วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

Boeing สหรัฐฯเริ่มการผลิตเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk

Boeing begins T-7A Red Hawk production


Boeing’s roughly 90% assembled static test article forward fuselage for its T-7A Red Hawk jet trainer at its St Louis, Missouri, factory. (Boeing)



บริษัท Boeing สหรัฐฯได้เริ่มต้นการผลิตเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
ณ โรงงานอากาศยาน St Louis มลรัฐ Missouri ของตน และได้มีความคืบหน้าคราวๆร้อยละ90 ของส่วนแบบทดสอบประจำที่(static test article) ของโครงสร้างอากาศยานส่วนหน้า

Chuck Dabundo รองประธาน Boeing และผู้จัดการโครงการ T-7A กล่าวเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2021 ว่า Boeing กำลังทำงานกับโครงสร้างอากาศยานส่วนหน้าแบบทดสอบประจำที่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2021
แบบทดสอบประจำที่จะประกอบเสร็จสิ้นเมื่อ Boeing รวมโครงสร้างลำตัวส่วนหน้าและส่วนหลักเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีขึ้นในอีกราวสองสามเดือนข้างหน้า เขาเสริม

บริษัท Saab สวีเดนซึ่งกำลังพัฒนาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A ร่วมกับ Boeing สหรัฐฯ ได้เสร็จสิ้นการสร้างส่วนโครงสร้างและกำลังทำงานการเครื่องมือวัดประกอบ Dabundo กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/saab-t-7a-red-hawk.html)
บริษัท Triumph Aerospace Structures สหรัฐฯ กำลังทำงานคู่ขนานกับ Boeing และกำลังสร้างส่วนปีกและส่วนแพนหางแนวนอนและแพนหางแนวตั้ง

แบบทดสอบประจำที่จะถูกใช้โดยทั่วไปในโครงการพัฒนาต่างๆโดยโครงสร้างต่างๆที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด เมื่อเสร็จสิ้น Boeing จะนำแบบทดสอบประจำที่เข้าสู่การทดสอบติดตรึงประจำที่(test fixture)
ที่ซึ่งส่วนแบบทดสอบจะให้ข้อมูลการแสดงตัวแทนการบินในภาระบรรทุกบนโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการวัดค่าภาระการบรรทุก

Dabundo กล่าวว่าขณะที่แบบทดสอบประจำที่จะมีความสำคัญในการใช้เครื่องมือเพื่อวัดค่าภารพบรรทุกต่างๆเป็นจำนวนมากเหล่านี้สำหรับเปรียบเทียบต่อแบบจำลองที่ออกแบบมา
แบบทดสอบประจำที่ที่เสร็จสมบูรณ์จะไม่มีระบบต่างๆหรือท่อ hydraulic ใดๆ ซึ่งก็เพราะว่าพวกมันไม่จำเป็นต้องมีสำหรับการทดสอบชนิดต่างๆที่ Boeing จะดำเนินการ

กองทัพอากาศสหรัฐฯมีบันทึกรายการโครงการเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk จำนวน 351เครื่องที่จะทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Northrop T-38 Talon ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1960s
โดยเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A เครื่องแรกมีกำหนดจะส่งมอบให้ฐานทัพอากาศ Randolph AFB(Air Force Base) มลรัฐ Teaxs ในปี 2023

ความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ของเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A มีกำหนดการสำหรับปี 2024 ฐานบินฝึกศิษย์การบินทั้งหมดที่ในที่สุดจะเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38C เป็น T-7A เหล่านี้ประกอบด้วย
ฐานทัพอากาศ Columbus AFB ในมลรัฐ Mississippi, ฐานทัพอากาศ Laughlin AFB และฐานทัพอากาศ Sheppard AFB ในมลรัฐ Texas และฐานทัพอากาศ Vance AFB ในมลรัฐ Oklahoma

พลอากาศเอก Charles Brown ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯต้องการจะนำบทเรียนทางวิศวกรรม digital ที่ได้รับจากโครงการ T-7A เพื่อการจัดหาเครื่องบินรบขั้นก้าวหน้าที่ออกแบบใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/clean-sheet.html)
โดย Boeing กล่าวว่าตนเชื่อว่ามีโอกาสในตลาดนานาชาติสำหรับ T-7 ในฐานะเครื่องบินฝึก, เครื่องบินโจมตีเบา และเครื่องบินข้าศึกสมมุติครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/t-7a-red-hawk.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/07/boeing-t-7-f-5-alpha-jet.html)  

