วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

เครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 เกาหลีใต้จะได้รับการรับรองติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP

FA-50 set to receive Sniper Pod clearance



The T-50 advanced jet trainer and FA-50 have been broadly adopted by the Republic of Korea Air Force, and have won sales in Indonesia, Iraq, the Philippines and Thailand. Source: KAI




A T-50 test aircraft was used for Sniper Pod integration work Source: KAI



กระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) มีกำหนดที่จะได้รับการอนุญาตรับรองสำหรับใช้งานกับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50 Fighting Eagle สาธารณรัฐเกาหลี
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี พร้อมที่จะออกการรับรองความสมควรเดินอากาศสำหรับกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP บนเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา KAI FA-50
แต่การแพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19 มีผลทำให้คณะกรรมาธิการการรับรองจะทำได้เพียงการประชุมเพื่อหารือการบูรณาการในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ที่จะถึง ตามที่ FlightGlobal เข้าใจ

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้ทำสัญญากับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ ซึ่งกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP สองระบบสำหรับการทดสอบการบินและภาคพื้นดินในเดือนตุลาคม 2020 
กระเปาะ Sniper ATP ทั้งสองระบบถูกส่งกลับหลังเสร็จสิ้นการทดสอบ เห็นได้ชัดว่าการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี และไม่มีปัญหาใดๆที่คาดการณ์ล่วงหน้าเกิดขึ้นในการจะได้รับการรับรองความสมควรเดินอากาศ 
ชุดภาพที่เผยแพร่โดย KAI สาธารณรัฐเกาหลีแสดงถึงกระเปาะ Sniper ติดตั้งบนตำบลอาวุธที่จุดแข็งกลางลำตัวใต้โครงสร้างอากาศยานของเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 เครื่องทดสอบ โดยเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 เป็นรุ่นที่มีความก้าวหน้าที่สุดของเครื่องบินไอพ่นตระกูล T-50

การบูรณาการกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP กับ FA-50 เป็นเป้าหมายมานานสำหรับ KAI ในงานแสดงการบินนานาชาติ Seoul ADEX 2019 เมื่อเดือนตุลาคม 2019 บริษัท KAI กล่าวกับ FlightGlobal ว่าการบูรณาการจะมีขึ้นภายในสิ้นปี 2020
กระเปาะชี้เป้า Sniper ATP จะเพิ่มขีดความสามารถการตรวจจับเชิงรับต่อเป้าหมายหลากหลายรูปแบบของเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา F-50 เป็นอย่างมาก
นอกเหนือจากการปฏิบัติการข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) ระบบตรวจจับสามารถถูกใช้ในการกำหนดเป้าหมายที่รวมถึงยานยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ได้

ความคืบหน้าการบูรณาการกระเปาะ Sniper มีขึ้นตามหลังข่าวในเดือนธันวาคม 2020 ที่บริษัท Cobham Mission Systems สหราชอาณาจักรจะส่งมอบระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบท่อ probe สำหรับ FA-50(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/kai-fa-50.html)
การประกาศการถูกเลือกในฐานะผู้รับสัญญาหลักสำหรับการดัดแปลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2020 บริษัท Cobham สหราชอาณาจักรกล่าวว่าตนจะ "ออกแบบ, พัฒนา และปรับความเหมาะสมแนวทางท่อรับเชื้อเพลิงทรงกระบอก" สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบาเครื่องยนต์ไอพ่นเดียว
ทำให้เครื่องขับไล่โจมตีเบา FA-50 จะดำเนินการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจากด้านหลังเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่ติดตั้งระบบส่งเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบตระกร้า(drogue) ได้ โดยมุ่งเป้าไปที่ "การเพิ่มขยายความยืดหยุ่นและการทำงานร่วมกันในการปฏิบัติการของอากาศยาน" 

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50 Golden Eagle และเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 Fighting Eagle ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) จำนวน 60เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/fa-50.html)
และประสบความสำเร็จในการส่งออกให้กับ อินโดนีเซีย, อิรัก, ฟิลิปปินส์(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html) และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จำนวน ๑๒เครื่องครับ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

Boeing สหรัฐฯเปิดเผยการเสนอและแผนอุตสาหกรรมเครื่องบินขับไล่ F-15EX แก่อินเดีย

Boeing unveils Indian F-15EX and industry plans






Boeing has confirmed plans to position its F-15EX combat aircraft (pictured) for the Indian Air Force and to develop within the country a new aerospace ‘repair, development and sustainment’ hub. (Boeing)



บริษัท Boeing สหรัฐฯยืนยันว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติการเข้าแข่งขันเพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเครื่องบินขับไล่ F-15EX Advanced Eagle ของตนแก่กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force)
การแข่งขันจะได้รับการสนับสนุนโดยการริเริ่มอุตสาหกรรมใหม่ Boeing ประกาศเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2021 ที่จะมองการพัฒนาศูนย์การบินในอินเดียสำหรับอากาศยานทางทหารและพาณิชย์ของ Boeing

โฆษกของ Boeing สหรัฐฯกล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2021 ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ "ล่าสุดได้อนุมัติการอนุญาตสิทธิของเราที่จะทำการตลาดเครื่องบินขับไล่ F-15EX ในอินเดีย"
ก่อนหน้านี้ Ankur Kanaglekar ผู้อำนวยการฝ่ายการนำเสนอเครื่องบินขับไล่อินเดียของ Boeing Defense, Space & Security ได้ถูกรายงานโดย Reuters ตามที่ได้กล่าวว่าการหารือเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ F-15EX ได้มีขึ้นระหว่างรัฐบาลอินเดียและรัฐบาลสหรัฐฯ 

Kanaglekar กล่าวว่าการอนุญาตสิทธิการทำตลาด F-15EX "ทำให้เราจะพูดคุยกับกองทัพอากาศอินเดียได้โดยตรงเกี่ยวกับขีดความสามารถของเครื่อง" เขาเสริมว่า Boeing ได้ "เริ่ม(การหารือ)ในทางเล็กๆ"
และการเจรจานั้นคาดว่าจะมีต่อเนื่องที่งานแสดงการบินนานาชาติ Aero India 2021 ใน Bangalore อินเดีย ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2021 

