วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

Boeing สหรัฐฯจะปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet ในปี 2025

Boeing to close F/A-18 Super Hornet production line in 2025



An F/A-18E on final approach to landing. (US Navy)




An F/A-18F taking off from the aircraft carrier. (US Navy)




An EA-18G on the aircraft carrier. (US Navy)

บริษัท Boeing สหรัฐฯได้กำหนดการที่จะปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet และเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ EA-18G Growler ในปี 2025 ตามการส่งมอบเครื่องสุดท้ายแก่กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
บริษัท Boeing กล่าวเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2023 แม้ว่าคำสั่งซื้อส่งออกใหม่อาจจะทำให้สายการผลิตเปิดต่อไปได้จนถึงปี 2027(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/fa-18ef.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/05/fa-18e.html)

กองทัพเรือสหรัฐฯเป็นผู้ถือคำสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet รายสุดท้าย ซึ่ง Boeing จะเติมเต็มที่อัตราการผลิต 2เครื่องต่อเดือน(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/boeing-fa-18ef-super-hornet-block-iii.html) บริษัท Boeing กล่าวกับ Janes
การส่งมอบแก่ลูกค้าต่างประเทศคือออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/ea-18g-growler.html) และคูเวต(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/boeing-fa-18ef-super-hornet.html) ที่นำเครื่องปฏิบัติการแล้วได้เสร็จสิ้นแล้ว

การรณรงค์การขายเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet ที่กำลังดำเนินการอยู่โครงการสุดท้ายของ Boeing สหรัฐฯคือความต้องการเครื่องขับไล่พหุภารกิจประจำเรื่องบรรทุกเครื่องบิน(MRCBF: Multi-Role Carrier Borne Fighter) 
สำหรับเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดจำนวน 57เครื่องของกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) ที่จะประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำ(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/tejas-lca-mig-29k-ins-vikrant.html) ที่แข่งขันกับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส

สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet ในโรงงานอากาศยาน St Louis มลรัฐ Missouri มีการว่าจ้างแรงงานราวประมาณ 1,500คน Boeing กล่าวกับ Janes(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/boeing.html
ทรัพยากรและบุคลากรที่ปัจจุบันอุทิศให้สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F/A-18 จะถูกส่งให้กับโครงการอื่นๆ รวมถึงเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7 Red Hawk, อากาศยานไร้คนขับเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ MQ-25 Stingray และเครื่องบินขับไล่ F-15EX Eagle II

เช่นเดียวกับส่วนประกอบปีกสำหรับเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ Boeing 777X ทั้งหมดสร้างในโรงงานอากาศยานของอดีตบริษัท McDonnell Douglas สหรัฐฯ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ St Louis Lambert
แม้ว่าสายการผลิตของเครื่องบินขับไล่  Super Hornet และเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Growler อาจจะใกล้ถึงจุดสิ้นสุด กองทัพเรือสหรัฐฯ เช่นเดียวกับกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) และคูเวตน่าจะทำการบินพวกมันต่อไปอีกหลายสิบปี

กองทัพเรือสหรัฐฯกำลังทำการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet รุ่นเก่าจากมาตรฐาน Block II เป็น Block III โดยเพิ่มขีดความสามารถและระบบตรวจจับใหม่ต่างๆ ขณะที่ EA-18G Growler มีกำหนดที่จะได้รับกระเปาะก่อกวนสัญญาณ Jammer ใหม่
เครื่องบินขับไล่  Super Hornet เริ่มต้นสายการผลิตในปี 1997 และดำเนินการส่งมอบให้กองทัพเรือสหรัฐฯในปี 1998 ตามเวลาเดือนธันวาคม 2022 กองทัพเรือสหรัฐฯมีประจำการด้วย F/A-18E/F และ EA-18G รวม 710เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet มีแผนที่จะถูกทดแทนในประจำการกองทัพเรือสหรัฐฯโดยโครงการเครื่องบินขับไล่ F/A-XX เครื่องบินขับไล่ใหม่ที่ยังไม่ถูกระบุนี้มีกำหนดจะเข้าประจำการในปี 2030s
กองทัพเรือสหรัฐฯยังมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35C Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน(CV: Carrier Variant) ควบคู่ไปกับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet ครับ 

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สิงคโปร์จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B เพิ่ม 8เครื่อง

Singapore to acquire eight additional F-35Bs







The Republic of Singapore Air Force's F-15SG and F-16D flying alongside the US Marine Corps's F-35Bs and the Royal Australian Air Force's F-35As during a multilateral exercise. (Singapore Ministry of Defence)

