วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Kalashnikov รัสเซียเปิดตัวอากาศยานไร้คนขับโจมตี Lantset และปืนซุ่มยิงหนัก SV-18 ครั้งแรก

Army 2019: Kalashnikov shows ‘kamikaze’ UAS for first time
Kalashnikov's Zala Aero Group showed its Lantset ‘kamikaze’ UAS for the first time at Army 2019. Source: IHS Markit/Miko Vranic
https://www.janes.com/article/89559/army-2019-kalashnikov-shows-kamikaze-uas-for-first-time



Army 2019: New Kalashnikov anti-materiel rifle makes debut

The Kalashnikov Concern is showing its new anti-materiel rifle designated as the SV-18 at the Army 2019 Source: IHS Markit/Miko Vranic
https://www.janes.com/article/89557/army-2019-new-kalashnikov-anti-materiel-rifle-makes-debut

Zala Aero Group ในเครือ Kalashnikov Concern รัสเซียได้จัดแสดงระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft System) โจมตีเป้าหมายแบบทำลายตนเอง Lantset(ภาษารัสเซียแปลว่า 'หอก')
เป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารนานาชาติ Army 2019 ที่จัดขึ้นใน Kubinka ใกล้นครหลวง Moscow รัสเซีย ระหว่างวันที่ 25-30 มิถุนายน 2019

มีอากาศยานไร้คนขับโจมตีทำลายตนเองแบบ Lantset รุ่นเดียวที่ถูกนำมาจัดแสดงในงาน Army 2019 แต่ Kalashnikov กล่าวกับ Jane's ว่าระบบอาวุธดังกล่าวมีสองรูปแบบด้วยกัน
คือรุ่นที่มีน้ำหนักมากที่สุด Lantset-3 ที่ถูกนำมาแสดง ติดหัวรบหนัก 3kg มีระยะเวลาบินปฏิบัติภารกิจนาน 40นาที มีความเร็วสูงสุด 110km/h และมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 12kg

ขณะที่รุ่นที่มีน้ำหนักเบาว่าคือ Lantset-1 มีความเร็วสูงสุดที่ 110km/h เช่นกัน แต่ติดหัวรบหนัก 1kg มีระยะเวลาทำการบินปฏิบัติภารกิจนาน 30นาที และมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 5kg
Zala Aero รัสเซียได้เผยแพร่ภาพวีดิทัศน์ที่แสดงถึงการทดสอบการปฏิบัติการของ Lantset UAS ในการโจมตีเป้าหมายรูปแบบต่างๆทั้งเป้าหมายประจำที่และเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่มาแล้ว

Kalashnikov Concern ผู้ผลิตอาวุธปืนของรัสเซียได้จัดแสดงปืนซุ่มยิงหนักต่อต้านอมภัณฑ์ใหม่ที่ถูกกำหนดแบบว่า SV-18 ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2019
ปืนซุ่มยิงหนัก SV-18 ใหม่มีการออกแบบเป็นปืนยาวแบบ Bullpup โดยใช้ระบบการทำงานแบบลูกเลื่อน(Bolt-action) และซองกระสุนแบบกล่องหลังไกยิง และด้วยเหตุนี้ทำให้ปืนจึงมีความยาวที่สั้น

ปืนซุ่มยิงต่อต้านอมภัณฑ์ SV-18 สามารถเลือกรุ่นที่ใช้กระสุนขนาด 12.7x108mm โซเวียต/รัสเซีย หรือขนาด 12.7x99mm NATO ซึ่งมักรู้จักมากกว่าในชื่อ .50caliber BMG ในตะวันตก
ตัวปืนที่ปรากฎถูกสร้างโดยการผสมผสานชิ้นส่วนต่างๆที่สร้างจากเหล็กกล้า, Aluminium และ Polymer ทำให้มีน้ำหนักเบา มีแผ่นคันบังคับยิง/ห้ามยิงคู่ที่แต่ละด้านของตัวปืน ในตำแหน่งเหนือไกยิงสำหรับการยิงด้วยมือซ้ายหรือมือขวาทั้งสองแบบ

SV-18 มีรางเดี่ยวยาวสำหรับติดตั้งกล้องเล็งและอุปกรณ์เสริมมาตรฐาน MIL-STD-1913 ที่ด้านบนตัวปืน และมีรางเดี่ยวสั้นอีกรางที่หน้าสุดตรงด้านส่วนล่างของส่วนกระโจมมือสำหรับติดตั้งขาทรายแบบพับได้หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆ
SV-18 กำลังอยู่ในการทดสอบระดับโรงงานแล้ว เมื่อการทดสอบเสร็จสิ้น Kalashnikov จะพิจารณาการขายทั้งภายในหน่วยงานรัฐบาลของรัสเซียและลูกค้าต่างประเทศครับ

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รัสเซียจะพัฒนากระสุนนำวิถีร่อนระยะไกลสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรส่งทางอากาศ 2S42 Lotos

Russia to create long-range glide shell for paratroopers’ self-propelled artillery gun


Lotos advanced self-propelled artillery gun
The work on the Glissada shell should use the potential accumulated in the process of developing new munitions for the advanced 152mm self-propelled artillery system Koalitsiya
https://tass.com/defense/1066120
https://saidpvo.livejournal.com
https://bmpd.livejournal.com


ผู้เชี่ยวชาญรัสเซียกำลังพัฒนากระสุนร่อนที่มีระยะยิง 25km สำหรับระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรสายพานส่งทางอากาศแบบ 2S42 Lotos ขนาด 120mm ของกองกำลังพลร่มรัสเซีย(Russian Airborne Troops, VDV)
Veniamin Schastlivtsev หัวหน้านักออกแบบกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2019 ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารนานาชาติ Army 2019 ที่จัดขึ้นใน Kubinka ใกล้นครหลวง Moscow รัสเซีย ระหว่างวันที่ 25-30 มิถุนายน 2019

"ข้อเสนอของเราประกอบในการดำเนินงานรหัส 'Glissada' ที่เป็นกระสุนร่อนเชิงรุก-ปฏิกิริยาโดยมีขีดความสามารถพิสัยยิงที่ 25km" หัวหน้านักออกแบบกล่าว
งานพัฒนากระสุน Glissada ควรจะใช้ศักยภาพที่สั่งสมในขั้นตอนการพัฒนากระสุนชนิดใหม่สำหรับระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพานขั้นก้าวหน้า Koalitsiya ขนาด 152mm เขากล่าว

