วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Lockheed Martin สหรัฐฯจะออกแบบพัฒนาเครื่องบินขับไล่ F-35 รุ่นที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าต่างประเทศที่ไม่เปิดเผย

Lockheed Martin to design and develop F-35 variant ‘tailored' for foreign customer



Unlike all other customers of the F-35, Israel fields its own test aircraft used to develop national-specific capabilities. (Israeli Air Force)

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้รับสัญญาที่จะออกแบบและพัฒนาเครื่องบินขับไล่ F-35 Lighting II Joint Strike Fighter(JSF) ของตน ในรุ่นที่มุ่งไปสู่ความต้องการของลูกค้าต่างประเทศที่ไม่ถูกระบุ
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2021 ว่าผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEM: Original Equipment Manufacturer) ได้รับสัญญาวงเงิน $49 million
ที่จะสนับสนุนงานเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ F-35 รุ่น "ที่เหมาะสม" สำหรับลูกค้าต่างประเทศในการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) ที่ไม่เปิดเผย งานที่เกี่ยวข้องกับการประกาศสัญญานี้โดยเฉพาะคาดว่าจะดำเนินการไปจนถึงเดือนธันวาคม 2026

ตามที่ไม่มีรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับทั้งเครื่องบินขับไล่ F-35 รุ่นใหม่ หรือผู้ใช้งานปลายทางได้รับการเปิดเผย แทบจะแน่นอนว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเกินไปกว่า 
เครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing), เครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้งลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Take Off and Vertical Landing) หรือเครื่องบินขับไล่ F-35C รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน(CV: Carrier Variant) ที่มีอยู่แล้ว
นอกนั้นวงเงินที่ต่ำและระยะที่สั้นค่อนข้างจะบ่องบอกถึงความเกี่ยวข้องกันที่ต่อเนื่องของการประกาศสัญญาออกแบบและพัฒนาที่มีมาก่อนหน้า

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 มีการเปิดเผยว่า Lockheed Martin สหรัฐฯได้รับการประกาศสัญญาวงเงิน $147.96 million ที่จะส่งมอบการปรับปรุงที่อิสราเอลระบุสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35I Adir(การกำหนดแบบและชื่อของ F-35A ในประจำการอิสราเอล) 
ในฐานะส่วนหนึ่งของหลายๆชุดของชุดคำสั่ง Block 3F+(ภายหลังถูกเรียกว่าว่า Block 4+) สำหรับอิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/f-35i.html)
สัญญาได้ถูกส่งมอบสำหรับการจัดหาระบบอาวุธ, การรับรอง, ชุดการดัดแปลง และระบบวิเคราะห์สงคราม Electronic ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/f-35i.html)

ขณะที่สัญญาชุดคำสั่ง Block 3F+/Block 4+ ไม่ได้ให้การระบุลักษณะของระบบที่เป็นเอกลักษณ์ต่างๆของอิสราเอลที่จะถูกส่งมอบสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35I Adir
ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: In Development and Production กองทัพอากาศอิสราเอล(IAF: Israeli Air Force) วางกำลังด้วย F-35I ที่ถูกใช้สำหรับการทดสอบการพัฒนาขีดความสามารถภายในประเทศโดยเฉพาะ
ปัจจุบันกองทัพอากาศอิสราเอลมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35I Adir สามฝูงบิน ฝูงบินละ 25เครื่อง รวมทั้งหมด 75เครื่อง ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการรบจริงแล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เนเธอร์แลนด์ประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นเครื่องบินขับไล่ F-35A

Netherlands declares IOC for F-35



The examples of at least 46 F-35As for the Royal Netherlands Air Force. With 24 aircraft now delivered, the service has declared IOC for the type. (Lockheed Martin)



เนเธอร์แลนด์ประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operating Capability) สำหรับฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตน
หลักก้าวย่างสำคัญที่ประกาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2021 กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์(RNLAF: Royal Netherlands Air Force) กลายเป็นกองทัพที่12 จากทั่วโลกที่ประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ F-35 ของตนพร้อมสำหรับการปฏิบัติการ

"ฝูงบิน F-35 ของเราได้บรรลุความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น ด้วยการบรรลุความสำเร็จนี้ เนเธอร์แลนด์ได้เข้าร่วมกลุ่มที่ถูกเลือกของประเทศต่างๆ ซึ่งสามารถวางกำลังหน่วยบิน F-35 กับกำลังพลที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้นทุกหนแห่งในโลก" กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กล่าว
ตามรายงานก่อนหน้านี้โดย Janes สำหรับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ ความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นหมายความว่า F-35A สี่เครื่องจะพร้อมใช้สำหรับภารกิจวางกำลังนอกประเทศเป็นระยะเวลาสามถึงสี่เดือน

กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กำลังจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A อย่างน้อย 46เครื่อง ซึ่งมีราว 24เครื่องที่ถูกส่งมอบแล้ว(เครื่องเหล่านี้จำนวนหนึ่งยังอยู่ในสหรัฐฯเพื่อวัตถุประสงค์ในการฝึกนานาชาติและการทดสอบและประเมินค่า)
เครื่องบินขับไล่ F-35A เนเธอร์แลนด์ถูกใช้งานโดยฝูงบิน 322 ที่ตั้ง ณ ฐานทัพอากาศ Leeuwarden โดยฝูงบินปฏิบัติการที่สองจะจัดตั้งขึ้น ณ ฐานทัพอากาศ Volkel เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ในประจำการกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ เครื่องบินขับไล่ F-35A จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16AM/BM Fighting Falcon(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/f-35a.html)
เครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องสุดท้ายสำหรับเนเธอร์แลนด์คาดว่าจะถูกส่งมอบในปี 2023 โดยความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operating Capability) มีกำหนดจะตามมาในปี 2024

เนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในหุ้นส่วนนานาชาติของโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 และมีส่วนได้ส่วนเสียในการสนับสนุนทางอุตสาหกรรมของอากาศยาน
เกี่ยวกับในส่วนนี้ ชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35 ของชาติยุโรปทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ที่สถานที่ในเมืองทางตอนใต้ของ Woensdrecht เนเธอร์แลนด์ครับ

HHI เกาหลีใต้จะสร้างเรือคอร์เวตใหม่สองลำสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์

Korea’s HHI consigned to build 2 more corvettes for Philippine Navy

South Korea’s Hyundai Heavy Industries Co. has signed a 583 billion won ($491.2 million) deal to deliver two 3,100 tonne class corvettes for the Philippine Navy. (Hyundai Heavy Industries)


Two of the 2,600 tonne BRP Jose Rizal class frigate Hyundai Heavy Industries have delivered to the Philippines. (Philippine Navy)

อู่เรือบริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการลงนามสัญญาวงเงิน 583 billion Korean Won หรือ 28 billion Philippine Peso($491.2 million) ที่จะส่งมอบเรือคอร์เวตใหม่จำนวน 2ลำ สำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์(Philippine Navy)
ตามข้อมูลจาก HHI สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2021 บริษัทจะสร้างเรือคอร์เวตที่อู่เรือของตนใน Ulsan ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐเกาหลี และส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ภายในปี 2025

แบบเรือคอร์เวต HDC-3100 ของ HHI มีระวางขับน้ำ 3,100 tonne ความยาวตัวเรือ 116m กว้าง 14.8m กินน้ำลึก 3.7m ทำความเร็วได้สูงสุด 25 knots และมีระยะปฏิบัติการไกลสุด 4,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15 knots
เรือคอร์เวตจะติดตั้งด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำและแท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launch System) เช่นเดียวกับ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ที่เพิ่มขยายขีดความสามารถการตรวจจับได้มากกว่า 1,000เป้าหมายในระยะไกล

คำสั่งจัดหาเรือคอร์เวตใหม่สองลำนี้มีขึ้นหลังบริษัท HHI ได้ส่งมอบเรือฟริเกตชั้น Jose Rizal ขนาด 2,600 tonne จำนวน 2ลำที่ฟิลิปปินส์สั่งจัดหาในปี 2016 ครบแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/jose-rizal-ff-151-brp-antonio-luna.html)
เรือลำแรกเรือฟริเกต FF-150 BRP Jose Rizal เข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/jose-rizal-ff-150-brp-jose-rizal.html) และลำที่สองเรือฟริเกต FF-151 BRP Antonio Luna เข้าประจำการเมื่อเดือนมีนาคม 2021

การส่งมอบเรือฟริเกตชั้น Jose Rizal แก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์ของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในทั้งสองประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งมอบ
ยังรวมถึงการมอบหน้ากากอนามัย 20,000 ชิ้น, ยาฆ่าเชื้อ 180 ขวด, เจลทำความสะอาดมือ 2,000 ขวด และกระดาษชำระฆ่าเชื้อ 300 ห่อ เพื่อเป็นการขอบคุณฟิลิปปินส์ที่มีส่วนร่วมในสงครามเกาหลี

Nam Sang-hoon รองประธานและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจเรือพิเศษของ HHI กล่าวว่าโครงการล่าสุดได้รับการดำเนินบนพื้นฐานบันทึกความเข้าใจความเป็นหุ้นส่วนทางทหารและกลาโหมระหว่างเกาหลีและฟิลิปปินส์ที่เป็นผลของการสนับสนุนจาก
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี, กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) และภารกิจทางการทูต

บริษัท HHI จะมีบทบาทนำในฐานะน่าผู้นำทางเข้าสู่ตลาดต่างประเทศบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง Nam กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/jose-rizal-2021.html
ล่าสุด HHI กำลังพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) ขนาด 1,500 tonne ด้วยวิทยาการของตนที่ได้ถูกมองการขยายการนำเสนอในต่างประเทศเชิงรุก เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งมีขีดความสามารถที่จะดำเนินการปฏิบัติการในระยะไกลได้ครับ

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เนเธอร์แลนด์ปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47D Chinook

Netherlands retires CH-47D Chinooks



A Dutch CH-47D seen on operations. The variant has now been replaced in RNLAF service by the latest CH-47F standard Chinook. (Janes/Patrick Allen)

กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์(RNLAF: Royal Netherlands Air Force) ได้ปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing CH-47D Chinook เครื่องสุดท้ายของตนแล้ว
กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ประกาศเหตุการณ์นี้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2021 ย้ำว่าหลังจากปฏิบัติการมา 25ปี เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47D ได้ถูกทดแทนด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F รุ่นล่าสุดแล้ว
"มันถูกห่อเก็บแล้ว ม้างาน CH-47D ปลดประจำการด้วยเที่ยวบินฝึกครั้งสุดและการลงจอดครั้งสุดท้าย(ที่ฐานทัพอากาศ Woensdrecht) ภารกิจของเราคงมีต่อเนื่องกับ CH-47F ฝูงบิน298" กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กล่าวในบัญชี Twitter ทางการของตน

