วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566

เฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 ตุรกีใหม่ทำการบินครั้งแรก

Turkish heavy attack helo breaks cover







A view of the ATAK 2 heavy attack helicopter, being developed for the Turkish Armed Forces and export customers. (Aytac Unal/Anadolu Agency via Getty Images))





เฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 ใหม่ของตุรกีได้ถูกเปิดเผยตัวเครื่องจริงเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2023 โดยบริษัท Turkish Aerospace(TA) ตุรกีได้เผยแพร่ชุดภาพถ่ายและข้อมูลใหม่
เกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์โจมตีหนัก T929 ATAK-2 ที่จะสอดคล้องกับการทดสอบการเดินเครื่องยนต์ครั้งแรก(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/atak-2.html)

ชุดภาพถ่ายใหม่ที่เผยแพร่โดย TA ตุรกีและสำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมตุรกี(Turkish Defence Industry Agency) ซึ่งทั้งสองกำลังพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2
เพื่อที่จะนำเข้าประจำการในกองทัพตุรกี(Turkish Armed Forces, TSK) และลูกค้าส่งออกต่างประเทศที่เป็นไปได้ ชุดภาพเหล่านี้ให้รายละเอียดระยะใกล้ชิดของเฮลิคอปเตอร์เครื่องต้นแบบในโลกจริงครั้งแรก

(ชุดภาพแนวคิดได้รับเผยแพร่มาก่อนแล้วก่อนหน้านี้ ตามการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ต่างๆในโครงการ ที่แสดงเฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 ในพื้นหลัง)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 ใหม่ได้ประสบความสำเร็จการทำการบินครั้งแรกของตน ตามวิดีทัศน์ที่เผยแพร่โดย Turkish Aerospace ตุรกีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2023

ตามแนวทางเดิมด้วยแบบแผนห้องนักบินสองที่นั่งเรียงกัน, ปีกคานอาวุธข้างลำตัว และฐานล้อลงจอดแบบล้อหางติดตรึงที่มีในเฮลิตอปเตอร์โจมตีแท้ส่วนใหญ่
เฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 โดยหลักแล้วรุ่นที่ขนาดหนักกว่า(8-10tonnes) และใหญ่กว่าของเฮลิคอปเตอร์โจมตี TA T129 ATAK ที่มีวัตถุประสงค์จะทดแทนในประจำการกองทัพตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/t129b-atak.html)

ห้องนักบินทนทานต่อการถูกยิงด้วยกระสุนขนาด 12.7mm และชุดภาพใหม่แสดงถึงห้องนักบินที่ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ ปีกคานอาวุธมีตำบลอาวุธ 6จุดสำหรับรองรับการติดตั้งอาวุธได้ถึง 1,200kg
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, จรวดนำวิถีอากาศสู่พื้นและจรวดอากาศสู่พื้นไม่นำวิถี และลูกระเบิดทิ้งทางอากาศ(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 ยังมีคุณสมบัติติดตั้งปืนใหญ่อากาศ T-30H ขนาด 30mm ที่ใต้หัวเครื่อง เช่นเดียวกับแท่นกล้องตรวจจับชี้เป้าหมาย forward-looking electro-optic/infrared(น่าจะเป็นแบบ ASELFLIR-600 ของบริษัท Aselsan ตุรกี) 
ระบบเครื่องยนต์ที่จะเป็นหัวข้อของการทดสอบล่าสุดมากที่สุดเป็นเครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft แบบ Motor Sich TV3-117VMA-SBM1V Series 1 สองเครื่องที่จัดหาจากยูเครนสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 เครื่องต้นแบบชุดแรก

ขณะที่เฮลิคอปเตอร์โจมตี T929 ATAK-2 เครื่องในสายการผลิตจำนวนมากคาดว่าจะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft แบบ TUSAS Engine Industries TS1400 สองเครื่องที่พัฒนาในตุรกีเอง
เฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK รุ่นก่อนนั้นติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft แบบ LHTEC CTS800-4A ที่สร้างในสหรัฐฯ ซึ่งเคยมีปัญหาที่สหรัฐฯระงับสิทธิบัตรการส่งออกตามาตรการคว่ำบาตร(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/t129.html)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ของตุรกีนั้นเคยได้รับการสั่งจัดหาจากปากีสถานแต่ไม่สามารถส่งมอบได้จากปัญหามาตรการคว่ำบาต(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/t129-30.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/02/z-10-t129-ah-1z.html)
และฟิลิปปินส์มีความล่าช้าในการรับมอบเครื่องจากปัญหาการระงับสิทธิบัตรจากการคว่ำบาตรเช่นกันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/t129b-2021.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/05/t129b-atak.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t129_21.html)