"เรากำลังเสนอว่างานดังกล่าวนี้ควรจะดำเนินการบนพื้นฐานของหัวรบนำวิถีของกระสุนนำวิถีพิสัยไกลขนาด 152mm ที่ถูกพัฒนาสำหนับปืนใหญ่อัตตาจร Koalitsiya-BP" หัวหน้านักออกแบบย้ำ แนวทางเดียวกันได้เคยถูกใช้มาก่อนหน้าสำหรับการพัฒนาอาวุธความแม่ยำสูงรุ่นก่อน
"กระสุน Krasnopol 152mm ได้รับการพัฒนาโดยสำนักออกแบบการสร้างเครื่องวัด และหัวรบนำวิถีนี้ได้ถูกใช้สำหรับการสร้างกระสุนนำวิถี Kitolov-2 ซึ่งเรามีอยู่ตอนนี้" Schastlivtsev กล่าว

สถาบันวิจัยกลางการสร้างเครื่องจักรความแม่นยำสูง TsNIITochMash ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Rostec กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสากรรมความมั่นคงรัสเซีย กำลังพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกส่งทางอากาศ 2S42 Lotos
เพื่อเพิ่มอำนาจการยิงแก่กองกำลังพลร่มรัสเซีย และทดแทนระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรสายพาน 2S9 Nona ขนาด 120mm ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน

ป้อมปืนใหญ่ของ Lotos ติดตั้งบนรถแคร่ฐานของรถรบทหารราบส่งทางอากาศ BMD-4 ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Rostec รัสเซียรายงาน
เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร 2S42 Lotos มีน้ำหนัก 18tonnes สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 70km/h ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 450hp และมีพิสัยทำการไกลไม่น้อยกว่า 500km

ระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร 2S42 Lotos มีกำลังประจำรถ 4นาย มีอัตราการยิงกระสุนลูกระเบิดขนาด 120mm ที่ 6นัดต่อนาที และมีระยะยิงไกล 13km การปฏิบัติเพื่อเตรียมการสำหรับการยิงเป็นระบบอัตโนมัติแบบสูงสุด
Lotos เป็นสิ่งที่มีตามมาและนำมาทดแทนโครงการ Zauralets ซึ่งเคยถูกตั้งเป้าเพื่อการพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรสำหรับกองกำลังพลร่มเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงและขีดความสามารถความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่แก่หน่วยพลร่มรัสเซียครับ

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ไทยเดินหน้าแผนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคง

Thailand progresses defence industrial investment plans


Saab, which delivered a fleet of Gripen multirole combat aircraft to Thailand from 2011 (pictured), is one of several foreign companies to have expressed interest in engaging with the country’s Eastern Economic Corridor development plan. Source: FXM
https://www.janes.com/article/89536/thailand-progresses-defence-industrial-investment-plans

รัฐบาลไทยได้ร่างเค้าโครงแผนเพื่อจัดตั้ง 'เขตเศรษฐกิจพิเศษ'(special economic zones) ที่มุ่งเป้าการสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
ความเคลื่อนไหวได้มุ่งหน้าไปสู่การกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนและได้เริ่มต้นตามติดคู่ขนาดไปแผนการนำข้อตกลงภาระผูกพันแบบเหมือนข้อตกลงต่างตอบแทนต่อผู้รับสัญญาทางทหางต่างประเทศ

ตามที่สำนักข่าวไทยรายงาน แผนดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยในการประชุมสภากลาโหมไทย ที่มีประธานคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
รายงานข่าวกล่าวว่าหน่วงงานต่างๆของรัฐบาลไทยได้รับการสอบถามเพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยงานรัฐต่างๆจะมีความร่วมมือกับแผนที่กำลังดำเนินการคืบหน้าไปในอีกไม่เดือนข้างหน้าที่จะถึง

รัฐบาลไทยไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายละเอียดของเขตเศรษฐกิจพิเศษรวมถึงพื้นที่ที่ตั้ง อย่างไรก็ตาม สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) ภายใต้กระทรวงกลาโหมไทยที่รับผิดชอบการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทย
คาดว่า DTI ไทยจะมีส่วนร่วมในแผนดังกล่าวซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC: Eastern Economic Corridor) ของรัฐบาลไทย

โครงการ EEC ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งแก่ชายฝั่งภาคตะวันออก(eastern seaboard) ของไทยในทศวรรษ 2020s ที่กำลังจะมาถึง
โดยเชื่อมโยงกับโครงการ EEC ไทยได้มีการร่างเค้าโครงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา(U-Tapao International Airport) ซึ่งเป็นสนามบินที่ใช้งานร่วมกันของทหารและพลเรือนที่ตั้งในฝั่งอ่าวไทย

สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางของแผนการลงทุนในการบำรุงรักษา, ซ่อม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) ของขีดความสามารถด้านอุตสากรรมการบินในภาคทางทหารและทางพาณิชย์
บริษัทชั้นนำต่างๆของต่างประเทศ เช่น บริษัท Airbus ยุโรป, บริษัท Safran ฝรั่งเศส, บริษัท Sikorsky สหรัฐฯ และบริษัท Saab สวีเดน ได้พร้อมแสดงความสนใจในการเข้าร่วมโครงการของไทย

การลงทุนของ Saab สวีเดนในไทยปัจจุบันโดยหลักจะเชื่อมโยงกับการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ที่กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จัดหาจำนวน ๑๒เครื่องเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
ล่าสุด Saab สวีเดนได้เป็นหุ้นส่วนกับภาคธุรกิจท้องถิ่นของไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน)(Amata Corporation PCL) เพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับภายพัฒนาภายใต้โครงการ EEC ของไทยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กองทัพรัสเซียจะรับมอบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-82AT รุ่นใหม่

Army 2019: Russian MoD to receive BTR-82AT APCs

The Russian MoD is set to receive its first BTR-82AT APCs, one of which is displayed at Army 2019. Source: Dmitry Fediushko
https://www.janes.com/article/89496/army-2019-russian-mod-to-receive-btr-82at-apcs
https://saidpvo.livejournal.com

กระทรวงกลาโหมรัสเซียวางแผนที่จะรับมอบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-82AT APC(Armoured Personnel Carrier) รุ่นใหม่ชุดแรกภายในปี 2019 นี้
ตามที่แหล่งข่าวทางทหารกล่าวกับ Jane's ในวันแรกของานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2019 ที่จัดขึ้นใน Kubinka ใกล้นครหลวง Moscow รัสเซีย ระหว่างวันที่ 25-30 มิถุนายน 2019 นี้