ฮ.ลำเลียง CH-47D ถูกนำเข้าประจำการในปี 1995 เครื่องเหล่านี้ถูกเสริมด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F รุ่นมาตรฐานแรกจำนวน 6เครื่อง(เนเธอร์แลนด์เป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับ ฮ.รุ่นนี้)
ในปี 2016 เนเธอร์แลนด์ได้จัดหา ฮ.ลำเลียง CH-47F สร้างใหม่เพิ่มเติม 12เครื่องผ่านโครงการความช่วยเหลือทางทหารรูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
และ ฮ.ลำเลียง CH-47F เพิ่มเติมอีก 2เครื่องได้ถูกเพิ่มเข้าไปในคำสั่งจัดหาในปี 2017 ทำให้จำนวนที่สั่งจัดหาทั้งหมดรวมเป็น 14เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/ch-47f-chinook.html)

ฮ.ลำเลียง CH-47F จำนวน 6เครื่องรุ่นก่อนหน้ากำลังได้รับการปรับปรุงและจะเข้าประจำการ่วมกับ ฮ.CH-47F สร้างใหม่ 14เครื่องจะทำให้กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์มี ฮ.Chinook รุ่นมาตรฐานแบบเดียวกัน 20เครื่อง
ที่จะถูกใช้ในการเคลื่อนย้ายกำลังพล, การส่งกลับทางสายแพทย์, การกู้อากาศยาน, การโดดร่ม, การค้นหาและกู้ภัย, การบรรเทาภัยพิบัติ, การดับเพลิง และการสนับสนุนงานก่อสร้างขนาดหนัก
รูปแบบมาตรฐานร่วมกันนี้จะรวมถึงการบูรณาการแบบเต็มรูปแบบของระบบสถาปัตยกรรม Avionic ร่วม(CAAS: Common Avionics Architecture System) ประกอบด้วยขีดความสามารถห้องนักบิน glass cockpit, ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ Digital และระบบการบรรทุกสัมภาระขั้นก้าวหน้าครับ 

สเปนอนุมัติการปรับปรุงมาตรฐานเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger III

Spain approves Tiger III upgrade



Spain has approved funding for the Mk III upgrade of its Tiger attack helicopters. (Spanish MoD)

สเปนได้อนุมัติการมีส่วนร่วมของตนในการปรับปรุงมาตรฐานเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger Mk III ที่จะดำเนินการควบคู่ไปกับชาติหุ้นส่วนฝรั่งเศสและเยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/airbus-tiger-iii.html)
คณะรัฐมนตรีสเปนได้ให้ความเห็นชอบของตนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2021 อนุมัติงบประมาณวงเงิน 1.2 billion Euros($2.03 billion) ตั้งแต่ปี 2029-2037
เมื่อทุกชาติหุ้นส่วนได้ให้การอนุมัติของตนผ่านองค์การความร่วมมืออาวุธยุทโธปกรณ์ร่วม(OCCAR: Organisation for Joint Armament Cooperation) ยุโรป สัญญาน่าจะได้รับการประกาศแก่บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปในต้นปี 2022

การปรับปรุงระบบหลักสำหรับโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger Mk III รวมถึงการปรับปรุงต่อระบบตรวจจับ electro-optical บนแกนส่วนด้านบนเครื่อง, ระบบหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง, ระบบเพิ่มขยายมุมมอง, ระบบวิทยุ, 
เครือข่าย datalink, การทำงานรวมกันเป็นทีมระหว่างอากาศยานมีนักบินและอากาศยานไร้คนขับ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ ปืนใหญ่อากาศ และจรวดอากาศสู่พื้นใหม่, ปรับปรุงระบบมาตรการต่อต้าน(countermeasures), 
ระบบนำร่องใหม่ที่เชื่อมการทำงานกับระบบนำร่องดาวเทียม Galileo GPS(Global Positioning System) และการปรับปรุงชุดระบบ Avionic ที่รวมถึงระบบบริหารข้อมูลทางยุทธวิธีและระบบอำนวยการสนามรบใหม่ 

ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Development & Production สเปนรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tigre HAP(Helicóptero de Apoyo y Protección) จำนวน 6เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tigre HAD(Helicóptero de Ataque y Destrucción) จำนวน 18เครื่อง
เยอรมนีรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger UHT(Unterstützungshubschrauber Tiger) จำนวน 66เครื่อง ขณะที่ฝรั่งเศสรับมอบ ฮ.โจมตี Tigre HAP(Hélicoptère d'Appui et de Protection) จำนวน 40เครื่อง และ ฮ.โจมตี Tigre HAD(Hélicoptère d'Appui Destruction) จำนวน 40เครื่อง
ขณะที่ฝรั่งเศสและสเปนได้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุง ฮ.โจมตี Tiger III เยอรมนีกำลังชั่งทางเลือกของตน ในเดือนพฤศจิกายน 2021 บริษัท Boeing สหรัฐฯบอกกับ Janes ว่าตนได้รับและตอบรับต่อเอกสารขอข้อมูลจากรัฐบาลเยอรมนีเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian ของตนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/ah-64-apache.html)

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กองพันทหารม้าที่๑๖ กองทัพบกไทยปลดประจำการรถถังเบา M41A3 เปลี่ยนไปใช้รถเกราะล้อยาง V-150















16th Cavalry Battalion, 5th Infantry Division, Fort Thepsatri Srisoonthorn, 4th Army Area, Royal Thai Army (RTA) farewell to ageing M41A3 light tanks and transitioned from Tank Cavalry Battalion to Reconnaissance Cavalry Battalion (wheeled) with V-150 4x4 wheeled armoured vehicles.





การเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีเสมอ....
รู้สึกใจหายเหมือนกัน....
ภาพประทับใจ ปู่รถถังวัยเกษียณ M41 Walker Bulldog...

