วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ในประเทศต่อ

Japan commits to local F-35 production

The Japanese Ministry of Defense has said declining costs has influenced a decision to continue locally producing F-35s for the JASDF. (JASDF)



กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ยืนยันแผนที่จะเดินหน้าสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ภายในประเทศต่อไป ความเคลื่อนไหวนี้สวนทางการตัดสินใจในปลายปี 2018 ที่จะยุติสายการผลิตในประเทศของญี่ปุ่น
ณ โรงงานประกอบและตรวจสอบขั้นสุดท้าย FACO(Final Assembly and Check Out) ที่ Nagoya และมุ่งเน้นที่ศูนย์บำรุงรักษา, ซ่อม, ยกเครื่อง และปรับปรุง(MRO&U: Maintenance, Repair, Overhaul and Upgrade) ของเครื่องบินขับไล่ F-35 ในประเทศแทน

ความเคลื่อนไหวก่อนหน้าดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นจากค่าใช้จ่ายที่สูงของการสร้างเครื่องบินขับไล่ F-35 ณ โรงงาน FACO ของบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35.html
อย่างไรก็ตามโฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ว่าการตัดสินใจใหม่ที่จะเดินหน้าการสร้างเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่โรงงาน FACO ของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากค่าใช้การผลิต F-35 ภายในประเทศที่ลดลง

โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่าการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ภายในประเทศขณะที่ได้มีราคาถูกกว่าการนำเข้าเครื่องบินขับไล่ F-35 จากสหรัฐฯแล้ว
โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้พูดคุยกับ Janes ให้หลังสามสัปดาห์จากที่รัฐบาลสหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้การขายเครื่องบินขับไล่ F-35 เพิ่มเติมแก่ญี่ปุ่น 105เครื่องวงเงิน $23 billion(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a-f-35b-105.html)

รูปแบบการขาย Foreign Military Sale(FMS) ของสหรัฐฯนี้จะทำให้ญี่ปุ่นจะมีเครื่องบินขับไล่ F-35 ประจำการรวม 147เครื่อง กลายผู้ใช้งาน F-35 รายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) จำนวน 105เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) จำนวน 42เครื่อง

"สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ในปีงบประมาณ 2019 และปีงบประมาณ  2020...กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะสายการผลิตภายในประเทศ ณ โรงงาน FACO...
มันได้รับการยืนยันแล้วว่าราคาต่อหน่วยของเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่ผลิต ณ โรงงาน FACO ในประเทศมีราคาถูกกว่าราคาต่อหน่วยของเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่นำเข้า" โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

ญี่ปุ่นได้เริ่มตั้งสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ในโรงงาน FACO ของตนตั้งแต่ปี 2013 โดยเครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องแรกที่สร้างในประเทศได้ถูกเปิดตัวในเดือนมิถุนายนปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ได้เริ่มการปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas-Mitsubishi F-4EJ Kai Phantom II ที่ใช้งานมานานและนำเครื่องบินขับไล่ F-35A เข้าประจำการเสริมเพื่อทดแทนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Mitsubishi ญี่ปุ่นและ Boeing สหรัฐฯลงนามข้อตกลงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-15J

MHI, Boeing sign DCS agreement to upgrade Japanese F-15J fleet
An artist’s impression of the JSI configuration for Japan’s fleet of upgraded F-15J Eagle fighters. (Boeing)



Mitsubishi Heavy Industries (MHI) and Boeing have signed a Direct Commercial Sale (DCS) agreement to support upgrades to Japan’s fleet of F-15J Eagle combat aircraft. (JASDF)



บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น และบริษัท Boeing สหรัฐฯได้ลงนามข้อตกลงรูปแบบการขายเชิงพาณิชย์โดยตรง Direct Commercial Sale(DCS)
เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงความทันสมัยของฝูงเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-15J Eagle กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force)

ข้อตกลง DCS ถูกประกาศโดย Boeing สหรัฐฯเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2020 ได้วางรากฐานสำหรับโครงการปรับปรุงความทันสมัยที่กว้างขวางวงเงิน $4.5 billion สำหรับฝูงเครื่องบินขับไล่ F-15J กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
ให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ F-15JSI(Japanese Super Interceptor) ที่ได้รับการเปิดเผยโดยรัฐบาลสหรัฐฯในเดือนตุลาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/f-15j-98.html)

"MHI ทำการผลิตฝูงเครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นปัจจุบันภายใต้สิทธิบัตรมากกว่า 200เครื่องระหว่างปี 1980-2000 และจะรับหน้าที่ในฐานะผู้รับสัญญาหลักสำหรับการปรับปรุง Sojitz Corporation บริษัทการค้าที่ทำงานกับทีมของ Boeing ในญี่ปุ่นจะสนับสนุนความพยายามนี้" Boeing กล่าว
โดยเสริมว่านี่จะมอบการร่างภาพการฟื้นคืนสภาพ, อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน และสิ่งพิมพ์ทางเทคนิคแก่ MHI ญี่ปุ่นสำหรับการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-15J สองเครื่องแรกให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน JSI

MHI ญี่ปุ่นจะพัฒนาแผนรายละเอียดการดัดแปลงสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-15J และเตรียมการสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวกและแรงงานสำหรับการพิสูจน์(induction) และการปรับปรุง F-15J ถึง 98เครื่องที่เริ่มต้นในปี 2022
MHI ญี่ปุ่นจะรับหน้าที่ในฐานะผู้รับสัญญาหลักสำหรับส่วนการปรับปรุงของข้อตกลง DCS ขณะที่ Boeing สหรัฐฯจะรับหน้าที่ผู้รับสัญญาหลักในส่วนการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) สัญญาสำหรับทั้งสองส่วนตอนนี้คาดว่าจะมีตามมาภายหลัง

ภายใต้กรอบการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-15J ที่ญี่ปุ่นผลิตภายใต้สิทธิบัตรจะได้รับการฟื้นคืนสภาพด้วยชุดการเพิ่มขยายเพิ่มขยายขีดความสามารถระบบภารกิจและการบิน "การปรับปรุงจะนำระบบสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) และระบบอาวุธล้ำสมัยมาใช้
ระบบห้องนักบินขั้นก้าวหน้าแบบใหม่ทั้งหมด, การทำงานบนระบบ computer ภารกิจที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ที่จะมอบการเพิ่มขยายการหยั่งรู้สถานการณ์แก่นักบิน" การประกาศเปิดเผย

ตามเอกสารของสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ที่เผยแพร่ก่อนหน้าในเดือนตุลาคม 2019 ส่วนหนึ่งของชุดการปรับปรุงความทันสมัย F-15J ประกอบด้วยเช่น 
ระบบสงคราม Electronic แบบ  BAE Systems AN/ALQ-239 จำนวน 101ระบบ, ระบบ Computer ภารกิจแบบ Boeing Advanced Display Core Processor II จำนวน 116ระบบ และ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Raytheon AN/APG-82(v)1 จำนวน 103ระบบครับ

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สหรัฐฯปรับนโยบายสำหรับการส่งออกอากาศยานไร้คนขับ UAV

US revises policy for export of unmanned aircraft



The revised policy on the export of unmanned aircraft will make it easier for the United States to sell its more capable platforms, such as the MQ-9 Reaper (pictured), that are currently off limits to customers. (US Air Force)



สหรัฐฯได้เปลี่ยนนโยบายของตนเกี่ยวกับการส่งออกของระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft System) การจำแนกประเภทใหม่ของบางระบบที่ถูกจำกัดมากสุดเพื่อทำให้พวกมันง่ายต่อการขายแก่ลูกค้านานาชาติมากขึ้น ตามการประกาศโดยรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2020
นโยบายใหม่ยังคงอยู่ในกรอบของระเบียบควบคุมวิทยาการอาวุธปล่อยนำวิถี(MTCR: Missile Technology Control Regime) ที่ควบคุมอาวุธทำลายล้างสูง(WMD: Weapons of Mass Destruction) และวิธีการใช้เป็นระบบส่งของพวกมัน และแทนที่นโยบายก่อนหน้าที่ประกาศเมื่อเดือนเมษายน 2018

