วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

กองทัพบกไทยมองการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ระยะที่๒ เพิ่มชนิดต่างๆ ๕แบบ

China North Industries Corporation or NORINCO has showcased Model of VN1 8x8 Armoured Personnel Carrier with new Unmaned Remote Weapon Station Turret for Royal Thai Army at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/norinco-vn1.html

Royal Thai Army Ordnance Department's request approval document for second batch of 39 VN1 8x8 Wheeled Armoured Vehicle in five variants
include 3 VN1 Wheeled Armoured Personnel Carrier (APC), 12 VN1 120mm Wheeled Self-Propelled Mortar, 9 VS27 Rocovery Wheeled Armoured Vehicle, 12 VN1 Wheeled Armoured Battalion Command Vehicle, 3 VN1 Wheeled Armoured Medical Vehicle, 1 Mechanical Maintanenance Vehicle, 1 Photoelectric Maintanenance Vehicle, 1 Simulator and related ammunitions include 11,000 30x165mm HE-T, 4,811 40x53mm HE Grenade and 500 120mm Mortar HE Projectile, 28 January 2019
http://ordnancerta.com/images/purchase/1111.pdf
http://ordnancerta.com/images/purchase/2222.pdf

เอกสารของกรมสรรพาวุธทหารบกในวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางแบบ VN1 ชนิดต่างๆจำนวน ๕รายการ และรถซ่อมบำรุงจำนวน ๒รายการ เครื่องช่วยฝึก และสิ่งอุปกรณ์ประเภทที่๕ สป.๕ จำนวน ๓รายการ
จาก China North Industries Corporation(Norinco) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเงิน ๒,๒๕๑,๙๒๘,๐๘๖บาท($66,233,179) ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าจะต้องมีการเสนอขออนุมัติจากกระทรวงกลาโหมไทยและคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยต่อไปตามลำดับ
โดยเป็นการจัดหาเพิ่มเติมจากโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง NORINCO VN1 8x8 ระยะที่๑ จำนวน ๓๔คันวงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ที่จีนน่าจะส่งมอบรถชุดแรกให้กองทัพบกไทยได้ในปี ๒๕๖๒ นี้ ซึ่งได้มีการส่งกำลังพลไปทำการฝึกศึกษาที่จีนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) แล้ว

โครงการจัดหายานเกราะล้อยาง NORINCO VN1 8x8 ระยะที่๒ ประกอบด้วย รถเกราะลำเลียงพล VN1 8x8 APC จำนวน ๓คัน ราคาคันละ ๕๗,๖๓๐,๐๐๐บาท($1,695,000), รถเกราะติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดหนักขนาด 120mm จำนวน ๑๒คัน ราคาคันละ ๕๒,๗๐๐,๐๐๐บาท($1,550,000),
รถเกราะกู้ซ่อม VS27 จำนวน ๙คัน ราคาคันละ ๔๗,๖๐๐,๐๐๐บาท($1,400,000), รถเกราะที่บังคับการ จำนวน ๑๒คัน ราคาคันละ ๔๙,๓๐๐,๐๐๐บาท($1,450,000), รถเกราะพยาบาล จำนวน ๓คัน ราคาคันละ ๕๐,๖๖๐,๐๐๐บาท($1,490,000), รถซ่อมบำรุงเครื่องมือทางกล ๑คัน, รถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า ๑คัน, เครื่องช่วยฝึก Simulator ๑ระบบ,
กระสุนปืนใหญ่อัตโนมัติขนาด 30x165mm ชนิดระเบิด-ส่องวิถี(HE-T: High-Explosive-Tracer) ๑๑,๐๐๐นัด, ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40x53mm ชนิดระเบิด(HE) ๔,๘๑๑นัด และลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm ชนิดระเบิดแรงสูง(HE: High-Explosive) ๕๐๐นัด

คาดว่ายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 จะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพันทหารม้าที่๑๐ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เป็นหน่วยแรกเพื่อทดแทนยานเกราะล้อยาง V-150 4x4 ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) ซึ่งเป็นกำลังหลักของกองพันทหารม้าลาดตระเวน(ล้อยาง) พล.ม.๑ มานาน
กองพันทหารม้าลาดตระเวนหน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ ที่เหลือคือ กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๒ นั้นคาดว่าจะได้รับ VN1 เข้าประจำการแบบคู่ขนานพร้อมกับ ม.พัน.๑๐ ในระยะต่อๆไป โดยคาดว่าในโครงการจัดหา VN1 ระยะที่๒ จะส่งมอบรถได้ในราวปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ขณะที่ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ยูเครนที่ ม.พัน.๑๐ได้รับมอบมาก่อนหน้าน่าจะถูกโอนไปยัง กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ หรือ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ให้มีรถครบตามอัตราจัดในการแปรสภาพเป็นหน่วยทหารราบยานเกราะที่สมบูรณ์ต่อไป

โครงการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ระยะที่๒ ๕แบบรวม ๓๙คัน มีขึ้นตามหลังโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๓ จำนวน ๑๔คันเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ที่รอการอนุมัติจาก ครม.ภายใน ๕๐วันเช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/vt4.html)
ในปลายปี ๒๕๖๑ ถ.หลัก VT4 ระยะที่๒ จำนวน ๑๐ คันได้ถูกส่งมอบแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html) โดยนำเข้าประจำการในสองกองพันทหารม้ารถถัง ของ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ คือ กองพันทหารม้าที่๖ ขอนแก่น และ กองพันทหารม้าที่๒๑ ร้อยเอ็ด รวมกับโครงการจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน รวมเป็นจำนวน ๓๘คัน
ทั้งนี้ไทยและจีนยังมีแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่น เพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จีนทั้งรถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยาง VN1 ในระยะยาวครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html)

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

รัสเซียเปิดเผยอากาศยานไร้คนขับขนาดหนัก Okhotnik UAV

Russia unveils Okhotnik heavy UAV



Image of what is supposedly a prototype of the heavy Russian UAV known as Okhotnik (Hunter). Source: Name withheld
https://www.janes.com/article/86010/russia-unveils-okhotnik-heavy-uav

ชุดภาพถ่ายซึ่งได้ถูกอ้างว่าเป็นต้นแบบของอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ขนาดหนักแบบ Okhotnik(Hunter นายพราน, นักล่า) ของรัสเซีย ได้รับเผยแพร่กระจายไปตาม Social Media ของรัสเซียในวันที่ 23 มกราคม 2019 ตามมาด้วยภาพเพิ่มอีกสามภาพในวันต่อมา
ชุุดภาพน่าจะถูกถ่ายโดยนักถ่ายภาพเครื่องบินหรือผู้พบเห็นจากระยะใกล้ทางวิ่งของโรงงานอากาศยาน Novosibirsk Aviation Plant(NAZ) ที่ตั้งชื่อตาม V P Chkalov(เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Sukhoi Company) ที่ยังถูกรู้จักในชื่อสนามบิน Yeltsovka

UAV หนักที่ปรากฎในชุดภาพเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นอากาศแบบปีกบินที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth แม้ว่าจะมีท่อเครื่องยนต์ไอพ่นที่ไม่ได้รับการซ่อน(น่าจะเป็นเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan ตระกูล AL-31/41) ซึ่งในที่สุดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างการพัฒนา
UAV ยังมีคุณสมบัติการใช้ช่องรับอากาศเข้าแบบช่องเดี่ยวบนหลังเครื่องด้านหน้า จากขนาดรถ Tractor หนักแบบ Kirovets K-700 ที่ทำการลาก UAV ในภาพชุดวันที่ 24 มกราคม บ่งชี้ว่าเครื่องมีความยาวปีกที่ 19m

ชุดฐานล้อลงจอดสามขาประกอบด้วยฐานล้อเดี่ยวด้านข้างสองฐาน และฐานล้อหน้าสองล้อด้านที่พบในภาพ UAV หนักนี้มีความตรงกันใกล้ชิดกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 พหุบทบาทแบบ Sukhoi Su-57 ของรัสเซียมาก
จากขนาดของ UAV ถ้ามีห้องบรรทุกภายในก็น่าจะติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นล่าสุดส่วนใหญ่หรือไม่ใช่ทั้งหมดที่ได้รับการพัฒนาสำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต Su-57 ได้