เมื่อต้นเดือนเมษายน 2019 รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Sergei Shoigu ได้เปิดเผยว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียมีความมุ่งหมายที่จะจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-82AT 8x8 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้
"การเริ่มต้นในปี 2019 รถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-82A ทุกคันจะได้รับระบบควบคุมการยิงรุ่นปรับปรุงใหม่กับระบบสร้างภาพความร้อน และเกราะป้องกันกระสุนเพิ่มเติม" Shoigu กล่าวในการประชุมคณะทำงานของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย

Alexander Krasovitskiy ผู้อำนวยการทั่วไปของ Military-Industrial Company(VPK) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตยานยนต์ทางทหารรัสเซีย กล่าวกับ Jane's ในงาน Army 2019 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2019 ว่า BTR-82AT ได้พร้อมเสร็จสิ้นการทดสอบแล้ว
"รถเกราะล้อยางลำเลียงพลที่ปรับปรุงเป็นมาตรฐาน BTR-82AT ได้พร้อมสำหรับสายการผลิตและการส่งมอบ เรากำลังรอสำหรับสัญญาจัดหาที่จะออกโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซีย" เขากล่าว

ไม่เหมือนกับ BTR-82A ที่เป็นพื้นฐาน BTR-82AT ได้รับการติดตั้งระบบกล้องเล็งแบบ TKN-4GA พร้อมระบบสร้างภาพความร้อนและมุมการมองเห็นแบบมีระบบรักษาการทรงตัว
รถเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-82AT ติดตั้งระบบแท่นยิงขาหยั่งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9K129 สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M133 Kornet ในส่วนห้องบรรทุกกำลังพลภายในตัวรถ

BTR-82AT ติดตั้งป้อมปืน BPPU แบบมีพลประจำภายในป้อมหนึ่งนาย ติดปืนใหญ่กล 2A72 30mm และปืนกลร่วมแกน PKTM 7.62mm มีพลประจำรถ 3นาย(ผู้บังคับการรถ, พลขับ และพลยิง) และบรรทุกทหารราบไปกับรถได้ 7นาย
BTR-82AT ที่หนึ่งคันได้ถูกนำมาจัดแสดงในงาน Army 2019 ยังได้รับการติดเกราะซี่ลูกกรง(Slat Armor) รอบตัวรถเพื่อเพิ่มการป้องกันสำหรับการถูกยิงด้วยอาวุธต่อสู้รถถังแบบหัวรบดินโพรง(shaped charge) ครับ

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Lockheed Martin สหรัฐฯตั้งเป้าขยายตลาดเครื่องบินขับไล่ F-16V ในยุโรป

Paris Air Show 2019: Lockheed Martin targeting continued European F-16 growth

Lockheed Martin is working on expanding sales of the new F-16V in Europe, as well as upgrades to V standard. Source: Lockheed Martin /Randy A. Crites
https://www.janes.com/article/89417/paris-air-show-2019-lockheed-martin-targeting-continued-european-f-16-growth


บริษัท Lockheed Martin สหรัฐกำลังเดินหน้าการพัฒนาความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-16 Fighting Falcon ที่สร้างใหม่จากโรงงานของตน เช่นเดียวกับโอกาสของการปรับปรุงความทันสมัยให้กับเครื่องรุ่นก่อนหน้า
ตามที่บริษัทกล่าวในงานแสดงการบินนานาชาติ Paris Air Show 2019 ณ สนามบิน Le Bourge ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 17-23 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา

Michele Evans รองประธานบริหารฝ่ายการบินของ Lockheed Martin กล่าวกับ Jane's ว่า "เราได้เห็นการฟื้นคืนตัวอย่างยิ่งใหญ่ใน F-16 ซึ่งเราไม่ได้คาดว่าจะเห็นเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้า ตอนนี้เรากำลังเริ่มต้นที่ความเป็นไปได้ที่จะได้รับการสั่งจัดเพิ่มเติมถึง 400เครื่องทั่วโลก
สำหรับ Lockheed Martin เรามีมุมมองต่อประเทศต่างๆที่กำลังจัดซื้อ F-16 ในฐานะเส้นทางเริ่มต้นไปสู่การจัดหาเครื่องขับไล่ F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ดังนั้นจะเป็นขีดความสามารถที่เราต้องการในการเปลี่ยนผ่านต่อประเทศต่างๆเหล่านั้นเช่นเดียวกัน"

ในยุโรป Lockheed Martin กำลังทำงานตั้งเป้าหมายการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ F-16V Viper สำหรับผู้ใช้งาน F-16 รุ่นดั้งเดิม เช่นเดียวการขายเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่สร้างใหม่จากโรงงาน
โดย Lockheed Martin ได้ย้ายสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-16 ไปยังโรงงานอากาศยานของตนใน Greenville มลรัฐฯ South Carolina ตามที่โรงงานอากาศอากาศยานใน Fort Worth มลรัฐ Texas ได้ถูกขยายตัวสำหรับสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 อย่างเต็มอัตรา

"เรามีทุกตัวเลือกทั้งหมดบนโต๊ะสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-16C Block 40 และ Block 50 รุ่นเดิมให้พิจารณา เราสามารถที่จะปรับปรุงเครื่องเหล่านั้นให้ได้
และถ้าประเทศเหล่านั้นต้องการเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่สร้างใหม่ เราก็สามารถที่มอบเครื่องใหม่เหล่านั้นให้ได้เช่นกัน" Evans กล่าวเสริม

Lockheed Martin ยังกำลังทำงานที่จะผสมผสานวิทยาการการปรับปรุงระหว่าง F-35 และ F-16 โดยบ้างวิทยาการที่ถูกพัฒนามาสำหรับ F-35 กำลังถูกย้อนนำกลับมาใช้กับมาใช้ใน F-16 ได้เหมือนกัน
การปรับปรุง F-16 บางส่วน เช่น ระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(AGCAS: Auto-Ground Collision Avoidance System) ได้ถูกนำมาติดตั้งกับ F-35 เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถในเร็วๆนี้

เครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper สหรัฐฯได้ถูกรับการเลือกให้เป็นเครื่องขับไล่ใหม่หรือกำลังอยู่ในการแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในกลุ่มประเทศสมาชิก NATO ในยุโรปตะวันออกเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่รัสเซียเก่ายุคกลุ่มกติกา Warsaw Pact อย่าง Mikoyan MiG-29
เช่น กองทัพอากาศสโลวาเกีย(Slovak Air Force) ที่สั่งจัดหา F-16V จำนวน 14เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/f-16v.html) และกองทัพอากาศบัลแกเรีย(Bulgarian Air Force) ที่สหรัฐฯอนุมัติการขาย F-16V จำนวน 8เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/f-16v-mig-29.html)

