วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทยทำพิธีวางกระดูกงูเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ลำใหม่








Royal Thai Navy (RTN) held keel laying ceremony of the new Oceanographic Survey Ship at Asian Marine Service PCL (ASIMAR) shipyard in Samut Prakan Province, Thailand on 27 February 2024. (Royal Thai Navy) 



พิธีวางกระดูกงูเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ
วันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2567) เวลา 13.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 
พร้อมด้วย คุณกีรตา พันธุ์เอี่ยม นายกสมาคมภริยาทหารเรือ โดยมี พลเรือโท ไพศาล ชะโนภาศ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดหาเรือในครั้งนี้

กองทัพเรือได้รับอนุมัติให้จัดหาเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ จำนวน 1 ลำ เพื่อทดแทนเรือหลวงสุริยะ ที่จะปลดระวางประจำการ เพื่อให้กองทัพเรือยังคงมีขีดความสามารถในการตรวจซ่อมเครื่องหมายทางเรือในน่านน้ำไทย 
สนับสนุนการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางด้านอุทกศาสตร์และสมุทรศาสตร์ สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ส่งกำลังบำรุงให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ของ กองทัพเรือ ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือในทะเล และสนับสนุนกิจอื่นๆตามที่ได้รับการร้องขอได้ตามความเหมาะสม

สำหรับเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ที่จัดให้มีพิธีวางกระดูกงูในวันนี้ มีคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ มีความยาวตลอดลำ 60 เมตร ความกว้างตัวเรือ 13.3 เมตร กินน้ำลึกเต็มที่ 3.05 เมตร ระวางขับน้ำ 1,460 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องที่ระวางขับน้ำเต็มที่ 13.1 นอต 
กำลังพลประจำเรือ 67 นาย สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่องในทะเลได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน ระยะปฏิบัติการ 2,400 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต มีความคงทนทะเลได้ไม่น้อยกว่าสภาวะทางทะเลระดับ 5
สามารถสนับสนุนการสำรวจทางอุทกศาสตร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการสำรวจอุทกศาสตร์ชั้นพิเศษขององค์การอุทกศาสตร์สากล พร้อมเชื่อมต่อเข้ากับระบบ IBS ซึ่งเป็นสะพานเดินเรือแบบรวมการ 
มีการเชื่อมต่อเครื่องมืออุปกรณ์เดินเรืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของ Ethernet Network ตามมาตรฐานขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศหรือ IMO

โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กล่าวเพื่อเป็นเกียรติในพิธี โดยมีใจความสำคัญระบุว่า “ตามที่กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดหาเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ จำนวน 1 ลำ เพื่อทดแทน เรือหลวงสุริยะ ที่จะปลดระวางประจำการ 
โดยว่าจ้างบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการสร้างเรือให้สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ได้สำเร็จเรียบร้อยมาตามลำดับจนถึงขั้นตอนที่สำคัญในวันนี้ คือ การวางกระดูกงูเรือ 
ซึ่งทางกองทัพเรือมีความเชื่อมั่นในขีดความสามารถและประสบการณ์ของ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) ว่าจะสามารถดำเนินการสร้างเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ลำนี้ ให้ประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดีทุกประการ”

พิธีวางกระดูกงูเรือนั้นถือว่าเป็นพิธีสำคัญพิธีแรกในการสร้างเรือ และได้ปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่สมัยโบราณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า “กระดูกงู” หมายถึง ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง ซึ่งพิธีวางกระดูกงูเรือของแต่ละชาติอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชาติ
สำหรับราชนาวีไทยพิธีวางกระดูกงูเรือ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเรือที่จะก่อให้เกิดความสวัสดีมีชัยและความวัฒนาถาวรให้แก่เรือ และยังถือว่าเป็นการอัญเชิญแม่ย่านางเรือให้เข้าสถิตแก่เรืออีกด้วย ซึ่งมีการประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือมาตั้งแต่สมัยเรือรบที่สร้างตัวเรือด้วยไม้ 
ต่อมาได้เปลี่ยนการสร้างจากตัวเรือไม้มาเป็นตัวเรือเหล็ก โดยเรือรบที่สร้างด้วยเหล็กและมีการทำพิธีวางกระดูกงูเป็นครั้งแรกคือ เรือหลวงสัตหีบ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2499 โดยกรมอู่ทหารเรือเป็นผู้สร้าง 
ในพิธีก็จะประกอบไปด้วย พิธีทางศาสนาพุทธ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พิธีพราหมณ์ประกอบการบูชาฤกษ์ การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงู โดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรกหรือกดปุ่มสวิตซ์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า เป็นต้น

กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ลงนามสัญญาการสร้างเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ วงเงิน ๘๘๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($24,552,298.35) กับบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)(ASIMAR: Asian Marine Service PCL) ไทยเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
โดยได้มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ณ อู่เรือบริษัท ASIMAR ไทย ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตามกำหนดส่งมอบเรือภายใน ๗๖๐วันหลังลงนามสัญญาคาดว่าเรือจะถูกส่งมอบได้ภายในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025)

โครงการสร้างเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ใหม่ ๑ลำมีวัตถุประสงค์ที่จะทดแทนเรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ เรือหลวงสุริยะ(ลำที่๒) ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒(1979) ซึ่งสร้างโดยบริษัทอู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) ไทยที่สั่งสร้างในปี พ.ศ.๒๕๑๙(1976) วงเงิน ๕๒,๕๑๗,๐๐๐บาทในเวลานั้น
เรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ลำใหม่ใช้สิทธิบัตรเแบบเรือ Offshore Support Vessel เรือ MV HORIZON NOMAD ของบริษัท SeaTech Solutions International (S) Pte Ltd สิงคโปร์ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือถูกสร้างใช้งานจริงแล้ว และสร้างในไทยเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมทางเรือของไทยด้วยครับ

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60 Black Hawk สหรัฐฯจะถูกใช้งานไปจนถึงปี 2070

IMH 2024: Lockheed Martin touts Black Hawk as bridge to next-gen rotorcraft







With the Black Hawk set to remain in US Army service through to the 2070s, Lockheed Martin says the helicopter can serve as a bridge through to future rotorcraft now being developed. (US Army)

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯกำลังโน้มน้าวถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดกลาง S-70 Black Hawk ของตนในฐานะสะพานเชื่อมต่ออากาศยานปีกหมุนยุคอนาคตที่ขณะนี้กำลังได้รับการพัฒนาด้วยวิทยาการใหม่ต่างๆที่มีจุดประสงค์ที่จะใช้งานไปจนถึงปี 2070
การพูดคุยกับ Janes ก่อนหน้างานสัมนาเฮลิคอปเตอร์ทางทหารนานาชาติ IQPC International Military Helicopter 2024(IMH 2024) ในกรุง London ระหว่างวันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ 2024

Jay Macklin ผู้อำนวยการการพัฒนาธุรกิจบริษัท Sikorsky สหรัฐฯในเครือบริษัท Lockheed Martin กล่าวว่าด้วยเค้าโครงการปรับปรุงอย่างมหาศาลที่วางแผนโดยทั้งบริษัทและกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปตระกูล Black Hawk จะเป็นสะพานเชื่อมต่อไปสู่อากาศยานขึ้นลงทางดิ่งอนาคต Future Vertical Lift(FLV) และสิ่งที่จะตามมาภายหลัง(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/uh-60-black-hawk.html)

"เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk จะอยู่ต่อไปจนถึงราวปี 2070 และไปต่อที่จะทำการบินในสนามรบเช่นเดียวกับอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งอนาคต FLV มันจะต้องสามารถที่จะปฏิบัติงานในระบบนิเวศ(ecosystem)ของ FVL ได้
และผมคิดจริงๆว่า ฮ.Black Hawk กำลังจะไปเป็นสะพานที่เชื่อมช่องว่างต่ออากาศยานปีกหมุนยุคอนาคต" Macklin กล่าวก่อนหน้างานสัมนาเฮลิคอปเตอร์ทางทหารนานาชาติ IMH 2024

เฮลิคอปเตอร์ตระกูล Black Hawk เข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯในปี 1978 ตั้งแต่นั้นมารุ่นเฮลิคอปเตอร์สงคราม electronic และปฏิบัติการพิเศษ EH-60A, เฮลิคอปเตอร์สงคราม electronic และปฏิบัติการพิเศษ EH-60L, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60A, 
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60L, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60V, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60M และเฮลิคอปเตอร์ส่งกลับทางสายแพทย์ HH-60M ได้รับการพัฒนาผ่านมาสามยุคของวิทยาการและขีดความสามารถต่างๆ ตามที่กำหนดโดย Lockheed Martin สหรัฐฯ

