วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เกาหลีใต้อนุมัติสายการผลิตจำนวนมากเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ KAI LAH

South Korea sanctions LAH production programme







South Korea's DAPA has approved funding worth USD4.3 billion for the programme to mass-produce Korea Aerospace Industries' Light Armed Helicopter, which is pictured above undergoing cold-weather trials in early 2022. (KAI)



สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีได้อนุมัติสายการผลิตจำนวนมากของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Light Armed Helicopter(LAH)
ของบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/kai-mum-t.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/03/kai-lah-mum-t.html)

DAPA สาธารณรัฐเกาหลีประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2022 ว่าโครงการสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH ได้รับงบประมาณวงเงิน 5.75 trillion Korean Won($4.3 billion) ระหว่างปี 2022-2031
ในการประกาศแจ้งเดียวกัน DAPA สาธารณรัฐเกาหลียังอนุมัติการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีเพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/36.html) เช่นเดียวกับโครงการที่จะพัฒนาจรวดและอาวุธเครื่องกระสุนใหม่

แหล่งข่าวที่มีองค์ความรู้ในโครงการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2022 ว่า DAPA และบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี
คาดว่าจะลงนามสัญญาสำหรับ ฮ.ลว./อว.LAH ชุดแรกก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2022 แหล่งข่าวกล่าวเฮลิคอปเตอร์ชุดแรกนี้จะมีจำนวน "ราว 170เครื่อง" การส่งมอบน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2024

โครงการ LAH จะทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Hughes MD 500MD/BGM-71 TOW Defender และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1S Cobra ที่มีอายุการใช้งานมานานของกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army)
บริษัท KAI เปิดตัวเครื่องต้นแบบเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH เครื่องแรกในเดือนธันวาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/lah.html) และทำการบินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kai-lah.html)

เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH ได้รับการพัฒนาในความร่วมมือกับบริษัท Airbus Helicopters ยุโรป โดยมีพื้นฐานระบบจากเฮลิคอปเตอร์สองเครื่องยนต์ Airbus Helicopters H155(เดิมเฮลิคอปเตอร์ EC155 B1)
Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่าคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH คือแท่นยิงปืนใหญ่อากาศ Gatling gun ขนาด 20mm ที่ติดตั้งใต้ส่วนหัวของเครื่อง

เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH ยังมีคุณสมบัติปีกคานอาวุธข้างลำตัวสำหรับติดตั้งกระเปาะจรวด ปลายหัวเครื่องติดตั้งระบบตรวจจับ EO/IR(Electro-Optical/Infrared)
โครงสร้างลำตัวและท้ายเครื่องติดตั้งระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี และมีท่อไอเสียงที่หันปลายท่อตรงขึ้นด้านบนเพื่อลดสัญญาณความร้อน Infrared(IR) ครับ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

อากาศยานทางทหารจีนแสดงความเชื่อมโยงกับ Technology ตะวันตก

Swift win: Chinese military aircraft show links to Western technology


Two Chengdu J-20 stealth fighters perform during Airshow China 2022 at Zhuhai on 8 November. (eng.chinamil.com.cn)

China's J-15 naval jet appears with indigenous WS-10 engines
China appears to have fitted at least one SAC J-15 naval fighter with a domestic WS-10B Taihang engine. The potential maturity of this powerplant could free China from its dependency on Russia for combat jet engines. (China Central Television)





การพัฒนาของระบบทางอากาศทางทหารของจีนเดินหน้าที่จะแสดงความเชื่อมโยงอย่างแข็งแรงต่อการออกแบบและแนวคิดที่มีแหล่งที่ดั้งเดิมจากตะวันตก
ระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Airshow China 2022 อากาศยาน 121แบบ(รวมถึงแบบจำลอง) และอุปกรณ์ภาคพื้นดิน 54แบบได้ถูกจัดแสดงโดยมากกว่า 740บริษัททั่วโลก ตามข้อมูลจากสื่อของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน

ร้อยละ55 ของสิ่งที่ถูกนำมาจัดแสดงในงาน Airshow China 2022 เป็นการเปิดตัวครั้งแรก ตามข้อมูลจาก Aviation Industry Corporation of China(AVIC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการบินจีน
AVIC จีนเสริมการจัดแสดง 43รายการเป็นอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่ได้รับการพัฒนาภายในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/hypersonic-md-22-uav.html)

นอกจากนี้ อากาศยานและอาวุธและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องราว 50รายการที่ได้ถูกจัดแสดง ณ งาน Airshow China 2022 ได้รับการพัฒนาโดยภาคอุตสาหกรรมของจีน(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/akf98a.html)
และถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) AVIC จีนกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/h-6k.html)

Janes ประเมินว่าระบบสาธิตทางวิทยาการ, อากาศยานในประจำการหรือแบบจำลองที่ถูกจัดแสดง ณ งาน Airshow China 2022 พบว่ามีการออกแบบหรือขีดความสามารถเช่นเดียวกับระบบต่างๆในประเทศอื่นๆ
วิทยาการรุ่นใหม่ของจีนเหล่านี้รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ 'คู่บินภัคดี'(loyal wingman) Feihong-97, เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก, เครื่องบินลำเลียงใช้งานทั่วไป, อากาศยานรบไร้คนขับ และ UAV ตรวจการณ์หลากหลายรูปแบบ และตระกูลเครื่องยนต์ไอพ่นสมรรถนะสูงที่อยู่ในการพัฒนา