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Airbus Helicopters และ TAI ไทยขยายการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์แก่กองทัพและตำรวจ

Airbus Helicopters and Thai Aviation Industries extend aftersales helicopter support for military and governmental fleets
http://www.airbushelicopters.asia/website/en/press/Airbus-Helicopters-and-Thai-Aviation-Industries-extend-aftersales-helicopter-support-for-military-and-governmental-fleets_145.html

Eurocopter AS550 C3 Fennec(Airbus Helicopters H125M) armed scout helicopter of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army with FN Herstal HMP400 .50cal gun pod in Children's Day 2019(unknow photo source)

Royal Thai Army has displayed Airbus Helicopters H145 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2018/01/h145.html

Airbus Helicopters H145M 202nd Squadron, Wing 2, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy(https://www.facebook.com/squadron202/)

Airbus Helicopters EC725(H225M) 203 Squadron, Wing2, Royal Thai Air Force in Search and Rescue Exercise SAREX 2019(https://www.facebook.com/public/Thanawat-Thanawat)

Eurocopter(Airbus Helicopters) AS365 N3+ Dauphin Search and Rescue Helicopter of Royal Thai Police Aviation Division(unknow photo source)

Airbus Helicopters H175 of Royal Thai Police Aviation Division(https://www.facebook.com/chittapon.kaewkiriya)

บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปและบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) รัฐวิสาหกิจของไทยผู้เชี่ยวชาญในการบำรุงรักษา, ซ่อม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) อากาศยาน
ได้ลงนามข้อตกลงที่จะขยายการสนับสนุนหลังการขายสำหรับลูกค้าอากาศยานปีกหมุนของ Airbus Helicopters ทั้งกองทัพ หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชนในประเทศไทย

ภายใต้ข้อตกลงที่ประกาศเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) Airbus Helicopters ยุโรป และบริษัท TAI ไทยได้ขยายความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/airbus-helicopters-tai.html)
ตามที่ TAI ไทยจะให้บริการศูนย์ซ่อมบำรุง MRO และการบริการที่เกี่ยวข้องสำหรับระบบเฮลิคอปเตอร์ของ Airbus Helicopters ที่ปฏิบัติการภายในประเทศไทย

นอกเหนือจากศูนย์ซ่อมบำรุง MRO, การปรับปรุง, การสนับสนุนทางเทคนิค, การฝึก และการปฏิบัติการบิน ข้อตกลงใหม่ยังจะทำให้ TAI ไทยสามารถมอบบริการการจัดการความสมควรเดินอากาศขององค์กรอย่างต่อเนื่อง(CAMO: Continuing airworthiness management organisation services)
ที่เชื่อมโยงกับบริการ HCare ของบริษัท Airbus Helicopters เช่น ชุดคำสั่งฐานข้อมูล Flight Planner และ Aerodata เช่นเดียวกับบริการซ่อมบำรุงระบบระดับองค์กร(O-level) และระดับปานกลาง(I-level)

พลอากาศเอก อนันต์ จันทร์ส่งเสริม กรรมการผู้จัดการบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด กล่าวว่า "เราดีใจที่ได้พบ Airbus หุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ที่แบ่งปันวิสัยทัศน์ของเราเพื่อสร้างปฏิบัติการซ่อมบำรุงที่แข็งแรงและสายการสนับสนุนหลังการขายในไทยสำหรับผลประโยชน์ของลูกค้าเรา
เราได้ทำงานอย่างดีที่สุดร่วมกัยมาเป็นเวลามากว่าสองปีก่อนหน้า และเรากำลังมองไปข้างหน้าเพื่อการสร้างระบบนิเวศการบินที่แข็งแกร่งในไทยที่ร่างภาพจากความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่หลากหลายของ Airbus"

"ข้อตกลงส่วนขยายนี้เน้นย้ำการสนับสนุนการซ่อมบำรุงที่ยอดเยี่ยมที่มอบผ่านหุ้นส่วนของเราและถึงความมุ่งมั่นของ Airbus เพื่อสร้างสถานะที่แข็งแกร่งในไทยที่นำความสะดวกแก่ลูกค้าเรา ไทยเป็นตลาดสำคัญสำหรับ Airbus ซึ่งเกือบร้อยละ๙๐ ของเฮลิคอปเตอร์เราปฏิการในกองทัพและภาครัฐ
มันอยู่ในความสนใจของเราที่จะส่งเสริมการจัดตั้งสภาพแวดล้อมการสนับสนุนที่ดีขึ้นสำหรัลลูกค้าเรา และเพิ่มพูนความพร้อมปฏิบัติการของฝูงบินพวกเขา ผ่านการตกย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่ประสบความสำเร็จในไทยนี้" Philippe Monteux หัวหน้าฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของ Airbus Helicopters กล่าว

ปัจจุบันกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยได้มีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Airbus Helicopters เข้าประจำการแล้วเป็นจำนวนกว่า ๕๐เครื่องประกอบด้วย
ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทยมี เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน/ติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3(H125M) ๘เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota ๕เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๕ EC145 T2(H145) ๖เครื่อง

ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย มี เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ H145M(EC645 T2) ๕เครื่อง, ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ กองทัพอากาศไทยมี เฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ๘เครื่อง จากที่สั่งจัดหารวม ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/ec725.html)
และกองบินตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยมี เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป EC155B-1(H155) ๕เครื่อง,เฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิต AS365 N3+ Dauphin ๒เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป H175 ๒เครื่อง และ กรมแผนที่ทหาร กองทัพไทยมี EC155 B1 ๒เครื่องครับ

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

IAI อิสราเอลเสนอเครื่องบินขับไล่ Kfir NG รุ่นใหม่แก่โคลอมเบียอาจรวมถึงศรีลังกาและเอกวาดอร์

Paris Air Show 2019: IAI offering Kfir NG to Colombia, expects to return Sri Lanka and Ecuador jets to service







A Colombian air force technician sits on the canard of a Kfir during a ‘Red Flag’ exercise in 2012. IAI hopes to sell the enhanced Kfir NG to Colombia, and expects to return to service aircraft for Sri Lanka and Ecuador. Source: US Air Force
https://www.janes.com/article/89345/paris-air-show-2019-iai-offering-kfir-ng-to-colombia-expects-to-return-sri-lanka-and-ecuador-jets-to-service


