วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กองทัพเรือเยอรมนีสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล NH90 Sea Tiger

Germany orders Sea Tiger helicopters for Deutsche Marine












The Deutsche Marine is to receive 31 NHIndustries Sea Tiger helicopters, based on the NATO Frigate Helicopter variant of the NH90 pictured, to replace ageing Westland Mk 88A Sea Lynx anti-submarine warfare/anti-surface warfare helicopters from 2025. (Airbus)





เยอรมนีได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล NHIndustries(NHI) NH90 Sea Tiger ในฐานะการทดแทนสำหรับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ/ต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASW/ASuW: Anti-Submarine Warfare/Anti-Surface Warfare) แบบ Westland Mk 88A Sea Lynx

หัวหน้าผู้ถือหุ้นในบริษัทกลุ่มร่วมทุน NHI ของบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปได้ยืนยันการสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล NH90 Sea Tiger จำนวน 31เครื่องสำหรับกองทัพเรือเยอรมนี(German Navy, DM: Deutsche Marine) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2020
หนึ่งวันหลังจากที่การจัดซื้อจัดจ้างได้ถูกรวมอยู่ในหลายหลากการอนุมัติของกระทรวงกลาโหมเยอรมนีที่ประกาศโดยคณะกรรมาธิการงบประมาณของรัฐสภาแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี(Bundestag)

"Nathalie Tarnaud-Laude ประธานของ NHI และ Giorgio Gomma ผู้จัดการทั่วไปของสำนักงานบริหารจัดการเฮลิคอปเตอร์ NATO(NAHEMA: NATO Helicopter Management Agency) 
ในนามของสำนักงานยุทโธปกรณ์, ข้อมูล, วิทยาการ และการสนับสนุนระหว่างประจำการกองทัพสหพันธรัฐเยอรมนี(BAAINBw) ได้ลงนามสัญญา(ที่จะ)ทดแทนฝูงเฮลิคอปเตอร์ Sea Lynx Mk88A ของกองทัพเรือเยอรมนีซึ่งเข้าประจำการในปี 1981" Airbus Helicopters กล่าว

Airbus Helicopters เสริมว่าการส่งมอบจะเริ่มต้นในปี 2025 ข่าวการสั่งจัดหามีขึ้นตามมาราว 15เดือนหลังกองทัพเรือเยอรมนีเลือกเฮลิคอปเตอร์ NHI NH90 Sea Tiger ในฐานะการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ Sea Lynx ของตน โดยได้เอาชนะคู่แข่งขันคือ 
บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯที่เสนอเฮลิคอปเตอร์ MH-60R Seahawk และบริษัท Leonardo สหราชอาณาจักร-อิตาลีที่เสนอเฮลิคอปเตอร์ AgustaWestland AW159 Wildcat(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/lockheed-martin-rheinmetall-seahawk-sea.html)

ควบคู่ไปกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล NHI NH90 Sea Lion ที่กองทัพเรือเยอรมนีกำลังจัดซื้อเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Westland Mk 41 Sea King
ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search-and-Rescue), การตรวจการณ์ทางทะเล, การส่งกำลังบำรุงทางดิ่ง(vertical replenishment) และการลำเลียง เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล NH90 Sea Lion จำนวน 18เครื่องได้รับการสั่งจัดแล้ว โดยมี 7เครื่องที่ได้รับมอบแล้ว 

เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ/ต่อต้านเรือผิวน้ำ NHI NH90 Sea Tiger เป็นรุ่นเฉพาะสำหรับเยอรมนีของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลประจำเรือฟริเกต NHIndustries NH90 NATO Frigate Helicopter(NFH)
ขณะที่รุ่นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางยุทธวิธี NHI NH90 TTH(Tactical Transport Helicopter) นั้นได้รับการจัดหาโดยกองทัพบกเยอรมนี(German Army, Heer) ก่อนหน้าแล้วรวมราว 82เครื่องครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อังกฤษรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ที่ผ่านการสร้างใหม่เครื่องแรก

