วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อู่ลอยที่กำลังปรับปรุงเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov รัสเซียจม

Sunken floating dock in Murmansk will take at least six months to recover — source
Russian aircraft carrier Admiral Kuznetsov at the PD-50 floating dock in Murmansk
The floating dock of the 82nd repair plant in Murmansk sank the moment The Admiral Kuznetsov was being pullout out
http://tass.com/defense/1028500

Floating dock at Murmansk shipyard sinks, four people injured
Russian aircraft carrier Admiral Kuznetsov was undergoing upgrade works at this shipyard in Murmansk
http://tass.com/emergencies/1028453


Heavy aircraft carrying cruiser "Admiral of the Fleet of the Soviet Union Kuznetsov" was removed from sanked floating dock PD-50 with crane collapsed and moored at Ship repair Zvezdochka Center in Murmansk


อู่ลอย(Floating Dock) PD-50 ที่เป็นสถานที่ดำเนินการปรับปรุงเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov กองทัพเรือรัสเซียได้จมลงอย่างสมบูรณ์ ตามที่แหล่งข่าวในหน่วยงานเผชิญเหตุฉุกเฉินของรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2018
"อู่ลอยได้จทลงอย่างสมบูรณ์แล้ว" แหล่งข่าวกล่าว มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ว่าอู่ลอยดังกล่าวได้จมลงบางส่วน อู่ลอย PD-50 ที่จมนี้เป็นของอู่ซ่อมบำรุงที่82 ใน Murmansk เรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ได้ถูกลากจูงไปยังอู่เรืออื่นใน Murmansk
"แม้จะมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น Admiral Kuznetsov ยังคงลอยลำอยู่ กำหนดการสำหรับการซ่อมเรือไม่ได้หยุดชะงัก" Yevgeny Gladyshev โฆษกของอู่เรือ Zvezdochka กล่าว

อย่างไรก็ตามปฏิบัติการกู้อู่ลอย PD-50 ที่จมใน Murmansk จะเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากและอาจจะใช้เวลา 6เดือนถึง 1ปีในการกู้ให้สำเร็จ แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียกล่าวกับ TASS
"ขนาดและระวางขับน้ำที่ใหญ่โตของอู่ลอยคือสิ่งที่มันเป็น ปฏิบัติการที่จะกู้มันจะเป็นที่ค่อนข้างยุ่งยาก การจัดการที่ดีขึ้นกับว่ามันจมวางตัวในแนวแบนราบหรือตะแคงข้าง เหตุการณ์การจมที่มีรายการบันทึกไว้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบตะแคงข้างซึ่งจะยุ่งยากในการปฏิบัติการ
ประสบการณ์ในการกู้เรือเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่จม(เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน K-141 Kursk ที่จมในปี 2000) บ่งชี้ว่าปฏิบัติการกู้อู่ลอยอาจจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6เดือนหรือท้ายสุดตลอดทั้งปี" แหล่งข่าวกล่าว

นอกเหนือจากอู่ลอย PD-50 รัสเซียยังมีอู่ลอย PD-1 อีกอู่ที่มีขนาดใกล้เคียงกันใน Severodvinsk ที่สามารถรองรับเรือผิวน้ำขนาดใหญ่ได้เช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov หรือเรือลาดตระเวนประจัญบานพลังงานนิวเคลียร์ Pyotr Veliki
ตามรายงานล่าสุดมีคนงานได้รับบาดเจ็บ 4รายจากอาการ Hypothermia และได้ถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้ว โดย 1รายมีอาการสาหัสจากอาการบาดเจ็บที่ช่องท้อง และมีคนงานอีก 1รายที่ยังหายสาบสูญ
กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ทำสัญญาปรับปรุงเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov กับอู่ซ่อมเรือ Zvyozdochka ในเดือนเมษายน 2018 และหวังว่าจะกลับเข้าประจำการได้ใหม่ในปี 2021(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/admiral-kuznetsov.html)

เรือลาดตระเวนหนักบรรทุกเครื่องบิน Project 11435 Admiral Kuznetsov ได้เข้าประจำการในกองเรือทะเลเหนือ กองทัพเรือรัสเซียในปี 1991 โดยเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวของกองทัพรัสเซีย
Admiral Kuznetsov มีระวางขับน้ำ 59,100tons ความยาวเรือ 306m และทำความเร็วได้สูงสุด 29knots สามารถบรรทุกอากาศยานปีกตรึงเช่นเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-33 และเครื่องบินขับไล่ MiG-29K และเฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-27, Ka-29 และ Ka-31 ไปกับเรือได้ถึง 50เครื่อง
Admiral Kuznetsov ยังติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/admiral-kuznetsov-kalibr.html) และระบบป้องกันภัยทางอากาศทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศและปืนใหญ่กลครับ

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Boeing สหรัฐฯกำลังทดสอบแนวคิดเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ความเร็วสูง

Boeing testing high-speed Apache concept
Boeing is testing possible modifications to its Apache attack helicopter such as a fixed-wing and pusher propeller that could add speed and reduce drag. (IHS Markit/Pat Host)
https://www.janes.com/article/84079/boeing-testing-high-speed-apache-concept

บริษัท Boeing สหรัฐฯกำลังทดสอบความเป็นไปได้ในการดัดแปลงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ของตนเพื่อให้สามารถเพิ่มความเร็วสูงขึ้นและมีแรงต้านอากาศน้อยลงได้
การดัดเแปลงดังกล่าวที่รู้จักในชื่อ AH-64E Block 2 Compound มีคุณสมบัติประกอบด้วยปีกตรึงขนาดใหญ่, ท่อไอเสียชี้ไปทางด้านหลัง, แพนหางแนวตั้งทางด้านล่าง และใบพัดขับดันในด้านท้าย(pusher propeller) โดย ฮ.ยังคงมีใบพัดท้ายไว้เพื่อต้านแรงบิด(anti-torque) อยู่

การดัดแปลงดังกล่าวกำลังถูกทดสอบที่อุโมงค์ลมของ Boeing ใน Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania สหรัฐฯ โดยใช้แบบจำลองย่อขนาดลงร้อยละ30 การทดสอบคาดว่าจะสรุปผลได้ในเดือนมกราคม 2019
Boeing สหรัฐฯเชื่อว่าการดัดแปลงเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเร็วและพิสัยการบินอีกร้อยละ50, เพิ่มอายุการใช้งานเป็นสองเท่า และมีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงดีกว่าร้อยละ24 สำหรับราคาเครื่องที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ20

คุณสมบัติของ ฮ.โจมตี AH-64E ปัจจุบันมีท่อไอเสียชี้ไปทางด้านบน, มีแพนหางแนวตั้งทางด้านบน และมีเพียงปีกสั้น(stub wings) ยื่นข้างลำตัวทั้งสองด้านสำหรับเป็นตำบลติดอาวุธ
โดยมีความแตกต่างไม่มากจากเครื่องต้นแบบ YAH-64A ที่พัฒนาโดยบริษัท Hughes Helicopters ซึ่งทำการบินครั้งแรกในปี 1975 และต่อมาถูกควบรวมกิจการโดยบริษัท McDonnell Douglas ในปี 1984 และบริษัท Boeing ในปี 1997 ซึ่งเป็นผู้เปิดสายการผลิตในปัจจุบันตามลำดับ

Randy Bregger ผู้จัดการโครงการ Boeing Advanced Apache กล่าวในงานสัมมนาเทคโนโลยีการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ทางทหาร Helicopter Military Operations Technology(HELMOT) ของสมาคมการบินแนวดิ่ง Vertical Flight Society ในมลรัฐ Virginia สหรัฐฯ เมื่อ 25 ตุลาคม 2018 ว่า
บริษัทกำลังหวังว่าการดัดแปลงนี้จะสร้างความสนใจแก่กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) จะซื้อเครื่องและเป็นสะพานระหว่างช่องว่างของ ฮ.โจมตี AH-64E และเครื่องบินโจมตีในโครงการอากาศยานแนวดิ่งยุคอนาคต Future Vertical Lift(FVL)

เมื่อสายการผลิตของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E สิ้นสุดลงในราวปี 2032 อากาศยานโจมตีในโครงการ FLV คาดว่าจะเข้าสู่ความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ได้ในราวปี 2045(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/sikorsky-boeing-fvl.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/12/bell-v-280-valor.html)
Bregger กล่าวว่าการเพิ่มปีกตรึงจะลดภาระบรรทุก(load off)ของใบพัดประธานลงได้บางส่วน ขณะที่การเพิ่มใบพัดขับเคลื่อนจะเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพ การเพิ่มปีกตรึงยังก่อให้พิสัยการบินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ23 ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยจะปรับโครงสร้างหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

Policy Statement of The Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy For Fiscal Year 2019
https://www.navy.mi.th/images/banner/combined62.pdf


Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy or knows as Royal Thai Navy SEALs during Royal Thai Navy Exercise 2015-2018


Royal Thai Naval Air and Coastal Defence Command, Royal Thai Navy's Type 59-I 130mm field gun in Royal Thai Navy Exercise 2018 opening ceremony, 28 Febuary 2018
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1580460645355859.1073742607.439080726160529

Royal Thai Naval Air and Coastal Defence Command, Royal Thai Navy's Type 74 twin 37mm firing in Royal Thai Navy Exercise 2018.
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1882114915173189



นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒
...
๖.๕ สำหรับด้านการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากการสงคราม ที่ ทร.รับผิดชอบดำเนินการตั้งแต่อดีตมาหลายทศวรรษ และนับเป็นภารกิจสาคัญที่ ทร.ต้องดาเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
การดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก และการอนุรักษ์ทะเลไทยตามพระดำริแล้ว ยังมีภารกิจด้านการช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งนับเป็นบทบาทใหม่ที่ทหารสามารถเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ง่าย 
ปัจจุบันประชาชนได้รับทราบข่าวสารยอมรับถึงขีดความสามารถของ นสร.กร. อย่างกว้างขวางในการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะแคดิมี โดยอาจกล่าวได้ว่า “แต่ก่อนคนทั่วไปรู้จักและยอมรับทหารเรืออยู่ ๒ สิ่งคือ อาหารอร่อย และดนตรีไพเราะ 
ปัจจุบันต้องเปลี่ยนใหม่เป็น “อาหารอร่อย ดนตรีไพเราะดี และเนวีซีลชั้นยอด” จึงนับว่าเป็นโอกาสของ ทร. ในการปรับโครงสร้าง นสร.กร. ให้รองรับภารกิจในการปฏิบัติการทางทหาร และการช่วยเหลือประชาชน 
ด้วยการจัดตั้ง กรมรบพิเศษ นสร.กร. เพิ่มเติมอีก ๑ กรม รวมเป็น ๒ กรมรบพิเศษ นสร.กร. เพื่อเป็นการเตรียมการไว้สาหรับการปฏิบัติการรบ และการปฏิบัติการพิเศษทั้ง ๓ มิติ โดยให้ ๑ กรมรบพิเศษ เป็น Alfa Force อีก ๑ กรมรบพิเศษ เป็น Charlie Force ต่อไป
...
๔. ขยายขีดความสามารถของกำลังพล
๔.๑ กำหนดขีดสมรรถนะหลักของกำลังพลในหน่วยกำลังรบหลักโครงการนำร่อง ได้แก่
กร. และ นย. ภายใต้หลักปรัชญา “ผู้ที่รักการกินข้าวร้อน นอนตื่นสาย” ไม่มีสิทธิ์อยู่หน่วยกำลังรบเหล่านี้ได้ (กร. และ นย. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก) โดยกำหนดให้
๔.๑.๑ กำลังพลในกรมรบพิเศษที่ ๑ นสร.กร.ต้องสามารถกระโดดร่มแบบกระตุกร่มเอง (Sky Dive) หรือแบบเหิรเวหา กับสามารถปฏิบัติการดำน้ำด้วยเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำแบบวงจรปิด (SCUBA Closed Circuit) ได้ทุกนาย ตั้งแต่ผู้บังคับการกรมจนถึงทหารประจำกองคนสุดท้ายในกองรบ
๔.๑.๒ กำลังพลในกองพันลาดตะเวน พล.นย. (พัน.ลว.พล.นย.) ต้องสามารถกระโดดร่มแบบมาตรฐาน และสามารถการดำน้ำแบบสคูบา (Self-Contained Underwater Breathing Apparatus Diving : SCUBA Diving) ได้ทุกนาย ตั้งแต่ผู้บังคับกองพันจนถึงทหารประจำกองคนสุดท้ายในกองพัน
...
๑.๑ การปรับอัตราและโครงสร้าง สอ.รฝ.
๑.๑.๑ ให้ปรับโครงสร้างจากแบบตามแบบ (Type Organize) แบบดั้งเดิมให้ทันสมัย เป็นโครงสร้างแบบหลายภารกิจ (Multi-mission) หรือแบบกำลังรบที่มีขีดความสามารถสมบูรณ์ในตัวเอง (Expeditionary Force) 
ประกอบด้วย ๓ กรมรบหลัก คือ กรม สอ.๑ กรม สอ.๒ และ กรม รฝ.๑ โดยให้แต่ละกองพันมีอาวุธทุกชนิดรวมกัน กล่าวคือ พัน.สอ.๑ - ๒ หรือ พัน.สอ.๑ - ๓ ของ กรม สอ. จะมีอาวุธปืนเหมือนกัน ประกอบด้วย ปก.๔๐ มม. ปก.๓๗ มม. และอาวุธปล่อยนำวิถีระยะปานกลางกองพันละ ๑ ระบบ 
โดยให้ปิดอัตรา กรมละ ๑ กองพัน (บรรจุเต็ม ๒ กองพัน เป็นอัตราโครง ๑ กองพัน) กับมอบให้กองพันใดกองพันหนึ่งเป็นหน่วยดูแลและใช้กำลัง และ พัน.รฝ.๑ - ๒ จะมีอาวุธเหมือนกัน ประกอบด้วย ปกบ.๑๓๐ มม. ปกค.๑๕๕ มม. และอาวุธปล่อยนำวิถีระยะปานกลาง-ระยะไกลกองพันละ ๑ ระบบ
โดยให้ปิดอัตรากรม จำนวน ๑ กองพัน (บรรจุเต็ม ๒ กองพัน เป็นอัตราโครง ๑ กองพัน) กับมอบให้กองพันใดกองพันหนึ่งเป็นหน่วยดูแลและใช้กาลัง ทั้งนี้ขณะที่ยังไม่มีอาวุธปล่อยฯ ประจาการ ให้ทั้ง ๒ กองพัน มีอัตราและโครงสร้างเหมือนกัน 
และเมื่อมีอาวุธปล่อยประจำการฯ จะปรับกองพันใดกองพันหนึ่งหรือกองร้อยใดกองร้อยหนึ่งในแต่ละกองพันเป็นกองพัน/กองร้อยอาวุธปล่อยฯ 
กับให้กองพันใดกองพันหนึ่งหมุนเวียนกันเป็นกองพันพร้อมรับสถานการณ์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR) ตลอด ๒๔ ชั่วโมงตลอดปี
๑.๑.๒ ให้ปรับอัตรา ๓ กรมรบหลัก คือ กรม สอ.๑ กรม สอ.๒ และ กรม รฝ.๑ โดยปิดอัตราเหลือเพียงอัตราโครง ๑ กองพัน (แต่ละกรมจะบรรจุกำลังเพียง ๒ กองพัน อีก ๑ กองพันปิดการบรรจุ)
...
๑.๔. การปรับอัตราและโครงสร้าง กร. (นสร.กร.)
๑.๔.๑ ให้จัดตั้ง กรมรบพิเศษ นสร.กร. เพิ่มเติมอีก ๑ กรม รวมเป็น ๒ กรมรบพิเศษ นสร.กร.
๑.๔.๑ ให้นำอัตราจาก ศฝท.ยศ.ทร.มาปรับเกลี่ยมาเป็นอัตรา กรมรบพิเศษที่ ๒ นสร.กร.

การปรับอัตราโครงสร้างของ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ นสร.กร.(Royal Thai Navy SEALs) ได้มีความชัดเจนตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบัน พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้
จากเดิมที่ นสร.มีอัตรากำลังรบที่ ๑กรมรบพิเศษ ก็จะขยายอัตรากำลังเป็น ๒กรมรบพิเศษ แบ่งเป็น Alfa Force ๑กรม และ Charlie Force ๑กรม(ยังมีข้อสงสัยว่า Bravo Force นั้นไม่มี หรือเป็นแบบเดียวกับ SEAL Team Six ของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือกองทัพเรือสหรัฐฯ US Navy SEALs)

ซึ่งเท่าที่ทราบมาภารกิจของ นสร.ในช่วงหลายปีก่อนหน้าจนถึงปัจจุบันนั้นนับว่ามากเกินจำนวนกำลังพลในหน่วย โดยเฉพาะการเพิ่มภารกิจช่วยเหลือประชาชน อย่างการช่วยทีมนักฟุตบอลเยาวชนหมูป่า ๑๓ชีวิตที่ติดถ้ำถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนเมื่อเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น
ก็เป็นปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยที่ตึงมือและกำลังพลไม่พอสำหรับ นสร.ที่ไม่เคยดำน้ำในถ้ำและต้องระดมกำลังพลระดับใหญ่เช่นนี้มาก่อนอย่างมาก โดยอดีตกำลังพลที่ลาออกไปแล้วก็อาสามาช่วยเช่น จ่าเอกสมาน กุนัน ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน รวมถึงความช่วยเหลือจากหน่วยรบพิเศษนานาชาติ

การขยายอัตรากำลังของ นสร.ให้เพียงพอกับภารกิจที่มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตจึงมีความจำเป็น อย่างไรก็ตามในนโยบาย ผบ.ทร.๖๒ ก็ระบุไว้ชัดว่าจะกำลังพลตั้งแต่ผู้บังคับการถึงทหารประจำกองคนสุดท้ายต้องมีขีดความสามารถพร้อมรบสูงสุดทั้งการโดดร่มและดำน้ำ
โดยน่าจะรวมถึงการที่จะไม่ลดความเข้มข้นของการฝึกหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม นทต.จู่โจม ซึ่งเป็นการคัดเลือกกำลังพลใหม่เข้าหน่วยด้วย(ไม่รวมนักเรียนจากต่างเหล่าทัพคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

ด้านการปรับอัตราและโครงสร้างของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ใหม่ประกอบด้วย กรมต่อสู้อากาศยานที่๑, กรมต่อสู้อากาศยานที่๑ และกรมรักษาฝั่งที่๑ โดยแต่ละกรมจะมี ๒กองพัน โดยปิดอัตรากรมไป ๑กองพัน(๒กองพันบรรจุเต็ม ๑กองพันโครง)
โดย กรม สอ.จะยังคงประจำการด้วยปืนใหญ่กลต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 สวีเดน และ ปตอ.แฝดสอง Type 74 ขนาด 37mm จีนต่อไป โดยเพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง(Medium-Range Surface-to-Air Missile) กองพันละ ๑ระบบ

เช่นเดียวกับ กรม รฝ.จะยังคงประจำการปืนใหญ่สนามลากจูงประกอบด้วย ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง GHN-45 ขนาด 155mm ออสเตรีย และปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีราบ Type 59-I ขนาด 130mm จีนต่อไปในกองพันรักษาฝั่งที่๑ และกองพันรักษาฝั่งที่๒
โดยเพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล(Medium-to-Long-Range Anti-Ship Missile)ฐานยิงบนฝั่ง กองพันละ ๑ ระบบ ซึ่งมีความต้องการมาหลายปีแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/blog-post_4.html)

หลังจากที่มีการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีเข้าประจำการแล้วจะมีการปรับกองพันใดกองพันหนึ่งเป็นกองพันอาวุธปล่อยนำวิถี หรือกองร้อยใดกองร้อยหนึ่งในแต่ละกองพันเป็นกองร้อยอาวุธปล่อยนำวิถี ซึ่งปัจจุบัน สอ.รฝ.มีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ประทับบ่ายิง QW-18 จีนใช้งาน
ก่อนหน้านั้น สอ.รฝ.เคยมีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ลากจูง PL-9(DK-9) จีนแต่เป็นที่เข้าใจว่าปัจจุบันน่าจะเลิกใช้งานแล้ว ด้านอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำฐานยิงบนชายฝั่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า สอ.รฝ.สนใจพิจารณาระบบใดจากประเทศบ้างครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ Gripen E สวีเดนทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T ครั้งแรก

First Missile Firing by Gripen E

Gripen E has successfully completed the first tests to verify the ability to release and launch external payloads. The tests took place in October 2018 at Vidsel Test Range in the north of Sweden.
https://saabgroup.com/media/news-press/news/2018-10/first-missile-firing-by-gripen-e/

เครื่องบินขับไล่ Saab JAS-39E Gripen E สวีเดนได้ประความสำเร็จในการเสร็จสิ้นการทดสอบเพื่อยืนยันรับรองความสามารถในการปลดและยิงอาวุธและอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายนอกลำตัวเครื่อง การทดสอบมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2018 ณ สนามทดสอบการใช้อาวุธ Vidsel ทางตอนเหนือของสวีเดน
การทดสอบดำเนินการโดยเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E เครื่องต้นแบบทดสอบเครื่องแรก(หมายเลข 39-8) ประกอบด้วยการปลดถังเชื้อเพลิงสำรองภายนอกหนึ่งใบ และการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T หนึ่งนัด

"ในฐานะนักบิน การบินกับการบรรทุกภายนอกเช่นถังเชื้อเพลิงและอาวุธปล่อยนำวิถีเป็นเรื่องสำคัญเพื่อสามารถให้การประเมินได้ว่าเครื่องบินมีอาการอย่างไรเมื่อถูกติดตั้งอาวุธ-อุปกรณ์ติดตั้ง การทดสอบนี้ยังถูกใช้เพื่อประเมินผลกระทบต่อเครื่องเมื่อปลดหรือยิงอาวุธ-อุปกรณ์
จุดเด่นสำคัญแน่นอนคือการกดปุ่มและดูอาวุธปล่อยนำวิถีถูกยิงออกไป มันยังเป็นการทำให้เราเข้าใกล้การทำให้เครื่องบินพร้อมสำหรับการใช้ปฏิบัติการของมัน" Marcus Wandt นักบินทดสอบเครื่องทดลองต้นแบบ Gripen ของ Saab กล่าว

