วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Datagate เป็นผู้ชนะการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ MANPADS 4x4 ๕ชุดยิงกองทัพเรือไทย



Gibka-S Mobile Short-Range Surface-to-Air Missile system based on Tigr-M 4x4 vehicle with Igla-S or Verba Man-portable air-defence system (MANPADS)

The computer graphic images of Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd new concept for Phantom-S 4x4 wheeled armoured vehicle in configuration of air defence variant.

Phantom-S ติดอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน! ....จากจินตนาการ...สู่ความเป็นจริงเร็วๆนี้..

Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy announced Datagate co.,Ltd. is winner for bidding to acquire 5 of Mobile Short-Range Surface-to-Air Missile on 4x4 vehicles for RTN Naval Air and Coastal Defence Command.
ผลการจัดซื้อจ้าง: โครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน 5 ชุดยิง 
ผู้ได้รับการคัดเลือก:  บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ราคาที่เสนอ 245,890,000.00 บาท
เหตุผลที่ได้รับการคัดเลือก: หลักฐานประกอบการเสนอราคา และรายละเอียดต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วน และมีเงื่อนไขเป็นไปตามที่ทางราชการกำหนด

ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย ประกาศผู้ชนะโครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. โดย กรมสรรพาวุธทหารเรือ สพ.ทร. 
คือ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด(Datagate co.,Ltd.) ไทย เป็นวงเงิน ๒๔๕,๘๙๐,๐๐๐บาท($7,682,982.06) ตามที่มีการเผยแพร่ผลการจัดซื้อจ้างใน Website ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/manpads-4x4.html)

บริษัท Datagate ไทย เป็นผู้ชนะเหนือผู้เข้าแข่งขันอีกรายคือ บริษัท China Vanguard Industry Corp.(CVIC) จีน ตัวแทนจำหน่ายระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานประทับบ่ายิงตระกูล Vanguard เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ QW-18 ที่ สอ.รฝ. มีใช้อยู่แล้ว
ขณะที่ Datagate เท่าที่ทราบเป็นตัวแทนจำหน่ายอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบประทับบ่ายิง Igla-S รัสเซีย และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Starstreak สหราชอาณาจักรที่มีใช้งานในกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)

ตามข้อมูลจากการกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) สอ.รฝ.มีความต้องการระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ประเภท Man Portable Air Defence Missile Systems (MANPADS) 
ในรูปแบบที่ ๑ชุดยิงจะประกอบด้วย ๑แท่นยิงมีลูกอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Fire-and-Forget จำนวน ๔นัด โดยติดตั้งพร้อมยิงอย่างน้อย ๒นัด บนรถยนต์เฉพาะการ จำนวน ๑คัน ซึ่งเป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4x4 สี่ประตูแบบหุ้มเกราะ

โดย Datagate น่าจะเสนออาวุธปล่อยนำวิถี Igla-S หรืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Verba รุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซีย พร้อมกับแท่นยิงแบบ Dzhigit ที่รองรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานประทับบ่าแบบดังกล่าว
หรืออาจจะเป็นระบบแท่นยิง Gibka-S ที่ทันสมัยกว่า ที่รวมระบบควบคุมการยิงที่สามารถทำการยิงอาวุธได้จากภายในเกราะป้องกันของรถและบูรณาการระบบ radar ตรวจการณ์ทางอากาศ เช่นที่ติดตั้งบนรถหุ้มเกราะ Tigr 4x4 รัสเซีย

ในช่วงใกล้เคียกับที่พบการประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ไทย ได้เผยแพร่ภาพจำลองสามมิติแนวคิดของรถหุ้มเกราะล้อยาง Phantom-S 4x4 แบบใหม่ของตนซึ่งเป็นในรูปแบบติดตั้งระบบป้องกันกันภัยทางอากาศ
ทั้งรถเกราะแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ และและรถเกราะติด radar ทำให้มองว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ บริษัท Panus ไทยอาจจะเสนอรถเกราะของตนเพื่อใช้เป็นรถยนต์เฉพาะการของระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ สำหรับ สอ.รฝ. กองทัพเรือไทย

