วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เครื่องบินลำเลียง KC-390 เสร็จสิ้นการทดสอบการทิ้งร่มส่งทางอากาศ

Update: Embraer KC-390 concludes airdrop testing



An undated photo from Embraer’s KC-390 airdrop campaign. The company announced on 26 December 2019 that it ended its KC-390 airdrop testing. Source: Embraer
https://www.janes.com/article/93405/update-embraer-kc-390-concludes-airdrop-testing

เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ไอพ่น Embraer KC-390 Millennium ล่าสุดได้เสร็จสิ้นการทดสอบการทิ้งร่มส่งทางอากาศ บริษัท Embraer บราซิลประกาศเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2019
Embraer บราซิลได้ใช้ระบบส่งชุดบรรจุสัมภาระของตนสำหรับการส่งทางอากาศด้วยแรงโน้มถ่วง และการส่งทางอากาศด้วยความเร็วต่ำ สำหรับการส่งสัมภาระน้ำหนักบรรทุกมากทางอากาศออกจากเครื่อง ตามที่บริษัทแถลง

การทดสอบที่ดำเนินการโดยบริษัท Embraer โดยความร่วมมือกับกองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force, FAB: Força Aérea Brasileira) และกองทัพบกบราซิล(Brazilian Army, EB: Exército Brasileiro)
ได้มีขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม 2019 และเดือนพฤศจิกายน 2019 ณ สนามฝึก Yuma Proving Ground ของกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ในมลรัฐ Arizona โฆษกของ Embraer บราซิลกล่าวเมื่อ 27 ธันวาคม 2019

Embraer บราซิลได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของสนามฝึก Yuma ในสหรัฐฯสำหรับการทดสอบการทิ้งร่มของการสาธิตการส่งทางอากาศสัมภาระบรรทุกหนักทางอากาศและความแม่นยำสูง
Embraer กล่าวว่า ศูนย์ฝึก Yuma มีสิ่งอำนวยความสะดวก, สิ่งบรรทุกสำหรับการส่งืางอากาศหนัก, กำลังพลที่มีประสบการณ์, เครื่องมือ และอากาศดีเยี่ยมตลอดทั้งปี เพื่อทำให้การทดสอบพัฒนาและรับรองเกิดขึ้นได้

การรณรงค์การส่งทางอากาศเพิ่มเติมสองครั้งได้ดำเนินการในบราซิล ณ ฐานทัพอากาศ Campo Grande ใน Mato Grosso do Sul
การบรรลุผลความสำเร็จที่สำคัญของการรณรงค์ทดสอบรวมถึงการส่งทางอากาศของสัมภาระเดี่ยวที่สูงสุดโดยมีน้ำหนัก 19 metric tonnes เช่นเดียวกับการส่งสัมภาระสองชิ้นทางอากาศอย่างต่อเนื่องที่มีน้ำหนักรวมกัน 24 metric tonnes

ระหว่างการรณรงค์การส่งทางอากาศ เครื่องบินลำเลียง KC-390 ยังได้ทำการส่งอากาศอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยการทิ้งร่มสัมภาระถึงสี่ชิ้นในการบินผ่านเที่ยวเดียว
และการส่งทางอากาศโดยการทิ้งสัมภาระด้วยการใช้ร่มทิ้งสองคันขนาด 8.5m โดยที่ระบบนักบินกล Autopilot ทำงานอยู่

การส่งทางอากาศโดยการทิ้งร่มออกจากเครื่อง เมื่อร่มทิ้งออกจากตัวเครื่องและกางออกจะเป็นการดึงสัมภาระออกจากเครื่อง การส่งทางอากาศผ่านแรงโน้มถ่วงเมื่อเครื่องบินทำการยกตัวเครื่องเอียงขึ้นทำให้สัมภาระไหลออกจากท้ายเครื่อง
ระบบส่งชุดบรรทุกสัมภาระเป็นขั้นตอนที่ใช้บ่อยครั้งมากที่สุดสำหรับการส่งกำลังบำรุงทางอากาศด้วยความรวดเร็ว ทั้งนี้บริษัท Embraer ได้ส่งมอบ KC-390 เครื่องแรกให้กองทัพอากาศบราซิลเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2019 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/embraer-kc-390.html)

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ออสเตรียงดบินเครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 เหลือเพียงเครื่องบินขับไล่ Typhoon

Austria’s remaining Saab 105s grounded



While Austria's Saab 105s may have been grounded and have little service life left, fixing their cracking-bolt issue is going to be cheaper than policing Austria's airspace with only Eurofighters, according to AAF sources. Source: G Made
https://www.janes.com/article/93368/austria-s-remaining-saab-105s-grounded




เครื่องบินฝึกสองเครื่องยนต์ไอพ่น Saab 105Ö ที่ยังคงมีสภาพสมควรเดินอากาศ 12เครื่อง ที่ประจำการในกองทัพอากาศออสเตรีย(AAF: Austrian Air Force, Österreichische Luftstreitkräfte)
ได้ถูกงดบินภายหลังตรวจพบรอยร้าวในส่วนสลักเกลียวเชื่อมต่อด้านส่วนหางของเครื่องกับส่วนกลางโครงสร้างลำตัว

ข่าวได้รับการยืนยันกับ Jane's โดยเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศออสเตรียเมื่อวันที่ 10-12 ธันวาคม 2019 ในงานสัมมากำลังทางอากาศยุโรปตะวันออก Defence IQ Air Power Eastern Europe ที่ค่าย Salzburg Barracks ในออสเตรีย
เครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105Ö จำนวน 12เครื่องอันเก่าแก่จัดหาในปี 1970s ยังคงทำการบินจากจำนวน 40เครื่องที่ถูกจัดหาแต่เดิม รอยร้าวถูกพบใน 10เครื่องจากทั้งหมด

การแนะนำเพื่อตรวจสอบเครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 มาจากกองทัพอากาศสวีเดน(SwAF: Swedish Air Force, Svenska Flygvapnet) ซึ่งใช้เครื่องบินฝึกไอพ่น Sk 60 ที่เป็นแบบเดียวกัน
(Sk 60 ซึ่งเป็นการกำหนดแบบเครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 ในประจำการของสวีเดน มีเครื่องยนต์กำลังขับน้อยกว่าและมีห้องนักบินที่ทันสมัยกว่า Saab 105Ö ออสเตรีย)

