วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

DTI ไทยประสบความสำเร็จในการทดสอบการยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 122mm










Thailand's Defence Technology Institute was completed a successful dymanic test firing domestic DTI-2 122mm wheeled self-propelled Multiple Launch Rocket System for 10 round range 40km at test range in Phang Nga Naval Base, Royal Thai Navy, 28 August 2019


สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประสบความสำเร็จในการทดสอบภาคพลวัตจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. ระยะ 40 กิโลเมตร 
การทดสอบประกอบด้วยการยิงจรวด จำนวน 10 นัด ซึ่งดำเนินการทดสอบ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 ณ สนามทดสอบอาวุธ เขาหน้ายักษ์ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 
โดยมี พล.อ.พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมสังเกตการณ์ยิงทดสอบ
ความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยวิจัยและพัฒนา หน่วยผลิต รวมถึงผู้ใช้งาน และหน่วยงานความร่วมมือเป็นอย่างมาก 
โดยเฉพาะขีดความสามารถในการพัฒนาจรวดหลายลำกล้องของ สทป. ที่จะสามารถผลักดันสู่การใช้งานของกองทัพต่อไปในอนาคตอันใกล้
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/1319050651588265

การทดสอบการยิงจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122mm ระยะยิง 40km ซึ่งรู้จักในชื่อ DTI-2 จากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ ๒๐ท่อยิงจำนวน ๑๐นัด ณ สนามทดสอบอาวุธ เขาหน้ายักษ์ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่๓ กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ในทะเลอันดามัน
เป็นความสำเร็จล่าสุดของการพัฒนาระบบจรวดพื้นสู่พื้นที่พัฒนาด้วยตนเองในไทยทั้งหมดของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ซึ่งการทดสอบยิงล่าสุดเมื่อ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) มีความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือไทยเจ้าของสถานที่และกองทัพบกไทย(Royal Thai Army)

จรวดสมรรถนะสูง DTI-2 122mm ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีเช่นการทดสอบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 แบบแท่นยิงหกเหลี่ยม ๒๐ท่อยิงบนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 กองทัพบกไทย(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/first-win-dti-2-type-85.html)
โดยจะนำมาทดแทน จลก.๓๑ Type 82 ขนาด 130mm ๓๐ท่อยิง ที่ติดตั้งบน รสพ.Type 85 จีนที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) จำนวน ๖ระบบซึ่งล้าสมัยไปแล้ว ซึ่งได้มีการทดสอบการยิงจริง ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทยแล้ว

ล่าสุดมีการพบเห็น รสพ.๓๐ Type 85 กองทัพบกไทยที่ติดแท่น คจลก. DTI-2 ขนาด 122mm ที่พัฒนาโดย DTI ไทย ณ โรงงานของ บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด(Preecha Thavorn Industry Co.,Ltd.)(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/dti-black-widow-spider-8x8.html)
โดยโรงงานของบริษัทปรีชาถาวรอุตสาหกรรมยังมีภาพการผลิตรถต้นแบบของยานเกราะล้อยาง ACPC ที่เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ของยานเกราะล้อยางลำเลียงพล DTI Black Widow Spider(BWS) 8x8 APC(Armoured Personnel Carrier) สำหรับกองทัพบกไทย ที่ออกแบบโดย DTI ไทย

ปัจจุบันกองทัพบกไทยได้มีการจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๕๖ ขนาด 122mm ๔๐ลำกล้อง อัตตาจร(จลก.๕๖) SR4 จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๔ระบบ พร้อมรถจ่ายจรวด, ระบบควบคุมและบัญชาการและที่บังคับการ Toyota Prado วงเงิน ๖๙๖ล้านบาท
เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร จลก.๕๖ SR4 เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) ณ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กองพลทหารปืนใหญ่ และเป็นที่เข้าใจว่าได้มีการจัดหาเพิ่มเติมอีก ๒ระบบ รวม ๖ระบบครบหนึ่งกองร้อยแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2016/10/m109a5-sr4.html)

ซึ่ง ป.พัน๗๑๑ พล.ป. เป็นกองพันเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องซึ่งมีเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องหลายแบบประจำการในกองพัน เช่น เครื่องยิงจรวดและจรวดนำวิถีหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ DTI-1 และ DTI-1G ขนาด 302mm ที่ DTI ไทยร่วมมือในการพัฒนากับจีน
แต่ทั้งนี้การพัฒนาระบบจรวด DTI-2 122mm ที่เข้าประจำการใน ป.พัน๗๑๑ พล.ป. เช่นกันนั้นเป็นออกแบบและพัฒนาในไทยเองทั้งหมดโดยไม่มีต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ เป็นแสดงถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงเพื่อพึ่งพาตนเองของไทยครับ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สหรัฐฯส่งมอบยานเกราะล้อยาง Stryker ICV ๒คันแรกสำหรับกองทัพบกไทย

