วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมและงานวิจัยพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของไทย-๓

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
ก็ยังมีผลงานวิจัยพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ในส่วนของกองทัพและหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมที่มาจัดแสดงในงานต่อจากรายงานที่แล้วครับ


ชุดป้องกันสารพิษระดับสูง Level A พัฒนาโดย ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ
เป็นชุดป้องกันสารพิษมีมาตรฐานเทียบเท่าต่างประเทศแต่มีราคาถูกกว่า โดยผ่านการรองรับตามมาตรฐานกองทัพอากาศแล้ว


อุปกรณ์ระบุพิกัดหน่วยทหารขนาดเล็กด้วยดาวเทียมโดยใช้เครือข่ายวิทยุสื่อสาร พัฒนาโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
เป็นอุปกรณ์สำหรับแจ้งพิกัดและแสดงสถานะของหน่วยทหารขนาดเล็กที่มีหน่วยย่อยไม่เกิน ๑๐หน่วย ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ VHF แทนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใช้งานได้ทุกพื้นที่ทุกสถานการณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับ-ส่งข้อมูล
มีคุณสมบัติแจ้งพิกัดตามเวลาที่กำหนด แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ(Man Down!) ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ยกเลิกการแจ้งตำแหน่งที่ไม่ต้องการ (ข้อสงสัย ทหารไทยเราติดต่อกันด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ?)


ระบบการสื่อสารพิกัดเพื่อการควบคุมบังคับบัญชา สนับสนุนการตัดสินใจในภารกิจทางทหาร พัฒนาโดย กรมแผนที่ทหาร


เครื่องรบกวนสัญญาณ ๓ระบบ รุ่น NPB-312 แบบสะพายหลัง พัฒนาโดย ศูนย์การทหารราบ
ใช้รบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกย่ายความถี่ทุกเครือข่าย ระบบ Remote Control รถยนต์ และระบบวิทยุสื่อสารประกอบวงจร DTMF ซึ่งมักใช้ในระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบในชายแดนภาคใต้
ระบบมีน้ำหนัก 10kg ระยะการทำงาน 20-40m ทำงานได้ต่อเนื่อง ๑-๒ชั่วโมง


เครื่องรบกวนระบบสื่อสารย่านความถี่โทรศัพท์มือถือและวิทยุสื่อสาร พัฒนาโดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
ใช้รบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ระบบ Remote Control รถยนต์ และระบบวิทยุ DTMF ซึ่งมักใช้ในระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบในชายแดนภาคใต้








ระบบอำนวยการยิงปืนใหญ่ทางยุทธวิธีอัตโนมัติด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Artillery Tactical Fire Direction Automatic System Operate through computer network) พัฒนาโดย ศูนย์การทหารปืนใหญ่
เป็นโปรแกรมอำนวยการยิงทางเทคนิคและทางยุทธวิธีสำหรับหน่วยทหารปืนใหญ่สานามโดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กประกอบกับเครื่องหาพิกัดดาวเทียม ผ่านเครือข่ายวิทยุสื่อสารทางทหาร
ประกอบด้วย โปรแกรมผู้ตรวจการณ์หน้า โปรแกรมศูนย์อำนวยการยิง โปรแกรมส่วนยิง และโปรแกรมนายทหารการยิงสนับสนุน สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และทันเวลา ลดขั้นตอนเวลาคำนวณลงด้วยการป้อนข้อมูลเข้าระบบ
อุปกรณ์ที่เลือกใช้กับระบบคือ Panasonic TOUGHPAD และ TOUGHBOOK ซึ่งเป็นที่ยอมรับในงานทางทหาร (ที่ส่วนจัดแสดงของ Panasonic Singapore ก็แสดง TOUGHPAD และ TOUGHBOOK แช่น้ำอยู่ )



เครื่องช่วยฝึกปืนเล็กยาว TARVO TAR-21 จำลอง พัฒนาโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
เป็นเครื่องช่วยฝึกแทน ปลย.๕๐ TARVO TAR-21 จริง สามารถใช้ฝึกท่าบุคคลประกอบอาวุธ ใช้ฝึกการเล็งลั่นไก ใช้ฝึกทางยุทธวิธีประกอบอาวุธ
มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนักใกล้เคียงปืนจริง ติดดาบปลายปืนได้ แต่ใส่ซองกระสุนและยิงจริงไม่ได้



เครื่องช่วยฝึกปืนเล็กยาว M16 จำลอง พัฒนาโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
เป็นเครื่องช่วยฝึกแทน ปลย.M16 จริง สามารถใช้ฝึกท่าบุคคลประกอบอาวุธ ฝึกการถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆในวิชาอาวุธศึกษา ใช้ฝึกการเล็งลั่นไก ใช้ฝึกทางยุทธวิธีประกอบอาวุธ ฝึกการบริหารประกอบอาวุธ และฝึกสวนสนามประกอบอาวุธ
มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนักใกล้เคียงปืนจริง ติดขาทรายและดาบปลายปืนได้ ใส่ซองกระสุนได้ มีชุดโครงลูกเลื่อนจำลองลั่นไกได้แต่ยิงจริงไม่ได้