นั่นทำให้ช่างอากาศยานออสเตรียพบรอยร้าวเพิ่มเติมในส่วนดังกล่าวที่กองทัพอากาศสวีเดนไม่ได้ให้ข้อสังเกต เครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 ในกองทัพอากาศออสเตรียทั้งหมดถูกงดบินตามมาภายหลัง
แหล่งข้อมูลในกองทัพอากาศออสเตรียกล่าวกับ Jane's ว่า แม้การหมดอายุการใช้งานสำหรับฝูงบินเครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 กำลังจะมาถึงในสิ้นปี 2020 กองทัพอากาศออสเตรียจะพยายามเปลี่ยนสลักเกลียวที่ร้าวใหม่และคงให้เครื่องประจำการต่อไป

นี่ก็เพราะว่ามันมีค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่ถูกมากกว่าที่จะทำการบินเครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 สำหรับบางภารกิจของกองทัพอากาศออสเตรียในการตรวจตราทางอากาศ(air policing ) และการบินขึ้นสกัดกั้นตอบโต้รวดเร็ว(quick-reaction alert)
แทนที่เติมเต็มภารกิจเหล่านี้โดยเฉพาะการใช้เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 ที่กองทัพอากาศออสเตรียมีประจำการ 15เครื่องบินไปตลอดทั้งปี 2020

ค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการบินของเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 ต่อเครื่องนั้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการบินของเครื่องบินฝึกไอพ่น Saab 105 มากกว่า 10เท่า
ออสเตรียมีแผนที่จะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Typhoon ทั้ง 15เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/eurofighter-typhoon-2020.html) และมีการยื่นฟ้องร้องบริษัท Airbus ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/airbus-eurofighter-typhoon.html)

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Raytheon ได้สัญญาส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถี AIM-120 แก่สหรัฐฯและ 23ประเทศรวมถึงไทย

US contract for Raytheon to deliver AMRAAM air-t-air missiles to US and 23 foreign countries

A munitions load truck containing Air Intercept Missile-120 Advanced Medium Air-to-Air Missiles AMRAAM and Air Intercept Missile-9 Sidewinders is used for an F-22 Raptor weapons load training at Joint Base Elmendorf-Richardson, Alaska, July 15, 2018.
(Picture source U.S. DoD)(https://www.flickr.com/photos/redripper24/42602227151/)
http://www.airrecognition.com/index.php/news/defense-aviation-news/2019-news/december/5768-us-contract-for-raytheon-to-deliver-amraam-air-t-air-missiles-to-us-and-23-foreign-countries.html

Royal Thai Air Force's Saab Gripen D 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani with AIM-120C-7 AMRAAM

Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16A ADF 102nd Squadron, Wing 1 Korat with AIM-120C-5 AMRAAM

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon ได้ประกาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2019 ว่า บริษัท Raytheon Missile Systems Co. สหรัฐฯ ใน Tucson มลรัฐฯ Arizona ได้รับสัญญาราคาราคาคงที่แบบจูงใจที่ไม่ใช่การแข่งขันวงเงิน $768,283,907
เพื่อส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium Range Air-to-Air Missile) สายการผลิต Lot 33 แก่สหรัฐฯและอีก 23ประเทศ

สัญญานี้จะเป็นการส่งมอบสำหรับการผลิตของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศลูกฝึก CATM-120, ส่วนนำวิถี, ระบบตรวจวัด telemetry ของ AMRAAM, อะไหล่และสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนการผลิตทางวิศวกรรมอื่นๆ
งานจะดำเนินการในโรงงานของบริษัท Raytheon สหรัฐฯใน Tucson มลรัฐฯ Arizona โดยคาดว่าจะมีกำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2023

สัญญานี้ได้ร่วมการเปิดเผยข้อมูลปกปิดการขาย FMS(Foreign Military Sales) แก่ ออสเตรเลีย, เบลเยียม, แคนาดา, เดนมาร์ก, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, คูเวต, โมร็อกโก, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์,
โอมาน, โปแลนด์, กาตาร์, โรมาเนีย, ซาอุดีอาระเบีย, สิงคโปร์, สโลวาเกีย, สาธารณรัฐเกาหลี, สเปน, ไทย, ตุรกี และสหราชอาณาจักร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ47 ของวงเงินในสัญญา

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM เป็นอาวุธนำวิถีครองอากาศที่ซับซ้อนมากที่สุดในโลก โดยได้รับการออกแบบ, ปรับปรุง, ทดสอบและผลิตมากกว่า 25ปี
อาวุธปล่อยนำวิถี AMRAAM เดินหน้าเพื่อตรงความตามความต้องการของนักรบทางอากาศทั้งหมด ขีดความสามารถของมันได้รับการสาธิตในการทดสอบยิงมากกว่า 4,200ครั้ง และชัยชนะในการรบอากาศสู่อากาศ 10ครั้ง

ในภารกิจอากาศสู่อากาศไม่มีอาวุธปล่อยนำวิถีอื่นที่เทียบเคียงได้กับ AIM-120 AMRAAM ส่วนนำวิถีเชิงรุกขั้นก้าวหน้าของอาวุธได้มอบความยืดหยุ่นงและการสังหาในการรบระดับสูงแก่นักบิน
การออกแบบระบบตรวจจับที่สมบูรณ์พร้อมทำให้มันสามารถหาเป้าหมายได้อย่างรวกเร็วในสภาพแวดล้อมการรบที่มีความท้าทายมากที่สุด AIM-120 AMRAAM ได้รับการจัดหาโดย 37ประเทศรวมถึงสหรัฐฯ ที่ได้รับการพิสูจน์ในการรบจริง

โดยได้ถูกบูรณาการติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-15, เครื่องบินขับไล่ F-16, เครื่องบินขับไล่ F/A-18, เครื่องบินขับไล่ F-22, เครื่องบินขับไล่ Typhoon, เครื่องบินขับไล่ Gripen, เครื่องบินขับไล่ Tornado และเครื่องบินโจมตี Harrier
AIM-120C5 และ AIM-120C7 ได้ถูกบูรณาการเต็มรูปแบบกับเครื่องบินขับไล่ F-35 และสนับสนุนความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นของเครื่องบินขับไล่ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ในฐานะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบเดียวที่ได้รับการรับรองใช้กับ F-35

สำหรับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM ได้ถูกนำติดตั้งใช้กับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช,
เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU(Enhance Mid-Life Upgrade) ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ครับ