“รายการพิเศษ อำลารถถัง M41 A3
แสนยานุภาพ "รถถังไทย"
วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ ม.พัน.16 พล.ร.5 ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 4 โดย พ.อ.หญิง ผุสดี เต็มยอด รองโฆษก ทภ.4 และทีมประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่ถ่ายทำรายการ “ทัพ 4 มีเรื่องเล่า” ตอนพิเศษ อำลา รถถัง M41 A3 ก่อนส่งกลับ กองคลังยุทโธปกรณ์ สพ.ทบ. จ.สระบุรี "ในการเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ ของ ม.พัน.16 ครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงแปลง อจย.ของหน่วยด้วย โดยเปลี่ยนจาก กองพันทหารม้ารถถัง เป็น กองพันทหารม้าลาดตระเวณ และยานรบที่ได้รับมาทดแทนคือ รถเกราะล้อยาง V 150"
…สำหรับ แสนยานุภาพ "รถถังไทย" หากกล่าวถึง รถถังเบา M41A3 Walker Bulldog เข้าประจำการในกองทัพบกไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) จนถึงปัจจุบันก็ใช้งานมา 58 ปี ถือว่าเก่ามากแล้ว 
ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าก่อนจะมาถึงมือกองทัพไทย รถถังรุ่นนี้ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯตั้งแต่ปี ค.ศ.1951 และปิดสายการผลิตไปเมื่อปี ค.ศ.1954 
เท่ากับว่ารถถังรุ่นนี้บางคันจริงๆอาจมีอายุเกือบ 70 ปีแล้ว สมควรแก่เวลาต้องปลดประจำการ และจัดหารถถังรุ่นใหม่คือรถถังหลัก Oplot-M จากยูเครนและรถถังหลัก VT-4 จากจีนมาทดแทน  
ด้าน พันโท กิตติศักดิ์ สระบุรี  ผบ. ม.พัน.16 พล.ร.5  กล่าวว่า “รู้สึกใจหาย เพราะผูกพันกับรถถัง M41 A3 เรียกได้ว่าเป็น คุณปู่ของกองพัน
และเชื่อว่ากำลังพลก็คิดถึงเหล่า รถถังเช่นกัน  พร้อมกล่าวว่า หน่วยพร้อมรองรับภารกิจและสานต่อ นโยบายและอุดมการณ์การทำงานของ กองทัพบกและกองทัพภาคที่ 4 อย่างเต็มความสามารถ
และจะปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเป็นธรรมดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด พร้อมนำพากำลังพลร่วมกันปฏิบัติภารกิจบนพื้นฐานของความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ สามารถยืนหยัดเป็นสถาบันหลักด้านความมั่นคงที่ค้ำจุนประเทศชาติและราชบัลลังก์อย่างยั่งยืนต่อไป
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่4

“ตรวจรับยุทโธปกรณ์ รถยานเกราะ Commando V-150”
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.64 เวลา 15.00 น.
พ.ท.กิตติศักดิ์ สระบุรี ผบ.ม.พัน.16 พล.ร.5 ร่วมตรวจรับการส่งมอบรถยานเกราะ คอมมานโด V-150 (เที่ยวแรก) ซึ่งจะเป็นยุทโธปกรณ์หลักของหน่วย ที่จะมาประจำการแทน รถถัง M.41 A3 ที่ได้ปลดประจำการไป 
โดยมี เจ้าหน้าที่ส่งกำลัง, เจ้าหน้าที่หมวดซ่อมบำรุง และพลประจำรถ ร่วมกันตรวจรับยุทโธปกรณ์ ณ สนามฝึกของหน่วย การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การปลดประจำการรถถังเบา M41A3 Walker Bulldog ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) โดยในส่วนของกองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช กองทัพภาคที่๔ นั้น
ม.พัน.๑๖ พล.๕ เคยมีประจำการด้วยรถเกราะล้อยาง M8 Greyhound 6x6 ที่เป็นรถเกราะเบาล้อยางลาดตระเวนซึ่งปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๑๖(1973) โดยมีประวัติปฏิบัติการภาคสนามมายาวนานตั้งแต่สมัยที่ภาคใต้มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนถึงการช่วยเหลือประชาชนในยามสงบปัจจุบัน

การเปลี่ยนอัตราจัดโครงสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ของหน่วยจากกองพันทหารม้ารถถังที่ใช้ ถ.เบา M41A3 มาเป็นกองพันทหารม้าลาดตระเวน(ล้อยาง) ที่ใช้รถเกราะล้อยาง V-150 Commando 4x4 ประกอบด้วยรุ่นลำเลียงพล, รุ่นติดปืนใหญ่รถถังขนาด 90mm และรุ่นติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81mm
ทำให้กองทัพภาคที่๔ ไม่มีหน่วยขึ้นตรงที่เป็นหน่วยใช้รถถังอีกต่อไป โดยมีกองพันทหารม้าที่๓๑ กองพลทหารราบที่๑๕ ม.พัน.๓๑ พล.ร.๑๕ ค่ายลพบุรีราเมศวร์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็น ม.ลว.(ล้อยาง) ที่ใช้รถเกราะ V-150 เช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/8x8.html)

M41A3 กำลังอยู่ในช่วงสุดท้ายของการใช้งาน ในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ม.พัน.๑๖ ได้รับมอบ M41A3 ที่เคยประจำการใน กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ เปลี่ยนไปใช้รถถังเบา Stingray ที่รับมาจากจากกองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ที่ใช้รถถังหลัก VT4(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/vt4.html)
ซึ่งก่อนหน้านี้กองพันทหารม้าที่เดิมเคยประจำการ M41A3 ก็เปลี่ยไปใช้รถแบบอื่นแล้ว เช่น กองพันทหารม้าที่๘ กองพลทหารราบที่๓ ก็ได้รับมอบรถถังหลัก M48A5 จาก กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ที่ได้รับรถถังหลัก Oplot-T ครบแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/blog-post_11.html)

ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่ากองพันทหารม้ารถถังหน่วยสุดท้ายที่ยังคงใช้รถถังเบา M41A3 คือ กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์ ซึ่งยังคงพบว่ามีการนำ ถ.เบา M41A3 ออกฝึกภาคสนามประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๔ อยู่
ตามที่ M41A3 ส่วนหนึ่งถูกนำมาเก็บไว้ที่ กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เข้าใจว่าเมื่อถึงสิ้นปี ๒๕๖๕ ก็เป็นเวลาที่ต้องอำลาจากทุกหน่วยอย่างถาวรแล้ว แต้ก็ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีรถถังใหม่มาทดแทนครบหรือไม่ครับ

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผู้นำกองทัพอากาศไทยยืนยันเจตนารมณ์ที่มองจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 สหรัฐฯเพื่อทดแทน F-16




Drawing three views of the USAF Lockheed Martin F-35A Lightning II fighter aircraft. (Great-Jimbo https://www.deviantart.com/great-jimbo)








Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Martin F-16A Block 15 OCU with SUU-20 practice bomb and rocket dispenser of 103rd Squadron, Wing 1 Korat in early days of  Air Tactical Operations Competition 2022 at Chandy Range, Lopburi, Thailand on 3-5 December 2021.




Air Chief Marshal Naphadet Thupatemi, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force give the intent during the Workshop "Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force" in 16-17 December 2021, to replace current RTAF's F-16A/B 4th generation fighters with F-35 5th genneration fighters in future.

แอดมีภาพมาฝากจ้า...ภาพระหว่างการแข่งขันปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี พ.ศ.2565 ในห้วง3วันเเรก.... พี่ๆนักบิน ตั้งใจฝึกซ้อมสำหรับการเเข่งขันครั้งนี้มากๆเลยนะบอกเลย ไปดูกันเลยจ้า....

ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” 
พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” โดยมีผู้แทนเหล่าทัพ และข้าราชการเข้าร่วมการสัมมนาฯ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ หอสมุดกองทัพอากาศ  
สําหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิดของการใช้กําลังทางอากาศทั้งระบบ โดยนําประสบการณ์ บทเรียน รวมทั้งการฝึก และการใช้กําลัง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ 
เพื่อกําหนดความสามารถที่ต้องการโดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกันของหน่วยเกี่ยวข้อง และเหล่าทัพ ซึ่งจะนําไปสู่จุดหมายปลายทางในการใช้กําลังของกองทัพอากาศ ในการทําสงครามและนอกเหนือจากสงคราม 
เพื่อยกระดับขีดความสามารถสู่การเป็น “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” 
ทั้งนี้กองทัพอากาศได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ของการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคงในอนาคต ตลอดจนผู้แทนจากกองทัพไทยและเหล่าทัพ ที่จะได้ร่วมกันบูรณาการองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองในการปฏิบัติภารกิจ ในการเตรียมกําลังอันจะนําไปสู่แนวทางในการปฏิบัติการร่วม บนพื้นฐานความเข้าใจและเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะมีผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ผู้บัญชาการทหารอากาศมอบเจตนารมณ์ในการพัฒนากองทัพอากาศ
พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศเปิดเผยว่า พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศได้มอบเจตนารมย์ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for The Quality Air Force” 
เพื่อนำไปกำหนดแนวทางการใช้กำลังทางอากาศและยุทธศาสตร์กองทัพอากาศในระยะต่อไป
โดยผู้บัญชาการทหารอากาศได้กล่าวว่า กำลังทางอากาศเป็นกำลังรบที่สำคัญในสงครามยุคใหม่ ดังนั้นกำลังทางอากาศจึงแพ้ไม่ได้ ปัจจัยที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่  
1. การมียุทโธปกรณ์ที่ใช้งานดีและมีคุณภาพสูง ซึ่งจะนำไปสู่การแพ้ไม่ได้
2. การมีการส่งกำลังบำรุงที่ดีควบคู่ไปกับยุทโธปกรณ์ที่ดี เพื่อให้การบำรุงรักษาทำได้สะดวกใช้เวลา กำลังคนและทรัพยากรน้อย
3. กองทัพอากาศต้องมีความน่าสะพรึงกลัว ต้องมียุทโธปกรณ์ที่น่าสะพรึงกลัว ไม่ใช่มีแต่ยุทโธปกรณ์ที่เก่า ล้าสมัย
4. มีความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศยนอกประเทศได้ เพื่อร่วมกับมิตรประเทศในการปกป้องผลประโยชน์หรือรักษาความมั่นคงในภูมิภาค ไม่เป็นกองทัพอากาศที่โดดเดี่ยว
ดังนั้นการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพอากาศจึงต้องพิจารณาความต้องการเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดที่มีอยู่ ให้มีจำนวนที่เหมาะสมในการประกอบกำลังเพื่อการฝึกหรือการปฏิบัติการต่าง ๆ 
และเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จำเป็นต้องมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนของเดิมที่เก่า ล้าสมัย ซ่อมบำรุงยากและไม่คุ้มค่า รวมทั้งความไม่ปลอดภัยในการบิน ซึ่ง F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันของหลายประเทศ ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ 
ซึ่งปัจจุบันราคาของ F-35 ลดลงจากเดิมมากราคาใกล้เคียงหรืออาจต่ำกว่า Gripen ที่กองทัพอากาศเคยจัดหามา จึงมีโอกาสที่กองทัพอากาศจะจัดหามาประจำการได้ อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศคำนึงถึงความพร้อมทางด้านสถานภาพงบประมาณของประเทศในปัจจุบันด้วย
นอกจากนี้การฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศ ต้องมีการพิจารณาจัดหาเครื่องบินฝึกให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแบบเครื่องบินขับไล่ขั้นต้นที่มีอยู่ เพื่อลดระยะเวลาในการศึกษาระบบอากาศยานขับไล่ที่เป็นเครื่องตระกูลเดียวกัน 
ตลอดจนให้นักบินมีเวลาในการศึกษาระบบอาวุธและอุปกรณ์สำคัญในเครื่องบิน พร้อมจัดหาเครื่องจำลองการบิน (Flight Simulator) เพื่อให้ศิษย์การบินได้เพิ่มทักษะทางการบินกับเครื่องจำลองการบินโดยไม่ต้องทำการบินกับเครื่องบินฝึก 
ในการสำเร็จการฝึกอบรมไปเป็นนักบินต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้ได้นักบินที่มีคุณภาพไปบินกับเครื่องบินที่มีคุณภาพต่อไป
ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและดำรงขีดความสามารถของกำลังทางอากาศตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพื่อการรักษาอธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์ชาติ ตลอดจนใช้เงินงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด

กองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 21 ธันวาคม 2564

การประกาศเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งมีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญโดย พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นการยืนยันอีกครั้งว่ากองทัพอากาศไทยมองที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF(Air Defense Fighter) ฝูงบิน๑๐๒ และ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราชของตน(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html)
ด้วยเครื่องบินไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ภายในสิบปีข้างหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35.html) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบเดียวในปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จในการผลิตส่งออกเข้าประจำการจริงแล้วเป็นจำนวนมากทั่วโลก

ในเดือนสุดท้ายของปี 2021 เครื่องบินขับไล่ F-35A ประสบความสำเร็จในฐานะผู้ชนะโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ HX ของฟินแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35a-hx.html) ทำให้ยอดสั่งจัดหาล่าสุดมีมากกว่า ๓,๐๐๐เครื่อง และส่งมอบไปแล้วมากกว่า ๗๓๐เครื่อง
นับตั้งแต่ที่มีการผลิตเครื่องชุดทดสอบจริงเครื่องแรกในปี 2006 และเข้าประจำการมา ๑๕ปี F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ปลอดภัยมากที่สุดแบบหนึ่ง โดยอุบัติเหตุตกที่เกิดจนถึงขณะนี้มีเพียงห้าครั้งเท่านั้น และมีนักบินเสียชีวิตเพียงรายเดียวคือกรณี F-35A ญี่ปุ่นตกทะเลในเดือนเมษายน 2019
ซึ่งสาเหตุของส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดของมนุษย์(Human Error) รวมถึงกรณีเครื่องบินขับไล่ F-35B กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ตกขณะกำลังบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth ในทะเล Mediterranean เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 
(สาเหตุมาเจ้าหน้าที่บนดาดฟ้าบินเรือที่อยู่ระหว่างการฝึกร่วมกับ F-35B ของกองทัพอากาศอิตาลีและกองทัพเรืออิตาลี และนาวิกโยธินสหรัฐฯ ลืมถอดแผ่นปิดช่องรับอากาศเข้าเครื่องยนต์ทำให้ชิ้นส่วนถูกดูดเข้าไปสร้างความเสียหายจนเครื่องเสียกำลังขับและตกทะเล นักบินดีดตัวได้และปลอดภัย)

แต่อย่างไรก็ตามถ้าสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอีกไม่ต่ำกว่าหลายทศวรรษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดงบประมาณกลาโหมของไทยลงมาต่อเนื่องแล้วหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
กองทัพอากาศไทยไม่น่าจะประสบความสำเร็จในการตั้งโครงการจัดหาอากาศยานหลักทดแทนใดๆได้เลยในตลอดทศวรรษปี 2020s นี้ ตามแผนที่เคยประกาศไว้ใน RTAF White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ที่ขณะนี้ก็ไม่เป็นไปตามแผนจำนวนหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๗ บ.ล.๘ Lockheed C-130H Hercules ที่ควรจะเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) หรือโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่ควรจะเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่อาจจะเริ่มต้นได้จริงในการทดแทน F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๑(2028) ซึ่งถ้ามีการลงนามจัดหาก็น่าจะได้รับเครื่องชุดแรกช่วงต้นทศวรรษปี 2030s ถ้ายังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕-๔.๗๕ เช่น F-16V, Gripen E หรือ KF-21 Block I อยู่นั้น
ผู้เขียนมองว่าเมื่อเข้าสู่ปี 2030s เครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๔.๕-๔.๗๕ เหล่านี้จะไม่มีขีดความสามารถรองรับภัยคุกคามในอนาคตได้อีกต่อไป หรือกล่าวได้ว่าเครื่องบินขับไล่ที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ จะไม่มีโอกาสรอดในสงครามทางอากาศในปี 2030s อีกต่อไป
ดังนั้นขณะที่ช่วงปี 2030s ที่กองทัพอากาศสิงคโปร์น่าจะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B เข้าประจำการแล้ว อาจจะมีประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN ที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ เข้าประจำการเพิ่มก็ได้ เช่น Su-57 และ Su-75 รัสเซีย, KF-21 Block II สาธารณรัฐเกาหลี และ FC-31 จีน