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อิสราเอลลงนามจดหมายตอบรับกับสหรัฐฯสำหรับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A

Israel signs LOA with US for KC-46A, plans agreements for other capability enhancements


CGI of a Boeing KC-46A Pegasus tanker in Israeli service. The country’s MoD announced on 22 February that it had signed an LOA with the United States for two tankers, as well as for other military assistance. (Israeli MoD)



อิสราเอลได้ลงนามจดหมายตอบรับ(LOA: Letter of Acceptance) กับสหรัฐฯสำหรับการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-46A Pegasus จำนวน 2เครื่อง
และแผนข้อตกลงเช่นเดียวกันเพิ่มเติมที่จะเพิ่มขยายความแหลมคมทางทหารเชิงคุณภาพ(QME: Qualitive Military Edge) ของตนในภูมิภาค

กระทรวงกลาโหมอิสราเอลประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2021 ว่าจดหมายตอบรับสำหรับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศได้รับการลงนามในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
เสริมว่ามีจุดประสงค์ที่จะเข้าสู่ข้อตกลงเช่นเดียวกันสำหรับการจัดตั้งฝูงบินเครื่องขับไล่ Lockheed Martin F-35I Adir ฝูงที่สาม(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/f-35i.html)

รวมถึงการทดแทนเฮลิคอเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53D Yasur ของตนด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53K King Stallion ใหม่, การจัดหาอาวุธขั้นก้าวหน้า "อื่นๆอีกมาก"
"แผนการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ในพื้นฐานความช่วยเหลือด้านความมั่นคงของสหรัฐฯมีความสำคัญต่อการเสริมความแข็งแกร่ง QME ของกองทัพอากาศอิสราเอล(IAF: Israeli Air Force) ในหลายทศวรรษที่จะถึง" กระทรวงกลาโหมอิสราเอลกล่าวในบัญชี Twitter อย่างเป็นทางการ

ข่าวการลงนาม LOA เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A มีขึ้น 12เดือนหลังจากอิสราเอลได้รับการอนุมัติจากสหรัฐฯในเดือนมีนาคม 2020 เพื่อจัดซื้อเครื่องบินเติมเชื่อเพลิงกลางอากาศ-ลำเลียงจำนวน 8เครื่อง
เพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ-ลำเลียงแบบ Boeing 707 จำนวน 8เครื่องที่รับมอบมาตั้งแต่ปี 1973 และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ-ลำเลียงแบบ Lockheed Martin KC-130H จำนวน 4เครื่องที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 1976

ทั้งเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing 707 และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130H ต่างเป็นอากาศยานที่มีอายุการใช้งานมานาน
ที่ได้รับความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆจากปัญหาการใช้งานต่างๆ โดยการทดแทนเครื่องบินแบบหนึ่งหรือทั้งสองแบบขณะนี้ได้เลยกำหนดมานานแล้ว

กองทัพอากาศอิสราเอลจะเป็นผู้ใช้งานส่งออกรายที่สองสำหรับ KC-46A ต่อจากลูกค้าส่งออกรายแรกคือกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) จำนวน 4เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/kc-46a-pegasus.html)
โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้รับมอบ KC-46A เครื่องแรกของตนเมื่อเดือนมกราคม 2019 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/kc-46.html)

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เกาหลีใต้จะเริ่มงานโครงการเรือบรรทุกเครื่องบินเบา CVX ในปี 2022

South Korea to begin work on light aircraft carrier in 2022







The RoKN unveiled in January a revised conceptual design for its future light aircraft carrier featuring a twin-island arrangement. Work on the carrier project is now set to officially begin in 2022 and be completed by 2033, according to DAPA. (RoKN)







สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2021 ว่างานเกี่ยวกับเรือบรรทุกเครื่องบินเบายุคหน้าในอนาคตของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) 
มีกำหนดจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2022 และจะเสร็จสิ้นภายในปี 2033(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/lpx-ii.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/10/lpx-ii.html)