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566

เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-68 USS Nimitz สหรัฐฯเยือนไทย
















CVN-68 USS Nimitz, the lead ship of Nimitz-class Aircraft Carrier at Laem Chabang Port, Chonburi Province, Thailand as port visited during 24-29 April 2023, with media visited on 28 Arpil 2023. (Photos: Sukasom Hiranphan)
Destroyer Squadron 9(DESRON 9)  include Ticonderoga-Class Guided-Missile Cruiser CG-52 USS Bunker Hill and Arleigh Burke-Class Guided-Missile Destroyer DDG-73 USS Decatur and DDG-108 USS Wayne E. Meyer are ported at Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base
CARRIER STRIKE GROUP 11 (CSG 11)’s motto "Combat Proven" also include Carrier Air Wing 17 (CVW 17).

Great to join US Pacific Fleet RADM Sweeney, RTN Admiral Cherngchai, fellow Ambassadors & others to celebrate 190 years of US-Thailand relations aboard the USS Nimitz. 
Thank you to the Royal Thai Government & Thai people for the enduring friendship & our alliance.









วันที่ 26 เมษายน 2566 พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ นางจตุพร  ชมเชิงแพทย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองบนเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีสหรัฐฯ USS NIMITZ 
ในโอกาสเฉลิมฉลอง 190 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหรัฐฯ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ตามคำเชิญของท่านเอกอัครราชทูต โรเบิร์ต  โกเดค (Robert Godec) เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย 
และมีแขกรับเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมเฉลิมฉลองบนเรือประมาณ 400 คน
สำหรับกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (Carrier Strike Group 11) มีการประกอบกำลัง จำนวนรวมทั้งสิ้น 5 ลำ ประกอบด้วย 
เรือบรรทุกเครื่องบิน จำนวน 1 ลำ (USS Nimitz) เรือลาดตระเวนจำนวน 1 ลำ (USS Bunker Hill) เรือพิฆาต จำนวน 2 ลำ (USS Decatur และ USS Wayne E. Meyer) และหมวดบินเฉพาะกิจ 
โดยมี พลเรือตรี  Chirstopher J. Sweeney เป็น ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 และมี นาวาเอก Craig C. Sicola เป็น ผู้บังคับการเรือ USS NIMITZ 
โดยกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 ได้ปฏิบัติภารกิจการลาดตระเวนและฝึกร่วมกับชาติพันธมิตรในพื้นที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อนที่จะเดินทางเข้าเยี่ยมเยือนเมืองท่าประเทศไทย โดยมีกำหนดการเดินทางกลับในวันที่ 29 เมษายน 2566 เพื่อปฏิบัติภารกิจภายใต้กองเรือที่ 7 ต่อไป

ในการแวะเยือนประเทศไทยของ ยูเอสเอส นิมิตซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินลำดับที่68(CVN-68)ระหว่างวันที่24 ถึง29 เมษายน 66 เนื่องในวาระครบรอบความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐครบรอบ190ปี กองทัพเรือสหรัฐ 
และ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เป็นให้สื่อมวลชนไทยแขนงต่างๆได้ขึ้นเยี่ยมชมเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ ในวันที่ 27 เมษายน ที่ท่าเทียบเรือนำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 
Defense Info TH นำเสนอภาพรวมของยูเอสเอสนิมิตซ์และอากาศยานประจำเรือ ในรายงานชุดแรก โดยจะนำเสนอเรื่องราวของเรือรบที่เคยมีสถานะเป็นเรือรบที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของพลังทางการทหารของสหรัฐอเมริกา 
ในฐานะเรือรบพลังงานนิวเคลียร์ที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีบทบาทในปฏิบัติการทางการทหารมาแล้วมากมายในรายงานชุดต่อๆไป

เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-68 USS Nimitz เรือธง(Flag Ship)ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่11(CSG11: Carrier Strike Group 11) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้เดินทางมาเยือนไทยระหว่างวันที่ ๒๔-๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
ขณะที่เรือลำอื่นในกองเรือพิฆาตที่9(DESRON9: Destroyer Squadron 9) ประกอบด้วยเรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga เรือลาดตระเวน CG-52 USS Bunker Hill และเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke สองลำคือเรือพิฆาต DDG-73 USS Decatur และเรือพิฆาต DDG-108 USS Wayne E. Meyer
ที่เป็นหมู่เรือคุ้มกันนั้นได้จอดพักที่ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ส่งเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง(FFG-456) มาต้อนรับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-sattahip.html)

การเยือนไทยของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz ตรงกับโอกาสครบรอบ ๑๙๐ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ โดยวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖ ผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองบนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz
ต่อมาวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๖ สถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยก็ได้เปิดให้สื่อมวลชนของไทยเยี่ยมชมเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz ที่ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2023 เพิ่งจะเสร็จสิ้นการฝึกผสมทางทะเลกับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Forces) และสาธารณรัฐเกาหลี(ROKARF: Republic of Korea Armed Forces)
เป็นเรือรบหลัก(Capital Ship) ขนาดใหญ่ลำล่าสุดของกองทัพเรือสหรัฐฯที่ได้เดินทางมาจอดเทียบท่าที่ไทย หลังจากการฝึกผสม Cobra Gold 2023 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๖๖ ที่เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp เรือ LHD-8 USS Makin Island มาฝึกและเทียบท่าในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/amphibex-cobra-gold-2023.html)

กำลังอากาศยานที่วางกำลังบนเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-68 USS Nimitz คือกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่17(CVW-17: Carrier Air Wing 17) ประกอบด้วยอากาศยานหลายแบบประจำเรือคือ
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-22 (Strike Fighter Squadron 22) "Fighting Redcocks" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Boeing F/A-18F Super Hornet
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-94 (Strike Fighter Squadron 94) "Mighty Shrikes" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18F Super Hornet
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-137 (Strike Fighter Squadron 137) "Kestrels" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-146 (Strike Fighter Squadron 146) "Blue Diamonds" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F/A-18E Super Hornet
ฝูงบินโจมตี Electronic VAQ-139 (Electronic Attack Squadron 139) "Cougars" ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler
ฝูงบินแจ้งเตือนทางอากาศประจำเรือบรรทุกเรื่องบิน VAW-116 (Carrier Airborne Early Warning Squadron 116) "Sun Kings" ประจำการด้วยเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Northrop Grumman E-2C Hawkeye
ฝูงบินสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงกองเรือ VRC-30 (Fleet Logistics Support Squadron 30) "Providers" ประจำการด้วยเครื่องบินลำเลียง Northrop Grumman C-2A Greyhound
ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางทะเล HSM-73 (Helicopter Maritime Strike Squadron 73) "Battlecats" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Sikorsky MH-60R Seahawk
และฝูงบินเฮลิคอปเตอร์รบทางทะเล HSC-6 (Helicopter Sea Combat Squadron 6) "Indians" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปประจำเรือ Sikorsky MH-60S Knightwak

เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet และเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-2C Hawkeye แต่ละฝูงบินบนเรือวันช่วงที่เปิดเรือให้สื่อชมจะมีเครื่องบินที่ทำลวดลายพิเศษที่เรียกว่า "CAG bird" ซึ่งจะเป็นเครื่องที่มีสีสันสดใสโดดเด่นดึงดูดสายตาสำหรับการแสดงการบิน
เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-68 USS Nimitz เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz ลำแรกจะเดินทางออกจากไทยเพื่อวางกำลังในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในกองเรือที่7(7th Fleet)กองเรือแปซิฟิกองทัพเรือสหรัฐฯ(USPACFLT: Pacific Fleet) ต่อไป ก่อนจะเข้าซ่อมบำรุงและวางกำลังอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
การเดินทางเยือนไทยครั้งล่าสุดของเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-68 USS Nimitz ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1975 อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ตามที่กองทัพเรือสหรัฐวางแผนจะปลดประจำการในปี 2026 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/nimitz-lcs-independence.html)

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

เครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา L-39NG สาธารณรัฐเช็กรุ่นมาตรฐานสายการผลิตทำการบินครั้งแรก

Aero flies first production standard L-39NG light attack jet trainer







The first production standard L-39NG made its maiden flight on 24 April. (Aero Vodochody)





บริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กได้ทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา L-39NG(Next Generation) รุ่นมาตรฐานสายการผลิต บริษัทผู้ผลิตประกาศเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2023
การบินล่าสุดซึ่งเป็นเวลาประมาณ 40นาที ได้เห็นเครื่องบินไอพ่นเครื่องยนต์เดียวสองที่นั่งดำเนินชุดการบินดำเนินกลยุทธ์เพื่อประเมินคุณลักษณะทางการบิน เช่นเดียวกับการทำงานของเครื่องยนต์, ระบบอากาศยานและ Avionic

"การบินเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG เครื่องแรกในสายการผลิตจำนวนมากตรงตามการคาดการณ์ทั้งหมด" บริษัท Aero Vodochody กล่าว โดยเสริมว่าเครื่องบินรุ่นนี้พร้อมสำหรับส่งมอบเป็นจำนวนมากแก่ลูกค้าแล้ว
ลูกค้าของเครื่องบินไอพ่น L-39NG ประกอบด้วย LOM Praha รัฐวิสาหกิจของสาธารณรัฐเช็ก, ฝูงบินผาดแผลงเอกชน Breitling Jet Team ฝรั่งเศส, ฝูงบินผาดแผลง Black Diamond Jet Team ของบริษัท Draken International สหรัฐฯ,

กองทัพอากาศฮังการี(Hungarian Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/l-39ng.html), กองทัพอากาศเซเนกัล(Senegalese Air Force), บริษัท SkyTech โปรตุเกส, บริษัท RSW สหรัฐฯ
กองทัพอากาศเช็ก(Czech Air Force) และกองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(VPAF: Vietnam People's Air Force) ที่เข้าใจว่าอยู่ในแถวลูกค้าที่จะได้รับมอบเครื่องแรก(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/l-39ng-12.html)

ปัจจุบัน Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กได้รับคำสั่งจัดหาสำหรับเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG แล้วจำนวน 34เครื่อง โดยกำลังได้รับความสนใจจากอุรุกวัยด้วยตามรายงานล่าสุด
ตามข้อมูลจาก Aero Vodochody ภายในสองปีตนจะสามารถผลิตเครื่องบินไอพ่น L-39NG ได้ที่ 24เครื่องต่อปีจากสายการผลิตที่ได้รับมอบหมายล่าสุดของตน

Aero Vodochody กล่าวกับ Janes ก่อนหน้านี้ว่า ตนคาดว่าเครื่องบินไอพ่น L-39NG จะได้รับการเป็น "ส่วนที่สำคัญ" ของการคาดการณ์ถึง 3,000เครื่องในตลาดจนถึงราวปี 2035
เครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG เปิดตัวครั้งแรกโดยบริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กในเดือนตุลาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/l-39ng.html) โดยการบินทดสอบได้เสร็จสิ้นในช่วงต้นปี 2020  

เปรียบเทียบกับเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 รุ่นดังเดิมที่เป็นแบบพื้นฐาน L-39NG มีคุณสมบัติติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Williams International FJ44-4M สหรัฐฯที่มีกำลังขับมากขึ้น,ปีกแบบมีถังเชื้อเพลิงภายใน(wet wing), ห้องนักบินที่ทันสมัย และโครงสร้างอากาศยานที่เบากว่ารุ่นก่อน
ติดตั้งด้วยจุดแข็งจำนวน 5ตำบล(เปรียบเทียบกับสองจุดแข็งใน L-39 รุ่นเดิม) ที่จะสามารถติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ได้หลากหลายแบบ ตั้งแต่อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น และระบบตรวจจับอื่นๆ รวมถึงมีตัวเลือกติดตั้งกระเปาะปืนใหญ่อากาศด้วย

ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Development & Production เครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG มีความเร็วสูงสุดที่ 420knots, มีน้ำหนักบรรทุกที่ 1,200kg 
มีระยะเวลาปฏิบัติการบินนาน 4ชั่วโมง 30นาที, มีพิสัยทำการบิน 1,400nmi และมีเพดานบินสูงสุดที่ 38,000feet มีรายงานว่าราคาของเครื่องที่จะจัดหาอยู่ที่ต่ำกว่า $10 million ครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566

กองทัพตุรกีรับมอบรถถังหลัก Altay สองคันแรก

Turkish Armed Forces receives its first Altay tanks
BMC unveiled the new Altay with Aselsan's Örümcek 360° situational awareness system on 22 March.











The TSK received its first two Altay MBTs for testing from BMC during a ceremony at the manufacturer's plant at the Turkish Ministry of National Defense's Arifiye Campus on 23 April, in the presence of President Recep Tayyip Erdoğan. (Presidency of the Republic of Turkey)





กองทัพตุรกี(Turkish Armed Forces, TSK) รับมอบรถถังหลัก Altay (MBT: Main Battle Tank) สองคันแรกของตนสำหรับการทดสอบจากบริษัท BMC ตุรกีผู้ผลิตในประเทศ ระหว่างพิธีรับมอบเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2023 ที่โรงงานของบริษัท BMC ที่ Arifiye Campus ของกระทรวงกลาโหมตุรกี 
ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdoğan กล่าวว่า "รถถังหลัก Altay ใหม่ของเรามีความแตกต่างอย่างมากและมีขีดความสามารถเหนือชั้นกว่ารถต้นแบบที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 10ปีก่อน"