อาวุธที่ UAV จะติดตั้งได้น่าจะรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic ที่เร็วๆนี้มีการประกาศว่ากำลังอยู่ในการพัฒนา โดยมีสมรรถนะซึ่งถูกรายงานว่าจะคล้ายกับอาวุธปล่อยนำวิถี Kh-47M2 Kinzhal(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/5-mig-41.html)
การออกแบบและพัฒนาของระบบอากาศยานไร้คนขับโจมตี-ลาดตระเวน Okhotnik (Unmanned Strike-Reconnaissance System, Udarno-Razvedivatelnyi Bespilotnyi Kompleks) โดย Sukhoi รัสเซียเข้าใจว่าน่าจะเริ่มขึ้นในปี 2011

UAV หนักดังกล่าวยังถูกเรียกกำหนดแบบว่า S-70 มีรายงานว่ามีน้ำหนักบินขึ้นที่ราว 20tons และมีความเร็วสูงสุดที่ราว 1,000km/h ในเดือนกรกฏาคม 2018 สำนักข่าว TASS รัสเซียได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียว่า
Okhotnik UAV จะทำการบินครั้งแรกในปี 2019 นี้ รายงานเดียวกันยังได้เน้นว่า UAV ขนาดหนักได้สร้างโดยการใช้วัสดุผสมและได้รับเคลือบสารดูดซับการสะท้อนจากการแพร่คลื่น Radar เพื่อตรวจจับ(radiation-absorbent/stealth) ด้วยครับ

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

มาเลเซียออกเอกสารขอข้อมูลสำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 เกาหลีใต้

Malaysia issues RFI for KAI’s FA-50 light fighter
Malaysia has approached Korea Aerospace Industries to seek information about the company’s FA-50 light fighter aircraft. The platform is viewed as a leading candidate for the Royal Malaysian Air Force’s Light Combat Aircraft programme. Source: KAI
https://www.janes.com/article/86017/malaysia-issues-rfi-for-kai-s-fa-50-light-fighter

มาเลเซียได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request For Information) ขั้นต้นต่อบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี ในการสนับสนุนความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Golden Eagle ได้รับการยืนยันกับ Jane's
โฆษกของ KAI เกาหลีใต้กล่าวเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2019 ว่าบริษัทได้รับเอกสาร RFI แล้วเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมนี้ และเอกสาร RFI เพิ่มเติมคาดว่าทางจะมีตามมาเมื่อมาเลเซียคัดกรองความต้องการเครื่องบินรบของตน

โฆษกของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงได้สำหรับการขอแสดงความเห็นใดๆในขณะนี้
ภายใต้ข้อเสนอโครงการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพอากาศมาเลเซียกำลังมองการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ขั้นต้น 12เครื่อง โดยมีตัวเลือกสำหรับอีก 24เครื่องในอนาคตปีต่อๆไป

โฆษกของบริษัท KAI เกาหลีใต้กล่าวว่า "KAI ได้รับเอกสารขอข้อมูลจากมาเลเซียเมื่อวันที่ 5 มกราคม และเราคาดว่าเอกสาร RFI ที่มีรายละเอียดมากขึ้นจะมีการออกตามมาในอนาคตอันใกล้"
Jane's ได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกว่ากองทัพอากาศมาเลเซียมีความสนใจที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ FA-50 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50 (AJT: Advanced Jet Trainer)ในปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)

อ้างอิงจากเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศมาเลเซีย Jane's ได้รายงานว่าการจัดหาจะตรงตามความต้องการเพื่อจัดหาเครื่องบินรบไอพ่นความเร็วเหนือเสียง Supersonic เครื่องยนต์เดี่ยวเพื่อเสริมกำลังฝูงบินรบของกองทัพอากาศมาเลเซีย
คือเครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น BAE Systems Hawk 208 สหราชอาณาจักร, เครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18D Hornet สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM (NATO กำหนดรหัส Flanker) รัสเซีย

"กองทัพอากาศมาเลเซียกำลังมองไปที่ขีดความสามารถของตนในอีก 15ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น และวิธีที่ดีที่สุดที่จะเหมาะสมกับความต้องการของเรา ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนขีดความสามารถในอนาคตของเรา
เรากำลังมองไปที่เครื่องบินรบใหม่(LCA) ที่จะมีขีดความสามารถการรบอากาศสู่อากาศบางส่วน และขีดความสามารถการรบอากาศสู่พื้นเต็มรูปแบบ" เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศมาเลเซียกล่าว

การตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อด้วยโครงการ LCA มีสาเหตุหลักจากการที่มาเลเซียไม่ประสบความสำเร็จในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่กว่าภายใต้โครงการเครื่องบินรบพหุภารกิจ MRCA(Multirole Combat Aircraft) ที่มีการเสนอ Eurofighter Typhoon สหราชอาณาจักร และ Rafale ฝรั่งเศส
ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้าง 'Capability 55' จะมีการปรับลดเครื่องบินรบลงเหลือเพียงสองแบบคือเครื่องบินขับไล่ MRCA สองฝูงบิน และและเครื่องบินรบเบา LCA สามฝูงบิน(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)

บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลียังได้เปิดเผยว่าตนกำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Block 10 ซึ่งได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถการรบอากาศสู่พื้น โดยบูรณาการกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod
และจะพัฒนาเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Block 20 ที่สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) ได้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50-asean.html)

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้เดินทางถึงอินโดนีเซียเพื่อเจรจาโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X ใหม่

South Korean officials arrive in Jakarta to renegotiate KFX/IFX fighter aircraft programme
Indonesia has begun renegotiating its involvement in the KFX/IFX fighter programme. Source: Korea Aerospace Industries
https://www.janes.com/article/85988/south-korean-officials-arrive-in-jakarta-to-renegotiate-kfx-ifx-fighter-aircraft-programme

คณะตัวแทนที่ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้เดินทางมาถึงนครหลวง Jakarta อินโดนีเซีย
เพื่อดำเนินการเจรจาใหม่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของอินโดนีเซียในโครงการพัฒนาและสร้างเครื่องบินขับไล่ Korean Fighter Xperiment/Indonesia Fighter Xperiment (KF-X/IF-X) ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

ตามข้อมูลและเอกสารที่ได้ถูกจัดส่งให้ Jane's เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2019 โดยแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกลาโหม, ข่าวกรอง และการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฏรอินโดนีเซีย(Komisi I) การประชุมสัมมนาเพื่อหารือโครงการมีขึ้นเป็นเวลาสองวันตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา
ผู้เข้าประชุมในนามรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นทีมของตัวแทนจาก PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซีย, กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย และกระทรวงประสานงานด้านการเมือง กฎหมาย และกิจการความมั่นคงอินโดนีเซีย(POLHUKAM)

เอกสารที่ได้ถูกส่งมอบให้ Jane's ซึ่งได้ให้รายละเอียดในประเด็นต่างๆของการหารือที่ได้มีขึ้นในการประชุมดังกล่าวนั้นยังได้บ่งชี้ว่า อินโดนีเซียคาดว่าจะขอเสนอการขยายระยะเวลาการชำระเงินภายใต้โครงการจนถึงปี 2031(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/kf-x.html)
เพื่อลดภาระงบประมาณกลาโหมของตน อินโดนีเซียยังคาดว่าจะเสนอการสร้างรูปแบบการจ่ายสำหรับโครงการผ่านข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนแทนเงินสด เช่นเดียวยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 จากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)

นอกเหนือจากนี้รัฐบาลอินโดนีเซียยังผลักดันเพื่อที่จะได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาที่มากกว่าวิทยาการที่ได้รับการพัฒนาแล้วในโครงการ ด้วยมุมมองที่ตนจะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต
ภายใต้ข้อตกลงทางการเงินเดิมของโครงการ KF-X/IF-X ที่ทั้งสองประเทศลงนามในปี 2015 อินโดนีเซียมีภาระที่ต้องจ่ายร้อยละ20 ของวงเงินค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นวงเงินประมาณ $8 billion

อย่างไรก็ตามด้วยสาเหตุหลักจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียได้ระงับการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/kf-xif-x-su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/05/kf-xif-x.html)
ซึ่งต่อมาในปลายปี 2018 รัฐบาลอินโดนีเซียได้กลับมาจ่ายเงินใหม่อีกครั้ง ตามที่บริษัท KAI เกาหลีใต้ยืนยันกับ Jane's ว่าตนได้รับวงเงิน 132 billion Korean Won($118 million) จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียแล้ว

KAI เกาหลีใต้กล่าวว่าการกลับมาเริ่มต้นจ่ายเงินของอินโดนีเซียมีตามมาภายหลังการประสบความสำเร็จทางการทูตร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/kf-xif-x.html)
โดยเสริมว่าการมีส่วนร่วมนี้ได้สร้างความแข็งแกร่งต่อโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X ร่วมกัน และขยายความร่วมมือในอุตสาหกรรมความมั่นคงที่กว้างขึ้นระหว่างเกาหลีใต้และอินโดนีเซียครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562

