วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565

ฝรั่งเศสเร่งการส่งมอบระบบยานเกราะ SCORPION

IAV 2022: France ramps up deliveries of SCORPION vehicles



The French Army received its first 20 Jaguars in December 2021. (Armée de Terre)




The Griffon forward observer vehicle. (Armée de Terre)




The Serval light multirole armoured vehicle. (Armée de Terre)







ฝรั่งเศสกำลังเร่งการส่งมอบระบบยานเกราะ SCORPION และบริษัท Nexter ฝรั่งเศสกำลังเพิ่มขีดความสามารถสายการผลิตของตนขึ้นเป็นสามเท่าที่จะให้ทำได้ทัน
Janes ได้ทราบในงานสัมมานารถหุ้มเกราะนานาชาติ International Armoured Vehicles 2022 (IAV 2022) ที่จัดขึ้นใน London สหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24-27 มกราคม 2022
รถตรวจการณ์หน้า Griffon คันแรกจะถูกส่งมอบในปี 2022 นี้ ตามด้วยรุ่นเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรขนาด 120mm แบบ MEPAC(Mortier Embarqué Pour l'Appui au Contact) บนรถหุ้มเกราะล้อยางหนัก 8x8 ในปี 2023

รถเกราะล้อยางลาดตระเวน Jaguar 6x6 กำลังได้รับการถูกส่งมอบที่อัตรา 20คันต่อปี เริ่มต้นในเดือนธันวาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/jaguar-6x6.html)
รถหุ้มเกราะอเนกประสงค์ขนาดเบา Serval 4x4 จำนวนประมาณ 300คันจากทั้งหมด 3,700คันที่วางแผนไว้ ได้รับการส่งมอบแล้วในขณะนี้ การส่งมอบรถในรุ่นข่าวกรองลาดตระเวนและลาดตระเวนมีกำหนดที่จะเริ่มต้นในปี 2023
เพื่อรักษาอัตราการส่งมอบที่ระดับเหล่านี้ บริษัท Nexter กำลังเร่งขึ้นความสามารถสายการผลิตขึ้นสามเท่า เป็น 450คันต่อปีภายในปี 2025 บริษัทคาดว่าจะสนับสนุนระบบยานเกราะ SCORPION จำนวน 5,000คันได้ภายในปี 2030

โครงการระบบยานเกราะ SCORPION ของกองทัพบกฝรั่งเศส(French Army, Armée de Terre) เป็นการปรับปรุงรถถังหลัก Leclerc(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/leclerc-xl.html)
และการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางหลายแบบเพื่อทดแทนยานเกราะแบบเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน ซึ่งรวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยาง Griffon 6x6 รถหุ้มเกราะล้อยาง Jaguar 6x6 และรถหุ้มเกราะล้อยาง Serval 4x4
รถรบเหล่านี้มีการใช้ระบบพื้นฐานร่วมกันคือ SCORPION vetronics(อุปกรณ์ไฟฟ้าของรถ) และแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันผ่านระบบสื่อสารและข้อมูล SCORPION Communication and Information System(SICS) และเครือข่ายวิทยุ Contact ครับ

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565

การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 แก่บัลแกเรียจะล่าช้า

Delivery of Bulgarian F-16s to be delayed





Bulgaria is set to receive eight F-16 Block 70 aircraft, analogous to the US Air Force M7 standard pictured, with a request for a further eight. The country has been told to expect a delay in its deliveries due to supplier and Covid problems. (US Air Force)



การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70 Fighting Falcon จำนวน 8เครื่องแก่กองทัพอากาศบัลแกเรีย(BuAF: Bulgarian Air Force) จะล่าช้า 'หลายเดือน' เนื่องจากการระบาดของ Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/f-16-f-16v.html)
รัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรีย Stefan Yanev ประกาศข่าวนี้ระหว่างรับการพิจารณาไต่สวนต่อหน้าคณะกรรมาธิการกลาโหมแห่งรัฐสภาบัลแกเรียเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/f-16v.html)

รัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรีย Yanev กล่าวว่าเขาได้ได้รับข้อมูลจากผู้ผลิตอ้างถึงความล่าช้าในห่วงโซ่อุปทานที่จะมีผลกระทบต่อลูกค้าทั้งหมดของเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่ผลิตใหม่
เขากล่าว่าเขาคาดว่าความล่าช้าจะมีระยะเวลาหลายเดือน แต่จากนั้นเสริมว่าระยะเวลาที่แน่นอนจะเป็นที่ทราบในครึ่งหลังเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เมื่อตัวแทนสหรัฐฯมีกำหนดจะมาถึงนครหลวง Sofia เพื่อจะหารือในโครงการของบัลแกเรีย

กระทรวงกลาโหมบัลแกเรียได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70(F-16V) จำนวน 8เครื่องในเดือนกรกฎาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/f-16v.html)
กำหนดการส่งมอบที่ประกาศ ณ เวลานั้น กำหนดให้เครื่องบินขับไล่ F-16V สองเครื่องแรกจะได้รับมอบในเดือนพฤศจิกายน 2023 อีก 4เครื่องเพิ่มเติมตามมาในเดือนเมษายน 2024 โดย 2เครื่องสุดท้ายจะมาถึงในเดือนสิงหาคม 2024

รัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรีย Yanev ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งล่าสุดกล่าวระหว่างการพิจารณาไต่สวนของเขาว่า โครงการสำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหส่างบัลแกเรียและบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
ที่เกี่ยวข้องต่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16 ยังไม่ได้มีการทำการพัฒนาจริงใดๆจนถึงขณะนี้ แต่เขาไม่ได้กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นผลจากโรคระบาด Covid-19 ด้วยหรือไม่อย่างใด

เครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 สำหรับบัลแกเรีย 8เครื่องถูกจัดหาในสัญญาการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) วงเงิน $512 million คาดว่าจะได้รับวงเงินเพิ่มเติมอีก $800 million สำหรับการสนับสนุน, การบริการ และอุปกรณ์
เพื่อที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29 (NATO กำหนดรหัส Fulcrum) กองทัพอากาศบัลแกเรีย ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ยุค Warsaw Pact ที่เก่าและล้าสมัย(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/f-16v-mig-29.html

กองทัพอากาศบัลแกเรียได้ส่งศิษย์การบินชุดแรกไปยังสหรัฐฯเพื่อทำกการฝึกกับเครื่องบินขับไล่ F-16C/D กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในปี 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/m72-f-16-600.html)
โดยในปี 2021 กระทรวงกลาโหมบัลแกเรียได้ออกจดหมายร้องขอ(LOR: Letter of Request) สำหรับจดหมายข้อเสนอและตอบรับ(LOA: Letter of Offer and Acceptance) สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 เพิ่มเติม 8เครื่องรวมทั้งหมด 16เครื่องครับ

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565

กองทัพบกฟิลิปปินส์มองจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ BrahMos PJ-10

Philippine Army looks to induct BrahMos missile



The Philippine Army is likely to induct the BrahMos PJ-10 variant (pictured) for coastal defence missions. (Gordon Arthur)



กองทัพบกฟิลิปปินส์(PA: Philippine Army) กำลังมองที่จะจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ BrahMos(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/brahmos.html
ภายใต้โครงการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพฟิลิปปินส์แก้ไขใหม่(RAFPMP: Revised Armed Forces of the Philippines Modernization Program) ระยะที่3

พันเอก Xerxes Trinidad โฆษกกองทัพบกฟิลิปปินส์กล่าวกับสำนักข่าว Philippine News Agency(PNA) ของรัฐบาลฟิลิปปินส์เกี่ยวกับแผนการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพ 'third horizon' ที่จะดำเนินตั้งแต่ปี 2023-2027 ว่า
"กองทัพบกฟิลิปปินส์ยังไม่ได้จัดหา(อาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos) ตั้งที่เรายังอยู่ในระยะแผน second horizon (ปี 2018-2022) และบางโครงการจัดหายังอยู่ในกระบวนการ" เขากล่าว

พันเอก Trinidad เสริมว่ากองทัพบกฟิลิปปินส์จะนำอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos จำนวน 2ชุดยิงวางกำลังสำหรับการรักษาฝั่ง(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/mou.html)  
เขากล่าวว่าอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos 2ชุดยิงจะถูกใช้ในฐานะหน่วยปืนใหญ่สนับสนุนทั่วไป และจะอยู่ในอัตราจัดกองกำลังรักษาดินแดนร่วม(joint territorial defence forces)

