วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือหลวงตากสิน กองทัพเรือไทยฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ESSM ครั้งแรก






Royal Thai Navy (RTN) FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided-missile and FFG-422 HTMS Taksin, the Naresuan-class guided-missile frigate successfully live firing RIM-162 ESSM missiles from Mk 41 Vertical Launching System (VLS) to two Banshee drone aerial targets of RTN Naval Ordnance Department at 7nmi and 8.5nmi respectively for closing of Naval Exercise Fiscal Year 2024 in Gulf of Thailand on 25 July 2024. (Royal Thai Navy)



กองทัพเรือฝึกยิงอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศ ESSM จากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือหลวงตากสิน ถูกเป้าฝึกยิงโดรนอย่างแม่นยำ ปิดฉากการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2567 / ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมสังเกตการณ์  และเป็นประธานปิดการฝึกกองทัพเรือ 67

วันนี้ (25 กรกฎาคม 2567) พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ ร่วมสังเกตการณ์การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น - สู่ - อากาศ แบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile) บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร 
โดยการฝึกยิงอาวุธครั้งนี้ ทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีจำนวนสองนัดไปยังเป้าโดรน แบบ Banshee ของกรมสรรพาวุธทหารเรือ โดยนัดแรกยิงด้วยลูกฝึกยิงโดรนจากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ชนเป้าที่ระยะ 7 ไมล์ และนัดที่สองยิงด้วยลูกจริงจากเรือหลวงตากสิน ชนเป้าที่ระยะ 8.5 ไมล์ 
โดยการยิงอาวุธนำวิถีถูกเป้าครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ทำการยิงด้วยลูกจริง โดยอาวุธปล่อยถูกเป้าอย่างแม่นยำ ระบบต่าง ๆ ทำงานอย่างถูกต้องสมบูรณ์ แสดงถึงความพร้อมของกำลังรบทางเรือในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือได้มอบโอวาทแก่กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก พร้อมทั้งขอบคุณและชื่นชมกำลังพลทุกนาย ที่ได้ทุ่มเทและเตรียมการในทําการยิงจนประสบความสําเร็จในวันนี้ โดยมีใจความสำคัญว่า
“ การฝึกยิง ESSM ได้กําหนดให้มีการฝึกยิงตั้งแต่ปีงบประมาณ 66 ที่ผ่านมา โดยพลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งท่านก็ได้มาร่วมชมความสําเร็จในวันนี้ด้วย ผมขอขอบคุณท่านที่ได้กําหนดนโยบายและมอบแนวทาง ซึ่งพวกเราร่วมกันดําเนินการต่อเนื่องมาจนเป็นผลสําเร็จ ยิงเข้าเป้าอย่างแม่นยํา 
ด้วยการดําเนินการโดยกําลังพลและยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือทั้งหมด     สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้จะนําพากองทัพเรือไปสู่ความเป็นมืออาชีพ หรือทหารเรืออาชีพ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นภาคภูมิใจ และจะทําให้ทะเลไทยมีความมั่นคงสืบไป”

สำหรับอาวุธปล่อยฯ แบบ ESSM เป็นอาวุธปล่อยฯ ที่กองทัพเรือได้จัดซื้อมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยติดตั้งในเรือ 3 ลำ คือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน มีการนำวิถีแบบ Semi - Active ที่ได้รับการพัฒนามาจากอาวุธปล่อยฯ แบบ RIM - 7 หรือ Sea Sparrow Missile 
มีความเร็วมากกว่า 3 มัค หรือมากกว่า 3,675 กิโลเมตร/ชั่วโมง ยิงได้ไกลมากกว่า 27.78 กิโลเมตร และยิงได้ที่ความสูง 11 กิโลเมตร ซึ่งการฝึกยิงในครั้งนี้เพื่อทดสอบความพร้อมของระบบการยิงอาวุธปล่อยฯ แบบ ESSM ในด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี รวมทั้งเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้และประสบการณ์ของกำลังพลในการยิง

จากนั้นในเวลา 17.00 น.  ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ ได้เข้ารับฟังการแถลงผลและเป็นประธานปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2567 ณ หอประชุม กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ให้โอวาทว่า “ขอให้การฝึกครั้งนี้ และที่จะมีขึ้นในทุก ๆ ปี เป็นเครื่องมือในการทดสอบ ปรับแก้ไข สร้างความพัฒนาก้าวหน้า เพื่อให้กองทัพเรือมีความพร้อมเมื่อต้องใช้กำลังจริง และเป็นเครื่องมือที่จะบอกกับประชาชนว่า กองทัพเรือมีความพร้อมที่จะรักษา ความมั่นคงอธิปไตยและผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล และประชาชน มีความภูมิใจในความเป็นทหารอาชีพ ของพวกเรา”

การฝึกกองทัพเรือเป็นการบูรณาการการฝึก ด้วยการนำขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ และการปฏิบัติหน้าที่ของกรมในส่วนบัญชาการ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาทำการฝึกภายใต้สถานการณ์ฝึกเดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้ทุกหน่วยสามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างประสานสอดคล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ซึ่งได้กำหนดรูปแบบการฝึกเป็นวงรอบการฝึก 2 ปี ภายใต้สถานการณ์ฝึกเดียวกันแบบต่อเนื่องในการฝึกกองทัพเรือ 65 และ การฝึกกองทัพเรือ 66 โดยการฝึกกองทัพเรือ 67 ในปีนี้เป็นการฝึกในสถานการณ์การป้องกันประเทศด้านตะวันออก มุ่งเน้นการทดสอบการปฏิบัติและการอำนวยการยุทธ์ตามคำสั่งยุทธการในสถานการณ์วิกฤตจนถึงขั้นป้องกันประเทศ 
การทดสอบแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ พ.ศ.2563 การทดสอบการปฏิบัติและการบูรณาการการฝึกระหว่างกองทัพเรือกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล. เมื่อมีสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น รวมทั้งการใช้กำลังจากกองทัพบก และกองทัพอากาศเข้ามาสนับสนุน