รถถังหลัก Altay ติดอาวุธปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 120mm L/55 และปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm และสามารถบรรจุกระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 120mm ได้ 40นัด
รถถังหลัก Altay มีคุณสมบัติระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System), ระบบเกราะป้องกันที่เพิ่มขึ้น, ระบบควบคุมการยิงและระบบควบคุมรถที่สร้างขึ้นมาใหม่ และระบบรองอื่นๆที่ผลิตในตุรกี

BMC ตุรกีเปิดตัวรถถังหลัก Altay ใหม่พร้อมกับระบบการหยั่งรู้สถานการณ์ 360องศาแบบ Örümcek ของบริษัท Aselsan ตุรกีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2023 รถที่ส่งมอบติดตั้งระบบขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ของสาธารณรัฐเกาหลี

รัฐบาลตุรกีใน Ankara และรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีใน Seoul ได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: letter of intent) กับบริษัท Doosan Group สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท S&T Dynamics สาธารณรัฐเกาหลี
ในเดือนตุลาคม 2021 ที่จะจัดส่งเครื่องยนต์และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว(transmission) จำนวนจำกัดสำหรับการทดสอบในรถต้นแบบรถถังหลัก Altay

แรกเริ่มชุดระบบขับเคลื่อนสำหรับรถถังหลัก Altay ถูกส่งมอบโดยเยอรมนี แต่เนื่องจากการคว่ำบาตรด้านการขายอาวุธต่อตุรกี การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ได้ถูกระงับ
ภายใต้โครงการ Batu รถถังหลัก Altay จะใช้ระบบขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 1,500hp ที่ผลิตภายในประเทศเองทั้งหมดโดยบริษัท BMC Power ตุรกี

เครื่องยนต์ดีเซล DV27K กำลัง 1,500hp ของ Doosan และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว EST15K ของ S&T Dynamics ที่พัฒนาในสาธารณรัฐเกาหลีนั้น เป็นระบบที่ถูกใช้กับรถถังหลัก K2 Black Panther ของกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army) ครับ

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566

พิธีต้อนรับเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071ET LPD เรือหลวงช้างมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบกองทัพเรือไทย





The new Royal Thai Navy (RTN)'s Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) "LPD-792 HTMS Chang(III)" was joint escort formation with CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier, LPD-791 HTMS Angthong Landing Platform Dock, the Naresuan-class frigate FFG-421 HTMS Naresuan, the Chao Phraya-class frigate FFG-456 HTMS Bangpakong, the Rattanakosin-class corvette FSG-441 HTMS Rattanakosin, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV) OPV-511 HTMS Pattani, and AOR-871 HTMS Similan Replenishment ship when entering inner of Gulf of Thailand on 25 April 2023. (Jirawat Sill/Royal Thai Navy)
the Pattani-class Offshore Patrol Vessel, OPV-512 HTMS Naratiwat was departed Songkhla Naval Base, Second Naval Area Command (2nd NAC) in southern of Gulf of Thailand since 17 Arpil 2023 local time 1600h and sailed for distance 1,273 nautical miles to meeting point with LPD-792 HTMS Chang at near Hainan island, South China Sea on 21 April 2023 local time 1300h and transition escort formation to Chao Phraya-class frigate FFG-456 HTMS Bangpakong, 1st Naval Area Command (1st NAC) on 24 April 2023. 











LPD-792 HTMS Chang has arrived in Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi Province, Thailand on 25 April 2023 at local time 1200h. 
Commander-in-chief of Royal Thai Navy (RTN) Admiral Choengchai Chomchoengpaet was attended to Welcoming Ceremony for LPD-792 HTMS Chang(III) at local time 1545h. (Panwasin Seemala/Royal Thai Navy) 
Royal Thai Navy commander also answered questions from the media that It was requested in the draft budget for fiscal year 2024 to fitting HTMS Chang LPD with one 76/62 main gun (likely Leonardo 76/62), two 30mm naval gun, four M2 .50cal heavy machinegun and Combat Information Center (CIC) and air/surface radar for 950 million Baht ($27,600,236), This depends on the decision of Thailand's new government after the general election in May 2023.