เครื่องบินและอากาศยานไร้คนขับหลายแบบที่นำมาจัดแสดงในงาน Airshow China 2022 เป็นการเปิดตัวครั้งแรก ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้คือเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Harbin Aircraft Industries Group(HAIG) Z-8L ลำตัวยาวน้ำหนัก 13,000kg 
เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ตรวจจับได้ยาก stealth แบบ Chengdu Aircraft Industries(Group) Company(CAC) J-20 ยังได้ลงจอดที่ท่าอากาศยาน Zhuhai เพื่อจัดแสดงบนพื้นเป็นครั้งแรกด้วย

เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Shenyang Aircraft Corporation(SAC) J-15 'Flying Shark' ได้รับการติดตั้งสิ่งที่น่าจะเป็นเครื่องยนต์ไอพ่นที่จีนพัฒนาเองในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/j-15.html)
เครื่องบินขับไล่ J-15 ปรากฏในภาพวีดิทัศน์ของโรงเก็บอากาศยานของโรงงานอากาศยาน SAC จีน วีดิทัศน์ถูกออกอากาศเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2022 โดยสถานีโทรทัศน์ China Central Television(CCTV) สาธารณรัฐประชาชนจีน

รายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ CCTV เกี่ยวกับการครบรอบ 10ปีของการเริ่มต้นการทดลองเรือในทะเลของ J-15 บนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/cv-16-liaoning-100.html
Janes ประเมินว่าเครื่องยนต์ใหม่ของเครื่องบินขับไล่ J-15 เป็นรุ่นหนึ่งของเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan ตระกูล Liming WS-10 Taihang มีความเป็นไปได้คราวๆว่าน่าจะเป็นรุ่น WS-10B(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/tvc.html)

ตามข้อมูลจาก Janes Aero-Engines เครื่องยนต์ไอพ่น WS-10B เป็นรุ่นที่มีศักยภาพด้านกำลังขับที่ทรงพลังมากกว่าเครื่องยนต์ไอพ่น WS-10A โดยอัตราแรงขับของของ ย.WS-10B อยู่ที่ 135kN(30,350lbs)
ภาพก่อนหน้าที่ออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์ CCTV จีนตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องยนต์ไอพ่น WS-10B ได้รับการติดตั้งในเครื่องบินขับไล่ Chengdu Aircraft Industries (Group) Company(CAC) J-10 ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา

เครื่องยนต์ไอพ่นตระกูล WS-10 Taihang ได้รับการออกแบบเบื้องต้นและถูกใช้สำหรับการประยุกต์ใช้ในอากาศยานประจำฐานบินภาคพื้นดิน(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/j-10b-ws-10.html)
การที่เครื่องยนต์ที่จีนพัฒนาในประเทศได้รับการติดตั้งบนอากาศยานในสายการผลิตสำหรับการประยุกต์ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินทำให้ตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องยนต์ตระกูล WS-10 นี้ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจะทำให้จีนเป็นอิสระจากการต้องพึ่งพารัสเซียสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบินรบ

อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เป็นที่ทราบว่าเครื่องบินขับไล่ J-15 ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ WS-10 ข้อมูลที่จัดทำโดย Janes บ่งชี้ว่ามีเครื่องต้นแบบ J-15 อย่างน้อยสองเครื่อง
ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่นที่ได้รับการกำหนดแบบว่า 'WS-10H' อย่างไรก็ตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องยนต์ไอพ่น WS-10H ไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะครับ

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ตุรกีเดินหน้าการสร้างเครื่องบินขับไล่ TF-X ให้เปิดตัวได้ในปี 2023

Turkish future fighter comes together ahead of ‘victory day' roll-out






Screenshot from Turkish Aerospace video showing the TF-X/MMU future fighter prototype on the assembly line. (Turkish Aerospace )

Turkey unveils domestic AESA radar for manned, unmanned combat aircraft
Turkey is to fit a domestically developed AESA radar onto its current Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon combat aircraft and Akinci unmanned aerial vehicle, as well as the future Turkish Fighter Experimental (TF-X)/National Combat Aircraft (MMU). (Aselsan)





บริษัท Turkish Aerospace(TA) ตุรกีกำลังมีความคืบหน้าการประกอบสร้างเครื่องบินขับไล่แห่งชาติ TF-X/MMU(Turkish Fighter Experimental/National Combat Aircraft) ของตน
ก่อนหน้าแผนที่จะเปิดตัวในวันที่ 18 มีนาคม 2023(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/5-tf-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/02/tf-x.html)

ภาพวีดิทัศน์ของสายการผลิตที่แสดงให้เห็นถึงเครื่องต้นแบบเครื่องบินขับไล่ TF-X/MMU ถูกเผยแพร่โดย บริษัท Turkish Aerospace เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2022
แสดงถึงเครื่องบินขับไล่ 'ยุคที่5' ขั้นก้าวหน้า TF-X/MMU อยู่ในสถานะมีความคืบหน้าในการประกอบสร้าง(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/tf-xmmu.html)