UK receives first remanufactured AH-64E Apache helos







The first two of 50 remanufactured AH-64E Apache helicopters for the British Army were delivered into the UK on 26 November. (Crown Copyright )



สหราชอาณาจักรได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Leonardo Boeing WAH-64D Apache Longbow AH1 ชุดแรกจาก 50เครื่องของตนที่ถูกนำมาสร้างใหม่เป็นมาตรฐานเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian รุ่นใหม่ล่าสุด
กองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) ประกาศว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache สองเครื่องแรกได้ถูกส่งมอบมาถึงสถานีการบิน Wattisham ใน Suffolk เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/apache-ah-64e-50.html)

"การมาถึงของเฮลิคอปเตอร์โจมตีรุ่น Apache E จะถูกส่งมอบให้แก่กองทัพบกสหราชอาณาจักรในช่วงอีกสองปีข้างหน้าเป็นเครื่องหมายการเริ่มต้นของการยกระดับขีดความสามารถที่สำคัญ
เพื่อเพิ่มขยายการสนับสนุนของกองทัพบกสหรราชอาณาจักรก้าวข้ามหลากหลายขอบเขตของปฏิบัติการทางทหาร" พลตรี Jez Bennett ผู้อำนวยการด้านขีดความสามารถได้ถูกอ้างการกล่าวคำพูด

แม้ว่ารายละเอียดที่ชัดเจนของขั้นตอนการนำมาผลิตใหม่สำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache สหราชอาณาจักรไม่ได้รับการเปิดเผย เป็นที่เข้าใจว่าจะรวมระบบต่างๆที่มีอยู่(ไม่รวมถึงเครื่องยนต์)จำนวนมาก
ที่ได้รับการเปลี่ยนย้ายข้าม(cross-decked) จากโครงสร้างอากาศยานเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache Longbow เก่ามายังเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache Guardian ใหม่

สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ได้เผยแพร่เอกสารแจ้งเตือนในเดือนสิงหาคม 2015(https://aagth1.blogspot.com/2015/08/apache-ah-64e-guardian.html) ระบุชื่อ
ระบบกล้องเล็งตรวจจับและชี้เป้าหมายปรับปรุงความทันสมัยใหม่ AN/ASQ-170 Modernized Target Acquisition and Designation Sight(M-TADS), ระบบตรวจจับกล้องมองกลางคืนนักบินปรับปรุงความทันสมัยใหม่ AN/AAR-11 Modernized Pilot Night Vision Sensor(PNVS) 

และ Radar ควบคุมการยิงติดตั้งบนเสาใบพัดประธาน Northrop Grumman AN/APG-78 Fire-Control Radar(FCR) ระบบตรวจจับเหล่านี้อาจจะถูกเปลี่ยนย้ายระหว่างระบบเฮลิคอปเตอร์โจมตี WAH-64D และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E
ยังมีการกล่าวว่าเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ Rolls-Royce RTM 322 ของ ฮ.โจมตี WAH-64D เป็นไปได้มากที่น่าจะถูกแทนที่โดยเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ General Electric T-700-GE-701D มาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)

การเปลี่ยนย้ายข้ามโครงสร้างอากาศยานนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายจะถูกลดลงตามที่อุปกรณ์ราคาแพงจำนวนมากได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/boeing-apache-ah1-ah-64e-38.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/07/ah-64e-apache-guardian-50.html)
Apache AH1 มีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D Apache Longbow ที่ Boeing สหรัฐฯให้สิทธิบัตรการผลิตแก่บริษัท Westland Helicopters สหราชอาณาจักร(ต่อมาเป็น AgustaWestland ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Leonardo Helicopters อิตาลี-สหราชอาณาจักร) 67เครื่องครับ

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Naval Group ฝรั่งเศสเปิดสำนักงานใน Manila เพื่อผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำของฟิลิปปินส์