Commander of US Indo-Pacific Command Admiral Philip S. Davidson shakes hands with Commander in Chief of Royal Thai Army Genearal Apirat Kongsompong in event US Air Force Boeing C-17A Globemaster III has landed at Wing 6 Don Muang Royal Thai Air Force Base, Thailand to delivering first two of former US Army M1126 Stryker Infantry Carrier Vehicle (ICV) 8x8 wheeled armored vehicles.
https://twitter.com/INDOPACOM/status/1167144098957950976











The delivery of these Stryker-Royal Thai Army (RTA) Infantry Carrier Vehicles, in response to requests from our Thai military counterparts, supports the modernization of the RTA.
Military-to-military ties help forge closer ties between the United States and Thailand and advance U.S. and Thai interests.

สหรัฐฯ ได้ส่งมอบยานเกราะลำเลียงพลทหารราบ Stryker-RTA Infantry Carrier Vehicle ในครั้งนี้ตามคำขอของเจ้าหน้าที่กองทัพบกไทย 
โดยเป็นการส่งเสริมการพัฒนากองทัพบกไทยให้ทันสมัย ความสัมพันธ์ทางการทหารของสหรัฐฯ และไทยช่วยให้มิตรภาพระหว่างเราแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และยังประโยชน์ให้กับประเทศของเราทั้งสอง
https://www.facebook.com/usembassybkk/posts/2604335369587589

วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ Boeing C-17A Globemaster III ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้เดินทางมาถึงกองบิน๖ ดอนเมือง กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
เพื่อทำการขนส่งยานเกราะล้อยางลำเลียงพล M1126 Stryker Infantry Combat Vehicle(ICV) 8x8 จำนวน ๒คันแรกจากทั้งหมด ๖๐คันสำหรับกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ซึ่งไทยนับเป็นประเทศแรกนอกจากกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ที่สหรัฐฯส่งออกยานเกราะล้อยางรุ่นนี้

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก และพลเรือเอก Philip S. Davidson ผู้บัญชาการกองบัญชาการอินโด-แปซิฟิกกองทัพสหรัฐฯ(USINDOPACOM: Indo-Pacific Command) ได้ร่วมในเหตุการณ์ส่งมอบยานเกราะล้อยาง M1126 Stryker ICV ๒คันแรกแก่กองทัพบกไทย
โดยยานเกราะล้อยาง Stryker ICV ชุดแรกจำนวน ๑๐คันที่จะมีการส่งมอบมายังไทยคาดว่าจะมีการจัดพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒ โดยจะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองร้อยยานเกราะประจำ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา

การส่งมอบยานเกราะล้อยาง Stryker แก่ไทยมีขึ้นในเวลาเพียงเกือบหนึ่งเดือนให้หลังจากที่สหรัฐฯได้ตัดสินใจอนุมัติการขายในรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) เป็นวงเงินประมาณ $175 million เมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/stryker-icv.html)
นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่งระหว่างไทยและสหรัฐฯที่ยาวนานที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว นี่ยังเป็นการแสดงถึงความพร้อมการปฏิบัติการของกองทัพสหรัฐฯในการขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ทางอากาศแก่พันธมิตรทั่วโลกด้วย

กองทัพบกไทยได้ประกาศเมื่อ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ว่าได้ร้องขอการจัดซื้อยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker ICV จากสหรัฐฯ ๓๗คันวงเงินราว ๒,๙๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($94 million) และจัดหาเพิ่มเติมอีก ๒๓คันรวมทั้งหมด ๖๐คัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/stryker-icv.html)
การจัดหาได้รวมปืนกลหนัก M2 Flex .50cal(12.7x99mm) ๖๐กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิดควัน M6( ๔ชุดต่อคัน), กล้องขยายมุมมองเวลากลางคืนสถานีพลขับ AN/VAS-5 Driver's Vision Enhancer(DVE), ระบบสื่อสารภายในรถ AN/VIC-3 รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง อะไหล่ และการฝึกอื่นๆ

