วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

DSME เกาหลีใต้เดินหน้าเจรจาเสนอเรือดำน้ำแก่ฟิลิปปินส์

Seoul, Manila continue talks on meeting Philippine Navy's future submarine requirements



The Indonesia Navy's Nagapasa (DSME 209/1400)-class submarine KRI Nagapasa and KRI Ardadedali during its handover ceremony at DSME's Okpo shipyard. (DSME)



สาธารณรัฐเกาหลีและฟิลิปปินส์ได้เดินหน้าเจรจาความร่วมมือมุ่งที่จะให้ตรงความต้องการเรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy)
บริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีประกาศเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2021 ว่า

รัฐมนตรีช่วยด้านการส่งกำลังบำรุงและการจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ Jesus Rey R Avilla ได้เดินทางเยือนกองบัญชาการกองเรือดำน้ำ กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy)
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2021 เพื่อหารือด้าน "ความร่วมมือในหลากหลายภาคส่วน" เพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถด้านเรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์

ท่ามกลางหลายประเด็นที่ถูกหารือคือการส่งมอบองค์ความรู้ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเกี่ยวกับการปฏฺบัติการเรือดำน้ำ, การเริ่มต้นใหม่ของโครงการศึกษาและฝึกเรือดำน้ำนานาชาติ(ISETP: International Submarine Education and Training Program)
ที่กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้ถูกระงับไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และการเจรจาระดับปกติระหว่างกองทัพเรือต่อกองทัพเรือเกี่ยวกับเรือดำน้ำ

รัฐมนตรีช่วยกลาโหมฟิลิปปินส์ Avilla ยังได้เยือนสถานที่ปฏิบัติงานและการฝึกเรือดำน้ำของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี เช่นเดียวกับสถานที่ของบริษัท DSME มากไปกว่านั้นเขายังได้พบตัวแทนของสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งเกาหลี(KEXIM: Export-Import Bank of Korea) เพื่อหารือระดับของการสนับสนุนโดยรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(Soft Loan)

DSME สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับ Janes ว่าตนได้ทำการเสนอ "ชุดแนวทางทั้งหมด" แก่รัฐบาลฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 2011 ที่รวมถึงเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ DSME 1400PN(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/nagapasa-kri-alugoro-405.html
ที่ปรับปรุงและดัดแปลงจากเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 1400) ที่ปัจจุบันประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซีย ควบคู่กับการฝึกลูกเรือและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ตรงความต้องการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์

ความคืบหน้าล่าสุดมีขึ้นตามมาหลังจากปลัดกระทรวงด้านการคลังและสิ่งอุปกรณ์ Raymundo DV Elefante และผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์ พลเรือโท Giovanni Carlo Barcodo
เดินทางเยือนอู่เรือบริษัท DSME และกองบัญชาการกองเรือดำน้ำ กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี ในเดือนพฤศจิกายน 2020 เพื่อหารือเรื่อง 'ชุดข้อเสนอแนวทางทั้งหมด' ครับ

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ภาพเปิดเผยรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จีน ๓คันสำหรับนาวิกโยธินไทยมาถึงไทยแล้ว


3 of Norinco VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles for Royal Thai Marine Corps (RTMC) was shipped from China to Thailand at Sattahip Naval Base, Royal Thai Navy (RTN) in late May 2021.

Clip: Amphibious Armoured Assault Vehicle VN16 for Royal Thai Marine Corps was running from port to road after shipped.

People's Liberation Army Navy Marine Corps's ZTD-05 amphibious light tank during exercise Blue Strike 2016 with Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy in Thailand.