ในการสัมมนาต่อสื่อก่อนการแสดงงาน Aero India 2021 ในนครหลวง New Delhi บริษัท Boeing ยังได้เปิดเผนแผนที่จะจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมการบินในอินเดียที่เรียกว่าศูนย์ซ่อม, พัฒนา และดำรงสภาพ Boeing India(BIRDS: Boeing India Repair Development and Sustainment)
Boeing กล่าวว่าการริเริ่มศูนย์ BIRDS "จินตนาการถึงการแข่งขันระบบสภาพแวดล้อมศูนย์บำรุงรักษา, ซ่อม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) สำหรับการบริการทางวิศวกรรม, บำรุงรักษา, สร้างทักษะ, ซ่อม และดำรงสภาพของอากาศยานทหารและพาณิชย์ในอินเดีย"

Boeing เสริมอีกว่าโครงการเป็นส่วนหนึ่งของ "ความมุ่งมั่นของตนที่จะสนับสนุนและสร้างความแข็งแกร่งขีดควาสามารถทางอุตสาหกรรมการบินและกลาโหมภายในประเทศของอินเดีย" ปัจจุบันกองทัพอากาศอินเดียได้จัดหาอากาศยานจาก Boeing สหรัฐฯเข้าประจำการแล้วเป็นจำนวนมาก
เช่น เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-64e.html), เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F Chinook(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/ch-47f-chinook.html) และเครื่องบินลำเลียง C-17A Globemaster III

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ทำสัญญากับ Boeing สหรัฐฯเพื่อการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-15EX Advanced Eagle ชุดแรกในสายการผลิตไม่เกินกว่า Lot 1 ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 เป็นวงเงิน $1.2 billion
และครอบคลุมการออกแบบ, การพัฒนา, การบูรณาการ, การผลิต, การทดสอบ, การยืนยัน, การรับรอง, การส่งมอบ, การดำรงสภาพ และการดัดแปลงของเครื่องบินขับไล่ F-15EX ขั้นต้นจำนวน 8เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-15-eagle.html

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

สหรัฐระงับการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และระเบิดนำวิถี SDB แก่ซาอุดีอาระเบีย

US freezes Saudi, UAE defence sales



The US’ new Biden administration has frozen defence sales to Saudi Arabia and the UAE pending a review, the US was approved the UAE’s procurement of 50 F-35A. (USAF)

คณะบริหารของรัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ Joe Biden ได้ระงับการขายอาวุธยุทโธปกรณ์กลาโหมแก่ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates)
โดยยังคงรอการทบทวน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯคนใหม่ Antony Blinken ยืนยันเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/f-35a-mq-9b.html)

"การกล่าวโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงการขายอาวุธมันเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่จะเริ่มต้นที่คณะบริหารของรัฐบาลที่จะทบทวนการขายใดๆที่กำลังรออยู่เพื่อให้มั่นใจว่า
สิ่งที่จะได้รับการพิจารณาเป็นบางสิ่งก้าวล่วงเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของเรา หรือก้าวล่วงนโยบายต่างประเทศของเรา ดังนั้นนี่เป็นสิ่งที่เรากำลังทำตอนนี้" Blinken กล่าวระหว่างการบรรยายสรุปต่อสื่อ

Blinken เน้นหนักว่าสหรัฐฯยังคงมุ่งมั่นต่อข้อตกลง Abraham ที่มีผลในการที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนมีความสัมพันธ์ระดับปกติกับอิสราเอล นี่เป็นการนำทางสำหรับสหรัฐฯที่จะอนุมัติการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) 50เครื่อง 
,อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Air Vehicle) แบบ General Atomics Aeronautical Systems MQ-9B Reaper จำนวน 18ระบบ และอาวุธยิงทางอากาศชุดใหญ่รวมมูลค่าที่ประมาณ $23.4 billion แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สถานทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใน Washington ได้ยืนยันว่าจดหมายข้อตกลงสำหรับการขายอาวุธต่างๆเหล่านี้ได้รับการลงนามในระยะเวลาอันสั้นก่อนที่คณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump จะหมดวาระลงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2021
มันยังเป็นที่ทราบว่าการทบทวนการขายอาวุธ กล่าวโดยที่ได้ถูกคาดการณ์ว่า "ชุดการขาย F-35 เป็นสิ่งที่มากกว่าการขายยุทโธปกรณ์ทางทหารแก่หุ้นส่วน"

การคาดการณ์กล่าวว่า "มันทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะดำรงการป้องปรามที่แข็งแกร่งที่จะทำการเชิงรุก(และ)รับภาระในระดับภูมิภาคมากขึ้น
สำหรับการรักษาความมั่นคงโดยรวม, ปลดปล่อยสินทรัพย์ของสหรัฐฯให้ว่างจากภาระสำหรับเผชิญความท้าทายอื่นๆทั่วโลก, จัดลำดับความสำคัญทั้งสองฝ่ายของสหรัฐฯที่ยาวนาน"

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม 2020 เอกสารความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ที่เผยแพร่โดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) 
ได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39 Small Diameter Bomb I(SDB I) จำนวน 3,000นัด แก่ซาอุดีอาระเบีย เป็นวงเงินถึง $290 million ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/ah-64e-sdb-sniper-atp.html)

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

Elbit Systems อิสราเอลได้รับสัญญาส่งมอบระบบป้อมปืนใหญ่รถถัง Sabrah ที่น่าจะเป็นสำหรับฟิลิปปินส์

Elbit Systems awarded contract for Sabrah light tanks and direct-fire support vehicles
Side view of an FV101 Scorpion Light Tank of the Philippine Army. Photo taken at the Armed Forces of the Philippines Museum in Camp Aguinaldo. (wikiprdia.org)

An oblique view of an M-113 vehicle of the Philippine Army (PA) with a turret taken from an FV-101 Scorpion vehicle. Photo taken during the 2018 Kalayaan Parade in Luneta. (wikiprdia.org)




Elbit Systems announced on 26 January that it has been awarded a USD172 million contract for the supply Sabrah ASCOD 2 light tanks and Sabrah Pandur II direct-fire support vehicles (similar to those two) 
to the army of an Asian country, which Janes understands to be the Philippines. (Elbit Systems)