พันเอก Trinidad ยังกล่าวกับสำนักข่าว PNA ว่าอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos จะเติมเติมความต้องการอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำภาคพื้นดิน(GBASM: Ground-Based Anti-Ship Missile) 
และภารกิจปืนใหญ่สนามที่จะ "ทำลาย, ทำให้หมดสภาพ และกดดัน" ต่อข้าศึกผ่านการยิงด้วยปืนใหญ่และจรวด ของกองทัพบกฟิลิปปินส์

กลางเดือนมกราคม 2022 ฟิลิปปินส์ยังยืนยันว่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์(PMC: Philippine Marine Corps) ได้สั่งจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos เป็นวงเงิน $375 million นาวิกโยธินฟิลิปปินส์จะวางกำลังในฐานะอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำฐานยิงชายฝั่ง
ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos รุ่นใดที่กองทัพบกฟิลิปปินส์และนาวิกโยธินฟิลิปปินส์จะวางกำลังสำหรับการรักษาฝั่ง อย่างไรก็ตามคาดว่าทั้งสองเหล่าจะประจำการรุ่น BrahMos PJ-10 หรือรุ่นอื่น

ตามข้อมูล Janes Weapons: Naval กองทัพบกอินเดีย(Indian Army) มี BrahMos PJ-10 ประจำการแล้วสำหรับการรักษาฝั่ง ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos ถูกจัดเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำพิสัยกลางความเร็วเหนือเสียง
มีพื้นฐานจากระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Yakhont ของรัสเซีย ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ P-800 Oniks(NATO กำหนดรหัส SS-N-26 Strobile) ที่รัสเซียใช้เองครับ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรืออินโดนีเซียหารือกับ TKMS เยอรมนีสำหรับเรือดำน้ำ Type 214 และ Type 209

Indonesia, TKMS discuss HDW Class 209, 214 submarines for navy's requirements







A Portuguese Navy Tridente (Type 214)-class submarine. Indonesia has held another round of talks with TKMS for the latest variant of this submarine type. (TKMS)



เจ้าหน้าที่จากกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) และกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ได้จัดการประชุมอีกครั้งกับบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีผู้สร้างเรือ
ครั้งนี้เป็นการหารือเรือดำน้ำ HDW Class 209/1400mod สำหรับความต้องการสงครามใต้น้ำของรัฐบาลอินโดนีเซียใน Jakarta การประชุมจัดขึ้นในรูปแบบเสมือนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2022 แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับการหารือได้ให้ข้อมูลกับ Janes

ประเด็นที่ได้รับการหารือรวมถึงรูปแบบภารกิจของเรือดำน้ำ Type 209/1400mod และเรือสามารถปฏิบัติภารกิจตามความต้องการของกองทัพเรืออินโดนีเซียได้หรือไม่
ที่รวมถึงสงครามเรือดำน้ำตามแบบ และปฏิบัติการอื่นๆอย่างเช่น การรวบรวมข่าวกรอง และการส่งหน่วยรบพิเศษเข้าแทรกซึม(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/1.html)

HDW Class 209/1400mod เป็นเรือดำน้ำรุ่นล่าสุดในตระกูลเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 209 ของ TKMS เยอรมนี มีความยาวเรือรวม 62m ถังความดันตัวเรือมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.2m และมีระวางขับน้ำประมาณ 1,450 tonnes ที่ผิวน้ำ 
ติดตั้งท่อยิง Torpedo หนัก 8ท่อยิง และมีกำลังพลประจำเรือ 30นาย ยังมีการหารรือใหม่ระหว่างการประชุมคือตระกูลเรือดำน้ำ Class 214(Type 214) ซึ่งสามารถติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) ได้ด้วย

นี่เป็นการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่สองที่เป็นที่ทราบระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและ TKMS เยอรมนี ตามที่เคยรายงานโดย Janes ในเดือนมีนาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/tkms-type-214.html)
ตัวแทนของ TKMS เยอรมนีได้เดินทางมาถึงนครหลวง Jakarta อินโดนีเซียในเดือนมีนาคม 2021 เพื่อบรรยายสรุปให้นักวางแผนกลาโหมอินโดนีเซียในการเสนอเรือดำน้ำ Class 214 ของบริษัท