"ผมยินดีที่ได้เห็นอาการของเครื่องบินและการแสดงผลตามที่เราคาดหวังไว้ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ถึงการออกแบบที่ชาญฉลาดและวิศวกรรมระดับโลกโดย Saab โครงการเป็นไปตามเส้นทางและเรากำลังสร้างความคืบหน้าที่ดีในโครงการ มุ่งตรงไปสู่การส่งมอบเครื่องแก่ลูกค้าของเราสวีเดนและบราซิล" Jonas Hjelm รองประธานอาวุโสและหัวหน้าภาคธุรกิจการบิน Saab กล่าว บริษัท SAAB สวีเดนประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ Gripen E เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/saab-gripen-e.html)

การทดสอบเหล่านี้เป็นก้าวย่างล่าสุดในโครงการการบินทดสอบเครื่องบินขับไล่ Gripen E ที่ก่อนหน้ามีการดำเนินการทดสอบในเดือนกรกฎาคม 2018 และถูกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของงานบูรณาการระบบอาวุธ
กองทัพอากาศสวีเดน(Swedish Air Force, Svenska flygvapnet) ได้สั่งจัดหา JAS-39E 60เครื่อง และกองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force) สั่งจัดหา Gripen E รุ่นที่นั่งเดี่ยว 28เครื่อง และ Gripen F รุ่นสองที่นั่ง 8เครื่อง รวม 36เครื่อง พร้อมการถ่ายทอด Technology การผลิตในประเทศ

Gripen E มีระบบอาวุธสำหรับภารกิจทุกรูปแบบ เช่นการโจมตีจากระยะไกลที่แม่นยำโดยการใช้ระเบิดนำวิถีร่อน, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำขนาดหนักและโจมตีทางลึก, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกลและว่องไวเช่น Meteor
Gripen E ยังสามารถติดตั้งกระเปาะและระบบตรวจจับสำหรับการลาดตระเวนและภารกิจพิเศษ เพื่อให้กองทัพอากาศมีตัวเลือกขีดความสามารถปฏิบัติการที่หลากหลาย โดยถูกออกแบบให้สามารถบูรณาการอาวุธที่หลากหลายได้รวดเร็ว นี่เป็นบางส่วนที่เป็นไปได้จากสถาปัตยกรรม Avionic ที่ยืดหยุ่น

Diehl IRIS-T เยอรมนีเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ด้วย Infrared แบบ all-aspect มีมิติขนาดและน้ำหนักเท่ากับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9L/M Sidewinder แต่ IRIS-T มีพิสัยยิงไกลสุดถึง16nmi(25km) และทำงานร่วมกับหมวกติดศูนย์เล็งได้
นอกจาก Gripen C/D ของกองทัพอากาศสวีเดน อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T ยังได้ถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่ปัจจุบันมี ๑๑เครื่องด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เบลเยียมเลือกเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯเพื่อทดแทน F-16

The F-35 for Belgium

The Belgian government selected the F-35 to replace its F-16 aircraft, building on a 40-year defense partnership with Lockheed Martin. We’re excited to bring unrivaled capability and industrial benefits to Belgium.
https://www.f35.com/global/participation/belgium/?linkId=100000003864568


ด้วยการเลือกเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของรัฐบาลเบลเยียม เบลเยียมได้กลายเป็นชาติที่13 ที่เข้าร่วมในบันทึกรายการของโครงการ F-35
การเลือกนี้ได้สร้างความแข็งแกร่งแก่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ โดยการพิสูจน์ว่าเบลเยียมมีความมั่นใจในเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ว่าจะตรงความต้องการด้วยความมั่นคง, อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของชาติตนในทศววรษหน้าที่จะมาถึง

ชาติพันธมิตของเบลเยียมทั้ง สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, เดนมาร์ค, นอร์เวย์ และอิตาลี ต่างเป็นผู้เข้าร่วมโครงการ F-35 สำหรับเหตุผลนี้เครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ได้ประจำการในฐานะแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีขั้นสูงสุดสำหรับการทำงานร่วมกันกับกลุ่ม NATO และชาติพันธมิตรอื่นๆ
จากการส่งกำลังบำรุงและขีดความสามารถเพื่อสามารถดำเนินการปฏิบัติการกองกำลังผสมและรักษาสันติภาพ เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ขั้นก้าวหน้านี้ถูกวางตัวเป็นที่ชื่นชอบของเบลเยียมสำหรับภารกิจในปัจจุบันและอนาคต

การจัดตั้งโครงการ F-35 ของเบลเยียมมีรากฐานจากความเป็นหุ้นส่วนที่ยาวนานน่าเชื่อถือกับรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม กองทัพอากาศเบลเยียม(BAC: Belgian Air Component, Luchtcomponent) ได้เริ่มทำการบินเครื่องบินขับไล่ F-16 และเครื่องบินลำเลียง C-130 ในปี 1970s
เป็นเวลามากว่า 40ปีให้หลังที่ความเป็นหุ้นส่วนอันแข็งแกร่งได้ต่อเนื่องมาถึงเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ภาคอุตสาหกรรมเบลเยียมได้มีบทบามสำคัญในการผลิตและรักษาสภาพความพร้อมของผลิตภัณฑ์ของ Lockheed Martin สหรัฐฯ

เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่ประจำการมามากกว่าสี่ทศวรรษ โครงการ F-35 พร้อมที่จะสร้างงานคุณภาพสูงและระยะยาวสำหรับเบลเยียมที่ยาวนานต่อไปในอนาคต ตามที่สามภูมิภาคของเบลเยียมและ Lockheed Martin เดินหน้าการทำงานเชิงรุกกับหลายบริษัทของเบลเยียม
ในการขยายโอกาสทางธุรกิจ แสดงถึงความมุ่่งมั่นที่แข็งแกร่งในในแสวงหาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในเทคโนโลยีความมั่นคงระดับสูง, การบิน, Cyber และภาคการรักษาความปลอดภัย ยังรวมถึงสถาบันการศึกษาระดับสูงภายในเบลเยียมหกแห่งที่ได้รวมอยู่ในโครงการอุตสาหกรรมร่วมด้วย

ควบคู่กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การขยายขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันและการเปลี่ยนรูปแบบ F-35 ได้มอบเบลเยียมให้อย่างไม่มีสิ่งใดเทียบได้ ด้วยวิทยาการ Stealth, ระบบตรวจับขั้นก้าวหน้า, ขีดความสามารถด้านอาวุธ และพิสัยทำการ
F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีขีดความสามารถสูงสุดและเชื่อมโยงกันมากที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ทำให้นักบินสามารถปฏิบัติภารกิจของพวกตนให้ประสบความสำเร็จและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

เครื่องบินขับไล่ F-35 ได้ส่งมอบคุณค่าที่ไม่มีคู่แข่งรายใดเทียบได้ในฐานะอากาศยานที่มีขีดความสามารถสูงสุดและค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานที่ต่ำที่สุด กับโอกาสการมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมทั้งระยะใกล้และระยะยาว
ด้วยการเข้าร่วมล่าสุดของเบลเยียมนี้ กิจการ F-35 ได้เดินหน้าต่อเนื่องเพื่อขยายการรักษาความมั่นคงทั่วโลก, เสริมความแข็งแกร่งของพันธมิตรที่สำคัญยิ่ง และขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจของวันนี้และวันพรุ่งนี้

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2018 สหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II แก่เบลเยียม จำนวน 34เครื่อง วงเงิน $6.53 billion(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/f-35a.html)
F-35A สหรัฐฯได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะเหนือเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยุโรปที่มีใช้งานในหลายชาติพันธมิตร NATO เช่น เยอรมนี และสเปน เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร และอิตาลีที่เป็นผู้ใช้งานทั้ง F-35 และ Typhoon

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสในท้ายที่สุดไม่ได้มีการเสนอตนเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของเบลเยียม(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/dassault-rafale.html)
หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบริษัท Boeing สหรัฐถอนเครื่องขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet และบริษัท Saab สวีเดนถอนเครื่องขับไล่ Gripen E ของตนออกจากการแข่งขันเพราะมองว่าไม่มีโอกาสในโครงการของเบลเยียม(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/gripen-e.html)

กองทัพอากาศเบลเยียมมีความต้องการในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ 34เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM Block 20 รุ่นที่นั่งเดียว 44เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 10เครื่อง ที่ผ่านการปรับปรุงครึ่งอายุ(MLU: Mid-Life Update) ให้มีความทันสมัยเทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ F-16C/D
โดยอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2018 ที่ฐานทัพอากาศ Florennes เครื่องบิน F-16 เบลเยียมยิงปืนใหญ่อากาศ M61A1 Vulcan 20mm โดยไม่ตั้งใจขณะทำการซ่อมบำรุงในโรงเก็บถูก F-16 ที่กำลังเตรียมทำการบิน 1เครื่องไฟไหม้จนถูกทำลาย และอีก 1-2เครื่องได้รับความเสียหาย

ในวงเงิน 3.8 billion Euro นอกจากเครื่องบินขับไล่ F-35A 34เครื่องที่จะกองทัพอากาศเบลเยียมได้รับมอบเครื่องแรกในปี 2023, ศูนย์ฝึกเครื่องจำลองการบิน 2ระบบ, หมวกนักบินติดจอแสดงผล, อุปกรณ์การถ่ายทอด Technology ข้อมูลและการสื่อสารสำหรับการปฏิบัติการและการสนับสนุนแล้ว
เบลเยียมยังได้อนุมัติการจัดหายานเกราะล้อยาง Jaguar 60คัน และยานเกราะล้อยาง Griffon 382คันจากฝรั่งเศสวงเงิน 1.6 billion Euro ที่จะเข้าประจำการในปี 2025-2030 และเลือกจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ MALE UAS(Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial System) แบบ MQ-9B SkyGuardian สหรัฐฯด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออสเตรเลียเดินหน้ารับรองการใช้เฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger บนเรือ LHD ชั้น Canberra

Australia progresses qualification of Tiger helicopters on Canberra class
A Tiger ARH helicopter conducting first-of-class flight trials on board HMAS Canberra. Source: Commonwealth of Australia
https://www.janes.com/article/84001/australia-progresses-qualification-of-tiger-helicopters-on-canberra-class


กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) ได้คืบหน้าใกล้อีกขั้นในการรับรองคุณสมบัติเต็มอัตราของการนำเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ARH(Armed Reconnaissance Helicopter) ปฏิบัติการบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra(LHD: Landing Helicopter Dock)
หน่วยบำรุงรักษาอากาศยานและทดลองการบิน(AMAFTU: Aircraft Maintenance and Flight Trials Unit) ได้ดำเนินการการบินทดสอบแรกของชั้น(FOCFT: First-of-Class Flying Trials) ตามมากับ ฮ.โจมตี Tiger ARH บนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L 02 HMAS Canberra
ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายน 2018 โดยมุ่งเป้าไปที่การจัดตั้งให้เฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ARH กองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) มีขีดความสามารถในการวางกำลังร่วมกับเรือ LHD ชั้น Canberra ได้

