้วย radar Revathi ในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศของเรือฟริเกต UMS Sin Phyu Shin
Revathi radar มีขีดความสามารถในการติดตามเป้าหมายได้เป้าและได้ถูกบูรณาการระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend-or-Foe) เป็นที่เชื่อว่ามีระยะทำการไกลสุดที่ราว 180km โดยมีความสูงตรวจจับครอบคลุมถึง 18,000m

เรือฟริเกต F14 UMS Sin Phyu Shin ถูกสร้างโดยอู่เรือ Myanmar Naval Dockyard ในพม่าและเข้าประจำการในกองทัพเรือพม่าในเดือนธันวาคม 2015(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/ums-sinbyushin-f14-stealth.html)
เรือฟริเกตชั้น Kyan Sit Thar ปรากฎว่าจะมีพื้นฐานที่พัฒนาอย่างมากจากการออกแบบของเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Aung Zeya ที่กองทัพเรือพม่ามีประจำการลำเดียวคือเรือฟริเกต F11 UMS Aung Zeya

เรือฟริเกตชั้น Kyan Sit Thar ทั้งสองลำคือลำแรกเรือฟริเกต F12 UMS Kyan Sit Thar ซึ่งเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2014 และลำที่สองเรือฟริเกต F14 UMS Sin Phyu Shin ที่ทั้งหมดสร้างในพม่ายังติดตั้งระบบตรวจจับและอาวุธที่สร้างโดยอินเดียอีกหลายแบบ
รวมถึง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Shyena ที่พัฒนาโดยบริษัท Larsen & Toubro อินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/torpedo-shyena.html) และ sonar ตัวเรือแบบ HUMSA HMS-X ของบริษัท BEL อินเดียครับ