การฝึกกองทัพเรือ 2567 แบ่งขั้นตอนการฝึกออกเป็นขั้นการฝึกปัญหาที่บังคับการ หรือ CPX (Command Post Exercise) เป็นการฝึกทดสอบกระบวนการวางแผนและการตัดสินใจตามกระบวนการวางแผนทางทหาร และการอำนวยการยุทธ์ตามคำสั่งยุทธการ ตั้งแต่สถานการณ์ในภาวะปกติ สถานการณ์วิกฤติจนถึงขั้นสถานการณ์ความขัดแย้งระดับสูง 
และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล หรือ FTX (Field Training Exercise) เป็นการฝึกตามสาขาปฏิบัติการของหน่วยต่าง ๆ เพื่อทดสอบความพร้อมองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธีในการปฏิบัติตามกิจที่ได้รับมอบ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล รวมทั้งเป็นการทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการต่าง ๆ
 
สำหรับผลสรุปการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และนโยบายการฝึกของกองทัพเรือได้ทุกประการ ซึ่งได้ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลการฝึกในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์จนถึงระดับยุทธวิธี และยังเป็นการบูรณาการการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมที่สำคัญตามภารกิจ บทบาทหน้าที่ของกองทัพเรือ โดยเมื่อทำการฝึกเสร็จสิ้นแล้ว จะทำให้หน่วยงานทุกภาคส่วนและประชาชนเชื่อมั่นได้ว่า กำลังรบของกองทัพเรือ จะมีความพร้อมในการปกป้องอธิปไตย รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในยามปกติ โดยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลดุลยเดช กองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑(1st FS: 1st Frigate Squadron) และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน กองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒(2nd FS: 2nd Frigate Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ประสบความสำเร็จในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM(Evolved Sea Sparrow Missile) ครั้งแรกของตน
โดยการยิงลูกจริงเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ในอ่าวไทย ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช และ ร.ล.ตากสิน ได้ทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ESSM จากแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 VLS(Vertical Launching System) ของเรือลำละหนึ่งนัดประความสำเร็จในการยิงทำลายเป้าบินทางอากาศแบบ Banshee ของกรมสรรพาวุธทหารเรือ สพ.ทร.(Naval Ordnance Department) ที่ระยะ 7nmi และ 8.5nmi ตามลำดับ

การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ESSM ยังเป็นการปิดการฝึกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtn5mar2024.html) และมีการฝึกภาคทะเล(FTX: Field Training Exercise) ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/ftx.html
ที่รวมถึงการฝึกยิง torpedo เบา Mk46 จาก ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk ๒เครื่องจากฝูงบิน๒ หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) เป็นครั้งแรก เป็นการพิสูจน์ถึงขีดความสามารถของเรือทั้งด้านสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) และสงครามต่อต้านทางอากาศ(AAW: Anti-Air Warfare) ของเรือ

ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือฟริเกตสมรรถสูงลำล่าสุดของกองทัพเรือไทยสร้างโดยอู่เรือบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี(ปัจจุบัน Hanwha Ocean) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ทั้งสองลำคือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ที่สร้างในจีนเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๘(1995) และได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) โดยบริษัท Saab สวีเดนเป็นผู้รับสัญญาหลักนั้น
แต่ละลำได้ติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 VLS จำนวน ๘ท่อยิงซึ่งรอรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ESSM ในชุดบรรจุแบบ Mk25 Quad-Pack Canister สี่นัดได้ถึง ๓๒นัด โดยการฝึกยิง ESSM ครั้งล่าสุดนี้เป็นการยิงครั้งที่สองตั้งแต่การยิงครั้งแรกที่ดำเนินการโดย ร.ล.นเรศวร ในการฝึก CARAT 2015 ปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2015/09/rim-162-essm-carat-2015-thailand.html)

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เครื่องบินขับไล่ F-16C Block 70 สหรัฐฯ 2เครื่องแรกมาถึงสโลวาเกียแล้ว

Farnborough 2024: Slovakia receives first two F-16 Block 70s





The first two Slovak F-16Cs arrived in Slovakia on 22 July, although two-seat F-16D remains in the US for now. (Lockheed Martin)





กองทัพอากาศสโลวาเกีย(Slovak Air Force) ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70 Fighting Falcon สองเครื่องแรก เป็นเครื่องหมายถึงการนำเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 รุ่นใหม่เข้าประจำการในยุโรป
ตามแถลงการณ์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2024 โดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 กรกฎาคม 2024 ในสหราชอาณาจักร

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-16C Block 70 จำนวน 2เครื่องได้เดินทางมาถึงฐานทัพอากาศ Malacky ของสโลวาเกียเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2024 โดยได้รับการต้อนรับจากแขกผู้มีเกียรติของรัฐบาลสโลวาเกีย
บริษัท Lockheed Martin ได้ทำการสร้างเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70 ของสโลวาเกียแล้วจำนวน 5เครื่องจากที่สั่งจัดหา 14เครื่องภายใต้สัญญาวงเงิน 1.6 billion Euros($1.8 billion ในมูลค่าตามค่าเงินตอนนี้)

แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-16C Block 70 จำนวน 12เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ที่สองที่นั่ง F-16D Block 70 จำนวน 2เครื่อง ที่ได้มีการการลงนามสัญญาจัดหาในปี 2018
เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70 ที่เหลือมีกำหนดที่จะส่งมอบให้สโลวาเกียจนครบก่อนสิ้นปี 2025 บริษัท Lockheed Martin กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/lockheed-martin-f-16-block-70.html)

สัญญาได้รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium‐Range Air-to-Air Missile) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X Sidewinder นอกเหนือจากการฝึกและการสนับสนุนระหว่างในประจำการ
เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70 หนึ่งฝูงบินจำนวน 14เครื่อง(ปัจจุบันฝูงบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) จะมีจำนวน 18เครื่อง) จะทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ซึ่งสโลวาเกียได้บริจาคให้ยูเครนไปแล้วในปี 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/mig-29-4.html)

เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 มีคุณลักษณะติดตั้งด้วย AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Northrop Grumman AN/APG-83 นอกเหนือจากอายุการใช้งานโครงสร้างอากาศยานที่ 12,000ชั่วโมง(เพิ่มจากรุ่นก่อนหน้าที่ 8,000ชั่วโมงบิน) และระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(Auto GCAS: Automatic Ground-Collision Avoidance System)
ตามข้อมูลจาก Lockheed Martin สหรัฐฯ ปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งสร้างเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70/72 ที่ถูกผลิต ณ โรงงานอากาศยาน Greenville ในมลรัฐ South Carolina แล้ว 128เครื่อง โดยมีทั้งหมด 12เครื่องที่ได้ถูกส่งมอบให้ลูกค้านานาชาติแล้วจนถึงตอนนี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16cd-block-70.html)

(เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ General Electric F100-GE-129D ส่วนเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 72 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ Pratt & Whitney F100-PW229EEP ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16V เป็นการกำหนดแบบหมายถึงการนำโครงสร้างอากาศยานเครื่องเดิมมาสร้างใหม่ที่ได้ทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน)
ในต้นเดือนกรกฎาคม 2024 นี้ บริษัท Lockheed Martin ได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16 เครื่องที่ 4,600 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/f-16cd-block-70-40.html) เป็นการเดินหน้าสายการผลิตของเครื่องบินที่ต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 50ปีนับตั้งแต่ที่เครื่องบินต้นแบบเครื่องแรกทำการบินครั้งแรกในปี 1974 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

General Atomics สหรัฐฯเสนอแนวคิดกองบินอากาศยานไร้คนขับอนาคตบนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth อังกฤษ

Farnborough 2024: General Atomics touts future Royal Navy unmanned carrier air wing



General Atomics showcased its vision of a future unmanned carrier air wing for the UK Royal Navy's two Queen Elizabeth-class aircraft carriers at the Farnborough 2024. (General Atomics via Janes/Gareth Jennings)

บริษัท General Atomics Aeronautical Systems Inc(GA-ASI) สหรัฐฯกำลังแนวเสนอวิสัยทัศน์แนวคิดกองบินอากาศยานไร้คนขับในอนาคตของตนสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ของกองทัพสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy)
ที่มีการจัดแสดงภาพวาดแนวคิด ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 กรกฎาคม 2024(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/f-35b-hms-prince-of-wales.html)

ภาพวาดอัตราส่วนขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ของส่วนจัดแสดงของบริษัท GA-ASI ณ งานแสดงการบิน Farnborough International Airshow 2024 ที่จัดขึ้นสองปีครั้งได้แสดงให้เห็นถึง
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ทั้ง 2ลำของกองทัพสหราชอาณาจักรกำลังปฏิบัติการด้วยอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ปีกตรึงที่เป็นผลงานของ GA-ASI สหรัฐฯที่ได้ถูกเลือก

อากาศยานไร้คนขับ UAV ที่เห็นบนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบิน R09 HMS Prince of Wales ประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์ไอพ่น Gambit(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/general-atomics-mq-9b-stol.html)
เช่นเดียวกับอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์ใบพัด turboprop แบบ MQ-9B Mojave(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/ga-asi-mojave-uav.html) และอากาศยานไร้คนขับ MQ-9B Protector RG1

อากาศยานไร้คนขับ UAV เหล่านี้ถูกแสดงเคียงข้างไปกับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B/F-35C Lightning II(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/f-35b.html) เป็นการเน้นย้ำที่สำคัญในส่วนการผสมผสานกำลังอากาศยานมีนักบิน/ไร้คนขับ
ที่น่าจะนำมาวางกำลังบนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรเหล่านี้ในอีกระยะเวลามากกว่า 50ปีของอายุการใช้งานการวางกำลังประจำการของพวกเธอ

เป็นตัวเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2022 ระบบอากาศยานไร้คนขับ Gambit (UAS: Unmanned Aircraft System) ถูกอธิบายโดย GA-ASI ในฐานะ "แนวคิดอากาศยานขั้นก้าวหน้า" โดยการนำปัญญาประดิษฐ์(AI: Artificial Intelligence) มาใช้งานเพื่อให้สำเร็จภารกิจต่างๆที่หลากหลายโดยปราศจากออกคำสั่งกำกับควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ภารกิจในฐานะ 'คู่บินภักดี'(loyal wingman) ฝูงอากาศยานไร้คนขับ Gambit สามารถจะปฏิบัติการควบคู่ไปกับเครื่องบินขับไล่ F-35B/F-35C ของเรือบรรทุกเครื่องบิน มอบขีดความสามารถระบบตรวจจับและอาวุธนอกตัวเครื่อง และเสริมการเพิ่มจำนวนต่อกองบิน

Gambit UAS ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ Off-Boarding Sensing Station(OBSS) ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) และน่าจะจำเป็นที่จะต้องถูกปรับแต่งสำหรับการปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
โดย(สันนิษฐาน)เป็นไปได้ว่าจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของฐานล้อลงจอด, การติดตั้งแกนยึดจับกับรางดีดส่งอากาศยาน catapult และตะขอเกี่ยวลวดหยุดเครื่องเมื่อกลับมาลงจอด และมาตรการเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของไอเกลือในทะเลครับ

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เนเธอร์แลนด์และออสเตรียร่วมลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-390 บราซิล 9เครื่อง

Farnborough 2024: Austria, Netherlands sign for joint C-390 buy



A Brazilian Air Force KC-390 Millennium flying at the Royal International Air Tattoo and the Farnborough International Airshow. Austria and the Netherlands have signed for the type in a joint procurement contract. (Janes/Gareth Jennings)



ออสเตรียและเนเธอร์แลนด์ลงนามสัญญาสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างร่วมของเครื่องบินลำเลียง Embraer C-390 Millennium จำนวน 9เครื่องในพิธีที่เป็นเจ้าภาพโดยบริษัท Embraer บราซิลผู้ผลิตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2024
พิธีลงนาม ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2024 ได้เสร็จสิ้นข้อตกลงที่จะได้เห็นออสเตรียจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-390 จำนวน 4เครื่อง และเนเธอร์แลนด์จำนวน 5เครื่อง

"ด้วยสัญญานี้ เป็นที่ชัดเจนว่าเครื่องบินลำเลียง C-390 จะพิชิตได้มากยิ่งขึ้นกว่านี้ในพื้นที่ตลาดระดับนานาชาติ" ผู้อำนวยการบริหารบริษัท Embraer บราซิล João Bosco da Costa Junior กล่าวในพิธีลงนามสัญญา
เมื่อการส่งมอบได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2027 กองทัพอากาศออสเตรีย(Austrian Air Force, Österreichische Luftstreitkräfte) จะนำ C-390 ทดแทนเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130K Hercules จำนวน 3เครื่องที่เดิมเป็นของสหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/kc-390-c-130k.html)

โดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์(RNLAF: Royal Netherlands Air Force, Koninklijke Luchtmacht) จะนำ C-390 ทดแทนเครื่องบินลำเลียง C-130H จำนวน 4เครื่องที่มีอายุการใช้งานมานาน(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/c-390-millennium-c-130h-hercules.html)
กำหนดแบบเป็น C-390 ในบทบาทเครื่องบินลำเลียง และ KC-390 ในบทบาทเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ เครื่องบินลำเลียง Millennium สามารถบรรทุกภารกรรมได้มากกว่าเครื่องบินลำเลียง C-130 ที่ความเร็วสูงกว่าและระยะทางที่ไกลมากกว่า(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/embraer-c-390.html)

เครื่องบินลำเลียง C-390 Millennium มีพื้นที่ห้องบรรทุกภายในตัวเครื่องขนาดความจุ 170m³(รวมประตูท้ายเครื่อง ramp) และมีน้ำหนักภารกรรมบรรทุกสูงสุดที่ 23tonnes(หรือน้ำหนักภารกรรมบรรทุกที่รวบรวมที่จุดศูนย์ถ่วงของเครื่องที่สูงสุด 26tonnes)
คุณลักษณะสมมรถนะที่เผยแพร่โดยบริษัท Embraer เครื่องบินลำเลียง C-390 มีความเร็วเดินทางสูงสุดที่ 470knots(870km/h) เพดานบินสูงสุดที่ 36,000feet และพิสัยการบินไกลที่ 1,380nmi(2,556kkm)(ด้วยน้ำหนักบรรทุก 23tonnes) หรือบินเดินทางด้วยถังเชื้อเพลิงภายในตัวเครื่องที่ 4,640nmi ระยะทำการบินสามารถเพิ่มขยายได้ด้วยการเติมเชื้อพลิงทางอากาศ

เครื่องบินลำเลียง/เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ C-390/KC-390 Millennium ประสบความสำเร็จในการได้รับการจัดหาจากหลายประเทศในยุโรปโดยมีลูกค้าส่งออกรายแรกคือโปรตุเกส จำนวน 5เครื่อง,
ฮังการี จำนวน 2เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kc-390.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/02/kc-390.html) และสาธารณรัฐเช็ก จำนวน 2เครื่อง((https://aagth1.blogspot.com/2023/10/kc-390.html)

เครื่องบินลำเลียง C-390 ยังประสบความสำเร็จในการส่งออกให้ลูกค้ารายแรกในเอเชีย-แปซิฟิกคือสาธารณรัฐเกาหลีที่ไม่เปิดเผยจำนวน(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/kc-390.html) ทำให้รวมมีลูกค้าล่าสุดถึง 7ประเทศ(รวมบราซิลผู้ผลิต) สายการผลิตรวมแล้วถึง 40เครื่อง
Embraer บราซิลยังมองโอกาสการส่งออก C-390/KC-390 Millennium ของตนแก่ประเทศอื่นในยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นชาติสมาชิก NATO รวมถึงสวีเดน และความเป็นไปได้กับประเทศอื่นทั่วโลกเช่น อินเดีย ไนจีเรีย และไทยครับ

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

หุ้นส่วนโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต GCAP เปิดเผยภาพแนวคิดการออกแบบใหม่

Farnborough 2024: GCAP partners reveal new concept design





The GCAP partners of Italy, Japan, and the UK have released new design imagery of the sixth-generation fighter that sits at the core of the project. (BAE Systems)

สามชาติหุ้นส่วนในโครงการการรบทางอากาศทั่วโลก(GCAP: Global Combat Air Programme) ได้เผยแพร่ภาพงานศิลป์แนวคิดการออกแบบใหม่ที่ปรากฎจะแสดงถึงการเน้นความสำคัญที่มากยิ่งขึ้นในความเร็ว, ระยะปฏิบัติการ และน้ำหนักบรรทุก
มากกว่าที่จะเน้นความคล่องแคล่วว่องไวในการรบระยะประชิด dogfight ตามแบบดั้งเดิม(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ai-loyal-wingman-uav.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/03/gcap.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/01/gcap.html)

อิตาลี, ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรได้จัดแสดงแนวคิดการออกแบบที่ผ่านการปรับแต่งแล้ว ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 กรกฎาคม 2024
โดยขณะนี้เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 GCAP มีคุณลักษณะเป็นระบบอากาศทรงปีกสามเหลี่ยม(delta wings) ล้วนแทนที่รูปแบบก่อนหน้าที่มีแนวโน้มเป็นอากาศยานปีกสามเหลี่ยม delta แบบดัดแปลง

"ในเวลา 18เดือนตั้งแต่การเปิดตัวของโครงการ GCAP เราได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆของเราในอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ และยังกับรัฐบาลของสามชาติ เพื่อความเข้าใจและความสอดคล้องในความต้องการต่างๆสำหรับอากาศยานรบยุคอนาคต" 
Herman Claesen ผู้อำนวยการจัดการ ระบบการรบทางอากาศยุคอนาคต(FCAS: Future Combat Air System) ฝ่ายที่นำโดยบริษัทของสหราชอาณาจักรในโครงการ บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรกล่าว

"แบบจำลองใหม่...แสดงความคืบหน้าที่โดดเด่นในการออกแบบและแนวคิดของเครื่องบินขับไล่ไอพ่นยุคอนาคตนี้ เราจะเดินหน้าที่จะทดสอบและประเมินค่าการออกแบบ ตามที่เราเดินหน้าเข้าใกล้ขั้นระยะต่อไปของโครงการ" Claesen กล่าว
ผู้ร่วมโครงการของ BAE Systems สหราชอาณาจักร บริษัท Leonardo อิตาลี และบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น สะท้อนความเห็นของ Claesen เกี่ยวกับความคืบหน้าที่รวดเร็วที่ได้มีขึ้นในโครงการตั้งแต่ที่ข้อตกลง GCAP ได้รับการลงนามในเดือนธันวาคม 2023

ท่ามกลางรายงานที่มีออกมาก่อนหน้าว่ารัฐบาลชุดใหม่ของสหราชอาณาจักรอาจจะทำการเปลี่ยนแปลงที่สั่นคลอนต่อโครงการ GCAP Claesen ได้เน้นว่า "มันจะไม่มีการสั่งหยุดต่อโครงการนี้ ไม่แน่นอน! เราเคารพการทบทวนของรัฐบาลใหม่ แต่นายกรัฐมนตรีได้ย้ำถึงความสำคัญของโครงการนี้ต่อสหราชอาณาจักร"
การก่อสร้างทางอุตสาหกรรมที่ส่งมอบโครงการไตรภาคีจะเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว และความพยายามในขณะนี้ "กำลังดำเนินการอย่างรวดเร็ว" เพื่อที่จะเริ่มต้นขั้นระยะการพัฒนาและออกแบบอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2025 และจะดำเนินไปจนถึงการนำเข้าประจำการในปี 2035