กองทัพเรือออสเตรเลียได้ดำเนินการทดสอบ ฮ.โจมตี Tiger ARH ขั้นต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/bell-ah-1z-viper-tiger-arh-uh-1y-venom.html) ท่ามกลางขั้นตอนที่จะถูกดำเนินการระหว่างการทดสอบ FOCFT ล่าสุด
โดยรวมการจัดตั้งขีดจำกัดการปฏิบัติการเรือ-เฮลิคอปเตอร์(SHOLS: Ship-Helicopter Operating Limits) ภายใต้สภาวะสภาพแวดล้อมหลายแบบ, การประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบิน และการปรับเทียบอุปกรณ์
เพื่อบรรลุความต้องการสภาวะสภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดข้อจำกัดการปฏิบัติการ การทดสอบ FOCFT ได้ถูกดำเนินการในหลายสถานที่ทั่วออสเตรเลียรวมถึง อ่าว Darwin, ทะเล Arafura และมาหาสมุทร Pacific เส้นทางระหว่างออสเตรเลียและนิวแคลิโดเนีย(New Caledonia)

"ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์เปิดโอกาสให้การปฏิบัติการในพื้นที่อุณหภูมิสูง,ทะเลสงบและลมเบา ตลอดจนคลื่นลมทะเลสูง ที่จะทำให้การยกและหมุนเพิ่มขึ้น จุดสูงสุดของการทดสอบเพื่อรับรองผลของระดับกระแสสมในสภาวะถึงระดับคลื่นลม Sea State 5 ที่จุดสิ้นสุดของการทดสอบ"
Navy Daily สื่อทางการของกองทัพเรือออสเตรเลียกล่าว โดยอากาศยานที่ประจำการในกองทัพออสเตรเลีย(ADF: Australian Defence Force) ที่สามารถจะปฏิบัติการกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra ได้รวมถึง
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60 Black Hawk(S-70A-9) กองทัพบกออสเตรเลีย, เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Sikorsky MH-60R Seahawk กองทัพเรือออสเตรเลีย และเฮลิคอปเตอร์ MRH90 Taipan ที่มีประจำการทั้งในกองทัพบกออสเตรเลียและกองทัพเรือออสเตรเลีย

ตามข้อมูลจาก Jane's World Armies ปัจจุบันกองทัพบกออสเตรเลียมีเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ARH ประจำการ 22เครื่อง โดยมีปืนใหญ่อากาศ 30mm ที่จมูกหัวเครื่อง สามารถติดตั้งอาวุธผสมกันได้ทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114M Hellfire และจรวดไม่นำวิถี 70mm
ในกลางปี 2016 กองทัพเรือออสเตรเลียยังได้ดำเนินการร่วมกับนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ในการนำเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53E Super Stallion และอากาศยานปีกกระดก MV-22 Osprey
ทำการลงจอดบนดาดฟ้าบินของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra ระหว่างการฝึกผสมทางเรือนานาชาติ Rim of the Pacific หรือ RIMPAC 2016 ที่น่านน้ำหมู่เกาะ Hawaii ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยรับมอบเฮลิคอปเตอร์ EC725 ชุดใหม่สองเครื่อง

The Royal Thai Air Force receives two new H225Ms
The 11-ton-catergory twin-turbine H225M is relied upon as a force multiplier by many air forces worldwide thanks to its outstanding endurance and fast cruise speed.

Featuring state-of-the-art electronic instruments and the renowned 4-axis autopilot system, the multirole helicopter may be fitted with various equipment to suit any role.
https://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2018/10/The-Royal-Thai-Air-Force-receives-two-new-H225Ms.html

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปพหุบทบาท Airbus Helicopters H225M หรือเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725 เครื่องที่๗ และเครื่องที่๘ แล้ว
โดย ฮ.๑๑ EC725 หมายเลขเครื่อง 20307 และ 20308 นี้เป็นเครื่องที่อยู่ในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๓ ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)(https://aagth1.blogspot.com/2016/10/ec725.html)

กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหา ฮ.๑๑ EC725 แล้วจำนวน ๑๒เครื่องที่จะมีประจำการภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) แบ่งเป็นระยะที่๑ ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012), ระยะที่๒ ๒เครื่อง ที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014),
ระยะที่๓ ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙ และล่าสุดโครงการจัดหาระยะที่๔ จำนวน ๔เครื่อง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html) รวมได้รับมอบแล้วทั้งหมด ๘เครื่อง

ฮ.๑๑ EC725 ชุดใหม่ทั้ง ๒เครื่องจะเข้าประจำการร่วมกับ ๖เครื่องที่ได้รับมอบก่อนหน้านี้ ณ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี สำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ, ค้นหาและกู้ภัย และการขนส่งลำเลียงกำลังพล
ตามแผนการปรับปรุงกำลังเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศไทยเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H Huey ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑(1968) ที่ยังคงประจำการในฝูงบิน๒๐๓ มานานถึง ๕๐ปี

H225M เป็นเฮลิคอปเตอร์สองเครื่องยนต์ Turboshaft  ขนาด 11ton ที่เป็นที่พึ่งพาได้ในฐานะการทวีกำลังรบสำหรับหลายกองทัพอากาศทั่วโลก ซึ่งต้องขอบคุณระยะเวลาปฏิบัติการและความเร็วเดินทางที่ยอดเยี่ยมของมัน
ด้วยคุณสมบัติเครื่องวัดประกอบการบินไฟฟ้าที่ล้ำยุคและระบบนักบินกลอันเลื่องชื่อ เฮลิคอปเตอร์พหุภารกิจแบบนี้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้หลายแบบเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจใดๆได้ตามความต้องการ

เฮลิคอปเตอร์ H225M เกือบ ๙๐เครื่องได้รับการเข้าประจำการแล้วในหลายประเทศทั่วโลก และมีชั่วโมงบินรวมมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ชั่วโมงแล้วในปัจจุบัน จากภาพที่ปรากฎ ฮ.๑๑ EC725 ชุดใหม่ทั้ง ๒เครื่องของกองทัพอากาศไทยนี้นอกจากรอกกว้านและไฟฉายค้นหาแล้ว
ยังได้รับการติดตั้งกล้อง Electro-Optical/Infrared(EO/IR) ที่ใต้หัวเครื่องด้วย ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นกล้องตรวจจับแบบ Star SAFIRE III ของบริษัท FLIR Systems สหรัฐฯ(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725-eoir.html)

บริษัท Safran Helicopter Engines ฝรั่งเศส และบริษัท Airbus Helicopters ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ไทย
ในการสนับสนุนการใช้งานและซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์และเครื่องยนต์ที่ประจำการในสี่เหล่าทัพของไทย(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/safran-tai.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/02/airbus-helicopters-tai.html)

นอกจากกองทัพอากาศไทยแล้วในกลุ่มชาติ ASEAN ที่จัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M(EC725) เข้าประจำการก็มี กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จำนวน ๑๒เครื่อง
และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จำนวน ๖เครื่อง รวมถึงกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ที่กำลังสั่งจัดหาจำนวน ๑๖เครื่องครับ

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สหรัฐฯอนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Chinook เพิ่มแก่อังกฤษ 16เครื่อง

United Kingdom – H-47 Chinook (Extended Range) Helicopters and Accessories
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/united-kingdom-h-47-chinook-extended-range-helicopters-and-accessories

Royal Air Force Chinook Mark 6 first flight at RAF Odiham, June 2014(wikipedia.org)

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ตัดสินใจอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) แก่สหราชอาณาจักรของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing H-47 Chinook(Extended Range) รุ่นเพิ่มพิสัยการบินจำนวน 16เครื่อง วงเงินประมาณ $3.5 billion
ตามที่เอกสารของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ประกาศเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา

รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ร้องขอความเป็นไปได้ในการขาย ฮ.ลำเลียง H-47 Chinook(Extended Range) จำนวน 16เครื่อง พร้อมเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ T-55-GA-714A จำนวน 32เครื่อง(ติดตั้งกับ ฮ.32เครื่อง อะไหล่อีก 4เครื่อง), ระบบนำร่องดาวเทียม GPS/แรงเฉื่อย INS,
ระบบแจ้งเตือนอาวุธปล่อยนำวิถีรวม, ระบบต่อต้านความถี่วิทยุ, multi-mode radar, ระบบตรวจจับกล้อง electro-optical, ปืนกลอากาศหกลำกล้องหมุน M134D-T minigun 7.62mm 40กระบอก และปืนกลอากาศ M240H 7.62mm 40กระบอก พร้อมแท่นยิงและเครื่องมือติดตั้งใน ฮ.

การขายนี้ยังรวมถึงอุปกรณ์สื่อสาร, อุปกรณ์นำร่อง, อุปกรณ์ความอยู่รอดอากาศยาน, อุปกรณ์การฝึกขั้นต้นและการให้บริการ, อุปกรณ์การฝึกสังเคราะห์, ชุดการสนับสนุนประกอบด้วยอะไหล่และชิ้นส่วนการซ่อม, เครื่องมือพิเศษและอุปกรณ์ทดสอบ, การสนับสนุนการบำรุงรักษา,
สิ่งพิมพ์สำหรับช่างเครื่องและนักบิน, อุปกรณ์ระบบการวางแผนภารกิจและการสนับสนุน และการจัดการโครงการและการกำกับดูแล รัฐบาลสหรัฐฯและผู้รับสัญญาทางวิศวกรรมและการบริการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องของการส่งกำลังและสนับสนุนโครงการ

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) มีความต้องการที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Chinook HC Mark 6(Boeing CH-47F สหรัฐฯรุ่นเฉพาะสำหรับอังกฤษ) เพิ่มเติมมานาน
เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงสองพัดเรียงกัน Chinook รุ่นเก่าของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ที่หลายเครื่องประจำการมานานเกือบ 40ปีแล้ว

ปัจจุบันกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรมีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Chinook HC6 ใหม่จำนวน 14เครื่องซึ่งสั่งจัดหาตั้งแต่ปี 2011 ร่วมกับเครื่องรุ่นเก่าจำนวนราว 60เครื่อง
เช่น Chinook HC Mk4 ที่ปรับปรุงจากรุ่น Chinook HC Mk2/2A(CH-47D) และ Chinook HC Mk5 ที่ปรับปรุงจากรุ่น Chinook HC Mk3(มีพื้นฐานจาก MH-47E รุ่นปฏิบัติการพิเศษ)

ก่อนหน้านี้ในต้นปี 2018 นี้ พลอากาศจัตวา Al Smith นายทหารขีดความสามารถความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ทางอากาศ กองบัญชาการเฮลิคอปเตอร์ร่วม(JHC: Joint Helicopter Command) กองทัพสหราชอาณาจักร(British Armed Forces) เคยกล่าวว่า
ขั้นตอนการจัดหา ฮ.เพิ่มยังอยู่ในขั้นต้น และกองทัพอากาศอังกฤษน่าจะรอให้บริษัท Boeing สหรัฐฯผู้ผลิตพร้อมที่จะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F Chinook Block II รุ่นใหม่ได้ในราวปี 2023 ก่อนครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/sikorsky-ch-53k-boeing-ch-47f.html)

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 จีนบินขึ้นจากผิวน้ำครั้งแรก