VN 16 เขี้ยวเล็บใหม่นย.มาถึงแล้ว! ….กองทัพเรือไทยได้จัดซื้อ รถถังสะเทินน้ำสะเทินบกจาก นอรินโค ประเทศจีนแบบ ZTD 05A  หรือ VN 16 เมื่อเดือนกันยายน 2563 จำนวน 3 คัน เป็นเงิน 398 ล้านบาทเศษ 
กำหนดส่งมอบภายหลังการเซ็นต์สัญญา 1 ปี แต่วันนี้รถถังสะเทินน้ำสะเทินบกทั้งหมดได้ส่งมาถึงไทยแล้วรวดเร็วจริงๆ .... 
VN 16 จัดเป็นรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก มีน้ำหนักประมาณ 26.5 ตัน ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มม. เกราะทำด้วยอลูมิเนียมอัลลอย มีความเร็วบนถนน 65 กม./ชม. ความเร็วในน้ำ  25 กม./ชม. ซึ่งความเร็วในน้ำนี้ถือเป็นจุดเด่นของรถถังเบารุ่นนี้  
โดยทำสีคล้ายๆกับ AAV ที่นย.ไทยมีใช้งานอยู่ ....Photo Sompong Nondhasa

ภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของไทยเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) แสดงถึงรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก หรือยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) แบบ Norinco VN16 จำนวน ๓คันถูกจัดส่งมาทางเรือขนส่งสินค้าจากจีนมาถึงไทย
โดยรถมีรูปแบบสีลายพรางของนาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps, RTN: Royal Thai Navy) ซึ่งน่าจะเป็นท่าเรือของฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อดูจากภาพพื้นหลังสถานที่ ที่มักจะเป็นจุดรับส่งยานยนต์ทางทหารมาทางเรือจากต่างประเทศมายังไทย

ชุดภาพที่ปรากฎขณะนี้มีสองภาพซึ่งน่าจะถูกถ่ายด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลาพลบค่ำและมีเมฆหนา ภาพหนึ่งจะเห็นรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ๓คันกำลังถูกยกออกจากเรือขนส่งสินค้า ซึ่งมีภาพคนงานท่าเรือและเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินไทยในเครื่องแบบสนามลายพรางกองทัพเรือไทย
อีกภาพจะเห็นรถ ๑คันติดป้ายมีข้อความภาษาอังกฤษระบุสินค้าว่า Amphibious Armoured Assault Vehicle VN16 มิติขนาด น้ำหนัก และสถานที่จัดส่งปลายทางคือ นาวิกโยธินไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ต่อมีวิดีทัศน์สั้นแสดงถึงรถ VN16 ที่กำลังเคลื่อนที่จากท่าเรือไปถนนด้วย

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) Website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทยได้ประกาศโครงการซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ ๑ จำนวน ๓คัน เป็นเงิน ๓๙๘,๑๔๓,๔๐๐บาท($12,579,570.05) จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน
การที่ Norinco จีนส่งมอบยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จำนวน ๓คันแก่นาวิกโยธินไทยภายในเวลาเพียง ๘เดือนตั้งแต่ประกาศเลือกแบบจัดหานับว่าเร็วมาก(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/vn16.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_23.html)

เป็นที่เข้าใจว่าจะมีการจัดซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่๒ ตามมาอีก ๓คันในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) จากความต้องการรวมทั้งหมด ๖คัน ถ้าโครงการไม่ถูกตัดออกจากงบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๕ จากการแพร่ระบาด Covid-19 มีไทยเผชิญมาต่อเนื่องหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
ซึ่งกองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย มีความต้องการรถถังแบบใหม่เพื่อทดแทนรถถังหลัก Type 69-II ๕คัน มานาน หลังจากที่ไม่สามารถจัดหารถถังเบา LT-105 ASCOD ๑๕คันจากสเปนในช่วงปี 1990s ได้เนื่องจากการตัดงบประมาณกลาโหมเพราะวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997)

ทั้งนี้ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จะเป็นกำลังหลักใหม่ของ กองร้อยรถถัง กองพันยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน(Marine Tank Company, Marine Armored Amphibian Vehicle Battalion, Marine Division, RTMC) ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
โดยการยุบรวม กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก(Marine Assault Amphibian Battalion) พัน.รนบ.พล.นย กับ กองพันรถถัง(Marine Tank Battalion) พัน.ถ.พล.นย.(จะเห็นว่า VN16 ทำสีพรางเดียวกับรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1) ตามแผนปรับโครงสร้างกำลังหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินใหม่