ข้อสังเกตจากภาพสามมิติคือ Phantom-S 4x4 ดูเหมือนจะเป็นรุ่นที่ย่อขนาดจากยานเกราะล้อยาง Phantom 380-X1 4x4 ที่นาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) ได้นำไปทดลองใช้ที่ชายแดนภาคใต้มาแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)
ขณะที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ติดตั้งเหมือนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Saab RBS 70 NG และ Radar แบบ Giraffe 1X สวีเดน ซึ่งอาจจะถูกเสนอในโครงการจัดหาระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ จำนวน ๑ ระบบของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ครับ

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

DTI และกองทัพบกไทยลงนามข้อตกลงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04



Defence Technology Institute (DTI) and Army Aviation Center (AAC), Royal Thai Army (RTA) signed Memorandum of Agreement (MoA) for Research and Development (R&D) on Medium Tactical Unmanned Aircraft System (UAS) in 22 June 2021.

DTI D-eyes 04 Medium Tactical UAS is based-on Chinese BEIHANG UAS CY-9 Medium Unmanned Aerial Vehicle (UAV).

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ กองทัพบก  ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง สำหรับกองทัพบก 
โดยมี พล.อ.พอพล  มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป. เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ดังกล่าว และมี พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป เป็นผู้แทน สทป. ร่วมลงนามกับ พล.ต.วรุตม์  นนทวงษ์ ผบ.ศบบ. ผู้แทนกองทัพบก 
พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากทั้ง สทป., ศบบ., สวพ.ทบ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องสยามปฐพีพิทักษ์ ชั้น 10 สทป. เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 64 

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหารของทั้งสองหน่วยงาน ด้วยการร่วมมือวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง (Medium Unmanned Aircraft System) 
ซึ่งเป็นไปตาม Roadmap มิติที่ 2 ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางเพื่อตอบสนองความต้องการของเหล่าทัพ ของ สทป. 
ซึ่งระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางที่เกิดจากความร่วมมือวิจัยและพัฒนาจากทั้งสองฝ่าย จะเป็นต้นแบบยุทโธปกรณ์ทางทหารสำหรับกองทัพบก เพื่อส่งมอบให้แก่ กองทัพบก 
โดยศูนย์การบินทหารบกจะเป็นหน่วยผู้ใข้นำไปทดสอบการใช้งานและเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองต้นแบบผลงานวิจัย สำหรับนำมาใช้ในกองทัพบกต่อไป



พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOA: Memorandum of Agreement) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI กับกองทัพบกไทยด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง สำหรับศูนย์การบินทหารบก ศบบ.เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
เป็นความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนับตั้งแต่ที่ DTI และกองทัพบกไทยลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
โดยในการส่วนระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter-Unmanned Aerial System) นั้นได้มีการทดสอบไปแล้วในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/dti-cuas-x-madis.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/01/blog-post.html)

ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง DTI D-eyes 04 ที่จะพัฒนา มีพื้นฐานมาจากอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบ CY-9 ของบริษัท Beihang UAS Technology Co.,LTD สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตัวระบบอากาศยานเป็นอากาศยานปีกตรึงใช้ทางวิ่งในการวิ่งขึ้นและลงจอด
คุณสมบัติมีความกว้างปีก 14m, น้ำหนักรวมติดตั้ง payload 150kg, ระยะเวลาปฏิบัติการ ๑๒-๒๐ชั่วโมง, พิสัยการปฏิบัติการมากกว่า 200km ติดตั้งกล้อง EO/IR(Electro-Optical/Infra-Red) ทำงานได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน พร้อมระบบกันสั่น โดยใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจำนวน ๓นาย
เป็นที่เข้าใจว่า D-eyes 04 UAS จะถูกจัดหาสำหรับ กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย ทดแทนระบบเก่าเช่น Searcher II UAV อิสราเอล ซึ่งในการลงนามล่าสุดนี้ ศูนย์การบินทหารบก ถูกระบุว่าเป็นหน่วยที่จะรับมอบไปทดลองใช้งาน

