วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยทำพิธีปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ L-39ZA/ART




Air Chief Marshal Airbull Suttiwan Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) was attended to formal decommissioning ceremony for Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai in 31 March 2021.








Today Air Chief Marshal Airbull Suttiwan attended the decommission ceremony of L-39ZA/ART after 27 years of service with Royal Thai Air Force at Wing 41, Chiang Mai Airport.








In the ceremony, two L-39ZA/ART had performed the flyby before came to land at the ceremony. Pioneer pilots of Royal Thai Air Force L-39 had also attended the ceremony.

ตลอดระยะเวลา ๒๗ ปี ที่เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 หรือ L-39ZA/ART ได้รับใช้กองทัพอากาศมาอย่างยาวนาน และปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ อย่างต่อเนื่อง

วันนี้ (วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564) พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บังคับบัญชาการกองทัพอากาศ เป็นประธานในพิธีปลดประจำการเครื่องบินแบบ บ.ขฝ.๑ หรือ L-39ZA/ART Albratross 
โดยมี นาวาอากาศเอก ภูศิษฐ์ ทิมเกิด ผู้บังคับการกองบิน 41 และข้าราชการกองบิน 41 ให้การต้อนรับ ณ ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41

ภายในพิธีปลดประจําการเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART) ได้จัดให้มีการแสดงทางภาคอากาศ (Fly by) และได้เรียนเชิญนักบิน Pioneer ได้แก่ พลอากาศเอก สุรศักดิ์ ทุ่งทอง ,พลอากาศ เอก วันชัย นุชเกษม และพลอากาศตรี สําราญ ชมโท 
ซึ่งเป็นนักบินรุ่นแรกที่เดินทางไปรับเครื่องบินขับไล่และ ฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART) ของกองทัพอากาศ ณ สาธารณรัฐเชคในสมัยนั้น มาร่วมพิธีปลดประจําการ เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART) ในครั้งนี้ด้วย

ภาพ
กนิษฐ์ ชาติกานนท์
ณัฐนนท์ ถาวรธรรมฤทธิ์

เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทย จำนวน ๒เครื่อง หมายเลข 41111 และ 41120 ได้ทำการบินครั้งสุดท้ายของตนในพิธีปลดประจำการเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
หลังจากที่ลงจอดและได้รับการสลุตด้วยเครื่องฉีดน้ำดับเพลิง บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART หมายเลข 41111 และ 41120 ได้ถูกนำมาจอดแสดงร่วมกับ L-39ZA/ART หมายเลข 41122, 41125 และ 41130 ซึ่งทั้งหมดเป็น ๕เครื่องสุดท้ายที่ประจำการในฝูงบิน๔๑๑ 

กองทัพอากาศไทยได้จัดหา บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จากสาธารณรัฐเช็กจำนวน ๓๖เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงระบบอาวุธและ Avionnic ให้เป็นมาตรฐาน NATO โดยบริษัท Elbit อิสราเอล เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ต่อมาจัดหาเพิ่มอีก ๔เครื่องรวมทั้งสิ้น ๔๐เครื่อง
โดยช่วงแรกถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๑ และฝูงบิน๑๐๒ กองบิน และฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ รวมสามฝูงบิน ซึ่งเดิมกองทัพอากาศไทยมีความต้องการ L-39ZA/ART ถึง ๕๐-๖๐เครื่องเพื่อเข้าประจำการใน ๕ฝูงบิน แต่ได้ถูกตัดลดจำนวนลงเนื่องจากความเหมาะสมทางด้านภาวะเศรษฐกิจ

L-39ZA/ART ที่ประจำการในฝูงบิน๑๐๑, ฝูงบิน๑๐๒ และฝูงบิน๔๐๑ ได้มีโอนย้ายเครื่องจากการสูญเสียและการปรับโครงสร้างกำลัง ปัจจุบันฝูงบิน๑๐๑ ไม่มีอากาศยานประจำการ และฝูงบิน๑๐๒ ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ในปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002)
ต่อมาเมื่อเครื่องบินโจมตีแบบที่๕ บ.จ.๕ Rockwell OV-10C Bronco ที่เป็นเครื่องบินโจมตีเครื่องยนต์ใบพัดแบบสุดท้ายได้ปลดประจำการจากฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ในปี พ.ศ.๒๕๔๗(2007) ฝูงบิน๔๑๑ จึงได้รับมอบ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART เข้าประจำการแทนในภารกิจฝูงบินโจมตี

ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลีได้รับมอบเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle สาธารณรัฐเกาหลี เข้าประจำการแทนในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ในภารกิจฝูงบินฝึกนักบินขับไล่(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)
โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ได้รับมอบ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จากฝูงบิน๔๐๑ เดิมมาร่วมเป็นฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายจำนวน ๒๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html) และใช้งานมาจนถึงพิธีปลดประจำการล่าสุด

ตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ฝูงบิน๔๑๑ จะรับมอบเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6E Wolverine ทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html)
โดยถูกกำหนดแบบในชื่อเครื่องบินโจมตี A-6TH เป็นการจัดหาภายใต้นโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development และ Common Fleet ของกองทัพอากาศไทยเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)

กองทัพอากาศสิงคโปร์รับมอบเฮลิคอปเตอร์ H225M เครื่องแรก

Republic of Singapore Air Force receives its first H225M helicopter


Airbus Helicopters announced on 29 March that the RSAF has received its first H225M medium-lift rotorcraft. (Airbus Helicopters)

H225M helicopters are set to replace the RSAF’s ageing and obsolescence AS332M Super Pumas. (RSAF)

MINDEF had also ordered an undisclosed number of CH-47F Chinook helicopters to replace its ageing CH-47D. (RSAF)



กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง Airbus Helicopters H225M เครื่องแรกของตนแล้ว
บริษัท Airbus ยุโรปกล่าวในการแถลงเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2021 ว่าเฮลิคอปเตอร์ H225M ได้ถูกส่งมอบแล้ว แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับจำนวนเครื่องที่สั่งจัดหา หรือระบุว่าเมื่อไรที่การส่งมอบจะเสร็จสิ้น

การส่งมอบของเฮลิคอปเตอร์ H225M เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศสิงคโปร์เดิมมีกำหนดในปลายปี 2020 แต่ได้ล่าช้าออกไปตามผลจากการระบาดของ coronavirus Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/rss-invincible-h225m-ch-47f-covid-19.html)
กองทัพอากาศสิงคโปร์ขณะนี้จะเริ่มต้นการดำเนินการบินทดสอบและการฝึกนักบินและลูกเรือกับเฮลิคอปเตอร์ H225M ใหม่ล่วงหน้าก่อนนำเครื่องเข้าประจำการเพื่อปฏิบัติการ

เฮลิคอปเตอร์พหุภารกิจสองเครื่องยนต์ H225M ซึ่งได้รับการสั่งจัดหาโดยกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ ภายใต้สัญญาที่ลงนามในปี 2016
กำลังจะถูกนำมาทดแทนเฮลิคอปเตอร์ AS332M Super Puma ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ ที่มีอายุการใช้งานมานานซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1983 และกำลังเผชิญหน้ากับความล้าสมัย

"ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ H225M ของสิงคโปร์คาดว่าจะถูกนำในปฏิบัติการในหลายภารกิจ รวมถึงการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue), การส่งกลับทางสายแพทย์ทางอากาศ 
เช่นเดียวกับปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief)" Airbus กล่าว ฮ.H225M ยังคาดว่าจะถูกนำมาวางกำลังในปฏิบัติการรักษาความมั่นคงทางทะเลด้วย

การประกาศสัญญาเฮลิคอปเตอร์ H225M ในเดือนพฤศจิกายน 2016 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงความทันสมัยฝูงบินอากาศของกองทัพอากาศสิงคโปร์
กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์กล่าวว่าตนยังได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing CH-47F Chinook ที่ไม่เปิดเผยจำนวนด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/ch-47-chinook-2025.html)

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F ใหม่จะถูกนำมาเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47D ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ ที่มีอายุการใช้งานมานานซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1994
การส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F Chinook ใหม่ยังได้รับความล่าช้าที่เป็นผลจากการระบาด Covid-19 เช่นกัน และขณะนี้คาดว่าจะเริ่มต้นการส่งมอบได้ในปี 2021 นี้ครับ

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยทำพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 สองลำ

Royal Thai Navy (RTN) was formal hand on ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.114-class (T.114 and T.115) from Marsun Thailand at Laem Thian Pier, Sattahip naval base, Chonburi Province in 29 March 2021.