นอกจากที่กองทัพบกไทยได้รับมอบยานเกราะล้อยาง Stryker จำนวน ๖๐คันภายในปี 2019 แล้วยังมีรายงานเพิ่มเติมว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)จะสั่งจัดหาเพิ่มอีก ๕๐คัน และคาดว่าสหรัฐฯจะมอบรถเพิ่มเป็นการช่วยเหลือให้อีก ๓๐คัน รวมยอดการจัดหาทั้งหมดถึง ๑๔๐คันเลยทีเดียว
Stryker เป็นยานเกราะล้อยางแบบล่าสุดที่กองทัพบกไทยจัดหาหลังจากยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 ยูเครนที่ส่งมอบครบแล้ว และยานเกราะล้อยาง VN1 จีน ซึ่งรถทั้งสองแบบมีอาวุธหลักเป็นป้อมปืน Remote ติดปืนใหญ่กลขนาด 30x165mm ที่สถานีพลยิงควบคุมจากภายในรถครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ยานเกราะล้อยาง Panus R600 8x8 ที่พัฒนาในไทยทดสอบภาคสนามครั้งแรก













Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was tested its newest product R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) prototype for Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy at Royal Thai Army's Vehicle Test Range in Kanchanaburi province, Thailand, 28 August 2019


R 600 ผลงานของคนไทยทดสอบในสนามครั้งแรก! 
...รถเกราะล้อยาง 8 X 8 แบบ R 600 ด้วยการออกแบบและสร้างจากฝีมือของคนไทยโดยบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ ได้ทำการทดสอบสมรรถนะและขีดความสามารถของตัวรถที่สนามทดสอบยานพาหนะของกองทัพบก เป็นครั้งแรกที่ จว.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2562 
โดยผ่านการทดสอบตามสถานีต่างๆด้วยดี ซึ่งเป็นที่น่ายินดียิ่ง ขั้นตอนต่อไปคือติดตั้งอุปกรณ์ภายในและระบบอาวุธที่คาดว่าจะเป็นป้อมปืนอัตโนมัติขนาด 30 มม. แบบ NEFER ของ ASELSAN 
... R 600 มีน้ำหนักพร้อมรบ 25 ตัน ยาว 8.4 เมตร กว้าง 3.2 เมตร สูง 2.75 เมตร สูงจากพื้น 500 มม. เครื่องยนต์ Cummins 600 แรงม้า เกียร์ออโต 6 สปีด Allison 4500 ระบบขับเคลื่อน ทั้งแบบ 4 ล้อ และ 8 ล้อ 
ข้ามเครื่องกีดขวาง 600 มม. ไต่ลาดเอียง 40 % ไต่ลาดทางสูง 60% ความเร็วสูงสุดบนถนน 110 กม./ชม. ความเร็วสูงสุดในน้ำ 14 กม./ชม. ระยะปฏิบัติการ 800 กม. พลประจำรถ/ผู้โดยสาร 2+20 คน เกราะ Stanag 4569 LV.2 , Lv.3 Option 
...เร็วๆนี้จะได้ชมโฉมที่สมบูรณ์แบบของ R 600 อย่างแน่นอน โปรดติดตาม …Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1850387755064327

ยานเกราะล้อยาง R600 8x8 รถต้นแบบที่พัฒนาโดย บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย นั้นมีการเปิดเผยภาพการผลิตรถในโรงงานของบริษัทพนัสเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/panus-8x8.html)
มีการให้ข้อมูลว่า R600 เป็นยานเกราะล้อยานสะเทินน้ำสะเทินบกที่ถูกออกแบบมาสำหรับความต้องการของ นาวิกโยธินไทย(Royal Thai Marine Corps) กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ตามที่รถมีระบบขับเคลื่อน Water Jet ขนาดใหญ่สองชุดที่ท้ายรถสำหรับการเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำ
ซึ่งการทดสอบรถในสนามทดสอบยานพาหนะของกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ที่จังหวัดกาญจนบุรี ก็เป็นสถานที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของ Panus หลายแบบก่อนหน้า เช่น รถหุ้มเกราะล้อยาง AMV-420P 4x4(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/amv-420p-hmv-420.html)

R600 8x8 เป็นยานเกราะล้อยางขนาดใหญ่ มีน้ำหนักพร้อมรบ 25tons ยาว 8.4m กว้าง 3.2m สูง 2.75m ความสูงจากพื้นถึงท้องรถ 0.5m ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Cummins กำลัง 600HP สหรัฐฯ และระบบส่งกำลัง Automatic Transmission Gear 6-Speed Allison 4500 สหรัฐฯ
ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 110km/h ทำความเร็วในน้ำได้สูงสุด 14km/h ระยะปฏิบัติการ 800km ข้ามเครื่องกีดขวางได้สูง 0.6m ไต่ลาดเอียงได้ 40% ไต่ทางลาดสูงได้ 60% พลประจำรถ ๒นาย(ผู้บังคับการรถ+พลขับ) บรรทุกทหารไปกับรถได้ถึง ๒๐นาย
มีเกราะป้องกันระดับ NATO STANAG 4569 Level 2 สามารถป้องกันกระสุนเจาะเกราะเพลิงขนาด 7.62x39mm API ทุ่นระเบิดต่อสู้รถถังขนาด 6kg และสะเก็ดกระสุนระเบิดแรงสูงปืนใหญ่ 155mm ที่ 80m(Level 3 เพิ่มเป็นกระสุนเจาะเกราะ 7.62x51mm AP, AT Mine 8kg, 155mm HE 60m)

