วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นวางแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B สหรัฐฯสำหรับเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo

Japan Set to Procure F-35B STOVL Aircraft for JMSDF Izumo-class 'helicopter destroyer'



DDH-183 JS Izumo. JMSDF

DDH-184 JS Kaga. JMSDF

An F-35B Lightning II conducts the first ever shipborne rolling vertical landing (SRVL) on board HMS Queen Elizabeth. (U.S. Navy photo courtesy of the Royal Navy/Released)
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/november-2018-navy-naval-defense-news/6689-japan-set-to-procure-f-35b-stovl-aircraft-for-jmsdf-izumo-class-helicopter-destroyer.html

"Aircraft Carrier Ibuki" (Kuubo Ibuki) upcoming movie will be released on 2019 that base on Kaiji Kawaguchi's manga in same name. movie plot setting about fictional Japan Maritime Self-Defense Force's Aircraft Carrier Destroyer DDV-192 JS Ibuki.
https://aagth1.blogspot.com/2016/07/aircraft-carrier-ibukikuubo-ibuki-kaiji.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/03/aircraft-carrier-ibuki-1st-sortie.html

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) สหรัฐฯ ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนกลาโหมใหม่ที่จะร่างเค้าโครงในเดือนหน้า
ตามที่สื่อญี่ปุ่น Nippon News Network (NNN) รายงาน F-35B จะเป็นอากาศยานประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่จะถูกจัดหาและวางกำลังบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/f-35b.html)

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) มีเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ประจำการสองลำคือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga
เรือชั้น Izumo ทั้งสองลำเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 27,000tons และความยาวเรือ 248 ที่สามารถจะดัดแปลงให้รองรับปฏิบัติการของอากาศยานปีกตรึงเครื่องยนต์ไอพ่นได้เมื่อได้รับการสั่งดำเนินการ

เรือลำแรกของชั้นคือเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 Izumo ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2013 และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2015
เรือลำที่สองของชั้นคือเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 Kaga ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2015(https://aagth1.blogspot.com/2015/08/ddh-184-kaga.html) และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/izumo-ddh-184-kaga.html)

เครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL เป็นหนึ่งในสามรุ่นรวมกับเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II สหรัฐฯรุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) ที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force)
โดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือแก่โรงงานอากาศยานของบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นสำหรับการเปิดสายการผลิต F-35A ระดับ FACO(Final Assembly and Check Out) ในญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)

ตามรายงานจาก NNN การที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B มาประจำการมีผลเกี่ยวเนื่องมาจากการเสริมสร้างแสนยานุภาพของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ที่ขยายอาณาเขตเข้าสู่มหาสมุทรมากขึ้น
ญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านขีดความสามารถการป้องกันตนเองในน่านน้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพื้นที่พิพาทกับจีน เช่น หมู่เกาะ Senkaku ในภาษาญี่ปุ่น หรือหมู่เกาะ Diaoyu ในภาษาจีน

หนังสือพิมพ์ Nikkei ญี่ปุ่นได้รายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ทั้งสองรุ่น(F-35A และ F-35B) รวม 100เครื่อง ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A แล้ว 42เครื่องในส่วนกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
F-35A จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas/Mitsubishi Heavy Industries F-4EJ Phantom II ภายในปี 2024 และมีแผนจัดหาเพิ่มเติมเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas//Mitsubishi Heavy Industries F-15J Eagle ที่ต่างมีอายุการใช้งานมานาน

ปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจคือสาธารณรัฐประชาชนจีนคาดว่าทำการผลิตและวางกำลังเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 จำนวนมากว่า 250เครื่อง เช่น เครื่องบินขับไล่ J-20 กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ภายในปี 2030
เช่นเดียวกับกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Air Force) ที่เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi Su-57 คาดว่าจะเข้าประจำการได้อย่างเร็วในปี 2019 เครื่องบินขับไล่ยุค F-35 จึงเป็นความจำเป็นของญี่ปุ่นในการปกป้องความมั่นคงของตนเองจากภัยคุกคามที่กำลังพัฒนาขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านมหาอำนาจ

รัฐบาลญี่ปุ่นจะรวมการตัดสินใจของตนในโครงร่างแผนกลาโหมที่จะประกาศในเดือนธันวาคม 2018 หลังจากที่มีการแสดงถึงนโยบายเหล่านี้โดยทั้งพรรครัฐบาล Liberal Democratic Party(LDP) และพรรคฝ่ายค้าน Komei
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 หนังสือพิมพ์ Yomiuri Shimbun ได้รายงานว่าญี่ปุ่นมีแผนที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL จำนวน 40เครื่องซึ่งสามารถปฏิบัติการจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ได้โดยได้รับการปรับเปลี่ยนบางส่วน

Takeshi Iwaya รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นให้ข้อแนะนำในการประชุมร่วมกับสื่อปกติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน2018 ว่ากระทรวงกลางโหมญี่ปุ่นจะมีการกำหนดความชัดเจนทั้งหมดในแนวทางโครงการกลาโหมแห่งชาติ(NDPG: National Defense Program Guidelines) ที่จะร่างในสิ้นปีนี้
"ตั้งแต่เราประจำการด้วยเรือชั้นดังกล่าว มันเป็นที่พึงปรารถนาที่เราจะใช้พวกเธอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เราต้องการจะเดินหน้าการวิจัยและศึกษาของเราในเรื่องนี้ (F-35B) เป็นเครื่องบินที่สามารถบินขึ้นและลงจอดจากทางวิ่งสั้น ดังนั้นเรากำลังศึกษาพวกมันในฐานะส่วนหนึ่งว่าเราจะจัดตั้งระบบอากาศยานทั้งหมดอย่างไร" เขาเสริม

ในเดือนมีนาคม 2018 กลุ่มสมาชิกพรรค LPD ที่เป็นพรรครัฐบาลได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเองและปฏิบัติการด้วย F-35B ซึ่งถูกรวมอยู่ในแผนการปรับปรุงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo
ซึ่งรวมการดัดแปลงอย่างทั้งภายในและภายนอกตัวเรือ เช่น การเคลือบสารป้องกันความร้อนที่พื้นผิวของดาดฟ้าบินของเรือให้ทนทานต่อความร้อนจากไอพ่นของ F-35B ขณะทำการลงจอด และปรับเปลี่ยนรูปแบบดาดฟ้าบินเพื่อช่วยในการวิ่งขึ้นและลงจอดของอากาศยานให้ดีขึ้นครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยมองจะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยมาตรฐาน MS20

