วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Defense & Security 2022: Chaiseri และ DTI ไทยเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger 4x4





The 4x4 D-Tiger tactical vehicle, promoted by Thai Defense Industry company at Defense & Security 2022 in Bangkok. (My own photos)











Thailand 's company Chaiseri also displyed wide range of its First Win 4x4 vehicles family at Defense & Security 2022 in Bangkok. (My own photos)

Defense & Security 2022: Thailand unveils D-Tiger 4x4 tactical vehicle

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ภาคกิจการเอกชน บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย
ได้ร่วมกันพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยางทางยุทธวิธีแบบใหม่ในชื่อรถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger 4x4(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/dti-chaiseri-first-win-4x4.html)

รถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger ขนาด 12 tonne ซึ่งมีพื้นฐานจากรถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win MPV(Multi-Purpose Vehicle) 4x4(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/chaiseri-dti-first-win-4x4-un.html
ได้ถูกเปิดตัวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense & Security 2022 ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)

โฆษกของ DTI ไทยกล่าวกับ Janes ว่ารถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger จะเป็นยานยนต์คันแรกที่จะได้รับการพัฒนาโดย บริษัท Thai Defense Industry(TDI) ไทย กิจการร่วมค้าที่จัดตั้งขึ้นโดย DTI และ Chaiseri ก่อนหน้าในปี ๒๕๖๕
เขากล่าวว่ารถต้นแบบรถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger ถูกวางตำแหน่งทั้งสำหรับกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) และสำหรับลูกค้าส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาติ ASEAN ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger มีลักษณะภายนอกเหมือนกันรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win MPV 4x4 แม้ว่าคุณลักษณะจะแตกต่างกันจากแบบพื้นฐานในรถเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 รุ่นหลังๆ
โฆษก DTI กล่าวว่า รถเกราะล้อยาง D-Tiger ยังนำวิทยาการและส่วนประกอบต่างๆที่พัฒนาในไทยมาใช้มากขึ้น และได้รับการพัฒนาเพื่อที่จะตรงความต้องการภารกิจหลายๆอย่าง รวมถึงการบัญชาการและควบคุม และปฏิบัติการรบทหารราบ

เขากล่าวว่ากิจการร่วมค้าใหม่ บริษัท TDI ไทยยังจะแสวงหาที่จะใช้อำนาจทางตำแหน่งของ DTI ในฐานะหน่วยงานรัฐบาลในการเข้าหาสัญญาใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดย DTI เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหมไทย
ต้นแบบรถเกราะล้อยาง D-Tiger ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Cummins กำลัง 300hp ซึ่งทำให้สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 110km/h มีความยาวรถ 6m ยาว 2.66m และสูง 2.53m โดยปราศจากการติดตั้งป้อมปืน

เช่นเดียวกับรถเกราะล้อยาง First Win 4x4 รถเกราะล้อยาง D-Tiger 4x4 ถูกสร้างในรูปแบบตัวกระดองรถเป็นเหล็กเกราะเชื่อมขึ้นรูปตัว V(V-shaped monocoque hull) ซึ่งถูกสร้างจากเหล็กกล้าเชื่อม
Chaiseri ยังนำรถเกราะตระกูล First Win รุ่นต่างๆมาแสดงรวมถึงรถเกราะล้อยางใช้ต่อสู้ทางยุทธวิธี First Win AFV สำหรับตำรวจตระเวนชายแดน(BPP: Border Patrol Police) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(RTP: Royal Thai Police)ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/first-win-afv-4x4.html)

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ผู้บริหาร Saab สวีเดนหงุดหงิดสุดๆที่เครื่องบินขับไล่ Gripen ทำยอดขายได้ช้ามาก

Saab CEO ‘frustrated' at slow pace of Gripen sales







Seen in Finland where it lost out to the F-35, the Gripen has been effectively frozen out of the international export market since signing Brazil up to the Gripen E/F programme in 2014. (Janes/Gareth Jennings)

ประธานและผู้อำนวยการบริหารบริษัท Saab สวีเดน Micael Johansson ได้กล่าวต่อสื่อถึง 'ความหงุดหงิดสุดขีด' ของเขาต่อยอดขายล่าสุดที่ไม่เพียงพอของเครื่องบินขับไล่ Gripen ของบริษัท
การพูดคุยกับ Janes และสื่อความมั่นคงอื่น ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัท Saab ในนครหลวง Stockholm สวีเดนเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2022 Johansson ยอมรับว่า