"นโยบายนี้เปลี่ยนการปรับปรุงความทันสมัยความมุ่งมั่นการเข้าถึงการนำกรอบระเบียบ MTCR มาบังคับใช้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้มันสะท้อนความเป็นจริงทางวิทยาการต่างๆมากขึ้น 
และช่วยพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐฯตรงตามต้องการความมั่นคงและการพาณิชย์แห่งชาติของพวกตน สหรัฐฯมองไปข้างหน้าต่อชาติที่ลงนามใน MTCR ทั้งหมดเพื่อเข้าร่วมกับเราในการนำมาตรฐานใหม่นี้มาปรับใช้" รัฐบาลสหรัฐฯกล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทำให้สหรัฐฯจะนำการเรียกร้องดุลยพินิจแห่งชาติของตนมาดำเนินการ 'ข้อสันนิษฐานที่แข็งแกร่งของการปฏิเสธ' ของ MTCR สำหรับการส่งมอบระบบในประเภทที่1(Category I)
"รัฐบาลสหรัฐฯจะปฏิบัติการเลือกกลุ่มย่อยของ MTCR ประเภท I อย่างระมัดระวัง ระบบ UAS ที่มีความเร็วในอากาศสูงสุดน้อยกว่า 800km/h" รัฐบาลสหรัฐฯกล่าว

ไม่เพียงเท่านั้นความเป็นไปได้ในการส่งมอบทั้งหมดของอากาศยานไร้คนขับทางทหารยังคงที่จำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนเป็นกรณีต่อกรณีไปเพื่อพิจารณาผลประโยชน์ของสหรัฐฯทั้งหมด 
นโยบายที่ปรับใหม่ถูกเสริมและต่อยอดนโยบายการถ่ายโอนอาวุธตามแบบสหรัฐฯ(CAT: Conventional Arms Transfer) และสอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบัญญัติควบคุมการส่งออกอาวุธ(AECA: Arms Export Control Act) และรัฐบัญญัติความช่วยเหลือต่างประเทศ(Foreign Assistance Act)

วัตถุประสงค์หลักหกประการที่เกี่ยวข้องของนโยบายนี้ที่เกี่ยงเนื่องกับการส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับ UAS ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง การปรับนโยบายใหม่นี้ทำให้สหรัฐฯสามารถที่จะขายระบบอากาศยานไร้คนขับของตนที่มีความสามารถสูงขึ้นได้ง่ายขึ้น
เช่น อากาศยานไร้คนขับ General Atomics MQ-9 Reaper นอกจากที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) แล้ว ปัจจุบันยังมีลูกค้าส่งออกในจำนวนจำกัด เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และเนเธอร์แลนด์ ครับ 

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 จีนบินขึ้นจากทะเลครั้งแรก

China's AG600 amphibious aircraft conducts first take-off from sea






China’s locally built and developed AG600 amphibious aircraft conducted its first take-off from the sea on 26 July. (AVIC)







เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 ที่จีนพัฒนาและสร้างในประเทศได้ทำการบินขึ้นจากทะเลเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2020
ตามที่ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานสาธาณรัฐประชาชนจีนประกาศในวันเดียวกันผ่าน Website สื่อสังคม online Weixin ของตน

AVIC กล่าวว่าเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 ได้ทำการบินขึ้นจากผิวน้ำทะเลนอกชายฝั่งเมือง Qingdao ทางตะวันออกของมณฑล Shandong เมื่อเวลา 1018h(ตามเวลาท้องถิ่น) 
ดำเนินชุดการทดสอบความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ทางอากาศ และเสร็จสิ้นการบินทดสอบ 31นาที ภายหลังได้ทำการบินกลับไปท่าอากาศยาน Rizhao Shanzihe ที่อยู่ในมณฑล Shandong เช่นกัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่เครื่องดำเนินการทดสอบมาแต่แรก

ความเคลื่อนไหวมีขึ้นหลังจากที่เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 ทำการบินขึ้นจากผิวน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2018 จากอ่างเก็บน้ำใกล้สนามบิน Zhanghe ใน Jingmen มณฑล Hubei ทางตอนกลางของจีน(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/ag600.html)
และเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 ทำการบินขึ้นครั้งแรกจากสนามบินบนบกซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2017 จาก Zhuhai ทางตอนใต้ของมณฑล Guangdong(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/ag600.html)