บริษัท Israeli Aerospace Industries(IAI) อิสราเอลกำลังเสนอรุ่นปรับปรุงใหม่ของเครื่องบินขับไล่ Kfir แก่โคลอมเบียที่ยังบทำการบินอยู่ในปัจจุบันในชื่อเครื่องบินขับไล่ Kfir Next-Generation(NG)
จากการพูดคุยในงานแสดงการบินนานาชาติ Paris Air Show 2019 ที่สนามบิน Le Bourge ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 17-23 มิถุนายน 2019 กับ Jane's โดย Yossi Melamed หัวหน้าฝ่ายกลุ่มอากาศยานของบริษัท IAI อิสราเอล

Melamed กล่าวว่ากองทัพอากาศโคลอมเบีย(Colombian Air Force, FAC: Fuerza Aerea Colombiana) กำลัง "มีความสุขอย่างมากกับสมรรถนะ" ของเครื่องบินขับไล่ Kfir จำนวน 22เครื่องที่ IAI อิสราเอลได้ทำการปรับปรุงให้ไปก่อนหน้าที่ถูกเรียกในชื่อเครื่องบินขับไล่ Kfir COA
บริษัทกำลังพัฒนารุ่นขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมคือเครื่องบินขับไล่ Kfir NG ที่จะมองได้ว่าเป็นที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการจัดหาทดแทนที่จะมีตามมา

"ผมคิดว่าการเสนอ Kfir NG มีข้อได้เปรียบอย่างมหาศาลสำหรับโคลอมเบีย ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับขีดความสามารถปัจจุบันของ Kfir และ Kfir NG จะมอบการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย
โคลอมเบียมีสิ่งอำนวยความสะดวก, การฝึก, เครื่องจำลองการบิน และแม้แต่กระสุนสำหรับเครื่องพร้อมแล้ว ดังนั้นทำไมพวกจะต้องการใช้วงเงิน $2 billion กับเครื่องบินขับไล่แบบอื่น?" Melamed กล่าว

โดยเครื่องบินขับไล่ Kfir Block 60 ที่ประจำการในกองทัพอากาศโคลอมเบียตอนนี้มีคุณสมบัติโครงสร้างอากาศยาน "เวลาใช้งานเป็นศูนย์", ระบบตรวจจับ, Avionic(เทียบได้กับเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52 สหรัฐฯ) และการเพิ่มขยายความสามารถระบบอาวุธ
Kfir NG ได้เพิ่มการนำเครื่องยนต์ไอพ่น Tubofan แบบ General Electric(GE) F414(ถูกนำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet สหรัฐฯและเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดนแล้ว) แทนเครื่องยนต์ไอพ่น Turbojet แบบ GE J79 ที่ล้าสมัย

รวมถึงการเพิ่มขยายความสามารถด้วย Radar แบบ AESA(Active Electronically Scanned Array), ปรับปรุงขยายความสามารถแก่ระบบเครือข่าย Datalink และการปรับปรุงระบบ Avionic
คุณสมบัติอื่นของ Kfir NG ยังคงอยู่ในการพัฒนาที่กำลังทำการออกแบบส่วนลำตัวเครื่องด้านท้ายใหม่ที่จะเพิ่มความจุเชื้อเพลิงให้มากขึ้น ตามที่ Melamed กล่าวนี่จะทำให้ระยะเวลาการปฏิบัติการของ Kfir เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

เครื่องบินขับไล่ Kfir NG จะมีพื้นฐานจากการนำโครงสร้างอากาศยานของเครื่องที่ประจำการในโคลอมเบียหรือกองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force) มาผลิตใหม่
หรือแม้แต่จะเป็นการสร้าง Kfir NG ใหม่ทั้งเครื่องจากโรงงานขึ้นอยู่กับความต้องการ ทั้งนี้ Melamed ปฏิเสธที่จะกำหนดเวลาสำหรับข้อเสนอของโคลอมเบีย

นอกจากที่จะหวังการขายแก่โคลอมเบียแล้ว IAI อิสราเอลยังคาดที่จะนำเครื่องบินขับไล่ Kfir NG กลับมาประจำการในกองทัพอากาศศรีลังกา(SLAF: Sri Lanka Air Force) ที่เคยมีเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Kfir C.2 และ Kfir C.7 และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Kfir TC.2 ประจำการจำนวนไม่กี่เครื่อง
เช่นเดียวกับกองทัพอากาศเอกวาดอร์(Ecuadorian Air Force, FAE: Fuerza Aérea Ecuatoriana) ที่เคยมีเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Kfir C.10 ที่มักเรียกในชื่อเครื่องบินขับไล่ Kfir CE และ Kfir TC.2 ประจำการราว 8เครื่องครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ยานเกราะล้อยาง Panus R600 8x8 ที่พัฒนาในไทยจะติดป้อมปืน ASELSAN NEFER 30mm ตุรกี



Thailand's company Panus Assembly Co Ltd. to R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) prototype for Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy to be fitted Turkish company's ASELSAN NEFER 30mm Remote Controlled Stabilized Weapon System (RCSWS).



Kazakhstan Paramount Engineering (KPE) 's Barys 8x8 wheeled armored vehicle fitted with Sarbaz 30mm Remote Controlled Weapon System that jointly developed by Kazakhstan's KAE LLP and Turkey's Aselsan based-on NEFER RCSWS

ผลงานใหม่ล่าสุดของคนไทย รถเกราะล้อยาง 8X8 R 600 คันแรกจะติดป้อมปืนอัตโนมัติ NEFER 30 มม.!
บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ กำลังดำเนินการสร้างรถเกราะล้อยาง 8X8 ที่เรียกชื่อคันต้นแบบว่า “R 600” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบการติดตั้งเครื่องยนต์ คัมมิ่นส์ ขนาด 600 แรงม้า และการวางชุดเกียร์ รวมถึงการเดินท่อและสายไฟ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้
R 600 คันแรก คาดว่าเป็นเวอร์ชั่นรถรบทหารราบ ติดตั้งป้อมปืนอัตโนมัติ NEFER ของ ASELSAN ประเทศตุรกี พร้อมทั้งติดตั้งปืนขนาด 30 มม.
นอกจากนี้พนัสฯยังจะสร้าง R 600 ให้เป็นรถที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีหลายเวอร์ชั่น เช่นรถลำเลียงพล รถติดตั้งปืนใหญ่ รถติดตั้งอาวุธนำวิถี รถต่อสู้อากาศยาน รถสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกองทัพ
วิศวกรผู้ออกแบบได้ออกแบบรูปร่างหน้าตาของมันกว่า 100 แบบ เพื่อไม่ให้เหมือนกับรถแบบอื่นๆที่มีอยู่แล้วในตลาดโลก สุดท้ายก็มาจบที่แบบนี้
จุดประสงค์ถึงการสร้างรถเกราะล้อยาง R 600 ก็เพื่อที่จะให้กองทัพมีรถที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีสมรรถนะสูง สามารถซ่อมและส่งกำลังบำรุงได้ภายในประเทศ ในราคาที่เหมาะสม ที่สำคัญก็คือเป็นผลงานของคนไทย ผลิตในประเทศ “เราทำได้ดี” ด้วย ...
นอกจากนี้รถเกราะล้อยาง 8X8 ยังเป็นที่ต้องการในตลาดโลก ซึ่งพนัสฯเล็งเห็นที่จะสร้างขายให้กับต่างประเทศในอนาคตอีกด้วย...ต้องช่วยกันให้กำลังใจและสนับสนุนกันนะครับ
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1736925033077267