Saab Gripen เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เดี่ยวในกลุ่ม 'Euro-canard' ได้พยายามต่อสู้ฟันฝ่าเพื่อให้ตรงการคาดหวังการส่งออกที่ผู้บริหารรุ่นก่อนของเขาได้วางไว้สำหรับเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ 
Johansson กล่าวว่านี่ไม่ได้เป็นการสะท้อนถึงคุณภาพของเครื่องแต่เป็นการลงไปที่เรื่องการเมือง "มันเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดสุดขีดที่จะพูดแต่น้อย และผมสามารถพูดได้ว่ามันไม่เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์(Gripen) ที่เราได้ทำการพัฒนาและผลิต"

"ถ้ามันเป็นสนามการแข่งขันระดับที่สมบูรณ์ในแง่ของการไม่พูดถึงเกี่ยวกับความมั่นคง, การเมือง และภาคส่วนอื่นๆ ดังนั้นผมคิดว่าเราควรจะทำได้ดีกว่านี้มาก(ในแง่ของการได้รับสัญญาการขาย)
ในหลายๆประเทศ การใช้ประโยชน์จากพลังอำนาจของสหรัฐฯนั้นมากมายมหาศาลมาก พวกมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำงานต่อสู้(ในตลาด) และมันเป็นเรื่องการเมือง" Johansson เสริม

ความเห็นของ Johansson มีขึ้นตามเวลาไม่กี่ปีที่ว่างเปล่าในแง่ของการได้รับสัญญาการขายเพิ่มเติมสำหรับทั้งเครื่องบินขับไล่ Gripen E หรือเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ล่าสุด
โดยการรณรงค์การขายนานาชาติที่มีการทำคะแนนอย่างไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่บราซิลเข้าร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ในปี 2014(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/f-39e-gripen-e.html)

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ประสบความสำเร็จในการส่งออกให้แก่สาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/f-35a-24.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/07/gripen-mig-29.html),
ฮังการี(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/gripen-cd-ms20-block-2.html), แอฟริกาใต้ และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/gripen-ms20.html)

เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F มียอดการสั่งซื้อจากกองทัพอากาศสวีเดน(SwAF: Swedish Air Force, Svenska flygvapnet) สำหรับเครื่องบินขับไล่ JAS-39E ที่นั่งเดียว 60เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/saab.html)
และบราซิลสำหรับเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-39E Gripen E จำนวน 28เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-39F Gripen F จำนวน 8เครื่องเท่านั้น โดยพ่ายแพ้แก่เครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II สหรัฐฯในฟินแลนด์และแคนาดาครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-35a.html)

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ยูเครนมีแนวโน้มจะเป็นผู้ใช้ส่งออกรายแรกของจรวดนำวิถี L3Harris VAMPIRE สหรัฐฯ

Ukrainian forces poised to be first to operate the L3Harris VAMPIRE



The Pentagon recently announced it would acquire the VAMPIRE system from L3Harris to send to Ukraine. (L3Harris Technologies)

บริษัท L3Harris Technologies สหรัฐฯยังไม่ได้รับสัญญาจากรัฐบาลสหรัฐฯที่จะผลิตและส่งมอบระบบจรวดนำวิถีติดตั้งบนยานยนต์ VAMPIRE(Vehicle-Agnostic Modular Palletized ISR Rocket Equipment) ใหม่แก่ยูเครน
แต่บริษัท L3Harris สหรัฐฯกล่าวกับ Janes ว่าตนควรจะสามารถที่จะมีการจัดส่งชุดระบบจรวดนำวิถี VAMPIRE ที่ไม่เคยถูกนำเข้าประจำการมาก่อนได้พร้อมในเดือนพฤษภาคม 2023

เมื่อคณะบริหารรัฐบาลของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden ประกาศชุดความช่วยเหลือระบบอาวุธวงเงิน $2.98 billion ใหม่แก่รัฐบาลยูเครนใน Kyiv เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2022 รวมถึงระบบจรวดนำวิถี VAMPIRE ที่ไม่ระบุจำนวนเพื่อยิงทำลายอากาศยานไร้คนขับ
ณ เวลานั้นผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมด้านนโยบาย Colin Kahl ไม่ได้เปิดเผยว่าบริษัทใดเป็นผู้ทำการผลิตอาวุธ แต่กล่าวว่ามันเป็นระบบอาวุธพลังงานจลน์ที่ใช้ "อาวุธปล่อยนำวิถีขนาดเล็ก" เพื่อยิงทำลายอากาศยานไร้คนขับ

L3Harris ยืนยันว่าตนกำลังผลิตชุดติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก ซึ่งรวมถึงแท่นยิงกระเปาะจรวดความจุ 4นัดสำหรับจรวดนำวิถี laser อย่างเช่นจรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี AGR-20 APKWS(Advanced Precision Kill Weapon System)
Paul Swiergosz โฆษก L3Harris สหรัฐฯกล่าวกับ Janes ว่าบริษัทได้เริ่มต้นการพัฒนาระบบจรวดนำวิถี VAMPIRE ก่อนรัสเซียบุกยูเครนในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2022 แต่ยังไม่ถูกนำเข้าประจำการ

นอกจากนี้ บริษัท L3Harris ไม่ได้มองระบบ VAMPIRE นี้ในฐานะระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับตามแบบ(C-UAS: Counter-Unmanned Aerial System) แต่ในฐานะหนึ่งในระบบที่มีความสำหรับการปฏิบัติการที่หลากหลายของอาวุธพื้นสู่พื้นและพื้นสู่อากาศ
"เราเห็นความจำเป็นสำหรับการขัดขวางและความคล่องแคล่วสำหรับนักรบขนาดเบาในสนามรบที่จะสามารถขยายขีดความสามารถของพวกตนนอกเหนืออาวุธขนาดเล็ก (และมอบให้พวกเขาด้วย)อาวุธโจมตีเป้าหมายพื้นสู่พื้นและพื้นสู่อากาศพิสัยไกล" เขาเสริม

เมื่อเวลาที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศก่อนหน้าในปี 2022 นี้ว่าตนกำลังมองหาแนวคิดภาคอุตสาหกรรมสำหรับยุทโธปกรณ์ที่ส่งให้แก่ยูเครน บริษัท L3Harris ได้เสนอระบบจรวดนำวิถี VAMPIRE
ความช่วยเหลือด้านอาวุธจากสหรัฐฯต่อยูเครนที่ถูกเปิดเผยก่อนหน้ายังรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar แบบ AGM-88 HARM ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/f-16-agm-88-harm.html)

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ญี่ปุ่นจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิด MCH-101 เพิ่มในปี 2022

Japan to procure another MCH-101 helicopter in 2022



Japan appears set to procure another MCH-101 AMCM helicopter in 2022, according to details published in the country's defence White Paper for the year. (Leonardo/JMSDF)

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังจัดหาเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิดทางอากาศ MCH-101 AMCM(Airborne Mine Countermeasures) เพิ่มเติมสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force)
การจัดซื้อจัดจ้างได้รับการให้ความสำคัญในฐานะหนึ่งในโครงการหลักของปีงบประมาณ 2022 ในสมุดปกขาวกลาโหมญี่ปุ่นประจำปี 2022(White Paper, Defense of Japan 2022) ของกระทรงกลาโหมญี่ปุ่น

เอกสารที่เผยแพร่ได้แสดงรายการงบประมาณที่วางโครงการไว้ที่ 7.3 billion Yen($53.4 million) สำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิด MCH-101 AMCM มีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Leonardo AW101(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/aw101.html)
และติดตั้งระบบอำนวยการภารกิจต่อต้านทุ่นระเบิด(MCM: Mine Countermeasures) ที่พัฒนาโดยญี่ปุ่น เฮลิคอปเตอร์ MCH-101 ได้รับสิทธิบัตรการผลิตในญี่ปุ่นโดยบริษัท Kawasaki Heavy Industries(KHI)

เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิด MCH-101 มีความยาวรวมที่ 22.8m มีความสูงรวมที่ 6.7m และใบพัดประธานมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 18.6m ใบพัดของเฮลิคอปเตอร์สามารถพับได้เพื่อสะดวกในการจัดเก็บในโรงเก็บอากาศยานของเรือผิวน้ำ
ติดตั้งเครื่องยนต์ turboshaft แบบ General Electric GE CT7-8E สามเครื่อง ทำความเร็วเดินทางได้สูงสุดที่ 150knots และมีอัตราการไต่ระดับเพดานบินสูงสุดที่ 1,880feet ต่อนาที มีระยะเวลาการปฏิบัติการสูงสุดที่ 6ชั่วโมง 50นาที เมื่อใช้ถังเชื้อเพลิงมาตรฐานที่เพดานบิน  6,000feet

ระบบตรวจจับต่อต้านทุ่นระเบิดที่เป็นที่ทราบว่าติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิด MCH-101 ญี่ปุ่นรวมถึง ระบบล่าทำลายทุ่นระเบิดชักหย่อนลากท้ายความเร็วสูง AN/AQS-24A จากบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯ
ซึ่งระบบล่าทุ่นระเบิดชักหย่อน AN/AQS-24A ยังถูกพบติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky CH-53E Super Stallion ที่ประจำการในฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิดทางอากาศ กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)

ระบบล่าทุ่นระเบิด AQS-24A ใช้ sonar กวาด scan ด้านข้างความละเอียดสูงเพื่อจะตรวจพบ, ระบุตำแหน่ง และจำแนกประเภททุ่นระเบิดวางกับพื้นทะเล(bottom mines) และทุ่นระเบิดทอดประจำที่(moored mines)
sonar จะถูกวางระบบใช้งานผ่านประตูทางเข้าด้านท้าย(ramp) ของเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิด MCH-101 และสามารถจะปฏิบัติการที่ความเร็วได้ถึง 18knots

ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิดทางอากาศ MCH-101 จำนวน 10เครื่อง ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิดทางอากาศ MH-53E ที่ปลดประจำการไปแล้ว
โดยประจำการในฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิดที่111(Mine Countermeasures Helicopter Squadron 111) ที่มีที่ตั้ง ณ สถานีอากาศนาวิกโยธิน MCAS(Marine Corps Air Station) Iwakuni ครับ

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สหรัฐฯอนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60M แก่ออสเตรเลีย

US State Department approves sale of UH-60Ms to Australia



Australia's potential acquisition of 40 UH-60Ms from the United States is expected to improve the Australian Army's ability to “maintain the appropriate level of readiness to conduct combined operations”, according to the DSCA. (US Air National Guard/Master Sgt Scott Thompson)

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60M Black Hawk และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องแก่ออสเตรเลียภายใต้รูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) มูลค่าวงเงินประมาณ A$2.79 billion($1.95 billion)
สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ได้ส่งมอบเอกสารแจ้งการรับรองการร้องขอต่อสภา Congress สหรัฐฯของความเป็นไปได้การขายนี้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2022

DSCA สหรัฐฯกล่าวว่ารัฐบาลออสเตรเลียร้องขอที่จะจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60M จำนวน 40เครื่องและเครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft แบบ General Electric T700-GE 701D จำนวน 88เครื่อง(80เครื่องติดตั้งใน ฮ. อีก 8เครื่องเป็นอะไหล่)
องค์ประกอบหลักอื่นๆของข้อเสนอการขายรวมถึงระบบแจ้งเตือนต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถี AN/AAR-57 Counter Missile Warning Systems(CMWS) จำนวน 44ระบบ(40ระบบติดตั้งใน ฮ. และ 4ระบบเป็นอะไหล่),

ระบบนำร่องดาวเทียมและ inertial แบบ H-764U EGI(Embedded Global positioning systems with Inertial) และระบบเข้ารหัสการนำร่องดาวเทียมต่อต้านการปลอมแปลง SAASM(Country Unique Selective Availability Anti-Spoofing Module) 80ระบบใน ฮ.และ 16ระบบเป็นอะไหล่
เฮลิคอปเตอร์ UH-60M มีวัตถุประสงค์ที่จะทดแทนฝูงเฮลิคอปเตอร์พหุภารกิจ Airbus MRH90 Taipan ของกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ที่มีประจำการ 41เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/mrh-90-taipan-uh-60m-black-hawk.html)