Naval Group opens Manila office in pursuit of submarine deal






Naval Group has opened a representative office in Manila to support its efforts to supply submarines (such as this Royal Malaysian Navy Scorpene-class platform) to the Philippine Navy. (Royal Malaysian Navy)



บริษัท Naval Group ฝรั่งเศสได้เปิดสำนักงานในนครหลวง Manila ฟิลิปปินส์ โดยมองที่จะหารือให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) ที่จะจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
Naval Group ฝรั่งเศสกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2020 ว่าการเปิดสำนักงานตัวแทน "แสดงถึงก้าวแรกของความมุ่งมั่นในระยะยาวของความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาขีดความสามารถทางเรือสำหรับฟิลิปปินส์"

Naval Group ฝรั่งเศสเสริมว่าตามที่สำนักงานใหม่ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์ไม่เพียงเฉพาะในการจัดหาเรือดำน้ำ แต่ยังเป็นในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและในห่วงโซ่อุปทาน เช่นเดียวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง
Naval Group เสริมว่าตนได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของตนที่จะสนับสนุน "การเติบโตด้านขีดความสามารถทางทหารและเศรษฐกิจ" ในกลุ่มประเทศในภูมิภาค(อินโด-แปซิฟิก)

และออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/dcns-2017.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/04/dcns.html) ซึ่ง Naval Group กำลังส่งมอบโครงการเรือดำน้ำหลักต่างๆในความเป็นหุ้นส่วนกับภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นในประเทศเหล่านั้น

Alain Guillou รองประธานบริหารอาวุโสด้านการพัฒนาของ Naval Group กล่าวว่า "เราเป็นเพียงผู้ส่งมอบรายเดียวด้วยประสบการณ์ก่อนหน้าในการช่วยการพัฒนากำลังเรือดำน้ำของประเทศจากแบบร่าง
และเรายืนยันความพร้อมไม่เพียงที่จะช่วยเหลือกองทัพเรือฟิลิปปินส์โดยการส่งมอบเรือดำน้ำแต่ยังจะจัดตั้งการฝึก, สิ่งอำนวยความสะดวก และห่วงโซ่อุปทานที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติงานกองเรือดำน้ำพร้อมปฏิบัติการเต็มรูปแบบ"

กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ระบุถึงการจัดหาเรือดำน้ำในฐานะโครงการที่มีลำดับความสำคัญระหว่างแผนการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพ ‘Horizon Two’  ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงปี 2022
โครงการจัดหาเรือดำน้ำของฟิลิปปินส์ซึ่งมีความต้องการขั้นต้น 2ลำ เดิมได้ถูกรวมอยู่ในแผน Horizon Three ระยะเวลาช่วงปี 2023-2027 แต่ได้ถูกเลื่อนให้เร็วขึ้นในปี 2018 เพื่อสะท้อนความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการรักษาความมั่นคงในอาณาเขตน่านน้ำของตนในทะเลจีนใต้

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มชาติ ASEAN บริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(DCNS เดิม) ได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกเรือดำน้ำแบบ Scorpene จำนวน 2แก่กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ในปี 2002
ประกอบด้วยเรือดำน้ำ KD Tunku Abdul Rahman และ KD Tun Abdul Razak  ที่สร้างโดยอู่เรือ DCNS(Naval Group ในปัจจุบัน)ฝรั่งเศส และบริษัท Navantia สเปน ตามลำดับ ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรือมาเลเซียเมื่อเดือนมกราคม 2009 และเดือนตุลาคม 2009 ตามลำดับ

เรือดำน้ำชั้น Perdana Menteri(Scorpene) มาเลเซีย ตัวเรือมีความยาว 67.56m กว้าง 6.2m กินน้ำลึก 5.4m มีพิสัยทำการที่ผิวน้ำไกลสุด 6,500nmi(12,038km) และมีพิสัยทำการเมื่อดำใต้น้ำใกล้สุด 550nmi
ระบบอาวุธท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm จำนวน 6ท่อยิงสำหรับ Torpedo หนักแบบ Black Shark 18นัด และสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำแบบ SM.39 Exocet ได้