Saab สวีเดนเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E แก่สวิตเซอร์แลนด์

Saab Offers Gripen E to Switzerland
Supported by Sweden, Saab has today submitted its proposal for the Swiss New Fighter Aircraft procurement to armasuisse, the Swiss defence procurement agency.
Saab offers Gripen E and a comprehensive industrial participation programme for Swiss industry corresponding to 100 percent of the contract value.
https://saabgroup.com/media/news-press/news/2019-01/saab-offers-gripen-e-to-switzerland/

ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลสวีเดน บริษัท Saab สวีเดนได้ส่งข้อเสนอของตนสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่สวิส(Swiss New Fighter Aircraft) ต่อ armasuisse สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมสมาพันธรัฐสวิส
โดย Saab สวีเดนได้เสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E และโครงการการมีส่วนร่วมด้านอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของสวิสเป็นจำนวนร้อยละ100 ของมูลค่าวงเงินสัญญา

ข้อเสนอประกอบด้วยตัวเลือกสำหรับเครื่องบินไล่ Gripen E สร้างใหม่จำนวน 30 และ 40เครื่องเพื่อตอบสนองต่อเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal) ซึ่ง armasuisse ออกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2018
กองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์(Swiss Air Force) มีความจำเป็นที่จะต้องทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F/A-18C/D Hornet และเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II ของตนด้วยเครื่องบินขับไล่แบบใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/2020.html)

"ข้อเสนอของ Gripen E ที่นำเสนอคุณสมบัติของวิทยาการล่าสุดที่สามารถมีได้ และค่าใช้จ่ายที่ต่ำในการจัดหา, การปฏิบัติการ และการสนับสนุนที่จะทำให้สวิตเซอร์แลนด์มีขนาดของฝูงบินที่เหมาะสม
ด้วยประสิทธิภาพการปฏิบัติการโดยรวมที่ดีที่สุดในตลอดทศวรรษหน้าที่จะมาถึง" Jonas Hjelm หัวหน้าภาคธุรกิจการบิน Saab กล่าว ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อเสนอต่อสวิตเซอร์แลนด์ Saab สวีเดนได้เสนอการมีส่วนรวมของภาคอุตสาหกรรมสวิสมูลค่าร้อยละ100ของวงเงินสัญญา

ความร่วมมือกับอุตสาหกรรมสวิสตลอดทุกภูมิภาคของประเทศ ในการผลิต, บำรุงรักษา และวิทยาการที่จะปรับปรุงขีดความสามารถที่มุ่งสู่ความยั่งยืนและการพัฒนาเพิ่มเติมของระบบ Gripen E
Saab ได้เป็นผู้จัดส่งที่มีประวัติศาสตร์, ความแข็งแกร่ง และกว้างขวางในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นขยายเพิ่มเติมเพื่อรับประกันประสิทธิภาพต่อราคาในการทำงานร่วมกันตลอดอายุการใช้งาน

โครงการเครื่องบินขับไล่ Gripen E มีความคืบหน้าตามแผน โดยสายการผลิตกำลังอยู่ในการดำเนินการและการส่งมอบเครื่องให้ลูกค้าจะมีขึ้นในปี 2019 นี้
ด้วยวิทยาการใหม่ล่าสุดที่ถูกนำมาบูรณาการเพื่อทำให้กองทัพอากาศมีขีดความสามารถการปฏิบัติการ ที่ออกแบบเพื่อทำให้ภัยคุกคามประสบความพ่ายแพ้ไม่แต่เฉพาะในปัจจุบันแต่ยังรวมถึงอนาคต

ก้าวย่างหลักสำคัญของโครงการที่ประสบความสำเร็จไปแล้วใน 6เดือนที่ผ่านมาประกอบด้วยการบินกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล METEOR(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-e-meteor.html)
เช่นเดียวกับการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E เครื่องทดสอบเครื่องที่สองหมายเลข 39-9 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-e.html)

ห้าประเทศที่ปัจจุบันเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ Gripen คือ สวีเดน, แอฟริกาใต้, สาธารณรัฐเช็ก, ฮังการี และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/link-t.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-cd-ms20.html)
สวีเดนและบราซิลได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/gripen-e.html) นอกจากนี้โรงเรียนการบิน Empire Test Pilots’ School(ETPS) สหราชอาณาจักรยังใช้ Gripen สำหรับการฝึกนักบินลองเครื่องด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

เกาหลีใต้กำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 รุ่นใหม่เล็งตลาด ASEAN



T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Royal Thai Air Force

KAI Developing Smarter FA-50 Golden Eagle
The KAI final assembly facility at Sacheon, South Korea, with T/FA-50s in build with Surion helicopters behind. (photo: Chen Chuanren)
https://www.ainonline.com/aviation-news/defense/2019-01-22/kai-developing-smarter-fa-50-golden-eagle

KAI FA-50 enhanced weapons stations loadout capability(bemil.chosun.com)

ครบรอบ 1 ปี “อินทรีทอง” ที่ล้อของเครื่องแรกสัมผัสพื้นสนามบินตาคลี
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2417765398253036

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีใต้เริ่มต้นการพัฒนารุ่นปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบาไอพ่น FA-50 Golden Eagle ของตน
โดยในรุ่นปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถการใช้อาวุธอากาศสู่พื้น FA-50 Block 10 จะบูรณาการติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod เพื่อให้เครื่องสามารถกำหนดเป้าหมายและใช้อาวุธนำวิถี Laser ได้ด้วยตนเอง

ผู้จัดการอาวุโสของ KAI เกาหลีใต้กล่าวกับ AIN ในการให้สัมภาษณ์พิเศษว่า งานพัฒนาดังกล่าวได้เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2018 และโครงการดังกล่าวตั้งเป้าที่จะเสร็จสิ้นได้ภายในไม่เกินปี 2021
เขายังเสริมว่าผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 ในปัจจุบันยังสามารถที่ใช้ประโยชน์จากการปรับปรุงชุดคำสั่งใหม่ และไม่จำเป็นที่จะต้องมีการดัดแปลงเครื่องทางกายภาพต่อตัวเครื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใหม่ดังกล่าว

"ลำดับความสำคัญในปัจจุบันของเราคือการประชาสัมพันธ์เครื่องรุ่นปรับปรุง Block 10 แก่ผู้ใช้งานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังมองหาเครื่องบินรบไอพ่นเพิ่มมากขึ้น" ผู้จัดการ KAI กล่าว
เขาเสริมว่า KAI เกาหลีใต้ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการกับบรรดากองทัพอากาศชาติที่กล่าวไป และพบว่าชาติเหล่านั้นกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถระบบอาวุธอากาศสู่พื้นของ FA-50 ของตน

ปัจจุบันในกลุ่มชาติ ASEAN มีสามประเทศที่จัดหาเครื่องบินรบไอพ่นตระกูล T-50 Golden Eagle จากเกาหลีใต้คือ อินโดนีเซียรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50I ที่ปัจจุบันมี ๑๕เครื่อง ฟิลิปปินส์รุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html)
และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) รุ่นเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ชุดแรก ๔เครื่อง และกำลังจัดหาชุดที่สอง ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)

เจ้าหน้าที่ KAI เสริมว่าจำนวนของผู้ใช้เหล่านี้ยังจะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงอื่นๆ เช่น Lockheed Martin F-16V Block 70/72 Viper สหรัฐฯ และ Saab Gripen สวีเดน
และ KAI เกาหลีใต้หวังว่า ด้วยการปรับปรุงความทันสมัยให้กับ FA-50 บริษัทจะสามารถเจาะตลาดในประเทศเหล่านี้ โดยการเสนอเครื่องบินในจำนวนมากกว่าในราคาเฉลี่ยต่อเครื่องที่ต่ำกว่า

KAI เกาหลีใต้ประมาณการณ์ว่าตลาดเครื่องบินรบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมีความต้องการเครื่องบินรบไอพ่นตระกูล Golden Eagle เพิ่มเติมกว่า 60เครื่องรวมถึงทางเลือกจัดหาเพิ่มอีก
นี่ยังรวมถึงความเป็นได้ที่จะได้รับการสั่งจัดหาตามมาจากลูกค้าใหม่ เช่น โครงการเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)