กองทัพบกสหรัฐฯเลือกอากาศยานใบพัดกระดก Bell V-280 Valor เพื่อเติมเต็มความต้องการโครงการอากาศยานจู่โจมระยะไกลอนาคต(FLRAA: Future Long-Range Assault Aircraft) ในปี 2022
โดยมีจุดประสงค์ที่จะเสริมและทยอยทดแทนหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60 Black Hawk การนำอากาศยานใบพัดกระดก V-280 Valor เข้าประจำการมีกำหนดการในปี 2030(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/bell-v-280-valor.html)

ตามที่กองทัพบกสหรัฐฯได้ประกาศยกเลิกโครงการอากาศยานลาดตระเวนโจมตีอนาคต(FARA: Future Attack Reconnaissance Aircraft) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/fara.html)
กองทัพบกสหรัฐฯยังได้ยกเลิกการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60V Black Hawk และจะแทนที่ด้วยการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60M และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47F Block II Chinook รุ่นใหม่เพิ่มเติมครับ

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

อินโดนีเซียเลื่อนโครงการเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ AEW&C เพื่อจัดหาเรือฟริเกต FREMM อิตาลีแทน

Singapore Airshow 2024: Indonesia proposes delaying AEW&C programme to fund frigates





An Italian FREMM multimission frigate, similar to what Indonesia is seeking for its own navy. (Fincantieri)

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ยื่นข้อเสนอแก่กระทรวงการคลังอินโดนีเซียในการร้องขอที่จะยกเลิกการอนุมัติเงินกู้จากต่างประเทศที่ได้รับการจัดสรรสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง
โครงการเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ AEW&C(Airborne Early Warning and Control) และการจัดซื้่อจัดจ้างที่ขนาดเล็กกว่าอื่นๆ 15โครงการ

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียต้องการจะแทนที่การจัดสรรงบประมาณเหล่านี้เพื่อจะหันไปสู่ความพยายามที่ถูกเลื่อนมายาวนานที่จะจัดหาเรือฟริเกต FREMM(Frégate Européenne Multi-Mission)(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/fremm-6.html
ให้กับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ตามข้อมูลจากจดหมายระหว่างกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและกระทรวงการคลังอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2023

สำเนาของจดหมายระหว่างสองกระทรวงของอินโดนีเซียนี้ถูกมอบให้แก่ Janes ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมาโดยแหล่งข่าวในรัฐบาลอินโดนีเซีย
ในปี 2023 รัฐบาลอินโดนีเซียได้อนุมัติสำหรับโครงการจัดซื้อจัดจ้างทางกลาโหม 16โครงการที่จะได้รับงบประมาณจากแหล่งเงินทุนที่มีที่มาจากเงินกู้ที่มาจากผู้ให้กู้ต่างประเทศ

โครงการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมเหล่านี้รวมถึงการอนุมัติการขอการจัดวงเงินถึง $800 million ในเงินกู้ต่างประเทศเพื่อจัดหาเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ AEW&C ที่ไม่ทราบจำนวน
โครงการอื่น 15โครงการ ซึ่งได้รับการอนุมัติความเห็นชอบในการขอรับเงินกู้ต่างประเทศแล้ว รวมถึงวงเงิน $144 million ในแผนที่จะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ VL MICA น่าจะสำหรับเรือฟริเกตชั้น Martadinata(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/martadinata.html)

และวงเงิน $48 million ในการริ่เริ่มที่จะจัดหาระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอัตตาจร กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นทางการสำหรับทั้ง 16โครงการยังไม่ได้เริ่มต้น และมูลค่าทั้งหมดของโครงการเหล่านี้ถูกประมาณที่ราว $25 billion
"ในคำสั่งที่จะเติมเต็มลำดับความสำคัญเกี่ยวกับความพร้อมของกองทัพท่ามกลางสถานการณ์ความมั่นคงพลวัตร มีการร้องขอที่กระทรวงการคลังเห็นชอบต่อการร้องขอนี้และอนุมัติการจัดสรรเงินกู้ต่างประเทศทางเลือกที่ร้องขอโดยกระทรวงกลาโหม"