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จีนจะยกเครื่องระบบควบคุมการส่งออกทางทหาร

China to overhaul military export regime


China has proposed new legislation for military exports. Sales of Chinese defence products, such as the Hongdu supersonic trainer aircraft (pictured), have expanded significantly in recent years. (Hongdu Aviation Industry Group)
https://www.janes.com/article/93377/china-to-overhaul-military-export-regime

จีนได้เสนอกฎหมายใหม่เพื่อเพิ่มขยายการควบคุมการส่งอกทางทหาร '(ร่าง)กฎหมายควบคุมการส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน' ได้ถูกยื่นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2019
ต่อคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติจีน(National People’s Congress Standing Committee) สำหรับการพิจารณา

ร่างกฎหมายซึ่งจะมาแทนที่กฎระเบียบที่ล้าสมัยหลายชุดที่ควบคุมการส่งออกทางทหารแก่ต่างประเทศของจีนปัจจุบัน ถูกมองว่าเป็นการตอบสนองต่อการวิพากษ์วิจารณ์ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องของนโยบายการส่งออกทางทหารของจีน
การออกกฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความคืบหน้าทางวิทยาการทางทหารของจีน ที่จีนได้ประสบผลความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

มาตราที่1 ของกฎหมายที่เสนอระบุว่า "กฎหมายนี้เป็น(การเสนอ)เพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านความมั่นคงแห่งชาติและการพัฒนาประเทศ,
ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าประเทศ เช่น(ที่เกี่ยวข้องกับ) การไม่แพร่ขยาย(อาวุธ) และเสริมสร้างความแข็งแกร่งการควบคุมการส่งออก"

กฎหมายระบุถึง "ขอบเขตของการนำไปใช้" รวมถึง รายการอุปกรณ์ใช้ควบคู่แห่งชาติ(national dual-use items), ทางทหาร, นิวเคลียร์ และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติอื่นๆ, วิทยาการ และการบริการ
กฎหมายกำหนด "มาตรการห้ามหรือจำกัด" การส่งออกเช่นผลิตภัณฑ์และอาณัติในการควบคุมของรัฐบาลที่เข้มงวดมากขึ้นของขั้นตอนการส่งออก รวมถึงการขนส่ง, การนำไปใช้ของผู้ใช้ปลายทาง, และการนำไปส่งออกใหม่ของลูกค้า

กฎหมายซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องความมั่นคงแห่งชาติโดยการควบคุมขอบเขตของวิทยาการที่จีนจะส่งมอบให้ลูกค้า
กฎหมายยังมีจุดประสงค์เพื่อวางตำแหน่งนโยบายการขายทางทหารของจีนโดยให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลทั่วไป ตัวอย่างเช่น จีนจะมีความร่วมมือกับกลุ่มที่ประชุมระดับนานาชาติในการวางแนวทางการส่งออกทางทหาร

อีกแง่มุมของกฎหมายคือข้อกำหนดความต้องการสำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจควบคุมการส่งออกทางทหารเพื่อดำเนินการประเมินความเสี่ยงต่อประเทศและ/หรือภูมิภาค
ซึ่งการส่งออกอาจจะ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ" หรือความเสี่ยงในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายอาวุธ หรือการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย กฎหมายยังส่งเสริมให้ผู้ส่งออกเพิ่มขยายประสิทธิภาพกลไกการปฏิบัติตามภายในด้วย

การขายอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านความมั่นคง เช่น เครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง L-15 ที่พัฒนาโดย Hongdu Aviation Industry Group(HAIG) ได้เพิ่มขยายขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายปีมานี้ครับ
(https://aagth1.blogspot.com/2014/11/l-15.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/05/l-15b.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/jl-10h.html)

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong จีนลำใหม่เดินทางผ่านช่องแคบไต้หวัน

China’s Newest Aircraft Carrier Transits Taiwan Strait



China’s new aircraft carrier Shandong sailed through the Taiwan Strait on Thursday, two weeks ahead of Taiwan’s presidential election.
https://news.usni.org/2019/12/26/chinas-newest-aircraft-carrier-transits-taiwan-strait

เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 002 CV-17 Shandong ลำใหม่ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ได้เดินเรือผ่านช่องแคบไต้หวันเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2019 เป็นเวลาก่อนหน้าสองสัปดาห์ที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน
CV-17 Shandong เป็นเรือบรรทุกเครื่องลำที่สองของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนและเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่สร้างในจีน โดยเรือเพิ่งจะมีพิธีขึ้นระวางประจำการวันที่ 17 ธันวาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/cv-17-shandong.html)

การเดินเรือผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรกสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong ตั้งแต่ที่เรือเข้าประจำการก่อนหน้าในเดือนธันวาคม 2019 สำนักข่าว Reuters ได้รายงานเรื่องนี้เป็นรายแรก
ก่อนหน้าพิธีขึ้นระวางประจำการ เรือบรรทุกเครื่องบิน Shandong ได้เคยเดินเรือผ่านน่านน้ำแคบที่แยกระหว่างเกาะไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเตรียมการเข้าร่วมกองเรือ ตามที่ได้มีรายงานในหลายสื่อรวมถึง Taiwan News ไต้หวัน

เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/type-001a_26.html) ที่อู่เรือ Dalian Shipbuilding International Corporation(DSIC)
เรือบรรทุกเครื่องบิน Shandong ได้ทำการทดลองเรือในทะเลครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/type-002.html) และได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลรวมเก้าครั้ง

การเดินเรือผ่านช่องแคบไต้หวันของเรือบรรทุกเครื่องบิน Shandong มีตามมาจากที่ไต้หวันกำลังเร่งเดินหน้าสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 มกราคม 2020
ประธานาธิบดีไต้หวัน Tsai Ing-wen กำลังลงชิงตำแหน่งในการเลือกตั้งใหม่และเธออยู่ในพรรคประชาธิไตยก้าวหน้า(Democratic Progressive Party) ซึ่งชูนโยบายการเป็นเอกราช

อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีไต้หวัน Tsai ได้แถลงว่าเธอมีความตั้งใจที่จะดำรงสถานะที่เป็นอยู่กับจีน ในตอนนี้เธอและพรรคประชาธิไตยก้าวหน้ายังไม่ชัดเจนว่าตนมีมุมมองต่อไต้หวันในฐานะที่แยกตัวจากผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนใน Beijing อย่างไร
"โลกไม่สามารถและจะไม่ลืมไต้หวันเพราะว่าไต้หวันเป็นประเทศที่มีความสำคัญ" ข้อความการรณรงค์หาเสียงของประธานาธิบดีไต้หวัน Tsai Ing-wen ใน Twitter กล่าว

ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯกับไต้หวันเป็นเรื่องซับซ้อน โดยทางการตั้งแต่ปี 1979 สหรัฐฯได้ "รับรองรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องรัฐบาลเดียวของจีน
เป็นที่รับทราบถึงจุดยืนของจีนว่ามีประเทศจีนเพียงประเทศเดียวและไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน" สหรัฐฯไม่สนับสนุนการเป็นเอกราชของไต้หวัน แต่รัฐบาลสหรัฐฯดำรง "ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ" ที่แข็งแกร่งกับไต้หวันผ่านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ

กองทัพเรือสหรัฐฯได้มีการส่งเรือของตนผ่านช่องแคบไต้หวันตามปกติ แต่กองทัพเรือสหรัฐฯไม่มีการส่งเรือบรรทุกเครื่องบินของตนผ่านช่องแคบไต้หวันมามากกว่าสิบปีแล้ว
ก่อนหน้าในปี 2019 นี้ระหว่างเดินทางเยือนแปซิฟิกของอดีตหัวหน้าเสนาธิการฝ่ายปฏิบัติการทางเรือ(Chief of Naval Operations) พลเรือเอก John Richardson ไม่ได้ออกกฎเช่นนั้นให้เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯผ่านช่องแคบไต้หวันในอนาคต ตามที่ Reuters รายงาน

ตามการเดินทางของเขา พลเรือเอก Richardson ได้บรรยายสรุปมุมมองของเขาต่อกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon ว่าไม่มีข้อจำกัดใดเกี่ยวกับประเภทของเรือที่กองทัพเรือสหรัฐฯสามารถส่งเรือเดินทางผ่านช่องแคบไต้หวันได้
"ที่นั่นเป็นน่านน้ำสากล ดังนั้นเรือลำใดๆที่สามารถเดินเรือผ่านน่านน้ำสากลก็สามารถเดินเรือผ่านน่านน้ำเหล่านั้นได้" พลเรือเอก Richardson กล่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2019 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กองทัพเรือพม่าประจำการเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD UMS Moattama













24 December 2019, 72th Anniversary of Myanmar Navy, Senior General Min Aung Hlaing commander-in-chief of the Myanmar Armed Forces and Admiral Tin Aung San commander-in-chief of Myanmar Navy was attended commissioning ceremony of
the first Landing Platform Dock (LPD) UMS Moattama (1501), one 3,000tons troop carrier UMS Myit Kyi Na (AP03), two Super Dvora MK3 fast patrol boat (273 and 274), two 20m patrol boat (211 and 212) and two sea-going tug boat (AT-05 and AT-06)
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/


Music Video: Myanmar Navy for the Establishment of History
https://www.facebook.com/MyanmarNavyOfficial/videos/1385688418270288/

วันที่ 24 ธันวาคม 2019 ณ อู่ทหารเรือพม่า(Myanmar Naval Dockyard, Sinmalaik), อู่เรือ Thilawa ฐานทัพเรือ Yangon ซึ่งเป็นวันครบรอบปีที่72 ของการก่อตั้งกองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy, Tatmadaw Yay)
พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า ร่วมกับ พลเรือเอก Tin Aung San ผู้บัญชาการกองทัพเรือพม่า ได้เป็นประธานในพิธีขึ้นระวางประจำการเรือใหม่รวม 8ลำเข้าประจำการในกองทัพเรือพม่า ประกอบด้วย

เรืออู่ยกพลขึ้นบก (LPD: Landing Platform Dock) ใหม่ลำแรกของกองทัพเรือพม่า UMS Moattama หมายเลขเรือ 1501 ซึ่งถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท Daesun Shipbuilding & Engineering ใน Busan สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/lpd-mottama.html)
และเดินทางกลับมาถึงพม่าในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาหลังการเยือน Vladivostok รัสเซียในวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/lpd-ums-moattama-vladivostok.html)

เรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD-1501 UMS Moattama ได้มีการสาธิตการปฏิบัติการของเรือ โดยลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือมีการสาธิตการขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป AS365 Dauphin และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-17 ของกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei)
,หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือในเรือยางท้องแบน RHIB ขนาด 12ที่นั่งที่หลักเดวิทข้างเรือ, เรือระบายพลขนาดใหญ่ LCU(Landing Craft Utility) ขนาด 23m พร้อมทหารราบในอู่ลอย(Well Deck) และยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง 105mm แบบ PTL-02 6x6 ในโรงเก็บยานพาหนะของเรือ

พิธีขึ้นระวางประจำการเรือใหม่ยังรวมถึงเรือลำเลียงพลใกล้ฝั่ง UMS Myit Kyi Na(หรือ UMS Myitkyina) หมายเลขเรือ AP03 ขนาด 3,000tons, เรือตรวจการณ์ลำน้ำขนาด 20m สองลำหมายเลขเรือ 211 และ 212, เรือลากจูงสองลำหมายเลขเรือ AT-05 และ AT-06
เรือเร็วตรวจการณ์ Super Dvora MK3 สองลำหมายเลขเรือ 273 และ 274 ซึ่งพม่าได้สิทธิบัตรการผลิตจาก IAI(Israel Aerospace Industries) อิสราเอล สร้างต่อจากเรือสองลำแรกหมายเลข 271 และ 272 ที่เข้าประจำการในปี 2017

การสวนสนามทางเรือในวันกองทัพเรือพม่าครบรอบปีที่72 ยังมีเรือหลายลำเข้าร่วม เช่น เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น5, เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี Stealth หมายเลข 491 เละเรือคอร์เวต Stealth UMS Tabinshwehti หมายเลขเรือ 773
ที่น่าสนใจคือมีการเปลี่ยนหมายเลขข้างเรือของเรือฟริเกต UMS Aung Zeya จาก F11 เป็น 11 เช่นเดียวกับเรือฟริเกต Stealth UMS Kyansittha จาก F12 เป็น 12 และเรือฟริเกต Stealth UMS Sin Phyushin จาก F14 เป็น 14 แสดงถึงการปรับเปลี่ยนการกำหนดเลขชั้นแบบเรือใหม่ครับ

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียหมุนควงสว่านก่อนตก

Su-57 fighter jet went into downward spiral before crash in Russia’s Far East - source