ยานเกราะล้อยาง 8x8 รถต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย สำหรับนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/panus-8x8.html)
ได้รับการเปิดเผยชื่อรหัสรถต้นแบบว่า ยานเกราะล้อยาง R600 8x8 ซึ่งระบบขับเคลื่อนติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 600HP ของบริษัท Cummins สหรัฐฯ โดยในรูปแบบยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก 8x8 มีการติดตั้งระบบขับเคลื่อน Water Jet สองชุดสำหรับการเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำ
ยานเกราะล้อยาง R600 ในรุ่นรถรบทหารราบ IFV(Infantry Fighting Vehicle) จะได้รับการติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ NEFER RCSWS(Remote Controlled Stabilized Weapon System) ของบริษัท ASELSAN ตุรกี พร้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm

ASELSAN NEFER เป็นป้อมปืนแบบไร้พลประจำป้อมมีน้ำหนัก 1,550kg สูง 64cm หมุนได้ 360องศา มุมกระดก-10/+60องศามีระบบรักษาการทรงตัวสามารถยิงเป้าหมายประจำที่และกำลังเคลื่อนที่ขณะที่รถกำลังวิ่งได้ มี Laser วัดระยะ กล้องกลางวัน-กลางคืน ติดตามเป้าหมายอัตโนมัติ
มีเกราะป้องกันระดับ NATO STANAG 4569 Level 2สามารถเลือกติดตั้งปืนใหญ่กลแบบ Mk44 30x173mm สหรัฐฯ หรือ 2A42 30x165mm รัสเซียพร้อมกระสุน ๒๐๐นัด พร้อมปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm เลือกติดได้ระหว่าง FN MAG58/M240 NATO หรือ PKT รัสเซีย พร้อมกระสุน ๓๐๐นัด
ป้อมปืน NEFER ตุรกีได้รับการพัฒนาสร้างและส่งออกไปทดสอบใช้งานจริงแล้ว เช่น ยานเกราะล้อยาง Barys 8x8 ของคาซัคสถานที่สร้างในประเทศซึ่งมีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง Mbombe 8 ของบริษัท Paramount Group แอฟริกาใต้ ในชื่อป้อมปืน Remote แบบ Sarbaz 30mm

ปัจจุบัน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน(Marine Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division) ได้รับมอบยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC)
ที่พัฒนาโดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ไปทดลองใช้งานแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc_22.html)
โดยยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 จะได้รับการติดตั้งป้อมปืนขนาด 30mm จากบริษัท Singapore Technologies Kinetics(ST Kinetics) สิงคโปร์ วงเงิน ๖๙,๓๐๐,๐๐๐บาท($2,246,013) แทนป้อมปืนจำลอง mock-up ที่เห็นในตอนนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รถเกราะล้อยาง AFV-420P พัฒนาในไทยทดสอบยิงป้อมปืน ASELSAN SARP ตุรกีครั้งแรก




AMV-420P Mosquito 4x4 (Armoured Fighting Vehicle-420 Panus) developed by Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd with Browning M2HB .50caliber heavy machinegun on Turkish company's ASELSAN SARP (Stabilized Advanced Remote Weapon Platform) Remote Controlled Weapon Station (RCWS) was conduct test firing for first time at Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy's weapons range with Royal Thai Marine Corps observe in 18 May 2019


รถเกราะ AFV-420P ติดระบบป้อมปืนอัตโนมัติ SARP RCWS ทดสอบยิงครั้งแรก 
ชมการทดสอบยิงปืนกลขนาด .50 นิ้ว ด้วยระบบป้อมปืนอัตโนมัติ SARP Remote Controlled Weapon Systems (RCWS) จากบริษัท ASELSAN ประเทศตุรกี โดยทำการทดสอบยิงแบบทีละนัด ยิงแบบเป็นชุด ยิงขณะหยุดอยู่กับที่ และยิงขณะเคลื่อนที่




AFV-420P “Mosquito” ติดป้อมปืนอัตโนมัติ ทดสอบยิงครั้งแรก! …รถเกราะล้อยาง 4x4 AFV-420 P สร้างโดยบริษัท Panus Assembly ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการติดตั้ง ASELSAN’s Remote Controlled Weapon Systems (RCWS) 
ทำการทดสอบยิงครั้งแรกเพื่อให้ทหารนาวิกโยธินไทยชม หลังจากประสบผลสำเร็จในการทดสอบสมรรถนะของตัวรถมาแล้ว




ระบบป้อมปืนอัตโนมัติ “SARP” จาก ASELSAN ประเทศตุรกี มีจุดเด่นที่ประกอบด้วย กล้องตรวจจับสร้างภาพด้วยความร้อน กล้องทีวี และกล้องเลเซอร์วัดระยะ ซึ่งสามารถจับเป้าหมายได้ในระยะ 50-10,000 เมตรหรือ 10 กม. ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน 
มีจอภาพสีแสดงข้อมูลการทำงานอย่างละเอียด สามารถซูมกล้องเพื่อตรวจสอบเป้าได้อย่างชัดเจน ป้อมมีระบบรักษาเสถียรภาพที่ดีเยี่ยม ตัวปืนจะอยู่นิ่ง แม้ว่ารถจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดก็ตามทำให้มีการยิงที่รวดเร็วและแม่นยำ เพียงนัดแรกก็สามารถทำลายเป้าหมายได้แล้ว 
ป้อมปืนหมุนได้รอบตัว 360 องศา มุมกระดก-30 /+60 องศา กล่องบรรจุกระสุนขนาด 12.7 มม.จุได้เต็มที่ 400 นัด นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ยังสามารถกำหนดค่าอัตราการยิงได้ตามความต้องการทั้งการยิงทีละนัดและการยิงเป็นชุด รวมถึงแสดงจำนวนกระสุนที่ยิงได้ด้วย 
ทำให้ยานรบนี้มีความได้เปรียบในการรบ เหมาะสำหรับการลาดตระเวนในแนวหน้า ตามคอนเซ็ปของรถรบทหารราบและใช้งานสำหรับทหารม้าลาดตระเวนป้อมนี้นอกจากติดปืน 12.7 มม.ได้แล้วยังสามารถใช้ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.ได้อีกด้วย