VN16 เป็นรุ่นส่งออกของรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ZTD-05(ZTD05) ที่ประจำการในนาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAMC: People's Liberation Army Navy Marine Corps) ออกแบบและผลิตโดย NORINCO รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงจีน
นาวิกโยธินไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายที่สองสำหรับ VN16 ต่อจากนาวิกโยธินเวเนซุเอลา(Venezuelan Bolivarian Marine Corps) ที่จัดหาร่วมกับรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบกสายพาน VN18 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD-05 ที่นาวิกโยธินจีนมีใช้งานครับ

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

DTI ไทยทดสอบระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ CUAS แบบ X-MADIS








Defence Technology Institute (DTI),  Defence Industry and Energy Center (DIEC) and Royal Thai Army (RTA) with US firm Ascent Vision Technologies (AVT) was tested eXpeditionary Mobile Air Defense Integrated System (X-MADIS) Counter small Unmanned Aerial System (C-sUAS) at Photharam airfield, Ratchaburi Province, Thailand in 27 May 2021.

Ascent Vision Technologies Secures CUAS Contract with Key Thailand Defense Agency





พล.อ.พอพล มณีรินทร์ ประธานฯ นำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย พล.อ.สราวุธ รัชตะนาวิน ผอ.ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ผอ.ศอพท.) ในฐานะผู้ใช้งานต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับ หรือ CUAS 
ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการร่วมพัฒนาระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ชมการทดสอบปฏิบัติการใช้งานจริง พร้อมประชุมแนวทางฝึกอบรมการใช้งานให้ข้าราชการกระทรวงกลาโหม และกองทัพ 
ทั้งนี้ พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข และคณะทำงานโครงการ D43 ร่วมปฏิบัติภารกิจ ณ สนามบินโพธาราม จ.ราชบุรี

ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ (Counter Unmanned Aircraft Systems) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 เทคโนโลยีทางการทหารภายใต้แผนที่นำทางโครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ ของ สทป. 
ตามบันทึกข้อตกลงการร่วมพัฒนา สำหรับ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังทหาร รวมทั้ง อยู่ระหว่าง ทบ. ภายใต้บันทึกข้อตกลงการร่วมพัฒนาสำหรับ ทบ. ที่ฝ่ายพัฒนากิจการกำลังดำเนินการ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. ร่วมกับ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหมไทย และกองทัพบกไทย ได้ทำการทดสอบระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter-Unmanned Aerial System) ณ สนามบินโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย 
อย่างไรก็ตาม post ที่เผยแพร่ในบัญชี Facebook ของ ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ DTI-UTC(Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems Training Centre) เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ได้ถูกลบออกไป

จากชุดภาพที่แสดงถึงรูปแบบของระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับในรูปแบบสถานีติดตรึงประจำที่ และเจ้าหน้าที่จากบริษัท Ascent Vision Technologies(AVT) สหรัฐฯ ที่ร่วมทำการทดสอบสาธิตระบบ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือและได้รับจัดหาและพิสูจน์การใช้งานจริงในต่างประเทศมาแล้ว
แสดงให้เห็นว่าเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศบูรณาการเคลื่อนที่วางกำลังรวดเร็ว X-MADIS(eXpeditionary Mobile Air Defense Integrated System) ที่ DTI ไทยได้ลงนามสัญญากับ AVT สหรัฐฯเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020)

X-MADIS เป็นระบบป้องกันทางอากาศต่อต้านอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับ, ติดตาม, พิสูจน์ทราบ, จำแนกประเภท และกำจัดภัยคุกคามจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กและฝูงอากาศยานไร้คนขับจำนวนมาก(drone swarm) ที่
X-MADIS ประกอบด้วยระบบตรวจจับบูรณาการ 4D AESA(Active Electronic Scanned Array) radar แบบ MHR(Multi-Mission Hemispheric Radar) รุ่น RPS-42 ของบริษัท RADA อิสราเอล จำนวนสี่จานสัญญาณ

MHR RPS-42 4D AESA radar เป็น radar ป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้(SHORAD: Short-Range Air-Defence) และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50cm มีน้ำหนักน้อยกว่า 30kg จานสัญญาณหนึ่งด้านครอบคลุมมุม 90degree รวมสี่ด้าน 360degree
ขีดความสามารถตรวจจับเป้าอากาศยานขนาด Nano UAV ขนาดจิ๋ว ลูกระเบิดยิงขนาดเล็ก และจรวดระยะสั้นได้ที่ระยะ 5km, ลูกระเบิดยิงขนาดใหญ่ที่ 6km, UAV ขนาดกลางที่ 25km, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปที่ 23km, เครื่องบินขับไล่ที่ 35km และเครื่องบินลำเลียงหนักที่ 50km เป็นต้น