บริษัท KAI เกาหลีใต้ได้รับเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) จากมาเลเซียเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2019 และ AIN เข้าใจว่ามาเลเซียต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่เบาใหม่ 12เครื่องโดยมีตัวเลือกจัดหาเพิ่มอีก 24เครื่อง
ผู้จัดการ KAI กล่าวว่าเขาคาดว่าจะมีการออกเอกสาร RFI ที่มีรายละเอียดมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากที่มาเลเซียมีภาพที่ชัดเจนกว่านี้ในความต้องการของตนบนพื้นฐานของ RFI ฉบับแรก(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)

"เครื่องบินรบเบาเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว มันจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากระหว่างเครื่องบินแบบต่างๆ เช่น Tejas อินเดีย, JF-17 ปากีสถาน-จีน(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html) และ L-15 จีน
แต่หวังที่จะลับคมขอบเขตของเราผ่านการบันทึกเส้นทางที่แข็งแรงกับผู้ใช้ในระดับนานาชาติ เช่นเดียวกับบริการหลังการขายที่ดี" เขาเสริม

ผู้จัดการ KAI ยังเปิดเผยอีกว่าเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Block 20 อยู่ในการทำงานและการพัฒนาจะเริ่มต้นในปี 2019 นี้ โดยเครื่องรุ่น Block 20 จะทำให้เครื่องสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond-Visual-Range Air-to-Air Missile)
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) ได้ จากเดิมที่ FA-50 ติดตั้งได้เฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ตระกูล Raytheon AIM-9 Sidewinder

เช่นเดียวกับเครื่องรุ่น Block 10 การปรับปรุงเป็นรุ่น Block 20 ไม่จำเป็นต้องมีการดัดแปลง Radar ของ FA-50 แต่อย่างใด ในขั้นต่อไปกำลังจะมีการศึกษาว่าจะเพิ่มกำลังของ Radar และขยายเพิ่มระยะตรวจจับของ Radar ได้อย่างไรด้วย
โดย Radar ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50PH ฟิลิปปินส์ และ บ.ขฝ.๒ T-50TH กองทัพอากาศไทยคือ Israel Aerospace Industries(IAI) Elta EL/M-2032 อิสราเอลครับ

กองทัพอากาศสหรัฐฯรับมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46 ชุดแรก

KC-46A debuts as Boeing reveals rapid delivery plan
Deliveries of the Boeing KC-46A to the US Air Force will rise sharply in the early part of 2019 following the delivery of the first two examples on 25 January, but will eventually level off at three aircraft monthly for the remainder of this year.

Boeing KC-46A Pegasus delivery ceremony
https://www.flightglobal.com/news/articles/kc-46a-debuts-as-boeing-reveals-rapid-delivery-plan-455277/


พิธีส่งมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-46A Pegasus ชุดแรกจำนวน 2เครื่องแก่กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มีขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2019
โดยจำนวนเครื่องที่จะส่งมอบไม่เพียงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2019 แต่ประเมินว่าระดับการส่งมอบเครื่องจะเป็นจำนวน 3เครื่องต่อเดือนภายในช่วงที่เหลือของปีนี้

KC-46A จำนวนหลายเครื่องต่อเดือนจะถูกส่งมอบในช่วงไม่กี่เดือนแรกของปี 2019 ตามที่ Mike Gibbons รองประธานและผู้จัดการโครงการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A ของ Boeing กล่าว
บริษัท Boeing สหรัฐฯมี KC46A จำนวน 12เครื่องที่สร้างเสร็จแล้วและรอการตรวจรับโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ เขาเสริมว่าบริษัทกำลังอยู่ในสัญญาสำหรับ 52เครื่องจากที่คาดว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯต้องการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ 179เครื่อง

"สำหรับไม่กี่เดือนแรกเราเชื่อว่าเราจะส่งมอบเครื่องบินเหล่านี้ในจำนวนตัวเลขที่สวย เรายังไม่มีตัวเลขที่จับต้องได้แน่ชัดในตอนนี้" Gibbons กล่าว
รัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศสหรัฐฯ Heather Wilson กล่าวว่า กองทัพอากาศสหรัฐฯพร้อมที่จะเริ่มการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการของ KC-46A เมื่อพวกมันเดินทางมาถึงฐานทัพอากาศ McConnell AFB ในมลรัฐ Kansas

กองทัพอากาศสหรัฐตัดสินใจว่าจะต้องแก้ไขปัญหาแสงแดดจ้าที่อืดอาดกับระบบมองเห็นการควบคุมท่อเติมเชื้อเพลิงแบบ Boom ระยะไกลของ KC-46A ซึ่งทำให้โครงการล่าช้า
"วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ของเราที่ห้องวิจัยกองทัพอากาศ(Air Force Research Lab) ในฐานทัพอากาศ Wright-Patterson ยอมรับในค่าการมองเห็นแท้จริงสำหรับระบบที่จะแก้ไข และ Boeing เห็นชอบที่จะเดินหน้าและสร้างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้" Wilson กล่าว

"ระบบมีความปลอดภัยและใช้งานได้ตามที่มันเป็น เรามีปัญหาการปฏิบัติงานที่ต้องแก้ไขเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือคุณไม่สามารถเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศได้โดยตรงโดยออกห่างไปจากพระอาทิตย์" Wilson เสริม
Boeing จะแก้ปัญหาแสงแดดจ้านี้ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง และกองทัพอากาศสหรัฐฯจะหักเงินทุนบางส่วนของบริษัทจนกว่าปัญหานี้จะได้รับการแก้ไข

สำหรับในส่วนของตน Wilson กล่าวว่า กองทัพอากาศสหรัฐฯจะนำจ่ายสำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงการแรกต่อการออกแบบใหม่ในส่วนท่อเติมเชื้อกลางอากาศแบบ Boom ของ KC-46A "ท่อ Boom ตรงตามมาตรฐานสากลนี่นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐเลือก Boeing แต่มีเครื่องบินบางแบบของเรา โดยเฉพาะเครื่องบินโจมตี Fairchild Republic A-10 ที่เป็นเครื่องที่เบามาก และท่อ Boom ไม่สามารถตัดการเชื่อมต่อได้ดีนักเนื่องจากมันเบา มันแก้ค่อนข้างง่าย ตัวกระตุ้นการแก้เพียงทำให้ Boom มีความละเอียดมากขึ้นสำหรับเครื่องบินเบาบางแบบของเรา" เธอกล่าว

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A มีพื้นฐานจากเครื่องบินขนส่งสินค้า Boeing 767-2C และถูกสร้างที่โรงงานอากาศยานของ Boeing ใน Everett มลรัฐ Washington
Boeing ได้รับสัญญาเป็นผู้ชนะโครงการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศนี้มาตั้งแต่เกือบ 8ปีก่อนแล้วและเต็มไปด้วยปัญหาการผลิตจำนวนมาก ที่ทำให้ Boeing สูญเสียเงินไปหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯจากราคาที่พุ่งสูงและล่าช้า

ในพิธีฉลองการส่งมอบเครื่อง ณ โรงงานอากาศยาน Everett เมื่อ 24 มกราคม 2019 Dennis Muilenburg ผู้อำนวยการบริหารของ Boeing ออกเสียงย้ำในแง่ดีในการกล่าวแถลงก่อนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐฯและคนงานโรงงาน
แต่ยังอ้างถึงการต่อสู้ดิ้นรนของโครงการ "การเดินทางตลอดระยะเวลาหลายปีหลังที่ผ่านมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อันที่จริงมันยาก" Muilenburg กล่าวครับ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

Leonardo อิตาลีพัฒนาชุดปรับปรุงรถถังหลัก M60A3 สหรัฐฯ

Leonardo develops M60A3 MBT upgrade

Firepower has been increased by replacing the 105 mm M68 rifled gun with the more potent 120 mm 45-calibre smoothbore gun. Source: Leonardo
https://www.janes.com/article/85884/leonardo-develops-m60a3-mbt-upgrade


บริษัท Leonardo อิตาลีได้พัฒนาและทดสอบชุดการปรับปรุงหลักสำหรับรถถังหลัก General Dynamics Land Systems M60A3 สหรัฐฯ(MBT: Main Battle Tank)
ชุดการปรับปรุงรถถังหลัก M60A3 นี้ได้ถูกพัฒนาและทดสอบโดยใช้ทุนภายในบริษัทสำหรับตลาดการส่งออกต่างประเทศ ตามที่ Massimo Gualco ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายของ Leonardo Defence Systems กล่าว