China’s AG600 amphibious aircraft conducts first waterborne take-off







This still from a video released by Chinese state-owned media shows China’s locally built and developed AG600 amphibious aircraft conducting its first waterborne take-off on 20 October in the country’s central province of Hubei. Source: Via Xinhua
https://www.janes.com/article/83948/china-s-ag600-amphibious-aircraft-conducts-first-waterborne-take-off



เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 ที่จีนพัฒนาและสร้างในประเทศได้ทำการบินขึ้นจากผิวน้ำเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2018 ในมณฑล Hubei ทางตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
AG600 ความยาว 37m ทำการบินขึ้นจากอ่างเก็บน้ำใกล้สนามบิน Zhanghe ใน Jingmen เมื่อเวลา 0850 ตามเวลาท้องถิ่น และลงจอดกลับที่ผิวน้ำหลังจากทำการบินได้ 14นาที ตามรายงานจากสำนักข่าว Xinhua ของรัฐบาลจีน

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากที่ผู้พัฒนาเครื่องบิน Aviation Industry Corporation of China(AVIC) กล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 ว่า เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 คาดว่าจะพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าได้ในปี 2022
"เรากำลังตั้งเป้าที่จะได้รับการรับรองความสมควรเดินอากาศจากสำนักงานการบินพลเรือนในปี 2021 และส่งมอบ(เครื่อง)แก่ลูกค้าในปี 2022" หัวหน้านักออกแบบอากาศยาน Huang Lingcai กล่าวในเวลานั้นโดยปราศจากการให้ชื่อประเทศใดๆที่เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นลูกค้าของ AG600

AG600 ซึ่งทำการบินครั้งแรกจากทางวิ่งบนบกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2017(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/ag600.html) มีปีกกว้าง 38.8m และเป็นเครื่องบินที่ขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามที่ออกแบบและสร้างในจีน
รองจากเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ไอพ่น Y-20 ที่เข้าประจำการในปี 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/07/y-20.html) และเครื่องบินโดยสารขนาด 190ที่นั่ง C-919 ซึ่งทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017

AG600 ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop WJ-6 จำนวนสี่เครื่อง(มีพื้นฐานจากเครื่องยนต์ใบพัด Ivchenko AI-20 ยูเครน) สามารถทำความเร็วเดินทางได้ 500km/h ทำการบินได้นาน 12ชั่วโมง และมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 53.5tons
AG600 มีความเป็นได้ในการสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 50คน หรือน้ำปริมาตร 12tons ซึ่งถูกปล่อยจากเครื่องได้ใน 20วินาทีในภารกิจดับเพลิง ตามรายงานของสำนักข่าว Xinhua จีนครับ

อินโดนีเซียจะเจรจาการมีส่วนร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X กับเกาหลีใต้ใหม่

Indonesia to renegotiate involvement in KFX/IFX fighter programme
The Indonesian government has confirmed that it will seek to “renegotiate and restructure” its programme with South Korea to develop the KFX/IFX fighter aircraft. Source: Korea Aerospace Industries
https://www.janes.com/article/83926/indonesia-to-renegotiate-involvement-in-kfx-ifx-fighter-programme

รัฐบาลอินโดนีเซียได้กล่าวว่าจะมีการเจรจาใหม่กับสาธารณรัฐเกาหลีในโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X(Korean Fighter Xperiment/Indonesia Fighter Xperiment) ร่วมกันของตน
ตามที่กระทรวงประสานงานการเมือง, กฎหมาย และความมั่นคงอินโดนีเซียแถลงใน Website ของตนเมื่อ 19 ตุลาคม 2018 ว่า ความเคลื่อนไหวนี้มีความจำเป็นเนื่องจาก "ภาวะเศรษฐกิจของชาติในปัจจุบัน"(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/kf-xif-x.html)

รัฐมนตรีประจำกระทรวง Wiranto ผู้ซึ่งมีชื่อเดี่ยวๆ(อดีตผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพอินโดนีเซีย) กล่าวในการการแถลงว่า รัฐบาลกำลังมองที่จะได้มีพันธกรณีทางเศรษฐกิจที่ "เบากว่า" ต่อโครงการร่วมการพัฒนาซึ่งเริ่มต้นในปี 2015
"เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย(Joko Widodo) ได้ตัดสินใจที่จะเจรจา(สัญญา)ใหม่ เพื่อให้ตำแหน่งของอินโดนีเซียเบาขึ้นสำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน" Wiranto กล่าว

รัฐมนตรี Wiranto เสริมว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังจะตั้งทีมโครงการซึ่งเขาเป็นหัวหน้าเพื่อเจรจาสัญญาใหม่กับตัวแทนจากรัฐบาลเกาหลีใต้ และทั้งสองรัฐบาลต้องการจะบรรลุข้อตกลงใหม่ภายใน 12เดือน เขากล่าว่าองค์ประกอบของข้อตกลงจะถูกทบทวน
ที่รวมข้อผูกมัดทางการเงินโดยรวมของอินโดนีเซีย, ร้อยละของค่าใช้จ่ายการพัฒนาที่ตกลงไว้ที่ครอบคลุมโดยอินโดนีเซีย, การแบ่งงานผลิตและรายจ่าย, การถ่ายทอด Technology แก่อินโดนีเซีย และการเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาของอินโดนีเซียและสิทธิทางการตลาดเมื่อโครงการเริ่มการผลิต

ในแถลงการของกระทรวงเดียวกัน Tom Lembong ประธานคณะกรรมการประสานงานการลงทุนอินโดนีเซีย(BKPM: Indonesian Investment Coordinating Board) กล่าวว่า
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี Moon Jae-in ได้เห็นชอบที่จะมี "การเจรจาและปรับโครงสร้าง" โครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X ใหม่ระหว่างการพบกันของผู้นำทั้งสองประเทศในการประชุมที่ Seoul ในเดือนกันยายน 2018 ที่ผ่านมา

Lembong กล่าวว่าการเจรจาใหม่จะมุ่งไปที่การลดภาระงบประมาณรัฐ ลดการพร่องของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอินโดนีเซีย และ "รักษาบรรยากาศการลงทุน" สำหรับนักลงทุนเกาหลีใต้ในโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X
เขาเสริมว่า "ผู้นำของทั้งสองประเทศได้เห็นชอบว่า (การเจรจาใหม่)นี้จำเป็นต้องเสร็จสิ้นภายใน 12เดือน" โดยกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มีความต้องการเครื่องบินขับไล่ IF-X จำนวน 80เครื่อง

โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X ได้รับการดำเนินการโดยบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี โดยมี PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซียเป็นหุ้นส่วนโครงการ
ทางด้านโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) รัสเซียจำนวน 11เครื่องนั้นการส่งมอบจะไม่เร็วไปกว่าปี 2019ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/01/kf-xif-x-su-35.html)

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Rheinmetall เสนอเฮลิคอปเตอร์ Seahawk ทดแทน Sea Lynx เยอรมนี

Lockheed Martin and Rheinmetall team for German Sea Lynx replacement effort
The German Navy has 21 Sea Lynx helicopters that it is looking to begin replacing from about 2023. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
https://www.janes.com/article/83798/lockheed-martin-and-rheinmetall-team-for-german-sea-lynx-replacement-effort



บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯจะร่วมทีมกับบริษัท Rheinmetall เยอรมนีในการเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ/ต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASW/ASuW: Anti-Submarine Warfare/Anti-Surface Warfare) แบบใหม่
เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Westland Mk 88A Sea Lynx ของกองทัพเรือเยอรมนี(German Navy, DM: Deutsche Marine) ตามที่ Lockheed Martin สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2018
ทั้งสองบริษัทได้ลงนามในจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการเสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sikorsky MH-60R Seahawk สำหรับทดแทน ฮ.Sea Lynx กองทัพเรือเยอรมนีที่มีประจำการ 21เครื่อง

แม้ว่ากำหนดระยะเวลาที่แม่นยำสำหรับโครงการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ Sea Lynx จะยังไม่ถูกเปิดเผยออกมาในขณะนี้ Jane's ได้รับข้อมูลจากตัวแทนในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงในงานสัมมนา Berlin Security Conference(BSC) ในปี 2017 ว่า
สัญญาโครงการจัดหาปราบเรือดำน้ำ/ต่อต้านเรือผิวน้ำใหม่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2020/2021 เข้าสู่การนำเข้าประจำการในปี 2023 และมีความพร้อมปฏิบัติการ(FOC: Full-Operating Capability) ในปี 2025
กองทัพเรือเยอรมนีมองหา ฮ.ใหม่ทั้งหมดระหว่าง 18-24เครื่องเพื่อทดแทน Sea Lynx โดยเลือกระบบที่สามารถเติมเต็มขีดความสามารถได้ทั้งการปราบเรือดำน้ำและการต่อต้านเรือผิวน้ำที่ปฏิบัติการจากเรือผิวน้ำ

ขณะที่รายละเอียดการเข้าแข่งขันของ Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Rheinmetall เยอรมนียังไม่ถูกเปิดเผย เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล MH-60R ได้รับการติดตั้ง Sonar คลื่นความถี่ต่ำ Thales/Raytheon AQS-22 (ALFS: Airborne Low-Frequency Sonar)
และการขายในรูปแบบ FMS(Foreign Military Sale) ของ ฮ.MH-60R แก่ประเทศอื่นก่อนหน้านี้ประกอบด้วย Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ, ปืนกลหนักอากาศ GAU-21(M3M) 12.7mm และปืนกลอากาศ M240(FN MAG) 7.62mm,
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วย Laser AGM-114 Hellfire และจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70mm ที่ได้รับการปรับปรุงติดตั้งชุดนำวิถีด้วย Laser แบบ APKWS(Advanced Precision Kill Weapon System) ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร-สหรัฐฯ

นอกจากทีม Lockheed Martin-Rheinmetall สหรัฐฯ-เยอรมนีที่เสนอ ฮ.Seahawk ผู่เข้าแข่งขันรายอื่นยังมีบริษัท Leonardo อิตาลี-สหราชอาณาจักรที่เสนอเฮลิคอปเตอร์ AW159 Lynx Wildcat และบริษัท Airbus Helicopters ฝรั่งเศส-เยอรมนีที่เสนอเฮลิคอปเตอร์ NH90 Sea Lion
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Lynx Wildcat สามารถปรับแต่งให้ติดตั้ง Sonar ชักหย่อน(ADS: Active Dipping Sonar), ทุ่น Sonobuoy และ Torpedo ขณะที่ภารกิจต่อต้านเรือผิวน้ำสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ, จรวด และปืนกลได้
ส่วนรุ่นปรับปรุงของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sea Lion ที่รู้จักในชื่อ Prospective Sea Lion นั้นสามารถติดตั้งอุปกรณ์สำหรับภารกิจปราบเรือดำน้ำและต่อต้านเรือผิวน้ำที่จำเป็นสำหรับการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sea Lynx ได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ภาพเปิดเผยกองทัพอากาศพม่าน่าจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 แล้ว


Myanmar Air Force JF-17 Fighter test flight at Chengdu Aircraft Corporation(CAC) facility in china (www.fyjs.cn)

Clip: Myanmar Air Force JF-17 Fighter in fly-by flight at Pathein Airbase
https://www.facebook.com/120401098621179/videos/313583656107416/
https://www.facebook.com/100011086775614/videos/688493848196835/