อ้างอิงการตัดสินใจที่มีขึ้นก่อนหน้าเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2021 โดยคณะกรรมาธิการส่งเสริมโครงการกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี DAPA เกาหลีใต้กล่าวว่า
งบประมาณวงเงิน 2.3 trillion Korean Won($2.07 billion) ได้รับการจัดสรรล่วงหน้าสำหรับโครงการ ซึ่งรู้จักก่อนหน้าว่า LPX-II แต่ตอนนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น CVX

DAPA เกาหลีใต้ชี้ให้เห็นว่าวงเงินโครงการทั้งหมด "จะถูกตรวจสอบ/ยืนยันผ่านการศึกษาความเป็นได้" ที่มีกำหนดจะดำเนินการโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังสาธารณรัฐเกาหลี
DAPA กล่าวว่าโครงการ CVX เรือบรรทุกเครื่องบินเบาลำแรกของประเทศที่จะ "ปราบปรามการยั่วยุในน่านน้ำพิพาท" และจะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อ "ภัยคุกคามมความมั่นคงหลากหลายรูปแบบ" ผ่านการใช้อากาศยานบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing)

การพัฒนาล่าสุดมีขึ้นตามหลังจากที่กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเปิดเผยการปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบของโครงการเรือบรรทุกเครื่องบินเบา CVX ในเดือนมกราคม 2021
การออกแบบล่าสุดซึ่งยืนยันว่าเรือบบรทุกเครื่องบินเบา CVX จะไม่มีทางวิ่งส่งอากาศยานขึ้นบินแบบ ski-jump มีคุณสมบัติการจัดแต่งรูปแบบหอเรือคู่(twin-island) 

ภาพวาดสามมิติที่สร้างโดย computer(CGI: Computer-Generated Imagery) ที่ปรากฎยังยืนยันว่ากองทัพเรือเกาหลีใต้มีแผนที่จะปฏิบัติการครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter จากเรือ
เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sikorsky/Lockheed Martin MH-60R Seahawk ยังถูกพบบนเรือด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/mh-60r.html)

อย่างไรก็ตามกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีชี้ให้เห็นว่าแนวคิดการออกแบบล่าสุดสามารถถูกปรับเปลี่ยนใหม่เพิ่มเติมได้ระหว่างที่อยู๋ในขั้นตอนการออกแบบพื้นฐานและรายละเอียด
ก่อนหน้านั้นในปลายเดือนตุลาคม 2020 เจ้าหน้าที่และนักวิจัยกลาโหมของสาธารณรัฐเกาหลีได้จัดการประชุมครั้งแรกของตนเพื่อหารือการพัฒนา "วิทยาการหลัก" สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน

DAPA: ประกาศ ณ เวลานั้นว่ามีสถาบันและบริษัทรวมทั้งหมด 7รายที่เข้าร่วมการประชุมรวมถึง สำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) สาธารณรัฐเกาหลี, มหาวิทยาลัยแห่งชาติ Pusan และบริษัท LIG Nex 1 สาธารณรัฐเกาหลี 
จะเข้ามามีส่วนในขั้นตอนการพัฒนาซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2024 ในฐานะตัวอย่างของวิทยาการหลัก DAPA อ้างอิงถึงแผนการพัฒนาวัสดุเคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบินเบาขนาดระวางขับน้ำ 40,000-tonne ครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เยอรมนีจัดหาระบบป้องกันเชิงรุก Trophy APS อิสราเอลสำหรับรถถังหลัก Leopard 2

Germany orders Trophy APS for Bundeswehr Leopard 2s



The BAAINBw has signed a government-to-government agreement with the Israel MoD for Rafael’s Trophy APS for installation in German Leopard 2 tanks (KMW)



สำนักงานยุทโธปกรณ์, ข้อมูล, วิทยาการ และการสนับสนุนระหว่างประจำการกองทัพสหพันธรัฐเยอรมนี(BAAINBw) ได้ลงนามข้อตกลงรัฐบาลต่อรัฐบาลกับกระทรวงกลาโหมอิสราเอล
สำหรับระบบป้องกันเชิงรุก (APS: Active-Protection System) แบบ Rafael Trophy อิสราเอลเพื่อติดตั้งในรถถังหลัก Leopard 2 เยอรมนี กระทรวงกลาโหมอิสราเอลและ Rafael ประกาศในสื่อประชาสัมพันธ์ที่แยกกันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2021