การปรากฏขึ้นของวีดิทัศน์มีขึ้นตามมาสี่เดือนให้หลังจากประธานและผู้อำนวยการบริหาร TA ตุรกี Temel Kotil บรรยายสรุปต่อ Janes และสื่อความมั่นคงอื่นๆเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาสำหรับแผนการเปิดตัวและการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ TF-X/MMU
โดยทั้งสองกำหนดการจะมีขึ้นในวันชัยชนะสมรภูมิ Gallipoli ของตุรกีในวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี โดยการเปิดตัวมีแผนในวันที่ 18 มีนาคม 2023 การบินครั้งแรกจะมีตามมาในวันที่ 18 มีนาคม 2025

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ TF-X/MMU ได้รับการการพัฒนาและยังคงเดินหน้าที่จะพัฒนาด้วยความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักร วิศวกร 100รายจากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรได้รับมอบหมายงานในโครงการ 
Kotil กล่าวโดยเสริมว่ามันเป็นโครงการระดับชาติอย่างมากด้วยสายการผลิตที่สมบูรณ์ในประเทศถูกตั้งเป็นเป้าหมาย เขาเสริมว่า TA ตุรกีส่วนใหญ่ต้องยืนหยัดขีดความสามารถการออกแบบ, พัฒนา และการผลิตของตุรกีตั้งแต่แบบร่าง

โดย TA ตุรกีได้รับเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ General Electric F110 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/general-electric-f-15ex.html) ที่จะเป็นระบบขับเคลื่อนเครื่องต้นแบบเครื่องบินขับไล่ TF-X/MMU
บริษัท TR Motor ตุรกีเป็นที่คาดว่าจะพัฒนาเครื่องยนต์ไอพ่นภายในประเทศสำหรับเครื่องบินขับไล่ TF-X/MMU เครื่องมาตรฐานสายการผลิตที่จะถูกส่งมอบตั้งแต่ปี 2028

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 บริษัท Aselsan ตุรกีได้เปิดตัว AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ใหม่ที่พัฒนาในประเทศซึ่งจะถูกติดตั้งเข้ากับอากาศยานมีนักบินบังคับและไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)ของกองทัพอากาศตุรกี(TuAF: Turkish Air Force) 
เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/eurofighter-typhoon-f-16.html) อากาศยานไร้คนขับ Akinci(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/akinci-uav.html) เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ TF-X/MMU ในอนาคตครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เครื่องบินขับไล่ F-35A เกาหลีใต้ฝึกทิ้งระเบิดนำวิถี GBU-12 ทำลายฐานยิงขีปนาวุธเกาหลีเหนือ

South Korean F-35s training to destroy North Korean ICBM launchers



A South Korean Air Force F-35 fighter jet drops a GBU-12 precision bomb during joint air drills in response to North Korea's ICBM launch on 18 November. (South Korean Defense Ministry via Getty Images)





เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/f-35a-60-2028.html)
ได้เริ่มต้นการฝึกเพื่อจะทำลายฐานยิงขีปนาวุธของกองทัพประชาชนเกาหลี ท่ามกลางการยั่วยุอย่างต่อเนื่องของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีในนครหลวง Pyongyang

คณะเสนาธิการร่วม(JCS: Joint Chiefs of Staff) สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่า เครื่องบินขับไล่ F-35A สี่เครื่องได้เริ่มการฝึกทิ้งระเบิดนำวิถี laser แบบ Paveway II ที่สนามฝึกยิงอาวุธ Pilseung ใน Gangwon-do เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2022
วัตถุประสงค์ของการฝึกคือเพื่อ "ทำลายเป้าหมายจำลองฐานยิงขีปนาวุธอัตตาจร TEL(Transporter-Erector-Launcher) ของเกาหลีเหนือ" คณะเสนาธิการร่วมกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Armed Forces) กล่าว

ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี การฝึกมีขึ้นเพื่อที่จะเพิ่มขยายขีดความสามารถของฝูงเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่จะโจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2022 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้ทำการยิงขีปนาวุธอย่างน้อย 65ครั้งทั้งขีปนาวุธพิสัยใกล้, พิสัยกลาง และพิสัยปานกลาง ตามข้อมูลจาก Janes

นอกจากขีปนาวุธพิสัยใกล้(SRBM: Short-Range Ballistic Missile), ขีปนาวุธพิสัยกลาง(MRBM: Medium-Range Ballistic Missile) และขีปนาวุธพิสัยปานกลาง(IRBM: Intermediate-Range Ballistic Missile) ที่ระบุได้
การยิงขีปนาวุธอื่นอีก 16ครั้งประกอบด้วยขีปนาวุธที่ไม่ทราบแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/slbm.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/03/hwaseong-17.html)

กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่าการฝึกได้ถูกดำเนินการไม่กี่ชั่วโมง หลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้ยิงขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile) แบบ Hwasong-17 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2022
คณะเสนาธิการร่วมสาธารณรัฐเกาหลีเสริมว่าการฝึกมีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการยิงขีปนาวุธข้ามทวีป นี่เป็น "ครั้งแรกที่เครื่องบินขับไล่ F-35A ได้มีส่วนร่วมในการฝึกการโจมตีสำหรับการแสดงอาวุธต่อเกาหลีเหนือ" 

ชุดภาพที่เผยแพร่โดยสำนักข่าว Korean Central News Agency(KCNA) ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีแสดงถึงขีปนาวุธข้ามทวีป Hwasong-17 ICBM กำลังยิงจากแท่นยิงอัตตาจร TEL โดยตรง
กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ยังได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิด B-1B Lancer และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D ของตนบินหมู่ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ F-35A ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อแสดงกำลังตอบโต้เกาหลีเหนือด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

๕๐ปีเครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A กองทัพอากาศไทย












Royal Thai Air Force (RTAF) Commander-in-Chief Air Chief Marshal Alongkorn Wannarot was attend to 50th years of Fairchild AU-23A Peacemaker armed gunship, counter-insurgency and utility transport aircraft of 501st Squadron, Wing 5 that in servied since 1972 at Wing 5 RTAF base in Prachuap Khiri Khan Province on 24 November 2022.
RTAF also displayed examples of 12 modernized AU-23A aircraft that upgraded by Thai Aviation Industries (TAI) and thailand company RV Connex to be operational for next 15 years in 2037.