Myanmar Air Force JF-17 Fighter in Hangar

ภาพวีดิทัศน์ที่ถูกเผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของพม่าล่าสุดได้เปิดเผยความเป็นไปได้ว่ากองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay) น่าจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder
ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ชุดแรกอย่างน้อย 6เครื่องแล้ว

ภาพในชุดวีดิทัศน์ขนาดสั้นความยาวไม่กี่วินาทีได้แสดงภาพการทำการบินผ่านและกางฐานล้อเหมือนจะเตรียมบินขึ้น-ลงจอดของเครื่องบินขับไล่ JF-17 ในสีพรางเทา-ฟ้า
ซึ่งมีภาพบันทึกเผยแพร่ในสื่อสังคม Online จีนก่อนหน้าว่าเครื่องบินขับไล่ JF-17 ในสีพรางดังกล่าวเป็นของกองทัพอากาศพม่าที่ทำการบินทดสอบที่โรงงานอากาศยาน CAC ในจีนช่วงปี 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/jf-17.html)

ชุดวีดิทัศน์ได้ถูกระบุว่าถูกบันทึกได้ที่ฐานทัพอากาศ Pathein ใกล้เมือง Pathein(พะสิม) ซึ่งเป็นเมืองหลักของเขตอิรวดี(Ayeyarwady Region) ทางใต้ห่างจากนคร Yangon ไปทางตะวันตก 190km
โดยเมืองพะสิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำพะสิมซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำอิรวดีฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำอิรวดีที่ติดอ่าว Bengal

สนามบิน Pathein นอกจากจะเป็นที่ตั้งของสถาบันการบินพม่า(MAA: Myanmar Aviation Academy) แล้ว ฐานทัพอากาศ Pathein ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกองทัพอากาศพม่าในการควบคุมทะเลทางอากาศเหนืออ่าว Bengal
ถ้าหากว่าเครื่องบินขับไล่ JF-17 กองทัพอากาศพม่าจะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802AK หรืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำร่อนความเร็วเหนือเสียง CM-400AKG จะนับเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อกองทัพเรือของประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อกันในทะเลอันดามัน

กองทัพอากาศพม่ากำลังอยู่ระหว่างการรับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 จีน-ปากีสถานจำนวน 16เครื่อง โดยมีแผนที่จะเปิดสายการผลิตประกอบ JF-17 ภายในพม่าด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/jf-17.html)
การปรากฎภาพเครื่องบินขับไล่ JF-17 ทำการบินในพม่า ดูจะเป็นการหักล้างข่าวลือที่มีออกมาก่อนหน้านี้ว่าปากีสถานได้ระงับการส่งมอบเครื่องให้พม่าในช่วงต้นปี 2018 เนื่องจากปัญหาที่กองทัพพม่าใช้ความรุนแรงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์

เป็นที่เชื่อว่ากองทัพอากาศพม่าน่าจะนำเครื่องบินขับไล่ JF-17 เข้าประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7M ที่จัดหาจากจีน(ลอกแบบเครื่องบินขับไล่ MiG-21 รัสเซีย)ในช่วงปี 1990s จำนวน 36เครื่อง ซึ่งเก่าและล่าสมัย โดยปัจจุบันมีข้อมูลว่ายังคงมีประจำการอยู่ราว 22เครื่อง
ที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2018 F-7M กองทัพอากาศพม่า 2เครื่องเกิดอุบัติเหตุตกขณะฝึกบินจากการชนเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ที่ Magway ทำให้นักบินทั้ง 2นายเสียชีวิต และมีนักเรียนหญิงพม่าอายุ 11ปีเสียชีวิตอีก 1รายจากการถูกชิ้นส่วนเครื่องที่ตกกระเด็นมาใส่ครับ

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Saab สวีเดนได้รับการสั่งจัดหาจาก Boeing สหรัฐฯสำหรับเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X

Saab Receives Order from Boeing for the Advanced Pilot Training Aircraft T-X
Saab has received an order from Boeing for the Engineering and Manufacturing Development (EMD) phase for the Advanced Pilot Training Aircraft, T-X. The value of this order is approximately MUSD 117.6. The order will run until 2022.
https://saabgroup.com/media/news-press/news/2018-10/saab-receives-order-from-boeing-for-the-advanced-pilot-training-aircraft-t-x/

บริษัท Saab สวีเดนได้รับการสั่งจัดหาจากบริษัท Boeing สหรัฐฯสำหรับขั้นตอนทางวิศวกรรมและการพัฒนาการผลิต(EMD: Engineering and Manufacturing Development)
สำหรับโครงการเครื่องบินฝึกเครื่องยนต์ไอพ่น T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force) วงเงินการจัดหาประมาณ $117.6 million ที่จะดำเนินการจนถึงปี 2022

ทีม Saab สวีเดน และ Boeing สหรัฐฯได้รับเลือกโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯสำหรับการเป็นผู้ชนะโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ T-X เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2018(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-saab-t-x.html)
ยุคสมัยใหม่ของการเป็นหุ้นส่วนเพื่อก้าวไปข้างหน้าของ Saab และ Boeing ในโครงการ T-X นี้ได้ถูกแบ่งเป็นหลายขั้นตอน โดยมีการสั่งจัดหานี้เกี่ยวข้องกับขั้นตอนแรก

ขั้นตอน EMD ซึ่ง Saab และ Boeing ดำเนินการด้านอุตสาหกรรมเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ร่วมกับกับลูกค้า ได้รวมการทดสอบ, การรับรองการบินทางทหารสหรัฐฯ และการส่งมอบเครื่องบินต้นแบบชุดแรก 5เครื่อง ขั้นตอน EMD จะเป็นการนำไปสูงขั้นตอนการเปิดสายการผลิตจำนวนมากต่อไป
"คำสั่งจัดหานี้เป็นก้าวไปข้าน่าที่น่าตื่นเต้นสำหรับยุคใหม่ที่มาถึงของเครื่องบินฝึกไอพ่น มันวางรากฐานสำหรับการทำงานร่วมของเราในอีกหลายปีที่จะถึง เรามองไปข้างหน้าเพื่อนำพาก้าวต่อไปเหล่านี้ร่วมกับ Boeing" Håkan Buskhe ประธานและผู้อำนวยการบริหารของ Saab กล่าว

Saab และ Boeing ได้พัฒนาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ร่วมกัน โดย Saab สวีเดนได้เป็นหุ้นส่วนแบ่งปันความเสี่ยงกับ Boeing สหรัฐฯในการพัฒนา ซึ่ง Boeing ได้ถูกกำหนดเป็นผู้รับสัญญาหลักสำหรับระบบการฝึกนักบินขั้นก้าวหน้าที่จะถูกจัดหาโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ
โครงการเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง Northrop T-38C Talon ที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมานานกว่า 57ปี จำนวน 350เครื่อง

Boeing ได้รับสัญญาขั้นตอน EMD วงเงิน $813 million ที่ครอบคลุมการจัดหาขั้นต้นสำหรับเครื่องบินฝึก T-X ชุดแรก 5เครื่อง และเครื่องจำลองการบิน 7ระบบ จากวงเงินโครงการรวมทั้งหมด $9.2 billion ซึ่งสัญญากับ Saab ล่าสุดนี้มีขึ้นหลังจากที่ไม่มีผู้เข้าแข่งขันรายอื่นในโครงการยื่นเรื่องประท้วง
ทั้งทีม Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Korean Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี ที่เสนอ T-50A มีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 Golden Eagle และทีม Leonardo อิตาลี และ CAE กับ Honeywell สหรัฐฯที่เสนอ T-100 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346

เครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-X เป็นเครื่องที่ออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้นทั้งหมด(Clean Sheet) ในรูปแบบเครื่องบินสองที่นั่งเครื่องยนต์ไอพ่นเดี่ยว พร้อมห้องนักบิน Glass Cockpit และระบบสถาปัตยกรรมเปิด
ซึ่งผสมผสานระหว่างองค์ประกอบจากเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen สวีเดน ในรูปทรงที่คล้ายคลึงกับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ

ปัจจุบันเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-X ได้มีการสร้างเครื่องต้นแบบออกมาแล้ว 2เครื่อง(BTX1 และ BTX2) ซึ่งทำการผลิตและทำการบินทดสอบจากสนามบินในโรงงานอากาศยานของ Boeing ใน St Louis มลรัฐ Missouri
ที่ซึ่งบริษัท Boeing สหรัฐฯจะทำการเปิดสายการผลิตเครื่องบินฝึก T-X ต่อไปในอนาคตครับ(http://aagth1.blogspot.com/2016/12/t-x-boeing-saab.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/04/boeing-t-x.html)

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

BMT อังกฤษชนะสัญญาที่ปรึกษาทางวิศวกรรมโครงการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทย

BMT Wins Consulting Engineering Contract in Thailand to Support Royal Thai Navy Midget Submarine Programme

BMT, the leading international design, engineering and risk management consultancy, has been awarded a contract to support the Royal Thai Navy’s (RTN) new midget submarine programme from its offices in Bath, UK.
https://www.bmt.org/news/2018/bmt-wins-consulting-engineering-contract-in-thailand-to-support-royal-thai-navy-midget-submarine-programme/

BMT สหราชอาณาจักร ผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านการออกแบบ, วิศวกรรม และบริหารจัดการความเสี่ยงระดับชั้นนำนานาชาติ ได้รับสัญญาจากกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. จากสำนักงานของตนใน Bath สหราชอาณาจักร
BMT อังกฤษได้รับสัญญาเพื่อให้การแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการบริหาจัดการด้านวิศวกรรมเรือดำน้ำโดยเฉพาะเพื่อช่วยกองทัพเรือไทยลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดระหว่างขั้นตอนการออกแบบเรือดำน้ำ

ภาคธุรกิจความมั่นคงของสหราชอาณาจักรของ BMT ได้สนับสนุนกำลังกองเรือดำน้ำที่ประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) และโครงการออกแบบเรือดำน้ำมาตั้งแต่ปี 1993
BMT ได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้ใช้ขีดความสามารถการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าต่อรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก และยังสนับสนุนโครงการจัดหาเรือดำน้ำและการให้บริการระหว่างประจำการภายในประเทศจากสำนักงานของตนในออสเตรเลียและแคนาดา
สัญญาระหว่างกองทัพเรือไทยกับ BMT ได้รับการลงนามในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และการทำงานนี้มีกำหนดจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่๑ ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)

นี่เป็นสัญญากลาโหมระดับรัฐบาลครั้งแรกที่ BMT สหราชอาณาจักรเป็นผู้ชนะในไทย และเป็นการใช้ขีดความสามารถที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศโดยกองทัพเรือไทยเป็นครั้งแรก ตามที่กองทัพเรือไทยได้มองหาองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะทางเพื่อค่อยๆพัฒนาขีดความสามารถการออกแบบเรือดำน้ำภายในประเทศไทยเอง
นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก สวพ.ทร.ให้ความเห็นว่า "กองทัพเรือไทยมีความยินดีที่ได้แต่งตั้ง BMT เพื่อสนับสนุนก้าวย่างขั้นต้นนี้ในขั้นตอนการออกแบบ
เรามั่นใจว่าด้วยการให้คำปรึกษาของ BMT เราสามารถที่จะวางแผนที่จำเป็นและขั้นตอนให้เข้าที่ได้ เพื่อการจัดตั้งรากฐานที่มั่นคงสำหรับโครงการที่ท้าทายแต่น่าตื้นเต้นนี้"