10,000 Flight Hour of Saab Gripen C/D 701 Squadron, Wing 7, Royal Thai Air Force in exercise Pitch Black 2018 at Australia, 13 August 2018(https://www.facebook.com/RTAFpage)

Royal Thai Air Force Gripen C/D Fighter and SAAB 340 ERIEYE Airborne Early Warning and Control Fly Over Royal Thai Navy CVH-911 HTMS Chakri Naruebet and US Navy DDG-91 USS Pinckney the Arleigh Burke-class destroyer
during The 50th Anniversary of ASEAN's International Fleet Review 2017 at Pattaya, Chonburi Thailand 20 November 2017(https://www.facebook.com/RTAFpage)

UPDATE: RTAF seeks to upgrade Gripen combat aircraft to MS20 configuration
An RTAF Saab Gripen C on the tarmac at Surat Thani Airbase. The RTAF is looking to upgrade its fleet of 11 Gripen C/Ds to the MS20 configuration. Source: IHS Markit/Gabriel Dominguez
https://www.janes.com/article/84868/update-rtaf-seeks-to-upgrade-gripen-combat-aircraft-to-ms20-configuration

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) กำลังมองที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ทั้ง ๑๑เครื่องที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20
"เรากำลังวางแผนที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen ไปสู่มาตรฐาน MS20 เราได้เห็นขีดความสามารถของมาตรฐานปัจจุบันและมันทำทุกอย่างตามที่เราต้องการ" นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ รองผู้บังคับการกองบิน๗ กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

อย่างไรก็ตามไม่มีการให้รายละเอียดใดออกมาว่ากองทัพอากาศไทยจะดำเนินการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 เมื่อไร รวมถึงดูเหมือนว่าโครงการจะยังไม่ได้รับงบประมาณอย่างเต็มรูปแบบในขณะนี้ด้วย
แต่นี้เป็นการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากที่บริษัท Saab สวีเดนได้เปิดเผยถึงการเจรจาขั้นต้นในงานแสดงการบิน Singapore Airshow 2018 ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html)

ตามข้อมูลจาก Saab สวีเดน ความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการปรับปรุงชุดอุปกรณ์และชุดคำสั่งได้ถูกออกแบบเพื่อขยายขีดความสามารถของ Gripen เพื่อโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยระเบิดไม่นำวิถีและระเบิดนำวิถี Laser ให้ใช้งานได้เข้ากับระบบบรรทุกอาวุธอุปกรณ์ของเครื่อง
ขีดความสามารถการรบอากาศสู่อากาศของ Gripen ยังได้รับเพิ่มขยายด้วยการนำ Mode การทำงานใหม่ของ Radar มาใช้มาตรฐาน MS20 ซึ่งเสนอทางเลือกระบบหลีกเลี่ยงการชนพื้น(GCAS: Ground Collision Avoidance System)
จะเพิ่มเติมด้วยขีดความสามารถในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor

กองทัพอากาศไทยได้ประจำการระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการของสวีเดนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔(2011) เป็นเวลาไม่กี่เดือนหลังจากรับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D โครงการ Peace Suvarnabhumi ระยะที่๑ ชุดแรกจำนวน ๖เครื่อง
ปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) กองทัพอากาศไทยได้รับมอบ Gripen C/D ในโครงการ Peace Suvarnabhumi ระยะที่๒ เป็นชุดที่สองและชุดสุดท้ายอีก ๖เครื่อง รวมทั้งสิ้น ๑๒เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ Gripen C 70108 ได้สูญเสียจากอุบัติเหตุตกขณะแสดงการบินในวันเด็กแห่งชาติปี ๒๕๖๐ ที่กองบิน๕๖ หาดใหญ่ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) โดยนักบินประจำเครื่องเสียชีวิต จากสาเหตุการหลงสภาพการบินชั่วขณะ(Spatial Disorientation) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย
ซึ่งกองทัพอากาศไทยยังคงมองหาแนวทางจะทดแทนเครื่องที่สูญเสีย อย่างไรก็ตามกำหนดเวลาสำหรับเรื่องดังกล่าวยังไม่ได้นับการประกาศ โดย Gripen C/D ได้ทำการบินครบ ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบินเมื่อมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ นับเป็นอากาศยานรบที่มีความพร้อมรบสูงสุดของไทย

ระบบป้องกันภัยทางอากาศบูรณาการของไทยประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D, เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน๑ บ.ค.๑ Saab 340B Erieye (AEW&C: Airborne Early Warning and Control) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ และสถานีบัญชาการและควบคุมภาคพื้นดินสนับสนุน
เครือข่ายทางยุทธวิธี(tactical datalinks) ได้เชื่อมโยงระบบเหล่านี้เข้ากับระบบอื่นในกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ทั้งเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดย Saab สวีเดน

บริษัท Saab สวีเดนยังได้รับการสั่งจัดหาจากกองทัพอากาศไทยเพื่อการปรับปรุงระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System) ซึ่งมีพื้นฐานจากระบบ Saab 9AIR C4I และได้ถูกนำมาใช้ปฏิบัติการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๓(2010)
การสร้างกองทัพอากาศที่ปฏิบัติการแบบศูนย์กลางเป็นเครือข่าย(network-centric) นี้ได้รับการดำเนินโดยภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในไทยร่วมกับ Saab สวีเดนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/saab.html)

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รัสเซียนำเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-171A2 และ Ansat มาแสดงสาธิตต่อกองทัพไทย

Russian Helicopters touts platforms to Thai military


























Thailand is looking to procure additional Mil Mi-17V5 helicopters, seen here at Royal Thai Navy's (RTN's) U-Tapao Air Base in Chonburi on 26 November, to replace its Boeing CH-47D Chinook fleet. Source: Russian Helicopters
https://www.janes.com/article/84834/russian-helicopters-touts-platforms-to-thai-military
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1468014816634958