ชุดปรับปรุงของ Leonardo อิตาลีครอบคลุมในส่วนเกราะ, การเคลื่อนที่ และอำนาจการยิงของ ถ.หลัก M60A3 และได้ถูกทำการตลาดในฐานะชุดปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพต่อราคาที่ดี
โดยที่ M60A3 มีตัวถังรถแคร่ฐานและป้อมปืนเป็นเกราะเหล็กกล้าแบบหล่อและแบบเชื่อม จะได้รับการติดตั้งเกราะเชิงรับแบบใหม่ในส่วนส่วนโค้งด้านหน้าป้อมปืน ที่เข้าใจว่าจะเพิ่มการป้องกันได้ถึงระดับมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 6

เช่นเดียวระดับการป้องกันการถูกยิงด้วยกระสุนที่เพิ่มขึ้นในส่วนโค้งด้านหน้าตัวถังรถ จนถึงตำแหน่งล้อกดสายพานที่สามในแต่ละข้างของตัวรถ
เกราะกรงเหล็กได้ถูกติดที่เหนือส่วนท้ายป้อมปืน เพื่อป้องกันการถูกโจมตีด้วยอาวุธต่อสู้รถถังแบบหัวรบระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง(HEAT: High-explosive anti-tank) แบบหัวรบเดี่ยว

สถานีพลประจำรถและห้องชุดเครื่องยนต์ยังได้รับการติดตั้งระบบตรวจจับการระเบิดและเพลิงไหม้อัตโนมัติและระบบดับเพลิง
ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire-Control System) ที่มีอยู่เดิมได้รับการแทนที่ด้วยระบบควบคุมการยิง Digital แบบ Leonardo TURMS ซึ่งได้รับการติดตั้งในรถรบหุ้มเกราะหลายแบบ

ระบบควบคุมการยิงใหม่ยังรวมถึงกล้องเล็ง Video ติดตามและรักษาการทรงตัวสำหรับพลยิง ที่มีคุณสมบัติกล้องสร้างภาพความร้อนรุ่นที่สาม Erica และ Laser วัดระยะแบบปลอดภัยต่อสายตา ถ้าจำเป็นผู้บังคับการรถยังสามารถที่จะทำการเล็งและยิงอาวุธหลักของรถถังได้
อุปกรณ์ควบคุมปืน electro-hydraulic(GCE: Gun Control Equipment) เดิมของ M60A3 สามารถถูกเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ควบคุมปืนแบบไฟฟ้าล้วน แต่ยังคงทางเลือกราคาถูกในการยังคงใช้อุปกรณ์ควบคุมปืนเดิมใน M60A3 ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว

อำนาจการยิงของ M60A3 ได้เพิ่มสูงขึ้นด้วยการเปลี่ยนอาวุธหลักปืนใหญ่รถถังลำกล้องเกลียว M68 ขนาด 105mm เดิมเป็นปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ 120mm/45cal ที่มีมีศักยภาพมากขึ้น และทำการยิงกระสุนปืนใหญ่รถถัง 120mm มาตรฐาน NATO ได้ทุกแบบ
ปืนกลหนัก M85 ขนาด .50cal ของป้อมปืนสถานี ผบ.รถ จะถูกเปลี่ยนเป็นการติดตั้งป้อมปืน Remote(RWS: Remote Weapon System) แบบ Hitrole พร้อมปืนกลหนัก 12.7mm ที่หลังคาป้อมปืนเช่นเดียวกับยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Centauro II 8x8 MGS(Mobile Gun System) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/centauro-ii.html)

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ความเข้าใจผิดเรื่อง ski-jump และอากาศยานไร้คนขับ UAV กับเรือหลวงจักรีนฤเบศร




Royal Thai Navy's Helicopter Carrier CVH-911 HTMS Chakri Naruebet with two Bell 212, one Sikorsky SH-60B Seahawk and one Airbus Helicopters H145M at Sattahip Naval Base prepared for Humanitarian Aid and Disaster Relief (HADR) mission from Tropical Storm Pabuk, January 2019.



Royal Thai Navy's Helicopter Carrier CVH-911 HTMS Chakri Naruebet with Helicopter aboard on Flight Deck in all landing station

ผบ.ทร. สั่งการให้ยกระดับการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุด โดยมอบหมายให้ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณะภัยทางทะเล กองทัพเรือ เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อน “ปาบึก”
การยกระดับการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุดในครั้งนี้ ประกอบด้วย
- เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- ฮ.ปฏิบัติการกองทัพเรือ 4 ลำ
- ชุดปฏิบัติการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ(Maritime Aquatic Life Support Team: MAL)
- ชุดสำรวจสำรวจและประเมินความเสียหาย ทร.(Naval Disaster Assessment Team:NDAT)
- ชุดค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนบก
- ชุดปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์
พร้อมออกเรือได้ภายใน 24 ชม. หรือทันทีตามที่สั่งการ
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2451371314890371

US Navy LHD-1 USS Wasp aboard US Marine Corps F-35B VMFA-121 and MV-22B Osprey at off Okinawa coast, Japan in 23 March 2018

การเตรียมความพร้อมของเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำแรกของกองทัพเรือไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการรับมือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติจากพายุโซนร้อนปาบึกที่เข้าภาคใต้เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมานั้น
ก็นับว่าเป็นเเรื่องดีที่ความเสียหายจากพายุนั้นรุนแรงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในทางเลวร้ายที่สุด ทำให้ ร.ล.จักรีนฤเบศร ยังคงจอดเทียบท่าเพื่อรอเตรียมการออกเรือจนถึงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีที่เหตุการณ์ได้คลี่คลายไปในทางทีดี
แต่ทว่าการเตรียมความพร้อมของ ร.ล.จักรีนฤเบศร เพื่อการบรรเทาสาธารณภัยนั้น กลับนำมาซึ่งสองคำถามที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างมากในแง่สมรรถนะและจุดประสงค์การใช้งานของเรือ พอๆกับประเด็นการนำเครื่องบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Takeoff and Vertical Landing) เช่น เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) มาประจำการ

Royal Australian Navy (RAN) Canberra-class Landing Helicopter Dock (LHD) L01 HMAS Adelaide and L02 HMAS Canberra berthed at Fleet Base East taken from Fort Denison in January 2016(wikipedia.org)

อย่างที่ทราบว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จึงมีบางกลุ่มที่เสนอแนะมาว่าในเมื่อกองทัพเรือไทยไม่สามารถจะจัดหาอากาศยานปีกตรึงประจำเรือมาประจำการบนเรือได้แล้ว ก็ควรจะตัดทางวิ่ง Ski-Jump ที่หัวเรือออกเพื่อให้เรือมีที่จอด ฮ.เพิ่มขึ้น
ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงตัวเรือระดับการต่อเติมหรือตัดโครงสร้างหลักของเรือเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวอย่างเช่นเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock)ชั้น Canberra ๒ลำของกองทัพเรือออสเตรเลีย ที่มีพื้นฐานจากเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจม(LHA: Landing Helicopter Assault) ชั้น Juan Carlos I สเปน
ทางกองทัพเรือออสเตรเลียไม่ได้ต้องการออกแบบให้เรือรองรับอากาศยานปีกตรึง เช่น เครื่องบินขับไล่ F-35B เนื่องจากถูกพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป แต่ที่เรือยังคงมี Ski-Jump ที่หัวเรืออยู่เนื่องจากการแก้แบบเรือให้ตัด Ski-Jump ออกจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกมากเช่นกัน

Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) helicopter destroyer DDH-183 JS Izumo with five of Mitsubishi SH-60J/K Seahawk anti-submarine warfare (ASW) helicopters(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/f-35b-izumo.html)

เรื่องหนึ่งที่มักจะถูกลืมไปคือ แม้ว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร จะมีความยาวตัวเรือ 182m แต่ก็มีจุดรับส่งอากาศยานบนดาดฟ้าบินรวม ๕สถานี ซึ่งรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10tons เช่น เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B หรือเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๕ MH-60S ขึ้นลงได้พร้อมกัน ๕เครื่อง
ดังนั้นการจะตัด Ski-Jump จึงไม่ได้มีความจำเป็นและเพิ่มพื้นที่ลงจอด ฮ.บนเรือได้ ซึ่งเรือที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่มีความยาวเรือ 248m ดาดฟ้ายาวตลอดลำ ก็มีจุดรับส่งอากาศยานบนดาดฟ้าบิน ๕สถานีเท่านั้น
ทั้งนี้แนวทางการจัดหาอากาศยานปีกตรึงสำหรับ ร.ล.จักรีนฤเบศร(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html) และความเป็นไปได้ในการปรับปรุงการรองรับ F-35B(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35b-av-8b.html) ก็เคยมีการนำเสนอการวิเคราะห์ไปแล้ว


Royal Thai Air Force Tigershark II Unmanned Aerial Vehicle(UAV) and U1 Unmanned Aerial System(UAS)(My Own Photos)(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html)