ตัวเลือกแบบเรือดำน้ำที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์พิจารณายังรวมถึงเรือดำน้ำชั้น Project 636 Varshavyanka(NATO กำหนดรหัส Improved Kilo) รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/kilo_15.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/kilo.html)
และจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี เช่นเรือดำน้ำชั้น Nagapasa กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/nagapasa.html) ครับ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กองทัพเรือสหรัฐฯทดสอบอากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B Osprey บนเรือบรรทุกเครื่องบินครั้งแรก

CMV-22B comes on board CVN for the first time







A CMV-22B from VRM 30 comes into land on USS Carl Vinson (CVN 70) for the first time on 20 November. (US Navy)



กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้เสร็จสิ้นการบินลงจอดและบินขึ้นครั้งแรกของอากาศยานรับส่งประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน(COD: Carrier Onboard Delivery) ใหม่ของตน อากาศยานใบพัดกระดก Bell-Boeing CMV-22B Osprey
อากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B จากฝูงบินส่งกำลังบำรุงกองเรือพหุภารกิจ VRM-30(Fleet Logistics Multi-Mission Squadron) ได้ลงจอดบนดาดฟ้าบินของเรือบรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Nimitz คือ CVN-70 USS Carl Vinson เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2020

เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-70 USS Carl Vinson กำลังเดินเรือในมหาสมุทรแปซิฟิด ณ เวลานี้ อากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B เครื่องที่สองได้ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vinson เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2020
CMV-22B ได้กลายเป็นอากาศยานรุ่นแรกในตระกูลอากาศยานใบพัดกระดก Bell-Boeing V-22 Osprey ที่ทำการเติมเชื้อเพลิงใหม่บนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบิน

CMV-22B Osprey กำลังได้รับการผลิตเพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด C-2A Greyhound ในภารกิจอากาศยานรับส่งประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน
แนวทางการจัดหาใช้พื้นฐานของการนำอากาศยานใบพัดกระดก MV-22B Block C มาใช้ใหม่ โดยได้รับการดัดแปลงเพื่อบูรณาการระบบย่อยเฉพาะ/ความต้องการของกองทัพเรือสหรัฐฯหลายชุด

ขีดความสามารถด้านการเพิ่มขยายพิสัยปฏิบัติการด้วยถังเชื้อเพลิงเสริมภายนอก(external CFT: Conformal Fuel Tank) ด้านหลัง/ด้านหน้า ในปีกและส่วนยื่นขยาย sponson ทั้งสองข้างของตัวเครื่อง,
ระบบประกาศเสียงบนอากาศยาน(public address system) สำหรับใช้ขณะกำลังขนส่งผู้โดยสาร, ขีดความสามารถการทิ้งเชื้อเพลิง, ระบบแสงสว่างในห้องบรรทุกและประตูบรรจุท้ายเครื่อง และระบบสื่อสารนอกระยะสายตาเข้ารหัสด้วยวิทยุความถี่สูง HF

การผลักดันหลักสำหรับการจัดหา CMV-22B คือภารกิจการขนส่งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Pratt & Whitney F135 ที่ใช้กับเครื่องบินขับไล่ F-35B ของนาวิกโยธินสหรัฐ(USMC: US Marines Corps) และเครื่องบินขับไล่ F-35C ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
โดยตรงจากฐานชายฝั่งมายังดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน การที่สามารถนำชุดบรรจุเครื่องยนต์ F135 เข้าไปภายในเครื่องได้มีความสำคัญเพราะว่า CMV-22B มีขีดความสามารถที่จะบรรทุกสัมภาระภายในโดยมีพิสัยปฏิบัติการบินเพิ่มขยายที่ไกลถึง 1,000nmi