๕๐ ปี เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ ๒
พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมแสดงความยินดี ในพิธีครบรอบ ๕๐ ปี เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ ๒ 
โดยมี นาวาอากาศเอก สิทธิรัตน์ พู่ทรงชัย ผู้บังคับการกองบิน ๕ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการกองบิน ๕ ให้การต้อนรับ ณ ฝูงบิน ๕๐๑ กองบิน ๕ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวให้โอวาทเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนภารกิจของเครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ ๒, เยี่ยมชมการจัดแสดงยุทโธปกรณ์, นิทรรศการเกี่ยวกับประวัติ และภารกิจที่สำคัญของเครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ ๒
เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ ๒ ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า ๕๐ ปี ที่ได้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพอากาศในทุกด้าน 
อาทิ การลาดตระเวนติดอาวุธ การลาดตระเวนทางอากาศ การลำเลียงทางอากาศ การปฏิบัติการฝนหลวง การบินควบคุมไฟป่า และการปฏิบัติการจิตวิทยา ทั้งยังปฏิบัติภารกิจในเหตุการณ์สำคัญของประเทศชาติ ทั้งการป้องกันประเทศด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนาประเทศ อีกมากมาย

เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่๒ บ.จธ.๒ Fairchild AU-23A Peacemaker ได้บรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕(1972) 
เครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A Peacemaker จำนวน ๔เครื่อง โดยมี เรืออากาศเอก ถาวร บุรีรีตน์(ยศขณะนั้น) เป็นหัวหน้าหมู่บิน บินเดินทางมาลงที่ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี อย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
บรรจุเข้าประจำการในฝูงบิน๒๐๒ ที่จัดตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๑๖(1973) โดยมี นาวาอากาศตรี อนันต์ ทองอนันต์(ยศขณะนั้น) เป็นผู้บังคับฝูงบิน บรรจุ บ.จธ.๒ AU-23A เข้าประจำการรวม ๑๓เครื่อง พ.ศ.๒๕๑๙(1976) รับมอบ บ.จธ.๒ AU-23A เข้าประจำการเพิ่มอีก ๒๐เครื่อง 
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๓(1990) บ.จธ.๒ AU-23A จำนวน ๑๑เครื่องจากฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ เข้าประจำการ ณ ที่ตั้งฝูงบิน๕๓๑ กองบิน๕๓ ประจวบคีรีขันธ์ ทดแทนเครื่องบินตรวจการณ์แบบที่๒ บ.ต.๒ Cessna O-1 Bird Dog
เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙(1996)  บ.จธ.๒ AU-23A จำนวน ๑๑เครื่องจากฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ ย้ายเข้ามาประจำการรวมกับ บ.จธ.๒ ชุดแรกที่ฝูงบิน๕๓๑ กองบิน๕๓ รวมเป็น ๒๒เครื่อง 
พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๖๔(2004-2021) ปฏิบัติหน้าที่หน่วยบิน๙๕๐๑ กองกำลังกองทัพอากาศเฉพาะกิจที่๘ กกล.ทอ.ฉก.๙ ปัจจุบัน บ.จธ.๒ AU-23A บรรจุประจำการในฝูงบิน๕๐๑ กองบิน๕ ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน ๑๒เครื่อง

ในช่วงเวลาที่ภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ทวีความรุนแรงถึงขีดสุด บ.จธ.๒ AU-23A มีบทบาทอย่างมากในการปฏิบัติงานสนับสนุนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กอ.รมน.(ISOC: Internal Security Operations Command) อย่างได้ผลดีเยี่ยม
จนได้รับคำชมจากต่างเหล่าทัพและหน่วยข้างเคียงที่ปฏิบัติราชการด้วยกันเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้ตามแนวชายแดนไทย และการปราบปรามการก่อความไม่สงบภายในประเทศ
ในช่วงเวลาดังกล่าวฝูงบิน Peacemaker เคยมีหน่วยบินออกปฏิบัติราชการสนามถึง ๘หน่วยบินในเวลาเดียวกันคือ พิษณุโลก เชียงคำ น่าน สกลนคร วัฒนานคร นครศรีธรรมราช ตราด สุรินทร์ 
จากการมีหน่วยราชการสนามอยู่ทั่วประเทศนั่นทำให้อริราชศัตรูของชาติต่างรู้พิษสงและหวั่นเกรงการมาถึงพื้นที่การรบของ บ.จธ.๒ AU-23A อย่างมาก โดยเฉพาะอำนาจการทำลายอันโดดเด่นของปืนใหญ่อากาศ M197 ขนาด 20mm สามลำกล้องหมุน ซึ่งยิงออกจากด้านข้างของเครื่องนั้นสามารถทำลายกองกำลัง โรงเรือน ที่มั่น และยานพาหนะของข้าศึกอย่างได้ผลดียิ่ง
ดังจะเห็นได้จากสรุปบทเรียนจากการรบ ในหนังสือประวัติศาสตร์กองทัพอากาศในการใช้กำลังทางอากาศสนับสนุนการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่กล่าวสรุปได้ว่าอากาศยานที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของ ผกค.มากที่สุด คือเครื่องบินที่มีอำนาจการยิงด้านข้าง ซึ่งสามารถยิงได้ตลอดเวลารอบเป้าหมาย ซึ่งก็คือ บ.จธ.๒ AU-23A Peacemaker และนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีอากาศยานอื่นเช่น เครื่องบินโจมตีและลำเลียงแบบที่๒ บ.จล.๒ Douglas AC-47 Spooky ที่ใช้ในภารกิจสนับสนุนการยิงเช่นเดียวกัน