ออสเตรเลียได้แสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับการประมาณค่าใช้จ่ายงบประมาณหลักที่เพิ่มสูงขึ้นที่จะดำรงสภาพเฮลิคอปเตอร์ MRH90 ที่จะมีมีอายุการใช้งานไปจนถึงปี 2037
ผู้รับสัญญาหลักที่จะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60M แก่ออสเตรเลียคือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/mh-60r.html)

ขณะที่ DSCA สหรัฐฯกล่าวว่าออสเตรเลียได้ร้องขอข้อเสนอการชดเชย(offset) โดยทั่วไป เสริมว่ามันไม่มีข้อตกลง offset ที่เป็นที่ทราบแนบมายังข้อเสนอความเป็นไปได้การขายนี้
"ข้อตกลง offset ในอนาคตใดๆจะถูกคัดกรองในการเจรจาระหว่างผู้สั่งซื้อและ(บรรดา)ผู้รับสัญญา" สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯกล่าว

นอกจากเฮลิคอปเตอร์ MRH-90 กองทัพบกออสเตรเลียยังวางแผนที่จะปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์โจมตี Airbus Helicopters Tiger ARH จำนวน 22เครื่องของตน ที่มีปัญหาด้านความพร้อมและค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่สูงเช่นกัน
โดยจะถูกทดแทนด้วยเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian จำนวน 29เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-apache.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/01/ah-64e-apache-tiger-arh.html)

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรือไทยฝึกหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำในทะเล Surface Warfare Officer course ประจำปี ๒๕๖๕














Sea Training
Fleet Training Command (FTC), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) Surface warfare officer course for Fiscal Year 2022 on 23 August 2022 involved FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile frigate, FFG-421 HTMS Naresuan guided missile frigate, FSG-441 HTMS Rattanakosin and FSG-442 HTMS Sukhothai guided missile corvettes

Sea Training -  Surface warfare officer course ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ตรวจเยี่ยมการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อสร้างขีดความสามารถให้นายทหารสัญญาบัตรในการปฏิบัติการรบทั้ง ๓ มิติ

วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ตรวจเยี่ยมการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ บนเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และ เรือหลวงรัตนโกสินทร์ 
โดยมีการฝึกการปฏิบัติการทางเรือต่างๆ ในสาขาปฏิบัติการรบทั้ง ๓ มิติ ทั้งการป้องกันภัยทางอากาศ , การปฏิบัติการรบผิวน้ำ และการป้องกันภัยใต้น้ำ รวมถึงการฝึกปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน เพื่อสร้างขีดความสามารถให้นายทหารสัญญาบัตรในการปฏิบัติการรบทางเรือ 

หลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ เป็นหลักสูตรของกองเรือยุทธการที่มีความสำคัญ  โดยมีกองการฝึกกองเรือยุทธการเป็นหน่วยรับผิดชอบ ดำเนินการรับสมัครนายทหารพรรคนาวินที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ ชั้นยศ นาวาเอก (น.อ.) ถึง เรือโท (ร.ท.) ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 
เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความรู้ ความสามารถ ในสาขาวิชาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการทางเรือ และ ยุทธวิธีเรือผิวน้ำ ทำการอบรมทั้งในภาคทฤษฎี , การฝึกด้วยเครื่องฝึกจำลองยุทธ์ และการฝึกภาคปฏิบัติในทะเล รวมระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งสิ้น ๑๐ สัปดาห์ 

นอกจากการฝึกอบรมภาคทฤษฎี และทำการฝึกกับเครื่องฝึกจำลองยุทธอย่างเข้มข้นแล้ว กองเรือยุทธการได้จัดเรือ ฟริเกตสมรรถนะสูง ที่เป็นเขี้ยวเล็บสำคัญของกองทัพเรือ มีระบบอาวุธ ระบบตรวจจับ ระบบอำนวยการรบ และระบบ Tactical Data Link ที่ทันสมัย 
รวมถึงอากาศยานที่มีความพร้อม สนับสนุนการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลให้นายทหารนักเรียนหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ โดยมีเรือและอากาศยานร่วมการฝึกในครั้งนี้ ได้แก่ 
- ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช 
- ร.ล.นเรศวร 
- ร.ล.รัตนโกสินทร์ 
- ร.ล.สุโขทัย 
- เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่ ๑ (F-27 MK200)
- เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ ๔ (S-76B)
- เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่ ๑ (S-70B)
- อากาศยานไร้คนขับ (RQ-21 Blackjack)