บริษัท Russian Helicopters รัสเซียในเครือ Rostec รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียได้ประชาสัมพันธ์เฮลิคอปเตอร์พหุภารกิจน้ำหนักเบา Ansat และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดกลาง Mi-171A2 ที่เป็นรุ่นเพิ่มความสามารถของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-17
แก่กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army), กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy), กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(RTP: Royal Thai Police) โดยตั้งเป้าที่จะได้รับการจัดหาเพิ่มเติมจากกองทัพไทยและหน่วยงานราชการของไทย

เฮลิคอปเตอร์รัสเซียทั้งสองแบบได้จัดแสดงสาธิต ณ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ที่ผ่านมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเดินสายประชาสัมพันธ์โครงการ South Asian Heli Tour
ซึ่ง Russian Helicopters รัสเซียได้นำ ฮ.ทั้งสองแบบของตนไปประสัมพันธ์ต่อลูกค้าพลเรือนและกองทัพกลุ่มประเทศ ASEAN ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเวียดนาม, กัมพูชา, ไทย และมาเลเซีย

กองทัพบกไทยได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 เข้าประจำการใน กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ชุดแรก ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ชุดที่สอง ๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) รวม ๕เครื่อง
และล่าสุดกองทัพบกไทยได้ลงนามสัญญากับรัสเซียในการจัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เพิ่มเติม ๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) โดยนับเป็นอากาศยานปีกหมุนรัสเซียแบบแรกที่ประจำการในกองทัพไทย(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/mi-17-ka-52-mi-35m.html)

ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กระทรวงมหาดไทย(Department of Disaster Prevention and Mitigation. Ministry of Interior of Thailand) ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-32A11BC ๒เครื่องสำหรับปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติ
Russian Helicopters และบริษัท Datagate ไทยซึ่งเป็นหุ้นส่วนของรัสเซียยังได้มองโอกาสความเป็นไปได้ในการสร้างศูนย์ให้บริการเฮลิคอปเตอร์รัสเซียในประเทศไทยด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/russian-helicopters.html)

ในเอกสารประชาสัมพันธ์ในงาน Andrey Boginskiy ผู้อำนวยการทั่วไปของ Russian Helicopters รัสเซียกล่าวว่าบริษัทกำลัง "มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าพลเรือนและหน่วยงานรัฐบาลในไทย
ผู้ใช้งานที่มีศักยภาพเป็นไปได้ได้แสดงความสนใจใน ฮ.Ansat และ ฮ.Mi-17 ในการปรับแต่หลายๆรูปแบบ ดังนั้นเราเชื่อว่าการแสดงสาธิตเฮลิคอปเตอร์ของเราที่นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด" Boginskiy เสริม

ในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) กองทัพบกไทยได้เปิดเผยความต้องการที่จะจัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เพิ่มเติมเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook ที่มี ๖เครื่องซึ่งมีการใช้งานมานาน
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 อย่างน้อย ๑๒เครื่อง แม้ว่าด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมของกองทัพบกไทยทำให้คาดว่าการจัดหาจะถูกแบ่งเป็นชุดละไม่กี่เครื่องในหลายๆระยะเช่นที่ปรากฎในข้างต้น

Mi-171A2 เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดกลางที่สามารถปรับการใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น การขนส่งสัมภาระและกำลังพลและบุคคลสำคัญ VIP การส่งกลับทางสายแพทย์ การค้นหาและกู้ภัย การดับไฟป่า และภารกิจอื่นๆทั้งบนบกและในทะเล สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆได้ตามความต้องการ
ห้องบรรทุกภายในเครื่องรองรับได้ 4,000kg หิ้วสัมภาระภายนอกเครื่องได้ 5,000kg ทำความเร็วได้สูงสุด 280km/h พิสัยปฏิบัติการ 800km ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Klimov VK-2500PS-03 สองเครื่องพร้อมระบบ FADEC และห้องนักบิน Glass Cockpit แบบ KBO-17

ANSAT เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไปน้ำหนักเบา สำหรับใช้งานได้หลากหลายภารกิจ เช่น ฮ.โดยสารบุคคลสำคัญ VIP ค้นหากู้ภัย ส่งกลับทางสายการแพทย์ บรรทุกผู้โดยสารได้ ๗-๘คน และะยังใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกได้ด้วย
ห้องบรรทุกภายในเครื่องได้น้ำหนัก 1,272kg ทำความเร็วได้สูงสุด 275km/h พิสัยปฏิบัติการ 520km ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Pratt & Whitney Canada PW207K สองเครื่องกำลังเครื่องละ 630HP พร้อมระบบ FADEC ครับ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อิสราเอลยังไม่ตัดสินใจจัดหาเครื่องขับไล่ F-15 Advanced Eagle สหรัฐฯในตอนนี้

IDF: No decision on advanced F-15s as yet
Israel is considering acquiring a version of the F-15 Advanced Eagle, although a final decision has not yet been made. Source: Boeing
https://www.janes.com/article/84771/idf-no-decision-on-advanced-f-15s-as-yet

อิสาเอลยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Boeing F-15 Advanced Eagle รุ่นใหม่ที่มีความทันสมัยมากกว่าในตอนนี้ กองทัพอิสราเอล(IDF: Israel Defence Forces) กล่าวกับ Jane's
"ความเป็นไปได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้กำลังอยู่ภายใต้การพิจารณาที่จัดตั้งขึ้นโดยกองทัพอิสราเอล, กองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force) และกระทรวงกลาโหมอิสราเอล และยังไม่ได้มีการตัเสินใจในตอนนี้" กองทัพอิสราเอลกล่าวในแถลงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2018

Website ข่าว Ynet ได้รายงานเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2018 ว่าได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่ากองทัพอากาศอิสราเอลจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15IA ที่เป็นรุ่นสำหรับอิสราเอลของเครื่องบินขับไล่ F-15 Advanced Eagle รุ่นใหม่ที่มีความก้าวหน้า
นอกเหนือจากการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯเพิ่มเติม ซึ่งอิสราเอลได้มีการสั่งจัดหาแล้ว 50เครื่อง และเป็นชาติแรกในโลกที่นำเครื่องบินขับไล่ F-35 ออกปฏิบัติการรบจริง(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-35a.html)