ฝูงบิน บ.จธ.๒ AU-23A Peacemaker ได้สร้างเกียรติประวัติและวีรกรรมไว้อย่างกล้าหาญ โดยเข้าร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกำลังภาคพื้นดินทุกครั้งที่ได้รับการร้องขอในสมรภูมิสำคัญๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาทิ
-สมรภูมิภูหินร่องกล้า เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๕(1974-1982)
-สมรภูมิห้วยโกร๋น ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๕๒๑(1978)
-สมรภูมิผาตั้ง จังหวัดเชียงราย พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๔(1979-1981)
-สมรภูมิกุงชิง เขาช่องช้าง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๕(1980-1982)
-สมรภูมิบ้านโนนหมากนุ่น จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ.๒๕๒๓(1980)
-สมรภูมิผาจิ ผาวัว จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๕๒๕(1982)
-การปราบปรามกองกำลังขุนส่า จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๒๕(1982)
-ยุทธการสุริยพงศ์ ๑,๒,๓,๔ จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๗(1983-1984)
-การปักเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๘(1983-1985)
-ยุทธการบ้านชำราก บ้านสุขสันต์ จังหวัดตราด พ.ศ.๒๕๒๘(1985)

หลังจากภารกิจทางด้านการรบต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ลดน้อยลงไปแล้ว ภารกิจของ บ.จธ.๒ AU-23A ก็มีการปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยในยามสงบ บ.จธ.๒ AU-23A ยังคงปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องเสมอมา อาทิเช่น
ภารกิจลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ และการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ ภารกิจปฏิบัติการฝนหลวง ภารกิจการบินโปรยเมล็ดพันธ์ไม้ ภารกิจปฏิบัติการจิตวิทยาทั้งการบินกระจายเสียงและโปรยใบปลิวในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการบินปล่อยควันสี และลากแผ่นผ้าในงานพิธีสำคัญๆ

เป็นเวลา ๕๐ปีมาแล้วที่เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่๒ บ.จธ.๒ AU-23A Peacemaker เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย จากเครื่องบินที่ถูกพัฒนาและทดสอบเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติภารกิจการรบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(เวียดนาม) 
แต่กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ก็ไม่ได้ส่งเข้าทำการรบตามที่ตั้งใจไว้ และเมื่อกองทัพอากาศไทยได้คัดเลือกและตัดสินใจจัดหา AU-23A Peacemaker เข้าประจำการกลับพบว่าเป็นอากาศยานที่ทรงคุณค่า และสามารถปฏิบัติภารกิจสมตามคำมุ่งหมายที่กองทัพอากาศได้คาดหวังได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการแผนแบบและพัฒนาเหมาะสมกับภารกิจตั้งแต่ต้น ด้วยคุณลักษณะเฉพาตัวที่โดดเด่น และขีดความสามารถในการใช้อาวุธได้อย่างเหมาะสมกับภัยคุกคามของชาติในเวลานั้น รวมทั้งการปฏิบัติภารกิจได้อย่างหลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีเครื่องบินแบบใดของกองทัพอากาศไทยทำได้มาก่อน 
ทำให้นับตั้งแต่วันที่เข้าประจำการ บ.จธ.๒ AU-23A ได้มีโอกาสปฏิบัติภารกิจเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติในยามสงครามและปฏิบัติภารกิจในการพัฒนาชาติอย่างได้ผลดีมาตลอด 
แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า บ.จธ.๒ AU-23A ที่ยังคงปฏิบัติภารกิจรับใช้ชาติมาอย่างเข้มแข็งอยู่ทุกวันนี้ยังแฝงไว้ด้วยความภาคภูมิใจของผู้ร่วมปฏิบัติงานทุกๆคนในความเป็นฝูงบิน Peacemaker เพียงฝูงเดียวในโลกนี้อีกด้วย

ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใดในการที่กองทัพอากาศไทยจะสามารถปฏิบัติการโดยใช้เครื่องบินที่ผลิตมาจำนวนน้อยในโลก และถูกมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบมาตลอด ๕๐ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงมีสภาพดีพร้อมต่อการปฏิบัติภารกิจมาจนถึงทุกวันนี้
ถึงแม้ว่าเพื่อนร่วมศึกในอดีตของ บ.จธ.๒ AU-23A ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบินโจมตีและลำเลียง บ.จล.๒ AC-47,เครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๑๓ บ.จฝ.๑๓ North American T-28D Trojan, เครื่องบินโจมตีแบบที่๕ บ.จ.๕ North American Rockwell OV-10C Bronco และเครื่องบินโจมตีแบบที่๖ บ.จ.๖ Cessna A-37B Dragonfly จะทยอยปลดประจำการไปแล้วก็ตาม 
สิ่งที่ไม่สามารถลืมได้ก็คือบุคคลากรทุกๆท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนักบิน ช่าง สื่อสาร สรรพาวุธ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สนับสนุนต่างๆ
ได้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องบินอย่างดีตลอดรวมทั้งมีการพัฒนาการการใช้งานในภารกิจที่หลากหลายกว่าเมื่อครั้งถูกแผนแบบไว้แต่เดิม นอกจากนั้นยังได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้ปฏิบัติงานในรุ่นต่อๆมาจนมาถึงรุ่นปัจจุบันอีกด้วย
ตลอด ๕๐ปีที่ผ่านมาฝูงบิน Peacemaker ของกองทัพอากาศไทยมีการสูญเสียทั้งเครื่องบิน นักบิน และเจ้าหน้าที่ จากภารกิจการรบและภารกิจการฝึกไปจำนวนไม่น้อย ทุกคนที่ปฏิบัติงานกับ บ.จธ.๒ AU-23A ในปัจจุบันยังคงระลึกถึงท่านเหล่านั้นในความกล้าหาญ
และการเสียสละได้แม้แต่ชีวิตในการปกป้องเอกราชและอธิปไตยของชาติและจะคงรักจิตวิญญาณของความเป็นทหารกล้าผู้ซื่อสัตย์ จงรักษ์ภัคดีต่อแผ่นดินและมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติภารกิจสืบต่อไปนานเท่านาน

สมรรนะและขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่๒ บ.จธ.๒ AU-23A Peacemaker
บริษัทผู้ผลิต Fairchild สหรัฐฯ
ปีกยาว 49.67feet
สูง 12.25feet
ลำตัวยาว 36.8feet
เครื่องยนต์ turboprop Garrett TPE-331-1-101F กำลังขับ 650hp
น้ำหนักตัวเปล่า 3,608lbs
น้ำหนักบรรทุก 1,120lbs (ผู้โดยสาร ๗คน)
บินได้ไกล 350nmi
เพดานบิน 26,400lbs (ปกติไม่เกิน 10,000feet)
บินได้นาน ๓ชั่วโมง ๓๐นาที
ความเร็วสูงสุด 150knots
อุปกรณืติดตั้งเพิ่มเติม กล้อง electro-optical/Infrared(EO/IR) แบบ FLIR STAR SAFIRE 380HD

เอกสารจาก กรมช่างอากาศ(Directorate of Aeronautical Engineering) กองทัพอากาศไทย เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ประกาศถึงการบริการสนับสนุนโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.จธ.๒ AU-23A จำนวน ๑๔เครื่อง วงเงิน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,998,781) 
ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย ในการปรับปรุงติดตั้งห้องนักบินจอดแสดงผลสี ๔จอ ระบบตรวจสอบสภาพอากาศแบบ real -time และช่วยการบินขึ้นลงในเวลากลางคืน และระบบ Avionics ใหม่อื่นๆ
พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า บ.จธ.๒ AU-23A จำนวน ๑๒เครื่องที่ปรับปรุงความสมัยแล้วจะประจำการไปต่อได้อีก ๑๕ปีหรือราวปี พ.ศ.๒๕๘๐(2037) โดยจะมีการตรวจสอบสภาพเครื่องบินทุก ๕ปีด้วย นับเป็นการใช้งานที่ยาวนานคุ้มค่ามาก

ขณะเดียวกัน ณ พิธีครบรอบ ๕๐ปี เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่๒ ที่กองบิน๕ ประจวบคีรีขันธ์ สื่อไทยยังได้สัมภาษณ์ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II จากสหรัฐฯ
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยยังยืนยันว่ากองทัพอากาศไทยเลือกเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯเท่านั้นในการทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Fighting Falcon ที่มีอายุการใช้งานมานาน โดยที่ F-35 ๑เครื่องสามารถทดแทน F-16 ได้ถึง ๓เครื่อง 
อย่างไรก็ตามต้องรอความชัดเจนที่สภา Congress สหรัฐฯจะอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) และยังไม่มีแผนสำรองในการมองเครื่องบินขับไล่แบบอื่นถ้าสหรัฐฯไม่อนุมัติการขาย แต่ถ้าสหรัฐฯมีการส่งสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะพิจารณาครับ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 บาห์เรนเครื่องแรกออกจากสายการผลิตใหม่

First F-16 rolls off new production line



A screenshot from a Lockheed Martin video showing the first F-16, a Block 70 aircraft for Bahrain, rolling off the new production line in Greenville, South Carolina. (Lockheed Martin)



เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon เครื่องแรกได้ออกจากสายการผลิตใหม่ในโรงงานอากาศยาน Greenville มลรัฐ South Carolina บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2022
ในข้อความที่เผยแพร่จากบัญชี Twitter ทางการของบริษัท Lockheed Martin ตั้งหัวเรื่องว่า 'ทายสิใครกลับมา' ประกาศข่าวถึง "ยุคสมัยใหม่ของ Falcon คือเรื่องที่จะทำการบิน" 
ด้วยวีดิทัศน์แสดงถึงเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศบาห์เรน(RBAF: Royal Bahraini Air Force) ได้ถูกเปิดตัวออกจากโรงงาน(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16v-16.html)