ซึ่งผู้ที่สำเร็จหลักสูตรจะได้ประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถ “สงครามเรือผิวน้ำ” อันแสดงถึงได้ผ่านการศึกษาอบรมและการฝึกปฏิบัติตามสาขาต่างๆ ในสาขาปฏิบัติการรบทั้ง ๓ มิติ ทั้งการป้องกันภัยทางอากาศ , การปฏิบัติการรบผิวน้ำ และการป้องกันภัยใต้น้ำ 
รวมถึงการฝึกปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน จนผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น นายยามยุทธการ , นายทหารปฏิบัติการรบ , นายยามปฏิบัติการสงครามทางเรือในระดับหมวดเรือได้ตามความมุ่งหมายของหลักสูตร 
เพื่อสร้างความรู้ และประสบการณ์ ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติการในเรือ เตรียมเรือให้มีความพร้อมรบสูงสุด และเป็นกำลังหลักในการป้องกันอธิปไตย และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลต่อไป

ภาคปฏิบัติในทะเล(Sea Training) หลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ(Surface warfare officer course) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) กองการฝึก(FTC: Fleet Training Command) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
ได้มีการจัดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕ โดยมีพิธีปิดการฝึกไปเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/blog-post_04.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/03/walkaround-vn16.html) แสดงถึงความพร้อมในระดับสูง

นายทหารนักเรียนพรรคนาวินชั้นยศเรือโทถึงนาวาเอกที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือได้รับการสนับสนุนการฝึกจากเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร และเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์ และเรือหลวงสุโขทัย 
เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๔ ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B, เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk และอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๒ บร.ตช.๒ Boeing Insitu RQ-21A Blackjack ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/rq-21a-blackjack.html)

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สหรัฐฯจะบริจาคเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y แก่สาธารณรัฐเช็ก

US to gift H-1 helicopters to Czech Republic



Two of the 10 UH-1Y Venom utility helicopters (right) and six of the 10 AH-1Z Viper attack helicopters (left) the Czech Republic is procuring will be gifted by the US. (Czech MoD)



สาธารณรัฐเช็กจะรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1Y Venom ในเฮลิคอปเตอร์ตระกูล Bell H-1 จำนวน 8เครื่องจากสหรัฐฯเพิ่มเติมแบบให้เปล่า
รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก Jana Černochová ประกาศระหว่างการเยือนฐานบินลำเลียงทางอากาศที่24(24th Air Transport Base) ใน Kbely นอกนครหลวง Prague เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2022

รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก Černochová เธอกล่าวว่าสหรัฐฯจะบริจาคเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y Venom จำนวน 2เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z Viper จำนวน 6เครื่อง
นี่จะทำให้จำนวนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ที่สาธารณรัฐเช็กจะได้รับเพิ่มเป็นแบบละ 10เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/ah-1z-uh-1y.html)

การบริจาคเฮลิคอปเตอร์ตระกูล H-1 เพิ่มเติมได้รับการเห็นชอบระหว่างที่ Černochová เดินทางเยือน Washington, DC ในเดือนเมษายน 2022 และบรรลุผลในวันที่ 18 สิงหาคม 2022
เฮลิคอปเตอร์มือสองเหล่านี้กำลังได้รับการบริจาคภายใต้โครงการ Excess Defense Articles(EDA) สหรัฐฯ และสาธารณรัฐเช็กจะจ่ายเพียงค่าขนส่ง, ซ่อมทำ และดัดแปลงพวกมันให้ตรงตามความต้องการ ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก และสถานทูตสหรัฐฯประจำ Prague

Černochová ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y ใหม่ 8เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ใหม่ 4เครื่อง รวม 12เครื่อง
ที่สาธารณรัฐเช็กสั่งจัดหาจากบริษัท Bell สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นจำนวนเครื่องที่เพียงพอ และสงครามในยูเครนได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นสำหรับการสนับสนุนทางอากาศ

เฮลิคอปเตอร์ตระกูล H-1 สหรัฐฯจะทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35/Mi-24V จำนวน 8เครื่องของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็ก(Czech Air Force, VSACR: Vzdusné Sily Armády České Republiky) เริ่มต้นในปี 2023
พลจัตวา Petr Čepelka ผู้อำนวยการกองการพัฒนากำลังรบกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก กล่าวว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35/Mi-24V ที่สร้างโดยรัสเซียสามารถจะขายหรือใช้เป็นอะไหล่สำหรับเฮลิคอปเตอร์ Mi-171Š ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กได้