เป็นการบ่งชี้ว่า F-15IA ที่เป็นการกำหนดแบบสำหรับอิสราเอลของ F-15 Advanced Eagle เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-15SA ซาอุดิอาระเบียที่เปิดสายการผลิตแล้ว และเครื่องบินขับไล่ F-15QA กาตาร์ที่สั่งจัดหาไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/boeing-f-15qa-36.html)
ความแตกต่างหลักระหว่าง F-15SA และ F-15QA คือกาตาร์ได้เลือกที่จะนำจอบแสดงผลขนาดใหญ่(Large Area Display) ที่สร้างโดยบริษัท Elbit อิสราเอลติดตั้งในห้องนักบินของเครื่องบินขับไล่ F-15QA ของตน

Ynet รายงานว่าในขั้นต้นสหรัฐฯได้คัดค้านการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15IA ของอิสราเอลถ้าจะส่งผลให้อิสราเอลลดจำนวนการสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ลง
โดยมีการอ้างเอกสารที่อนุมัติโดยอดีตรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล Avigdor Lieberman สั้นๆ ก่อนที่เขาจะออกจากตำแหน่งในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2018 ว่า

กองทัพอากาศอิสราเอลยังคงมีความุ่งมายที่จะวางกำลังเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir(ภาษาฮีบรูแปลว่า "ผู้ทรงฤทธา") ประจำการใน 3ฝูงบิน โดยแต่ฝูงบินมี F-35 ฝูงละ 25เครื่อง รวมทั้งหมด 75เครื่อง
นั่นทำให้กองทัพอากาศอิสราเอลมีความต้องการเครื่องบินขับไล่ F-35 เพิ่มอีกอย่างน้อย 25เครื่อง อย่างไรก็ตามในปี 2017 รัฐสภาอิสราเอลได้เรียกร้องให้กระทรวงกลาโหมอิสราเอลมองหาทางเลือกสำหรับเครื่องบินขับไล่แบบอื่นก่อนจะสั่งจัดหา F-35A เพิ่มเติม

ทำให้มีรายงานอ้างว่ากองทัพอากาศอิสราเอลจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15IA จำนวน 25เครื่อง พร้อมกับการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินขับไล่ F-15I Ra'am(ภาษาฮีบรูแปลว่า "ฟ้าร้อง") ที่มีประจำการแล้ว 25เครื่อง ซึ่งเป็นรุ่นหนึ่งของเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15E Strike Eagle
คาดว่าถ้ามัคำสั่งจัดหาจริงกองทัพอากาศอิสราเอลน่าจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-15IA ชุดแรกในราวปี 2023 ซึ่งมีขีดความสามารถในการโจมตีทางลึกต่อเป้าหมายภาคพื้นดินของประเทศที่เป็นศัตรูที่ตั้งห่างจากอิสราเอลในระยะไกลได้ครับ

เครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องทดสอบที่สองทำการบินครั้งแรก

Second Gripen E Test Aircraft Takes Flight
On 26 November, Saab completed the successful first flight of the second Gripen E test aircraft.
https://saabgroup.com/media/news-press/news/2018-11/second-gripen-e-test-aircraft-takes-flight/

บริษัท Saab สวีเดนได้เสร็จสิ้นการประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E เครื่องทดสอบเครื่องที่สอง เครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องต้นแบบทดสอบเครื่องที่สองหมายเลข 39-9 ได้ทำการบินขึ้นครั้งแรกในเวลา 0950 ของวันที่ 26 พฤศจิกายน 2018
การบินทดสอบได้ดำเนินการจากสนามบินของโรงงานอากาศยานของ Saab ใน Linköping สวีเดน โดยนักบินทดสอบของ Saab คือ Robin Nordlander เป็นผู้ทำการควบคุมเครื่อง

"บางคนคิดว่าการเป็นนักบินทดสอบเป็นงานที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลกและน่าจะเป็นเช่นนั้น การบิน Gripen E หมายถึงการระงับไม่ให้มีเหงื่อออกไม่ได้ แม้กระทั่งการบินครั้งแรกเช่นนี้ การบินยังเป็นไปราบลลื่นและเครื่องหมายเลข 39-9 เป็นความปิติสุขอย่างแท้จริงต่อนักบิน
ผมกำลังมองไปข้างหน้าเพื่อพามันกลับไปสู่อากาศอีกครั้งและโดยเร็วเพื่อนำระบบใหม่ต่างๆไปทดสอบ" Robin Nordlander นักบินทดสอบเครื่องทดลองกล่าว

"มันเป็นที่พอใจอย่างมากที่เห็น Gripen E เครื่องที่สองร่วมโครงการบินทดสอบเป็นไปตามแผน เครื่องบินใหม่นี้ทำให้เราสามารถขยายกิจกรรมการทดสอบตามที่ทดสอบการทำงานได้มากขึ้นกับระบบบนเครื่องในขณะนี้ ด้วยเครื่องบินสองเครื่องทำการบินตอนนี้ เรากำลังเร่งที่ฝีก้าวของการทดสอบ
โครงการเดินหน้าเพื่อส่งมอบความก้าวหน้าที่ดีและเพื่อสร้างความสนใจตามที่ลูฏค้าของเราและรายอื่นที่กระตือรือร้นที่จะได้เห็นและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับขีดความสามารถของ Gripen E ได้กำลังจะมอบแก่นักบินของพวกมัน" Jonas Hjelm หัวหน้าภาคธุรกิจการบิน Saab กล่าว

ระหว่างการบินทดสอบเป็นเวลานาน 33นาที นักบินได้ดำเนินการปฏิบัติหลายๆอย่างเพื่อยืนยันคุณสมบัติทางทางการบินและเกณฑ์การทดสอบหลายๆอย่าง เช่น ชุดคำสั่ง, ระบบพยุงชีพ และระบบวิทยุ
ขั้นต่อไปในโครงการทดสอบสำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen E หมายเลข 39-9 จะเป็นการทดสอบระบบทางยุทธวิธีและอุปกรณ์ตรวจจับ

บริษัท SAAB สวีเดนประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องทดสอบเครื่องแรกหมายเลข 39-8 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/saab-gripen-e.html)
โดยได้มีการทดสอบการยิงอาวุธครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/gripen-e-iris-t.html) และทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor ไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-e-meteor.html)

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางทหาร Mi-38T รัสเซียทำการบินครั้งแรก

Russia's new military transport helicopter performs debut flight



The first prototype of the Mi-38T helicopter "38015" at Kazan Helicopter Plant part of Russian Helicopters/Ministry of Defense of Russia
Work is underway for promoting the new helicopter on foreign markets
http://tass.com/defense/1032153



เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางทหาร Mil Mi-38T ที่ผลิตโดยโรงงานอากาศยานปีกหมุน Kazan Rotorcraft Factory ได้ทำการบินครั้งแรกภายใต้โครงการทดสอบขั้นต้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา ตามที่ผู้สื่อข่าวของ TASS รายงานจากสถานที่ทดสอบ
การบินครั้งแรกของ ฮ.Mi-38T ได้ถูกดำเนินการโดยนักบินทดสอบของ Mil ในกลุ่มบริษัท Russian Helicopters ผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนของรัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Rostec รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย

"Mi-38T ซึ่งวันนี้ได้ทำการบินครั้งแรกเป็นรุ่นที่กลุ่ม Russian Helicopters, โรงงาน Kazan และสำนักออกแบบ Mil สร้างขึ้นภายใต้การมอบหมายทางเทคนิคที่อนุมัติโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซีย เฮลิคอปเตอร์ได้สร้างจากพื้นฐาน ฮ.พลเรือนซึ่งมีการดำเนินสายผลิตที่โรงงาน Kazan
นี่เป็น ฮ.ที่จะเป็นการรับรองพื้นฐานทั้งหมดอย่างแท้จริงของ Rosaviatsiya(องค์กรเฝ้าระวังการบินรัสเซีย) นี่เป็นการมุ่งหน้าและความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่ตลาดใหม่สำหรับเรา งานนี้มีความสำคัญมากสำหรับกลุ่มทั้งสำนักงานออกแบบและโรงงาน
เพราะมันจะช่วยสร้างประโยชน์ในเพิ่มความสามารถ, สร้างงาน และดำรงการเก็บภาษีในภูมิภาคของภาคอุตสาหกรรม" Andrei Boginsky ผู้อำนวยการบริหารของ Russian Helicopters กล่าวกับผู้สื่อข่าว

ในขณะนี้สัญญาได้รับการลงนามสำหรับส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ 2เครื่องสำหรับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย การส่งมอบเครื่องชุดแรกแก่ลูกค้ามีแผนจะเริ่มในปี 2019 ยังมีการดำเนินงานเพื่อประชาสัมพันธ์เฮลิคอปเตอร์ Mi-38T ใหม่ในตลาดต่างประเทศด้วย
"นี่เป็นการเปิดกลุ่มเป้าหมายสำหรับงานในตลาดภายนอก งานนี้กับผู้ร่วมงานของเรา Rosoboronexport(หน่วยงานส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย) ได้พร้อมเริ่มต้นแล้ว
โดยการร่วมมือกับพวกเขา เรากำลังเสนอเฮลิคอปเตอร์แบบนี้สำหรับลูกค้าต่างปะเทศของเราคือกระทรวงกลาโหมของหลายๆประเทศ" Boginsky กล่าว

ระหว่างการบินทดสอบพิเศษร่วม ทุกระบบและอุปกรณ์ของเฮลิคอปเตอร์ Mi-38T จะได้รับการตรวจสอบสำหรับการนำไปปฏิบัติตามความต้องการของการมอบหมายทางเทคนิคของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย
Mi-38T ได้รับการพัฒนาจากพื้นฐานเฮลิคอปเตอร์พลเรือน Mi-38 ที่ได้รับการรับรองแล้ว และได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพื่อรองรับการใช้ในภารกิจขนส่งทางทหารและลำเลียงกำลังพลเคลื่อนย้ายทางอากาศ
Mi-38T ยังสามารถปรับแต่งใหม่ให้กลายเป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาลและส่งกำลังบำรุง โดยสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงเสริมเพื่อเพิ่มพิสัยการบินได้

ตามที่ Vadim Ligai รองผู้อำนวยการจัดการโรงานอากาศยานปีกหมุน Kazan กล่าวต่อผู้สื่อข่าว ฮ.Mi-38T สามารถรองรับผู้โดยสายได้สูงสุด 40คน ชิ้นส่วนประกอบของเฮลิคอปเตอร์ร้อยละ99 ถูกสร้างในรัสเซีย
เฮลิคอปเตอร์ Mi-38 ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ TV7-117V ประสิทธิภาพสูงที่ผลิตโดย Klimov United Engine-Making Corporation รัสเซีย ฮ.บูรณาการด้วยระบบนำร่องนักบิน digital ที่แสดงผลข้อมูลในจอแสดงผล crystal เหลว 5จอ
และระบบป้องกันเชื่อเพลิงจากการระเบิด เสริมด้วยฐานล้อลงจอดแบบเสาค้ำทำให้ ฮ.สามารถลงจอดบนพื้นดินอ่อนหรือบนหิมะได้ ห้องบรรทุกภายใน ฮ.ติดตั้งด้วยที่นั่งแบบถอดออกได้ง่าย, อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ถอดออกได้ และอุปกรณ์แผ่นเลื่อนที่พื้นสำหรับการลำเลียงขนส่งสัมภาระ

ฮ.Mi-38 สามารถใช้ในภารกิจขนส่งสัมภาระหรือผู้โดยสาร, ดำเนินปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย และสร้างเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนส่งบุคคลสำคัญ VIP ในทุกสภาพภูมิอากาศต่างๆทั้งทะเล, เขตร้อนชื้น และอากาศหนาวเย็น
เฮลิคอปเตอร์รุ่นใช่งานพิเศษที่รวมรุ่นใช้งานในเขตขั้วโลกเหนือ Arctic กำลังมีแผนที่จะได้รับการผลิตโดยใช้พื้นฐานจากรุ่นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางทหาร Mi-38T ครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เซอร์เบียรับมอบเฮลิคอปเตอร์ H145M เครื่องแรกจาก 9เครื่อง

Serbia receives first out of nine H145Ms



The Serbian aircraft will be equipped with a fast roping system, high-performance camera, fire support equipment, ballistic protection as well as an electronic countermeasures system to support the most demanding operational requirements.
https://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2018/11/serbia-receives-first-out-of-nine-h145ms-.html