James Woolford ผู้จัดการวิศวกรรมทางเรือของ BMT ให้ความเห็นว่า "BMT ภูมิใจที่ได้ชนะสัญญานี้กับกองทัพเรือไทยและมองไปข้างหน้าเพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวางมาประยุกต์ใช้ในโครงการออกแบบ, สร้าง และจัดหาทางเรือตลอดสาขาวิศกรรมหลักทั้งหมด
เรายังคงเคารพต่อความตั้งใจของกองทัพเรือไทยว่ากิจกรรมออกแบบควรจะต้องดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมด และเรามั่นใจว่าสามารถเพิ่มเติมมูลค่าได้อย่างมากผ่านการสนับสนุนที่อิสระและเชื่อถือได้
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสัญญานี้ได้แสดงถึงการเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระยะยาวกับกองทัพเรือไทยและนั่นจะยังนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประวัติด้านขีดความสามารถทางกลาโหมของ BMT ท่ามกลางชาติที่มีเรือดำน้ำปฏิบัติการอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ก่อนหน้านี้ในงานนาวีวิจัย 2018 กองทัพเรือไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา ได้เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี รัฐบาลไทย ได้อนุมัติงบประมาณราว ๑๙๓ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระยะเวลา ๔ปี
โดยโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทย ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐ และคาดว่าเรือดำน้ำขนาดเล็กลำแรกที่ออกแบบและสร้างโดยกองทัพเรือไทยน่าจะเสร็จสิ้นโครงการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_20.html)
เป็นการต่อยอดจากโครงการที่มีก่อนหน้าทั้งยานใต้น้ำไร้คนขับสำหรับฝึกปราบเรือดำน้ำ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) ชื่อ ไกรทอง วิชุดา สุดสาคร ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๖(2012-2013) และยานใต้น้ำขนาดเล็ก(Small Underwater Vehicle) ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘(2012-2015) ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Elta อิสราเอลจะส่งมอบ Radar ELM-2032 แก่ลูกค้าที่ไม่เปิดเผยในเอเชีย

Elta to provide undisclosed Asian customer with ELM-2032 Fire Control Radars 
ELTA ELM-2032 Fire Control Radar (Credit: ELTA/IAI)
http://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-defence-industry/global-defense-security-news/global-news-2018/october/4587-elta-to-provide-undisclosed-asian-customer-with-elm-2032-fire-control-radars.html

บริษัท ELTA Systems อิสราเอลแผนกหนึ่งในบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอลได้รับสัญญาวงเงิน $55 million สำหรับการส่งมอบ Radar ควบคุมการยิง Multimode สำหรับอากาศยานแบบ ELM-2032
ที่จะถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินรบขั้นก้าวหน้าที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่จากสายการผลิต ตามที่บริษัทได้กล่าวเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา

Radar แบบ ELM-2032 อิสราเอลมีรูปแบบการทำงานเพื่อการใช้ปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น mode อากาศสู่อากาศ Air-to-Air ที่มีระยะตรวจจับไกลสุดถึง 80nmi, mode สร้างแผนที่ภูมิประเทศ SAR(Synthetic-Aperture Radar) ความละเอียดสูง
การตรวจจับ ติดตาม และสร้างภาพของอากาศยาน, mode Air-to-Ground ที่ตรวจจับเป้าหมายประจำที่และเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ได้ในระยะ 80nmi และ Mode Air-to-Sea ที่ตรวจจับและพิสูจน์ทราบเป้าหมายในทะเลได้ถึงระยะ 160nmi

สัญญาดังกล่าวถึงระบุว่าเป็นการสั่งจัดหาซ้ำเพิ่มเติม สะท้อนถึงความพึงพอใจอย่างสูงของลูกค้าที่มีต่อ ELM-2032 radar และ ELTA อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ได้ให้รายละเอียดถึงจำนวนระบบ radar ที่จะจัดหารวมถึงแบบอากาศยานที่จะนำมาติดตั้ง
โดย radar แบบ ELM-2032 อิสราเอลได้ถูกส่งออกและติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินโจมตี เครื่องบินฝึกไอพ่น หลากหลายรูปแบบที่ประจำการในประเทศต่างๆทั่วโลก

Yoav Turgeman รองประธานบริษัท IAI อิสราเอล และผู้อำนวยการบริหารบริษัท ELTA อิสราเอลกล่าวว่า "radar ควบคุมการยิงทางอากาศ multimode ELM-2032 เป็น radar อเนกประสงค์และทำภารกิจได้หลายรรูปแบบในผลิตภัณฑ์เดียว
มันได้มอบขอบเขตการตรวจจับในระยะไกลและการติดตามที่แม่นยำแก่นักบิน ด้วยการหยั่งรู้สถานการณ์เต็มรูปแบบและข้อมูลที่แม่นยำของมันที่ถูกใช้โดยระบบของอากาศยาน เราตื่นเต้นกับการชนะสัญญานี้และปลื้มปิติที่ลูกค้าของเราพิจารณาว่า radar ของ ELTA ดีที่สุดในชั้นของมัน"

ELTA ELM-2032 radar ได้ถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-4E Phantom II, Northrop F-5E/F Tiger II, General Dynamics F-16 Fighting Falcon สหรัฐ, Dassault Mirage ฝรั่งเศส, IAI Kfir อิสราเอล, MiG-21 รัสเซีย,
SEPECAT/Hindustan Aeronautics Limited(HAL) Jaguar IM สหราชอาณาจักร-ฝรั่งเศส-อินเดีย และ British Aerospace Sea Harrier FRS.51 สหราชอาณาจักร-อินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดตั้งในฐานะส่วนหนึ่งของการปรับปรุงความทันสมัย

ELTA ELM-2032 radar ยังถูกเลือกให้ติดตั้งสำหรับอากาศยานที่ผลิตใหม่ ประกอบด้วยเช่น เครื่องบินขับไล่ HAL Tejas อินเดีย และเครื่องบินฝึก/โจมตีเบา TA-50 กับเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Golden Eagle ของบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่ง TA-50 และ FA-50 ที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) และส่งออกหลายประเทศได้รับการติดตั้ง radar ของ ELTA อิสราเอล

ในส่วนของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ELM-2032 radar ได้ถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle (http://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)
และโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค F-5E/F SUPER TIGRIS โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทยครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ F-35B สหรัฐฯลงจอดแบบระยะสั้นครั้งแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth อังกฤษ

First F-35B SRVL recovery completed on HMS Queen Elizabeth


Frame from a merged photo sequence showing the first SRVL recovery on to HMS Queen Elizabeth.
https://www.janes.com/article/83792/first-f-35b-srvl-recovery-completed-on-hms-queen-elizabeth


เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯได้ปฏิบัติการลงจอดแบบทางดิ่งใช้ทางวิ่งระยะสั้น(SRVL: Shipborne Rolling Vertical Landing) เป็นครั้งแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy)
ระหว่างการบินทดสอบแรกของชั้น(FOCFT: First-of-Class Flying Trials) ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ การลงจอดแบบ SRVL เป็นขั้นตอนสำคัญที่ได้ดำเนินการขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม 2018 โดย Peter 'Wizzer' Wilson นักบินทดสอบของบริษัท BAE Systems

ขณะที่การลงจอดทางดิ่ง(Vertical Landing) มีจุดประสงค์เพื่อเป็นรูปแบบการนำกลับมาลงจอดหลักของเครื่องบินขับไล่ F-35B ที่ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth(QEC: Queen Elizabeth-class)
ขนาดและการจัดเรียงของดาดฟ้าบินเรือชั้น Queen Elizabeth ได้เปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่จะใช้การลงจอดแบบ SRVL เป็นการดำเนินกลยุทธ์ทางเลือกในการนำกลับมาลงจอดบนเรือ

โดยการใช้ประโยชน์จากความสามารถของ F-35B ที่ใช้เครื่องยนต์แบบปรับทิศทางแรงขับได้(vectored thrust) เพื่อรักษาการจำกัดความเร็วการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจนกว่าที่ฐานล้อเครื่องจะแตะดาดฟ้าบิน(touchdown)
การลงจอดแบบ SRVL มีความสำคัญที่ทำให้สามารถเพิ่ม 'การนำกลับมา' ของอาวุธและอุปกรณ์ที่บรรทุกกลับมาลงจอดเมื่อเปรียบเทียบกับการลงจอดทางดิ่ง เช่นเดียวกับการลดความสึกหรอของดาดฟ้าบิน และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์

อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับว่าวิธีการลงจอดแบบ SRVL ได้แสดงถึงความเสี่ยงที่มีในตัวบางอย่าง ที่ทำให้ F-35B ต้องเข้าหาเรือบรรทุกเครื่องบินจากท้ายเรือด้วยความเร็วร่อนลงในแนวลาดชัด(glide slope) อย่างแม่นยำเพื่อลงจอด
ยังรวมถึงการที่เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ไม่มีอุปกรณ์หยุดอากาศยาน(arrestor) บนเรือ ทำให้เครื่องต้องใช้ระบบห้ามล้อของตนเองในการหยุดเครื่องเมื่ออยู่บนดาดฟ้าเรือ

นอกจากนี้การดำเนินการลงจอดแบบ SRVL จำเป็นต้องการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณลงจอด(LSO: Landing Signal Officer) ที่มีตำแหน่งตั้งอยู่ในศูนย์ควบคุมการบิน(flying control office) ที่หอเรือส่วนหลังของเรือบรรทุกเครื่องบิน
เจ้าหน้าที่ LSO จะติดตามการเข้าหาของเครื่องสู่ดาดฟ้าของนักบินนาวีเพื่อตรวจสอบว่า แนวร่อนลงจอด, ความเร็ว, ความสูง และแนววิ่ง(line-up) ว่ายังคงอยู่ในค่าวัดระดับปกติ

เจ้าหน้าที่ LSO จะสื่อสารให้สัญญาณ 'wave-off' แก่นักบินหากเกิดเหตุการณ์ที่การบินเข้าหาเรือเพื่อลงจอดไม่ปลอดภัย เป็นการเตือนให้นักบินยกเลิกการลงจอดและบินวนออก 'go around' สำหรับการเข้าหาเรือเพื่อลงจอดครั้งที่สอง
ก่อนหน้าการลงจอดทางดิ่งด้วยการวิ่งในระยะสั้น SRVL เครื่องบินขับไล่ F-35B ที่ทำการบินโดยนักบินราชนาวีอังกฤษและกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(Royal Air Force) บนเรือครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2018(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)