ก่อนหน้านี้ DTI ไทยได้มีการส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก D-eyes 02 Mini UAV แก่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน(RTMC: Royal Thai Marine Corps) เพื่อทดลองใช้งานเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/dti-d-eyes-02-mini-uav.html)
การพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับในตระกูล DTI D-eyes ในรุ่นต่างๆของ DTI เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศ โดยที่หน่วยงานราชการได้มีการนำไปทดลองใช้งานและจัดหาเข้าประจำการจริง
แต่มีข้อสังเกตถึงแผ่นป้ายที่เป็นพื้นหลังในพิธีว่า มีการนำภาพเงา(silhouette) ของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ติด Longbow radar มาประกอบด้วย ซึ่งไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี ระยะที่๑ แบบรัฐต่อรัฐ FMS ไทย-สหรัฐฯ ที่ถูกเลื่อนออกไปหรือไม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-ah-1z.html)

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

มาเลเซียประกาศการแข่งขันโครงการเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT

Malaysia issues tender for RMAF's LCA/FLIT programme



A file images showing a RMAF Hawk Mk 108 in the foreground and a Hawk Mk 208 in the background. 




Malaysia's MinDef announced on 22 June that it has issued a tender for the procurement of 18 LCA/FLIT aircraft that are also aimed to replace the service's ageing Hawk aircraft. (BAE Systems)

กระทรวงกลาโหมมาเลเซียประกาศเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมาว่า ตนได้เปิดการแข่งขันการประกวดราคาสำหรับเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer)
ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/blog-post_29.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_24.html)

เอกสารบรรยายสรุปการประกาศที่เผยแพร่ใน website ของกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย กล่าวว่ากองทัพอากาศมาเลเซียตั้งเป้าที่จะจัดหาเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึกจำนวนขั้นต้น 18เครื่อง
โดยเสริมว่าการยื่นเอกสารร้องขอการเข้าประมูล(request for bids) จะปิดรับในวันที่ 22 กันยายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)

ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ได้รับ แต่แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงกล่าวกับ Janes ว่า กองทัพอากาศมาเลเซียต้องการ 8เครื่องในรูปแบบเครื่องบินขับไล่ฝึกเป็นหลัก
ขณะที่เหลืออีก 10เครื่องจะเป็นเครื่องบินรบเบา(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)

โครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผน 'Capability 55' ของกองทัพอากาศมาเลเซียที่เริ่มต้นในปี 2018 แผนดังกล่าวเรียกร้องการจัดหาเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT จำนวน 36เครื่องในสองระยะ
โดยเครื่องบินใหม่ 18เครื่องถูกกำหนดที่จะจัดซื้อตั้งแต่ปี 2021 และที่เหลืออีก 18เครื่องตั้งแต่ปี 2025 เครื่องบินใหม่ 36เครื่องมีจุดประสงค์ที่จะเข้าประจำการในฝูงบินขับไล่ฝึก 1ฝูง และฝูงบินรบเบา 2ฝูง

เครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Aermacchi MB-339CM จำนวน 7เครื่องของกองทัพอากาศมาเลเซียที่ปัจจุบันงดบินทั้งฝูง
ขณะที่เครื่องบินรบเบา LCA จะทดแทนครื่องบินฝึกไอพ่นขึ้นก้าวหน้า BAE Systems Hawk 108 สองที่นั่งและเครื่องบินโจมตีเบา Hawk 208 ที่นั่งเดี่ยวจำนวน 18เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/bae-systems-hawk.html

ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมา มาเลเซียได้เผชิญกับภัยคุกคามทางอากาศจากฝูงบินอากาศยานทางทหารของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) จำนวน 16เครื่องเหนือน่านฟ้าทะเลจีนใต้ 
กองทัพอากาศมาเลเซียได้ตอบสนองต่อสถาณการณ์โดยการส่งเครื่องบินโจมตีเบา/ฝึกไอพ่นขึ้นก้าวหน้า BAE Systems Hawk 208 ไม่ระบุจำนวน ขึ้นสกัดกั้นเครื่องบินจีนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/hawk-208.html)

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ญี่ปุ่นเปิดเผยแผนพัฒนาทาง Digital สำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X

Japan reveals digital development plan for F-X fighter


A JASDF F-35A fighter aircraft. 