ความเคลื่อนไหวมีขึ้นหลัง AVIC จีนกล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 ว่าเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 คาดว่าพร้อมส่งมอบสำหรับให้ลูกค้าได้ภายในปี 2022
"เรากำลังพยายามที่จะได้รับการรับรองความสมควรเดินอากาศจากหน่วยงานการบินพลเรือนภายในปี 2021 และส่งมอบเครื่องแก่ลูกค้าภายในปี 2020" Huang Lingcai หัวหน้านักออกแบบอากาศยานกล่าวในเวลานั้นโดยไม่ได้เอ่ยชื่อประเทศใดๆในฐานะลูกค้าที่เป็นไปได้

AG600 มีความยาว 37m ปีกกว้าง 38.8m และเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่สามที่ออกแบบและสร้างในจีน ตามเครื่องบินลำเลียงทางทหาร Y-20 ที่เข้าประจำการในปี 2016 และเครื่องบินโดยสารขนาด 190ที่นั่ง C-919 ซึ่งทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017

AG600 ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop WJ-6 จำนวนสี่เครื่อง(มีพื้นฐานจากเครื่องยนต์ใบพัด Ivchenko AI-20 ยูเครน) สามารถทำความเร็วเดินทางได้ 500km/h ทำการบินได้นาน 12ชั่วโมง และมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 53.5 tonnes
เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 มีความเป็นได้ในการสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 50คน หรือน้ำปริมาตร 12 tonnes ซึ่งถูกปล่อยจากเครื่องได้ใน 20วินาทีในภารกิจดับเพลิงครับ 

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อังกฤษ อิตาลี สวีเดนเปิดการหารืออุตสาหกรรมไตรภาคีระบบการรบทางอากาศยุคอนาคต FCAS

UK, Italy and Sweden launch trilateral industrial discussion on FCAS

Sweden has firmed-up with partnership with the UK on developing future combat aviation technologies under the FCAS programme. 
While the Tempest future fighter (pictured) forms a part of FCAS, Sweden has not yet committed to joining that particular aspect of the wider project.


A mock-up of the Tempest future fighter. 
The UK, Italy and Sweden are to enter into an industrial framework that would develop technology for the FCAS TI initiative that will feed into Tempest, and also to upgrade their current generation of Eurofighter and Gripen combat aircraft. (BAE Systems)





สหราชอาณาจักร, อิตาลี และสวีเดนทั้งสามชาติขณะนี้ได้ลงนามเป็นหุ้นส่วนในการริเริ่มทางวิทยาการระบบการรบทางอากาศยุคอนาคต(FCAS TI: Future Combat Air System Technology Initiative) ได้เริ่มต้นการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถทางการบินรบ "ชั้นนำของโลก"

บริษัทหลักต่างๆจากแต่ละชาติ บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร, บริษัท Leonardo อิตาลี และบริษัท Saab สวีเดนออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2020 ซึ่งพวกตนเน้นย้ำว่า
กรอบการทำงานจะเห็นหุ้นส่วนผสมผสานความชำนาญของพวกตนเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาวิทยาการล้ำสมัยต่างๆที่จำเป็น

"การประกาศของวันนี้สร้างบนการหารือทวิภาคีซึ่งได้มีขึ้นระหว่างภาคอุคสาหกรรมของสหราชอาณาจักรและสวีเดนและอิตาลี และจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมไตรภาคี บริษัทต่างๆจะร่วมกันประเมินค่าเส้นทางร่วมสู่ขีดความสามารถการรบทางอากาศยุคอนาคต
โดยการใช้องค์ความรู้, ความชำนาญ และกิจกรรมการพัฒนาวิทยาการของตนผ่านระบบการรบทางอากาศยุคปัจจุบันและอนาคต" แถลงการณ์ซึ่งเผยแพร่ระหว่างงานแสดงการบินนานชาติแบบเสมือนจริง Farnborough International Airshow 2020 กล่าว