โครงการพัฒนาสมรรถนะหน่วยช่วยขับเคลื่อน(APU) ของ ปนร.๓๔ GHN-45 ขนาด ๑๕๕มม. พัฒนาโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
เป็นระบบขับเคลื่อนสำหรับ ปนร.๓๔ GHN-45 ขนาด 155mm ให้สามารถเคลื่อนที่ในภูมิประเทศ ที่ยากลำบากสะดวกต่อการตั้งยิงและเลิกยิง ใช้กำลังพลเพียง ๔-๕นาย
น้ำหนักปืนไม่รวมเครื่องควบคุมการยิง 13.4tons APU มีความเร็ว 20-25km/h ระยะปฏิบัติการไกลสุด 100km ไต่ลาดได้ 34%
มีราคาเพียง ๑๐ล้านบาทต่อชุด ขณะที่ของต่างประเทศมีราคา ๔๕ล้านบาทต่อชุด พร้อมนำเข้าสู่สายการผลิตสำหรับปืนใหญ่ GHN-45 ของกองทัพบก ๙๒กระบอก และกองทัพเรือ ๓๖กระบอก



ปกค. ขนาด ๑๐๕มม. อัตตาจรล้อยาง พัฒนาโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ปืนใหญ่อัตราจรล้อยาง M425 ขนาด 105mm/37cal ความเร็วสูงสุดในภูมิประเทศ 50km/h ความเร็วสูงสุดบนถนน 80km/h
ระยะยิงไกลสุด 14.5km อัตรายิงต่อเนื่อง ๑๐นัดต่อนาที กระสุน ๔๐นัด พลประจำรถ ๖นาย รถรองปืน รถบรรทุกขนาด 5tons 6x6 รุ่น KIA KM500 หรือ D6AZ เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 270HP



ปกค. ขนาด ๑๕๕มม. อัตตาจรล้อยาง พัฒนาโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ปืนใหญ่อัตราจรล้อยาง M425 ขนาด 155mm/39cal รถรองปืน ระยะยิงไกลสุด 32km อัตรายิงต่อเนื่อง ๓นัดต่อนาที กระสุน ๒๐นัด พลประจำรถ ๖นาย
รถบรรทุกขนาด 10tons รุ่น Volvo N720 4x2 เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 213HP ความเร็ว 70km/h หรือรุ่น Volvo FM13 6x6HR เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 480HP ความเร็ว 90km/h





ผลิตภัณฑ์กระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
มีเช่น ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60mm ชนิดระเบิด M472 HE และ M261 HE, ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81mm ชนิดระเบิด M262 HE, ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm ชนิดระเบิด M293 HE,
กระสุนปืนใหญ่เบาวิถีโค้งขนาด 105mm ชนิดระเบิด เพิ่มระยะกลาง M551 HE BT, กระสุนปืนใหญ่เบาวิถีโค้งขนาด 105mm ชนิดระเบิด เพิ่มระยะไกล M381 HE BB,
กระสุนปืนใหญ่กลางวิถีโค้งขนาด 155mm ชนิดระเบิด M107 HE, กระสุนปืนใหญ่กลางวิถีโค้งขนาด 155mm ชนิดระเบิด เพิ่มระยะไกล M351 HE ERFB BB
กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ชนิดระเบิดกระเทาะเกราะ ส่องวิถี M156 HESH-T, กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ชนิดฝึก ส่องวิถี M157 TP-T (ได้รับการถ่ายทอด Technology จาก IMI อิสราเอล)




ผลิตภัณฑ์ของโรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ผลิตภัณฑ์ดินส่งกระสุน ปืนพก 9mm Luger, .38 Super, .38 Special, .45ACP ปืนลูกซอง 12 Gauge, กระสุนปืนเล็ก 5.56x45mm M193, M855 NATO และ 7.62x51mm NATO
ปืนใหญ่กล 20x102mm M55A2 TP, 30x165m รัสเซีย และ 30x173mm NATO ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 40/L60, 40/L70 และ 37mm จีน
ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60mm, 81mm และ 120mm กระสุนปืนใหญ่ขนาด 155mm M3A1, M4A2 และดินขับจรวดกึ่งสำเร็จรูป N-5 จรวดขนาด 2.75" เป็นต้น


ผลิตภัณฑ์ของโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
เช่น สารทากันยุง แผ่นปิดแผลไคโตซาน ยาเม็ดทำน้ำบริสุทธิ ผงโรยเท้า การผลิตสารต้านพิษ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้นครับ