The source said that it was after the control system had failed
https://tass.com/emergencies/1103315
https://russianplanes.net

เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-57 ที่ตกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2019 ในภูมิภาค Khabarovsk ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย ได้เข้าสู่การหมุนควงสว่านร่วงลงที่ความสูง 8,000m
และความพยายามของนักบินที่จะแก้ไขการออกจากท่าทางการบินนี้ล้มเหลว แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมการสร้างอากาศยานของรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2019

"เครื่องบินขับไล่ Su-57 ได้ทำการบินทดสอบที่ความสูง 8,000m หลังจากที่ระบบควบคุมการบินล้มเหลว เครื่องบินได้เข้าสู่การหมุนร่วงหล่นด้วยตนเองและเริ่มเสียระดับความสูงและตกพื้นจากนั้น" แหล่งข่าวกล่าว
นักบินพยายามที่จะเปลี่ยนใช้ระบบความคุมการบินแนวนอนแบบ Manual แต่ความพยายามของเขาล้มเหลว "ที่วิกฤติความสูง 2,000m นักบินตัดสินใจดีดตัวออก"

แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2019 ว่าระบบควบคุมการบินส่วนหางของเครื่องเป็นไปได้มากว่าจะน่าจะล้มเหลว
แหล่งข่าวในภาคการแพทย์ทางทหารกล่าวกับ TASS ว่าแพทย์ได้วินิฉัยนักบินที่ดีดตัวจากเครื่องและพบว่าไม่มีอาการบาดเจ็บ นักบินได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว

United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียรายงานเมื่อ 24 ธันวาคม 2019 ว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 ได้ตกระหว่างการทดสอบการบินใน Komsomolsk-on-Amur ห่างไป 111km จากสนามบินฐาน
ระบบฉุกเฉินของเครื่องบินตอบสนองใน Mode ปกติ นักบินดีดตัวออกอย่างปลอดภัย คณะกรรมาธิการพิเศษได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนสาเหตุการตก UAC รัสเซียกล่าว

นี่เป็นอุบัติเหตุตกครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ของรัสเซีย ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ Su-57 ชุดแรกในสายการผลิตจำนวนมากสำหรับกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS)
โดยโรงงานอากาศยาน KOMSOMOLSK-ON-AMUR Gagarin KnAAZ ในภูมิภาค Khabarovsk มีกำหนดจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-57 ชุดแรกให้กองทัพอากาศรัสเซียในช่วงปี 2019-2020(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/su-57.html)

Su-57 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 พหุภารกิจที่ออกแบบมาเพื่อทำลายเป้าหมายทางอากาศทุกรูปแบบในระยะใกล้และไกล และโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินและเป้าหมายทางเรือ มีขีดความสามารถในการเอชนะระบบป้องกันภัยทางอากาศ
Su-57 ทำการบินครั้งแรกเมื่อ 29 มกราคม 2010 เมื่อเปรียบกับเครื่องรุ่นก่อนหน้า Su-57 ผสมผสานการทำงานของเครื่องบินโจมตีและเครื่องบินขับไล่ ขณะที่ใช้วัสดุผสมและวิทยาการนวัตกรรมและการปรับแต่งอากาศพลศาสตร์เพื่อใก้เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ระดับสัญญาณ Radar และ Infrared ต่ำ

ระบบอาวุธของเครื่องบินขับไล่ Su-57 จะประกอบด้วยโดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic และได้ประสบความสำเร็จการวางกำลังทดสอบในเงื่อนไขการรบจริงที่ซีเรียมาแล้วสองครั้งในปี 2018 และ 2019(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/su-57-su-35.html
รัฐบาลรัสเซียกำลังพิจารณาที่จะอนุมัติการอนุญาตส่งออกเครื่องบินขับไล่ Su-57 แก่มิตรประเทศในชื่อรุ่นเครื่องบินขับไล่ Su-57E(Export) ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/su-57.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/11/su-35-su-57-f-35.html)

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon คูเวตทำการบินครั้งแรก

First flight of Eurofighter in Kuwait Air Force configuration takes place – the most advanced variant of Eurofighter ever flown

On the 23rd December 2019 at the Flight Test Centre of Leonardo Aircraft Division in Turin-Caselle, the first Instrumented Series Production Aircraft (ISPA 6) equipped with the Kuwait Air Force configuration has successfully completed its first flight.
https://www.eurofighter.com/news-and-events/2019/12/first-flight-of-eurofighter-in-kuwait-air-force-configuration-takes-place-the-most-advanced-variant-of-eurofighter-ever-flown



เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2019 ณ ศูนย์ทดสอบการบินของแผนกอากาศยาน Leonardo Aircraft Division บริษัท Leonardo อิตาลีใน Turin-Caselle เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon
เครื่องแรกในสายการผลิต Instrumented Series Production Aircraft(ISPA 6) ในรูปแบบสำหรับกองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force) ได้ประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรก

นี่เป็นเครื่องบินขับไล่ Typhoon เครื่องแรกที่ติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array Radar) Radar แบบ Captor-E ด้วยมาตรฐาน Phase Enhancement P3Eb และเป็นก้าวย่างสำคัญสำหรับการเข้าสู่การนำเครื่องบินขับไล่ Eurofighter เข้าประจำการกับคูเวต
มาตรฐาน P3Eb เป็นเครื่องบินขับไล่ Typhoon ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่เคยสร้างมา ด้วยชุดขีดความสามารถที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพจากโครงการปรับปรุงที่มีอยู่

สัญญาสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Eurofighter Typhoon จำนวน 28เครื่องได้รับการลงนามระหว่างกระทรวงกลาโหมคูเวตและบริษัท Leonardo อิตาลีเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2016
ตามที่แผนกอากาศยาน Leonardo Aircraft Division ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานผู้รับสัญญาหลักของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน Eurofighter(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/eurofighter-typhoon.html)

ด้วย Captor E-Scan radar และการเพิ่มเติมระบบอาวุธใหม่หลายอย่าง เครื่องบินขับไล่ Typhoon ISPA 6 รุ่นนี้จะมอบวิทยาการเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าให้แก่กองทัพอากาศคูเวต เมื่อเครื่องจะเข้าประจำการในคูเวตภายในปี 2020
ขณะที่เครื่องกลุ่มบริษัทหุ้นส่วน Eurofighter กำลังทดสอบชิ้นส่วนเฉพาะของรูปแบบนี้รวมถึงการพัฒนา E-Scan radar ในสหราชอาณาจักรและเยอรมนี นี่เป็นการบินครั้งแรกของเครื่องในชุดรูปแบบนี้ที่จะถูกส่งมอบให้คูเวต

ชุดขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่ Typhoon สำหรับคูเวตรวมถึงการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน Storm Shadow, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบอื่นๆ
มากกว่านั้นยังเป็นคาดว่าจะมีการบูรณาการกระเปาะชี้เป้า Laser ขั้นก้าวหน้าใหม่(Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod) ที่จะขยายแบบกระเปาะชี้เป้า Laser ที่ชัดเจนที่เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon รองรับ

การนำกระเปาะฝึกการรบ DRS-Cubic ACMI P5 มาใช้ และการเพิ่มขีดความสามารถระบบช่วยนำร่อง(VOR) โดยกองทัพอากาศคูเวตจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Typhoon รุ่นที่นั่งเดี่ยว 22เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 6เครื่อง รวม 28เครื่อง
ปัจจุบันคูเวตมีเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C/D อยู่ 34เครื่องซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1991-1993 และกำลังสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet จำนวน 28เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/boeing-fa-18ef-super-hornet.html)

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จีนส่งมอบเรือฟริเกตชั้น Type 053H3 มืองสอง 2ลำแก่บังคลาเทศ

China hands over two ex-PLAN frigates to Bangladeshi Navy



One of the two ex-PLAN Jiangwei II-class frigates that were formally handed over to the BN on 18 December. The ship shown here, formerly known as Lianyungang, was overhauled at the Shenjia Shipyard in Shanghai. Source: Via haohanfw.com
https://www.janes.com/article/93346/china-hands-over-two-ex-plan-frigates-to-bangladeshi-navy

เรือฟริเกตชั้น Type 053H3 (NATO กำหนดรหัสชั้น Jiangwei II) จำนวน 2ลำที่ปลดประจำการจากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) แล้ว
ได้ถูกส่งมอบให้แก่กองทัพเรือบังคลาเทศ(BN: Bangladesh Navy) ในพิธีส่งมอบที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2018 ณ อู่เรือ Shenjia ในมหานคร Shanghai สาธารณรัฐประชาชนจีน

กองทัพเรือบังคลาเทศกล่าวในแถลงการณ์ว่าเรือฟริเกตชั้น Type 053H3 ระวางขับน้ำ 2,200ton ความยาวเรือ 112m และความกว้างเรือ 12.4m ทำความเร็วได้สูงสุด 24knots
ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ CODAD(Combined Diesel and Diesel) สองเครื่องยนต์ดีเซล MTU กำลัง 8,715shp และสองเครื่องยนต์ดีเซล 18E390VA กำลัง 23,600shp

ทั้งสองลำคือเรือฟริเกต FFG-521 Jiaxing และเรือฟริเกต FFG-522 Lianyungang ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว ซึ่งจะถูกเปลี่ยนชื่อเรือเป็น F16 BNS Umer Farroq(หรือออกเสียงได้ว่า Umar Farooq) และ F19 BNS Abu Ubaidah เมื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือบังคลาเทศ
มีกำหนดจะเดินทางมาถึงบังคลาเทศหลังพิธีส่งมอบเรือ โดยเรือฟริเกตทั้งสองได้รับการทำสีหมายเลขเรือบนตัวแล้ว ตามข้อมูลจากกองทัพเรือบังคลาเทศ

ตามข้อมูลจากสื่อจีน กองทัพเรือบังคลาเทศได้จัดหาเรือฟริเกตชั้น Type 053H3 สองลำที่เคยประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามในเดือนมิถุนายน 2018
ในเดือนกันยายน 2019 กองทัพเรือบังคลาเทศได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชั้น Type 053H3 เพิ่มอีก 2ลำที่รวมเรือฟริเกต FFG-523 Putian ซึ่งคาดว่าจะถูกเปลี่ยนชื่อเรือเป็น BNS Khalid Bin Walid เมื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือบังคลาเทศ

เรือฟริเกตชั้น Type 053H3 ที่ประจำการในจีนมีอาวุธประจำเรือประกอบด้วย ปืนเรือ 100mm แฝดสอง, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-83 ในแท่นยิงแบบเฉียง 8ท่อยิง, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ HHQ-7 ในแท่นยิง 8ท่อยิง และปืนกล 37mm แฝดสอง 4ป้อม
ไม่มีอาวุธชนิดใดถูกถอดออกจากเรือที่ถูกส่งมอบให้บังคลาเทศ แม้ว่าอาวุธปล่อยนำวิถี YJ-83 และ HHQ-7 อาจจะถูกเปลี่ยนเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ FM-90 รุ่นส่งออก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการจัดส่งอาวุธปล่อยนำวิถี

ปัจจุบันกองทัพเรือบังคลาเทศมีเรือฟริเกตประจำการ 4ลำคือ เรือฟริเกต F18 BNS Osman เป็นเรือฟริเกตชั้น Type 053H1 (Jianghu II) ที่เก่าที่สุดที่จัดหาจากจีนในปี 1989, เรือฟริเกต F25 BNS Bangabandhu มีพื้นฐานดัดแปลงจากเรือฟริเกตชั้น Ulsan จัดหาจากสาธารณรัฐเกาหลีในปี 2001 และเรือฟริเกตชั้น Type 053H2 (Jianghu III) ที่เคยประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนมาก่อน 2ลำคือ F15 BNS Abu Bakar และ F17 BNS Ali Haider ที่ได้รับมอบในปี 2014

กองทัพเรือบังคลาเทศยังมีเรือตัดน้ำแข็ง(cutter) ชั้น Hamilton ระวางขับน้ำ 3,250ton ที่เคยประจำการในหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: US Coastguard) 2ลำ
คือ F28 BNS Somudra Joy และ F29 BNS Somudra Avijan ที่ติดตั้งปืนเรือ Oto Melara 76mm/62caliber ที่จัดหาในปี 2013 และปี 2015