บริษัท Saab สวีเดนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับสหราชอาณาจักรในโครงการ FCAS แม้ว่าจะยังไม่มความตั้งใจที่จะเข้าร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต Tempest
การประกาศในวันเปิดงานแสดงการบินเสมือนจริง Farnborough เมื่อ 20 กรกฎาคม 2020 จะเห็น Saab สวีเดนจัดตั้ง 'ศูนย์แห่งความยอดเยี่ยม' ในฐานะส่วนหนึ่งของหลายการลงทุนวงเงิน 50 million Pound Sterling($63 million) ในความเป็นหุ้นส่วน

"Saab ตัดสินใจที่จะสร้างศูนย์ FCAS ดังที่เราสามารถพัฒนาความสัมพันธ์การทำงานใช้เพิ่มเติมกับหุ้นส่วนอุตสาหกรรม FCAS และกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร นี่ตอกย้ำความสำคัญของทั้ง FCAS และสหราชอาณาจักรต่ออนาคตของ Saab"
Micael Johansson ประธานและผู้อำนวยการบริหารของ Saab สวีเดนกล่าว โดยบริษัทเสริมว่าที่ตั้งของศูนย์ใหม่ขณะนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาแล้ว

การพัฒนานี้มีขึ้น 12เดือนหลังจากที่รัฐมนตรีกลาโหมสหราชอาณาจักรในขณะนั้น Stuart Andrew และรัฐมนตรีกลาโหมสวีเดน Peter Hultqvist ได้ลงนาม MOU ในเดือนกรกฎาคม 2019 เพื่อที่ทั้งสองชาติจะทำงานร่วมกันในการพัฒนาวิทยาการการบินรบยุคอนาคตต่างๆ
ผู้แสดงความคิดเห็นอธิบายที่มาเดิม MOU ว่าสวีเดนได้เข้าร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ Tempest ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลายโครงการของ FCAS และการประกาศล่าสุดนี้เป็นการแสดงความมุ่งมั่นก่อนหน้าที่เด่นชัดขึ้น

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า Hultqvist ได้มีความกระตือรือร้นที่จะปัดแนวคิดใดๆของสวีเดนได้ลงนามต่อ Tempest ในการลงนามกับ MOU ดั้งเดิม และคำว่า 'Tempest' ได้หายได้อย่างสมบูรณ์จากแถลงการณ์ล่าสุดของ Saab สวีเดน วิทยาการ FCAS TI จะถูกนำมากับ Tempest และยังรวมถึง
การปรับปรุงเครื่องขับไล่ Eurofighter Typhoon กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) และกองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, Aeronautica Militare) และเครื่องบินขับไล่ Gripen กองทัพอากาศสวีเดน(SwAF: Swedish Air Force, Svenska flygvapnet) ในปัจจุบันครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Navantia สเปนปล่อยเรือคอร์เวต Avante 2200 ลำแรกของซาอุดีอาระเบีย Al Jubail ลงน้ำ

Navantia launches the first Corvette for Saudi Arabia



The construction NB 546/848 AL JUBAIL was launched at 5:22 p.m.




The Chairwoman of Navantia, Susana de Sarriá, has highlighted the good development of the Avante2200 program



It has been several months of work in order to meet deadlines and deliver the last of the five corvettes in 2024



วันที่ 22 กรกฎาคม 2020 เวลา 1722 บริษัท Navantia สเปนประสบความสำเร็จการปล่อยเรือลงน้ำของเรือคอร์เวต Al Jubail (828) เรือคอร์เวตแบบ Avante 2200 ลำแรกจาก 5ลำที่ถูกสร้างสำหรับกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย(RSNF: Royal Saudi Naval Forces)
พิธีปล่อยเรือลงน้ำจัดขึ้นในทางลาดกว้านเรือหมายเลข2 ณ อู่เรือ San Fernando และเป็นประธานโดยผู้บัญชาการกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย พลเรือโท Fahad Bin Abdullah Al-Ghofaily, ประธาน Navantia สเปน Susana de Sarriá,
รักษาการผู้อำนวยการบริหาร Saudi Arabian Military Industries(SAMI) ซาอุดีอาระเบีย Eng. Walid Abukhaled และผู้บัญชาการฝ่ายสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงอ่าว Cádiz กองทัพเรือสเปน(Spanish Navy, Armada Española) พลเรือโท Ricardo A. Hernández López(Alardiz)