AFV-420P “Mosquito” ติดตั้ง RCWS SARP ได้ทำการทดสอบยิงเมื่อ 18 พ.ค. 2562 ที่สนามทดสอบอาวุธของกองทัพเรือไทย โดยยิงทดสอบในลักษณะยิงอยู่กับที่และวิ่งยิง มันได้โชว์สมรรถนะที่ยอดเยี่ยม ผลการยิงมีความแม่นยำ ท่ามกลางทหารนาวิกโยธินที่มาร่วมชม 
โดย RCWS นี้ติดตั้งปีนกล 12.7 มม. ซึ่งเป็นของทหารนย.ไทยเอง จากผลการทดสอบระบบอาวุธและการทดสอบภาคสนามของ AFV-420P ทำให้ Panus Assembly มีโอกาสสูงที่จะขายรถ AFV รุ่นใหม่ให้กับกองทัพไทย …
ASELSAN เผยว่า ป้อมปืนอัตโนมัติ “SARP” นี้ ได้รับความนิยมนำไปติดตั้งกับรถรบแบบต่างๆทั้งที่เป็นรถเกราะสายพานและรถรบล้อยาง มีการขายไปแล้วกว่า 3,000 ระบบ ให้กับกองทัพต่างๆทั่วโลก... Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1735110306592073

การทดสอบรถเกราะล้อยาง AMV-420P Mosquito 4x4 ที่พัฒนาโดยบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย ที่ติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ บบ SARP ของบริษัท ASELSAN ตุรกี พร้อมปืนกลหนัก ปก.๙๓ Browning M2HB ขนาด .50cal(12.7x99mm) นั้น
(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/afv-420p-aselsan-sarp.html)
ได้รับการทดสอบการยิงครั้งแรก ณ สนามทดสอบอาวุธ ของกรมสรรพาวุธทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) โดยมีนายทหารของ กองพันรถถัง(Marine Tank Battalion) และ กองพันลาดตระเวน(Marine Reconnaissance Battalion) กองพลนาวิกโยธิน(Royal Thai Marine Corps Division) รับชม

ปก.๙๓ M2HB ที่ติดตั้งกับป้อมปืน ASELSAN SARP ถูกระบุว่าเป็นปืนของนาวิกโยธินไทยเอง โดยรถเกราะล้อยาง V-150 ที่ประจำการใน กองร้อยยานเกราะ พัน.ถ.นย. ก็ติดป้อมปืนแบบมีพลบังคับภายในป้อมที่ติดตั้ง ปก.M2 .50cal และปืนกลร่วมแกน HK MG3 ขนาด 7.62mm(เดิม V-150 4x4 เคยประจำการใน พัน.ลว.นย.)
รถเกราะล้อยาง AMV-420P 4x4 ไทยที่ติดป้อมปืน SARP ได้รับการควบคุมการทดสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก ASELSAN ตุรกี ที่นับเป็นการนำระบบอาวุธของตุรกีมาใช้ในไทยเป็นครั้งแรกๆ โดยจะเป็นได้ว่าหน้าจอสถานีควบคุมภายในรถของป้อมปืนนี้มีส่วนติดต่อ Interface เป็นภาษาตุรกีอยู่ครับ

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ภาพยานเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider 8x8 รุ่นใหม่และยานยนต์อื่นๆที่พัฒนาในไทยโดยปรีชาถาวร


19 June 2019: Army Research and Development Office ,Royal Thai Army committee has visited Thailand company's Preecha Thavorn Industry Co.,Ltd. at its factory in Samut Sakhon province.





Photos was revealed new improved prototype of Defence Technology Institute (DTI)'s Black Widow Spider 8x8 wheeled armoured personnel carrier (APC) for RTA requirement.


Modifications of Toyota Hilux Revo 4x4 with add-on armour by Preecha Thavorn Industry.


DTI-2 122mm Multiple Rocket Launcher system (MLRS) based-on Royal Thai Army's Type 85 APC chassis to replace obsoleted Type 82 130mm MLRS in Preecha Thavorn Industry's factory.

19 มิ.ย.62 ตรวจเยี่ยม บ.ปรีชาถาวร
19 มิ.ย. 62 เวลา 1000 พล.ต. ชูเกียรติ ช่วยเพชร ผอ.สวพ.ทบ./หน.คณะตรวจเยี่ยมด้านการวิจัย ทบ. นำคณะฯ ตรวจเยี่ยม บ.ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม หน่วยงานนอก ทบ. 
โดยมี คุณชัยณรงค์ ปูชนียกุล กรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ เพื่อรับทราบความต้องการ/โจทย์การวิจัย ณ บ.ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จว.ส.ค.
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2772437906160214

ชุดภาพที่นายทหารของ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ. นำคณะตรวจเยี่ยมด้านการวิจัย ณ โรงงานของ บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด(Preecha Thavorn Industry Co.,Ltd.) ที่ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒
ได้เปิดเผยถึงรถต้นแบบของยานเกราะล้อยาง ACPC ที่เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ของยานเกราะล้อยางลำเลียงพล DTI Black Widow Spider(BWS) 8x8 APC(Armoured Personnel Carrier) สำหรับกองทัพบกไทย ที่ออกแบบโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. หรือ DTI
โดยบริษัท ปรีชาถาวร อุตสาหกรรม ได้รับสัญญาจาก DTI ให้ปรับปรุงฟื้นฟูสภาพต้นแบบยานเกราะล้อยาง APC(คันที่๑) วงเงิน ๒,๔๙๕,๐๐๐($77,943.80) ที่ได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015)(https://aagth1.blogspot.com/2015/11/defense-security-2015.html)