Live ถ่ายทอดสด กองทัพเรือ จัดพิธีต้อนรับ เรือหลวงช้าง ณ ท่าเรือจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี วันอังคารที่ 25 เม.ย.2566


Live ถ่ายทอดสด บรรยากาศกำลังพลเรือหลวงช้างพบญาติ เรือหลวงช้าง 

Welcome to Thailand ร.ล.ช้าง LPD 792
Jirawat Sill

ยินดีต้อนรับเรือหลวงช้างกลับสู่ประเทศไทย อย่างเป็นทางการครับ

ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีต้อนรับเรือหลวงช้าง ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ

วันที่ 25 เมษายน 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธีต้อนรับ เรือหลวงช้าง เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกลำใหม่ของกองทัพเรือ ที่สั่งต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและเดินทางถึงประเทศไทย 
ณ ท่าเรือจุกเสม็ดฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการกองทัพเรือในพื้นที่ ตลอดจนครอบครัวของกำลังพลประจำเรือ รวมถึงครอบครัวของทหารกองประจำการ (พลทหาร) ที่เดินทางไปรับเรือ ร่วมในพิธี
เรือหลวงช้าง เป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่กองทัพเรือได้ว่าจ้าง บริษัท Chaina Shipbuilding Trading จำกัด ให้ต่อขึ้น ณ อู่ต่อเรือหูตงจงหัว เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแบบมาจากเรือ LPD Type 071 ที่ประจำการในกองทัพเรือจีน 
และมีระยะเวลาในการสร้างเรือ ประมาณ 4 ปี โดยผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีรับมอบ เรือหลวงช้าง ณ อู่ ต่อเรือหูตงจงหัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566 
เรือหลวงช้างได้ออกเดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 และเดินทางถึงประเทศไทย ในวันนี้ (25 เมษายน 2566) 

ในเวลา 15.45 น. เมื่อผู้บัญชาการทหารเรือเดินทางถึงบริเวณพิธี พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้เรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือขึ้นแท่นรับคำเคารพจากกองทหารเกียรติยศ จากนั้น ผู้บัญชาการทหาร ได้เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
ต่อมาในเวลา 16.00 น. ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ขึ้นแท่นรับความเคารพจากกำลังพลประจำเรือ โดย ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้กล่าวรายงานถึงความเป็นมาในการจัดหาเรือหลวงช้างเข้าประจำการ โอกาสนี้ผู้บัญชาการทหารเรือได้กล่าวต้อนรับ กำลังพลประจำเรือ 
จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ แขกผู้มีเกียรติ ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย ได้เยี่ยมขึ้นชมเรือ พร้อมทั้งลงนามในสมุดเยี่ยมก่อนเดินทางกลับ

ปัจจุบันกองทัพเรือ มีจำนวนเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ไม่เพียงพอตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเพิ่มเติม เพื่อให้มีขีดความสามารถเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด ตั้งแต่ในภาวะปกติโดยมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก 
การขนส่งลำเลียงอีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ พร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือ กู้ภัยเรือดำน้ำ และการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล และท่าเรือ 
ทั้งนี้ ตามระเบียบของกองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือยกพลขึ้นบก กำหนดให้ตั้งชื่อตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เรือหลวงช้าง” (เกาะช้าง จ.ตราด)

ทั้งนี้ เรือหลวงช้าง เป็นเรือประเภทอเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ มีกำลังพลประจำเรือจำนวนทั้งสิ้น 196 นาย ปัจจุบันมี นาวาเอก ธีรสาร คงมั่น เป็นผู้บังคับการเรือ
คุณลักษณะที่สำคัญ
- มีความยาวตลอดลำ 210 เมตร ความกว้าง 28 เมตร กินน้ำลึก 7 เมตร ระวางขับน้ำ 25,000 ตัน
ทำความเร็วสูงสุดได้ 25 นอต
- ดาดฟ้ายานพาหนะที่ 1 สามารถบรรทุก รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ได้ 8 คัน หรือ ยานเกราะล้อยาง (MBT) 11 คัน
- ดาดฟ้ายานพาหนะที่ 2 สามารถบรรทุก รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ได้ 8 คัน หรือ ยานเกราะล้อยาง (MBT) 9 คัน
- อู่ลอย สามารถบรรทุกเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM) 6 ลำ หรือ เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) 9 ลำ หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) 57 ลำ หรือ ยานเบาะอากาศ (LCAC) จำนวน 2 ลำ 
นอกจากนั้นยังสามารถบรรทุกกำลังรบยกพลขึ้นบกได้ถึง 600 นาย เมื่อเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการแล้ว เรือหลวงช้าง จะมีภารกิจหลักในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งและลำเลียง อีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ 
โดยมี ภารกิจรองในการสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ อาทิ การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) การอพยพประชาชน การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ เป็นต้น

เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เดินทางมาถึงท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยในเวลาราว ๑๒๐๐น. วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) และมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการในเวลา ๑๖๐๐น. ในวันเดียวกัน
นับเป็นการสิ้นสุดการเดินทางเป็นระยะเวลา ๗วัน หลังจากได้ออกเรือจากอู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) ใกล้มหานคร Shanghai สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-shanghai.html)

เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) ได้เดินเรือมาถึงจุดนัดพบกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓๐๐น. บริเวณใกล้เกาะ Hainan สาธารณรัฐประชาชนจีนในทะเลจีนใต้
โดย ร.ล.นราธิวาส ออกเรือจากฐานทัพเรือสงขลา กองทัพเรือภาคที่๒ ทรภ.๒(2nd NAC: Second Naval Area Command) ทางใต้ของอ่าวไทยตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ โดยเดินเรือเป็นระยะทาง 1,273nmi(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-hainan.html)

ร.ล.นราธิวาส ได้ส่งมอบการคุ้มกันเรือยกพลขึ้นบกอู่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ให้แก่กองทัพเรือภาคที่๑ ทรภ.๑(1st NAC: First Naval Area Command) เมื่อเข้าสู่อ่าวไทยในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ โดยมีเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง ให้การคุ้มกันร่วมกับเรือในทัพเรือภาคที่๑
ประกอบด้วยเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือยกพลขึ้นบกอู่ เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ,เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร, เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์, เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ปัตตานี และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ เรือหลวงสิมิลัน

เรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) ได้ถูกนำร่องโดยเรือลากจูงมาจอดท่าเรือจุกเสม็ดใกล้กับเรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ไกลออกไปเป็นเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสองลำที่ปลดประจำการแล้วสองลำคือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย
เรือยกพลขึ้นบกอเนกประสงค์ เรือหลวงช้างจะถูกนำเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) เสริมกับ ร.ล.อ่างทองที่มีอยู่ตามความต้องการเรือประเภทนี้ ๒ลำ

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock) เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) มีพื้นฐานแบบเรือจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ประจำการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) โดยมีกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรก
ด้วยความยาวเรือ 210m กว้าง 28m กินน้ำลึก 7m ระวางขับน้ำ 25,000tonnes ความเร็วสูงสุด 25knots กำลังประจำเรือ ๑๙๖นาย ประกอบด้วยนายทหาร ๒๖นาย พันจ่า ๓๙นาย จ่า ๙๖นาย และพลทหาร 35นาย รองรับกำลังยกพลขึ้นบก ๖๐๐นาย จะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทย

ผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ยังได้ตอบถามจากสื่อในหลายประเด็น เช่นความสิ้นเปลืองในการปฏิบัติการของเรือยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง ลำใหม่ว่าเมื่อทำความเร็วมัธยัสถ์ที่ 18knots จะใช้เชื้อเพลิงเท่า ร.ล.จักรีนฤเบศร หรือ ร.ล.อ่างทอง และจะประหยัดกว่าที่ความเร็วเดินทาง 12knots
ผบ.ทร.ยังให้ข้อมูลว่ากองทัพเรือไทยได้ร้องของบประมาณในร่างงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) สำหรับการติดตั้งอาวุธปืนเรือ 76/62(น่าจะเป็น Leonardo 76/62), ปืนกล 30mm สองแท่น, ศูนย์ยุทธการ(CIC: Combat Information Center) และ radar ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แก่ ร.ล.ช้าง

โดยที่เบื้องต้นเรือยกพลขึ้นบกอเนกประสงค์ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) จะได้รับการติดตั้งปืนกลหนัก M2 .50cal สี่แท่นยิง การขออนุมัติงบประมาณวงเงินราว ๙๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($27.6 million) สำหรับอาวุธหลักและระบบอำนวยการรบจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยยังได้ตอบคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ระยะที่๑ ซึ่งมีปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 ที่เยอรมนีปฏิเสธที่จะส่งมอบให้จีนมาติดตั้งให้เรือของไทยและกองทัพเรือปากีสถาน ที่จีนเสนอเครื่องยนต์ CHD 620 ทดแทนนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html)

กองทัพเรือไทยยังคงยืนยันเงื่อนไขหลักสามข้อที่ว่า เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 จีนจะต้อง ๑.ต้องมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ ๒.กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนต้องรับรองและรับประกัน สนับสนุอะไหล่และบริการตลอดอายุการใช้งาน ๓.จีนต้องทดแทนค่าเสียโอกาสให้ไทย
ผบ.ทร.ยังกล่าวว่าจีนใช้เครื่องยนต์ CHD 620 ในเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนสร้างแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/pentagon.html) และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่จีนสร้างตอนนี้กำลังเปลี่ยนมาใช้ ย.CHD 620 แทน ย.MTU 396 ตามมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปที่เข้มงวดขึ้น