พิธีเริ่มต้นด้วยการสวดพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานโดยนายทหารกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย จากนั้นได้มีการเปิดวิดีทัศน์เกี่ยวกับเมือง Al Jubail(ที่ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือ) 
วิดีทัศน์เร่งความเร็วเวลาได้แสดงผลลัพธ์ของการสร้างซึ่งเป็นเวลาหลายเดือนและสามารถชมได้จาก Website ของ Navantia ถัดมาเพลงชาติราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและราชอาณาจักรสเปนได้ถูกบรรเลง

ผู้บัญชาการกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียได้เน้นย้ำความสำคัญของการทำสัญญาโครงการ ALSARAWAT กับ Navantia สเปนในฐานะหนึ่งในโครงการจัดหา-ขีดความสามารถที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย
ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่งระหว่างซาอุดีอาระเบียและสเปน และขยายความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียและกองทัพเรือสเปนในการสร้างเรือ, การศึกษา และการฝึก

ผู้บัญชาการกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียยังได้บ่งชี้ว่าความสำเร็จของโครงการนี้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความต้องการโครงการต่างๆในอนาคตและความเป็นหุ้นส่วนที่ยั่งยืน
ผู้บัญชาการกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียยังแถลงว่าก้าวย่างนี้มาภายใต้กรอบการทำงานของยุทธศาสตร์ของ SAMI ซาอุดีอาระเบียเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารในซาอุดีอาระเบีย เช่นเดียวกับการเพิ่มขยายความอิสระทางยุทธศาสตร์และความพร้อมทางทหารของตน

ประธาน Navantia สเปนเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียเพื่อทำซ้ำการนำรูปแบบที่ประสบความสำเร็จมาใช้ตลอดหลายปีกับกองทัพเรือสเปน และระหว่างหลายปีล่าสุดกับกองทัพเรือชาติอื่นเช่นกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy)
และมอบขีดความสามารถระดับสูงแก่ทั้งกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียและภาคอุตสาหกรรมทางทหารของซาอุดีอาระเบียในโครงการเรือคอร์เวตและยังรวมถึงสำหรับโครงการอื่นๆในอนาคต

ต่อมา ผู้สนับสนุนเรือ, ผู้บัญชาการกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย ออกคำสั่งต่อ นาวาเอก Abdullah Alshehri ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการ(PMO: Project Management Office) ALSARAWAT กองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย ตัดริบบิ้นในนามของเขา 
และเรือคอร์เวต Al Jubail ได้ถอยออกจากจากลาดกว้านเรือและสัมผัสน้ำเป็นครั้งแรก Al Jubail มีความยาวเรือ 104m กว้าง 14m และรองรับกำลังพลได้ 102นาย(ลูกเรือและกำลังพลเสริม) ทำความเร็วได้สูงสูงสุด 27 knots ในด้านอื่นๆ มีระยะเวลาปฏิบัติการได้ 21วันด้วยเสบียงภายในตัวเรือ

เรือคอร์เวตชั้น Al Jubail เป็นรุ่นล่าสุดของแบบเรือรบที่ประสบความสำเร็จที่ Navantia ออกแบบและมีความเข้ากันได้กับผลิตภัณฑ์ล้ำสมัยของ Navantia เช่น ระบบการรบ CATIZ, ระบบควบคุมการยิงปืนเรือ DORNA, ระบบสื่อสารภายนอกและภายในบูรณาการ NAVCOMS/HERMESYS,
ระบบนำร่องและสะพานเดินเรือบูรณาการ MINERVA หรือระบบบูรณาการระบบอำนวยการ COMPLEX-SIMPLEX ร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่ผลิตโดย Navantia ภายใต้สิทธิบัตร เช่น ปืนเรือหลัก Leonardo SUPER RAPID 76mm อิตาลี,
ระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) Rheinmetall Air Defence MILLENNIUM 35mm, เครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องกำเนิดพลังงานดีเซล MTU เยอรมนี และชุด gearbox ของ RENK เยอรมนี