"ผมตื่นเต้นที่จะแบ่งปันว่าเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 เครื่องแรกได้เสร็จสิ้นขั้นระยะสายการประกอบและตรวจสอบขั้นสุดท้าย(FACO: Final Assembly and Checkout) และการทำสี
ณ โรงงานสายการผลิตอากาศยานของเราใน Greenville, South Carolina เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 ขณะนี้กำลังเตรียมการสำหรับการบินขึ้นครั้งแรกของเครื่อง
...มีอีกมากที่จะกำลังจะตามมาและจับตามองไปข้างหน้า!" รองประธานกลุ่มเครื่องบินขับไล่บูรณาการและผู้จัดการทั่วไป Lockheed Martin สหรัฐฯ OJ Sanchez กล่าวใน page LinkedIn ของเขา

หลักก้าวย่างสำคัญแสดงถึงการเสร็จสิ้นการสร้างเครื่องบินขับไล่ F-16 สร้างใหม่เครื่องแรกตั้งแต่ Lockheed Martin ปิดสายการผลิตสำหรับ F-16 ของตนในโรงงานอากาศยาน Fort Worth มลรัฐ Texas ในปี 2017
การเลือก ณ เวลานั้นที่จะดำเนินการสายการผลิตในอนาคตทั้งหมดของเครื่องบินขับไล่ F-16 ใน Greenville จากเดิมที่เป็นโรงงานซ่อมบำรุงและดำรงสภาพเครื่องบินขับไล่ F-16
โรงงานอากาศยาน Greenville ได้ขยายพื้นที่ออกไป 276 acres และประกอบด้วยอาคารโรงเก็บอากาศ 16หลัง การจ้างแรงงานมากกว่า 700ราย(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/lockheed-martin-f-16v.html)

การพูดคุยกับ Janes เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ณ งานสัมมนาเครื่องบินขับไล่นานาชาติ IQPC International Fighter Conference 2022(IFC 2022) ใน Berlin เยอรมนี JR McDonald รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนาธุรกิจเครื่องบินขับไล่ F-35 บริษัท Lockheed Martin กล่าวว่า
การสั่งผลิตสำหรับ F-16 อยู่ที่ 128เครื่อง ด้วยคำสั่งจัดหาที่จะเป็นที่พอใจสำหรับบาห์เรน, บัลแกเรีย, สโลวาเกีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/lockheed-martin-f-16v.html) และไต้หวัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/f-16v.html)
บัลแกเรียได้รับการอนุมัติสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16 เพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/f-16v-block-70-8.html) และจอร์แดนก็ได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลสหรัฐฯที่จะซื้อ F-16 ใหม่ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/f-16-block-70-8.html)

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

กองทัพบกไทยและกองทัพบกสิงคโปร์เสร็จสิ้นการฝึกผสม KOCHA SINGA 2022

Commander, 9 Infantry Division of RTA, Major-General Wutthaya Junthamas and Commander of 3rd Singapore Division, Brigadier-General Goh Pei Ming receiving a salute at the opening ceremony of Exercise Kocha Singa in Kanchanaburi, Thailand.

Chief of Army (COA) Major-General (MG) David Neo and Chief of Army of the Royal Thai Army (RTA) General (GEN) Narongpan Jittkaewtae co-officiated the closing ceremony of Exercise Kocha Singa 2022 at the 1st Army Area Tactical Training Field in Kanchanaburi, Thailand this morning.

A soldier from the 40th Battalion Singapore Armoured Regiment (40SAR) demonstrating MATADOR weapon handling during cross weapon handling exchange.

A soldier from 40SAR demonstrating the SAF's urban operations' drills during the cross urban operation tactical exchange.

An RTA soldier demonstrating how to operate the RTA's signal sets during cross weapon handling exchange.






Singapore and Thai Armies Successfully Conclude Flagship Exercise Kocha Singa 2022

“ฝึกร่วมผสม  KOCHA SINGA 2022 ทบ.ไทย - ทบ.สิงคโปร์”
เมื่อ 11 พ.ย.65 
พล.ต.วุทธยา   จันทมาศ  ผบ.พล.ร.9 และ พลจัตวา โก เพ่ย มิง ผบ.พล.3 สิงคโปร์ กระทำพิธีเปิดการฝึกร่วมผสม รหัส KOCHA SINGA 2022 ณ สนามบิน พล.ร.9 ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี ห้วง 11-23 พ.ย. 65 
โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และองค์ความรู้ พัฒนาขีดความสามารถร่วมกันในการปฏิบัติการทางทหาร และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกองทัพบกทั้ง 2 ประเทศ 
สำหรับการฝึกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง การฝึกช่วงแรก เป็นการฝึกแลกเปลี่ยน ณ ที่ตั้งหน่วย และการฝึกทางยุทธวิธีนอกที่ตั้งหน่วย 