A conceptual image of Japan's future F-X fighter aircraft, released by the Japanese MoD. (Japanese MoD)




The effort is also aligned with Japan's modern fighter aircraft practices in countries such as the United States.

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ร่างเค้าโครงพันธกรณีเพื่อนำเทคนิคและวิทยาการการวิศวกรรม digital มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X ของญี่ปุ่น
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ว่าความเคลื่อนไหวเพื่อนำวิธีการ digital ดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลายความพยายามในโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X
ที่จะบรรลุผลการยกระดับในคุณภาพและประสิทธิภาพตลอดทั้งการออกแบบ, การพัฒนา, การผลิต และการดำรงสภาพ ของอากาศยาน

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่าความพยายามยังเป็นการสอดคล้องกับการฝึกเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ในประเทศต่าง อย่างเช่นสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
จากบริษัทต่างๆซึ่งถูกคาดว่าจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/lockheed-martin-mitsubishi-f-x.html)
"การเปลี่ยนแปลง digital มีศักยภาพที่จะสร้างผลกระทบที่สำคัญกับทุกระยะของการวิจัยและพัฒนา(R&D: research and development), สายการผลิตจำนวนมาก และการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์กลาโหม" โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่าทั้งกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Forces) "ตระหนักถึงความสำคัญของความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง"
เกี่ยวกับวิศวกรรมทาง digital และกำลังทำงานที่จะบูรณาการขีดความสามารถดังกล่าว โดยมุ่งเป้าที่จะสามารถจะ "จัดหาและปฏิบัติงานยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าอย่างมีประสิทธิภาพ"
ตามตัวอย่างที่โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นชี้ให้เห็นถึงโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่ดำเนินการวิจัยในการประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมระบบเปิด(OSA: Open Systems Architecture) 

สถาปัตยกรรมระบบเปิดซึ่งผ่านระบบต่างๆที่มีความเข้ากันได้และเชื่อต่อกันได้ที่จะพัฒนาบนระบบภารกิจประจำเครื่องบินขับไล่ F-X อย่างเช่น ระบบควบคุมการยิง, ระบบนำร่อง, ระบบสื่อสาร และระบบสงคราม electronic(EW: Electronic Warfare)
"การประยุกต์ใช้ OSA ทำให้เราสามารถที่จะเพิ่มการเพิ่มขยายของเครื่องบินขับไล่ดังกล่าว ที่การปรับปรุงในอนาคตของระบบย่อยสามารถจะมีขึ้นที่ค่าใช้จ่ายต่ำและในช่วงเวลาอันสั้นโดยปราศจากการซ่อมคืนสภาพหลัก
เราตั้งใจที่นำวิทยาการเหล่านี้มาใช้กับเครื่องบินขับไล่ F-X" โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/f-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/03/fx.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-x.html)

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สหรัฐฯอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 พร้อมอาวุธแก่ฟิลิปปินส์

US approves F-16s, air-launched missiles to Philippines



The Philippines has been approved to buy 12 F-16V combat aircraft, as well as related air-to-air and anti-shipping missiles. (Lockheed Martin)





สหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70/72 Fighting Falcon รุ่นใหม่ล่าสุดจำนวน 12เครื่องแก่ฟิลิปปินส์ เช่นเดียวระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ เป็นวงเงินประมาณ $2.6 billion
ตามเอกสารแจ้งที่แยกกันสามรายการที่เผยแพร่โดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2021

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-16C Block 70/72 จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16D Block 70/72 จำนวน 2เครื่องสำหรับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force) 
(ในการอนุมัติเครื่องบินขับไล่ F-16 ได้รับการกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F-16C/D ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มากกว่าที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่ F-16V ตามผู้ผลิตบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ),

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9X Sidewinder Block II จำนวน 24นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing AGM-84L-1 Harpoon Block II จำนวน 12นัด
"ข้อเสนอการขายจะเพิ่มขีดความสามารถของฟิลิปปินส์ให้ตรงความต้องการภัยคุกคามปัจจุบันและอนาคต โดยทำให้ฟิลิปปินส์สามารถวางกำลังเครื่องบินขับไล่ด้วยอาวุธความแม่นยำสูงในการสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในตอนใต้ฟิลิปปินส์ เพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสียหายข้างเคียง"