รวมถึงกล้องตรวจจับ Electro-Optical/Infrared(EO/IR) แบบ CM202U มิติขนาด 203mm x 320mm น้ำหนัก 5.5kg กล้อง EO กลางวันกำลังขยาย 60x ระยะ 3km กล้องความร้อน MWIR(Middle Wavelength IR) มีกำลังขยาย 20x ระยะ 2km สามารถติดตามเป้าหมายต่อเนื่องถึง 200เป้า
และระบบสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) ที่มีขีดความสามารถในการจำกัดภัยคุกคามได้หลายเป้าหมายต่อเนื่อง การจัดหาระบบต่อต้าน UAV ที่น่าเชื่อถือ ภายใต้ข้อตกลงร่วมวิจัยภายในประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสากรรมการป้องกันประเทศของไทยอย่างมากครับ

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เรือรถถัง Antasena Tank Boat อินโดนีเซียลำต้นแบบทดสอบการยิงอาวุธในทะเล

Indonesia's 'tank boat' prototype undergoes sea, weapon trials








PT Pindad announced on 23 May that the recently launched ‘Antasena Tank Boat' prototype has undergone a series of sea and weapon trials in waters off East Java. (PT Pindad)



PT Pindad รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของอินโดนีเซียประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2021 ว่า 'เรือรถถัง' Antasena Tank Boat ลำต้นแบบที่ถูกปล่อยลงน้ำไปล่าสุด
ได้รับการทดสอบการทดลองเรือในทะเลและทดสอบการยิงอาวุธหลายชุดในน่านน้ำทะเล East Java แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/x18-combat-boat.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/05/tank-boat.html)

PT Pindad อินโดนีเซียกล่าวว่าเรือทรง catamaran ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มกิจการค้าร่วม(consortium) อินโดนีเซียที่นำโดย PT Pindad ได้ทดสอบยิงปืนใหญ่กลขนาด 30mm
ณ สนามฝึกใช้อาวุธ Paiton ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) หลังจากเดินทางมาถึงจาก Banyuwangi

จากนั้นเรือรถถัง Antasena Tank Boat ลำต้นแบบซึ่งถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2021 ได้เดินทางกลับไปยัง Banyuwangi โดย PT Pindad อินโดนีเซียกล่าวว่าระยะทางการเดินทางรวมสำหรับการทดลองทั้งหมดอยู่ที่ 170nmi 
ตามข้อมูลจาก PT Pindad เรือยิงสนับสนุน Antasena ซึ่งมีความยาว 18m, กว้าง 6.1m และกินน้ำลึก 1m สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60นาย และมีกำลังพลประจำเรือ 5นาย

เรือรถถัง Antasena Tank Boat สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 40knots และมีพิสัยทำการไกลสุดประมาณ 600nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 9knots
เรือติดตั้งป้อมปืน remote แบบ Cockerill 3030 เบลเยียมพร้อมปืนใหญ่กล Northrop Grumman Mk44 ขนาด 30mm สหรัฐฯ และยังติดปืนกลหนักขนาด 12.7mm สองกระบอกติดตั้งแยกต่างหากบนแท่นยิง remote ในตำแหน่งที่ต่างกันในแต่ส่วนของเรือ

เรือ Antasena มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนกองทัพอินโดนีเซีย(Indonesian Armed Forces, TNI: Tentara Nasional Indonesia) ในการดำเนินการลาดตระเวนทั่วทั้งทะเล, แม่น้ำ และชายฝั่งของอินโดนีเซีย และดำเนินปฏิบัติการสมทบกับหน่วยยามฝั่ง 
PT Pindad กล่าวในแถลงการของตนโดยเสริมว่าโครงการได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียสำหรับกองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Darat) ครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์จะรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129B ตุรกีในไตรมาสที่สามปี 2021