ในเดือนมิถุนายน 2024 รัฐสภา Diet ญี่ปุ่นได้อนุมัติสนธิสัญญานานาชาติเพื่อการจัดตั้งองค์การรัฐบาลนานาชาติ GCAP(GIGO: GCAP International Government Organisation) ที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถที่จะ "สรุประเบียบข้อตกลง" เกี่ยวกับโครงการ GCAP ได้
"การจัดตั้ง GIGO จะเป็นการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาสำหรับความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และอิตาลี ซึ่งจำเป็นต่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพของโครงการ GCAP" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ในเวลานั้น

สนธิสัญญายังจะให้ชาติหุ้นส่วนปูทางไปสู่การหารือเกี่ยวกับการแบ่งปันค่าใช้จ่ายของโครงการ GCAP สื่อได้รายงานว่าญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรจะแบ่งปันค่าใช้จ่ายโครงการที่ฝ่ายละร้อยละ40
สนธิสัญญายังจะสนับสนุนต่อการปฏิรูปการส่งออกทางทหารของญี่ปุ่น ที่มีความจำเป็นที่จะทำให้ในอนาคตญี่ปุ่นจะสามารถที่จะทำการขายเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 GCAP แก่ลูกค้าส่งออกนานาชาติได้เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักรและอิตาลีครับ

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เรือฟริเกตชั้น Formidable สิงคโปร์ RSS Stalwart ยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Aster ใส่สองเป้าหมายพร้อมกัน

Singapore frigate fires Aster missiles at two targets simultaneously





The RSS Stalwart is seen here during its firing of two Aster missiles at ‘RIMPAC'. (Ministry of Defence, Singapore)

เรือฟริเกตชั้น Formidable ของกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) ได้ดำเนินการทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Aster จำนวน 2นัดต่อเนื่องใส่สองเป้าหมายพร้อมกัน เป็นเครื่องหมายถึงเหตุการณ์สำคัญต่อขีดความสามารถใหม่ของกองทัพเรือสิงคโปร์
เหตุการณ์นี้ได้บรรลุผลโดยเรือฟริเกตชั้น Formidable ลำที่ห้า เรือฟริเกต RSS Stalwart(72) ระหว่างการฝึกผสมทางเรือนานาชาติ Rim of the Pacific (RIMPAC) 2024 ที่กำลังดำเนินอยู่ กองทัพเรือสิงคโปร์ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2024 บนหน้าสื่อสังคม online ทางการของตน

การฝึกผสมทางเรือนานาชาติ RIMPAC 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ถึง 2 สิงหาคม 2024 กำลังได้รับการดำเนินการขึ้นในน่านน้ำโดยรอบของมลรัฐ Hawaii สหรัฐฯในมหาสมุทรแปซิฟิก
"ในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกภาคทะเลเมื่อวาน เรือฟริเกต RSS Stalwart ประสบความสำเร็จการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Aster สองนัดต่อสองเป้าบิน drone บินเรียดผิวน้ำความเร็วสูงพร้อมกัน ซึ่งถูกใช้เพื่อจำลองเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่เข้าหา" อ่านจากแถลงการณ์

RSS Stalwart เป็นหนึ่งในเรือฟริเกตชั้น Formidable จำนวน 6ลำที่ประจำการในกองทัพเรือสิงคโปร์ ระบบอาวุธของเรือรวมถึงแท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launching System) แบบ Sylver จำนวน 32ท่อยิง ที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ MBDA Aster 15 ซึ่งสามารถทำการสกัดกั้นเป้าหมายได้ในระยะไกลถึง 30km
นอกเหนือจากอาวุธปล่อยนำวิถี Aster 15 เรือฟริเกตชั้น Formidable ยังติดตั้งด้วยปืนเรือ Leonardo 76mm Super Rapid ในตำแหน่งปืนหลักที่หัวเรือ, ระบบแท่นยิงปืนกล Rafael Typhoon 25mm สองแท่นยิง, แท่นยิง torpedo เบาสามท่อยิงขนาด 324mm สองแท่นยิง 6ท่อยิง

และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84F Harpoon ในแท่นยิง 8นัด อย่างไรก็ตามสิงคโปร์ได้เริ่มต้นกระบวนการที่จะทยอยทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Blue Spear(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/blue-spear-formidable.html)
ในฐานะส่วนหนึ่งของการปรับปรุงครึ่งอายุ(MLU: Mid-Life Upgrade) ของเรือฟริเกตชั้น Formidable อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Blue Spear จะเพิ่มขีดความสามารถการโจมตีต่างๆโดยรวมด้วยระยะยิงไกลถึง 290km และขีดความสามารถการกำหนดเป้าหมายที่เพิ่มขึ้น

นอกเหนือจากการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Aster เรือฟริเกต RSS Stalwart ยังได้ทำการฝึกเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกการลงจอดบนดาดฟ้าบินกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลพหุภารกิจ Sikorsky MH-60R Seahawk ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
และการฝึกชุดตรวจค้นเรือ(VBSS: Visit, Board, Search and Seizure) ผสมนานาชาติในฐานะส่วนหนึ่งของหลายชุดการฝึกในการฝึกผสมทางเรือ RIMPAC 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/cvn-71-uss-theodore-roosevelt.html)

เรือฟริเกตชั้น Formidable กองทัพเรือสิงคโปร์ทั้ง 6ลำคือ เรือฟริเกต RSS Formidable(68), เรือฟริเกต RSS Intrepid(69), เรือฟริเกต RSS Steadfast(70), เรือฟริเกต RSS Tenacious(71), เรือฟริเกต RSS Stalwart(72) และเรือฟริเกต RSS Supreme(73) ที่เข้าประจำการในช่วงปี 2007-2009
มีพื้นฐานจากแบบเรือฟริเกตชั้น La Fayette ของกองทัพเรือฝรั่งเศส(French Navy, Marine Nationale) และแต่ละลำมีระวางขับน้ำที่ประมาณ 3,200 tonnes ซึ่งถูกสร้างโดยอู่เรือ ST Engineering Marine สิงคโปร์ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท DCNS(ปัจจุบัน Naval Group) ฝรั่งเศสครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทย,สิงคโปร์และสหรัฐฯทำพิธีเปิดการฝึกผสม CARAT 2024