พันเอก Miroslav Šajban หัวหน้ากองเฮลิคอปเตอร์และการขนส่งทางอากาศของกรมการบิน กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก กล่าวว่าการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ตระกูล H-1 ที่ทัสมัยจะช่วยสาธารณรัฐเช็กในการลดการพึ่งพาระบบอาวุธรัสเซีย
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กยังจะได้รับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder พร้อมกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ใหม่ด้วยครับ

Korean Air เกาหลีใต้จะพัฒนาฝูงบินอากาศยานไร้คนขับ Stealth UAV

Korean Air to develop stealth UAV squadron

Korean Air will be involved in a programme to develop a squadron of UAVs or ‘loyal wingmen' to support manned fighter aircraft. (Korean Air)

บริษัท Korean Air สาธารณรัฐเกาหลีได้รับเลือกเป็นผู้เข้าแข่งขันที่ต้องการที่จะพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) 'ตรวจจับได้ยาก'(stealth) สำหรับใช้งานโดยฝูงบินรบ(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/uav.html)
ในการประกาศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2022 บริษัท Korean Air กล่าวว่าตนได้รับ "คะแนสูงสุด" จากสำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) สาธารณรัฐเกาหลี สำหรับวิทยาการของตนในขั้นแรกของขั้นตอนการแข่งขัน

Korean Air กล่าวว่าบริษัทได้ถูกรับเลือกในวันที่ 12 สิงหาคม 2022 สาธารณรัฐเกาหลีกำลังพัฒนาแนวคิดของฝูงบินอากาศยานไร้คนขับตรวจจับได้ยาก Stealth UAV 
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาความท้าทายวิทยาการกลาโหมในอนาคต ของสำนักงานการพัฒนาทางกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี ADD(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/kai-fa-50.html)

ADD สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่าได้เริ่มต้นโครงการ Stealth UAV ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ตามข้อมูลจาก Korean Air ทาง ADD ได้เสร็จสิ้นการออกแบบเบื้องต้นแล้ว
ADD สาธารณรัฐเกาหลีมีกำหนดการที่จะทำงานกับ Korean Air เพื่อจะดำเนินการออกแบบรายละเอียดของระบบอากาศยานไร้คนขับ UAV บริษัท Korean Air เสริม

สำหรับโครงการ บริษัท Korean Air ได้รับมอบหมายให้ที่จะพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมอากาศยานมีนักบินบังคับ-อากาศยานไร้คนขับ(MUM-T: Manned-Unmanned Teaming)
ระบบนี้จะทำให้อากาศยานแบบมีนักบินขับหนึ่งเครื่องสามารถจะเชื่อมโยงกับอากาศยานไร้คนขับตรวจจับได้ยาก Stealth UAV สามถึงสี่เครื่องระหว่างปฏิบัติการภารกิจได้ บริษัท Korean Air กล่าว

ระบบได้รับการตั้งชื่อคร่าวๆว่า ระบบไร้คนขับ-คู่บินภักดีเกาหลี(KUS-LW: Korean Unmanned System-Loyal Wingman) ตามภาพแสดงแบบจำลองแนวคิดที่เผยแพร่โดย Korean Air
"ฝูงบิน UAV จะไม่เพียงสนับสนุนและคุ้มกันอากาศยานมีนักบิน แต่ยังจะสามารถดำเนินภารกิจด้วยตัวมันเองรวมถึงการตรวจการณ์, ยุทธวิธีการก่อกวนทาง electronic และการยิงที่แม่นยำ" Korean Air กล่าวครับ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือกองทัพเรือไทยร่วมการฝึกผสม SEACAT 2022 กับกองทัพเรือสหรัฐฯ








































Special Operation Teams of Naval Special Warfare Command (NSWC or RTN SEALs), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) conduct counter-terrorism drill during Southeast Asia Cooperation and Training (SEACAT) 2022 exercise with U.S. Navy (USN) on 22 August 2022.
Exercise SEACAT 2022 at RTN Third Naval Area Command (3rd NAC) with Thailand Maritime Enforcement Command Center (Thai MECC) in Andaman sea ans southern of Phuket Thailand also include PGB-561 HTMS Laemsing patrol gun boat of Patrol Squadron, RTF and enforcement patrol boats from Marine Police, Royal Thai Police (RTP) and Marine Department, Ministry of Transport of Thailand