Philippine Air Force to receive first T129B attack helos in Q3 2021



Philippine Defence Secretary Delfin Lorenzana announced on 24 May that the PAF is expecting deliveries of six T-129 ATAK helicopters (similar to these ones in Turkish service) to begin in the third quarter of this year. (Turkish Aerospace )



รัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ Delfin Lorenzana เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2021 ว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Turkish Aerospace(TA) T129B ATAK ตุรกีจำนวน 6เครื่องสำหรับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force)
โดยการส่งมอบคาดว่าจะเริ่มต้นได้ในไตรมาสที่สามของปี 2021 นี้ ตามรายงานจากสำนักข่าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ Philippine News Agency(PNA) ในนครหลวง Manila

สำนักข่าว PNA ยังได้อ้างคำพูดของรัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ Lorenzana ว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ได้จัดสรรงบประมาณวงเงิน 13.8 billion Philippine Peso สำหรับโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตี
โดยเสริมว่าระบบเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองที่นั่งเรียงกันสองเครื่องยนต์ T129B คาดว่าจะเพิ่มขยายขีดความสามารถอากาศยานรบปีกหมุนของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์

ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศฟิลิปปินส์มีประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Boeing MD 520MG Defender สหรัฐฯ 12เครื่อง และ Leonardo AW109E อิตาลี 8เครื่อง ในบทบาทเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา
ในภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบและสนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน เช่นเดียวกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra จำนวน 2เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศจอร์แดน(Royal Jordanian Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/ah-1f-cobra-2.html)

Janes เข้าใจว่าวงเงินงบประมาณโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ประกาศโดยรัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ Lorenzana ควรจะเพียงพอต่อการจัดหา ฮ.โจมตี T129B อย่างน้อย 6เครื่องพร้อมอุปกรณ์, อะไหล่, การสนับสนุน และการฝึกที่เกี่ยวข้อง
คำพูดของ Lorenzana มีขึ้นหลังที่กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2021 ว่าตนกำลังส่งนักบินและช่างซ่อมบำรุงจาก 'กองบินโจมตีที่15' ไปตุรกีเพื่อทำการฝึกกับ T129B ณ สนามที่ของ Turkish Aerospace ใน Ankara ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/t129b-atak.html)

ไม่มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติม แต่การประกาศได้มีขึ้นหลังจาก Serdar Demir ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของบริษัท Turkish Aerospace ตุรกีกล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2021 ว่า
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯล่าสุดได้อนุมัติสิทธิบัตรการส่งออกสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ LHTEC CTS800-4A ที่สร้างในสหรัฐฯที่ถูกติดตั้งใช้กับ ฮ.โจมตี T129 

เรื่องนี้มีขึ้นตามหลังจาก Temel Kotil ผู้จัดการทั่วไปของ TA ตุรกีกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ข่าว CNN Türk ในเดือนเมษายน 2021 ว่าการผลิตเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ควรจะเริ่มต้น "ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า" 
การพูดคุยกับ Janes ในสถานะไม่เปิดเผยตัวตน แหล่งข่าวในภาคความมั่นคงตุรกีหลายรายอ้างถึงการอนุมัติการส่งออกเครื่องยนต์ว่า "ข้อตกลงเป็นที่ยุติแล้ว" เสริมว่าขณะนี้ TA กำลังรอเพียง "การเขียนเอกสารอย่างเป็นทางการ" จากรัฐบาลสหรัฐฯ

แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตนหลายรายของตุรกียังเน้นว่า Demir ได้ "มีความมั่นใจในการได้รับการอนุมัติส่งออก" หลังจากที่ได้ทำการเดินทางเยือนไปหารัฐบาลสหรัฐฯหลายครั้ง
กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ระบุหลายครั้งมาแล้วว่าตนต้องการจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ตุรกี แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังเรียกร้องการรับประกันจากตุรกีเกี่ยวกับความพร้อมในการส่งออกระบบครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/t129.html)

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

แผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ของอินโดนีเซียถูกขัดขวางจากอุปสรรคด้านงบประมาณ

Indonesia's plan to procure Rafale fighters hampered by funding roadblock







A Dassault Rafale multirole fighter, seen here on the flight deck of aircraft carrier Charles de Gaulle. (Janes/Ridzwan Rahmat)





กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในความพยายามของตนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่องจากบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส
แต่ทว่าสัญญาอย่างเป็นทางการอาจจะต้องล่าช้าออกไปโดยการขาดความชัดเจนในเรื่องแหล่งเงินทุนงบประมาณ(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/rafale-f-15ex.html

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 คณะตัวแทนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียนำโดย พลตรี Dadang Hedrayudha ผู้อำนวยการทั่วไปกรมศักยภาพกลาโหมของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย
ได้เสร็จสิ้นการเจรจารอบสุดท้ายกับ Jean Claude Piccirillo รองประธานฝ่ายการพัฒนาธุรกิจ และ Michael Paskoff รองประธานฝ่ายข้อเสนอชดเชยของ Dassault Aviation ฝรั่งเศส

การเจรจาซึ่งส่วนใหญ่ครอบคลุมการจัดเตรียมข้อเสนอชดเชยและทางการเงินนั้นเป็นไปด้วยดี พลตรี Dadang กล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2021
ตั้งแต่นั้นกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ยกการร้องขอสำหรับโครงการที่จะได้รับเงินงบประมาณจากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเปิดเผยในเดือนมีนาคม 2021

อย่างไรก็ตามกำหนดการโครงการแห่งชาติของอินโดนีเซียที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการขอเงินทุนจากต่างประเทศที่ Janes ได้รับในวันที่ 21 พฤษภาคม 2021 ยืนยันว่าโครงการเครื่องบินขับไล่ Rafale ไม่ได้ถูกรวมอยู่ด้วย
กำหนดการได้ถูกเผยแพร่ประจำปีโดยกระทรวงการวางแผนการพัฒนาแห่งชาติอินโดนีเซีย(BAPPENAS: Kementerian Perencanaan Pembangunan Nasional) และได้กล่าวถึงรายชื่อโครงการแห่งชาติที่สามารถขอเงินกู้ต่างประเทศได้สำหรับปีนี้

ดังนั้นการที่ขาดการรับรองเห็นชอบจากกระทรวงการวางแผนการพัฒนาแห่งชาติอินโดนีเซีย การเสนอเพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส 36เครื่อง
ไม่ได้การถูกประกาศรัฐกิจจานุเบกษา(gazette) โดยกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย ในฐานะโครงการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมสำหรับปีงบประมาณ 2021

Janes ได้รายงานก่อนหน้าถึงรายการความต้องการยุทโธปกรณ์ประจำปี 2021 ในส่วนกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) นอกจากเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสยังรวมถึง
เครื่องบินขับไล่ F-15EX Advanced Eagle สหรัฐฯ 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/f-15ex.html) เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J Super Hercules สหรัฐฯ 15เครื่อง และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT ยุโรป 2เครื่องด้วยครับ

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ส่งกำลังพลไปตุรกีเพื่อฝึกกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129B ATAK

Philippine Air Force sends pilots, maintenance crew to Turkey to train on T129B ATAK helicopter







The PAF announced on 22 May that it is sending pilots and maintenance crew from its ‘15 Strike Wing' to undergo training in Turkey on the T129B ATAK helicopter. (Turkish Aerospace)





กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force) ประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2021 ว่าตนได้ส่งนักบินและช่างซ่อมบำรุงไปยังตุรกีเพื่อทำการฝึกกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Turkish Aerospace(TA) T129B ATAK
เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองเครื่องยนต์ T129 ATAK ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/t129.html)

กองบินโจมตีที่15(15 Strike Wing) กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ประกาศผ่านบัญชี Facebook ของตนว่าจะมีการทำ 'พิธีส่งกำลังพล' สำหรับนักบินและช่างอากาศยานเฮลิคอเตอร์โจมตี T129 ในอนาคต
โดยเสริมว่าการฝึกจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2021 นี้ ณ สถานที่ของบริษัท Turkish Aerospace ตุรกีใน Ankara และจะเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม 2021

ไม่มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติม แต่การประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก Serdar Demir ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ TA ตุรกีกล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2021 ว่า
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯล่าสุดได้อนุมัติสิทธิบัตรการส่งออกสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ LHTEC CTS800-4A ที่สร้างในสหรัฐฯที่ถูกใช้โดย ฮ.โจมตี T129