"จำนวนเงินของวงเงินกู้ต่างที่จะได้รับจะยังคงเท่าเดิมแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม" จดหมายระหว่างสองสองกระทรวงที่ลงนามโดยอธิบดีกรมการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย Supo Dwi Diantara กล่าว
ในปี 2021 อินโดนีเซียได้เลือกแบบเรือฟริเกต FREMM หรือเรือฟริเกตชั้น Bergamini ในประจำการกองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, MMI: Marina Militare Italiana) 6ลำจากบริษัท Fincantieri อิตาลีสำหรับโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรืออินโดนีเซียครับ

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สิงคโปร์จะเริ่มโครงการยืดอายุการใช้งานเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D Apache

Singapore Airshow 2024: Singapore to embark on Apache life extension programme





A Republic of Singapore Air Force Apache AH-64D helicopter seen here at the Singapore Airshow 2024. (Republic of Singapore Air Force, Janes/Ridzwan Rahmat)



ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64D Apache Longbow ของกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) จะได้รับการดำเนินโครงการยืดอายุการใช้งาน(LEP: Life Extension Programme) ในเร็วๆนี้
เรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยนายทหารใกล้พ้นหน้าที่(outgoing chief)ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ พลอากาศตรี Kelvin Khong ในแถลงการณ์ก่อนหน้างานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2024

"เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D Apache ยังคงจะเป็นอากาศยานพหุภารกิตอเนกประสงค์ที่มีประสิทธิภาพทั้งกลางวันและกลางคืนต่อนต้านภัยคุกคามจากอากาศ, พื้นดิน และทะเล และทุกสภาวะกาลอากาศ
กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ประจำการเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D ตั้งแต่ปี 1999 และมันยังคงจะมีบทบาทสำคัญสำหรับกองทัพสิงคโปร์(SAF: Singapore Armed Forces)" พล.อ.ต.Khong ซึ่งจะลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอากาศสิงคโปร์ในเดือนมีนาคม 2024 กล่าว

"กองทัพอากาศสิงคโปร์จะเริ่มดำเนินการในโครงการยืดอายุการใช้งานสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D ของเราเพื่อให้มั่นใจว่ามันยังคงพร้อมประจำการได้ไปเกินปี 2030" พลอากาศตรี Khong เสริม
สิงคโปร์จัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D จำนวน 8เครื่องในปี 1999 และมีตัวเลือกสำหรับการจัดหาเพิ่มเติมอีก 12เครื่องซึ่งได้บรรลุผลเสร็จสิ้นในปี 2001

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D ประจำการในฝูงบินที่120(120 Squadron) ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ ที่มีที่ตั้งใน Sembawang แต่การปฏิบัติการของ ฮ.มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยต่างๆของกองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ติดตั้งด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถี laser แบบ AGM-114K Hellfire 2 และปืนใหญ่อากาศ Orbital ATK M230 ขนาด 30mm

ในปี 2017 กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ได้เปิดเผยว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D จะได้รับการปรับปรุงด้วยระบบสงคราม electronic บูรณาการเฮลิคอปเตอร์(HIEWS: Helicopter Integrated Electronic Warfare System) เพื่อเพิ่มขยายความอยู่รอด และชุดระบบสื่อสารดาวเทียม
กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้นำเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D จัดแสดงประจำที่ภาคพื้นดินและทำการแสดงการบินสาธิตร่วมกับอากาศยานอื่นๆของตนในงานแสดง Singapore Airshow 2024 ณ ศูนย์จัดแสดง Changi Exhibition Centre

Janes เข้าใจว่าโครงการยืดอายุการใช้งานสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D ของกองทัพอากาศสิงคโปร์อาจจะไม่ได้เป็นการปรับปรุงความทันสมัยเป็นมาตรฐานเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian รุ่นล่าสุดอย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งรวมถึงการข้ามจากโครงสร้างอากาศยานปัจจุบันไปสู่โครงสร้างอากาศยานสร้างใหม่ และการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft แบบ T700-GE-701D รุ่นล่าสุดแทนเครื่องยนต์รุ่นเก่าครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/ah-64e.html)

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ฮังการีจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C สวีเดนเพิ่ม 4เครื่อง

Hungary increases Gripen fleet







Hungary is to bring its Gripen fleet up to 18, with the addition of a further four aircraft announced on 23 February. (Janes/Patrick Allen)