กองทัพเรืออินโดนีเซียมีประจำการด้วยเรือดำน้ำชั้น Cakra(Type 2019/1300) ที่สร้างในเยอรมนี 1ลำคือเรือดำน้ำ KRI Cakra หมายเลขเรือ 401 ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1980s(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/nagapasa-kri-alugoro-405.html)
และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 2019/1400) จากสาธารณรัฐเกาหลี 3ลำคือ เรือดำน้ำ KRI Nagapasa หมายเลขเรือ 403, เรือดำน้ำ KRI Ardadedali หมายเลขเรือ 404 และเรือดำน้ำ KRI Alugoro หมายเลขเรือ 405 ที่เข้าประจำการระหว่างปี 2017-2021

กองทัพเรืออินโดนีเซียสูญเสียเรือดำน้ำชั้น Cakra หนึ่งลำคือเรือดำน้ำ KRI Nanggala หมายเลขเรือ 402 จากอุบัติเหตุในเดือนเมษายน 2021 และตัวเรือพร้อมลูกเรือทั้งหมดที่เสียชีวิตไม่เคยได้รับการกู้คืนมาครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

อินโดนีเซียรอสัญญามีผลใช้งานสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส 36เครื่อง

Indonesia awaits ‘contract activation' for Rafale multirole fighters







A French Air and Space Force Rafale. Indonesia has plans to procure 36 units of the aircraft type. (Janes/Ridzwan Rahmat)

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้มีความเคลื่อนไหวเดินหน้ากับแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Rafale จากบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale.html)
ในการตอบสนองต่อคำถามในงานชุมนุมของผู้นำกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียประจำปี 2022 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2022 รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto กล่าวต่อสื่อว่า การเจรจาสำหรับโครงการได้เสร็จสิ้นแล้ว และ "สัญญา" นั้น ขณะนี้กำลัง "รอการมีผลใช้งาน"

รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเดิม อย่างไรก็ตามในการตอบสนองต่อแบบสอบถามที่ Janes ได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2022 โดยแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดต่อกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียว่า
สัญญาเบื้องต้นมูลค่าวงเงิน 5.8 billion Euros($6.56 billion) ได้รับการลงนามกับ Dassault Aviation ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2021 แล้ว

สัญญาซึ่งกำหนดการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่องแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
ยังไม่มีผลบังคับใช้ในขณะนี้เนื่องจากการขาดความชัดเจนเกี่ยวกับงบประมาณ Janes ยังเข้าใจว่าอินโดนีเซียกำลังอยู่ในกระบวนการของการแสวงหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศที่จะเป็นเงินทุนแก่โครงการนี้

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ร่างเค้าโครงความปรารถนาที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ถึง 36เครื่อง ในโครงการที่จะเติมเต็มช่องว่างจากการปลดประจำการฝูงเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II
เครื่องบินขับไล่ F-5E/F ที่มีอายุการใช้งานมานานเหล่านี้อดีตเคยประจำการในฝูงบินที่14(Aviation Squadron 14) ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย

ความต้องการได้เพิ่มสูงขึ้นโดยมีที่มาเกี่ยวเนื่องกับที่รัฐบาลอินโดนีเซียใน Jakatar จะไม่ดำเนินการตามข้อตกลงที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) 
จาก Rosoboronexport หน่วยงานด้านการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียอีกต่อไป(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/su-35.html)

ในการแสวงหาความปรารถนานี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้มีการเจรจากับ Dassault Aviation ฝรั่งเศสเกี่ยวกับข้อตกลงการชดเชยและการเงินที่ลงนามในเดือนกุมภาพันธ์ 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/rafale-f-15ex.html)
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียขณะนี้กำลังมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่จำนวนที่เพียงพอจะนำเข้าประจำการในสองถึงสามฝูงบิน นอกจากเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส ยังรวมถึงเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Advanced Eagle สหรัฐฯด้วยครับ

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

กองบิน๑ กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินขับไล่ F-16A ADF ประจำการในฝูงบิน๑๐๓ หลังย้ายจากฝูงบิน๑๐๒