ยานเกราะล้อยาง Panus R600 8x8 ในรุ่นรถรบทหารราบ(IFV: Infantry Fighting Vehicle) คาดว่าจะได้รับการติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ NEFER RCSWS(Remote Controlled Stabilized Weapon System) ของบริษัท ASELSAN ตุรกี
พร้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm กระสุน ๒๐๐นัด สามารถเลือกติดตั้งปืนใหญ่กลแบบ Mk44 30x173mm สหรัฐฯ หรือ 2A42 30x165mm รัสเซียพร้อม พร้อมปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm กระสุน ๓๐๐นัด(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/panus-r600-8x8-aselsan-nefer-30mm.html)
ก่อนหน้านี้รถเกราะล้อยาง AFV-420P ของ Panus ได้มีการติดตั้งและทดสอบการยิงป้อมปืน Remote แบบ ASELSAN SARP ตุรกี พร้อมปืนกลหนัก ปก.๙๓ Browning M2HB .50cal(12.7x99mm) แล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/afv-420p-aselsan-sarp_22.html)

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Putin เสนอเครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียแก่ตุรกีในงาน MAKS 2019

MAKS: Putin courts Erdogan, but Sukhoi Su-57 deal elusive

A little over a month after the USA dumped Ankara from the F-35 Joint Strike Fighter programme over its decision to buy the Almaz-Antey S-400 Triumph anti-aircraft missile system, Turkey’s President Recip Erdogan showed up at the MAKS air show looking for a new defence partner.


Russian President Vladimir Putin and Turkish President Recep Tayyip Erdogan examine Sukhoi Su-57
https://www.flightglobal.com/news/articles/maks-putin-courts-erdogan-but-sukhoi-su-57-deal-el-460499/



น้อยกว่าหนึ่งเดือนหลังจากที่สหรัฐฯตัดตุรกีออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ตามที่ตุรกีตัดสินใจจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ Almaz-Antey S-400 Triumph รัสเซีย
ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan ได้ปรากฎตนร่วมกับประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ในงานแสดงการบินและอวกาศนานาชาติ MAKS 2019 ที่รัสเซียระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม-1 กันยายน 2019 โดยตุรกีกำลังมองหาหุ้นส่วนด้านกลาโหมใหม่สำหรับตน

ประธานาธิบดีรัสเซีย Putin ได้ใช้เชื้อเชิญประธานาธิบดีตุรกี Erdogan ผู้นำประเทศหนึ่งในชาติสมาชิก NATO เป็นอย่างดีด้วยการแสดงนภานุภาพของกองทัพรัสเซียในงานแสดงการบิน MAKS 2019
ที่รวมถึงการสาธิตการแสดงการบินผาดแผลงของเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Sukhoi Su-57 ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth และการเปิดตัวครั้งแรกของเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ Irkut MC-21

ผู้นำรัสเซียและตรุกีทั้งสองได้เยี่ยมชมงานโดยรอบร่วมกันจากที่นั่งหลังของรถยนต์โดยสาร Mercedes Benz สีดำที่ติดธงชาติตุรกีเหนือเสาของรถ หลังการกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงาน MAKS 2019
ผู้นำทั้งสองประเทศได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายต่างๆที่นำมาจัดแสดงในงานเป็นเวลาหลายชั่วโมง ขณะที่ตำรวจและสารวัตรทหารทำการปิดล้อมกันผู้เข้าชมงานหลายร้อยคน Putin ยังแม้แต่จะออกเงิน 210 Rubles(ประมาณ 97บาท) ซื้อ ice cream cone ที่ขายในงานให้ Erdorgan ด้วย


คณะตัวแทนตุรกีใน Moscow รัสเซียที่รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารและผู้บริหารภาคธุรกิจนั้น ประธานาธิบดีรัสเซีย Putin ได้เสนอหลายโครงการทางการบินร่วมกับรัฐบาลตุรกี
"เราได้พูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือกับเครื่องบินขับไล่ Su-35 และแม้แต่ความเป็นไปได้กับงานของเครื่องบินขับไล่ Su-57 ใหม่" Putin กล่าวกับสำนักข่าว TASS รัสเซีย