รัฐบาลสิงคโปร์กำลังดำเนินการใช้ทางเลือกที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ที่มีขีดความสามารถบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing)
เพิ่มเติมจากชุดแรกจำนวน 4เครื่องที่ได้ลงนามจัดหาแล้วในปี 2019(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-35b-12.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/03/f-35-4-8.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35-f-16.html)

เรื่องนี้ได้ถูกเปิดเผยโดยรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ Ng Eng Hen ระหว่างสมัยประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 เขาได้พูดระหว่างวาระอภิปรายคณะกรรมาธิการจัดซื้อจัดจ้างตามการแถลงงบประมาณประจำปี 2023
กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ประกาศครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2019 ว่าตนจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 4เครื่อง โดยมีตัวเลือกที่จะจัดซื้อเพิ่มเติมอีกจำนวน 8เครื่อง รวมทั้งหมด 12เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ F-35B ชุดแรกจะวางกำลังในสหรัฐฯเพื่อการฝึกและประเมินค่าเมื่อกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้รับมอบเครื่องในปี 2026
"ตามการประเมินค่าที่ครอบคลุมและแข็งแกร่ง กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์จะเดินหน้าที่จะปฏิบัติทางเลือกและจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35B เพิ่มเติม 8เครื่อง" รัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ Ng กล่าว

"ซึ่งเป็นความจำเป็นที่จะทำให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ที่จะเสริมความแข็งแกร่งขีดความสามารถยุคหน้าต่างๆของตน ในฐานะส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านกองทัพสิงคโปร์(SAF: Singapore Armed Forces) 2040
เครื่องบินขับไล่ F-35B จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่มีอายุการใช้งานมานาน ซึ่งจะทยอยปลดประจำการลงเรื่อยๆหลังเข้าสู่ความล้าสมัยตั้งแต่กลางปี 2030s" รัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ Ng เสริม

ตามข้อมูลรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ Ng การตัดสินใจนี้ได้เข้าสู่การปฏิบัติตามกระบวนการการประเมินค่าที่ครอบคลุมที่ดำเนินการโดยทีมโครงการ F-35 ของสิงคโปร์
ซึ่งประกอบด้วยกำลังพลจากกองทัพอากาศสิงคโปร์ และบุคลากรจากสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมสิงคโปร์(DSTA: Defence Science and Technology Agency)

ทีมโครงการของสิงคโปร์ได้รับสิทธิ์การเข้าถึงเครื่องบินขับไล่ F-35 เฉพาะข้อมูลและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ใช้งานเท่านั้น เพื่อจะดำเนินชุดของ "การประเมินค่าที่ครอบคุมและแข็งแกร่ง" รวมถึงการหารือทางเทคนิคและวิศวกรรมกับผู้ผลิตและผู้ใช้ F-35 อื่นๆ 
ซึ่งรวมถึงนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่ใช้งานในรุ่น F-35B และกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ที่ใช้ในรุ่นเครื่องบินขับไล่ F-35A ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35-1000.html)

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

มาเลเซียลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 เกาหลีใต้

KAI signs a deal with Malaysia for FA-50 aircraft







Malaysia is expected to receive its first batch of KAI FA-50 LCA in 2026. (Korea Aerospace Industries)





บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศข้อตกลงวงเงิน $920 million กับกระทรวงกลาโหมมาเลเซียที่จะส่งมอบเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 จำนวน 18เครื่องตามโครงการเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft)
การประกาศซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2023 ประกอบด้วยรุ่นปรับปรุงของเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Fighting Eagle(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/fa-50pl.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/07/fa-50-48.html)

Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่านี่เป็นรุ่นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 20(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-lig-nex1-kggb.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/10/kai-fa-50.html)
ตามข้อมูลจาก KAI เครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 20 จะมี "การทำงานระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและการขยายอาวุธต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า"(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/kai-fa-50.html)

เครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 20 ยังสามารถบูรณาการเข้ากับกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/fa-50-sniper-atp.html),
ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-38 JDAM(Joint Direct Attack Munitions) ขนาด 500lbs, ระเบิดนำวิถี laser แบบ GBU-12 Paveway II และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick รวมถึงยังได้รับการปรับปรุงเครือข่าย Link 16 Block 2 datalink 

บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่าการส่งมอบขั้นต้นของเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) มีกำหนดจะมีขึ้นในปี 2026
การจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 ได้มีขึ้นสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT(Fighter Lead-in Trainer) ของมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/kai-fa-50-lca.html)

โครงการเครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT จะเป็นการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA ชุดแรกจำนวน 18เครื่องในฐานะส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาขีดความสามารถ 2055(CAP55: Capability Development Plan 2055) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย
ตามข้อมูล KAI สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย "กำลังวางแผนที่จะนำเสนอการจัดหาอีก 18เครื่องของเครื่องบินรบรุ่นเดียวกันกับ FA-50 ดังนั้นจำนวนทั้งหมดจะขยายเป็นได้ถึง 36เครื่อง"

ข้อตกลงมีตามมาไม่กี่เดือนของการเจรจาระหว่างกระทรวงกลาโหมมาเลเซียกับผู้เข้าแข่งขันนานาชาติหลายรายตั้งแต่การแข่งขันโครงการเครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT ได้ถูกประกาศครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2021
Janes เข้าใจว่าผู้เข้าแข่งขันในโครงการ LCA/FLIT น่าจะยังรวมถึงเครื่องบินขับไล่ Tejas อินเดีย, เครื่องบินขับไล่ JF-17 ปากีสถาน-จีน, เครื่องบินขับไล่ MiG-35 รัสเซีย และเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Hürjet ตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/turkish-aerospace.html)

ในฐานะส่วนหนึ่งของแผน CAP55 นี้ กองทัพอากาศมาเลเซียมองที่จะจัดหาเครื่องบินใหม่จำนวน 18เครื่องที่จะทดแทนฝูงเครื่องบินฝึกไอพ่น Aermacchi MB-339CM จำนวน 7เครื่องที่งดบินไปแล้ว
และเครื่องบินขับไล่ฝึก BAE Systems Hawk Mk 108 สองที่นั่ง และเครื่องบินโจมตีเบา BAE Systems Hawk Mk 208 ที่นั่งเดียว จำนวน 18เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/hawk-108hawk-208.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/06/lcaflit.html)

นอกจากกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) FA-50 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50 และเครื่องในรุ่นของมันได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศอิรัก, กองทัพอากาศฟิลิปปินส์, กองทัพอากาศอินโดนีเซีย 
และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ในชื่อเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/kai-t-50th.html) รวมถึงล่าสุดได้รับการสั่งจัดหาโดยกองทัพอากาศโปแลนด์ครับ

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

Lockheed Martin สหรัฐฯส่งมอบเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 อินโดนีเซียเครื่องแรก

Lockheed Martin hands over first C-130J-30 to Indonesia





The first C-130J-30 ordered by Jakarta is expected to arrive in Indonesia on 6 March. (Lockheed Martin/Thinh D Nguyen)

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้ส่งมอบเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 Super Hercules เครื่องแรกจาก 5เครื่องแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
ในแถลงการณ์ประชาสัมพันธ์ บริษัท Lockheed Martin กล่าวว่าเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ได้ถูกส่งมอบให้กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ณ โรงงานอากาศยาน Marietta ของตนในมลรัฐ Georgia เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023

กองทัพอากาศอินโดนีเซียกล่าวในบัญชีสื่อสังคม online ของตนว่าเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J-30 Super Hercules(หมายเลขเครื่อง A-1339)
ได้ถูกรับมอบโดยผู้บัญชาการกองทัพอากาศอินโดนีเซีย พลอากาศเอก Marshal Fadjar Prasetyo(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/c-130j-30.html)

กองทัพอากาศอินโดนีเซียเสริมว่าเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 จะเดินทางออกจากสหรัฐฯในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2023 คาดว่าจะเดินทางถึงอินโดนีเซียในวันที่ 6 มีนาคม 2023
"กำลังพลของกองทัพอากาศอินโดนีเซียจำนวน 3นายจะมาพร้อมกันบนเที่ยวบินเดินทาง" กองทัพอากาศอินโดนีเซียกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/c-130j.html)

เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ซึ่งถูกส่งมอบในรูปแบบลวดลายพรางสีเทาที่ถูกตรวจพบได้ต่ำ แตกต่างจากรูปแบบสีลายพรางมาตรฐานที่ถูกใช้โดยฝูงบิน C-130 ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย
เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 Super Hercules ยังแสดงด้วยเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ของฝูงบินที่31(Air Squadron 31, Skadron Udara 31) ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียด้วย

ตามข้อมูลจาก Lockheed Martin สหรัฐฯ เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ใหม่จะเพิ่มขยายขีดความสามารถต่างๆของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย "C-130J-30 มอบความจุสัมภาระ, ความเร็ว, พิสัยทำการ, พลัง และสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่ต่ำกว่า
เหนือ C-130 รุ่นดั้งเดิมที่จะสนับสนุนความต้องการภารกิจที่หลากหลายรูปแบบ(ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย)เป็นเวลาอีกหลายทศวรรษข้างหน้าที่จะมาถึง" บริษัท Lockheed Martin กล่าว