การฝึก SEACAT Maritime Exercise 2022 ป้องกันการก่อการร้าย ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทัพเรือภาคที่ 3 จัดกำลัง สนับสนุนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) ในการฝึกทางทะเล Southeast Asia Cooperation and Training : SEACAT 2022 ในทะเลอันดามันและตอนใต้ของเกาะภูเก็ต 
การฝึกครั้งนี้ ได้สมมุติสถานการณ์มีผู้ก่อการร้ายใช้เรือสินค้าต่างชาติลำเลียงวัตถุระเบิดเข้ามาในน่านน้ำไทย คาดว่าจะนำมาก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ดังนั้น ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) จึงได้บูรณาการกำลังออกค้นหาและตรวจค้นจับกุมเรือดังกล่าวกลางทะเล 

โดยกำลังที่เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ ประกอบด้วย เรือหลวงแหลมสิงห์ , ชุดตรวจค้นโดยชุดปฏิบัติการพิเศษ กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 3 (หน่วยซีล ) , เรือยาง 2 ลำ จากหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะภูเก็ต (นรภ.ทร.เกาะภูเก็ต) โดยทัพเรือภาคที่ 3 
เรือเจ้าท่า 1301 จากกรมเจ้าท่า และเรือตำรวจน้ำ 706 จากตำรวจน้ำ โดยใช้เรือสินค้า SUNNY QUEEN เป็นเรือสมมุติในการลำเลียงสิ่งผิดกฎหมาย

การฝึก SEACAT นับว่าเป็นเพิ่มพูนประสบการณ์ของกำลังพลและส่งเสริมความร่วมมือของกองทัพเรือ (NAVY) และหน่วยเรือยามฝั่ง (Coast Guard Maritime Security) ของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับสหรัฐอเมริกา 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการก่อการร้ายในทะเลอันดามันและในทะเลภูมิภาคอินโด - แปซิฟิค ต่อไป

การฝึกผสม SEACAT(Southeast Asia Cooperation and Training) 2022 โดยมี ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล.(TMECC: Thailand Maritime Enforcement Command Center) ภาคที่๓ ของไทยร่วมกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้จัดกำลังจากกองทัพเรือภาคที่๓ ทรภ.๓(3rd NAC: Third Naval Area Command) ประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์, ชุดตรวจค้น(VBSS: Visit, Board, Search, and Seizure) จากชุดปฏิบัติการพิเศษ กองเรือปฏิบัติการ, 
หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือ นรภ.ทร.เกาะภูเก็ต รวมกับเรือตรวจการณ์ 706 เรือวาสุเทพ ตำรวจน้ำ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(Marine Police, RTP: Royal Thai Police) และเรือตรวจการณ์เจ้าท่า1301 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม(Marine Department, Ministry of Transport)

การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายที่จัดขึ้นในพื้นที่กองทัพเรือภาคที่๓ และ ศรชล.ภาค๓ ในทะเลอันดามันและตอนใต้ของเกาะภูเก็ตของไทย เป็นการฝึกล่าสุดในพื้นที่หลังการฝึกผสม SEACAT 2021 ในช่วงใกล้เคียงกันของปีที่แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/seacat-2021.html)
นอกจากที่กองทัพเรือไทยได้นำเรือ ตกป. ร.ล.แหลมสิงห์ ซึ่งออกแบบและสร้างโดยอู่เรือ Marsun ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/2023.html) เรือตรวจการณ์ เรือวาสุเทพ 706 ทรง catamaran ก็เป็นเรือที่ต่อในไทยโดยอู่เรือ Marsun เช่นกัน
ชุดปฏิบัติการพิเศษ กองเรือปฏิบัติการ ของ ทรภ.๓ ที่จัดกำลังจาก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(NSWC: Naval Special Warfare Command, RTN SEAL) ก็ถูกเผยแพร่ภาพในชุดเครื่องแบบและอุปกรณ์สนามที่ไม่เคยเห็นมาก่อนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/251.html)