United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียที่เป็นบริษัทแม่ของ Sukhoi ได้เปิดตัวเครื่องบินไล่ยุคที่5 รุ่นส่งออก Su-57E ในงาน MAKS 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/su-57e-maks-2019.html)
ประธานาธิบดี Erdogan และประธานาธิบดี Putin ได้ทำการส่องมองเข้าไปข้างในห้องนักบินของเครื่องบินขับไล่ Su-57 หนึ่งในเครื่องที่นำมาตั้งจัดแสดงในงาน

แม้ว่าทาง Erdogan จะไม่ได้ให้ข้อผูกมัดต่อโครงการร่วมกับรัสเซียหรือการจัดซื้ออากาศยานรัสเซียแบบใดๆของตุรกี เขากล่าวว่าทั้งสองประเทศมีข้อตกลงในการผลิตชิ้นส่วนของระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 Triumph ร่วมกัน
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านกลาโหมของทั้งสองประเทศ "การผลิต(S-400) ร่วมกันเป็นก้าวย่างหลักที่สำคัญในความสัมพันธ์กับรัสเซีย" ประธานาธิบดีตุรกี Erdogan กล่าวกับ TASS(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/s-400.html)

การจัดซื้อและรับมอบ S-400 จากรัสเซียของตุรกี ซึ่งรัสเซียอ้างว่ามีขีดความสามารถต่อต้านอากาศยาน Stealth เป็นผลให้สหรัฐฯตัดตุรกีออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 JSF ในเดือนกรกฎาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/f-35.html)
สหรัฐฯชาติพันธมิตรแสดงความกังวลว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศที่สร้างโดยรัสเซียนี้จะเปิดเผยจุดอ่อนที่จะเป็นอันตรายต่อขีดความสามารถคุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก Stealth ของ F-35

Putin ได้ใช้การตอบโต้ของสหรัฐฯต่อกรณีการจัดซื้อ S-400 ของตุรกีนี้เป็นหนทางในการผลักดันรัฐบาลสหรัฐฯให้ออกห่างจากพันธมิตรและหุ้นส่วนที่อ่อนแอกว่าของตน
ในสัปดาห์หน้าเดือนกันยายน 2019 ประธานาธิบดี Putin มีกำหนดจะทำการเจรจากับนายกรัฐมนตรีอินเดีย Narendra Modi ซึ่งอินเดียเป็นอีกประเทศที่สั่งจัดหาระบบ S-400 รัสเซียครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/putin-s-400.html)

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องแรกของบราซิลทำการบินครั้งแรก

First Brazilian Gripen E Completes its First Flight
Saab today completed a successful first flight with the first Brazilian Gripen E fighter aircraft, 39-6001. At 2.41 pm CET on August 26, the Gripen E aircraft took off on its maiden flight flown by Saab test pilot Richard Ljungberg.
https://saabgroup.com/media/news-press/news/2019-08/first-brazilian-gripen-e-completes-its-first-flight/



บริษัท Saab สวีเดนได้เสร็จสิ้นความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกกับเครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องแรกของกองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force) หมายเลข 39-6001 ณ เวลา 1441 CET(Central European Time) วันที่ 26 สิงหาคม 2019
Gripen E เครื่องแรกของบราซิลทำการบินครั้งแรกโดย Richard Ljungberg นักบินทดสอบของ Saab จากสนามบินของโรงงานอากาศยาน Saab ใน Linköping สวีเดน

เครื่องบินขับไล่ Gripen E ของบราซิลทำการบินเป็นเวลา 65นาที และรวมการทดสอบจุดต่างๆเพื่อรับรองการควบคุมเบื้องต้นและคุณภาพการบินในระดับความสูงและความเร็วที่แตกต่างกัน จุดประสงค์หลักของการทดสอบเพื่อที่จะรองรับว่าเครื่องบินมีพฤติกรรมตามที่คาดการณ์ไว้
"เหตุการณ์สำคัญนี้เป็นการพิสูจน์ถึงหุ้นส่วนที่ยิ่งใหญ่ระหว่างสวีเดนและบราซิลน้อยกว่า 5ปีที่สัญญาได้รับการลงนาม Brazil Gripen เครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกของเธอ"  Håkan Buskhe ประธานและผู้อำนวยการบริหาร Saab กล่าว