นอกเหนือจากนี้อากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B Osprey จะสามารถทำมีการรับส่งบนเรือยกพลขึ้นบก(เช่นเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD: Landing Platform Dock และเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม Amphibious Assault Ship) ได้เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน
การปฏิบัติการลงจอดและบินขึ้นจากดาดฟ้าบินเรือบรทุกเครื่องบินของ CMV-22B เป็นหลักก้าวย่างที่สำคัญหลังจากที่ได้มีการประกาศถึงการทำการบินครั้งแรกของเครื่องในเดือนมกราคม 2020 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/cmv-22b-osprey.html)

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ไต้หวันเริ่มการสร้างเรือดำน้ำลำแรกของตนในประเทศ

Taiwan begins construction of first indigenous submarine



On 24 November Taiwan marked the start of construction of its first indigenous submarine in a ceremony held at the southern port city of Kaohsiung. (Taiwanese MND, Reuters)



ไต้หวันได้เริ่มต้นการสร้างอย่างเป็นทางการของเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ที่ออกแบบและพัฒนาด้วยตนเองลำแรกจากแผนทั้งหมด 8ลำสำหรับกองทัพเรือไต้หวัน(RoCN: Republic of China Navy)
ตามที่ไต้หวันซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะตั้งเป้าที่จะเพิ่มขยายขีดความสามารถทางกลาโหมของตนท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นกับจีนแผ่นดินใหญ่(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/2020.html)

ระหว่างพิธีในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2020 ณ เมืองท่าทางตอนใต้ของ Kaohsiung ประธานาธิบดีไต้หวัน นาง Tsai Ing-wen อ้างอิงถึงการเริ่มต้นโครงการสร้างเรือดำน้ำ
ในฐานะ "หลักก้าวย่าง" สำหรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไต้หวัน โดยย้ำว่านี่ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเกาะไต้หวันที่จะ "ปกป้องอธิปไตยของตน"

"เรือดำน้ำเป็นยุทโธปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาขีดความสามารถด้านสงครามอสมมาตรของกองทัพเรือไต้หวัน และเพื่อป้องปรามเรือข้าศึกจากการปิดล้อมไต้หวัน" คำกล่าวของประธานาธิบดีไต้หวัน Tsai ถูกรายงานโดยสำนักข่าว Reuters
บริษัท CSBC Corporation(เดิมคือ China Shipbuilding Corporation) เป็นผู้สร้างเรือรายใหญ่ที่สุดของไต้หวัน จะสร้างเรือดำน้ำ ณ สถานที่ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะใน Kaohsiung ที่เพิ่งจะเริ่มเปิดดำเนินงานเมื่อเร็วๆนี้

ตามข้อมูลจาก CSBC Corporation ไต้หวันซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่บางส่วนถูกถือครองโดยรัฐบาลไต้หวัน  เรือดำน้ำลำแรกมีกำหนดจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่สามของปี 2024 โดยมีกำหนดการทดลองเรือในทะเลและการเข้าประจำการในปี 2025
เรือดำน้ำที่ไต้หวันออกแบบและพัฒนาเองจะถูกสร้างภายใต้โครงการเรือดำน้ำกลาโหมภายในประเทศ(Indigenous Defence Submarine Programme) ที่ยังเป็นที่รู้จักในชื่อโครงการเรือดำน้ำ Hai Ch’ang

ตามที่ Janes รายงาน บริษัท CSBC Corporation ไต้หวันและหุ้นส่วนการพัฒนาของตนสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Chung-Shan(NCSIST: National Chung-Shan Institute of Science and Technology) ไต้หวัน
ได้รับการประกาศสัญญาในปี 2017 เพื่อออกแบบและสร้างเรือดำน้ำ โครงการได้รับการสนับสนุนโดยศูนย์พัฒนาเรือดำน้ำที่ CSBC ไต้หวันเปิดตัวในปี 2016