Clip: พิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.114 และ ต.115 ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564
Clip: กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือ ต.114 และ เรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ 


กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือ ต.114 และ เรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ 


วันนี้ (วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564) เวลา 12.30 น. พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือ ต.114 และเรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี    
โดยมี พลเรือเอก วศินสรรพ์  จันทวรินทร์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะ ประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง  
พลเรือเอก สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ  พลเรือตรี สุเทพ ลิมปนันท์วดี ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ  ตลอดจนข้าราชการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ  ให้การต้อนรับ 


กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจถวายความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ การลาดตระเวนตรวจการณ์ คุ้มครองเรือประมงและเรือสินค้า 
ป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล การรักษากฎหมายในทะเล ตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย 
พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ และการบรรเทาสาธารณภัยให้แก่พี่น้องประชาชนทั้งในทะเลและชายฝั่ง 
โดยได้ว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็น ผู้ดำเนินการ นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ 
โดยแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งทั้งสองลำนี้ ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาจากแบบเรือชุดเรือ ต.111 โดยภายหลังจากพิธีรับมอบเรือแล้ว จะเข้าประจำการที่กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการต่อไป


ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) ของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.114 และเรือ ต.115 
สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ระบบตรวจการณ์ของเรือสามารถตรวจจับ ติดตาม และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ หยุดยั้ง ขัดขวาง เรือผิวน้ำ และป้องกันตนเองจากข้าศึกได้ ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ 
ปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่องในทะเลได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน และปฏิบัติงานได้สภาวะทะเลระดับ 5 (Sea State 5) เรือมีการทรงตัวและความคงทนทะเลที่ดี และยังสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ได้ 


คุณลักษณะทั่วไป มีความยาวตลอดลำ 36.00 เมตร ความกว้างของเรือ 7.60 เมตร ความลึกของเรือ 3.60 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ ไม่เกิน 1.75 เมตร ความเร็วสูงสุดที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ไม่ต่ำกว่า 27.0 นอต ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 1,200 ไมล์ทะเล 
กำลังพล ประจำเรือตามอัตรา 30+1+13 (ชปพ.นสร.) 44 นาย 
เครื่องจักร ที่สำคัญประกอบด้วย เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร CUMMINS 1,342KW (1,800bhp) 1,900rpm จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องกำหนดไฟฟ้า ขนาด 112KWe 380VAC, 3PH, 50HZ จำนวน 2 เครื่อง
อาวุธประจำเรือ อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 30 มม. ติดตั้งบริเวณหัวเรือ จำนวน 1 แท่น และอาวุธรอง ปืนกลขนาด 50 นิ้ว ติดตั้งบริเวณกราบเรือซ้ายขวา จำนวน 2 แท่น



พิธีรับมอบเรือ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล ได้เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานที่แน่นอน 
แต่เมื่อปี พ.ศ.2451 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพิธีมอบเรือเสือทยานชล เรือตอร์ปิโดที่ 1 เรือตอร์ปิโดที่ 2 และเรือตอร์ปิโดที่ 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2451 จากนายทหารเรือญี่ปุ่น โดยนำเรือทั้ง 4 ลำ ซึ่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามายังกรุงเทพ ฯ
ในปัจจุบันเมื่อถึงเวลารับมอบเรือจะต้องทำพิธีเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน โดยบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ 