เรื่องนี้มีขึ้นตามหลังจาก Temel Kotil ผู้จัดการทั่วไปของ TA ตุรกีกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ข่าว CNN Türk ในเดือนเมษายน 2021 ว่าการผลิตเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ควรจะเริ่มต้น "ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า"
Janes เข้าใจว่ากองทัพอากาศฟิลิปปินส์กำลังตั้งเป้าที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129B ขั้นต่ำจำนวน 6เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t129_21.html)

การพูดคุยกับ Janes ในสถานะไม่เปิดเผยตัวตน แหล่งข่าวในภาคความมั่นคงตุรกีหลายรายอ้างถึงการอนุมัติการส่งออกเครื่องยนต์ว่าเป็น "ข้อตกลงเป็นที่ยุติแล้ว" 
โดยเสริมว่า Turkish Aerospace ตุรกีขณะนี้กำลังรอเพียง "การเขียนเอกสารอย่างเป็นทางการ" จากรัฐบาลสหรัฐฯใน Washington D.C.

แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตนหลายรายของตุรกียังเน้นว่า Demir ได้ "มีความมั่นใจในการได้รับการอนุมัติส่งออก" หลังการเดินทางเยือนไปยังรัฐบาลสหรัฐฯหลายครั้ง
กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ระบุหลายครั้งมาแล้วว่าตนต้องการจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ตุรกี แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังเรียกร้องการรับประกันจากตุรกีเกี่ยวกับความพร้อมในการส่งออกระบบครับ

โปแลนด์จัดหาอากาศยานไร้คนขับ Bayraktar TB2 UAV ตุรกี

Poland buys Turkish UAVs







The Turkish built Bayraktar TB2 is a single-engined MALE UAV that can carry a range of air-to-surface weaponry. (Baykar)





โปแลนด์จะได้รับมอบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ(Armed UAV: Unmanned Aerial Vehicle) จากตุรกีภายใต้ข้อตกลงที่เปิดเผยโดยกระทรวงกลาโหมโปแลนด์เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2021
รัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ Mariusz Błaszczak ประกาศการจัดซื้อโดยเน้นว่าการส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft System) แบบ Bayraktar TB2 จำนวน 4ระบบประกอบด้วยอากาศยาน 24เครื่องมีขึ้นในปี 2022

"เราเจราจาสัญญาสำหรับจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Bayraktar TB2 4ชุดคือ 24เครื่อง ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง UAV ชุดแรกจะมายังกองทัพโปแลนด์ในปีหน้า" 
คำพูดของรัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ Błaszczak ถูกอ้างอิงในบัญชี Twitter ทางการของกระทรวงกลาโหมโปแลนด์

อากาศยานไร้คนขับ Bayraktar TB2 สร้างในตุรกีโดยบริษัท Baykar Makina ตุรกี เป็นอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) เครื่องยนต์เดี่ยว
ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อมอบขีดความสามารถข่าวกรอง, ตรวจการณ์, จับเป้าหมาย และลาดตระเวน(ISTAR: Intelligence, Surveillance, Target Acquisition, and Reconnaissance) ทางยุทธวิธีแก่กองทัพตุรกี

ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Unmanned อากาศยานไร้คนขับ Bayraktar TB2 มีความยาว 6.5m และมีปีกกว้าง 12m
Bayraktar TB2 UAV มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดที่ 630kg ตัวอากาศยานสามารถบรรทุกระบบภารกิจ(mission system) และ/หรืออาวุธได้ถึง 55kg

คุณสมบัติสมรรรถนะของ Bayraktar TB2 UAV มีความเร็วเดินทางที่ 70 knots, ระยะทำการที่ 150km, ระยะเวลาปฏิบัติการที่ 24ชั่วโมง และมีมีเพดานบินเกือบ 30,000 feet
Bayraktar TB2 UAV ทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2009 นอกจากโปแลนด์ก่อนหน้าได้ถูกขายให้กับกองทัพอาเซอร์ไบจาน, กาตาร์(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/nh90-bayraktar-uav.html) และยูเครนครับ