รัฐมนตรีกลาโหมเซอร์เบีย Aleksandar Vulin ได้เยี่ยมโรงงานอากาศยาน Airbus Helicopters Donauwörth เยอรมนี เพื่อรับมอบเฮลิคอปเตอร์ H145M เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศเซอร์เบีย(Serbian Air Force)
ในเดือนธันวาคม 2018 เฮลิคอปเตอร์ H145M จำนวน 2เครื่องจะถูกส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทยเซอร์เบียจากทั้งหมด 5เครื่อง โดยเซอร์เบียจะได้รับมอบ ฮ.H145M ที่สั่งจัดหารวมทั้งหมด 9เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/airbus-helicopters-h145m.html)
โดย ฮ.H145M สำหรับกองทัพอากาศเซอร์เบีย 4เครื่องนั้นจะได้รับการติดตั้งระบบบริหารจัดการอาวุธ HForce(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/airbus-h145m-hforce.html)

"เราประเมินการนำไปใช้ของสัญญาตามตัวอย่างของความสำเร็จในความร่วมมือและการประกอบธุรกิจในเชิงบวก ทุกกิจกรรมจนถึงตอนนี้ได้รับการดำเนินการภายในเส้นตายที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว และเราคาดว่ากิจกรรรมต่างๆในอนาคตจะถูกนำไปใช้ในทางเช่นเดียวกันนี้
เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่ากิจการของความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมที่คลอบคลุมในสัญญากำลังได้รับการดำเนินการตามกรอมระยะเวลาที่วางแผนไว้" รัฐมนตรีกลาโหมเซอร์เบีย Aleksandar Vulin กล่าว

"ผมอยากจะขอบคุณรัฐบาลเซอร์เบียและโดยส่วนตัวต่อรัฐมนตรีกลาโหมเซอร์เบีย Vulin สำหรับความเชื่อถือของพวกเขาในการเป็นสมาชิกล่าสุดของ ฮ.ตระกูล H145 เรา และสำหรับความร่วมมือที่ราบลื่นตั้งแต่การเจรจาเริ่มต้นในปี 2016
เราเห็นโอกาสความเป็นได้อีกเป็นจำนวนมากสำหรับ H145M ในยุโรปและที่อื่นๆ" Wolfgang Schoder ผู้อำนวยการบริหารของบริษัท Airbus Helicopters Germany กล่าว

สัญญาระหว่างบริษัท Airbus Helicopters และเซอร์เบียได้มองล่วงหน้าถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี, ชิ้นส่วนอะไหล่, เครื่องมือ และเอกสารสำหรับการปรนนิบัติและซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์
Airbus Helicopters จะยังรับรองโรงงานอากาศยาน Moma Stanojlovic เซอร์เบียให้เป็นศูนย์สำหรับซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ Gazelle และจะรวมอยู่ในเครือข่ายโรงงานยกเครื่องของบริษัท
Airbus จะยังสนับสนุนโรงงานผลิตและสถาบันวิจัยและพัฒนาของเซอร์เบียเพื่อให้มีความเกี่ยวข้องในด้านคุณภาพและการรับรองเพื่อให้กลายเป็นผู้จัดส่งของบริษัทได้ต่อไป

ฮ.H145M มีชุดอุปกรณ์หลายรูปแบบที่สามารถเลือกติดตั้งหรือถอดออกได้ตามความต้องการภารกิจ ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 3.7tons H145M สามารถูกใช้งานได้หลากหลายแบบ รวมถึงการขนส่งกำลังพล, ธุรการ, ตรวจการณ์, กู้ภัยทางอากาศ, ลาดตระเวนติดอาวุธ และส่งกลับทางสายแพทย์
เฮลิคอปเตอร์ H145M ของเซอร์เบียจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งระบบเชือกโรยตัว, กล้องสมรรถนะสูง, อุปกรณ์ยิงสนับสนุน, เกราะกันกระสุน เช่นเดียวกับระบบมาตรการต่อต้าน Electronic เพื่อสนับสนุนความต้องการการปฏิบัติการส่วนใหญ่
ระบบ HForce ที่ถูกพัฒนาโดย Airbus Helicopters จะทำให้เซอร์เบียจะสามารถติดตั้งและปฏิบัติการเครื่องของตนด้วยชุดระบบอาวุธจำนวนมาก ทั้งปืนกลอากาศและอาวุธอากาศสู่พื้นและอากาศสู่อากาศได้

H145M เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบาที่ได้รับการทดลองและทดสอบแล้ว ที่ส่งมอบให้กองทัพเยอรมนีเป็นครั้งแรกในปี 2015 และมีกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) เป็นลูกค้าส่งออกรายแรกที่ได้รับมอบในปี 2016(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/h145m.html)
และยังได้รับการสั่งจัดหาจากฮังการี และลักเซมเบิร์ก ความสมบูรณ์ของโครงการทำให้ Airbus Helicopters สามารถดำเนินการตามการสั่งจัดหาและราคาแก่ลูกค้าได้ตามกำหนดการ โดยความพร้อมปฏิบัติภารกิจของ ฮ.H145M อยู่ที่มากกว่าร้อยละ95

ด้วยเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Safran Arriel 2E สองเครื่อง H145M ติดตั้งระบบควบคุมเครื่องยนต์แบบ Digital(FADEC: Full Authority Digital Engine Control) และชุดระบบ Digital Avionic แบบ Helionix
รวมถึงระบบนักบินอัตโนมัติ 4แกนสมรรถนะสูง เพิ่มความปลอดภัยและลดภาระของนักบิน H145M มีระดับการสร้างเสียงจากเครื่องที่ต่ำทำให้เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่เงียบมากที่สุดในกลุ่ม ฮ.ระดับเดียวกันครับ

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ฝรั่งเศสและเยอรมนีเห็นชอบการศึกษาออกแบบเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต

France and Germany agree next-gen fighter design studies
The Airbus Next-Generation Fighter concept shown in Berlin in November. Along with concepts from Dassault, this design will help inform the development of demonstrator platforms for the future France–Germany combat aircraft.
Source: Airbus via IHS Markit/Gareth Jennings
https://www.janes.com/article/84738/france-and-germany-agree-next-gen-fighter-design-studies