อีกประเด็นที่มักถูกยกมากพร้อมกันคือการนำอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) มาปฏิบัติการขึ้นลงจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งในแง่ของการปรับปรุงติดตั้งสถานีควบคุมชุด UAV รวมถึงการติดสายอากาศสื่อสารเพิ่มเติมนั้นจะขึ้นอยู่ว่าเรือยังมีพื้นที่ภายในตัวเรือรองรับหรือไม่
แต่สำหรับอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance, UAV) อย่าง UAV หลายๆแบบที่ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ กองทัพอากาศไทยจัดหาและพัฒนาเอง(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/dominator-uav.html
หรืออากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat Air Vehicle) เช่น MQ-9 Reaper สหรัฐฯ หรือ Wing Loong กับ CH-4 จีน เหล่านี้จะต้องใช้การบินขึ้นลงตามแบบจากสนามบินโดยใช้ทางวิ่งระยะยาว ไม่สามารถจะนำมาใช้ขึ้นลงจากเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้เลย


Naval Research and Development Office, Royal Thai Navy Fixed wing Unmanned Aerial Vehicle with Vertical takeoff and landing Enable Capability(FUVEC) and Tactical Assault Rifle Enabled Multirotor(TAREM) Marine UAV(My Own Photo)(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html)

An MQ-8C Fire Scout unmanned aerial vehicle takes off from Naval Base Ventura County(https://news.usni.org/2014/03/05/navy-zeroes-fire-scout-buy-future-program-unclear)


UAV ที่น่าจะทำการบินขึ้นลง ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้แน่คืออากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing, UAV) ซึ่งกองทัพเรือไทยรวมกับภาคเอกชนไทยพัฒนาขึ้นมาหลายแบบ แต่ก็มีระยะเวลาทำการนานไม่กี่ชั่วโมง และพิสัยทำการไม่ไกลมากนัก
ซึ่ง VTOL UAV ขนาดใหญ่ที่บินได้ไกลและนานก็มีเช่น MQ-8C Fire Scout กองทัพเรือสหรัฐฯ (https://aagth1.blogspot.com/2014/12/northrop-grumman-mq-8c-fire-scout.html) แต่ก็ยังไม่สามารถติดอาวุธ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ(ASM: Anti-Ship missile) หรือ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำได้
ดังนั้นแนวทางการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเพิ่มเติมสำหรับนำมาปฏิบัติการร่วมกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือผิวน้ำอื่นๆที่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ดูจะเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมเป็นได้จริงมากว่าการจัดหา UAV มาใช้กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร ครับ

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

ลาวเปิดตัวยานเกราะล้อยาง BRDM-2M ใหม่พร้อมอาวุธรัสเซียและจีนจำนวนมากในพิธีสวนสนาม

Laotian military parades Russian- and Chinese-made equipment
















Laos unveiled several upgraded BRDM-2M 4x4 reconnaissance vehicles during a parade held in the capital Vientiane on 20 January to mark the 70th anniversary of the founding of the LPA. Source: Via Vientiane Times
https://www.janes.com/article/85876/laotian-military-parades-russian-and-chinese-made-equipment



กองทัพบกประชาชนลาว(LPA: Lao People's Army) ได้เปิดตัวยานเกราะลาดตระเวนล้อยาง BRDM-2M 4x4 รุ่นปรับปรุงใหม่ พร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซียและจีนอีกเป็นจำนวนมาก
ระหว่างพิธีสวนสนามทางทหารครบรอบ 70ปีการก่อตั้งกองทัพประชาชนลาว(LPAF: Lao People's Armed Forces) ที่จัดขึ้น ณ นครหลวง Vientiane(เวียงจันทน์) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2019

ยานเกราะล้อยาง BRDM-2M อย่างน้อย 10คัน ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพบกประชาชนลาวด้รับการปรับปรุงความทันสมัยในช่วงที่พวกมันถูกส่งมอบให้กองทัพประชาชนลาวในปลายปี 2018
แหล่งข่าวทางการของลาวกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2018 เสริมว่าการส่งมอบอาวุธเหล่านี้จากรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางทหาร-เทคนิคขนาดใหญ่ระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐบาลรัสเซียที่เห็นชอบร่วมกันในเดือนมกราคม 2018

ยานเกราะล้อยาง BRDM-2M รุ่นปรับปรุงใหม่มีความแตกต่างจากรุ่นพื้นฐาน โดยได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลใหม่แทนเครื่องยนต์เบนซิน GAZ-41 กำลัง 140hp เดิม
ติดตั้งสถานีกล้อง Eletro-Optical ที่ด้านหลังป้อมปืนกลหนัก KPVT ขนาด 14.5mm และติดตั้งแผ่นเกราะเสริม applique ตามพื้นที่เสี่ยงต่างๆบนตัวรถเพื่อเสริมการป้องกัน

กองทัพประชาชนลาวยังได้แสดงยานเกราะ ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี, ปืนใหญ่ลากจูง และอากาศยานจำนวนมากที่จัดหาจากทั้งรัสเซียและจีน โดยระบบอาวุธจากรัสเซียมีเช่น รถถังหลัก T-72B1 Object 184-1MS 'Belyy Orel'(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t-72b1ms.html)
,รถถังหลัก T-54(T-54-3), รถถังหลัก T-55, รถถังเบา PT-76, ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-60PB, รถยนต์บรรทุก UAZ-469B 4x4 เปิดประทุน, เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง 9K51 Grad 122mm MLRS(MLR: Multiple Rocket Launcher)

,ปืนใหญ่ลากจูง D-74 122mm, ปืนใหญ่ลากจูง D-20 152mm, ปืนใหญ่ลากจูง D-30 122mm และปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง HL-70 หรือ HE-70 ที่นำ ป.D-30 122mm ติดตั้งบนรถแคร่ฐานรถยนต์บรรทุกตระกูล Ural-4320
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจรสายพาน 9K35 Strela-10, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศประทับบ่ายิง(MANPADS: man-portable air defence system) แบบ 9K38 Igla และเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบาแบบ Yakolev Yak-130 'Mitten'(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/yak-130-t-34-85.html)

ระบบอาวุธจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ปรากฎในพิธีสวนสนามของกองทัพประชาชนลาวมีเช่น ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง PCL-09 หรือ CS/SH1 ขนาด 122mm, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง SH9 ขนาด 120mm บนรถยนต์บรรทุก Dong Feng Warrior 4x4
เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง SR5 รองรอบชุดแท่นยิงจรวดขนาด 122mm หรือ 220mm และระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้(SHORAD: Short Range Air Defence System) อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจรแบบ Type 92 Yitian เป็นต้นครับ

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

เปรียบเทียบเครื่องบินขับไล่ F-35B กับเครื่องบินโจมตี AV-8B ในการปฏิบัติการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

Royal Thai Navy's Helicopter Carrier CVH-911 HTMS Chakri Naruebet(https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/)

แนวทางการจัดหาอากาศยานปีกตรึงประจำเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำแรกของกองทัพเรือไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้เคยถูกวิเคราะห์ไปก่อนหน้าแล้วนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html)
เนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) ทำให้กองทัพเรือไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงในช่วงดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถที่จะจัดหาเครื่องบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Takeoff and Vertical Landing) แบบใหม่ใดๆได้
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Sea Harrier FA.2 ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ที่ปลดประจำการในในปี 2006 หรือเครื่องบินโจมตี McDonnell Douglas AV-8B Harrier II+ ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps) ที่บริษัท Boeing สหรัฐฯปิดสายการผลิตในปี 2003

แม้ว่าในความเป็นจริงการจัดหาเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II+ ที่เป็นเครื่องส่วนเกินของนาวิกโยธินสหรัฐฯที่จะถูกปลดประจำการหลังจากเริ่มมีการนำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) เข้าประจำการทดแทนในบางฝูงนั้น
จะเป็นไปได้น้อยเพราะนาวิกโยธินสหรัฐฯเองก็จะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B ประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B/C/D Hornet ในบางฝูงด้วยเช่น ซึ่งนั้นทำให้การทยอยจัดหา F-35B เข้าประจำการนี้ทำให้ นาวิกโยธินสหรัฐฯจะยังคงใช้งาน Hornet และ Harrier II ของตนต่อไปก่อนสักระยะ
โดยมองที่จะปรับปรุง AV-8B Harrier II+ ของตนด้วยหมวกนักบินติดจอแสดงผล HMCS(Helmet-Mounted Cueing System) ทำให้นาวิกโยธินสหรัฐฯไม่น่าจะมีเครื่องส่วนเกินพร้อมขายก่อนการปลดประจำการในปี 2026(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/hmcs-av-8b-harrier-ii.html)