บริษัท Elbit Systems อิสราเอลประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2021 ว่าตนได้รับสัญญาวงเงิน 172 million สำหรับการส่งมอบระบบป้อมปืนใหญ่รถถัง Sabrah ที่ไม่ระบุจำนวน
ติดตั้งในรูปแบบรถถังเบา Sabrah ASCOD 2 และยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังหรือรถยิงตรงสนับสนุน(direct-fire support vehicle) Sabrah Pandur II 8x8 แก่กองทัพในประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

Elbit Systems ที่มีที่ตั้งใน Haifa อิสราเอลกล่าวว่าสัญญาจะถูกดำเนินการในช่วงระยะเวลา 3ปี โดยชี้ให้เห็นว่ารุ่นรถถังเบาจะมีพื้นฐานบนรถสายพาน ASCOD 2 ที่ผลิตโดยบริษัท General Dynamics European Land Systems Santa Bárbara สเปน
ขณะที่รุ่นรถเกราะล้อยางยิงตรงสนับสนุนจะมีพื้นฐานบนยานเกราะล้อยาง Pandur II 8x8 ที่ผลิตโดยบริษัท Excalibur Army สาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/bt-3f-bmp-3f-pandur-ii.html)

รถรบทั้งสองแบบจะติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ที่ติดระบบย่อยที่สร้างโดย Elbit อิสราเอลหลากหลายระบบ รวมถึงกล้องเล็ง electro-optical, ระบบควบคุมการยิง, ระบบอำนวยการสนามรบ Torch-X เช่นเดียวกับระบบวิทยุกำหนดค่าโดยชุดคำสั่ง E-LynX และระบบพยุงชีพ
บริษัทกล่าวโดยเสริมว่า "แบบแผนรถถังเบา Sabrah ขนาด 30ton จะมอบการผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของขีดความสามารถการยิงที่ทรงพลังและความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ที่สูง"(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/gdels-ascod-mmbt-ascod-ifv-pandur-6x6.html)

Elbit อิสราเอลไม่ได้เปิดเผยการระบุถึงตัวลูกค้าหรือจำนวนรถที่สั่งจัดหา แต่ Janes เข้าใจว่ารถถังเบาและรถเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังมีขึ้นเพื่อตรงความต้องการของกองทัพบกฟิลิปปินส์(PA: Philippine Army)
ภายใต้ความต้องการโครงการจัดหารถถังเบาและรถลำเลียงพลล้อยาง(wheeled APC: Armoured Personnel Carrier) ของกองทัพบกฟิลิปปินส์

กองทัพบกฟิลิปปินส์มีรถถังเบา FV101 Scorpion ประจำการอยู่จำนวนหนึ่งที่จัดหาตั้งแต่ปีราวปลายปี 1970s โดยบางส่วนได้รับการปรับปรุงความทันสมัยไปเมื่อกลางปี 2010s 
รวมถึงรถสายพานลำเลียง M113 APC ส่วนหนึ่งที่ได้รับการดัดแปลงเป็นรถสายพานยิงสนับสนุน M113 FSV(Fire Support Vehicle) ที่ติดตั้งป้อมปืนใหญ่ขนาด 76mm ที่ถอดมาจากรถถังเบา Scorpion ที่ปลดประจำการแล้ว

กองทัพบกฟิลิปปินส์ยังมีรถเกราะล้อยาง V-150 Comando 4x4 ที่ประจำการมาตั้งแต่กลางปี 1970s และรถเกราะล้อยาง FS100 Simba 4x4 ที่จัดหาในต้นปี 1990s เป็นจำนวนมาก 
เป็นที่เข้าใจว่ารถถังเบา Sabrah ASCOD 2 จะถูกนำมาทดแทนรถถังเบา Scorpion ในจำนวนราว 18คัน ขณะที่รถเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Sabrah Pandur II 8x8 จะถูกนำมาเสริมรถเกราะล้อยางที่มีอยู่ในจำนวนราว 10กว่าคันครับ

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

กรีซลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส

Greece signs for Rafale combat aircraft



The HAF is to receive 18 Rafale fighters from France, comprising 12 surplus and six new-build airframes under a deal signed on 25 January. (Dassault)





กรีซและฝรั่งเศสได้บรรลุข้อตกลงสำหรับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale จำนวน 18เครื่องสำหรับกองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force) มูลค่าที่วงเงินประมาณ 1.92 billion Euros($2.35 billion)
Theodoros Lagios ผู้อำนวยการทั่วไปกองยุทโธปกรณ์และการลงทุนกระทรวงกลาโหมกรีซ และ Éric Trappier ประธานและผู้อำนวยการบริหารบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศสได้ลงนามสัญญาในนครหลวง Athens เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2021

การลงนามข้อตกลงสอดคล้องกับที่รัฐสภากรีซอนุมัติความเห็นชอบการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ในเดือนธันวาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafale.html) สัญญาเพิ่มเติมสำหรับการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงยังได้รับการลงนามด้วย
"กรีซเป็นหุ้นส่วนชั้นนำของยุโรป, สมาชิกหลักของ NATO และหุ้นส่วนพิเศษของฝรั่งเศส โดยที่ Dassault Aviation ได้รับการยืนยัน...โดย(ผ่านการจัดหาเครื่องบินขับไล่ก่อนหน้า) เป็นเวลามากว่า 45ปี" Trappier กล่าว

เครื่องบินขับไล่ Rafale สำหรับกองทัพอากาศกรีซ 18เครื่องประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Rafale ส่วนเกิน 12เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, Armée de l'Air et de l'Espace)
แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว Rafale C จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B จำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 6เครื่องที่ จะสร้างใหม่จากโรงงานของ Dassault ในฝรั่งเศส

เพื่อให้ตรงกับความจำเป็นเร่งด่วนของตัวแทนผู้รับมอบกรีซ การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale จะเริ่มต้นในฤดูร้อนของปี 2021 และถูกแบ่งเป็นระยะไปเป็นเวลาอีก 2ปี
สัญญาการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมจะสนับสนุนกิจกรรมทางอากาศของเครื่องบินขับไล่ Rafale ของกองทัพอากาศกรีซเป็นเวลาอีก 4ปี 6เดือน(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale-18.html)