ฝรั่งเศสและเยอรมนีได้เห็นชอบที่จะเดินหน้าการพัฒนาอากาศยานรบยุคหน้า โดยมีการประกาศเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2018 ว่าทั้งสองประเทศกำลังเริ่มการศึกษาออกแบบเครื่องบินต้นแบบสาธิตในปีหน้า
การประกาศดังกล่าวถูกเผยแพร่ทาง Twitter โดยรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส Florence Parly ที่กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวนี้เธอได้ลงนามในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมาร่วมกับหุ้นส่วนเยอรมันของเธอ รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี Ursula von der Leyen
เพื่ออนุมัติโครงการอากาศยานรบยุคหน้าขณะนี้ได้เร่งขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะเริ่มการเครื่องบินและระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการของเครื่องบินต้นแบบสาธิตในปี 2019

"ในเดือนมิถุนายน ฝรั่งเศสและเยอรมนีตัดสินใจที่จะพัฒนาอากาศยานรบแห่งอนาคตร่วมกัน (การมี)ขั้นตอนที่เด็ดขาดในวันนี้ด้วยข้อตกลงเพื่อเริ่มการศึกษาสถาปัตยกรรมและการออกแบบและออกตัวสาธิต(อากาศยานและเครื่องยนต์) ในกลางปี 2019 มันกำลังเดินหน้า" นาง Parly กล่าวใน Twitter
ข้อตกลงในเดือนมิถุนายนตามมาให้หลังอีกสองเดือนที่โครงการได้รับการเดินหน้าอย่างเป็นทางการในงานแสดงการบินนานาชาติ ILA Berlin Air Show 2018 ที่เยอรมนี ในชื่อเครื่องบินขับไล่ใหม่(NF: New Fighter) หรือเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า(NGF: Next-Generation Fighter)
อากาศรบแบบมีคนขับจะถูกพัฒนานาขึ้นเพื่อปฏิบัติงานประสานงานร่วมกับ 'คู่บิน'(Wingmen) ที่เป็นอากาศยานไร้คนขับ(Unmanned) ในฐานะระบบอาวุธยุคหน้า(NGWS: Next-Generation Weapon System)

ระบบอาวุธยุคหน้า NGWS นี้จะถูกจัดรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของระบบอากาศยานรบยุคอนาคต(FCAS: Future Combat Air System หรือ SCAF: Système de Combat Aérien Futur) ที่มีระบบอากาศหลายรูปแบบ ที่จะประกอบด้วยเช่น
ระบบอากาศยานไร้คนขับควบคุมจากระยะไกลเพดานบินปานกลางระยะทำการนานยุโรป European MALE(Medium-Altitude Long-Endurance) RPAS(Remotely Piloted Aircraft System),
อากาศยานรบ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ถูกตรวจพบได้ต่ำมาก(Ultra-LO: Low Observable ), อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยุคอนาคต และระบบทางอากาศดั้งเดิมแบบอื่นที่จะปฏิบัติการในสนามรบยุคอนาคต

เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติแล้ว มีการตัดสินใจว่าฝรั่งเศสและบริษัท Dassault จะเป็นชาติผู้นำหลักในภาคส่วนเครื่องบินขับไล่ NF/NGF ร่วมกับเยอรมนีและบริษัท Airbus ที่รับหน้าที่ในระบบอากาศยานรบยุคอนาคต FCAS อื่นๆ
ตามข้อมูลจาก Reuters บริษัท Safran ฝรั่งเศสผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้ประกาศที่จะลงทุนเป็นหุ้นส่วนร่วมกับบริษัท MTU เยอรมนี เพื่อการพัฒนาเครื่องยนต์อากาศยาน ตามการพูดคุยในงานสัมมนาเครื่องบินขับไล่นานาชาติ IQPC International Fighter Conference ที่ Berlin ก่อนที่นาง Parly จะแถลง
เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมนีรวมถึงกองทัพสเปนซึ่งจะเข้าร่วมโครงการภายหลังในปีนี้ กล่าวว่าขณะนี้พวกตนกำลังดำเนินการศึกษาในระดับชาติของตนเอง และการศึกษาเหล่านี้จะถูกนำมารวมกันเป็นแนวทางเดียวในปีต่อๆไปที่จะมาถึงครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/blog-post_17.html)

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ไทยทดสอบรถหุ้มเกราะล้อยาง AMV-420P ปรับปรุงใหม่จาก HMV-420 ที่สร้างในประเทศ

Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was tested its  product "AMV-420P" (Armoured Fighting Vehicle-420 Panus) that Improved from All New Bulid 4x4 vehicle "HMV-420"(High Mobility Vehicle) by Royal Thai Armed Forces's feedback
AMV-420P (improved HMV-420) developed from HMV-150 the re-engineered and upgraded of US Cadillac Gage V-150 Commando 4x4.

ยานหุ้มเกราะล้อยาง 4X4 AFV-420P พัฒนาการใหม่ล่าสุดจาก บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ ฝีมือการออกแบบและสร้างโดยคนไทย

ทดสอบไต่ลาดชัน 60 %

บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ ได้เชิญกองทัพบก โดยมีผู้แทนจาก ขส.ทบ.และ สพ.ทบ. รับฟังข้อมูลและสังเกตการณ์ทดสอบคุณลักษณะของ AFV-420P

การเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่โคลน


ทดสอบลุยน้ำลึก

การเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ทราย

การเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ขรุขระ

การเคลื่อนที่ผ่านหินขนาดใหญ่

การเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ผิวลูกคลื่น

การเคลื่อนที่ผ่านแท่งคอนกรีตขวางถนน

การวิ่งในภูมิประเทศ โดยบรรทุกแท่งเหล็กหนัก 1.5 ตัน ไว้บนหลังคา (แทนน้ำหนักบรรทุกสูงสุด)

ข้ามเครื่องกีดขวางทางสูง

การใช้กว้านช่วยเหลือตัวเอง

ทดสอบระบบเบรก ที่ความเร็ว 30 กม.และ 50 กม./ชม.