DSCA สหรัฐฯกล่าวในการอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-16V ที่เสริมด้วยชุดข้อเสนอที่หลากหลาย "จะสนับสนุนนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯโดยความช่วยเหลือ
ที่จะเพิ่มพูนความมั่นคงของหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ต่อเนื่อง จะเป็นกำลังรบที่มีความสำคัญสำหรับเสถียรทางการเมือง, สันติภาพ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ตามการเน้นโดย DSCA สหรัฐฯ การขายเครื่องบินขับไล่ F-16V รวมถึงอุปกรณ์และอาวุธที่เกี่ยวข้อง เช่น AESA(Active Electronically Scanned Array) แบบ Northrop Grumman AN/APG-83 SABR(Scalable Agile Beam Radar),
หมวกนักบินติดจอแสดงผล JHMCS II(Joint Helmet Mounted Cueing System II) หรือหมวกนักบินติดจอแสดงผล Scorpion HObIT(Hybrid Optical-based Inertial Tracker),

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120C-7/C-8 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile), ชุดระบบสงคราม Eletronic บูรณาการ(EW: Electronic Warfare suite) และอุปกรณ์อื่นๆ 
วงเงินของการขายเครื่องบินขับไล่ F-16V คาดว่าอยู่ที่ประมาณ $2.43 billion ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/f-16-f-16v.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/06/f-16v.html)

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami ลำที่สามลงน้ำ FFM-3 Noshiro

Japan's MHI launches third Mogami-class multirole frigate for JMSDF







MHI launched Noshiro , the third Mogami-class frigate on order for the JMSDF, in a ceremony held on 22 June at its facilities in Nagasaki. (Mitsubishi Heavy Industries)



บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami ลำที่สามจากทั้งหมด 22ลำสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) 
เรือฟริเกต FFM-3 JS Noshiro (หมายเลขเรือ 3) ถูกปล่อยลงน้ำในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2021 ณ อู่เรือ Nagasaki Shipyard & Machinery Works ในจังหวัด Nagasaki และคาดว่าจะเข้าประจำการในปีงบประมาณ 2022-2023

เรือฟริเกต FFM-3 Noshiro ได้ถูกสร้างขึ้นในวงเงินราว 47.6 billion Yen($431 million) ภายใต้สัญญาที่ประกาศในเดือนมกราคม 2020 ตามข้อมูลจากโฆษกบริษัท MHI ญี่ปุ่น
เช่นเดียวกับเรือลำอื่นในเรือฟริเกตชั้น Mogami เรือฟริเกต JS Noshiro มีระวางขับน้ำที่ 3,900 tonne มีกำลังพลประจำเรือที่ประมาณ 90นาย ความยาวตัวเรือ 133m, กว้าง 16.3m และกินน้ำลึก 9m

เรือฟริเกตชั้น Mogami ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG(Combined Diesel and Gas) ประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซลแบบ MAN 12V28/33D STC สองเครื่องและเครื่องยนต์ gas turbine แบบ Rolls-Royce MT30 หนึ่งเครื่อง คาดว่าเรือจะสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 30 knots 
ระบบอาวุธของเรือฟริเกตชั้น Mogami คาดว่าจะรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง Type 03 Chu-SAM Kai รุ่นใช้งานทางทะเลบนเรือผิวน้ำ, ปืนเรือหลัก Mk45 Mod4  5"/62cal(127mm), 

แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 17(SSM-2) สองแท่น 8นัด และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SeaRAM ที่คาดว่าจะเป็นรุ่นปรับปรุง RIM-116C RAM(Rolling Airframe Missile)
เรือฟริเกตชั้น Mogami ยังจะได้รับการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launch System) แบบ Mk41 16ท่อยิง เช่นเดียวกับ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Type 12 ในแท่นยิง 3ท่อสองแท่น

เรือฟริเกตชั้น Mogami ลำที่สองของชั้นคือเรือฟริเกต FFM-2 JS Kumano ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2020 ณ อู่เรือ Tamano Works ของบริษัท Mitsui ทางตอนใต้ของจังหวัด Okayama(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/ffm-2-kumano.html
เรือลำแรกของชั้นคือเรือฟริเกต FFM-1 JS Mogami ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2021 ณ อู่เรือ Nagasaki(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/ffm-1-mogami.html) กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นยังคงถือว่า Mogami เป็นเรือลำแรกของชั้นยึดตามลำดับการสั่งจัดหา