ฮังการีจะเพิ่มขนาดของฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D ของตนด้วยข้อตกลงที่ประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2024 สำหรับการจัดหาเพิ่มเติมจำนวน 4เครื่อง
โดยเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D จำนวน 14เครื่องที่ถูกเช่าจากสวีเดนในปี 2001 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศฮังการี(HuAF: Hungarian Air Force) ในปี 2006

บริษัท Saab สวีเดนได้กล่าวว่าตนได้ลงนามข้อตกลงกับสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมสวีเดน(Defence Material Administration, FMV: Forsvarets materielverk) สำหรับเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Gripen C เพิ่มเติมจำนวน 4เครื่องสำหรับกองทัพอากาศฮังการี
"สัญญานี้มีขึ้นตามการแก้ไขสัญญาระหว่างสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมสวีเดน FMV และรัฐบาลสวีเดนที่ลงนามในเดือนธันวาคม 2001 เกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D จำนวน 14เครื่องสำหรับกองทัพอากาศฮังการี" Saab กล่าว

"การแก้ไขสัญญาสำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen C เพิ่มเติม 4เครื่องได้รับการลงนามโดยกระทรวงกลาโหมฮังการีและสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมสวีเดน FMV เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2024
ด้วยการแก้ไขสัญญาใหม่ กองทัพอากาศฮังการีจะมีเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ในประจำการทั้งหมด 18เครื่อง เพื่อปกป้องและป้องกันน่านฟ้าของฮังการีและ NATO" Saab กล่าว

แม้ว่าจะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในการประกาศ Gripen C เพิ่มเติมเหล่านี้จะเป็นมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 Block 2 ล่าสุดที่ได้รับการปรับปรุงต่อฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ที่มีอยู่ของกองทัพอากาศฮังการีแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/gripen-cd-ms20-block-2.html)
มาตรฐาน MS20 Block 2 รวมถึงการปรับปรุงต่อ radar Saab PS-05/A Mk4 ทั้งพิสัยการติดตามเป้าหมายอากาศสู่อากาศและสมรรถนะโดยรวม,การเพิ่มขยายขีดความสามารถเครือข่าย Link 16 datalink 

เช่นเดียวกับการติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification, Friend-or-Foe) มาตรฐาน NATO Mode 5 ล่าสุด มาตรฐาน MS20 Block 2 จะทำให้ฮังการีเลือกระบบอาวุธได้จากตัวเลือกที่หลากหลาย 
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/meteor-mlu-2024.html)

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง RTX AIM-120C-8 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) ระเบิดนำวิถี laser และดาวเทียม Raytheon GBU-49 Paveway
และการปรับปรุงกระสุนเจาะเกราะแบบแตกหักได้ DM113 FAP(Frangible Armour Piercing) สำหรับปืนใหญ่อากาศ Mauser BK27 ขนาด 27mm ของเครื่องบินขับไล่ Gripen C ครับ

วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สาธารณรัฐเช็กกำหนดจะเสร็จสิ้นการส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG แก่เวียดนาม และยังมุ่งเน้นการขายให้ไทย

Singapore Airshow 2024: Aero set to complete VPAF L-39NG deliveries



Aero Vodochody has completed deliveries of the first batch of L-39NGs to the Vietnam People's Air Force (VPAF). The company is also focusing on selling the aircraft to Thailand. (Aero Vodochody)

Aero Vodochody shown model of its L-39NG at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photo)

บริษัท Aero Vodochody AS สาธารณรัฐเช็กได้ส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ชุดแรกของตนแก่กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(VPAF: Vietnam People's Air Force) แล้ว
โดยการส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ที่เหลือแก่เวียดนามคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2024 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/l-39ng.html)

เวียดนามได้สั่งจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG จำนวน 12เครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/l-39ng-12.html) Filip Gunnar Kulštrunk รองประธานบริหารและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าของ Aero Vodochody กล่าวกับ Janes ว่า
การส่งมอบได้เริ่มต้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2023 และนั่น "เครื่องบินชุดแรกขณะนี้อยู่ในเวียดนามแล้ว เรากำลังจะส่งมอบตามมาจนถึงสิ้นปีนี้ ที่สุดของปีนี้ได้รับการเติมเต็มแล้วด้วยกำหนดการส่งมอบเหล่านี้"