นอกจากบังคลาเทศแล้ว รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมจีนได้แจ้งว่าจะสร้างและส่งมอบเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา(Type 053HT) ให้แก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) อีก ๒ลำ โดยจะขอรับซากเรือฟริเกตที่กองทัพเรือไทยปลดประจำการ ๒ลำเพื่อนำกลับไปเป็นพิพิธภัณฑ์
ทั้งนี้กองทัพเรือไทยได้แจ้งความต้องการรับมอบเรือฟริเกต Type 053H3 Jiangwei II เนื่องจากเป็นแบบเรือที่ทันสมัย และมีขีดความสามารถที่สูงกว่าเรือฟริเกตชุดเรือหลวงกระบุรี(Type 053HT(H)) ๒ลำที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยไปแล้วครับ

กองทัพอากาศสหรัฐฯตั้งชื่อเฮลิคอปเตอร์ Boeing MH-139A Grey Wolf

USAF names ballistic missile security helicopter the MH-139A ‘Grey Wolf’




The US Air Force (USAF) named its intercontinental ballistic missile base security and support helicopter, the Boeing MH-139A, the “Grey Wolf” on 19 December.
https://www.flightglobal.com/helicopters/usaf-names-ballistic-missile-security-helicopter-the-mh-139a-grey-wolf/135883.article


กองทัพอากาศสหรัฐ(USAF: US Air Force) ได้ตั้งชื่อเฮลิคอปเตอร์รักษาความปลอดภัยและสนับสนุนฐานยิงขีปนาวุธของตน เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Boeing MH-139A ว่า 'Grey Wolf' เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2019
MH-139A เป็นรุ่นใช้งานทางทหารของเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสองเครื่องยนต์พลเรือน Leonardo(เดิม AgustaWestland) AW139 อิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-mh-139-uh-1n.html)

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป MH-139A ถูกสร้างที่โรงงานอากาศยานของบริษัท Leonardo อิตาลีสาขาสหรัฐฯใน Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-mh-139-uh-1n_27.html)
ชิ้นส่วนประกอบทางทหารของเฮลิคอปเตอร์ Grey Wolf ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในเครื่องโดยผู้รับสัญญาหลัก บริษัท Boeing สหรัฐฯ ภายหลังการประกอบเครื่องขั้นต้น

เฮลิคอปเตอร์ MH-139A Grey Wolf จะถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อป้องกันและสนับสนุนฐานยิงขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile) หัวรบนิวเคลียร์ในมลรัฐ Montana, มลรัฐ North Dakota และมลรัฐ Wyoming
ฮ.MH-139A Grey Wolf จะยังถูกใช้ในการค้นหากู้ภัยพลเรือน, การสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ, ภารกิจภูมิภาคนครหลวงแห่งชาติ(National Capital Region), การบินสนับสนุนโรงเรียนฝึกการดำรงชีพและเอาตัวรอดและทดสอบ กองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว

ชื่อของเฮลิคอปเตอร์ได้รับการประกาศโดย พลอากาศเอก Timothy Ray ผู้บัญชาการกองบัญชาการกองกำลังโจมตีทั่วโลก(USAF Global Strike Command) ณ ฐานทัพอากาศ Eglin AFB(Air Force Base) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2019
ในวันที่ 19 ธันวาคม 2019 เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป MH-139A Grey Wolf เครื่องแรกยังได้ถูกรับมอบโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯที่ฐานทัพอากาศ Eglin ด้วย

"Grey Wolf สะท้อนให้เห็นว่าเฮลิคอปเตอร์ MH-139A จะถูกวางกำลังในรูปแบบฝูงเพื่อป้องกันฐานยิงขีปนาวุธข้ามทวีปสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ" Boeing สหรัฐฯเสริม
กองทัพอากาศสหรัฐฯจะเริ่มต้นการทดสอบและประเมินค่า ฮ.MH-139A เร็วๆนี้ และมีกำหนดที่จะได้รับมอบ ฮ.Grey Wolf รวม 4เครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2020

กองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนที่จะทดแทนฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1N ของตนด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป MH-139A Grey Wolf จำนวน 84เครื่อง
ที่รวมถึงอุปกรณ์การฝึกและสนับสนุน วงเงินสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์มูลค่า $2.38 billion แก่บริษัท Boeing สหรัฐฯที่เป็นผู้ชนะการแข่งขันในเดือนกันยายน 2018 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กองทัพอากาศสหรัฐได้รับอนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-15EX 8เครื่องในปีงบประมาณ 2020

US lawmakers approve eight F-15EX aircraft for US Air Force in FY 2020

The US Air Force requested eight Boeing F-15EX Advanced Eagles in its FY 2020 budget request and expects to procure 18 aircraft annually from FY 2021–24. Source: Jane's/Gareth Jennings
https://www.janes.com/article/93296/us-lawmakers-approve-eight-f-15ex-aircraft-for-us-air-force-in-fy-2020

กองทัพอากาศสหรัฐ(USAF: US Air Force) ได้กำหนดที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Advanced Eagle จำนวน 8เครื่องในปีงบประมาณ 2020
ตามที่การร้องขอของกองทัพอากาศสหรัฐฯในฐานะนโยบายข้อผูกมัดและการจัดสรรค่าใช้จ่าย(compromise policy and spending bills) ได้ถูกอนุมัติให้มีการจัดซื้อ

วงเงินการอนุมัติงบประมาณข้อผูกมัดทางกลาโหม(compromise defence spending bill) ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของรัฐสภาสหรัฐฯ congress
อนุมัติให้กองทัพอากาศสหรัฐฯจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวน 8เครื่อง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump คาดว่าจะลงนามการจัดวงเงินงบประมาณนี้เข้าสู่การออกกฎหมายในเร็วๆนี้

การอนุมัติงบประมาณข้อผูกมัดทางกลาโหมได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯแล้ว และ Mackenzie Eaglen ผู้ติดความความเคลื่อนไหวของสถาบัน American Enterprise Institute(AEI) ใน Washington, DC
กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2019 ว่า เธอคาดคิดอย่างเต็มที่ว่าการลงนามเข้าสู่การออกกฎหมายน่าจะมีขึ้นภายในสัปดาห์หน้า(22-28 ธันวาคม 2019)

งบประมาณที่มีวงเงินคราวๆ $1.05 billion นี้ในการให้วงเงินจัดหาเครื่องบินขับไล่เพิ่มเติม 6เครื่อง ยังมีการย้ายวงเงิน $364.4 million ไปยังการวิจัย, พัฒนา, ทดสอบและประเมินค่า(RDT&E: Research, Development, Test and Evaluation)
สำหรับการจัดหาเครื่องบินทดสอบจำนวน 2เครื่อง และได้ให้วงเงินครึ่งหนึ่งในส่วนที่จะมีการร้องขอสำหรับงานทางวิศวกรรมที่ไม่เกิดซ้ำ(non-recurring engineering)