The Independence-variant littoral combat ship USS Gabrielle Giffords (LCS 10) arrived Chuk Samet Pier, Sattahip District, Chonburi Province, Thailand on 18 July 2024. (NUTTAPUMIN PARNLAK)

Singapore, Thailand and U.S. Navies commence CARAT Thailand 2024
LAEM THIAN PIER, SATTAHIP, THAILAND (July 18, 2024) Members from the United States Navy, Royal Thai Navy, and Republic of Singapore Navy stand at attention during the opening ceremony of Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand 2024, Sattahip, Thailand, July 18, 2024. 
This year marks the 30th iteration of CARAT, a multinational exercise series designed to enhance U.S. and partner navies’ abilities to operate together in response to traditional and non-traditional maritime security challenges in the Indo-Pacific region. (U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist 2nd Class Daemon Pellegran)





พิธีเปิดการฝึกผสม Multilateral CARAT 2024 
CARAT คือการฝึกผสมร่วมระหว่าง กองทัพเรือไทย กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เป็นการฝึกที่ใหญ่ที่สุดระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ประเทศ และในปีนี้ กองทัพเรือสิงคโปร์ได้ส่งกำลังพลร่วมถึงยุทโธปกรณ์เข้าร่วมการฝึก ส่งผลให้การฝึกเป็นการฝึกแบบพหุภาคีและเรียกการฝึกในปีนี้ว่า “Multilateral CARAT 2024”

ใน ๑๘ ก.ค.๖๗ กอฝ.Multilateral CARAT 2024  (กฟก.๒) จัดพิธีต้อนรับเรือ USS Gabrielle Giffords ณ ท่าเรือจุกเสม็ด อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการฝึกผสม Multilateral CARAT 2024

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy), กองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) และกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้เริ่มต้นการฝึกผสม CARAT(Cooperation Afloat Readiness and Training) Thailand 2024 ในพิธีเปิด ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
"เมื่อกองทัพเรือที่มีใจเดียวกันร่วมมือและทำงานร่วมกันแบบพหุภาคี เราได้สร้างผลกระทบที่เกินขนาดในความมั่นคง, เสถียรภาพ, และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค ความเป็นหุ้นส่วนนี้ระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ, กองทัพเรือไทย, และกองทัพเรือสิงคโปร์  เป็นแบบอย่างสำหรับความร่วมมือในภูมิภาค ในเวลาและสถานที่ที่ซึ่งมีสิ่งที่เกิดขึ้นในมิติทางทะเลที่ได้มีผลกระทบอันยิ่งใหญ่ต่อทุกๆชาติ" 
พลเรือตรี Joaquin Martinez de Pinillos รองผู้บัญชาการสำรอง(Reserve Vice Commande) กองเรือที่๗(7th Fleet) กองทัพเรือสหรัฐฯกล่าว

การฝึกผสม CARAT Thailand 2024 เป็นการฝึกไตรภาคีทางทะเลที่มีขึ้นบนชายฝั่งในสัตหีบและในทะเลอ่าวไทย เรือปฏิบัติการใกล้ฝั่ง Littoral Combat Ship(LCS) ชั้น Independence เรือปฏิบัติการใกล้ฝั่ง LCS-10 USS Gabrielle Giffords ที่วางกำลังด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง MH-60S Seahawk ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
จะปฏิบัติการในทะเลกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน ของกองทัพเรือไทย และเรือคอร์เวตชั้น Victory เรือคอร์เวต RSS Valiant(91) ของกองทัพเรือสิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/singsiam-2024-open.html)

"การฝึกผสมกับกองทัพชาติพันธมิตรเป็นโอกาสอันดีสำหรับเราทั้งหมดที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแง่ทางยุทธวิธีและทางเทคนิคและเรียนรู้ที่จะใช้งานระบบอาวุธแบบต่างๆที่มีความซับซ้อน ผมหวังว่าคุณจะแสดงศักยภาพที่คุณมีเช่นเดียวกับประสิทธิภาพในภาพรวมของหน่วยของคุณที่ขีดความสามารถอย่างเต็มที่ที่สุดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ความมั่นคงโลกที่ไม่แน่นอนในอนาคต"
พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือไทยกล่าวต่อหน่วยต่างๆที่เข้าร่วมการฝึก

การฝึกในทะเลของกองทัพเรือสามชาติจะรวมถึง การฝึกสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare), การป้องกันภัยทางอากาศ(Air Defense) และการประสานงานกองเรือปฏิบัติการผิวน้ำ(surface action group coordination), 
ชุดตรวจค้นเรือ(VBSS: Visit, Board, Search and Seizure), การต่อต้านทุ่นระเบิด(mine countermeasures), และการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue) จะยังถูกรวมเข้าไปในการฝึกของปีนี้ด้วย

"การฝึกนี้เดินหน้าที่จะแสดงความร่วมมือเชิงลึกของไทย-สหรัฐฯ การพัฒนาในความซับซ้อนเพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถการปฏิบัติต่างๆของกองทัพเรือของเราและความพร้อมทางยุทธวิธีในการตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆที่กำลังอุบัติขึ้น ในฐานะพันธมิตรตามสนธิสัญญาที่ยาวนานที่สุดของอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ไทยเป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นที่ยั่งยืนของเราต่อพันธมิตรและหุ้นส่วนที่มีใจเดียวกัน ด้วยที่สิงคโปร์เข้าร่วมในปีนี้ การฝึก CARAT เน้นย้ำการอุทิศของเราเพื่ออุปถัมภ์นโยบายอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง(free and open Indo-Pacific) ดำรงสันติภาพ, ความเจริญรุ่งเรือง และเสถียรภาพในภูมิภาค" 
นาวาเอก Sean Lewis ผู้บังคับการกองเรือพิฆาตที่๗(DESRON 7: Destroyer Squadron 7) กองทัพเรือสหรัฐฯกล่าว