ตามที่ Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้วงเงินอีก 400 million Euros จะถูกใช้เพื่อจะจัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ Meteor 
และเพื่อปรับปรุงอาวุธปล่อยวิถีแบบต่างๆที่มีในคลังแสงของกองทัพอากาศกรีซอยู่ก่อนแล้ว เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MICA, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน Scalp และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet) สำหรับใช้ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Rafale 

กรีซจะเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสรายล่าสุดต่อจากอียิปต์ที่เป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรกของเครื่องบินขับไล่ Rafale ที่สั่งจัดหาจำนวน 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2015/07/rafale.html), 
กาตาร์ที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html) และอินเดียที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

Saab สวีเดนได้รับสัญญาการพัฒนาเรือคอร์เวตชั้น Visby Generation 2 ยุคอนาคต

Saab Signs Two Contracts for Next Generation Corvettes for Sweden






Saab and the Swedish Defence Materiel Administration, (FMV), have signed two agreements concerning the next generation of surface ships and corvettes. 





บริษัท Saab สวีเดน และสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมสวีเดน(Defence Materiel Administration, FMV: Försvarets materielverk) ได้ลงนามสัญญาสองข้อตกลงในเรื่องเรือผิวน้ำและเรือคอร์เวตยุคอนาคต
คือขั้นระยะการกำหนดการจำกัดความผลิตภัณฑ์สำหรับการปรับปรุงครึ่งอายุ(MLU: Mid-Life Upgrade) ของเรือคอร์เวตชั้น Visby ทั้ง 5ลำของกองทัพเรือสวีเดน(RSwN: Royal Swedish Navy, Svenska marinen)

เช่นเดียวกับขั้นระยะการกำหนดการจำกัดความผลิตภัณฑ์สำหรับเรือคอร์เวตยุคอนาคต Visby Generation 2 รวมวงเงินทั้งสองสัญญาเป็น 190 million Swedish Krona($22.9 million)
ทั้งสองสัญญาได้รวมการวิเคราะห์ความต้องการและตามด้วยการเริ่มต้นงานดัดแปลงเรือคอร์เวตชั้น Visby จำนวน 5ลำ และการจัดหาเรือคอร์เวต Visby Generation 2 ตามลำดับ

"สัญญาเป็นก้าวย่างไปข้างหน้าที่สำคัญสำหรับขีดความสามารถการรบผิวน้ำของสวีเดน โดยการปรับปรุงเรือคอร์เวตที่มีอยู่ และสร้างเรือรบยุคอนาคต เรือคอร์เวตชั้น Visby ได้เป็นผู้บุกเบิกมา 20ปีแล้วและหลังการปรับปรุง MLU พวกมันจะได้รับการติดตั้งระบบสำหรับการมอบหมายภารกิจในอนาคต
ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่รวบรวมจากเรือชั้น Visby เป็นเวลาหลายปีจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาเรือ Visby Generation 2" Lars Tossman หัวหน้าภาคธุรกิจของ Saab Kockums กล่าว

เรือคอร์เวต Visby Generation 2 เป็นการพัฒนาของเรือชั้น Visby รุ่นที่5 และจะได้รับการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำสมัยใหม่, ระบบ Torpedo และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ
เรือคอร์เวตชั้น Visby ลำแรกถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2000 และปัจจุบันเรือคอร์เวตทั้ง 5ลำคือ K31 HSwMS Visby, K32 HSwMS Helsingborg, K33 HSwMS Härnösand, K34 HSwMS Nyköping และ K35 HSwMS Karlstad อยู่ในประจำการ

ขั้นระยะการกำหนดการจำกัดความผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงครึ่งอายุ MLU มุ่งที่จะทำให้เรือคอร์เวตชั้น Visby ทั้ง 5ลำสามารถปฏิบัติการได้เกินปี 2040
นอกเหนือจากการดัดแปลงระบบที่มีอยู่บนเรือ ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศจะถูกติดตั้งเพิ่มเติมในฐานขีดความสามารถใหม่

ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RBS15 จะได้รับการปรับปรุงเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/saab-rbs15.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/07/saab-rbs15-mk4-gungnir.html)
เช่นเดียวกับระบบ Torpedo ด้วยระบบ Torpedo เบาแบบใหม่ Saab Lightweight Torpedo(SLWT) ที่กำหนดแบบในกองทัพสวีเดนเป็น TS47(Torpedsystem 47) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/saab-torpedo-ts47.html

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

DTI ส่งมอบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล แก่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือไทย















Defence Technology Institute (DTI) hand-on prototype of Maritime security multipurpose vessel to Royal Thai Navy Special Warfare Command (RTN SEAL) to save Thailand's Sea environment.



สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ กองทัพเรือ ดำเนินโครงการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วย นสร.กร. 
โดยในวันที่ ๒๑ ม.ค.๖๔ ได้ทำพิธีส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์ เพื่อความมั่นคงทางทะเลให้กับ นสร.กร. สำหรับนำไปทดสอบภาคสนาม 
พร้อมกันนี้ พล.ร.ต.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผอ.สวพ.ทร. ได้เป็นผู้แทนในส่วนของ สวพ.ทร. เข้าร่วมพิธี และร่วมชมการสาธิตการปฎิบัติงาน และสมรรถนะทางทะเล ได้แก่การเก็บขยะในทะเล การสนับสนุนนักดำน้ำ และการลำเลียงพาหนะ ณ หาดน้ำใส นสร.กร.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. จัดพิธีส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ณ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในวันที่ 21 มกราคม 2564 
เพื่อทดสอบภาคสนามโดยหน่วยผู้ใช้ ตอบสนองภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร.กร.) 
โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นผู้ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล 
ให้กับ พลเรือตรีศุภชัย ธนสารสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ในฐานะหน่วยผู้ใช้งาน เป็นผู้รับมอบฯ  
โดยมีพลเอกพอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป., พลเรือตรี อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ และคุณนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกรรมการ บริษัท โชคนำชัย ไฮเทค เพรสซิ่ง จำกัด เข้าร่วมแสดงความยินดี 