กระทรวงกลาโหมอิสราเอลกล่าวว่าโครงการซึ่งนำโดยกรมวิจัยและพัฒนาทางกลาโหม(MAFAT) และบริษัท Rafael Advanced Defense Systems อิสราเอล
ครอบคลุมการส่งมอบระบบสำหรับกองร้อยรถถัง, ตัวสกัดกั้น(interceptor), อะไหล่ และการฝึกการปฏิบัติงานและทางเทคนิค ระบบจะถูกส่งมอบตลอดช่วงเวลาในอีกหลายปีข้างหน้า กระทรวงกลาโหมอิสราเอลกล่าว

Rafale อิสราเอลกล่าวว่าตนได้รับการประกาศสัญญาสำหรับระบบป้องกันเชิงรุก Trophy APS ชุดแรกขั้นต้น และบริษัท Krauss-Maffei Wegmann(KMW) เยอรมนียังได้รับการประกาศสัญญาด้วย
รองประธานบริหาร Rafale อิสราเอล Ran Gozali ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกระบบทางบกและทางเรือของบริษัทกล่าวว่า สองบริษัทจะบูรณาการและติดตั้งระบบ Trophy กับรถถังหลัก Leopard 2 และรถแบบอื่นๆในอนาคต

บริษัท KMW เยอรมนีกล่าวกับ Janes เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2021 ว่าตนจะติดตั้งระบบ Trophy APS กับรถถังหลัก Leopard 2A6M3 ไปจนถึงปี 2023 ภาพของรถถังหลัก Leopard 2 หลังได้รับการติดตั้งของ KMW ได้รับการกำหนดแบบเป็นรถถังหลัก Leopard 2A7A1
Rafale อิสราเอลคาดว่าเยอรมนีจะจัดหาระบบป้องกันเชิงรุก Trophy APS เพิ่มเติมเพื่อที่จะติดตั้งกับรถถังหลัก Leopard 2 ส่วนใหญ่ของตน โดยระบบ Trophy มีขีดความสามารถในการทำลายกระสุน,จรวด และอาวุธปล่อยนำวิถีที่พุ่งเข้าหาก่อนที่จะโดนตัวรถ

กองทัพบกเยอรมนี(German Army, Deutsches Heer) กองทัพสหพันธรัฐเยอรมนี(Bundeswehr) จะได้รับมอบรถถังหลัก Leopard 2A7V ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ครบ 104คันภายในปี 2023
ขณะที่รถถังหลัก Leopard 2A6MA2 และรถถังหลัก Leopard 2A6 จำนวน 101คันจะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานรถถังหลัก Leopard 2A6MA3 ซึ่งงานจะเสร็จสิ้นภายในปี 2026 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/leopard-2a7v.html

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กองทัพบกไทยจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง บ.ล.๒๙๕ C295W เครื่องที่สาม










The first (serial 16150) and second (serail 16160) Airbus Defence and Space C295W transport aircrafts of 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army (RTA).





ซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง แบบที่ 2 จำนวน 1 ลำ พร้อมชิ้นส่วนและบริภัณฑ์ภาคพื้น

เอกสารประกาศของ กรมการขนส่งทหารบก ขส.ทบ.(Department of Army Transportation) กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ถึงแผนการจัดจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางสำหรับซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ จำนวน ๑เครื่อง พร้อมชิ้นส่วนบริภัณฑ์ภาคพื้น
งบประมาณวงเงิน ๑,๓๔๘,๒๗๖,๔๕๒บาท หรือ 34,615,570 Euros($42,075,918) ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ใช้จ่ายจากงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) วงเงิน ๑๓๕,๐๐๐,๐๐๐บาท และ งป.๒๕๖๔ วงเงิน ๕๔๐,๐๐๐,๐๐๐บาท
กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ แหล่งที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) คือ บริษัท Airbus Defence and Space ราชอาณจักรสเปน คาดว่าจะประกาศจัดซื้อจัดจ้างในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔

น่าจะเป็นที่ชัดเจนว่า เครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ ดังกล่าวคือเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W ที่กองทัพบกไทยได้จัดหามาแล้ว ๒เครื่องเข้าประจำการที่ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก(เดิมเคยประจำการใน ฝูงเครื่องบิน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก)
เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C295W เครื่องแรกหมายเลข 16150 เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) เป็นการจัดหาระยะที่๑ วงเงินประมาณ ๑,๒๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/c-295w.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/06/c-295w.html)
บ.ล.๒๙๕ C295W เครื่องที่สองหมายเลข 16160 ถูกสั่งจัดหาตามมาในระยะที่๒ ที่วงเงิน๑,๖๑๙,๙๙๙,๙๖๘.๘๘บาท(43,199,999.17 Euros) ซึ่งน่าจะได้รับมอบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ถึงต้นปี ๒๕๖๓ ตามที่มีการพบภาพถ่ายว่าถูกนำมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานต่างๆ

บ.ล.๒๙๕ C295W เป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ PRATT & WHITHEY PW-127G กำลังเครื่องละ 2,645HP มีความเร็วเดินทาง 240Knots 
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 7,500liters ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 762liters/ชั่วโมง มีพิสัยบิน 2,220nmi(น้ำหนักบรรทุก 3tons), 1,800nmi(น้ำหนักบรรทุก 5tons) , 735nmi (น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 8tons) 
มีระบบปรับความดันอากาศในห้องโดยสาร/บรรทุก ติดตั้งเก้าอี้แบบแถวเปล ๗๑ที่นั่ง พลร่ม ๕๐นาย น้ำหนักบรรทุกสูงสุด  8tons, เปลพยาบาล ๒๔เปล, แผ่นบรรทุกสัมภาระ 5 PALLET 

เครื่องบินลำเลียง C295 มีสายการผลิตตั้งแต่ปี 1997 และรุ่นล่าสุด C295W ถูกเปิดตัวในปี 2013 โดยปัจจุบันมีประเทศต่างทั่วโลกสั่งจัดหาไปแล้วมากกว่า ๓๐ประเทศ โดยมียอดสั่งจัดหารวมถึง ๒๑๕เครื่อง ตามข้อมูลจากบริษัท Airbus ยุโรป
กองทัพบกไทยได้ใช้เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C295W ในการสนับสนุนภารกิจต่างๆของตนเช่น การฝึกการส่งทางอากาศ โดดร่มสายตรึงประจำที่(static line) และโดดร่มกระตุกเอง(free fall) ของโรงเรียนสงครามพิเศษ(Special Warfare School) ศูนย์สงครามพิเศษ(Special Warfare Center)
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางรวมทั้งหมด ๔เครื่อง ตามที่ปัจจุบันมีประจำการแล้ว ๒เครื่อง และมีแผนจะจัดหา ๑เครื่องล่าสุด ทำให้ยังน่าจะมีการจัดหา บ.ล.๒๙๕ C295W ในระยะที่๔ อีก ๑เครื่องในอนาคตเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณครับ

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อินโดนีเซียเปิดเผยแผนจัดหาอากาศยานรวมถึงเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสและ F-15EX สหรัฐฯ

Indonesian MoD reveals aircraft procurement plans
An Indian Air Force Rafale multirole fighter aircraft. (Dassault Aviation/G. Gosset)




Indonesia’s MoD published in mid-February a list of big-ticket items it is proposing to Jakarta for procurement over the next four years. The list includes Rafale and F-15EX fighters, as well as C-130J, A330 MRTT aircraft, and UAVs. (USAF, RSAF, Indonesian MOD)

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เผยแพร่รายการที่ดูเหมือนจะเป็นความต้องของยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ต่างๆที่เป็นการเสนอเพื่อจัดหาสำหรับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ตลอดช่วงสี่ปีข้างหน้า
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส และเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Advanced Eagle สหรัฐฯ, เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J Super Hercules สหรัฐฯ และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT(Multi-Role Tanker Transport) ยุโรป

รายการเหล่านี้ถูกเผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ประจำปี 2021 สำหรับกองทัพอินโดนีเซีย(Indonesian Armed Forces, TNI: Tentara Nasional Indonesia) และคณะกรรมการกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียที่รู้จักในชื่อ 'สมัชชาผู้นำ'(Leadership Assembly)
สื่อสิ่งพิมพ์มีการลงคำกล่าวเปิดจากผู้บัญชาการกองทัพอินโดนีเซีย พลอากาศเอก Hadi Tjahjanto และรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto ถูกเผยแพร่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2021

"สำหรับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย เราจะคืนสภาพฝูงบินเครื่องขับไล่ทั้งหมดของเรา และเราได้รับงบประมาณสำหรับเรื่องนี้ ยกเว้นการทดแทนเครื่องบินไอพ่น Hawk"
รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo กล่าวในความเห็นของเขา ในการอ้างอิงถึงฝูงเครื่องบินฝึกไอพ่น BAE Hawk 109 และเครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น BAE Hawk 209 ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย

"(จะมี) เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Rafale จำนวน 36เครื่องจากฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafale-su-35.html) และเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวน 36เครื่องจากสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/f-15ex.html
ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนเริ่มที่ 8เครื่อง และ 6เครื่องของเครื่องเหล่านี้จะมาถึงก่อนปี 2020" รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo กล่าว

นอกเหนือจากเครื่องบินขับไล่ กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยังรวมถึง เครื่องบินลำเลียง C-130J จำนวน 15เครื่อง, เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT จำนวน 2เครื่อง,
สถานี radar ควบคุมการสกัดกั้นภาคพื้นดิน(GCI: Ground-Controlled Interception) 30ระบบ และอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) 3ระบบ เข้าสู่รายการความต้องการจัดซื้อจัดจ้างที่รู้จักในชื่อ 'สมุดปกน้ำเงิน'(Blue Book)

อากาศยานในรายการของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยังมีในส่วนของกองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Darat) รวมถึง UAV จำนวน 3ระบบ,
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky/Lockheed Martin UH-60 Blackhawk จำนวน 32เครื่อง และอากาศยานใบพัดกระดก Bell-Boeing V-22 Osprey จำนวน 4เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/mv-22-osprey.html

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศสหรัฐฯพิจารณาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่ออกแบบใหม่ clean-sheet สำหรับการรบขั้นต่ำ

US Air Force considers procuring clean-sheet design aircraft for low-end fight



The Boeing-Saab T-7A Red Hawk jet trainer utilised digital engineering for its development. 
The USAF chief of staff wants to leverage digital engineering lessons from the T-7A to procure a new clean-sheet advanced aircraft that would have capabilities in the range of a 4th–5th-generation fighter. (Boeing)



ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) พลอากาศเอก Charles Brown ต้องการจะจัดหาเครื่องบินรบขั้นก้าวหน้าที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดแต่ต้น(clean-sheet)
ที่จะมีขีดความสามารถระหว่างเครื่องบินขับไล่ยุคที่4(เช่น F-16C/D และ F-15E) และเครื่องบินขับไล่ยุคที่5(เช่น F-22A และ F-35A) เพื่อดำเนินการปฏิบัติการรบในระดับล่างขั้นต่ำ

กองทัพอากาศสหรัฐฯจะเดำเนินการศึกษาอากาศยานทางยุทธวิธีโดยการใช้การสร้างแบบจำลองและการจำลองสถานการณ์(M&S: Modelling and Simulation) เพื่อประเมินค่าการผสมระบบอากาศยานทางยุทธวิธีที่เหมาะสมที่จะให้ขีดความสามารถสูงสุด
พลอากาศเอก Brown กล่าวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2021 ว่าการศึกษานี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่กองทัพอากาศสหรัฐฯจำเป็นว่า มีเครื่องบินจำนวนเท่าไรที่ต้องจัดหา และถ้าเป็นเครื่องเป็นที่ออกแบบใหม่จะต้องมอบก้าวกระโดดในด้านวิทยาการด้วย

อดีตนักบินกองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 ว่าเครื่องบินรบทางยุทธวิธีรวมถึงเครื่องบินขับไล่เช่น เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF)
และเครื่องบินโจมตีเช่น เครื่องบินโจมตี Fairchild-Republic A-10 Thunderbolt II สำหรับการสนับสนุนทางอากาศแบบใกล้ชิด(CAS: Close Air Support)

อากาศยานทางยุทธวิธียังรวมถึงระบบอากาศยานไร้คนขับลาดตระเวนทางยุทธวิธีพหุภารกิจ เช่น อากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE: Medium-Altitude Long-Endurance)
แบบ General Atomics Aeronautical Systems Inc(GA-ASI) MQ-9 Reaper UAV(Unmanned Aerial Vehicle) พร้อมระบบอาวุธ