ปัจจุบันกองทัพเรือไต้หวันมีประจำการด้วยเรือดำน้ำชั้น Hai Shih สองลำสำหรับการฝึกซึ่งเป็นเรือดำน้ำชั้น GUPPY II ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง(เรือดำน้ำชั้น Tench) และเป็นเรือดำน้ำตามแบบที่เก่าที่สุดยังประจำการในปัจจุบัน
และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Chien Lung(เรือดำน้ำชั้น Zwaardvis) สองลำที่จัดหาจากเนเธอร์แลนด์ในปี 1987-1988 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานจำเป็นต้องมีการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ทดแทน ตามที่ไม่มีผู้ผลิตเรือดำน้ำนานาชาติรายใดกล้าขายเรือดำน้ำให้ไต้หวันเนื่องจากแรงกดดันจากจีนครับ

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กองทัพเรือไทยจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับ RQ-21 Blackjack สหรัฐฯ


Royal Thai Navy tour MCBH
Royal Thai Navy checked out the RQ-21 Blackjack assigned to Marine Unmanned Aerial Vehicle Squadron 3 (VMU-3) during their visit to Marine Corps Base Hawaii, August 16, 2019. 
The Kingdom of Thailand and the United States have a long history of military partnership and are committed to working together in support of peace and security in the region. (U.S. Marine Corps photo by Lance Cpl. Jacob Wilson)

Thailand is the first country in the Indo-Pacific to field the RQ-21 Blackjack Unmanned Aerial System.  
These highly trained Royal Thai Navy sailors completed a selective screening process, including rigorous English language testing, and will travel to the U.S. to attend training for the next 5 months to become the first RQ-21 Blackjack crewmembers for Thailand. https://www.facebook.com/JUSMAGTHAILAND/posts/2427010747605093





บัญชี Facebook ทางการของ JUSMAGTHAI(Joint United States Military Advisory Group Thailand) คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯประจำประเทศไทย ได้เผยแพร่การประกาศเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ว่า
กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) จะเป็นผู้ใช้งานรายแรกในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aerial System) แบบ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack
ตามที่กองทัพเรือไทยได้มีการคัดเลือกกำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนชุดแรกที่จะเดินทางไปทำการฝึกการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับ RQ-21 Blackjack ที่สหรัฐฯเป็นเวลา ๕เดือนข้างหน้า

การประกาศดังกล่าวน่าจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงว่ากองทัพเรือไทยได้เป็นลูกค้ารายแรกในกลุ่มชาติ ASEAN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีขนาดเล็ก(STUAS: Small Tactical Unmanned Air System) แบบ RQ-21 Blackjack สหรัฐฯ
และเป็นอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Air Vehicle) แบบล่าสุดที่กองทัพเรือไทยจัดหาต่อจากระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีขนาดเล็ก Orbiter 3B จากบริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html)
กับอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน(rotary-wing UAV) ขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL: Vertical Take-Off and Landing) แบบ Camcopter S-100 จากบริษัท Schiebel ออสเตรีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/schiebel-camcopter-s-100.html)

ขณะที่ระบบอากาศยานไร้คนขับ Orbiter 3B UAV ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (104 Air Squadron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet) ซึ่งได้ถูกนำมาใช้งานจริง เช่น การตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมายแล้ว
ระบบอากาศยานไร้คนขับ Camcopter S-100 UAV น่าจะถูกนำเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๓ นี้แล้ว โดยจะวางกำลังที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงบนกองเรือฟริเกตของกองทัพเรือไทย
RQ-21 Blackjack UAV ทำการส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยรางดีดเช่นเดียวกับ Orbiter 3B UAV แต่ใช้ระบบรับกลับลงจอดด้วยเครนยกติดตะขอกลางอากาศ ทำให้สามารถใช้ปฏิบัติการบนเรือผิวน้ำที่มีดาดฟ้ากว้างพอได้มากกว่า Orbiter 3 ที่ลงจอดด้วยการกางร่มชูชีพที่ไม่เหมาะจะใช้กลางทะเล