อย่างไรก็ตาม Harrier II+ ของนาวิกโยธินสหรัฐฯที่มีสายการผลิตในช่วงปี 1990s จะมีอายุการใช้งานมากว่า ๒๕ปี แล้ว แต่ก็เช่นเดียวกับ บ.ขล.๑ก AV-8S Harrier ๗เครื่อง และ บ.ขล.๑ข TAV-8S (รุ่นฝึกสองที่นั่ง) ๒เครื่อง ที่เคยประจำการใน กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย
ว่าถ้าไม่ได้ปรับปรุงชุดคำสั่งให้สามารถใช้ระบบอาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) เหมือนรุ่นที่ส่งออกให้กองทัพเรือสเปนและกองทัพเรืออิตาลี ก็ยากที่เรียก Harrier II+ ได้ว่า "เครื่องบินขับไล่" ได้อย่างเต็มปาก
แต่ Harrier II+ ก็มักจะถูกเปรียบเทียบว่าเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้จริงมากว่า F-35B ในการจัดหามาปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร โดยยกเหตุผลว่า F-35B หนักเกินที่จะจอดบนดาดฟ้าบิน ไอพ่นจากเครื่องยนต์ร้อนจนดาดฟ้าทะลุ ขนาดใหญ่และหนักเกินจะลง Lift เข้าสู่โรงเก็บอากาศยานใต้ดาดฟ้าได้

ทำให้โดยสรุปแล้วการจัดหา บ.ขล.๑ค AV-8B Harrier II+ บ.ขล.๑ง TAV-8B Harrier II (รุ่นฝึกสองที่นั่ง) รวม ๘เครื่อง ตามความต้องการทดแทนเครื่องบินขับไล่ AV-8S และเครื่องบินโจมตี บ.จต.๑ A-7E และ TA-7C (รุ่นฝึกสองที่นั่ง) ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ จำนวน ๑๘เครื่องที่ปลดไปแล้วนั้น
ถ้าจะมีขึ้นก็ควรจะทำไปตั้งแต่ช่วงที่ AV-8S ปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๙(2006) แล้ว ยังรวมถึงเป็นไปได้ยากมากที่กองทัพเรือไทยจะจัดหา F-35B ใหม่อย่างน้อยสัก ๔เครื่องได้ เนื่องจากมีราคาที่แพงมาก ทำให้ถ้ามีงบประมาณมากพอก็ควรจะไปจัดหาเรือหรืออากาศยานแบบอื่นที่จำเป็นมากกว่า
แต่คำถามคือในแง่คุณสมบัติของอากาศยานทั้งสองแบบ มันจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือที่ F-35B ไม่สามารถที่มาจะปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร แทน Harrier ได้? ดังนั้นมาดูข้อมูลเปรียบเทียบของอากาศยานทั้งสองแบบในด้านการปฏิบัติการขึ้นลงบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์กันก่อน

F-35B USMC aboard LHA-6 USS America

F-35B VMFA-121 prepares to Landing aboard LHD-1 USS Wasp(wikipedia.org)

F-35B Lightning II
น้ำหนักเครื่องเปล่า: 32,472lbs (14,729kg)
น้ำหนักเครื่องเมื่อเติมเชื้อเพลิงพร้อม: +13,326lbs(6,045 kg) = 45,798lbs (20,774kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นลงตามแบบ (CTOL: Conventional Takeoff and Landing): 60,000lbs (27,200kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นและลงจอดทางดิ่ง (VTOL: Vertical Takeoff and Landing): 40,500lbs (18,370kg)

AV-8B Harrier II VMA-311 aboard LHD-6 USS Bonhomme Richard

AV-8B Harrier II Plus
น้ำหนักเครื่องเปล่า: 13,968lbs (6,340kg)
น้ำหนักเครื่องเมื่อเติมเชื้อเพลิงและน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์พร้อม: 13,968lbs+500lbs(น้ำ)+8,462lbs(เชื้อเพลิง) = 22,950lbs (10,410kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นลงตามแบบ (CTOL: Conventional Takeoff and Landing): 31,000lbs (14,100 kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นและลงจอดทางดิ่ง (VTOL: Vertical Takeoff and Landing): 20,755lbs (9,415kg)

การนำอากาศยานปีกตรึงบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง เช่น AV-8B หรือ F-35B ลงจอดบนเรือนั้น ปกติเครื่องจะทำการบินขึ้นจากสนามบินที่ตั้งบนฝั่ง แล้วบินเดินทางไปลงจอดบนเรือในทะเล ซึ่งนักบินจะต้องตรวจสอบน้ำหนักของเครื่องว่ามีน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักลงจอดทางดิ่งสูงสุดหรือไม่
โดยในกรณีที่บินขึ้นจากสนามบินบนฝั่งโดยไม่ติดอาวุธหรืออุปกรณ์ใดๆบนตัวเครื่องเลยแล้วน้ำหนักยังสูงเกินจะลงจอดได้อยู่ ก็จะต้องทำการทิ้งเชื้อเพลิง(Fuel Dumping) บางส่วนออกไปจากเครื่อง เพื่อให้น้ำหนักลดลงจนสามารถลอยตัวเพื่อลงจอดทางดิ่งได้
เช่นเดียวกับการบินขึ้นจากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์โดยใช้ทางวิ่งระยะสั้น ที่เครื่องจะติดตั้งอาวุธและเชื้อเพลิงในน้ำหนักบรรทุกที่ทำการวิ่งขึ้นจากเรือได้ และเมื่อกลับมาลงจอดที่เรือถ้าใช้อาวุธที่ติดไปไม่หมด ก็จำเป็นต้องปลดอาวุธ อุปกรณ์ หรือถังเชื้อเพลิงสำรองทิ้ง(Jettison) เพื่อลดน้ำหนักเครื่อง

F-35B take-off from flight deck's ski-jump of the Royal Navy's Aircraft Carrier HMS Queen Elizabeth(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)

นั่นทำให้เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่มีทางวิ่ง Ski-Jump สามารถที่ทำให้ AV-8B Harrier II หรือ F-35B Lightning II บินขึ้นโดยติดตั้งอาวุธได้มากขึ้น และใช้ทางวิ่งที่สั้นขึ้นได้(450ft./137m กรณีบรรทุกเต็มอัตรา) ถ้าเทียบกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่มีดาดฟ้าเรียบตลอดลำ(600ft./183m)
หรือสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth กองทัพเรือสหราชอาณาจักร ที่มีดาดฟ้าบินยาว ก็นำ F-35B ใช้วิธีการลงจอดแบบทางดิ่งใช้ทางวิ่งระยะสั้น(SRVL: Shipborne Rolling Vertical Landing) ได้(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)
จากที่โดยทั่วไป AV-8B Harrier II หรือ F-35B Lightning II จะทำการลงจอดบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์แบบเดียวกับอากาศยานปีกหมุน คือบินเข้าหาดาดฟ้าบินทางท้ายเรือ แล้วบินลอยตัวเทียบข้างเรือ แล้วค่อยๆเอียงเครื่องเข้าลงจอดที่ดาดฟ้า


การบังคับเครื่องเพื่อลงจอดหรือบินขึ้นจากเรือนั้น สำหรับ AV-8B Harrier II นักบินจะต้องเลือก Mode การบินเป็น VSTOL ปรับระดับ Flap เป็น STOL ปรับรูปแบบการฉีดน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์เป็น TO ในกรณีบินขึ้น หรือ LDG ในกรณีลงจอด ตั้งตัวกั้นจำกัดคันบังคับการปรับมุมไอพ่นข้างคันเร่ง
ในการวิ่งขึ้นจากเรือนั้น AV-8B จะวิ่งขึ้นโดยปรับมุมท่อไอพ่นที่ 0-30degree เพื่อเพิ่มความเร็วก่อนที่เครื่องจะวิ่งถึงปลายดาดฟ้าบินเรือจะปรับมุมท่อไอพ่นเป็น 60degree เพื่อเพิ่มแรกยก เมื่อความเร็วสูงมากพอก็จะปรับมุมไอพ่นเป็น 0degree Mode การบิน NAV, Flap เป็น Auto และปิดน้ำหล่อ ย.
ส่วนการลงจอดบนเรือนั้น AV-8B จะต้องมีน้ำหนักเครื่องรวมน้อยกว่าน้ำหนักลงจอดทางดิ่งสูงสุด ลดความเร็วเครื่องเข้าหาท้ายเรือ ปรับ Mode การบิน Flap และน้ำหล่อ ย.ปรับมุมท่อไอพ่นเป็น 90degree เพื่อลอยตัวในความเร็วเท่ากับความเร็วเรือ เทียบข้างเรือแล้วเอียงตัว ก่อนลงจอดบนดาดฟ้าบิน