Kulstrunk เสนอความเห็นของเขาระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2024 ณ ศูนย์จัดแสดง Changi Exhibition Centre สิงคโปร์
เครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ใหม่จะทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39C รุ่นเก่าของกองทัพอากาศประชาชนเวียดนามซึ่งถูกนำเข้าประจำการตั้งแต่ปี 1980

Kulstrunk กล่าวว่า L-39NG เป็นสิ่งที่แสดงถึง "ก้าวต่อไป" ของกองทัพอากาศประชาชนเวียดนามใน "แง่ของขีดความสามารถการฝึกและอากาศยานของพวกเขา"
การขายยังสนับสนุนยุทธศาสตร์ของบริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กที่จะบรรลุผลการขาย L-39NG เพิ่มเติมทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก โดยมุ่งเน้นที่ผู้ใช้งานรายอื่นๆในอดีตของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 รุ่นก่อนหน้า

การจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 เป็น "การเปลี่ยนจากการมีเพียงเครื่องบินฝึก, อากาศยาน หรือการฝึกขั้นมูลฐานหรือก้าวหน้าไปสู่การมีระบบการฝึกอย่างเต็มรูปแบบ" เขากล่าว
การขายรวมถึง "เครื่องจำลองการบิน simulator แบบครบชุด, ระบบการวางแผนภารกิจและสรุปผล, และระบบการจัดการการเรียนรู้ ซึ่งถูกปรับแต่งให้เหมาะสมกับศิษย์การบินแต่ละนาย..."

"ระบบนี้ชี้นำแนวทางแก่พวกเขาอย่างอัตโนมัติผ่านกระบวนการการเรียนรู้-แนวทางทั้งหมดตั้งแต่การฝึกขั้นต้นในห้องเรียนจนถึงการฝึกในเครื่องจำลองการบิน" Kulštrunk เสริม
เขายังกล่าวถึงหนึ่งในลูกค้าดั้งเดิมของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 รุ่นก่อนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกคือไทย ซึ่งบริษัท Aero Vodochody ยังคงมุ่งเน้นความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ใหม่แก่ไทยอยู่

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เคยมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จำนวน ๔๐เครื่อง เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) โดยได้รับการปรับปรุงด้วยระบบมาตรฐานตะวันตกของบริษัท Elbit อิสราเอลที่ทันสมัยในยุคนั้น 
กองทัพอากาศไทยได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงบินสุดท้ายของตนลงในสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME จีนเปิดตัวสำหรับตลาดส่งออก

Singapore Airshow 2024: China debuts Z-10ME attack helicopter for export market







The Z-10ME, seen here at Singapore Airshow 2024. (Janes/Ridzwan Rahmat)

Aviation Industry Corporation of China(AVIC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการบินของสาธารณรัฐประชาชนจีนกำลังทำการตลาดรุ่นส่งออกของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Changhe Aircraft Industries (Group) Company Z-10 ของตน
ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ศูนย์จัดแสดง Changi Exhibition Centre สิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/z-10.html)

ถูกขนานนามในชื่อเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME ได้ถูกนำมาจัดแสดงในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ตัวแทนของ AVIC จีนที่พูดคุยกับ Janes ณ งานแสดงการบิน Singapore Airshow 2024 ได้ยืนยัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/z-10-t129-ah-1z.html)
ฮ.โจมตี Z-10ME ได้ถูกวางตำแหน่งสำหรับลูกค้าต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง และมีคุณสมบัติการดัดแปลงที่จะทำให้เครื่องเหมาะสมมากที่สุดที่จะดำเนินการปฏิบัติการสนับสนุนการยิงใกล้ชิดแก่กองกำลังภาคพื้นดิน ตัวแทน AVIC จีนเสริม

ท่ามกลางการดัดแปลงหลักต่างๆคือช่องรับอากาศเข้าเครื่องยนต์ของเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยทรายและฝุ่นที่พบได้ทั่วไปในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน
สิ่งนี้ได้รับการบรรลุผลสำเร็จด้วยตัวกรองการรับอากาศเข้าที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME ตัวแทน AVIC จีนกล่าว