ตามข้อมูลจาก Boeing Insitu ผู้ผลิตในเครือบริษัท Boeing สหรัฐฯ อากาศยานไร้คนขับ RQ-21 Blackjack มีความยาว 2.5m ปีกกว้าง 4.9m น้ำหนักเครื่องเปล่า 37kg น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 61kg 
ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัดสองกลีบแบบลูกสูบ EFI กำลัง 8hp ทำความเร็วได้สูงสุด 90 knots ความเร็วเดินทางที่ 55 knots พิสัยทำการไกล 50nmi ระยะเวลาทำการนาน 16ชั่วโมง และมีเพดานบินสูงสุดที่ 19,500ft. (5,900m)
นอกจากผู้ใช้งานหลักคือกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) และนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) RQ-21 Blackjack UAV มีรายงานว่าถูกส่งออกให้กับเนเธอร์แลนด์และโปแลนด์ รวมถึงประเทศในตะวันออกกลางที่ไม่เปิดเผยครับ

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สวิตเซอร์แลนด์รับข้อเสนอที่สองสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ Air2030

Update: Switzerland receives second offers for Air2030 fighter and GBAD

Armasuisse received the second set of proposals for Switzerland's Air2030 NKF to replace the Swiss Air Force's F-5E/F Tiger II and F/A-18C/D Hornet (pictured) fleets and Bodluv GR GBAD system on 18 November. (Janes/Patrick Allen)




The offers were made by Germany for Airbus Eurofighter (pictured), France for Dassault Rafale, and the US for Boeing F/A-18E/F Super Hornet and Lockheed Martin F-35A Lightning II.

Armasuisse สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมของสใสพันธรัฐสวิสได้ประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2020 ว่าตนได้รับข้อเสนอชุดที่สองจากประเทศต่างๆสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ Air2030(NKF: Neues Kampfflugzeug, New Fighter Aircraft)
และระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน(GBAD: Ground-Based Air Defence, Bodluv GR) แล้ว กระทรวงกลาโหม, การปกป้องพลเรือน และกีฬาสวิตเซอร์แลนด์(DDPS) ประกาศในวันเดียวกัน

ข้อเสนอที่จะทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C/D Hornet กองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์(Swiss Air Force) มีขึ้นจากสามประเทศคือ
เยอรมนีสำหรับเครื่องบินขับไล่ Airbus Eurofighter Typhoon, ฝรั่งเศสสำหรับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale และสหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF)

กระทรวงกลาโหม, การปกป้องพลเรือน และกีฬาสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่าข้อเสนอได้รวมราคาสำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน 36เครื่อง และ 40เครื่อง รวมถึงการส่งกำลังบำรุงและอาวุธ ในฐานะจุดเริ่มต้นการผูกพันสำหรับการเจรจากับข้อเสนอที่ชนะหลังการคัดเลือกแบบ
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2020 Armasuisse สวิตเซอร์แลนด์ยังได้รับชุดข้อเสนอที่สองสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินเพิ่มขยายพิสัยยิงใหม่จากฝรั่งเศสสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Eurosam SAMP/T และจากสหรัฐฯสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Raytheon Patriot

กระทรวงกลาโหม, การปกป้องพลเรือน และกีฬาสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่าข้อเสนอรวมราคาสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินเพิ่มขยายพิสัยยิงที่มีที่มีขีดความสามารถครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย 15,000 square km 
และพิสัยการยิงไกลถึง 50km ที่ระยะยิงที่เพดานบินสูงประมาณ 40,000ft. รวมถึงการส่งกำลังบำรุงและอาวุธ และการทำหน้าที่อีกครั้งในฐานะจุดเริ่มต้นการผูกพันสำหรับการเจรจากับข้อเสนอที่ชนะหลังการคัดเลือกระบบ