ขั้นการฝึกในท่าของการฝึกผสม CARAT Thailand 2024 จะประกอบด้วยกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์รวมถึง กีฬา, กิจกรรมบริการชุมชน และการแลกเปลี่ยนและการแสดงต่อสาธารณะของวงดุริยางค์ทหารเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ
หัวข้อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ(SMEE: Subject Matter Expert Exchanges) ในชั้นเรียน และการฝึกศึกษาจะยังมีการจัดขึ้นในหัวข้อต่างๆรวมถึง สตรี, สันติภาพและความมั่นคง(WPS: Women, Peace and Security) การแพทย์ และการเก็บกู้วัตถุระเบิด(EOD: Explosive Ordnance Disposal)

การฝึกผสม CARAT Thailand ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือความมั่นคงในภูมิภาค, ดำรงและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางทะเล และเพิ่มการการทำงานร่วมกันทางทะเล การฝึกในปีนี้เป็นการฝึกครั้งที่๓๐ ของการฝึกผสมนานาชาติ CARAT 
ที่ออกแบบเพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถของกองทัพเรือสหรัฐฯและกองทัพเรือชาติหุ้นส่วนที่จะปฏิบัติการร่วมกันในการตอบสนองต่อความท้าทายด้านความมั่นคงทางทะเลตามแบบและนอกแบบในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

เรือปฏิบัติการใกล้ฝั่ง LCS-10 USS Gabrielle Giffords เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือพิฆาตที่๗ ที่กำลังวางกำลังปฏิบัติการหมุนเวียนในพื้นที่ปฏิบัติการของกองเรือที่๗ เพื่อเพิ่มขยายความร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนและทำหน้าที่ในฐานะกำลังพร้อมตอบโต้ในการสนับสนุนอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างของภูมิภาค ในฐานะกองเรือพิฆาตวางกำลังส่วนหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกองทัพเรือสหรัฐฯ 
กองเรือพิฆาตที่๗ ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทางยุทธวิธีและปฏิบัติการหลักของเรือปฏิบัติการใกล้ฝั่ง LCS ที่วางกำลังหมุนเวียนที่สิงคโปร์ ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจการรบทางทะเล Task Force 76/3 Sea Combat Commander และสร้างความเป็นหุ้นส่วนผ่านการฝึกและการมีส่วนร่วมทางทหารต่อทหารต่างๆในฐานะตัวแทนการปฏิบัติของผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ Task Group CARAT
กองเรือที่๗ เป็นกองเรือวางกำลังส่วนหน้าที่มีกองเรือในสังกัดจำนวนมากที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐฯ และมีการติดต่อและปฏิบัติการเป็นประจำกับพันธมิตรและหุ้นส่วนในการรักษาอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างของภูมิภาคครับ

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

โรมาเนียสั่งจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 เกาหลีใต้

Romania orders K9 and K10 artillery systems




Romania has ordered 54 K9 SPHs (left) and 36 K10 artillery resupply vehicles (right) from Hanwha Aerospace. (Hanwha Aerospace)



เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2024 กระทรวงกลาโหมโรมาเนียได้สั่งจัดหาระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน(SPH: Self-Propelled Howitzer) แบบ K9 จำนวน 54ระบบ และรถจ่ายกระสุน K10 จำนวน 36คันจากบริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลี
สัญญาวงเงิน $1 billion ได้รวมถึงรถสนับสนุนล้อยางและรถสนับสนุนสายพานและกระสุน บริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวในสื่อประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/k9.html)

Hanwha สาธารณรัฐเกาหลีวางแผนที่จะส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 และรถจ่ายกระสุน K10 ในหลายระยะตลอดห้าปีข้างหน้าที่เริ่มต้นในต้นปี 2027 ปืนใหญ่อัตตาจร K9 และรถจ่ายกระสุน K10 ส่วนใหญ่จะถูกผลิตในโรมาเนีย
ด้วยการมีส่วนรวมอย่างมหาศาลของผู้จัดส่งในโรมาเนีย Peter Bae รองประธานของบริษัท Hanwha Aerospace Europe สาขายุโรปพูดถึงหลายหลายโครงการที่ดำเนินการภายในประเทศของโรมาเนียรวมถึง

การผลิตและวางกำลังสิ่งอุปกรณ์กลาโหมของโรมาเนีย, การถ่ายทอดวิทยาการ, และการจัดตั้งศูนย์เพื่อความเป็นเลิศสำหรับการซ่อมบำรุง, ซ่อมแก้ ,และการปฏิบัติการ (MRO: Maintenance, Repair, and Operations) ณ สถานที่ที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด(greenfield site) ในโรมาเนีย
"การรวมภาคอุตสาหกรรมของโรมาเนียในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่กว้างขวางของ Hanwha Aerospace เป็นหนึ่งในผลประโยชน์ต่างๆที่เป็นไปได้ที่โรมาเนียจะสามารถได้รับจากความร่วมมือ" Bae กล่าว 

"ผ่านความเป็นหุ้นส่วนนี้ ควบคู่ไปกับโครงการอื่นต่างๆในอนาคต โรมาเนียจะกลายเป็นศูนย์ของภาคพื้นดินของ Hanwha Aerospace ในยุโรป" เขากล่าว บริษัท Hanwha Aerospace กำลังเสนอรถรบทหารราบ Redback IFV(Infantry Fighting Vehicle) ของตนในฐานรถรบทหาราบใหม่ของโรมาเนีย 
ซึ่งรถรบทหารราบ Redback IFV จำนวน 129คันได้ถูกสั่งจัดหาสำหรับกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ภายใต้โครงการ Land 400 Phase 3 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/redback-ifv-hanwha.html)

เป็นที่คาดว่าความเหมือนร่วมกัน(commonality) ระดับสูงของระบบขับเคลื่อน(power train) และรถแคร่ฐานของรถรบทหารราบ Redback และปืนใหญ่อัตตาจร K9 จะเพิ่มความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติการ, การผลิต และการซ่อมบำรุงของทั้งสองระบบ
โรมาเนียยังกำลังจัดหาระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ M142 HIMARS(High-Mobility Artillery Rocket System) จำนวน 54ระบบจากสหรัฐฯด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/m142-himars.html)