นอกเหนือจากนี้ เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME ได้รับการออกแบบให้ลดความเสี่ยงของเครื่องต่ออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบพกพาด้วยบุคคล
นี่บรรลุผลหลักโดยการเปลี่ยนทิศทางแก๊สไอเสียจากเครื่องยนต์ของเฮลิคอปเตอร์ให้ขึ้นด้านบนแทนที่จะเป็นด้านข้าง และนำระบบตรวจจับการแจ้งเตือนอาวุธปล่อยนำวิถีและระบบมาตรการต่อต้านมาใช้

นอกเหนือจากการเพิ่มขยายต่างๆเหล่านี้ เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME ยังได้ถูกสร้างสำหรับความอยู่รอดที่ดียิ่งขึ้นต่อการถูกยิงด้วยอาวุธขนาดเล็กและระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ที่วางกำลังภาคพื้นดิน
นี่บรรลุผลโดยการนำแผ่นเกราะภายนอกมาใช้ในบางตำแหน่งโดยรอบทั้งหน้าต่างของห้องนักบินเพื่อการป้องกันนักบิน และบนส่วนครอบ(cowling)เครื่องยนต์

เพื่อเพิ่มขยายการเชื่อมโยงของเครื่องกับหน่วยอื่นๆ เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME ยังสามารถที่จะนำสายอากาศระบบสื่อสารดาวเทียม(SATCOM: Satellite Communication) มาใช้ ซึ่งสามารถติดตั้งบนแพนหางท้ายของเครื่องได้
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับขีดความสามารถต่างๆของ radar ที่ติดตั้งบนแกนใบพัดประธาน ตัวแทน AVIC จีนปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยอ้างเหตุผลข้อกังวลด้านการรักษาความลับครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เครื่องบินขับไล่ Kaan ตุรกีทำการบินครั้งแรก

Turkey flies Kaan fighter for first time







Screengrab of a video showing the first flight of the Kaan combat aircraft on 21 February 2024. (Presidency of the Republic of Turkey, Cem Doğut)





ตุรกีได้ทำการบินเครื่องบินขับไล่ Kaan ในโครงการเครื่องบินขับไล่แห่งชาติ(National Combat Aircraft, MMU: Milli Muharip Uçak) เป็นครั้งแรก บริษัท Turkish Aerospace(TA) ตุรกีประกาศ(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/kaan.html)
เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Kaan ที่พัฒนาในตุรกีได้ทำการบินออกจากโรงงานอากาศยานของ TA ตุรกีใน Ankara เพื่อทำการบินครั้งแรกเป็นเวลาประมาณ 15นาที เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2024

สำหรับการบินครั้งแรกเครื่องบินขับไล่ Kaan MMU ทำการบินร่วมไปกับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16D Fighting Falcon กองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force) ที่บินประกบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/f-35a-f-16-block-70-40.html)
"เราได้จารึกอีกการพัฒนาในประวัติศาสตร์ของเรา" ประธานสำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมตุรกี(Defence Industry Agency) Haluk Görgün กล่าวในเหตุการณ์

"ขอให้การบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่แห่งชาติ Kaan MMU ของเราจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติของเรา เราจะ(นำมาซึ่ง)ไม่เพียงแต่เครื่องบินรบยุคที่5 
แต่ยังเป็นวิทยาการต่างๆที่เป็นเจ้าของเพียงไม่กี่ประเทศสู่ประเทศของเราผ่านเครื่องบินขับไล่ Kaan" Görgün เสริม(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/tf-x-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/02/5-tf-x.html)

เครื่องบินขับไล่ Kaan MMU มีความยาวที่ 21m มีปีกกว้างmuj 14m และมีความสูงที่ 6m ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan สองเครื่องที่ให้กำลังขับเครื่องละ 27,000lbs
(ขณะที่เครื่องต้นแบบได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F110 สหรัฐฯ เครื่องในสายการผลิตจะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan ที่ตุรกีพัฒนาในประเทศ)

เครื่องบินขับไล่ Kaan มีความเร็วสูงสุดที่ Mach 1.8 และมีเพดานบินปฏิบัติการที่ 55,000feet และสามารถทนทานต่อความเร่งแรงโน้มถ่วงข้อจำกัดแรง g ที่ระหว่าง +9g และ -3.5g
ในแง่ของระบบ avionic และระบบตรวจจับ เครื่องบินขับไล่ Kaan จะมีคุณสมบัติติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar, ขีดความสามารถสงคราม electronic(EW: Electronic Warfare),