Captured shots from presentation video of Wing 1 Korat Royal Thai Air Force (RTAF) base show F-16A  Block 15 ADF (Air Defense Fighter) serial 10335 tail number 820989 of 103rd Sqaudron after transited from 102nd Sqaudron. (Wing 1 RTAF)




Royal Thai Air Force's F-16A Block 15 ADF serial 10216 tail number 82-0989 when it was in 102nd Sqaudron, Wing 1. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708)




Royal Thai Air Force's decommisioned F-16A Block 15 ADF serial 10207 of 102nd Sqaudron was moving to standing display at Wing 1 RTAF base's gate. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708)



Ep.6 How falcon fly
กว่าแปดทศวรรษที่กองบิน 1 ได้ปฎิบัติภารกิจปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้าไทย รับใช้กองทัพอากาศและประเทศชาติ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมากองบิน 1 ได้มีอากาศยานเข้าประจำการหลายแบบด้วยกัน

สำหรับกองทัพอากาศแล้วเครื่องบินถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญในการปฎิบัติภารกิจ โดยในปัจจุบันกองบิน 1 ได้มีอากาศยาน ที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพอากาศประจำการอยู่ 
โดยเครื่องบินนี้เป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ แบบที่ 19 ของกองทัพอากาศ หรือที่เรารู้จักดีในชื่อของ เอฟ 16 Fighting Falcon ผลิตจากบริษัท General Dynamic ประเทศสหรัฐอเมริกา 
โดยเครื่องบินชนิดนี้เป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่นอเนกประสงค์ที่มีความเร็วเหนือเสียงสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทุกกาลอากาศ และเจ้าเหยี่ยวฝูงนี้ก็ประจำการอยู่ที่กองบิน 1 ฐานบินโคราชมาเกือบ 40 ปีแล้ว

ถึงแม้ว่า F-16 จะทำมาจากโลหะและวัสดุผสมต่างๆ ที่มีน้ำหนักรวมกันมาก แต่ก็ยังสามารถลอยตัวไปในอากาศได้นั้น อาศัยหลักการ คือ จะต้องมีแรงขับที่ทำให้ตัวเครื่องบินมีความเร็วไปทางด้านหน้าเพื่อให้ปีกของเครื่องบินปะทะกับอากาศที่ไหลผ่านปีกไปเร็วขึ้น 
กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะผ่านไปทางด้านล่างปีกจะทำให้เกิดแรงดันจากด้านล่างปีกขึ้นไปด้านบน อันเนื่องมาจากความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจะยิ่งลดลง 
เมื่อความเร็วของเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น และแรงดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกเพิ่มขึ้นจึงดันตัวขึ้นเป็นแรงยกทำให้เครื่องบินสามารถลอยตัวขึ้นไปได้ในอากาศตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่

ขุมพลังของ F-16 นั้นมาจากเครื่องยนต์กังหันก๊าซซึ่งเป็นเครื่องยนต์โรตารีที่ดึงพลังงานจากการไหลของก๊าซเผาไหม้ มีคอมเพรสเซอร์ควบคู่กับกังหัน (Turbine) ที่มีห้องเผาไหม้อยู่ระหว่าง ในเครื่องยนต์ของเครื่องบิน 
ส่วนประกอบหลักทั้งสามนี้ มักเรียกว่า "เครื่องกำเนิดก๊าซ" สำหรับ บข.19/ก ใช้เครื่องยนต์แบบ เทอร์โบแฟน แบบ F-100-PW-220 ของบริษัท Pratt & Whitney
เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน (Turbofan) เป็นเครื่องยนต์กังหันก๊าซที่ทำงานโดยการบีบอัดอากาศด้วยคอมเพรสเซอร์ ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศที่ถูกบีบอัด จากนั้นจึงเผาไหม้ส่วนผสมดังกล่าวในห้องสันดาป (Combustion Chamber) จนเกิดความร้อนและมีแรงดันสูง ทำให้เกิดแรงขับมหาศาล