Gripen E หมายเลข 39-6001 นี้เป็นเครื่องแรกในสายผลิตของบราซิล และจะถูกใช้ในโครงการทดสอบร่วมในฐานะเครื่องทดสอบ ความแตกต่างหลักเมื่อเปรียบเทียบกับ Gripen E เครื่องทดสอบก่อนหน้า
คือการใช้รูปแบบห้องนักบินใหม่ทั้งหมด
โดยติดตั้งจอแสดงผลขนาดกว้าง(WAD: Wide Area Display), จอภาพมองลงขนาดเล็ก(sHDD: small Head Down Display) 2จอ และจอภาพตรงหน้า(HUD: Head Up Display) แบบใหม่

ความแตกต่างหลักอื่นๆของเครื่องบินขับไล่ Gripen E หมายเลข 39-6001 บราซิลคือการปรับปรุงระบบควบคุมการบินโดยการปรับปรุงกฎการควบคุมสำหรับ Gripen E การดัดแปลงทั้งในส่วนชุดอุปกรณ์และชุดคำสั่ง
Gripen E เครื่องต้นแบบเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/saab-gripen-e.html) และเครื่องต้นแบบเครื่องที่สองทำการบินขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-e.html)

"สำหรับผมในฐานะนักบินมันเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้บิน Gripen E บราซิลเครื่องแรก เท่าที่ผมรู้ว่ามันมีความหมายมากแค่ไหนกับกองทัพอากาศบราซิลและทุกคนที่ Saab และหุ้นส่วนบราซิลของเรา การบินเป็นไปอย่างราบลื่นและเครื่องมีพฤติกรรมตามที่เราเคยเห็นในแบบจำลองและเครื่องจำลอง
นี่ยังเป็นครั้งแรกที่เราทำการบินกับจองแสดงผลขนาดกว้างในห้องนักบิน และผมมีความสุขที่จะกล่าวว่าการคาดการณ์ของผมได้รับการยืนยันแล้ว" Richard Ljungberg นักบินทดสอบของ Saab กล่าว

Gripen E หมายเลข 39-6001 ขณะนี้จะเข้าร่วมโครงการทดสอบสำหรับการขยายการทดสอบทางการบินเพิ่มเติม เช่นเดียวกับการทดสอบระบบทางยุทธวิธีและระบบตรวจจับ
เครื่องบินขับไล่ Gripen E ได้รับการกำหนดแบบในกองทัพอากาศบราซิลเป็นเครื่องบินขับไล่ F-39 และเครื่องหมายเลข 39-6001 จะมีหมายเลขเครื่องที่แพนหางตั้งเป็น 4100

ภายใต้สัญญาบราซิลจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Gripen E รุ่นที่นั่งเดี่ยว 28เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Gripen F รุ่นสองที่นั่ง 8เครื่อง รวม 36เครื่องในช่วงปี 2019-2024 โดยจะมีการถ่ายทอดสิทธิบัตรการผลิตในบราซิล
ทั้งนี้การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Gripen E สำหรับใช้ปฏิบัติการแก่บราซิลจะเริ่มต้นได้ในปี 2021 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/saab-gripen-e.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-e.html)

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สาธารณรัฐเช็กจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y

Vipers and Venoms for the Czech Air Force

The Czech Republic is the first overseas customer to select the Venom/Viper combination. (photo: Bell)
https://www.ainonline.com/aviation-news/defense/2019-08-23/vipers-and-venoms-czech-air-force


การพูดกับผู้สื่อข่าวระหว่างการเยือนฐานทัพเช็กเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2019 รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก Lubomir Metnar ได้แถลงว่าเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1Y Venom และเฮลิเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper สหรัฐฯ
ได้รับการเลือกเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-24/Mi-35 รัสเซียของกองทัพอากาศเช็ก(Czech Air Force) การตัดสินใจนี้ยังได้รับการยอมรับโดยบริษัท Bell สหรัฐฯ

สาธารณรัฐเช็กวางแผนจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป/ติดอาวุธจู่โจม UH-1Y จำนวน 8เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z จำนวน 4เครื่อง เป็นส่วนหนึ่งของหลายความพยายามที่จะเพิ่มงบประมาณกลาโหมของประเทศตามเป้าหมายที่ร้อยละ2 ของ GDP
ข้อตกลงมูลค่าวงเงิน $622 million มีกำหนดจะเสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี 2019 นี้ โดยกำหนดการส่งมอบเครื่องจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2023(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/uh-1y-venom.html)