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2020 สวิตเซอร์แลนด์ได้ผ่านการออกเสียงลงคะแนนอย่างหวุดหวิดเพื่อจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในการลงประชามติระดับชาติ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/air2030.html)
ด้วยจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิที่เกี่ยวข้องสูงเกือบจะร้อยละ60 ผู้มีสิทธิลงประชามติที่ออกเสียงให้ผ่านสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ Air2030 วงเงินหลายพันล้าน 6 billion Swiss Franc($6.49 billion) อยู่ที่เพียงร้อยละ50.1

ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน 2020 สหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F/A-18E Super Hornet จำนวน 36เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18F Super Hornet จำนวน 4เครื่อง รวมทั้งหมด 40เครื่องวงเงิน $7.45 billion
และเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take Off and Landing) จำนวน 40เครื่องวงเงิน 6.58 billion และระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MIM-104E Patriot PAC-3+ จำนวน 5ระบบวงเงิน $2.2 billionครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/f-35a-fa-18ef-patriot.html)

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Hanwha เกาหลีใต้แสดงแบบจำลองระบบอาวุธ Laser ภาคพื้นดิน

DX Korea 2020: Hanwha displays models of laser-based weapon systems



A model of Hanwha’s ‘Laser Based Anti-Aircraft Weapon Block-II’ system as displayed during the 18–20 November DX Korea 2020 defence exhibition in Goyang. (Dae Young Kim, bemil.chosun.com)





บริษัท Hanwha สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดแสดงแบบจำลองสามรูปแบบของระบบอาวุธ Laser ภาคพื้นดินในอนาคตสำหรับกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Armed Forces)
ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ DX Korea 2020 ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2020 ในศูนย์จัดแสดง Kintex ที่เมือง Goyang จังหวัด Gyeonggi ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19

ท่ามกลางแบบจำลองระบบอาวุธ Laser ซึ่งถูกจัดแสดงในงานคือ 'ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน Laser ภาคพื้นดิน Block-I'(Laser Based Anti-Aircraft Weapon Block-I) และ 'ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน Laser ภาคพื้นดิน Block-II'(Laser Based Anti-Aircraft Weapon Block-II)
ซึ่งระบบอาวุธ Laser ทั้งสองแบบได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Hanwha ในความร่วมมือกับสำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) สาธารณรัฐเกาหลี

การพัฒนาของระบบอาวุธ Laser Block-I ซึ่งเริ่มต้นในเดือนกันยายน 2019 คาดว่าจะมีขีดความสามารถในการตรวจจับและติดตามอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก(Small UAV: Unmanned Aerial Vehicle) และกำจัดเป้าหมายเหล่านั้นในระยะใกล้(ได้ถึง 3km) โดยการใช้ Laser กำลัง 20 kW
การพัฒนาระบบแบบฐานยิงประจำที่มีกำหนดจะเสร็จสิ้นในปี ซึ่งหลังจากนั้นคาดว่าระบบจะถูกนำไปใช้งานโดยหน่วยป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army) เพื่อปกป้องสินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์

การพัฒนาของระบบอาวุธ Laser Block-II ที่ใช้ Laser กำลัง 30 kW ซึ่งมีกำหนดจะเสร็จสิ้นภายในปี 2030 จะถูกติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก โดยแบบจำลองที่จัดแสดงในงาน DX Korea 2020
ได้แสดงถึงการติดตั้งระบบอาวุธ Laser Block-II บนรถยนตร์บรรทุกแบบเดียวกับที่ใช้เป็นรถแคร่ฐานของระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง(MLRS: Multiple Launch Rocket System) แบบ K239 Chunmoo

แบบจำลองที่ถูกจัดแสดงในงาน DX Korea 2020 อีกแบบคือระบบอาวุธ Laser ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกทางยุทธวิธีขนาดเบา(Light Tactical Vehicle) แบบ 4x4
นอกจากการกำจัดอากาศยานไร้คนขับ UAV คาดว่าระบบอาวุธ Laser ยังจะสามารถนำมาใช้ในการกำจัดทุ่นระเบิด, ระเบิดแสวงเครื่อง(IED: Improvised Explosive Device) และวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดได้ด้วยครับ