ทำให้กองทัพอากาศไทยอาจจะเลือกอดทนรอให้ตนมีความพร้อมในการจัดหา F-35A เพื่อทดแทน F-16 ที่มีทั้งหมด ซึ่งด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ การลดขนาดกำลังพลในกองทัพ และแนวคิดการทวีกำลังรบที่เริ่มมาตั้งแต่การจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D 
มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ในปี 2030s จำนวนเครื่องบินขับไล่ขั้นต่ำในฝูงบินขับไล่โจมตีอาจจะเหลือเพียงฝูงละ ๘เครื่อง เช่นการทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน ๑๐๒ ๑๖เครื่อง และ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน ๑๐๓ ๒๕เครื่อง อาจจะเหลือเพียง ๑ฝูงบิน ๘+๔เครื่อง(ทางเลือก)เท่านั้น
อย่างไรก็ด้วยแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคนี้ในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะบีบบังคับให้กองทัพอากาศไทยเลือกจัดหาอากาศยานที่ดูจะมีประโยชน์ในการตอบสนองภารกิจที่ตอบสนองต่อความพอใจของประชาชนมากกว่า เช่นการบรรเทาภัยพิบัติและสาธารณภัยต่างๆ

เช่นว่าท้ายที่สุดกองทัพอากาศไทยอาจจะเลือกที่จะผลักดันโครงการเครื่องบินลำเลียงใหม่เท่านั้นไม่มีเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ หรือภัยคุกคามอุบัติใหม่ของไทยอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบกองกำลังติดอาวุธตามแบบของต่างชาติ ที่มีการจัดกำลังไว้เตรียมรับมือเช่นแผนปฏิบัติการต่างที่มีในปัจจุบัน 
แต่อาจจะกลับไปสู่การก่อความไม่สงบด้วยอาวุธจากกลุ่มภายในประเทศที่ไม่มีโครงสร้างระบุได้ชัดเจนเช่นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในอดีตก็ได้(คาดว่าการสร้างสถานการณ์จะเริ่มขึ้นภายในราวปี 2023-2024 ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่มีแนวคิดเป็นภัยความมั่นคงกำลังทำการปลุกระดมมวลชนอยู่)
ตอนนั้นกองทัพอากาศไทยอาจจะมองการจัดหาอากาศยานที่ตอบสนองต่อภัยคุกคามลักษณะนี้อย่างเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html) และอากาศยานไร้คนขับ UAV(Unmanned Aerial Vehicle) มากกว่าเครื่องบินขับไล่ F-35 ก็ได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือพม่าทำพิธีประจำการเรือดำน้ำชั้น Type 035 จีน UMS Minye Kyaw Htin














Chairman of the State Administration Council of Republic of Union of Myanmar and Commander-in-Chief of the Myanmar Armed Forces, Senior General Min Aung Hlaing was attends the commissioning ceremony of new warships,
include UMS Minye Kyaw Htin (72), the former chinese People's Liberation Army Navy (PLAN)'s Type 035 'Ming'-class submarine; UMS Inwa (53), the Inlay-class Offshore Patrol Vessel (OPV); two of 18m Riverine Fast Attack Crafts and four of 20m Riverine Patrol Boats on 24 December 2021, 74th Anniversary of the Myanmar Navy.



ระหว่างพิธีครบรอบปีที่74 การก่อตั้งกองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy, Tatmadaw Yay) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2021 ณ อู่ทหารเรือพม่า(Myanmar Naval Dockyard, Sinmalaik), อู่เรือ Thilawa ฐานทัพเรือ Yangon เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2021
ที่เชิญประธานสภาบริหารแห่งรัฐ(SAC: State Administration Council) และผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพแห่งชาติพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) พลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing เป็นประธานร่วมกับผู้บัญชาการกองทัพเรือพม่า พลเรือเอก Moe Aung 
รวมถึงผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) พลอากาศเอก Maung Maung Kyaw และนายทหารระดับสูงและผู้มีเกียรติอื่นๆ ได้เข้าร่วมพิธีขึ้นระวางประจำการเรือใหม่ของกองทัพเรือพม่า พิธีถูกจัดขึ้นตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19

ที่สร้างความแปลกใจที่สุดในพิธีคือการขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำชั้น Type 035(NATO กำหนดรหัสชั้น Ming) ชื่อเรือดำน้ำ UMS Minye Kyaw Htin หมายเลขเรือ 72 โดยมีพิธีชักธงฉานและธงนาวีกองทัพเรือพม่าขึ้นบนเรือ และพลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing มอบแผ่นตราแก่ผู้บังคับการเรือ
ในพิธีครบรอบ74ปีกองทัพเรือพม่ายังมีการขึ้นระวางประจำการเรือรบที่พม่าต่อเองในประเทศคือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง UMS Inwa หมายเลขเรือ 53 ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Inlay ลำที่สอง(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/ums-inlay-opv.html),
เรือเร็วโจมตีลำน้ำขนาด 18m สองลำ และเรือตรวจการณ์ลำน้ำขนาด 20m สี่ลำ และยังมีการจัดแสดงกำลังทางเรือเช่นเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) UMS Moattama หมายเลขเรือ 1501(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/ums-moattama.html)