การจัดสรรงบประมาณนั้นกำหนดวงเงินไม่มากกว่า $64.8 million สำหรับวัสดุระยะเวลาดำเนินยาวนาน(long-lead materials) อาจจะถูกส่งมอบจนกว่ารัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศสหรัฐฯ Barbara Barrett จะมอบการรายงานให้คณะกรรมธิการกลาโหมรัฐสภาสหรัฐฯ
ที่รวมถึงยุทธศาสตร์การจัดหาโครงการที่ได้รับการอนุมัติ, เอกสารขีดความสามารถการผลิต, แผนแม่บทการทดสอบและประเมินค่า และยุทธศาสตร์การวางกำลังหลังสายการผลิต

การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวน 8เครื่องในปีงบประมาณ 2020 เป็นฐานะส่วนหนึ่งของแผนการจัดซื้อทั้งหมด 144เครื่องของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon
และคาดว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวน 18เครื่องในช่วงปีงบประมาณ 2021-2024 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/f-15ex-8-f-35a-48-2020.html)

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562

พิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๖๓ กองทัพอากาศไทย



Flying formation of Royal Thai Air Force's Northrop F-5E Super Tigris, 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani, Saab Gripen C/D 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani and Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range, Lopburi, Thailand, 18 December 2019

Royal Thai Air Force's BT-67 461st Squadron, Wing 46 Phitsanulok demonstrated fire fighting mission in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range


Royal Thai Air Force's Airbus Helicopters EC725 (H225M) Caracal of 203 Squadron, Wing 2 demonstrated Humanitarian Assistance and Disaster Relief of Medical Emergency Response Team (MERT) in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range

Royal Thai Air Force's Sikorsky S-92A 201st Squadron Royal Guard, Wing 2 in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range

Royal Thai Air Force's Lockheed Martin C-130H Hercules 601st Squadron, Wing 6 Don Mueang demonstrated cargo air drop mission in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range

Royal Thai Air Force's KAI T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli drop Mk 82 500lbs bomb and firing 20mm cannon to targets in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range


Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16A ADF 102nd Squadron, Wing 1 Korat drop six Mk 82 500lbs bomb to target in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range





Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16A 10311 and F-16B 103rd Squadron, Wing 1 Korat drop twelve Mk 82 500lbs bomb to target in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range

Royal Thai Air Force's Dornier Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23 Udorn Thani firing Mk 40 2.75" rocket to targets in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range

Combat Control Teams from Special Operations Regiment Royal Thai Air Force Security Force in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range

Royal Thai Air Force Diamond DA42 Twin Star/40209 Centennial Of the RTAF Founding Fathers' Aviation Air Tactical Operations Competition 2020 CHANDY RANGE
https://www.facebook.com/groups/441463545871708/permalink/3683246095026754/

เก็บตกภาพสวยๆ จากพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 2563
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/3036339899728913

Clip: ขอเชิญประชาชนที่สนใจ ชมการถ่ายทอดสดการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศ(45นาที) ระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี 2563 ในวันที่ 18 ธ.ค. 62 เวลา 10.00น. ทาง Facebook live
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/558253578290024/

การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่มีพิธีเปิดในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นอีกปีที่กองทัพอากาศไทยได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศในพิธีเปิด
ซึ่งได้เห็นสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างในการแสดงสาธิต ตั้งแต่ที่เครื่องบินตรวจการณ์และฝึก บ.ตฝ.๒๐ Diamond DA42 MMP หมายเลข 40209 ฝูงบิน๔๐๒ กองบิน๔ ตาคลี ลายพิเศษ ๑๐๐ปีการบินบุพการีกองทัพอากาศ บินผ่านสนามฝึกใช้อาวุธสาธิตการตรวจการณ์ทางอากาศ

เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A หมายเลข 10311 ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ลายพิเศษ ๑๐๐ปีการบินบุพการีกองทัพอากาศ ได้มีการติดตั้งลูกระเบิดทำลายแบบ Mk 82 ขนาด 500lbs บนรางอาวุธแบบ BRU-42 Triple Ejector Rack(TER) ที่ตำบลอาวุธใต้ปีกสี่จุดแข็งรวม ๑๒นัด
เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-16A หมายเลข 10310, บ.ข.๑๙ก F-16B ฝูงบิน๑๐๓, เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF และ F-16B ADF หมายเลข 10201 ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ที่ติดตั้งลูกระเบิด Mk 82 บนรางอาวุธ TER รวม ๖นัดในการทิ้งโจมตีเป้าหมายบนภูเขาอย่างแม่นยำ

เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฏร์ธานี ได้ติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย เป้า Rafael Litening III อิสราเอล และระเบิดนำวิถี Laser แบบ GBU-12 ขนาด 500lbs
ผ่านการประสานงานชี้เป้าหมายจากชุดควบคุมการรบ CCT(Combat Control Teams) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน สู่เป้าหมายด้วยความแม่นยำ

เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle หมายเลข 40103 และ 40105 ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ได้ทิ้งระเบิด Mk 82 ๒นัด และยิงปืนใหญ่อากาศ 20mm
โดย บ.ขฝ.๒ T-50TH หมายเลข 40105 ที่เข้าร่วมการสาธิตนั้นแสดงให้เห็นว่าโครงการจัดระยะที่๒ จำนวน๘ ได้มีการรับมอบชุดแรกจำนวนหนึ่งในปี 2019 นี้แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html)

เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข Northrop F-5E Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุดรธานี ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html) ได้ทิ้งระเบิด Mk 82 ๒นัดใส่เป้าหมาย
ขณะที่เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ทำการยิงกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้นแบบ Mk 40 ขนาด 2.75" ซึ่งผลิตโดยกรมสรรพาวุธทหารอากาศอย่างแม่นยำ

เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ก BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก ได้สาธิตการทิ้งสารดับเพลิงทางอากาศ ขณะที่เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ Lockheed C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ได้สาธิตการทิ้งสัมภาระทางอากาศโดยติดร่ม
เฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725(H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม สาธิตการช่วยเหลือทางการแพทย์ด้านมนุษยธรรม ส่วนเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๐ Sikorsky S-92A ฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ กองบิน๒ ทำภารกิจรับส่งบุคคลสำคัญครับ