หลังจากที่เครื่องบินลอยไปในอากาศแล้ว ในการบินจะต้องมีการเลี้ยว บินไต่ระดับ บินลดระดับ เพื่อให้ได้ท่าทางต่างๆตามยุทธวิธีของการรบในอากาศ ซึ่ง F-16 ก็จะมีพื้นบังคับหลัก (Control Surface) ดังนี้
- หางเสือเลี้ยว (RUDDER) สำหรับบังคับทางเลี้ยว
- หางเสือขึ้นลง (ELEVATORS) สำหรับบังคับให้เครื่องบินปักลงหรือเงยขึ้น
- ปีกเล็กเอียง (AILERONS) สำหรับบังคับเครื่องบินให้เอียงซ้ายหรือเอียงขวา

วีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่โดย กองบิน๑ โคราช กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ในช่อง Youtube และสื่อสังคม Online ของ ที่เป็นชุดการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕
เป็นการแนะนำถึงเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙ Lockheed Martin F-16A Fighting Falcon ที่ประจำการในฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ตั้งแต่การเยี่ยมชมเครื่องจำลองการบน สำรวจเครื่องบินขับไล่ F-16A ที่จอดในโรงเก็บ และโรงซ่อมบำรุงเครื่องยนตร์ที่สามารถทำได้ภายในประเทศ
ส่วนหนึ่งของวีดิทัศน์ยังได้เปิดเผยถึงภาพเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF(Air Defense Fighter) ฝูงบิน๑๐๓ หมายเลข 10335 และสายการผลิต 820989 ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9M Sidewinder และกระเปาะ ACMI(Air Combat Maneuvering Instrumentation)

ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF ที่โอนย้ายจากฝูงบิน๑๐๒ ไปรวมที่ฝูงบิน๑๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ได้ถูกทำสีและเครื่องหมายใหม่ของฝูงบิน๑๐๓ แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html)
ขณะที่เมื่อยังประจำการในฝูงบิน๑๐๒ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ไม่ได้การลงเลขสายการผลิตบนแพนหางเหมือน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ ที่จัดหาในโครงการ Peace Naresuan I, II และ Peace Carvin I กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force)
สายการผลิต 82-0989 ของ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10335 จึงบ่งชี้ว่าเครื่องนี้เดิมคือ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10216 ที่เดิมเคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ถูกจัดหาในโครงการ Peace Naresuan IV เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๖(2003)

ไม่มีการเปิดเผยว่ามี บ.ข.๑๙ F-16A ADF ที่โอนย้ายจากฝูงบิน๑๐๒ จำนวนกี่เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๓ แต่ถ้านับจาก บ.ข.๑๙ F-16A หมายเลข 10325 สายการผลิต 870399 หนึ่งใน ๗เครื่องที่จัดหาจากสิงคโปร์ในปี พ.ศ.๒๕๔๘(2005) ที่เป็นหมายเลขล่าสุดในฝูงบิน๑๐๓ นั้น
อาจจะทำให้คาดได้ว่าจะมี บ.ข.๑๙ F-16A ADF อย่างน้อย ๑๐เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการฝูงบิน๑๐๓ ตั้งแต่หมายเลข 10326, 10327, 10328, 10329, 10330, 10331, 10332, 10333, 10334 และ 10335 ซึ่งการจะยืนยันได้ต้องรอให้มีการเผยแพร่ภาพเครื่องหมายเลขอื่นเปิดเผยตามมาภายหลัง
ภาพการเคลื่อนย้าย บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10207 สายการผลิต 81-0690 มาจัดตั้งแสดงที่หน้าประตูกองบิน๑ ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ ก็เป็นหนึ่งในเครื่องที่ถูกปลดประจำการไปตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)

ฝูงบิน๑๐๓ ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ในโครงการ Peace Naresuan I จำนวน ๑๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), โครงการ Peace Naresuan II จำนวน ๖เครื่องในพ.ศ.๒๕๓๔(1991) และ Peace Carvin I จากสิงคโปร์จำนวน ๗เครื่อง รวมทั้งหมด ๒๕เครื่อง
ฝูงบิน๑๐๒ ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ในโครงการ Peace Naresuan IV จำนวน ๑๖เครื่อง ซึ่งจนถึงปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ของกองบิน๑ มีการสูญเสียจากอุบัติเหตุต่างๆ และปลดประจำการเนื่องจากโครงสร้างอากาศยานหมดอายุแล้วจำนวนหนึ่ง
กองทัพอากาศไทยต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งมองไปยังเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35 Lightning II ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16ab-f-35a.html)