โดย สทป. ได้ทำการสาธิตการปฏิบัติงานและสมรรถนะทางทะเล เพื่อแสดงสมรรถนะต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล  เพื่อถ่ายทอดการใช้งานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ดังนี้ 
จำลองการเก็บขยะหน้าท่า, สาธิตการเอาตระกร้าขึ้น, ผู้บริหารขึ้นเรือต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลเพื่อไปเกาะแสมสาร, ชมการสาธิตการสนับสนุนการปฏิบัติการใต้น้ำ, ทดสอบเกยหาดรับรถขนาด 1 ตัน

ผลการทดสอบได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทั้งนี้ สทป. มีแผนที่จะนำองค์ความรู้ในการสร้างต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ดังกล่าว ต่อยอดองค์ความรู้สู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้นต่อไปในอนาคต 
โดยคณะจัดงานและผู้เข้าร่วมพิธี ฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค covid-19 ตามที่รัฐบาลประกาศอย่างเคร่งครัด

ต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. และ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย นสร.กร.ทร.
ซึ่งมีภาคเอกชนในด้านอุตสาหกรรมทางเรือของไทยเข้ามามีส่วนร่วมคือ กลุ่มบริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด(Choknamchai Hitech Pressing Co.,Ltd.) และบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด(SAKUN C INNOVATION Co.,Ltd.) 

เรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลเป็นการวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมไปจนถึงขั้นการผลิต และส่งเสริมสู่อุตสากรรมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาขยะทางทะเลในไทย ที่มีจำนวนมากกว่า 11.47 million tons ต่อปี ความความต้องการของ นสร. ในนามของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ที่ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564

รัสเซียจะส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 และอากาศยานไร้คนขับ Orlan-10E แก่พม่า

Russia to supply air defense systems Pantsir-S1 to Myanmar 

Pantsir-S1 air defense system


Orlan-10 unmanned aerial vehicle https://www.vitalykuzmin.net
The command of Myanmar’s armed forces has shown interest in other advanced weapon systems of Russian manufacture





รัสเซียจะส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศและปืนใหญ่กล Pantsir-S1, อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Orlan-10E และระบบ Radar จำนวนหนึ่งแก่พม่า
ข้อตกลงได้รับการลงนามในพิธีที่มีรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Sergey Shoigu ที่เยือนพม่า และผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Alexander Fomin ได้ลงนามข้อตกลงของรัสเซีย

ตั้งแต่ปี 2001 พื้นฐานทางกฎหมายและข้อบังคับได้รับการสร้างขึ้นเพื่อความมีประสิทธิภาพและผลประโยชน์ร่วมกันด้านความร่วมมือทางทหารซึ่งสร้างความก้าวหน้าอย่างมั่นคงระหว่างรัสเซียและพม่า
รัสเซียได้ส่งมอบอาวุธยุทโธปกรณ์แก่พม่ารวมถึงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จำนวน 30เครื่อง, เครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา Yak-130 จำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/yak-130-jf-17.html),

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P จำนวน 10เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/mi-35p.html), ระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Pechora-2M จำนวน 8ระบบ และยังรวมถึง Radar, ยานเกราะ และปืนใหญ่
สัญญาสำหรับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SME จำนวน 6เครื่องได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยเครื่องจำนวนหนึ่งได้ถูกส่งมอบให้กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/su-30sme.html)

ยุทโธปกรณ์ทางทหารจากรัสเซียได้รับการซ่อมและบำรุงรักษา ณ ศูนย์พิเศษร่วมของพม่าสำหรับยุทโธปกรณ์ทุกประเภททั้งอากาศยานและยานเกราะ
ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัสเซียและพม่าได้เห็นการพัฒนาอย่างมากตลอดระยะเวลา 5ปีที่ผ่านมา ตัวแทนกองทัพพม่าได้เข้าร่วมการแข่งขัน international army games เป็นประจำ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/tank-biathlon-2018-asean.html

และการฝึกซ้อมทางทหาร ในปี 2020 ที่ผ่านมาล่าสุดกำลังพลกองทัพพม่าได้มีส่วนร่วมในการฝึกผสม Kavkaz-2020(Caucasus 2020) ระหว่างวันที่ 21-26 กันยายน 2020 ในรัสเซีย
ยังร่วมถึงข้อตกลงระหว่างรัฐบาลในปี 2018 ที่บรรลุผลในการทำให้มีขั้นตอนง่ายขึ้นสำหรับการเยือนท่าเรือพม่าของเรือกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy, VMF)

ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2020 กองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy, Tatmadaw Yay) ได้ทำพิธีนำเรือดำน้ำชั้น Project 877EKM(NATO กำหนดรหัสชั้น Kilo) ที่สร้างในรัสเซียที่เคยประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) เข้าประจำการเป็นลำแรกในชื่อ UMS Minye Theinkhathu
ผู้บัญชาการกองทัพพม่ายังแสดงความสนใจระบบอาวุธขั้นก้าวหน้าอื่นๆจากผู้ผลิตของรัสเซียด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/ums-minye-theinkhathu-73.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/12/kilo-ums-minye-theinkhathu.html)

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยจะจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ MANPADS 4x4 ๕ชุดยิง

China Precision Machinery Import-Export Corporation (CPMIEC) missiles products include QW-12 Man-portable air-defence system (MANPADS) was displayed at Defense and Security 2019.(My Own Photo)



QW-18 Vanguard MANDPADS of 2nd Air Defense Regiment (ADR2), Naval Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN).

Igla-S MANPADS missiles of Royal Thai Army.


The 9K333 Verba MANPADS is designed to defeat approaching and receding fixed-wing and rotary-wing aircraft, unmanned aerial vehicles, and cruise missiles in optical countermeasure environment and by night when the target is visually observed.

The Dzhigit support launching unit (SLU) to mount, aim and launch two Igla or Igla-S MANPADS missiles.