สื่อประชาสัมพันธ์ของกองทัพพม่าอธิบายว่าชื่อเรือดำน้ำ UMS Minye Kyaw Htin (72) นำมาจากชื่อนักรบผู้กล้าในประวัติศาสตร์ชาติพม่า โดยคำว่า Minye Kyaw Htin ที่แปลว่า "ชื่อเสียงของนักรบผู้กล้า"(Very Brave Hero fame) เป็นนามของของบุคคลในประวัติศาสตร์ชาติพม่าหลายคน
ที่น่าจะหมายถึง "มินแยจอถิน" หรือ "พระเจ้ามังกะยอดิน" กษัตริย์องค์ที่๑๒ แห่งราชวงศ์ตองอู ซึ่งครองราชย์ช่วงปี 1673-1698 โดยรัชสมัยของพระองค์นั้นอาณาจักรพม่ามีความวุ่นวายภายในทำให้มีความเสื่อมถอยจากการชิงอำนาจ และหัวเมืองประเทศราชของพม่าถูกโจมตีจากสยาม
การตั้งชื่อเรือเช่นนี้สอดคล้องกับเรือลำแรก UMS Minye Theinkhathu(เมงเยเตงคะตู มังรายสิงขสู) คือ "เมงเยสีหตู" หรือ "มินจีสเว" ผู้เป็นพระอาจารย์และพระสัสสุระของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และเป็นพระบิดาของพระเจ้าบุเรงนองและพระนางธัมมเทวีหนึ่งในสามอัครมเหสีของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

เรือดำน้ำ UMS Minye Theinkhathu หมายเลขเรือ 71 ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำแรกของกองทัพเรือพม่า เดิมคือเรือดำน้ำชั้น Sindhughosh(Project 877EKM Kilo รัสเซียรุ่นส่งออก) ที่เคยประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) ในชื่อเรือดำน้ำ S58 INS Sindhuvir
กองทัพเรือพม่าได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำ UMS Minye Theinkhathu (71) ในพิธีครบรอบปีที่73 การก่อตั้งกองทัพเรือพม่าเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2020 โดยกองทัพเรือพม่าระบุว่าเรือดำน้ำเหล่านี้จะถูกใช้ในการฝึกเป็นหลัก แต่ก็จะถูกใช้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเช่นกัน

การที่จีนส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Type 035 แก่กองทัพเรือพม่านี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2021 ที่มีการถ่ายภาพเรือดำน้ำ Type 035 ที่ชักธงชาติจีนกำลังเดินเรือผ่านช่องแคบสิงคโปร์เผยแพร่ใน Internet อย่างไรก็ตามภาพดังกล่าวถูกรัฐบาลสิงคโปร์สั่งให้ลบออกไปอย่างรวดเร็ว
ก่อนหน้านี้เรือดำน้ำชั้น Type 035G ที่เคยประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) สองลำได้ถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรือบังคลาเทศ(Bangladesh Navy) ในปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/type-035-2.html)
เรือ Type 035 หนึ่งลำที่จีนส่งมอบให้พม่าล่าสุดถูกระบุว่าเป็นเรือดำน้ำชั้น Type 035B ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชั้น Type 035 รุ่นสุดท้ายที่ถูกสร้างในช่วงปี 2000-2003 จำนวน 5ลำคือ Great Wall(มหากำแพง, กำแพงเมืองจีน) หมายเลข 309, 310, 311, 312 และ 313

เรือดำน้ำชั้น Type 035 มีพื้นฐานพัฒนามาจากเรือดำน้ำชั้น Type 033 ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเรือดำน้ำชั้น Project 633 Romeo รัสเซียที่มีการถ่ายทอดสิทธิบัตรการผลิตแก่จีนก่อนจะเกิดความขัดแย้งโซเวียต-จีนในยุคปี 1960s ก่อนฟื้นความสัมพันธ์ใหม่หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายในต้นปี 1990s
Type 035B จัดเป็นแบบเรือดำน้ำตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน โดยมีความยาวเรือ 76m กว้าง 7.6m กินน้ำลึก(ขณะอยู่ผิวน้ำ) 5.1m ระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำที่ 2,110 tonnes มีสองใบจักรท้าย ทำความเร็วใต้น้ำได้สูงสุด 18knots ดำได้ลึกสุด 300m กำลังพลประจำเรือ 57นาย
อาวุธมีท่อยิง Torpedo หนักขนาด 533mm ที่หัวเรือ 6ท่อยิง และท้ายเรือ 2ท่อยิง รวม 8ท่อยิง ติดตั้ง torpedo หนักต่อต้านเรือผิวน้ำหรือต่อต้านเรือดำน้ำไปกับเรือได้ 14นัด หรือทุ่นระเบิดได้ 28-32ลูก และสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นร่อนจากท่อยิง Torpedo ใต้น้ำได้

กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนกำลังปลดประจำการเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นเก่าของตนรวมถึงชั้น Type 035 ที่มีอยู่ทั้งหมดภายในปี 2020s และแทนที่ด้วยเรือดำน้ำที่ทันสมัยกว่าคือเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B/C(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/type-039c-sonar.html)
จากการที่เรือดำน้ำของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนถูกจัดเป็นเรือรบที่มีลำดับชั้นความลับสูง เรือดำน้ำ Type 035B ที่ถูกส่งมอบให้พม่าจึงไม่มีหมายเลขเรือทำให้ระบุได้ยากว่าเป็นเรือลำใด รวมถึงไม่มีการเปิดเผยว่านอกจากตัวเรือและการฝึกจีนได้ส่งมอบอาวุธแบบใดให้พร้อมกับเรือบ้าง
การรับมอบเรือดำน้ำ Type 035B เป็นการแสดงถึงการรักษาสมดุลกับมิตรประเทศมหาอำนาจของพม่า ตามที่กองทัพเรือพม่ามีความต้องการเรือดำน้ำรวม 4ลำซึ่งตอนนี้มีทั้งเรือรัสเซียและจีนแล้ว 2ลำ และอาจจะกำลังสั่งจัดหาเรือดำน้ำชั้น Project 636 Improve Kilo สร้างใหม่ 2ลำจากรัสเซียครับ