การฝึกผสมคชสีห์ ๒๐๒๒ สัญลักษณ์แห่งความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค
วันนี้ ( ๒๓ พ.ย. ๖๕ ) ที่ สนามฝึกทางยุทธวิธีกองทัพภาคที่ ๑ (เขากำแพง) จ.กาญจนบุรี พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พลตรี เดวิด เนียว ผู้บัญชาการทหารบกสิงคโปร์ 
ร่วมกันเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย และกองทัพบกสิงคโปร์ รหัสคชสีห์ ๒๐๒๒ (KOCHA SINGA 2022) ซึ่งได้เริ่มฝึกมาตั้งแต่ ๑๑ พ.ย. ๖๕ 
โดยในส่วนของกองทัพบกเป็นกำลังพลจากกองพลทหารราบที่ ๙ ร่วมฝึกกับกองพลทหารราบที่ ๓ กองทัพบกสิงคโปร์ ในปฏิบัติการทางยุทธวิธีระดับกองพันทหารราบ มีการฝึกทักษะในหลายด้าน อาทิ 
อาวุธศึกษา, ดำรงชีพ, รบในเมือง, ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด, ต่อสู้ด้วยมือเปล่า (มวยไทย), การเคลื่อนที่เข้าพื้นที่และปฏิบัติการรบ ทำให้กำลังพลทั้งสองส่วนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทักษะทางทหาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อปฏิบัติการร่วมกันในอนาคต

ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารบกได้กล่าวว่า “การฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย และกองทัพบกสิงคโปร์ เป็นการฝึกที่มีความสำคัญยิ่ง ทำให้ทหารของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และทักษะต่างๆ ในปฏิบัติการทางทหาร 
ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์และมิตรภาพอันดีของกองทัพบกทั้งสองประเทศ สำหรับกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทุกนายได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจทำให้การฝึกบรรลุตามวัตถุประสงค์ แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ ความรุกรบ ความห้าวหาญ และการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างประสานสอดคล้อง”
ที่ผ่านมากองทัพบกไทย-กองทัพบกสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ทางทหารมายาวนาน ทั้งการฝึกในระดับพหุภาคี และทวิภาคี การฝึกรหัส KOCHA SINGA เริ่มมาตั้งแต่ ปี ๒๕๔๐ และสลับกันเป็นเจ้าภาพ เดิมเป็นการฝึกในระดับกองร้อยทหารราบ และขยายขอบเขตการฝึกจนปัจจุบันเป็นการฝึกในระดับกองพันทหารราบ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการการฝึกทางทหารร่วมกันของสิงคโปร์และไทย ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค
 …….......................................………  ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

ผู้บัญชาการกองทัพบกสิงคโปร์(COA: Chief of Army, Singapore Army) พลตรี David Neo ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้ร่วมทำพิธีปิดอย่างเป็นทางการของการฝึกผสมรหัส Kocha Singa 2022(คชสีห์ ๒๐๒๒)
ณ สนามฝึกทางยุทธวิธีกองทัพภาคที่๑(1st Army Area Tactical Training Field) ในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทยเมื่อช่วงเช้าของวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕(2022) การฝึกผสม Kocha Singa ในปีนี้เป็นการกลับมาทำการฝึกในวงรอบสองปีอีกคั้งตั้งแต่เกิดสถานะการณ์ระบาด Covid-19

การฝึกผสม Kocha Singa 2022 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นการฝึกครั้งที่๒๒ นับตั้งเริ่มการฝึกครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) มีส่วนร่วมของกำลังพลมากกว่า ๘๐๐นายจาก
กองพันที่40 กรมยานเกราะสิงคโปร์(40th Battalion Singapore Armoured Regiment) กองทัพบกสิงคโปร์ และกองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๙ กองพลทหารราบที่๙(3rd Infantry Battalion, 9th Infantry Regiment, 9th Infantry Division) กองทัพบกไทย 
การฝึกในปีนี้ประกอบด้วย การฝึกการปฏิบัติการในเขตเมือง, การฝึกปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบในช่วงเวลาสงบ,การแลกเปลี่ยนการฝึกอาวุธปืนเล็กด้วยกระสุนจริง และขั้นสูงสุดในการฝึกภาคสนามการปฏิบัติการร่วมการยิงอาวุธจริง

ในสุนทรพจน์พิธีปิดการฝึก พล.ต.Neo กล่าวว่า "กองทัพบกไทยและกองทัพสิงคโปร์(SAF: Singapore Armed Forces) แบ่งปันความสัมพันธ์ทางกลาโหมทวิภาคีที่แข็งแกร่งและยั่งยืนยาวนาน, สร้างมาหลายปีบนความร่วมมืออย่างแข็งขัน, การแลกเปลี่ยนอย่างมืออาชีพและตั้งเป้าร่วมกัน
เพื่อดำรงสันติภาพ, ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคของเรา ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของเราขยายขึ้นทั่วทุกระดับในทั้งสองกองทัพ ผ่านการฝึกอย่างเช่น Exercise Kocha Singa Kocha Singa หน่วยกำลังและทหารของเราเรียนรู้จากอีกฝ่าย ส่งเสริมความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน"

การฝึกผสม Kocha Singa เน้นย้ำความสัมพันธ์ด้านกลาโหมทวิภาคีที่ใกล้ชิดและยาวนานระหว่างสิงคโปร์และไทย นอกเหนือจากการฝึกทวิภาคี ทั้งสองกองทัพมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอผ่านการเยือนของผู้นำระดับสูง, การแลกเปลี่ยนและหลักสูตรการฝึกอย่างมืออาชีพ
สอดคล้องกับการฝึกผสม Kocha Singa  พล.ต.Neo ยังได้เข้าพบเพื่อแนะนำตนต่อรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) และผู้บัญชาการทหารบกไทยด้วยครับ