เยี่ยมชมผลงานการจัดแสดงนิทรรศการ KM (กรม สอ.2)
พลเรือตรี อุทัย ชีวะสุทธิ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เยี่ยมชมผลงานการจัดแสดงนิทรรศการการจัดการความรู้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ 
ณ กรมต่อสู้อากาศยานที่ ๒ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓



IGLA-S เขี้ยวเล็บทบ.ไทย ! IGLA-S (9K338 ) MANPADS อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานที่ทันสมัยอีกแบบหนึ่งของกองทัพบกไทย เป็นอาวุธแบบประทับบ่ายิง ที่มีความมุ่งหมายในการทำลายเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินไอพ่น อากาศยานปีกหมุน รวมไปถึง UAV และ Cruise Missile 
ภายใต้สภาพแวดล้อมด้วยสิ่งรบกวนและมาตรการต่อต้านจากฝ่ายตรงข้าม มีน้ำหนักในท่าพร้อมยิง 18.25 กก. มุมยิงในท่ายืนยิง 70 องศา ในท่านั่งยิง 50 องศา ความเร็วของจรวดคงที่ 600 เมตรต่อวินาที มีระยะยิงไกล 500-6,000 เมตร ที่ระยะสูง 10 -3,500 เมตร 
ความเร็วเป้าหมายสูงสุด 400 เมตรต่อวินาที (Head on) 320 เมตรต่อวินาที (Tail chase) ระยะเวลาทำลายตัวเอง 13-14.3 วินาที ระบบนำวิถีแบบอินฟาเรด ท่อยิงสามารถรองรับการยิงสูงสุดได้ 5 ครั้ง เครื่องลั่นไกรองรับการยิงได้ 750 ครั้ง ....Photo Sompong Nondhasa

Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy announced to acquire 5 of Mobile Short-Range Surface-to-Air Missile on 4x4 vehicles for RTN Naval Air and Coastal Defence Command.
โครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง

ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย ประกาศเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ถึงโครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. โดย กรมสรรพาวุธทหารเรือ สพ.ทร.
เป็นวงเงิน ๒๔๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($8,205,470) แหล่งที่มาราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ประกอบด้วย บริษัท ดาต้าเกท จำกัด(Datagate co.,Ltd.) และบริษัท China Vanguard Industry Corp.(CVIC)
การกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) จัดซื้ออาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง มีดังนี้ 

ด้วย กรมสรรพาวุธทหารเรือ มีความประสงค์จัดซื้ออาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
ในการป้องกันภัยทางอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญทางทหารของ ทร. จำนวน ๕ ชุดยิง วงเงินงบประมาณ จำนวน ๒๔๖,๐๐๐,๐๐๐บาท ระยะเวลาดำเนินการ ๑ปี (ปีงบประมาณ ๒๕๖๔) 
โดยรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง ที่เป็นสาระสำคัญ มีดังนี้

๑.คุณลักษณะทั่วไป
๑.๑ เป็นระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ ประเภท Man Portable Air Defence Missile (MANPAD) ที่ใช้สำหรับการยิงทำลายเป้าหมายอากาศยานประเภทต่างๆ เช่น อากาศยานปีกนิ่ง อากาศยานปีกหมุน หรือ อากาศยานไร้คนขับ ที่มีเพดานบินระดับต่ำและอยู่ในระยะใกล้
๑.๒ สามารถทำการยิงจากแท่นยิงที่ติดตั้งบนรถยนต์เฉพาะการ สามารถถอดแท่นยิงที่ติดตั้งบนรถยนต์เฉพาะการเคลื่อนย้ายไปยิงยังพื้นผิวต่างๆ และสามารถถอดลูกอาวุธนำวิถีออกจากแท่นยิงเพื่อทำการยิงด้วยวิธีการประทับบ่ายิงได้
๑.๓ เป็นอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งมีใช้งานในกองทัพไทยอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถใช้ลูกอาวุธนำวิถี และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงอะไหล่ร่วมกับเหล่าทัพอื่นได้
๑.๔ ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ ๑ชุดยิง อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
๑.๔.๑ ลูกอาวุธปล่อยนำวิถี จำนวน ๔นัด
๑.๔.๒ แท่นยิง จำนวน ๑แท่น
๑.๔.๓ รถยนต์เฉพาะการ จำนวน ๑คัน