อย่างไรก็ตามถ้ากองทัพเรือไทยตัดสินใจที่จะยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 จีนที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ การสร้างเรือดำน้ำ S26T ลำแรกจะล่าช้าออกไปไม่ต่ำกว่า ๔๐เดือนหรือราว พ.ศ.๒๕๖๘(2025) และการชดเชยจากจีนจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังเลือกตั้ง
ตามการชะลอการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ และระยะที่๓ ลำที่สองและลำที่สาม กองทัพเรือไทยได้ผลักดันโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สองขึ้นมาแทนโดยจะเป็นเรือฟริเกตที่สร้างในไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html)

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566

เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon อังกฤษได้รับ ECRS Mk2 radar ใหม่เพื่อติดตั้งทดสอบ

Leonardo delivers first ECRS Mk 2 radar for RAF to BAE Systems for integration



The Leonardo ECRS Mk 2 radar seen next to the Eurofighter test aircraft ZK355/BS116. The combination is expected to fly for the first time in 2024. (BAE Systems)

บริษัท Leonardo สหราชอาณาจักร-อิตาลีได้ส่งมอบ radar แบบ European Common Radar System Mark 2(ECRS Mk2) เครื่องแรกเพื่อที่จะบูรณาการกับฝูงเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force)
ตามประกาศเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2023 เหตุการณ์สำคัญนี้ได้เห็นการส่งมอบ ECRS Mk2 radar เครื่องแรกแก่บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ซึ่งจะบูรณาการเข้ากับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter เครื่องทดสอบหมายเลข ZK355/BS116 ก่อนหน้าการบินครั้งแรกที่วางแผนในปี 2024 

"radar ขณะนี้จะได้รับงานการบูรณาการและการทดสอบภาคพื้นดินในการเตรียมการสำหรับการบินทดสอบครั้งแรกบนเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ในปีหน้า
นี่จะมีขึ้นที่สถานที่การทดสอบการบินของบริษัท BAE Systems ใน Lancashire" บริษัท Leonardo กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/eurofighter-typhoon.html)

การพูดคุยกับ Janes และสื่อกลาโหมอื่นๆ ณ โรงงานอากาศยาน Warton ของ BAE Systems ในเดือนพฤษภาคม 2022 ตัวแทนจากฝ่ายขีดความสามารถทางอากาศ(Air Capability) กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ซึ่งปฏิเสธที่จะระบุตัวตน
กล่าวว่างานกำลังเดินหน้าในการพัฒนาการทำซ้ำของห้องนักบินที่จะทำให้การแสดงผลข้อมูลทำได้ร่วมกันทั้ง radar แบบ Captor M-Scan(บางครั้งเรียกว่า radar แบบ Captor-M) สำหรับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 2 จำนวน 67เครื่องที่ยังคงใช้ระบบนี้

และสำหรับการแสดงผลข้อมูลจาก radar แบบ E-Scan(บางครั้งเรียกว่า radar แบบ Captor-E) สำหรับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 3 จำนวน 40เครื่องที่จะได้รับการปรับปรุง
โฆษกกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรเคยกล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 ว่าความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operating Capability) ของเครื่องบินขับไล่ Typhoon ที่ติดตั้ง radar ECRS Mk2 ใหม่จะเป็นในปี 2030

"เราได้นำสิ่งที่เราเรียนรู้กับ M-Scan radar และประยุกต์ใช้กับ E-Scan radar ฉันไม่สามารถเน้นได้มากพอว่าความสำคัญของก้าวกระโดดด้านขีดความสามารถนี้(E-Scan radar ใหม่) เป็นไปอย่างไรสำหรับสหราชอาณาจักร
เราสามารถทำสิ่งน่าอัศจรรย์ได้กับ M-Scan radar แต่เราอาจจะเข้าถึงขีดจำกัดทางสถาปัตยกรรมของระบบนั้นเนื่องจากการตัดสินใจได้มีขึ้นเมื่อหลายปีก่อน" โฆษกกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรกล่าวในเวลานั้น

"ด้วย E-Scan radar ไม่ว่าข้าศึกทำอะไรก็ตาม(ในแง่ของการพัฒนาขีดความสามารถทางการบินทางการรบของพวกตน) เราสามารถดำเนินก้าวย่างที่ตอบโต้สิ่งนั้นได้" โฆษกกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรเสริม
การพัฒนา ECRS Mk2 radar มีขึ้นภายใต้การลงทุนวงเงิน 2.35 billion British Pound ที่จะบูรณาการ radar ใหม่ในโครงการเพิ่มขยายขีดความสามารถ Phased 4 Enhancement ที่กำลังดำเนินการกับเยอรมนี, อิตาลี และสเปนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/eurofighter-typhoon-tranche-1.html)