พลอากาศเอก Brown ต้องการขีดความสามารถต่างๆ เช่น ระบบภารกิจเปิด(OMS: Open Mission Systems) ที่เข้ากล่าวว่าไม่ควรจะนำมาจากอากาศยานที่มีอยู่ เช่น เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon
OMS จะทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯจะปรับปรุงรหัส(ชุดคำสั่ง)ในสิ่งต่างๆในไม่กี่นาทีเพื่อตอบสนองภัยคุกคามใหม่ เขากล่าวว่าการบินกับ F-16 ใช้เวลาหลายปีที่จะได้รับรูปแบบการปฏิบัติการบินใหม่สำหรับเครื่อง การร้องขอความเห็นจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯมีขึ้นก่อนการเผยแพร่บทความ

ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯต้องการจะนำบทเรียนทางวิศวกรรม digital ที่ได้รับเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-7A Red Hawk เพื่อการจัดหาเครื่องบินรบขั้นก้าวหน้าที่ออกแบบใหม่
บริษัท Boeing สหรัฐฯกล่าวว่าตนเชื่อว่ามีโอกาสในตลาดนานาชาติสำหรับ T-7 ในฐานะเครื่องบินฝึก, เครื่องบินโจมตีเบา และเครื่องบินข้าศึกสมมุติครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/t-7a-red-hawk.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/07/boeing-t-7-f-5-alpha-jet.html)

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยสาธิตอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS








Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies SDT Composites and Pims Technologies was demonstrated MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) in 18 February 2021.

Clip: 









เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ก.พ.64 ณ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ (สวพ.ทร.) นำโดย พล.ร.ต.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผอ.สวพ.ทร. 
และคณะนักวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (MARCUS) ทำการบรรยายและสาธิตการบินของอากาศยานไร้นักบิน MARCUS 
ต่อ พล.ร.อ.สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะผู้บังคับบัญชาระดับสูงของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.), ทัพเรือภาคที่ 1 / ศรชล.ภาค 1 และกองบินทหารเรือ 
เพื่อแสดงถึงศักยภาพและผลสำเร็จของโครงการวิจัยฯ ที่เป็นผลงานของ สวพ.ทร. ซึ่งมีบริษัท SDT Composites และบริษัท Pims Technologies ที่เป็นภาคเอกชนของประเทศไทย ที่ได้ร่วมวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ด้วย
โดยรองผู้บัญชาการทหารเรือและคณะผู้บังคับบัญชาระดับสูง ได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุนผลักดันผลงานของโครงการวิจัยและพัฒนา MARCUS ให้เข้าสู่สายการผลิต และขึ้นประจำการในกองทัพเรือต่อไป

โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS(Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ร่วมกับภาคเอกชนของไทย 
คือ บริษัท SDT Composites ผู้ออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศ และบริษัท Pims Technologies ผู้พัฒนาระบบควบคุมการบินและการสื่อสาร เป็นผลงานการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้นลงทางดิ่งแบบล่าสุดของกองทัพเรือไทย

ก่อนหน้านั้นกองทัพเรือไทยได้มีการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Falcon-V FUVEC(Fixed wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) โดยความร่วมมือกับบริษัท TOP Engineering Corporation 
ที่มีการทดสอบการใช้งานจริงไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html) ซึ่งอากาศยานไร้คนขับ MARCUS เป็นระบบที่มีรูปแบบการบินคล้ายกันแต่มีขนาดต่างกัน

กองทัพเรือไทยได้มีการจัดหา UAV หลายระบบที่พัฒนาภายในประเทศโดยเฉพาะระบบที่ สวพ.ทร.ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Narai 3.0, Ongkot และ TAREM ที่มีสายการผลิตจำนวนมากและถูกนำไปใช้งานจริงโดยหน่วยปฏิบัติงานภาคสนามแล้ว
โดยล่าสุดคือระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก D-Eyes 02 Mini UAV ที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute)(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/dti-d-eyes-02-mini-uav.html)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช.(NRCT: National Research Council of Thailand) ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาแก่ สวพ.ทร.ในกรอบวงเงินราว ๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท สำหรับ VTOL UAV ปีกตรึงน้ำหนักบรรทุก 4-5kg ทำการบินได้นาน ๔-๕ชั่วโมง และบินขึ้นลงจากพื้นที่ขนาดเพียง 3mx3m ได้
หลังจาการสาธิตการทดสอบการปฏิบัติล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ณ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อากาศยานไร้คนขับ MARCUS จะถูกเปิดสายการผลิตและนำเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยเช่นเดียวกับระบบ UAV ที่มีการวิจัยและพัฒนาก่อนหน้าต่อไปครับ