เรือฟริเกต FFM-3 JS Noshiro ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำ Yoneshiro ที่ไหลผ่านเมือง Noshiro ในจังหวัด Akita ซึ่งเคยถูกนำมาตั้งเป็นเรือลำที่สองของเรือลาดตระเวนเบาชั้น Agano ที่ถูกจมโดยเครื่องบินโจมตีของกองทัพเรือสหรัฐฯทางใต้เกาะ Mindoro ทะเล Sulu ในเดือนตุลาคม 1944
ต่อมาหลังสงครามถูกตั้งเป็นชื่อเรือพิฆาตคุ้มกันชั้น Chikugo ลำที่สิบซึ่งเป็นลำสุดท้ายของชั้น คือเรือพิฆาตคุ้มกัน DE-225 JDS Noshiro โดยเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในปี 1977 และปลดประจำการลงในปี 2003 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วีดิทัศน์ใน TikTok เปิดเผยเรือดำน้ำแบบใหม่ของจีนที่น่าจะเป็นชั้น Type 039C รุ่นใหม่

Update: Video footage emerges of new Chinese submarine



A composite image produced from multiple screengrabs taken from video footage posted on the TikTok social media platform in about mid-June showing a new conventionally powered submarine for the Chinese navy. (Via TikTok/Janes/H I Sutton)

ภาพวีดิทัศน์ที่เผยแพร่ในสื่อสังคม online จีน TikTok ดูเหมือนจะเป็นการยืนยันว่าเรือดำน้ำตามแบบ(Conventionally Powered Submarine) แบบใหม่ที่คุณสมบัติหอเรือที่โดดเด่น
ได้รับการสร้างสำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/type-039c-yuan.html)

วีดิทัศน์ความยาวสั้นไม่กี่วินาทีแสดงถึงเรือดำน้ำที่อยู่ระหว่างเคลื่อนย้ายในแม่น้ำที่น่าจะเป็นแม่น้ำ Yangtze ประกบคู่ด้วยเรือลากจูงสองลำ
ภาพถ่ายของเรือดำน้ำลำเดียวกันปรากฎครั้งแรกในต้นเดือนพฤษภาคม 2021 แสดงถึงเรือดำน้ำที่อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan ช่วงเวลาทำการปล่อยเรือ

แม้ว่าราวสะพานซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายภาพจะบดบังเรือดำน้ำบางส่วน ภาพที่ปรากฎดูเหมือนจะแสดงถึงการออกแบบหอเรือใหม่โดยมีแนวสันข้างที่โดดเด่น
ซึ่งคล้ายคลึงกับเรือดำน้ำชั้น Saab Kockums A26 ที่กำลังอยู่ระหว่างการสร้างสำหรับกองทัพเรือสวีเดน(RSwN: Royal Swedish Navy, Svenska marinen)(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/saab-damen-a26-walrus.html)

อู่เรือ Wuhan ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำ Yangtze ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 850km การปรากฎตนของเรือดำน้ำใหม่ที่อู่เรือเป็นที่น่าประหลาดใจ ตามที่บริษัท Wuchang Shipbuilding Industry Group Company จีน
ได้ขยายสถานที่ของตนที่ Shuangliu ห่างไปทางปลายแม่น้ำ 50km ที่ซึ่งการสร้างเรือดำน้ำได้ดำเนินการในต้นปี 2019 ช่วงเวลาที่วางแผนทำการปิดปรับปรุงและพัฒนาใหม่ของพื้นที่ในย่านใจกลางเมือง Wuhan