จากนั้นประธานกรรมการบริหารโครงการ ( พลเรือเอก วศินสรรพ์ จันทวรินทร์) กล่าวรายงานความเป็นมาในการสร้างเรือ  
ประธานบริษัทผู้สร้างเรือ (นายภัทรวิน จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาร์ซัน จำกัด มหาชน) กล่าวมอบเรือ 
ประธานในพิธี (พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ) กล่าวรับมอบเรือและรับมอบเอกสาร
แล้วส่งต่อให้ ผู้บัญชาการกองเรือ ( พลเรือตรี สุเทพ ลิมปนันท์วดี ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง ) กำลังพลประจำเรือเชิญธงราชนาวีขึ้นสู่ยอดเสาแล้วกล่าวคำปฏิญาณว่า “ตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร” 
ประธานในพิธีทำพิธีคล้องมาลัยและผู้ผ้าสามสีที่หัวเรือ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่หัวเรือ เพื่อความเป็นสิริมงคล
กองประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 ทั้งสองลำคือ เรือ ต.114 และเรือ ต.115 ที่มีพิธีรับมอบเรือเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ได้มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/114.html
และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/114.html) ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

การเข้าประจำการของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 ทั้งสองลำใช้พื้นฐานแบบเรือ M36 Mk II ของบริษัท Marsun ซึ่งปรับปรุงจากแบบเรือ M36 Patrol Boat ที่ใช้เป็นพื้นฐานของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 หรือเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือชุดเรือ ต.111
โดยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 ที่เข้าประจำการก่อนหน้าแล้วจำนวน ๓ลำ ประกอบด้วยเรือ ต.111, ต.112 และ ต.113 นั้นก็เป็นหนึ่งในผลงานของบริษัท Marsun ประเทศไทย ที่ได้รับสัญญาจ้างสร้างเรือให้กับกองทัพเรือไทยเช่นกัน

เรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.๑๑๔ ใหม่ ๒ลำได้รับการปรับปรุงแตกต่างจากเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.๑๑๑ จำนวน ๓ลำก่อนหน้าโดยใช้อาวุธปืนหลักปืนกลขนาด 30mm แบบ MSI-DS SEAHAWK ๑แท่น พร้อมระบบควบคุมการยิง แทนปืนกล Denel Land Systems GI-2 ขนาด 20mm แบบควบคุมด้วยมือ
และปืนกล M2 .50cal ๒แท่น รวมถึงพื้นที่ห้องภายในตัวเรือรองรับชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ(Naval Special Warfare Command, Royal Thai Navy SEAL) จำนวน ๑๓นาย ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบสูง 

นอกจากเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.111 ๓ลำ และชุดเรือ ต.114 ๒ลำล่าสุดแล้ว กองทัพเรือไทยยังประจำการด้วยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.991, ต.992 และ ต.993) และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.994, ต.995 และ ต.996) รวม ๑๑ลำ
โดยยังมีความต้องการอีก ๒ลำคือเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 จำนวน ๒ลำคือ เรือ ต.997 และเรือ ต.998 ที่ทำพิธีวางกระดูงูเรือเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/997-998.html) และคาดว่าจะปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี ๒๕๖๔ นี้ครับ

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงกลาโหมเยอรมนีนำเสนอข้อเสนอระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน GBAD แก่รัฐสภาเยอรมนี

German MoD presents GBAD proposal to Bundestag



Among the systems Rheinmetall is offering for NNbS is its Skyranger 35, pictured being demonstrated against UAVs at its Ochsenboden firing range in Switzerland in September 2018. (Rheinmetall)



กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้นำเสนอข้อเสนอทางเทคนิคของตนสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้น(GBAD: Ground-Based Air Defence) แก่รัฐสภาแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี(Bundestag) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2021
กระทรวงกลาโหมเยอรมนีกล่าวในสื่อประชาสัมพันธ์ของตนที่เผยแพร่ในวันเดียวกันว่า ก้าวแรกจะเป็นการปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot เริ่มต้นในปี 2023ที่จะคงขีดความสามารถอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศที่มีอยู่สำหรับช่วงที่เหลือของทศวรรษ 2020s นี้

นอกจากนี้ ก้าวที่สองที่จะไม่ช้าเกินกว่าปี 2026 ขีดความสามารถใหม่ในการต่อต้านทางอากาศและต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)
จะได้รับการพัฒนาผ่านการรับรองคุณสมบัติขั้นต้นของระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้และพิสัยใกล้มาก NNbS(Nah- und Nächstbereichsschutz)

โครงการระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้และพิสัยใกล้มาก NNbS มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนระบบป้องกันภัยทางอากาศเบาอัตตาจรสายพาน Wiesel 2 Ozelot
ซึ่งกระทรวงกลาโหมเยอรมนีอธิบายว่าเป็นระบบที่ "ล้าสมัย (และ)ไม่เพียงพอในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ"(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/ffg-wiesel-1.html)

ระบบป้องกันภัยทางอากาศเบา(LeFlaSys: Leichtes Flugabwehrsystem) มีพื้นฐานระบบบนรถแคร่ฐานยานเกราะสายพานตระกูล Wiesel 2
โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศเบาอัตตาจร Wiesel 2 Ozelot ติดตั้งแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ FIM-92 Stinger จำนวน 4นัด

กระทรวงกลาโหมเยอรมนีระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงสำหรับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศในยุโรปสำหรับโครงการนี้ นอกเหนือจากความร่วมมือด้านระบบป้องกันทางอากาศที่อยู่ของเยอรมนีกับเนเธอร์แลนด์ผ่านโครงการ Project Apollo
กระทรวงกลาโหมเยอรมนีชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป EU และ NATO เพื่อส่งเสริมการพัฒนาขีดความระบบต่อสู้อากาศยานและต่อต้าน UAV ของยุโรป

ท่ามกลางระบบต่างๆที่ถูกเสนอสำหรับโครงการ NNbS บริษัท Rheinmetall เยอรมนีระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้อัตตาจรล้อยาง Skyranger 35 ที่ได้มีการสาธิตการต่อต้าน UAV ในสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนกันยายน 2018
Skyranger 35 เป็นการนำป้อมปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานของ Oerlikon ขนาด 35mm พร้อมกระสุนแตกอากาศ(ABM: Air Burst Munition) และ radar ควบคุมการยิง ติดตั้งบนรถแคร่ฐานยานเกราะล้อยาง Boxer 8x8 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564

เครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการปล่อยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM นอร์เวย์

JSM successfully released from F-35A



An instrumented JSM in the weapons bay of the F-35A AF-01 instrumented test platform prior to its first in-flight release over Edwards Air Force Base, California, in February (Norwegian Defence Materiel Agency)

สำนักงานยุทโปกรณ์กลาโหมนอร์เวย์(FMA: Forsvarsmateriell) ในความร่วมมือกับบริษัท Kongsberg Defense & Aerospace(KDA) นอร์เวย์, สถาบันวิจัยกลาโหมนอร์เวย์(FFI) และสำนักงานโครงการร่วม F-35(JPO: Joint Program Office) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing)
ได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการปล่อยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Joint Strike Missile(JSM) ขณะทำการบินในอากาศ เหนือฐานทัพอากาศ  Edwards Air Force Base(AFB) มลรัฐ California สหรัฐฯ

การเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2021 การทดสอบซึ่งดำเนินการโดยการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM รูปแบบระบบอาวุธเครื่องมือทดสอบ(instrumented weapon)
ถูกบูรณาการเข้ากับเครื่องบินขับไล่ F-35A รหัส AF-01 ระบบเครื่องมือวัดทดสอบ(instrumented test platform) กองบินทดสอบที่412 กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ดำเนินอยู่เพื่อรับรองการบูรณาการและการปลดอาวุธอย่างปลอดภัยจากเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II โดยมีการเริ่มต้นการทดสอบการทิ้งอาวุธภาคพื้นดินที่ฐานทัพอากาศ Edwards AFB ในปี 2020