DTI ยังมีความคืบหน้าในโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยาง(ระยะที่๒) ที่ต่อเนื่องมาจากยานเกราะล้อยาง DTI BWS 8x8 ทั้งงานจ้างออกแบบระบบไฟฟ้ายานเกราะล้อยาง 8x8 วงเงิน ๔,๙๘๖,๒๐๐บาท($155,818.75) โดยบริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีพ อินดัสตรีส์ จำกัด,
จัดซื้อป้อมปืนกลหนัก 12.7mm/เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm และอุปกรณ์ประกอบติดตั้งบนต้นแบบยานเกราะล้อยาง APC(คันที่๑) วงเงิน ๒๕,๐๗๒,๐๐๐บาท($800,000) จากบริษัท ST Engineering Land LTD.สิงค์โปร์ จากที่รถต้นแบบเคยติดตั้งป้อมปืน RWS(Remote Weapon Staion) แบบ Elbit Systems UT30MK2 ขนาด 30mm อิสราเอล
และการจัดซื้อระบบควบคุมบังคับบัญชา(BMS: Battle Management System) ระบบป้องกัน Anti Heat Screen สำหรับต้นแบบยานเกราะล้อยาง ACPC(คันที่๒) วงเงิน ๒๕,๙๙๘,๐๐๐บาท($812,177.52) โดยบริษัท ดาต้าเกท จำกัด ที่แสดงถึงการสร้างยานเกราะล้อยาง 8x8 ต้นแบบคันที่สอง

ภาพถ่ายภายในโรงงานของบริษัทปรีชาถาวรอุตสาหกรรม ยังแสดงถึงรถยนต์บรรทุกติดตั้งเกราะเสริมที่น่าจะพัฒนาจากการดัดแปลงรถยนต์บรรทุก Toyota Hilux Revo 4x4 ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นรถต้นแบบสำหรับใช้งานทางยุทธวิธีที่จะมีการนำมาทดสอบการใช้งานสาธิตแก่กองทัพไทยต่อไป
รวมถึงรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 กองทัพบกไทยที่ดัดแปลงติดตั้งแท่นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm แบบหกเหลี่ยม ๒๐ท่อยิงที่พัฒนาโดย DTI ไทยตามโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูง(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/first-win-dti-2-type-85.html)
คจลก.DTI-2 122mm นี้ได้รับการทดสอบการยิงจริงที่สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่มาแล้ว โดยจะถูกนำมาทดแทน จลก.๓๑ Type 82 ขนาด 130mm ๓๐ท่อยิง ที่ติดตั้งบน รสพ.Type 85 จีนที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) จำนวน ๖ระบบซึ่งล้าสมัยไปแล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Rolls-Royce จะปรับปรุงเครื่องยนต์เพื่อยืดอายุเครื่องบินลำเลียง C-130H กองทัพอากาศไทย

R-R engine upgrade to extend Thai Hercules life



Rolls-Royce has received an engine upgrade contract that will extend Thailand’s operational use of the Lockheed Martin C-130H tactical transport and also reduce the maintenance demands of its turboprop engines.
https://www.flightglobal.com/news/articles/r-r-engine-upgrade-to-extend-thai-hercules-life-459139/

บริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาจากกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่จะยืดอายุการใช้งานปฏิบัติการของเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules
ด้วยการปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop ของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด Lockheed C-130H Hercules สหรัฐฯ ที่จะยังช่วยลดความต้องการในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ลง

ตามการประกาศเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ข้อตกลงนี้ทำให้กองทัพอากาศไทยเป็น "ลูกค้านานาชาติรายแรกที่จะปรับปรุงฝูงบิน บ.ล.๘ C-130H ของตนด้วยเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop ตระกูล T56 Series 3.5 รุ่นปรับปรุงใหม่"
บริษัท R-R สหราชอาณาจักรกล่าวว่าการปรับปรุงจะครอบคลุมเครื่องยนต์ T56 ทั้งหมด ๕๘เครื่อง โดยในขั้นแรกระยะเวลาสามปีจะครอบคลุมการปรับปรุงเครื่องยนต์จำนวน ๒๐เครื่อง วงเงิน ๙๐๖,๘๑๘,๓๐๐บาท($28,950,627)

ศูนย์ซ่อมบำรุงที่ได้รับอนุญาตจาก Rolls-Royce(AMC: Authorized Maintenance Center) คือบริษัท Segers Aero Corporation ที่ Fairhope มลรัฐ Albama สหรัฐฯจะดำเนินงานปรับปรุงแก่กองทัพอากาศไทย
ซึ่ง Rolls-Royce อังกฤษผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานรายใหญ่ของโลกกล่าวว่าจะมีการดำเนินการระหว่างช่วงระยะเวลาของกำหนดการยกเครื่อง(Overhaul)

"การปรับปรุงเครื่องยนต์ T56 เป็นรุ่น Series 3.5 จะช่วยให้กองทัพอากาศไทยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่มีผลมาจากการลดความต้องการในการซ่อมบำรุงลง และมอบศักยภาพการประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ถึงร้อยละ๑๒
ทำให้กองทัพอากาศไทยสามารถประจำการฝูงเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules ของตนไปได้อย่างน้อยจนถึงปี 2040(พ.ศ.๒๕๘๓)" R-R อังกฤษ กล่าว

Fleets Analyzer แสดงข้อมูลว่ากองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ประจำการอยู่ทั้งหมด ๑๒เครื่อง ณ ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง ๒๖-๓๘ปี ประกอบด้วยรุ่นลำตัวสั้น C-130H ๖เครื่อง และรุ่นลำตัวยาว C-130H-30 ๖เครื่องคือ
C-130H หมายเลข 60101, 60102, 60103 เข้าประจำการ พ.ศ.๒๕๒๓(1980), C-130H-30 60104 ปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983), C-130H-30 60105, 60106 ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), C-130H-30 60107 และ C-130H 60108 ปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) และ C-130H 60109, 60110 และ C-130H-30 60111, 60112 ปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992)

ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศไทยได้ดำเนินการปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ล.๘ C-130H ทั้ง ๑๒เครื่องล่าสุดคือการปรับปรุงระบบ Avionic ที่ดำเนินการโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด TAI(Thai Aviation Industries) กับบริษัท Rockwell Collins สหรัฐฯในปี พ.ศ.๒๕๕๓(2010)
แม้ว่า บ.ล.๘ C-130H ชุดแรกจำนวน ๓เครื่องจะเข้าประจำการครบรอบ ๔๐ปีในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณกองทัพอากาศไทยจึงยังไม่มีแผนจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ในเร็วๆนี้(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html)

การปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ T56 ได้ถูกรับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการดำเนินการปรับปรุงความทันสมัยของฝูงบินเครื่องบินลำเลียง C-130 รุ่นดั้งเดิมของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Lockheed P-3 Orion ที่ถูกใช้งานโดยสำนักงานบริหารภาคพื้นทะเลและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ(NOAA: National Oceanic and Atmospheric Administration) ครับ