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเมื่อไรที่ภาพถ่ายภาพแรกและตามมาด้วยภาพวีดิทัศน์ต่อเนื่องของเรือดำน้ำแบบใหม่ถูกบันทึกไว้ได้ นอกจากนี้ไม่มีภาพถ่ายดาวเทียมจากแหล่งข้อมูลเปิดปรากฏภาพที่ว่าตัวเรือดำน้ำใหม่มีขึ้นที่อู่เรือแต่อย่างใด
ภาพถ่ายดาวเทียมควรจะสามารถทราบความยาวตัวเรือดำน้ำวัดขนาดและระบุว่าเรือใหม่มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039A/B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ซึ่งน่าเป็นเรือชั้นนี้หรือการออกแบบใหม่ที่สำคัญเพิ่มเติม

เรือดำน้ำชั้น Type 039A/B Yuan ถูกพิจารณาว่าเป็นเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการมากที่สุดของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
จีนยังส่งออกเรือดำน้ำชั้นนี้แก่ต่างประเทศคือกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ในชื่อเรือดำเแบบ S26T ๑ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) และกองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) 8ลำด้วยครับ

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 สองลำลงน้ำ




Royal Thai Navy (RTN) was formal launching ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.997-class (T.997 and T.998) from Thailand's shipyard company Marsun Public Company Limited in 21 June 2021.



Clip LIVE: พิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลงน้ำ เรือ ต.๙๙๗ และ เรือ ต.๙๙๘ วันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด(มหาชน) แบบ New Normal

ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลงน้ำ (เรือ ต.997 - ต.998) ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ



วันนี้ (21 มิถุนายน 2564) เวลา 14.20 น. พลเรือเอก ชาติชาย  ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลงน้ำ (เรือ ต.997 - ต.998) ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
โดยมี นางจุฬารัตน์  ศรีวรขาน นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ในฐานะภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ 
โอกาสนี้ พลเรือเอก วศินสรรพ์  จันทวรินทร์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง 
นายภัทรวิน  จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ และข้าราชการในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมในพิธี



กองทัพเรือ ได้อนุมัติให้จัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 - ต.998 จำนวน 2 ลำ เพื่อรองรับการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ 
ตามนโยบายการพัฒนากองทัพ และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ ซึ่งโครงการนี้กองทัพเรือได้ว่าจ้างให้บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ 
โดยความเป็นมาของการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งนั้น เริ่มจากการที่ กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพระราชทานพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ 
เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ.2510 - 2530  อันเป็นการดำเนินโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ 
โดยกองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเรือชุด ต.991 - ต.993 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2550 ซึ่งโครงการนั้นประสบความสำเร็จด้วยดี 



ต่อมาในปี พ.ศ.2552 กองทัพเรือจัดทำโครงการการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ชุดเรือ ต.994 - ต.996 ด้วยเป็นการสนองพระราชดำริ ในเรื่องการพึ่งพาตนเอง
ของกองทัพเรือ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ 
ซึ่งโครงการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติฯ ชุดเรือ ต.994 นี้ได้สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2554 และสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อภารกิจได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ในการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 และ ชุดเรือ ต.994 ครั้งนั้น บริษัทมาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ได้ผ่านการคัดเลือกและได้รับความไว้วางใจจากกองทัพเรือให้เป็นผู้จัดส่งวัสดุและอุปกรณ์ให้กับ กรมอู่ทหารเรือดำเนินการสร้างเรือ ต.991 และ ต.994 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี 
และบริษัทมาร์ซันฯ เป็นผู้สร้างเรือ ต.992 - ต.993 และเรือ ต.995 - ต.996 ซึ่งบริษัทฯ ได้ส่งมอบเรือให้แก่กองทัพเรือเรียบร้อยถูกต้องตรงตามสัญญาทั้งสองโครงการ 



สำหรับโครงการจ้างเรือสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.997 และ ต.998 จำนวน 2 ลำ ในครั้งนี้ กองทัพเรือ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 – 2567 ที่ได้กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวนทั้งสิ้น 16 ลำ 
เพื่อใช้ในภารกิจต่าง ๆ และทดแทนเรือที่ครบกำหนดปลดระวางประจำการ โดยกองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไว้ใช้ในราชการแล้วคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.81 - ต.83 ชุดเรือ ต.991 - ต.996 และชุดเรือ ต.111 -  ต.115 รวมเป็นจำนวน 14 ลำ 
และในส่วนของการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง 2 ลำนี้ กองทัพเรือได้ออกประกาศเชิญชวนยื่นข้อเสนอโดยวิธีคัดเลือก และบริษัท มาร์ซันฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ ตามแบบชุดเรือ ต.994 ของกองทัพเรือ 
โดยมีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคตามความต้องการของฝ่ายเสนาธิการ และจัดให้มีพิธีลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 
ซึ่งการว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซันฯ เป็นผู้ดำเนินการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ โดยประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 และมีกำหนดส่งมอบเรือ ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564