สำหรับการทดสอบการปล่อยอาวุธกลางอากาศ เครื่องบินขับไล่ F-35A AF-01 ได้รับการติดตั้งกล้อง 3ตัวภายห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว และกระเปาะกล้องแยกต่างหากติดตั้งกล่องเพิ่มเติม 3ตัวติดบนปีกของเครื่อง
"ในคำสั่งที่จะทำให้สามารถจะวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องว่าเกิดอะไรขึ้นทั้งเครื่องบินขับไล่ F-35A และอาวุธปล่อยนำวิถี JSM มีความชัดเจนโดยการทำเครื่องหมายจากกล้องพิเศษที่แสดงตำแหน่งที่แม่นยำทั้งเครื่องบินและอาวุธ
และจากนั้นเราสามารถเห็นผ่านวีดิทัศน์อย่างชัดเจนว่าอาวุธปล่อยนำวิถี JSM แสดงการทำงานตามแนวทางของมันออกจากห้องบรรทุกระเบิดใน F-35A อย่างไร" 

พลอากาศจัตวา Jarle Nergård กองทัพอากาศนอร์เวย์(RNoAF: Royal Norwegian Air Force, Luftforsvaret) หัวหน้าแผนก F-35 ของสำนักงานยุทโปกรณ์กลาโหมนอร์เวย์ FMA กล่าว
การทดสอบยังรวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-16 สองที่นั่งพร้อมเจ้าหน้าที่ช่างถ่ายภาพในที่นั่งหลัง ทำการบินประกบเพื่อทำการบันทึกการปล่อยและสมรรถนะทางการบินของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM
JSM ถูกออกแบบให้ติดตั้งในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวของเครื่องบินขับไล่ F-35A มีพิสัยการยิงราว 500km และสามารถทำการยิงจากระยะห่างจากการเผชิญหน้าฝ่ายตรงข้าม(stand-off) ได้

JSM เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำและโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินพิสัยไกลเพียงแบบเดียวที่สามารถติดตั้งในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวของเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL และเครื่องบินขับไล่ F-35C รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน CV(Carrier Variant) ได้
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ได้สั่งจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A ของตน และคาดว่าจะได้รับมอบตั้งแต่เดือนเมษายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/jsm-f-35-2021.html)
ขณะที่กองทัพอากาศนอร์เวย์คาดว่าจะได้รับมอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A ของตนภายในปี 2023 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/jsm.html)

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564

นาวิกโยธินไทยนำปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG ที่ผลิตในไทยเข้าร่วมการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๔


ATMG (Autonomous Truck Mounted Gun) 155mm/52caliber wheeled self-propelled howitzer 6x6 of 4th Artillery Battalion, Marine Artillery Regiment, Royal Thai Marine Division, Royal Thai Marine Corps (RTMC) during Royal Thai Navy (RTN)'s Naval Exercise Fiscal Year 2021 at Andaman sea in 24-25 March 2021.


ELBIT SYSTEMS ELOP LONG VIEW CR/SWIR of RTN Naval Air and Coastal Defence Command (ACDC).













GHN-45A1 155mm towed howitzers and Type 74 twin barrel 37mm anti-aircraft artilley of RTN ACDC.

Clip: RTN ACDC's GHN-45A1 155mm firing on sea moving targets.
กองพันรักษาฝั่งที่ 11 กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ทำการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีทางฝั่งทะเลอันดามัน ในการฝึกกองทัพเรือ64 โดยใช้ ปกค.ขนาด 155 มม. แบบ GHN - 45 A1 ต่อเป้าที่ระยะ 30 กม. และ 8 กม. 
รวมทั้งทำการยิงเป้าเคลื่อนที่ที่มีความเร็ว 7 นอต ที่ระยะ 8 กม. ผลการฝึกยิงอาวุธยังคงมีความแม่นยำสูง กำลังพลเข้ารับการฝึกได้มีองค์ความรู้ทางยุทธวิธีเสริมสร้างความชำนาญให้พร้อมเป็นทหารหน่วยรบ สอ.รฝ. ดั่งคำขวัญ “ป้องธารา รักษาฝั่ง” 

นาวิกโยธิน และ สอ.รฝ. ยิงปืนใหญ่ป้องกันฝั่งและปืนต่อสู้อากาศยาน ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564
ระหว่างวันที่ 24 - 25 มีนาคม 2564 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ได้ทำการฝึกยิงปืนใหญ่ป้องกันฝั่งและปืนต่อสู้อากาศยาน 
บริเวณด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติเขาลำปี - หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564