ตั้งแต่การตัดเหล็กแผ่นแรกมีขึ้นในเดือนมกราคม 2019 การดำเนินงานทั้งหมดของ Navantia ใน San Fernando และยังใน Puerto Real ได้มีการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
เรือคอร์เวต Al Jubail หมายเลขเรือ 828 ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างแม้ว่าจะมีการชะลอการทำงานที่เป็นผลจากการระบาดของ coronavirus Covid-19 
ในข้อเท็จจริงหลักการความปลอดภัยในพิธีปล่อยเรือลงน้ำได้กำหนดให้ผู้เข้างานทุกคนต้องได้รับการวัดอุณหภูมิ, สวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย

สำหรับเรือคอร์เวตชั้น Al Jubail ลำต่อไปที่จะตามมา วัตถุประสงค์คือกู้คืนเวลาและตรงหลักก้าวย่างสำคัญขั้นต้น ดังนั้นเรือลำที่สองจะสามารถปล่อยเรือลงน้ำได้ในเดือนพฤศจิกายน 2020
หลังจากพิธีปล่อยเรือลงน้ำ นาวาเอก Abdullah Alshehri ผู้อำนวยการ PMO ALSARAWAT กองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย ได้รับชมความคืบหน้าในการสร้างเรือคอร์เวต Al Diriyah (830) ในทางลาดกว้านเรือหมายเลข3

โครงการเรือคอร์เวตซึ่งเข้าสู่การบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2018 ได้เสริมความแข็งแกร่งอนาคตอันใกล้ของ Navantia และเป็นประโยชน์ต่ออู่เรือของบริษัททั้งหมดและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในรอบอ่าว Cádiz
โดยเฉพาะยิ่งการกะปริมาณงานทั่วโลกราว 7ล้านชั่วโมงนั้นได้แปลงเป็นงานที่จะถึง 6,000ตำแหน่งในแต่ละปีระหว่าง 5ปีข้างหน้า จากตำแหน่งงานเหล่านี้มากกว่า 1,100คนจะเป็นพนักงานโดยตรง 
มากกว่า 1,800คนจะเป็นพนักงานในอุตสาหกรรมเสริมของ Navantia และมากกว่า 3,000ตำแหน่งจะเป็นพนักงานทางอ้อมที่ได้รับการจ้างโดยผู้รับสัญญารายอื่น ที่จะมีมากว่า 1,000บริษัทเพิ่มเติมที่มีความร่วมมือในโครงการ

โครงการซึ่งเรือลำสุดท้ายจะสามารถส่งมอบได้ในปี 2024 รวมถึงการเพิ่มเติมเพื่อสร้างการสนับสนุนตลอดอายุการใช้งานเป็นเวลา 5ปี จากการส่งมอบเรือลำแรก โดยมีตัวเลือกเพิ่มอีก 5ปี
ในอีกแง่หนึ่งสัญญายังรวมถึงการจัดส่งหลายการบริการเช่น การบูรณาการการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง การฝึกการปฏิบัติการและการบำรุงรักษาเพิ่มเติม, การจัดส่งการศูนย์การฝึกสำหรับระบบการรบและควบคุมระบบสำหรับเรือ, 
การสนับสนุนตลอดอายุการใช้งานที่กล่าวถึงก่อนหน้า, และระบบสำหรับการบำรุงรักษาเรือในฐานทัพเรือ Jeddah ของกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียครับ

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศสหรัฐฯจะรับเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่ริบจากตุรกี

USAF to take Turkish F-35s forfeited over Russian GBAD procurement



The first of a planned 100 F-35As for Turkey seen at its rollout before the country was excluded from the programme in July 2019. 
The USAF is to take six such aircraft that were to be built in Lot 14, and is expected to absorb the already-built and in-production Turkish jets as well. (Lockheed Martin)