ดังนั้น เมื่อกองทัพเรือได้รับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ครบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 - 2567 แล้ว จะทำให้กองทัพเรือมีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเพียงพอต่อการใช้งาน ตอบสนองต่อภารกิจตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ทั้งยังเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ และเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ 
โดยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งทั้งสองลำนี้จะเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง 
คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือ ได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์



คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่นี้ 
มีความยาวตลอดลำ 41.45 เมตร ความกว้างสูงสุดของเรือ 7.2 เมตร ความลึกของเรือ 3.8 เมตร ระยะกินน้ำลึกตัวเรือ 2.0 เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 28 นอต กำลังพลประจำเรือ 33 นาย 
เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MAN กำลังเครื่องยนต์ 2960 KW ที่ 1900 rpm พร้อมเพลาใบจักร ตราอักษร WARTSILA จำนวน 2 ชุด เครื่องไฟฟ้าขนาด 150 KW 380 VAC จำนวน 2 ชุด เกียร์ส่งกำลัง ตราอักษร ZF รุ่น 9055 จำนวน 2 ชุด 
มีการจัดแบ่งที่พักอาศัยสำหรับกำลังพลตามอัตรา 33 นาย เสบียงอาหาร และน้ำจืดเพียงพอ สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งบำรุง ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 1,500 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ที่ระวางขับเต็มที่



สำหรับพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธี เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำ แบบสากลให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธี 
โดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ การนี้สืบเนื่องมาจากการดื่มอวยพรด้วยถ้วยเงิน เมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน 
คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวดแชมเปญไม่ถูกหัวเรือ แต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีได้รับบาดเจ็บ จึงได้ใช้เชือกผูกคอขวดเสียก่อนเสมอ 
จนถึงปัจจุบันนี้พิธีปล่อยเรือลงน้ำของราชนาวี เฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 
ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวงเสือคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2453 ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น 
สำหรับเรือหลวง ตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดย กรมอู่ทหารเรือที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ 1)
ซึ่งมี คุณหญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2500

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ทั้งสองลำคือ เรือ ต.997 และเรือ ต.998 ที่ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/997-998.html)
โดยเป็นผลงานล่าสุดอู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) ต่อจากเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 ทั้งสองลำคือ เรือ ต.114 และเรือ ต.115 ที่มีพิธีรับมอบเรือเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/114.html)

ปัจจุบัน กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย กยฝ.กร.ทร. มีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งประจำการรวม ๑๔ลำคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.81 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.81, ต.82 และ ต.83), เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.991, ต.992 และ ต.993), 
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.994, ต.995 และ ต.996), เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.111, ต.112 และ ต.113) และชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำ(ต.114 และ ต.115) เมื่อเรือ ตกฝ.ชุด เรือ ต.997 จำนวน ๒ลำเข้าประจำการจะรวมเป็น ๑๖ลำ

รือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 เป็นเรือรบชุดแรกของกองทัพเรือไทยที่จะติดตั้งระบบอาวุธรัสเซียคือปืนกล AK-306 ขนาด 30mm(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html) จากวิดีทัศน์ภาพมุมสูงจะเห็นส่วนดาดฟ้ายกที่หัวเรือเป็นฐานสำหรับติดตั้งแท่นปืนกลนี้
ปืนกล AK-306 พร้อมระบบควบคุมการยิง(Fire Control System) แบบ Antares Mod.9 จะเป็นปืนหลักของเรือ และมีปืนรองเป็นปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 .50cal สองแท่นที่กราบซ้าย-ขวาเรือ คาดว่าระบบอาวุธทั้งหมดจะถูกติดตั้งเสร็จก่อนการส่งมอบเรือในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ครับ