คุณสมบัติระบบสื่อสารนำร่องและพิสูจน์ทราบบูรณาการขั้นก้าวหน้า, ระบบตรวจจับ EOTS(Electro-Optical Targeting System) และ IRST(Infrared Search and Track) และห้องนักบินขั้นก้าวหน้า และส่วนติดต่อมนุษย์-เครื่องจักร(HMI: Human-Machine Interface)
เครื่องบินขับไล่ Kaan มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) ที่ 27,215kg สามารถติดตั้งอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้หลากหลายรูปแบบ โดยมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวเพื่อให้มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก stealth ครับ

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ออสเตรเลียจะขยายกองเรือรบผิวน้ำแต่ลดจำนวนเรือฟริเกตชั้น Hunter ใหม่ลงเหลือ 6ลำ

Australia to expand surface combatant fleet



An artist's impression of the future Hunter-class frigate for the Royal Australian Navy. Canberra has announced plans to reduce its procurement of nine of the type to six. (Commonwealth of Australia)





รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศการเพิ่มขยายหลักของกองเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) ภายใต้แผนที่ประกาศเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024
ในการตอบสนองต่อการทบทวนอย่างอิสระของขีดความสามารถการรบผิวน้ำของกองทัพเรือออสเตรเลีย รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย Richard Marles กล่าวว่า

กองทัพเรือออสเตรเลียจะมีขนาดกองเรือรบของตนมากขึ้นกว่าสองเท่าเพื่อให้ตรงกับความท้าทายทางยุทธศาสตร์ต่างๆในอนาคต ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย
กองเรือรบผิวน้ำอนาคตของกองทัพเรืออสเตรเลียจะประกอบด้วยเรือรบหลักจำนวน 26ลำ รวมถึงเรือรบผิวน้ำระดับ 'Tier 1' จำนวน 9ลำ

เรือรบผิวน้ำระดับ Tier 1 9ลำเหล่านี้คือเรือพิฆาตสงครามทางอากาศชั้น Hobart จำนวน 3ลำที่มีอยู่ในประจำการแล้วโดยได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศและการโจมตี(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/nsm.html)
และเรือฟริเกตชั้น Hunter จำนวน 6ลำ(ถูกลดจำนวนลงจากแผนเดิมจำนวน 9ลำ) ที่จะถูกสร้างโดยบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/bae-systems-hunter-9.html)

แผนยังรวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างเรือรบผิวน้ำระดับ 'Tier 2' จำนวน 17ลำ เรือเหล่านี้ประกอบด้วยเรือฟริเกตอเนกประสงค์จำนวน 11ลำ ที่จะมอบ "ขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศและการคุ้มกันทางทะเลและการโจมตีภาคพื้นดิน"
และเรือผิวน้ำมีตัวเลือกมีกำลังพลขนาดใหญ่(LOSV: Large Optionally Crewed Surface Vessel) ใหม่ 6ลำพร้อมแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) 32ท่อยิง ที่จะ "เพิ่มขีดความสามารถการโจมตีพิสัยไกลของกองทัพเรือออสเตรเลียอย่างมาก" กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียกล่าว

การทบทวนกล่าวว่า เรือฟริเกตอเนกประสงค์จะถูกจัดหาผ่าน "กระบวนการสร้างนอกฝั่งจากนั้นบนฝั่ง ที่ซึ่งเรือจะถูกสร้างจากต่างประเทศก่อนจะทำการขนส่งเพื่อสร้างในออสเตรเลีย"
เสริมว่าเรือ LOSV ควรจะถูกจัดหาผ่านข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เพื่อทำให้ทำการสร้างได้ทั้งอู่เรือ Henderson ในรัฐ Western Australia หรือต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามการทบทวนเสริมว่า "ความตั้งใจคือจะสร้าง(เรือผิวน้ำมีตัวเลือกมีกำลังพลประจำขนาดใหญ่ LOSV) จำนวน 6ลำเหล่านี้ในออสเตรเลียตะวันตก"
ในระยะใกล้เรือฟริเกตชั้น Anzac จำนวน 8ลำที่เข้าประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลียตั้งแต่ปี 1996-2006 จะเริ่มทยอยถูกปลดประจำการลง โดยเรือลำแรกเรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac จะถูกปลดประจำการก่อนกำหนดภายในปี 2024 นี้ครับ