AFV-420P ผ่านการทดสอบที่สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะกรมการขนส่งทหารบก ที่ จ. กาญจนบุรี เรียบร้อยแล้ว...ยินดีด้วยครับ

ยานรบหุ้มเกราะใหม่ล่าสุด AFV-420P “ Mosquito ” มิติใหม่ คนไทยสร้าง ! AFV-420P ( Armoured Fighting Vehicle-420 Panus ) ผลงานล่าสุด ณ ปัจจุบัน ของบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ 
โดยพัฒนามาจาก HMV-420 รุ่นบรรทุกทหารราบ ที่ได้ทำการทดสอบสมรรถนะและขีดความสามารถ ให้ทหารไทยชมเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งพนัสฯได้นำมาประเมินค่า และรับฟังความคิดเห็นแนะนำจากทหารไทย มาปรับปรุงแก้ไข จนได้ความสมบูรณ์แบบออกมาเป็น AFV-420P 
ยานรบหุ้มเกราะล้อยางแบบ 4X4 ที่เน้นให้เป็นรถรบหุ้มเกราะที่มีเกราะหนาเป็นพิเศษ และสามารถเพิ่มเกราะให้หนาขึ้น เพื่อป้องกันการโจมตีจากอาวุธปืนขนาด 12.7 มม. และระเบิดแสวงเครื่องได้เป็นอย่างดี 
ได้มีการเปลี่ยนชุดเพลาที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงเปลี่ยนยางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ตัวรถจึงมีความสูงขึ้นอีกเล็กน้อย ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการปีนป่ายและข้ามเครื่องกีดขวางได้ดีกว่าเก่า 
จุดมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือเน้นเป็นรถติดอาวุธ เพื่อเพิ่มอำนาจการโจมตี สามารถปฎิบัติการควบคู่ไปกับรถถังได้ โดยมีแผนติดตั้งป้อมปืนอัตโนมัติ ขนาด 12.7 มม. ควบกับปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62 มม. และท่อยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง (สามารถติดปืนได้ตั้งแต่ขนาด 7.62 มม. ไปจนถึง 90 มม.) นอกจากนี้ยังได้ใช้ Platform ของ AFV-420P เพื่อสร้างรถรุ่นอื่นๆให้ใช้งานได้หลากหลาย เช่น รถบรรทุกทหารราบ, รถตรวจการณ์หน้า, รถลาดตระเวน, รถติดตั้งเรดาร์, รถสื่อสาร/บังคับการ, รถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด, รถป้องกันสนามบิน และรถสำหรับหน่วยรบพิเศษ เป็นต้น 
ซึ่งพนัส ฯ สามารถทำได้ทุกรูปแบบ แล้วแต่ตามความต้องการของผู้ใช้... 
AFV-420P มีน้ำหนักเปล่า 15.84 ตัน น้ำหนักบรรทุก 1.5 ตัน ตัวรถยาว 6.72 ม. กว้าง 2.86 ม. สูง 2.98 ม. ระยะสูงพ้นพื้นต่ำสุดใต้ท้องรถ 0.61 ม. ลุยน้ำลึก 1.5 ม. มีความเร็วสูงสุดบนถนน 110 กม./ชม. 
จุดเด่นของ AFV 420P ก็คือมีเสียงเงียบมาก และมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่สูง มีวงเลี้ยวที่แคบเมื่อเลี้ยวแบบ 4 ล้อ ... 
AFV-420P “ Mosquito ” ได้ผ่านการทดสอบสมรรถนะและขีดความสามารถ รวม 15 สถานี ที่สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะกรมการขนส่งทหารบก ที่ จ. กาญจนบุรี เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 
ทำให้มั่นใจว่ามันจะใช้งานทางทหารได้เป็นอย่างดี ตามมาตรฐานของกองทัพไทย นอกจากนี้แล้ว พนัส ฯ ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตส่งขายในต่างประเทศอีกด้วยในอนาคต พนัส ฯยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรและพัฒนาเทคโนโลยีของยานเกราะล้อยางต่อไปอย่างต่อเนื่อง…
Story/Photo by Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1462255793877527

รถหุ้มเกราะล้อยาง AMV-420P ของบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย เป็นรถรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงจากรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-420 4x4 ตามการประเมินค่าและความเห็นคำแนะนำจากกองทัพไทย
โดยรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-420 เป็นงเป็นรถที่ทำการสร้างขึ้นมาใหม่หมดทั้งคันที่เปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/hmv-420.html)
ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนาปรับปรุงจากรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 4x4 ที่บริษัทพนัสเปิดตัวในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่เป็นการปรับปรุงทางวิศกรรมใหม่จากรถหุ้มเกราะล้อยาง Cadillac Gage V-150 Commando 4x4 สหรัฐฯเดิม

บริษัทพนัส ได้มอบรถเกราะล้อยาง HMV-150 ต้นแบบให้นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย(Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy) ไปทดลองใช้งานที่ชายแดนภาคใต้มาแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)
ปัจจุบันรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) มีประจำการอยู่ในกองพันทหารม้าลาดตระเวน(ล้อยาง) ในรุ่นลำเลียงพลติดปืนกล MG3 7.62mm รุ่นติดเครื่องยิงลูกระเบิด ค.81mm และติดป้อมปืนใหญ่รถถัง Cockerill 90mm
และ V-150 รุ่นติดM2 .50cal+MG3 ของนาวิกโยธินไทย ใน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน, อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force Security Forces) และตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Border Patrol Police, Royal Thai Police)

บริษัทพนัส ไทยได้ลงแรงในการสร้างรถด้วยทุนของตนเอง โดยเมื่อมีการนำรถไปทดสอบสมรรถนะให้เหล่าทัพต่างๆของกองทัพไทย ก็ได้นำข้อดี-ข้อเสียและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ให้ผลิตภัณฑ์ของตนตรงความต้องการต่อไป
ซึ่งขั้นตอนเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้กับระบบออกแบบพัฒนาภายในประเทศ ต่างจากระบบต่างประเทศที่บริษัทเจ้าของระบบไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานปลายทางแก้ไขปรับแต่งใดๆได้มากนัก หรือแม้แต่ระบบที่ซื้่อสิทธิบัตรการผลิตพร้อมการถ่ายทอด Technology ก็อาจทำได้แบบมีเงื่อนไขจำกัดและใช้เวลานาน
ข้อดีหนึ่งของระบบที่มีการพัฒนาสร้างในไทยคือสามารถออกแบบให้ตรงกำหนดความต้องการใช้งานจริงของทหารไทยได้มากที่สุด แต่ก็มีข้อเสียเช่นที่เห็นได้จากต่างประเทศที่มีวิทยาการก้าวหน้ากว่าไทยเรามาก เช่น ญี่ปุ่น หรื่อเกาหลีใต้คืออาจจะใช้เวลาพัฒนานานและมีราคาโดยรวมที่แพงกว่าครับ