ทั้งนี้หลังจากอุบัติเหตุตกของ F-35B STOVL(Short Take-Off and Vertical-Landing) รุ่นบินขึ้นระยะสั้งลงจอดทางดิ่งของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ทำให้มีการสั่งงดบินชั่วคราวเพื่อตรวจสอบเครื่อยนต์ไอพ่น Turbofan Pratt & Whitney F135 ที่ติดตั้งใน F-35 ทั้งสามรุ่นนั้น
ล่าสุดหลังที่ได้มีการตรวจสอบปัญหาท่อเชื้อเพลิงของ ย.F135 เครื่องบินขับไล่ F-35A, F-35B และ F-35C ทั้งของสหรัฐฯและลูกค้าต่างประเทศทั่วโลกมากกว่าร้อยละ80 ได้กลับมาสามารถทำการปฏิบัติการบินตามปกติแล้วครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/10/f-35.html)

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

จีนพร้อมเปิดสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนโจมตี Z-19E รุ่นส่งออก และภาพเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 ติดเกราะเสริม

China’s Z-19E helicopter ready for series production, says report
Seen here during its maiden flight in May 2017, the Z-19E, which is the export version of China’s Z-19 attack helicopter, is ready to enter series productions, according to Chinese media reports. Source: Via news.cn
https://www.janes.com/article/83794/china-s-z-19e-helicopter-ready-for-series-production-says-report

Image shows China’s Z-10 attack helicopter featuring additional armour
Images have emerged showing a PLA Z-10 attack helicopter featuring additional armour panels externally attached to the platform near the engine and cockpit areas. Source: Via CCTV
https://www.janes.com/article/83756/image-shows-china-s-z-10-attack-helicopter-featuring-additional-armour


เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ/โจมตี Z-19E Black Whirlwind รุ่นส่งออกที่พัฒนาโดย Harbin Aviation Industries (Group) Company (HAIG) ในเครือ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้พร้อมสำหรับการเปิดสายผลิตจำนวนมากแล้ว ตามข้อมูลจากรายงานของสำนักข่าว Xinhua สื่อของรัฐบาลจีนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา

Z-19W เป็นรุ่นส่งออกของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ/โจมตี Z-19 Black Whirlwind ที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF:  People's Liberation Army Air Force) แล้วได้รับการรายงานว่า
"ได้ผ่านการพิจารณาอย่างมืออาชีพในด้านการทดสอบสมรรถนะของเครื่องและผ่านการตรวจสอบรับรองแล้ว การสาธิตแบบอากาศยานมีความสามารถเข้าสู่ขั้นสายการผลิตได้"

อย่างไรก็ตามรายงานไม่ได้ให้ความเห็นใดๆเกี่ยวกับลูกค้าส่งออกต่างประเทศที่เป็นไปได้สำหรับฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ/โจมตี Z-19E ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบเป็นเวลา 40วันในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2017 ตามการแถลงโดย AVICจีนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2017
การทดสอบได้มีการยิงอาวุธจริงของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น, จรวดอากาศสู่พื้นไม่นำวิถีและจรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี เช่นเดียวกับกระเปาะปืนกลอากาศ และกระเปาะปืนใหญ่อากาศ

AVIC จีนกล่าวในเวลานั้นโดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบอาวุธที่ได้รับการทดสอบ การทดสอบยังได้ถูกใช้เพื่อรับรองการบูรณาการอาวุธต่างๆและระบบควบคุมการยิง ตามที่บริษัทเสริม
เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ/โจมตี Z-19E ได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2017 โดยเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่เน้นการส่งออกแบบแรกของจีน(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/z-19e.html)

Z-19E เป็นเฮลิคอปเตอร์สองที่นั่งเรียงกันแบบลำตัวแคบ ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 4,250kg เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธเบาแบบนี้มีข้อได้เปรียบในด้านความเร็วเดินทาง, อัตราไต่ระดับเพดานบิน และเพดานบินที่ใช้ปฏิบัติการได้ ตามข้อมูลจากผู้พัฒนา
ซึ่งแตกต่างจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 ที่พัฒนาโดย Changhe Aircraft Industries Corporation (CAIC) จีน ซึ่งเป็น ฮ.โจมตีแท้ที่มีขนาดใหญ่กว่ามีสมรรถนะสูงกว่าและติดอาวุธได้มากกว่า

ภาพที่เผยแพร่ในรายงานของสถานีโทรทัศน์ CCTV จีนเมื่อปลายเดือนกันยายน 2018 แสดงภาพเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองที่นั่งเรียงกัน Z-10 กองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAGF: People's Liberation Army Ground Force) ที่สนามบินภายในจีนติดตั้งแผ่นเกราะเกราะเสริม
ที่น่าจะเป็นการติดที่พื้นผิวภายนอกตัวทั้งสองด้านในสามพื้นที่ สองแผ่นแรกใต้หน้าต่างข้างของห้องนักบินทั้งสองบาน โดนแผ่นใต้หน้าต่างห้องนักบินด้านหน้าจะใหญ่กว่าแผ่นแรก และแผ่นที่สามซึ่งใหญ่ที่สุดคลุมด้านใต้ส่วนกลางเครื่องที่เป็นส่วนติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ WZ9

รายงานโดยหนังสือพิมพ์ Global Times จีนอ้างถึง Wei Dongxu  นักวิเคราะห์ทางทหารจีนใน Beijing กล่าวว่าแผ่นเกราะเสริมดังกล่าวน่าจะสร้างจากวัสดุที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบาที่คาดว่าน่าจะมีพื้นฐานจาก Graphene
"เฮลิคอปเตอร์ของจีนรวมถึง Z-10 ไม่มีการติดตั้งเกราะเสริมเพราะเครื่องยนต์ของพวกมันสามารถยกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น" Wei กล่าวโดยเสริมว่าการเลือก Graphene มาสร้างเกราะเสริมจะแก้ปัญหาในเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามีเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 กี่เครื่องที่ปฏิบัติการโดยหน่วยบินของกองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีนที่ได้รับการติดตั้งเกราะเสริมแบบใหม่นี้ แต่ภาพที่ปรากฏในรายงานของสถานี CCTV แสดงถึง ฮ.โจมตี Z-10 อย่างน้อย 1เครื่องที่ติดตั้งเกราะเสริม
และได้รับการตรวจเยี่ยมโดยประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมมาธิการทหารกลาง ซึ่งประธานาธิบดี Xi ได้ทดลองนั่งห้องนักบินและสวมหมวกนักบินติดศูนย์เล็งควบคุมป้อมปืนใหญ่อากาศของ ฮ.โจมตี Z-10 ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สาธารณรัฐเช็กเปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG เครื่องแรกที่สร้างใหม่

Aero rolls out first L-39NG


The prototype L-39NG was rolled out during a ceremony at Aero Vodochody’s production facility near Prague on 12 October, with the first flight expected before the end of the year. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
https://www.janes.com/article/83773/aero-rolls-out-first-l-39ng


บริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กได้ทำพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ที่สร้างใหม่ทั้งเครื่องจากสายการผลิตในโรงงานอากาศยานของตนใกล้ Prague
ผู้ผลิตอากาศยานของสาธารณรัฐเช็กได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นล่าสุดในตระกูล L-39 Albatross ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปลายปี 1960s พิธีที่จัดขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา

หลักขั้นที่สำคัญนี้มีขึ้นราว 15เดือนหลังจากที่บริษัทได้เริ่มสายการผลิต L-39NG 4เครื่องแรกในเดือนกรกฎาคม 2017 ด้วยการเปิดตัวอย่างเป็นทางการนี้การบินทดสอบถูกวางแผนที่เริ่มในเร็วๆนี้ Guiseppe Giordo ประธานและผู้อำนวยการบริหารบริษัท Aero สาธารณรัฐเช็กกล่าวในพิธี
เครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา L-39NG เปิดตัวโครงการพัฒนาครั้งแรกในงานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2014(http://aagth1.blogspot.com/2014/07/aero-vodochody-l-39ng.html)

L-39NG เป็นรุ่นใหม่ของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 Albatross ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Williams International FJ44-4M สหรัฐฯที่มีกำลังสูงกว่า ย.เดิม Ivchenko AI-25TL ยูเครน, ปีกแบบมีถังเชื้อเพลิงภายใน(wet wing), ห้องนักบินที่ทันสมัย และโครงสร้างอากาศยานที่เบากว่าเครื่องรุ่นก่อนหน้า
L-39NG มีจุดแข็ง 5ตำบลอาวุธ(เทียบกับ 2ตำบลใน L-39 รุ่นพื้นฐานเดิม)สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นหลายแบบ เช่นเดียวกับอาวุธแบบอื่นและระบบตรวจับ รวมถึงทางเลือกในการติดตั้งกระเปาะปืนใหญ่อากาศด้วย

L-39NG เครื่องต้นแบบสาธิตที่ดัดแปลงจาก L-39เดิมทำการบินครั้งแรกในเดือนกันยายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/09/l-39ng.html) เข้าสู่แผนการทดสอบขั้นต้นที่มีขึ้นในปี 2016 การรับรองอากาศยานคาดว่าจะมีปี 2019 โดยตั้งเป้าเริ่มส่งมอบให้ลูกค้าได้ในปี 2020
ลูกค้าเปิดตัวของ L-39NG คือ LOM Praha รัฐวิสาหกิจสาธารณรัฐเช็ก, ฝูงบินผาดแผลงเอกชน Breitling Jet Team ฝรั่งเศส และฝูงบินผาดแผลง Black Diamond Jet Team ของบริษัท Draken International สหรัฐฯ(http://aagth1.blogspot.com/2015/06/l-39ng.html)

L-39NG ยังได้รับการลงนามสัญญาจากผู้ให้บริการการฝึกทางอากาศเช่นเดียวกับ LOM Praha เช็กในงานแสดงการบิน Farnborough Airshow 2018 คือบริษัท SKYTECH โปรตุเกส และบริษัท RSW Aviation สหรัฐฯ(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/fa-259-l-39ng.html)
บริษัท Aero สาธารณรัฐเช็กยังตั้งเป้าหมายต่อผู้ใช้งานประมาณ 60ประเทศทั่วโลกที่มีเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 ประจำการในฐานะลูกค้าที่มีความเป็นไปได้สำหรับเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา L-39NG ในอนาคต

ประกอบด้วย แอลจีเรีย, แองโกลา, อาร์เมเนีย, บังคลาเทศ, เบลารุส,บัลแกเรีย, กัมพูชา, คิวบา, สาธารณรัฐเช็ก, อียิปต์, อิเควทอเรียลกินี, เอสโตเนีย, เอธิโอเปีย, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, ลิเบีย(ซึ่งเป็นที่เชื่อว่าเครื่องที่มีส่วนใหญ่ถูกเลิกใช้งานแล้ว)
ลิธัวเนีย, โมซัมบิก, ไนจีเรีย, รัสเซีย, สโลวาเกีย, ซูดานใต้, ซีเรีย, ไทย, ตูนิเซีย, เติร์กเมนิสถาน, ยูกันดา, ยูเครน และเวียดนาม Giordo เน้นว่าเขาคาดว่า L-39NG จะได้รับ "ตำแหน่งที่สำคัญ" ของเครื่องบินฝึกไอพ่นในตลาดที่คาดว่าจะมี 3,000เครื่องในอีก 15ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตามสำหรับกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ที่จัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) และปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงบินเดียวและฝูงบินสุดท้ายนั้น
L-39ZA/ART กำลังถูกทดแทนด้วยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี ที่ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี แล้ว ๔เครื่องครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html)