ข้อเสนอเฮลิคอปเตอร์สองแบบผสมกันจากบริษัท Textron Bell สหรัฐฯได้รับเลือกโดยความชื่นชอบมากกว่าข้อเสนอจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯสำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60M Black Hawk จำนวน 12เครื่องพร้อมตัวเลือกรุ่นติดอาวุธ
ข้อเสนอจากทั้งสองบริษัทได้ถูกส่งอย่างเป็นทางการต่อสาธารณรัฐเช็กในเดือนกรกฎาคม 2019 โดยทูตสหรัฐฯประจำเช็กหลังการอนุมติการขายโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในต้นเดือนพฤษภาคม
ขณะที่ข้อเสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60M รุ่นติดอาวุธจะมีราคาถูกกว่าเล็กน้อย เป็นที่เข้าใจว่ากระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเช็กต้องการอำนาจการยิงที่มากว่าของเฮลิคอปเตอร์โจมตีแท้

โดยมีพื้นฐานจาก UH-1N Twin Huey และ AH-1 Cobra ตามลำดับ ฮ.UH-1Y และ AH-1Z มี่การใช้ชิ้นส่วนร่วมกันราวร้อยละ85 เช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง, ระบบใบพัด, ส่วนหาง, ระบบควบคุม, จอแสดงผล และสถาปัตยกรรมระบบ Avionic
ความมีพื้นฐานร่วมกันดังกล่าวได้ลดค่าใช้จ่ายด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้องอย่างมากในการปฏิบัติการ ฮ.ที่ดูต่างกันทั้งสองแบบ UH-1Y และ AH-1Z ได้ถูกพัฒนามาสำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)

UH-1Y เข้าประจำการครั้งแรกในปี 2009 มีภารกิจหลักในการเคลื่อนที่ขนส่งจู่โจมทางอากาศ แต่สามารถติดปืนกลอากาศและอาวุธเช่นจรวดนำวิถี Laser แบบ APKWS(Advanced Precision Kill Weapon System) ได้
AH-1Z ซึ่งประกาศความพร้อมปฏิบัติการในปี 2010 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุน M197 20mm ที่ใต้หัวเครื่อง มีปีกคานอาวุธข้างลำตัวสองด้านสำหรับติดตั้งกระเปาะจรวดหรืออาวุธปล่อยนำวิถี เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire ได้ถึง 16นัด

กองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กได้กำลังมองหาที่จะทดแทนในส่วนฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างจากรัสเซียมาเป็นเวลาหลายปี เช่น เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 ที่เข้าประจำการในอดีตกองทัพอากาศเชโกสโลวาเกีย(Czechoslovak Air Force) ตั้งแต่ปลายปี 1970s
ฝูงบิน ฮ.โจมตี Mi-24/Mi-35 ปัจจุบันได้ถูกจัดหาในกลางปี 2000s ก่อนหน้านั้นเช็กมีความพยายามในการทดแทนโดยมีการเลือกระหว่างเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Leonardo AW139M และ UH-1Y แต่โครงการจัดหาได้ถูกยกเลิกไปจนมีการตั้งโครงการใหม่ในต้นปี 2019 นี้

ในขณะเดียวกันกองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กได้เลือกที่จะทำการซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-171Sh รัสเซียที่มีอายุการใช้งานน้อยที่สุดเพื่อประจำการต่อไปถึงอย่างน้อยปี 2030 ฮ.Mi-171Sh จำนวน 16เครื่องเป็นเครื่องใหม่ที่จัดหาจากรัสเซียในกลางปี 2000s เพื่อเป็นการชำระหนี้
ฮ.Mi-171Sh จำนวน 15เครื่องที่ประจำการอยู่ได้รับการปรับปรุงติดตั้งเกราะเสริมและระบบสื่อสารดาวเทียม รวมถึงเครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่ง(transponder) ที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน NATO รวมถึงเป็นไปตามข้อกำหนดการจราจรทางอากาศการบินพลเรือนครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การฝึกผสมกองทัพอากาศไทย-กองทัพอากาศจีน Falcon Strike 2019-๒









Chengdu J-10C from 131st Air Brigade 'Red Eagle', People's Liberation Army Air Force was spotted at Wing 23 Udon Thani Royal Thai Air Force Base, Thailand during exersice Falcon Strike 2019 in 18-30 August 2019.
PLAAF J-10C has carrying training round of PL-10 short-range air-to-air missile and Air Combat Maneuvering Instrumentation (ACMI) pod.





Chengdu J-10S from 131st Air Brigade 'Red Eagle', PLAAF was spotted at Wing 23 RTAFB during exersice Falcon Strike 2019 in 18-30 August 2019.
PLAAF J-10C two-seats has carrying training round of PL-8 short-range air-to-air missile and ACMI pod.