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศสหรัฐฯเริ่มการปลดประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิด B-1B

USAF begins B-1B retirements



The first of 17 B-1Bs to be retired by the USAF prepares to depart from its home station of Ellsworth AFB in South Dakota.




The service fields 62 B-1Bs, meaning that 45 will remain operational once this initial divestment is complete (though four of the 17 will be stored in a reclaimable condition, should they be needed again). (US Air Force)



กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้เริ่มต้นการปลดประจำการของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Rockwell B-1B Lancer ตามที่ตนเตรียมการสำหรับการเข้าประจำการของเครื่องบินทิ้งระเบิด Northrop Grumman B-21 Raider

เครื่องบินทิ้งระเบิด B-1B เครื่องแรกจากจำนวนขั้นต้น 17เครื่องย้ายจากที่ตั้งหลักของตนที่ฐานทัพอากาศ Ellsworth AFB(Air Force Base) ในมลรัฐ South Dakota เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2021 
ปัจจุบันกองทัพอากาศสหรัฐฯมี B-1B ประจำการ 62เครื่อง ซึ่งหมายความว่าจะมี 45เครื่องที่ยังประจำการจนกว่าการปลดเครื่องชุดแรกจะเสร็จสิ้น(ตามที่ 4เครื่องจาก 17เครื่องจะถูกเก็บรักษาในสภาพกลับมาใช้งานได้ใหม่ถ้าพวกมันจำเป็นต้องถูกใช้อีกครั้ง)

"การเริ่มต้นที่จะปลดประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นดั้งเดิมเพื่อนำทางสำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิด B-21 Raider เป็นสิ่งที่เราเดินหน้าทำงานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว" 
พลอากาศเอก Tim Ray ผู้บัญชาการกองบัญชาการโจมตีทั่วโลกกองทัพอากาศสหรัฐฯ(AFGSC: Air Force Global Strike Command) ถูกอ้างคำพูดตามที่เขากล่าว

"เนื่องจากการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นกับฝูงบิน B-1B ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา การดำรงสภาพเครื่องบินทิ้งระเบิดเหล่านี้จะมีค่าใช้จ่ายหลายสิบล้านเหรียญต่อเครื่องเพื่อกลับมามีสถานะที่เป็นอยู่เดิม(status quo)
และนั่นเป็นเพียงการที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เรารู้อยู่แล้วเท่านั้น เราเพียงกำลังเร่งการปลดประจำการตามที่วางแผนไว้ให้เร็วขึ้นเท่านั้น" พลอากาศเอก Ray กล่าว

ตามการเน้นโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ การปฏิบัติการรบต่อเนื่องตลาด 20ปีหลังมานี้ได้สร้างความเสียหายแก่โครงสร้างอากาศยานของเครื่องบินทิ้งระเบิด B-1B
ปัจจุบันชิ้นส่วนเล็กๆของ B-1B อยู่ในสถานะที่จำเป็นต้องการวงเงินเพื่อดำเนินงานประมาณ $10 million-$30 million ต่อเครื่อง ตามที่จะมีการนำเครื่องบินทิ้งระเบิด B-21 เข้าประจำการในอีกหลายปีที่จะถึง

กองทัพอากาศสหรัฐฯคาดว่าการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินทิ้งระเบิด B-21 จะมีขึ้นไม่เร็วไปกว่าปี 2022 ช้ากว่ากรอบระเวลาเดิมที่คาดไว้ว่าจะเป็นปลายปี 2021 เล็กน้อย
ปัจจุบันกองทัพอากาศสหรัฐฯมีเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบต่างๆรวม 157เครื่อง นอกจาก B-1B คือเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Boeing B-52H Stratofortress จำนวน 76เครื่อง และเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Northrop Grumman B-2 Spirit จำนวน 20เครื่องครับ