ตามข้อมูลจาก Janes Land Warfare Platforms: Artillery & Air Defence ปืนใหญ่อัตตาจร K9 ติดตั้งปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 155mm/52calibre ปัจจุบันได้รับสั่งจัดหาจากหลายประเทศในยุโรปที่เป็นชาติสมาชิก NATO แล้วรวมถึง
เอสโตเนียจำนวน 36ระบบ, ฟินแลนด์จำนวน 96ระบบ, นอร์เวย์จำนวน 28ระบบ และโปแลนด์ในส่วนรถแคร่ฐานสำหรับปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Krab จำนวน 168ระบบ ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9A1 จำนวน 218ระบบ และปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9PL จำนวน 146ระบบครับ

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยและสิงคโปร์ทำพิธีปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2024












Formation Flight of the Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Matin F-16B Block 15 OCU of 103rd Squdron, Wing 1 Korat and F-16BM of of 403rd Squdron, Wing 4 Takhli; the Republic of Singapore Air Force (RSAF) Boeing F-15SG of 149 Squadron "Shikra" and F-16C Block 52 of 143 Squadron "Phoenix" from Establishment of a Fighter Training Detachment (EFTD) Thailand at Wing 23 Udon Thani RTAF base during closing ceremony for exercise AIR THAISING 2024 on 18 July 2024. 
RTAF and RSAF concluded renew exercise AIR THAISING 2024 at Wing 1 Korat RTAF base, Thailand on 8-18 July 2024. (Royal Thai Air Force/Noppasin poompo)

Friendship Through Cooperation
Closing Ceremony Air ThaiSing 2024
กองทัพอากาศไทยจัด 2 เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-16 จากฝูงบิน 103 และ 403 ขึ้นบินประกอบหมู่กับเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-15 และ F-16 ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีผู้อำนวยการฝึกของทั้งสองชาติขึ้นร่วมทำการบิน และปิดการฝึกผสม Air ThaiSing 2024 อย่างเป็นทางการ นับเป็นการสานสัมพันธ์มิตรภาพผ่านการฝึกในครั้งนี้

การฝึกผสม AIR THAISING 2024
กองทัพอากาศ ร่วมกับ กองทัพอากาศสิงคโปร์ฝึกผสม AIR THAISING 2024 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นาวาอากาศเอก สิทธิพล  ป้อมตรี รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศ และ Colonel Jonavan Ang เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศสิงคโปร์ 
สำหรับการฝึกผสม ฯ นี้ใช้ระยะเวลาฝึกร่วมกันทั้งสิ้น 11 วัน (ระหว่างวันที่ 8 - 18 กรกฎาคม 2567) โดยมีนักบินและกำลังพลของทั้งสองประเทศเข้าร่วมการฝึก ฯ กว่า 300 นาย อากาศยานกว่า 16 ลำ เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้
การฝึกผสม AIR THAISING เป็นการฝึกประกอบกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ ระหว่าง 2 ชาติ คือ กองทัพอากาศไทย (Royal Thai Air Force: RTAF) และกองทัพอากาศสิงคโปร์ (Republic of Singapore Air Force: RSAF) โดยใช้สนามบินกองบิน 1 เป็นฐานหลักในการฝึก มีพื้นที่การฝึกครอบคลุมพื้นที่การฝึกของกองบิน 1, กองบิน 4 และสนามใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล โดยมีการฝึกบินทั้งหมด 7 วัน 
ประกอบด้วย การบินแบบ Work up Training (WUT) เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย (Familization) ให้กับผู้เข้ารับการฝึก ในส่วนของพื้นที่การฝึก การติดต่อวิทยุ และขั้นตอนการปฏิบัติ นอกจากนั้นแล้วยังมีการฝึกบินแบบประกอบกำลังขนาดใหญ่ (Large Force Employment: LFE) โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ประกอบกำลังร่วมกันวางแผนปฏิบัติภารกิจตามวัตถุประสงค์ที่ถูกกำหนดจาก Joint Mission Commander Course (JMCC) 
มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกผู้ทำหน้าที่ Mission Commander ให้มีขีดความสามารถในการวางแผนภารกิจตามขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฝึกครั้งนี้มีผู้เข้ารับการฝึกเพื่อทำหน้าที่ Mission Commander จำนวนชาติละ 2 คน ใน ในแต่ละ LFE จะมีการกำหนด Mission Commander (MC) Functional Team Lead (FTL) ซึ่งแต่ละชาติจะได้รับมอบหมายให้เป็นตำแหน่งต่างๆ กันในการบินประกอบกำลังร่วมกัน 
ภายหลังจากสำเร็จการฝึก ผู้เข้ารับการฝึกจะได้รับมอบประกาศนียบัตร (Mission Commander Qualification) ที่ได้รับการรับรองจาก Exercise Director ทั้ง 2 ชาติ

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้ทำพิธีปิดการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2024 เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ณ กองบิน๑ โคราช เป็นเวลา ๑๑วันหลังจากมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-open.html)
การฝึกผสม AIR THAISING 2024 ระหว่างวันที่ ๘-๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นการฝึกระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพอากาศไทยและและกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ได้กลับมาจัดการฝึกอีกครั้งหลังยุติไปเมื่อเริ่มการฝึกผสมไตรภาคี Cope Tiger ครั้งแรกระหว่างไทย, สิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996)(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/cope-tiger-2024.html)

กองทัพอากาศไทยได้นำอากาศยานเข้าร่วมการฝึกรวมถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๔เครื่อง และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๔เครื่อง โดยมีฐานทัพอากาศโคราชเป็นสถานที่ฝึกหลัก
กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle ฝูงบิน149(149 Squadron) จำนวน ๔เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52 Fighting Falcon ฝูงบิน143(143 Squadron) จำนวน ๒เครื่อง และและ F-16D Block 52+ ฝูงบิน145(145 Squadron) จำนวน ๒เครื่อง จากหน่วยฝึกบินขับไล่(EFTD: Establishment of a Fighter Training Detachment) ที่วางกำลัง ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี

การฝึกผสม AIR THAISING 2024 ยังได้จัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน ๕เครื่อง เข้าร่วมการฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2024 ที่ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ถึง ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gripen-e.html)
เช่นเดียวกับที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-15SG และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52/Block 52+ เข้าร่วมการฝึกผสม Pitch Black 2024 ที่ออสเตรเลียเช่นเดียวกัน แสดงถึงขีดความสามารถของกองทัพอากาศทั้งสองชาติที่สามารถดำเนินการฝึกผสมทางอากาศสองการฝึกในประเทศของตนและที่ต่างประเทศไปคู่ขนานพร้อมกันได้ครับ