๒.คุณลักษณะเฉพาะ
๒.๑ ลูกอาวุธนำวิถี
๒.๑.๑ ลูกอาวุธนำวิถีบรรจุสำเร็จรูปในท่อยิง(Tubed Missile)
๒.๑.๒ น้ำหนักรวมพร้อมทำการยิงด้วยวิธีการประทับบ่าไม่เกิน 20kg ต่อ ๑นัด
๒.๑.๓ มีระยะยิงใกล้สุดไม่มากกว่า 500m และระยะยิงไกลสุดไม่น้อยกว่า 5,000m
๒.๑.๔ ระยะเพดานบินหวังผลต่ำสุดไม่มากกว่า 10m และสูงสุดไม่น้อยกว่า 3,000m
๒.๑.๕ มีระบบต่อต้านการลวงจากเครื่องลวง
๒.๑.๖ มีระบบการนำวิถีแบบ Fire-and-Forget
๒.๑.๗ มีชุดเครื่องลั่นไก(Firing Unit) อย่างน้อยในอัตราส่วน ๒ชิ้น ต่อ ๑ชุดยิง
๒.๑.๘ มีแหล่งจ่ายพลังงานและสารหล่อเย็น(Battery and Coolant Unit) อย่างน้อยในอัตราส่วน ๒ชุด ต่ออาวุธนำวิถี ๑นัด
๒.๑.๙ มีอุปกรณ์เล็งยิงในเวลากลางวันและใเวลากลางคืน อย่างน้อย ๑ชิ้น ต่อ ๑ชุดยิง
๒.๑.๑๐ มีหัวรบชนิดวัตถุระเบิดแรงสูง โดยชนวนของหัวรบทำงานได้ทั้งแบบกระทบแตกและเฉียดระเบิด(Impact and Proximity)
๒.๑.๑๑ สามารถทำการยิงได้ในทุกสภาพอากาศ ภายในสภาวะแวดล้อมอุณหภูมิระหว่าง -10  ถึง 50 degree Celsius ได้
๒.๑.๑๒ ไม่เป็นอุปกรณ์ต้นแบบที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการค้นคว้าวิจัย โดยต้องได้รับการทดสอบเข้าสู่สายการผลิต(Production Line) และมีใช้ในกองทัพประเทศผู้ผลิต
๒.๑.๑๓ ลูกอาวุธนำวิถีมีอายุการใช้งาน(Shel Life) ภายใต้สภาวะการเก็บรักษาตาปกติโดยไม่ต้องการการปรนนิบัติบำรุงใดๆ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ปี
๒.๑.๑๔ มีอะไหล่สำหรับรองรับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันของลูกอาวุธนำวิถีและเครื่องลั่นไก จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ชุด ตลอดอายุการใช้งาน
๒.๑.๑๕ มีอุปกรณ์ตรวจสอบความพร้อมใช้งาน
๒.๒ แท่นยิง
๒.๒.๑ แท่นยิงสามารถติดตั้งลูกอาวุธปล่อยนำวิถี ตามข้อ ๒.๑ ได้ไม่น้อยกว่า ๒ลูก
๒.๒.๒ พลยิงทำการยิงในท่านั่งยิง สามารถทำการหันได้รอบตัว ทุกทิศทาง โดยไม่มีมุมจำกัด
๒.๒.๓ สามารถทำการปรับทิศทางการยิงในทางหันและทางกระดกได้ โดยใช้เพียงแรงกายของพลยิงไม่ต้องการแรงขับจากเครื่องผ่อนแรงใดๆ
๒.๒.๔ มีชุดเครื่องลั่นไก(Launching Mechanism) อย่างน้อยในอัตราส่วน ๑ชุด ต่อ ๑แท่นยิง โดยประกอบติดกับแท่นยิง
๒.๒.๕ มีอุปกรณ์สำหรับการเล็งเป้าหมาย อย่างน้อยในอัตราส่วน ๑ชุดต่อ ๑แท่นยิง โดยประกอบติดกับแท่นยิง
๒.๒.๖ สามารถทำการประกอบและติดตั้งใช้งานบนพื้นดินทั่วไป หรือบนรถยนต์เฉพาะการ ตามข้อ ๒.๓ ได้
๒.๒.๗ สามารถเลือกทำการยิงแบบ ๑ลูก(Single) หรือแบบ ๒ลูก(Salvo) ได้
๒.๓ รถยนต์เฉพาะการ
๒.๓.๑ คุณลักษณะทั่วไป
๒.๓.๑.๑ เป็นรถยนต์แบบ ๔ประตู มีที่นั่งภายในห้องโดยสารจำนวนไม่น้อยกว่า ๔ที่นั่ง สามารถติดตั้งแท่นยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ พร้อมลูกอาวุธฯ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ลูก มีพื้นที่จัดเก็บลูกอาวุธฯ สำรองไม่น้อยกว่า ๒ลูก และยุทธสัมภาระอื่นๆ
๒.๓.๑.๒ สามารถติดตั้งแท่นยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ ได้อย่างมั่นคง แข็งแรง มีพื้นที่เพียงพอในการหันแบะกระดกแท่นยิงเมื่อติดตั้งอาวุธฯ ครบถ้วน เมื่อพลยิงเข้าประจำที่เรียบร้อย ต้องสามารถหมุนแท่นยิงได้ 360 degree
๒.๓.๑.๓ สามารถเคลื่อนที่ไปได้บนเส้นทางหรือภูมิประเทศต่างๆ ทั้งแบบ On-Road และ Off-Road 
๒.๓.๑.๔ สามารถทำความเร็วสูงสุดบนทางราบตามเส้นทางมาตรฐานชั้น๑ ของกรมทางหลวงไม่น้อยกว่า 90km/h เมื่อบรรทุกสูงสุด และมีความสามารถในการยึดเกาะถนนดี
๒.๓.๑.๕ มีการเสริมวัสดุกันกระสุนอย่างน้อยระดับ NIJ IIIA(UL-75REV.9NIJ0108.04) และติดตั้งกระจกกันกระสุนชนิดมีแผ่น Polycarbonates เป็นส่วนประกอบ ขนาดความหน้าไม่น้อยกว่า 25mm สามารถป้องกันกระสุนระดับ IIIA ตามมาตรฐาน UL 752 หรือมาตรฐานที่บังคับใช้ล่าสุด เป็นอย่างน้อย
๒.๓.๑.๖ มีศูนย์บริการสำหรับรองรับการตรวจสภาพรถและซ่อมบำรุงที่ได้มาตรฐาน ซึ่งยังเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และมีอะไหล่รองรับการซ่อมบำรุงอย่างน้อย ๑๐ปี
๒.๓.๒ คุณลักษณะเฉพาะ
๒.๓.๒.๑ ระบบเครื่องยนต์
๒.๓.๒.๑.๑ เครื่องยนต์ดีเซลไม่น้อยกว่า ๔สูง ๔จังหวะ
๒.๓.๒.๑.๒ ปริมาตรกระบอกสูบไม่น้อยกว่า 2,700cc
๒.๓.๒.๑.๓ มีแรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 160hp 
๒.๓.๒.๒ ระบบส่งกำลัง
๒.๓.๒.๒.๑ ระบบเกียร์ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๒.๒ สามารถขับเคลื่อนระบบ ๔ล้อ หรือได้ทั้งระบบ ๒ล้อ และ ๔ล้อ
๒.๓.๒.๓ ระบบบังคับเลี้ยว พวงมาลัยขับด้านขวา พร้อมระบบผ่อนแรง(Power Steering) ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๔ ระบบกันสะเทือนและช่วงล่าง ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๕ ระบบห้ามล้อ
๒.๓.๒.๕.๑ หน้า-หลัง ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๕.๒ มีห้ามล้อมือ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๖ ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ
๒.๓.๒.๖.๑ Battery ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๖.๒ ติดตั้งระบบปรับอากาศ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๖.๓ มีโคมไฟสัญญาณ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๖.๔ มาตรวัดและอุปกรร์อื่นๆ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๗ ถังน้ำมันเชื้อเพลิงมีความจุไม่น้อยกว่า 60liter
๒.๓.๒.๘ เหล็กที่ใช้ในการประกอบเป็นตัวถัง ต้องผ่านการชุบกันสนิมทั้งคัน เมื่อประกอบเสร็จแล้วด้วยระบบไฟฟ้า ความหนาตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๒.๙ สีที่ใช้พ่นต้องเป็นสีเขียวมะกอกด้าน(Dull Olive Green) ตามมาตรฐานโรงงานผู็ผลิต ทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงกันชนด้านหน้าและกันชนด้านหลัง
๒.๓.๒.๑๐ ยางประจำรถและยางอะไหล่ ตามมาตรฐษนโรงงานผู้ผลิต เป็นยางใหม่ชนิดเดียวกันที่ผลิตไม่เกิน ๑ปี นับถึงวันตรวจรับ
๒.๓.๒.๑๑ มีกระจกมองหลังไม่น้อยกว่า ๓จุด(ส่องหลังกลางในรถ ๑บาน ส่องหลังด้านซ้าย ส่องหลังด้านขวา) พร้อมระบบปรับไฟฟ้าสำหรับกระจกส่องหลังด้านซ้ายและขวา
๒.๓.๒.๑๒ ติดตั้ง Winch ไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับดึงน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 4tons โดยมีความยาวลวดสลิงไม่น้อยกว่า 25m อยู่ที่ด้านหน้า และติดตั้งห่วงสำหรับลากจูงน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 4tons อยู่ที่ด้านหลังรถยนต์
๒.๓.๒.๑๓ มีเต้าเสียบไฟ 12 VDC อย่างน้อย ๑ช่อง
๒.๓.๒.๑๔ มีจอแสดงภาพสีพร้อมระบบนำทาง GPS
๒.๓.๒.๑๕ มีกล้องหน้าสำหรับบันทึกภาพ และกล้องมองหลังที่สามารถแสดงผลที่จอ เมื่อทำการขับเคลื่อนถอยหลัง พร้อมหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 64GB
๒.๓.๒.๑๖ มีที่ปัดน้ำฝนชนิดปรับตั้งเวลาได้ พร้อมเครื่องฉีดน้ำล้างกระจกด้วยระบบไฟฟ้า
๒.๓.๒.๑๗ มีเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร ชนิดหิ้วถือได้(Man-Portable) จำนวน ๑ชุด พร้อมติดตั้งเสาอากาศ โดยมีคุณสมบัติดังนี้
๒.๓.๒.๑๗.๑ ย่านความถี่รับ-ส่ง VHF อยู่ในช่วง 144-172 MHz
๒.๓.๒.๑๗.๒ กำลังส่งไม่น้อยกว่า 10W
๒.๓.๒.๑๘ รถยนต์ที่ส่งมอบพ่นน้ำยากันสนิมทั้งภายนอกและภายใน บริเวณฝากระโปรงตามตะเข็บใต้ท้องรถ ใต้บังโคลนภายในประตูตามบล็อก และธรณีประตูรอบคัน
๒.๓.๒.๑๙ ติดตั้งกรอบป้ายทะเบียนด้านหน้าและด้านหลัง
๒.๓.๒.๒๐ อุปกรณ์มาตรฐาน อุปกรณ์พิเศษ และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ เป็นไปตามมาตรฐานผู้ผลิต
๒.๓.๓ รายละเอียดการติดตั้งเกราะกันกระสุน
๒.๓.๓.๑ มีการเสริมวัสดุกันกระสุนอย่างน้อยระดับ NIJ IIIA(UL-75REV.9NIJ0108.04) บริเวณ ตัวถัง เสาเก๋ง แผงหน้ารถ แผงประตูด้าหน้าและหลัง(ซ้ายขวา) หลังคาเก๋ง แผงหลังเก๋ง เป็นอย่างน้อย 
๒.๓.๓.๒ ติดตั้งกระจกกันกระสุนชนิดมีแผ่น Polycarbonates เป็นส่วนประกอบ ขนาดความหน้าไม่น้อยกว่า 25mm สามารถป้องกันกระสุนระดับ IIIA ตามมาตรฐาน UL 752 หรือมาตรฐานที่บังคับใช้ล่าสุด เป็นอย่างน้อย ประกอบด้วย กระจกบังลมหน้า กระจกประตูด้าหน้าและหลัง(ซ้ายขวา) และกระจกบังลมหลัง
๒.๓.๓.๓ บานพับประตูทั้ง ๔บาน เป็นแบบอิสระเสริมความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถรับน้ำหนักเพิ่มเติมของเกราะกันกระสุนที่ติดตั้งได้มากกว่าบานพับประตูมาตรฐานของรถยนต์ตามปกติ
๒.๓.๔ อุปกรณ์ประจำรถ
๒.๓.๔.๑ ยางอะไหล่พร้อมกงล้อขนาดเดียวกับล้อและยางของรถ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต จำนวน ๑ชุด
๒.๓.๔.๒ เครื่องมือเครื่องใช้ประจำรถ จำนวน ๑ชุด อย่างน้อยประกอบด้วย แม่แรง อุปกรณ์ถอดล้อ ประแจ คีม ไขควง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
๒.๓.๔.๓ หนังสือคู่มือการใช้งานและการปรนนิบัติบำรุงประจำรถฉบับภาษาไทย จำนวน ๒ชุด

เป็นที่เข้าใจว่าบริษัท Datagate ไทยจะเป็นตัวแทนจำหน่ายสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Igla-S ซึ่งเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่ายิงที่มีใช้งานในกองทัพบกไทย แล้วหรืออาจจะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Verba รุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซีย
โดย Datagate น่าจะนำเสนอพร้อมกับแท่นยิงแบบ Dzhigit ที่รองรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี Igla-S ได้สองนัด สามารถติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกหรือตั้งฐานยิงบนพื้นได้ ขณะที่รถยนต์เฉพาะการหุ้มเกราะ 4x4 ที่จะเป็นรถแคร่ฐานติดตั้งแท่นยิงอาวุธนั้นยังไม่ทราบแบบในตอนนี้
บริษัท CVIC จีนน่าจะเป็นผู้จัดจำหน่ายระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานประทับบ่ายิงตระกูล Vanguard เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ QW-18 ที่ สอ.รฝ. มีใช้อยู่แล้ว และ QW-2 ที่มีใช้ในอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย ซึ่งพบการดัดแปลงรถยนต์บรรทุก รยบ.๕๑ 4x4 เป็นรถฐานยิงครับ