บ.ตระกูล Harrier นั้นมีพื้นฐานรุ่นแรกที่ออกแบบมาตั้งแต่ยุคปี 1970s แม้รุ่นที่สอง Harrier II จะมีการปรับปรุงระบบ Avionic และระบบควบคุมการบิน Flight Control ที่ทันสมัยมากขึ้น แต่ก็นับว่ามีข้อจำกัดมาก โดยเฉพาะเครื่องยนต์ที่ต้องตรวจสอบไม่ให้ความร้อนสูงเกินขีดจำกัดจนทำงานล้มเหลว
ดังนั้นเมื่อเทียบกับ F-35B ในการบังคับเครื่องเพื่อลงจอดหรือบินขึ้นจากเรือจะควบคุมง่ายกว่ามาก โดยเพียงกดปุ่มเปิดปิด Mode VTOL ครั้งเดียว เครื่องจะปรับมุมเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Pratt & Whitney F135-PW-600 และ Lift Fan แบบ Rolls-Royce LiftSystem เข้าสู่รูปแบบการบิน STOVL
ซึ่งการควบคุมรูปแบบการบินขึ้นแบบ STO หรือลอยตัว HOVER นั้นสามารถเลือกได้จากจอสัมผัสขนาดใหญ่(LAAD: Large Area Avionics Display) ซึ่งเครื่องจะทำการช่วยนักบินควบคุมการปรับมุมท่อเครื่องยนต์และ Lift Fan แบบอัตโนมัติทำให้มีความปลอดภัยสูงและแม่นยำมาก


แม้ว่าเครื่องยนต์ F135W-600 พร้อม LiftSystem ของ F-35B จะมีความร้อนสูงที่ปล่อยออกมาจากท่อไอพ่นสูงกว่าเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Rolls-Royce Pegasus F402-RR-408 ของ AV-8B Harrier II ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้สูงมากจนมีนัยสำคัญ จึงไม่ใช่ว่าถึงขนาดที่จะทำให้ดาดฟ้าบินเรือทะลุง่ายๆ
ซึ่งในการบินขึ้นหรือลงจอดบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์นั้น ไอพ่นจากเครื่องยนต์จะไม่ได้เป่าลงดาดฟ้าบินตรงๆเป็นเวลานาน รวมถึงการปรับปรุงดาดฟ้าบินใหม่ เช่น การเคลือบ urethane coating สูตรกันความร้อนสูงเพิ่มเติม และทำสีเครื่องหมายใหม่บนพื้นทางวิ่งก็มีเวลาทำตามวงรอบ
เช่น เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp (LHD: Landing Helicopter Dock) ที่เข้าประจำการมาก่อนโครงการ Joint Strike Fighter(JSF) จะมีขึ้นก็เสร็จสิ้นการปฏิบัติการร่วมกับ F-35B แล้ว โดยในการปฏิบัติการกับ AV-8B ก่อนหน้านั้นดาดฟ้าก็มีรอยไหม้เป็นทางยาวมาก่อนแล้ว

เปรียบเทียบกับอากาศยานปีกหมุนและอากาศยานปีกกระดกที่ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้


Australian Army CH-47F Chinook first of class flight trials are being held on Royal Australian Navy L01 HMAS Adelaide to ensure the safe operation of the helicopters onboard Canberra class amphibious ships.(navy.gov.au)


CH-47F Chinook
น้ำหนักเครื่องเปล่า: 24,578lbs (11,148kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด: 50,000lbs (22,680kg)

An MV-22 Osprey tiltrotor aircraft lands aboard the amphibious assault ship LHD-3 USS Kearsarge during exercise Bold Alligator 2012.(wikipedia.org)

MV-22B Osprey
น้ำหนักเครื่องเปล่า: 33,140lbs (15,032kg)
น้ำหนักเครื่องเมื่อเติมเชื้อเพลิงพร้อม: 47,500lbs (21,500kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นลงตามแบบ (CTOL: Conventional Takeoff and Landing): 60,500lbs (27,400kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นและลงจอดระยะสั้น (STOL: Short Takeoff and Landing): 57,000lbs (25,855kg)
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นและลงจอดทางดิ่ง (VTOL: Vertical Takeoff and Landing): 52,600lbs (23,859kg)

CH-47 Chinook เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดหนักที่สุดที่สามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์มาตรฐานตะวันตกส่วนใหญ่ได้ เช่นเดียวกับ MV-22B Osprey ที่เป็นอากาศยานปีกกระดกแบบเดียวที่รองรับการลงจอดบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์มาตรฐานตะวันตกในปัจจุบัน
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่สามารถรองรับการลงจอดของ ฮ.ลำเลียงหนัก เช่น CH-47 หรืออากาศยานปีกกระดก เช่น V-22 ที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดที่ราว 50,000lbs (22,680kg) ก็น่าจะรองรับการลงจอดของ F-35B ที่มีน้ำหนักลงจอดทางดิ่งสูงสุดที่ 40,500lbs (18,370kg) ได้
อาจจะมองได้ว่าถ้าไม่นับเรื่อง Lift ยกอากาศยานที่รองรับน้ำหนักได้ 20tons และมิติขนาดแล้ว เรือหลวงจักรีนฤเบศร กองทัพเรือไทย ที่รองรับการลงจอดของ ฮ.CH-47 Chinook ที่สถานีลงจอดที่สี่ท้ายเรือแล้ว ยังพอมีความเป็นไปได้ที่ F-35B น่าจะทำการลงจอดและบินขึ้นจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้

F-35's Virtual cockpit in Lockheed Martin’s Prepar3D simulation software(https://www.prepar3d.com)

Virtual reality (VR) Simulator of F-35 base-on Lockheed Martin’s Prepar3D simulation software(https://twitter.com/LockheedMartin/status/1086699773300744196)

ปัจจุบันชุดคำสั่งประยุกต์ Flight Simulation Software game ที่เป็นเกมจำลองการบินของเครื่องบินขับไล่ F-35B แบบสมจริง(realistic) ก็จะมี Prepar3D ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้พัฒนา F-35 เอง ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนาจาก Microsoft ESP(เข้ากันได้กับ Microsoft Flight Simulator X)
โดยใน Prepar3D V4 Professional License ราคา $199(ประมาณ ๖,๓๕๐บาท) สำหรับบุคคลทั่วไปมีเครื่องบินขับไล่ F-35A, F-35B และ F-35B ให้สามารถฝึกการบังคับ พร้อมภารกิจฝึกการลงจอดและบินขึ้นจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp
ดังนั้นแม้ว่าจะไม่รวมการจำลองถึงการเสื่อมสภาพของดาดฟ้าบินและสมดุลน้ำหนักของเรือ แต่ถ้ามีการนำแบบจำลองสามมิติ 3D ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร เข้าไปใน Prepar3D อาจจะเป็นการจำลองสถานการณ์ให้เห็นได้ว่า F-35 จะปฏิบัติการจากเรือได้จริงหรือไม่



AV-8B Harrier II Night Attack aboard LHA-1 USS Tarawa in DCS: AV-8B Night Attack V/STOL flight simulation game(https://www.digitalcombatsimulator.com, https://www.facebook.com/RazbamSims)

อาจจะรวมถึงเกมจำลองการบิน DCS: AV-8B Night Attack V/STOL ราคา ๒,๒๘๓บาท ที่จำลองเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II แบบสมจริงซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการบินขึ้นลงจากเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น Tarawa (LHA: Landing Helicopter Assault) ด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับ DCS World ซึ่งเป็น Software game เพื่อความบันเทิงจะต่างจาก Prepar3D ที่เป็น Software สำหรับเป็นสื่อการเรียนรู้และฝึกทักษะทางการบินจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ก็นับว่าเป็นเกมจำลองการบินที่มีความสมจริงสูงใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุดที่มีในตลาด
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการจำลองสถานการณ์จะตอบคำถามในความเป็นจริงได้ทั้งหมด โดยจนถึงตอนนี้เองนอกจากเครื่องฝึกจำลองยุทธ์ NWS 980 ที่กองทัพเรือไทยพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากเกม Global Conflict Blue ก็ยังไม่เคยเห็นเกมใดที่มีการนำ ร.ล.จักรีนฤเบศร มาใส่ในเกมแบบจริงจังครับ