ตามข้อมูลที่เผยแพร่ก่อนหน้าโดย Lockheed Martin เครื่องบินลำเลียง C-130J สามารถบรรลุการทำเพดานบินเดินทางขั้นต้นที่ 26,000ft ภายในเวลา 14นาที ตรงข้ามกับเครื่องบินลำเลียง C-130H รุ่นก่อนหน้าของกองทัพอากาศ ที่ต้องใช้เวลา 22นาทีที่จะทำเพดานบินเดินทางขั้นต้นที่ 23,000ft 
เครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules ต้องการความยาวทางวิ่งในการบินขึ้นที่ 1,950ft เปรียบเทียบกับความยาวทางวิ่ง 3,000ft ที่ต้องการโดยเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules ครับ

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

KAI เกาหลีใต้กำลังผลิตเครื่องบินขับไล่และฝึก T-50TH กองทัพอากาศไทย ๒เครื่องสุดท้าย


The Royal Thai Air Force (RTAF) currently has 12 of T-50TH Golden Eagle lead-in fighter trainer (LIFT) aircrafts in service at 401st Sqaudron, Wing 4 Takhli, seen here on displayed during Children's Day 2023 at Wing 4 on 14 January 2023. (Royal Thai Air Force)






RTAF's Delegation let by Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul, the Assistant Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force, was inspected last two of RTAF's T-50TH in production line at Korea Aerospace Industries (KAI) in Sacheon, Republic of Korea on 20 February 2023. (Royal Thai Air Force)



พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะ ร่วมประชุมตรวจรับทราบความก้าวหน้า โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ 4) 
ร่วมกับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่บริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) และเยี่ยมชมการผลิตเครื่องบิน T-50 TH (เฟส 4.1 จำนวน 2 เครื่อง) ณ โรงงานผลิต บริษัท KAI เมืองซาชอน สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้เผยแพร่ภาพและข้อมูลในสื่อสังคม online ของตนถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๔) วงเงิน ๒,๓๖๐,๖๗๑,๘๗๕บาท($72 million) 
สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle เพิ่มเติม ๒เครื่องจากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/t-50th.html)

ชุดภาพที่เผยแพร่ให้รายละเอียดว่า คณะตัวแทนของกองทัพอากาศไทยนำโดย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เดินทางเยือนโรงงานอากาศยานของบริษัท KAI ใน Sacheon เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
โดยการเยี่ยมชมสายการผลิตเครื่องบินไอพ่นตระกูล T-50 Golden Eagle แสดงถึงสองเครื่องในสีรองพื้น(primer) สีเหลืองที่กำลังอยู่ระหว่างการประกอบสร้างที่แพงหางแนวตั้งพิมพ์ตัวอักษรว่าเป็น "T-50TH 013" และ "T-50TH 014" ซึ่งเป็นสองเครื่องสุดท้ายสำหรับกองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) และระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) เป็นวงเงินรวมราว ๑๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($360 million) 
โดย KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้ส่งมอบ บ.ขฝ.๒ T-50TH ให้กองทัพอากาศไทยแล้ว ๑๒เครื่อง เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/f-16ambm-gripen-cd-t-50th-au-23a.html)

โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๓) วงเงินประมาณ ๑,๖๕๙,๓๖๐,๕๐๐บาท($52.5 million) เป็นการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่ได้รับการประกาศในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ประกอบด้วยการติดตั้ง Radar แบบ Elta EL/M-2032 อิสราเอล, ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar(RWR: Radar Warning Receiver) และระบบจ่ายเป้าลวง(CMDS: Countermeasures Dispenser System) เพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html)

โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศไทย สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH รวมทั้งหมด ๑๔เครื่องนั้นมีความล่าช้าเนื่องจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงจากสถานการณ์แพร่ระบาด Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html)
จนเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) กองทัพอากาศไทยได้ประกาศการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๔ เพิ่มเติม ๒เครื่อง เป็นที่เข้าใจว่าได้มีการลงนามสัญญากับ KAI สาธารณรัฐเกาหลีตามมาหลังจากนั้นในปี ๒๕๖๔ การส่งมอบเข้าใจว่าน่าจะมีขึ้นราวปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)

เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยเป็นรุ่นหนึ่งของเครื่องบินฝึกไอพ่น KAI T-50 ซึ่งยังได้รับการบูรณาการระบบเครือข่าย Link-TH datalink ที่ไทยพัฒนาเอง และการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เยอรมนี
รวมถึงข้อเสนอจาก KAI ที่จะเพิ่มขีดความสามารถเป็นมาตรฐาน FA-50 Block 20 เช่น กระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120 สหรัฐฯด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-lig-nex1-kggb.html)

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ออสเตรเลียจะปรับปรุงเครื่องบินโจมตีสงครามอิเล็กทรอนิกส์ EA-18G Growler

Australia to upgrade EA-18G Growler fleet







A Royal Australian Air Force EA-18G Growler taxis past a US Air Force F-16 Falcon at Nellis Air Force Base, Nevada, during Exercise ‘Red Flag 23-1'. 
The Growler is equipped with three AN/ALQ-99 pods, including one AN/ALQ-99 (low-band) pod in the centreline hardpoint. (Commonwealth of Australia/Samantha Holden)

ออสเตรเลียได้ประกาศโครงการที่จะปรับปรุงขีดความสามารถของฝูงบินเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/ea-18g-growler.html)
กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียไม่ได้ตอบสนองต่อการขอความเห็นเกี่ยวกับโครงการ ณ เวลาที่บทความเผยแพร่ อย่างไรก็ตามในการประกาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023

รัฐบาลออสเตรเลียกล่าวว่าการปรับปรุงต่างๆจะประกอบด้วยการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น radar พิสัยไกลและขั้นก้าวหน้า, การดัดแปลงระบบตรวจจับต่างๆของเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ EA-18G
และการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ที่ Amberley และสนามฝึกทางอากาศ Delamere ในรัฐ Northern Territory ออสเตรเลีย

การปรับปรุงยังรวมถึงแผนที่จะบูรณาการระบบอาวุธระบบก่อกวนสัญญาณยุคหน้า Next Generation Jammer(NGJ) บนฝูงบินเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ EA-18G
ตามข้อมูลจาก กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียกำลังมีความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เกี่ยวกับการพัฒนาระบบ NGJ สองระบบ 

ระบบก่อกวนสัญญาณยุคหน้า NGJ นี้รวมถึงกระเปาะสงคราม electronic แบบ AN/ALQ-249 NGJ-MB(Next Generation Jammer-Mid-Band) ซึ่ง "มุ่งเน้นเกี่ยวกับที่ย่านความถี่ระดับกลางของแถบย่านความถี่ spectrum แม่เหล็กไฟฟ้า" ตามข้อมูลจาก NAVAIR
ระบบนี้ประกอบด้วยสองกระเปาะต่อชุดอากายาน(shipset) เช่นเดียวกับการดัดแปลงส่วนอุปกรณ์และชุดคำสั่งขนาดเล็กต่อ EA-18G เพื่อทำให้สามารถบรรทุก, สื่อสาร และวางกำลังใช้งานได้

ระบบที่สองคือกระเปาะสงคราม electronic แบบ NGJ-LB(Next Generation Jammer-Low Band) ระบบนี้ "ใช้วิทยาการ digital และชุดคำสั่งเป็นพื้นฐานล่าสุดต่างๆ
ที่ส่งการก่อกวนสัญญาณต่อภัยคุกคามที่ก้าวหน้าและปรากฏขึ้นต่างๆในย่านความถี่ระดับต่ำของแถบย่านความถี่ spectrum แม่เหล็กไฟฟ้า" ตามข้อมูลจาก NAVAIR

กองบัญชาการระบบอากาศนาวี NAVAIR กองทัพเรือสหรัฐฯ ไม่ได้ตอบสนองต่อการสอบถามสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ Jammer ณ เวลาที่บทความเผยแพร่
ปัจจุบันเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ EA-18G Growler ติดตั้งด้วยกระเปาะสงคราม electronic แบบ AN/ALQ-99 สามระบบ ที่รวมถึงกระเปาะ AN/ALQ-99 (low-band) หนึ่งกระเปาะที่จุดแข็งกลางลำตัว

เครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ EA-18G Growler จากฝูงบินที่6(No.6 Squadron) กองทัพอากาศออสเตรเลีย ซึ่งมีที่ตั้ง ณ ฐานทัพอากาศ RAAF Amberley รัฐ Queensland ออสเตรเลีย
ขณะนี้กำลังเข้าร่วมการฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Red Flag 23-1 ณ ฐานทัพอากาศ Nellis Air Force Base(AFB) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในมลรัฐ Nevada สหรัฐฯครับ