โดยในการป้องกันฝั่งนั้น ได้ทำการฝึกยิงปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง GHN-45A1 ขนาด 155mm ของ สอ.รฝ. และ ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMG (Autonomous Truck Mounted Gun) 6x6 ขนาด 155mm/52 caliber ของ นย. 
และการต่อสู้อากาศยานได้ทำการยิงปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 mm ของ สอ.รฝ.
ซึ่งได้สมมุติสถานการณ์ว่าหน่วยตรวจการณ์เรดาร์พื้นน้ำและเรือในทะเลในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 3 ได้ตรวจพบเป้าเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกที่ระยะ 8 กม. และ 30 กม. กำลังเตรียมการโจมตีฝั่งทะเลอันดามัน 
ด้วยเหตุนี้ หน่วยกำลังทั้ง 2 หน่วย จึงได้ทำการบูรณการกำลังต่อตีเป้าหมายดังกล่าวด้วยยุทธวิธีการรบร่วมระหว่างปืนใหญ่ของ นย. และ สอ.รฝ. จนเป้าหมายถูกทำลายในที่สุด

การฝึกครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมและสังเกตการณ์การฝึก
นับว่าเป็นการฝึกให้พร้อมรบ และเตรียมกำลังที่จะส่งให้ทัพเรือภาค เมื่อเป็นหน่วยใช้กำลังทางยุทธวิธี ในการป้องกันประเทศสำหรับป้องกันภัยคุกคามทางอากาศ และป้องกันฝั่ง จากกำลังทางเรือที่รุกมาทางทะเลต่อไป

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ได้รับมอบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMG(Autonomous Truck Mounted Gun) 6x6 ขนาด 155mm/52caliber จำนวน ๖ระบบหรือหนึ่งกองร้อยปืนใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/atmg.html)
โดยถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๔ กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน ตามสัญญาจัดหาที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) วงเงินราว ๘๖๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($26 million) ซึ่งนาวิกโยธินไทยยังมีแผนจะจัดหาเพิ่มอีกสอง ร้อย ป. ๑๒กระบอก ให้ครบหนึ่งกองพันปืนใหญ่ ๑๘กระบอก

ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG 155mm/52cal มีพื้นฐานจากระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMOS(Autonomous Truck Mounted howitzer System) ของบริษัท Elbit Systems Land and C4I Ltd. อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/atmg.html)
ป.อัตตาจรล้อยาง ATMG ถูกสร้างภายในประเทศไทยผ่านการถ่ายทอด Technology โดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC: Weapon Production Center, DIEC: Defence Industry and Energy Center) กระทรวงกลาโหมไทย

ศอว.ศอพท.ได้เสร็จสิ้นการผลิตและส่งมอบ ป.อจ. ATMG จำนวน ๑๘ระบบแก่กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) แล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) โดยถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/atmg-atmm.html)
ทั้งนี้กองทัพบกไทยกำลังดำเนินการสั่งจัดหา ป.อจ. ATMG จาก ศอว.ศอพท. เพิ่มเติมอีก ๑๘ระบบสำหรับหนึ่งกองพันทหารปืนใหญ่ แบ่งเป็นระยะแรกหนึ่งกองร้อยปืนใหญ่ ๖ระบบ วงเงินราว ๘๘๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($28.5 million) ทำให้จำนวน ATMG ที่จะผลิตในไทยจะรวมเป็นถึง ๕๔ระบบ

การนำปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG ซึ่งเป็นปืนใหญ่อัตตาจรแบบแรกของนาวิกโยธินไทยจากเดิมที่มีประจำการแต่ปืนใหญ่ลากจูง เข้าร่วมการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๔ ในทะเลอันดามันช่วงวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ น่าจะเป็นการฝึกยิงภาคสนามครั้งแรกๆของ นย.สำหรับระบบปืนใหญ่นี้
ขณะที่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ที่ยังคงใช้ปืนใหญ่ลากจูง GHN-45A1 ขนาด 155mm และปืนต่อสู้อากาศยานลากจูง Type 74 ขนาด 37mm จะมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอัตตาจรใหม่หลายแบบในอนาคตครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/dti.html)