Saab Gripen C 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani, Royal Thai Air Force was spotted at Wing 23 RTAFB during exersice Falcon Strike 2019 in 18-30 August 2019.

Dornier Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23, Royal Thai Air Force was spotted at Wing 23 RTAFB during exersice Falcon Strike 2019 in 18-30 August 2019.

photos source: 
https://www.facebook.com/people/พูนศักดิ์-คำภูธร/100002072946935
https://www.facebook.com/people/พีเตอร์-เช็ค/100000892382464
https://www.facebook.com/chai.single.50
https://www.facebook.com/people/Krit-Surisukh/100004264301835
https://www.facebook.com/jeerasak.dittaponkhan
https://www.facebook.com/people/ชยนันต์-ทองแท้/100009184333615
https://www.facebook.com/biosteam

การฝึกผสมทางอากาศ Falcon Strike 2019 ระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) กับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี ระหว่างวันที่ ๑๘-๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
แม้ว่า ณ ขณะที่เขียนนี้จะยังไม่มีการเผยแพร่ภาพการฝึกอย่างเป็นทางการจากทั้งด้านกองทัพอากาศไทยและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน แต่ก็มีนักถ่ายภาพอากาศยานในไทยที่ได้บันทึกภาพอากาศยานของไทยและจีนที่เข้าร่วมการฝึก Falcon Strike 2019 เพิ่มเติมหลายภาพ

มีข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มชุมชนทางทหารของจีนว่า นอกจากเครื่องบินขับไล่ Chengdu J-10C รุ่นใหม่ที่ติดลูกฝึกของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-10 และเครื่องบินขับไล่ J-10S รุ่นสองที่นั่งที่ติดลูกฝึกของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-8
รวมถึงกระเปาะที่น่าจะเป็นระบบฝึกจำลองการรบทางอากาศลักษณะเดียวกับ Air Combat Maneuvering Instrumentation (ACMI) ที่มาจาก กองพลน้อยบินที่131(131st Air Brigade) ฉายา 'Red Eagle' ที่เป็นหน่วยเครื่องบินขับไล่ชั้นหัวกะทิของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนแล้ว

อากาศยานจีนแบบอื่นที่เข้าร่วมการฝึก เช่น เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Shaanxi KJ-500 AEW&C(Airborne Early Warning and Control) น่าจะมาจาก กรมบินที่76 กองพลเครื่องบินภารกิจพิเศษที่26 (76th Air Regiment, 26th Special Missions Aircraft Division)
เครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง Shaanxi Y-9 น่าจะมาจาก กรมบินที่10 กองพลขนส่งทางอากาศที่4(10th Air Regiment, 4th Transport Division) และเครื่องบินลำเลียงหนัก Ilyushin IL-76TD น่าจะมาจาก กรมบินที่39 กองพลขนส่งทางอากาศที่13 (39th Air Regiment, 13th Transport Division)

กองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน ๗ สุราษฏร์ธานี เข้าร่วมการฝึกกับทางจีนตลอดการฝึก แต่ไม่แน่ใจว่าจะรวมถึงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ ด้วยหรือไม่
โดยการฝึก Falcon Strike 2019 นี้เป็นการฝึกในไทยครั้งที่สี่แล้ว นับตั้งแต่ครั้งแรก Falcon Strike 2015 ที่กองบิน๑ โคราช ต่อมา Falcon Strike 2017 และ Falcon Strike 2018 จัดที่กองบิน๒๓ มาตลอดครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/falcon-strike-2019.html)

บ่น: ใน Facebook Group "เรารักเครื่องบินไทย"(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/) ที่ผู้เขียนได้นำภาพจากท่านสมาชิกต่างๆมาอ้างอิงประกอบบทความหลายครั้งโดยให้แหล่งที่มาต้นทางตลอด(ถ้าสืบค้นได้)
ก็เห็นสมาชิก Avatar รายนี้ Copy ภาพจากท่านอื่นๆมาลงในกลุ่มราวกับว่าเป็นรูปของตัวเองหลายรอบ ล่าสุดก็ลอกบทความของผู้เขียนทั้งหมดโดยไม่ให้แหล่งที่มาเดิมแม้แต่นิดเดียว
การกด Share จาก Blogspot นี้หรือเอานำ URL Link ไปลงมันยุ่งยากนักหรือ? เพราะอย่างนี้ละผู้เขียนถึงเกลียด Mark Zuckerberg จึงไม่คิดจะใช้บริการใดๆของ Facebook แย่จริงๆ!