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) จะได้รับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ที่เดิมมีกำหนดจะส่งมอบให้ตุรกี
ก่อนที่ตุรกีจะถูกตัดออกจากโครงการ JSF(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/f-35.html) ตามที่ตุรกีจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ของรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/s-400.html)

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2020 ว่าเครื่องบินขับไล่ F-35A สายการผลิต Lot 14 จำนวน 8เครื่องที่ตั้งไว้สำหรับตุรกีขณะนี้จะถูกโอนไปยังกองทัพอากาศสหรัฐฯแทน
ความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการตัดสินใจของรัฐบาลตุรกีที่จะเดินหน้าการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน(GBAD: Ground-Based Air-Defence) แบบ S-400 ตุรกี

เครื่องบินขับไล่ F-35A สำหรับตุรกีเดิมทั้ง 8เครื่องจะได้รับการดัดแปลงเป็นรูปแบบการปฏิบัติการเต็มอัตราของกองทัพอากาศสหรัฐฯ F-35A ตุรกีเดิม 6เครื่องที่เป็นหัวข้อของการประกาศสัญญานี้
เป็นส่วนหนึ่งของการจัดหา F-35A สายการผลิต Lot 14 จำนวน 14เครื่องของกองทัพอากาศสหรัฐฯวงเงิน $861.7 million ซึ่งทั้งหมดมีกำหนดจะถูกส่งมอบในเดือนพฤษภาคม 2026

ตุรกีเคยมีกำหนดจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 100เครื่อง และเคยถูกตั้งในบทบาทส่วนหลักในสายส่งอุปทานทั่วโลกสำหรับฝูงบิน JSF นานาชาติที่กว้างขวาง(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-35-2020.html)
อย่างไรก็ตามสหรัฐฯคัดค้านแผนของตุรกีที่จะซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 รัสเซีย ด้วยความกลัวว่าระบบรัสเซียจะสามารถเรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดที่จะเอาชนะ F-35 และความรู้ดังกล่าวนี้จะถูกส่งต่อไปยังรัฐบาลรัสเซียผ่านเครือข่ายชุดคำสั่ง

ถ้าระบบ S-400 รัสเซียเรียนรู้วิธีที่จะกำจัดขีดความสามารถตรวจจับได้ยาก(Stealth) ของ F-35 จากนั้นประสิทธิภาพการปฏิบัติการโดยรวมของโครงการความมั่นคงที่แพงที่สุดในโลกจะอยู่ในความเสี่ยง
และด้วยเหตุนี้ในเดือนกรกฎาคม 2019 ตรุกีจึงได้ถูกตัดออกจากโครงการ JSF อย่างเป็นทางการ ตามด้วยห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่ของ F-35 ได้ถูกย้ายออกจากตุรกีในเดือนมีนาคม 2020

ชิ้นส่วนของอากาศยานเกือบ 900ส่วน รวมถึงโครงสร้างลำตัวส่วนกลางและจอแสดงผลห้องนักบินได้ถูกผลิตในตุรกี โดยมีภาคอุตสาหกรรมภายในตุรกีหลายรายมีส่วนร่วม เช่น Turkish Aerospace รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกี
นักบินและช่างอากาศยานราว 25นายของกองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force) ได้ถูกแจ้งให้ทราบในวันที่ 17 กรกฎาคม 2019 ว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ F-35 JPO อีกต่อไป และมีกำหนดที่ต้องเดินทางกลับตุรกีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/f-35a.html)

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศสหรัฐฯวางแผนอนาคตการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ F-15 Eagle

USAF to map future Eagle capability upgrades
The first of an initial eight F-15EX seen being built at Boeing’s St Louis facility in Missouri. The USAF has plans to buy as many as 144 of these aircraft over the coming years. (US Air Force)


An artist’s impression of the F-15EX Advanced Eagle. The USAF is looking to chart a roadmap of future upgrades for this and the F-15E, with the issuance of an RFI to industry. (Boeing)



กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) เพื่อสร้างแผนผังแนวทางสำหรับการปรับปรุงขีดความสามารถในอนาคตต่อเครื่องบินขับไล่ตระกูล Boeing F-15 Eagle
เอกสาร RFI การรวบรวมผู้เข้าแข่งขันการวางแนวทางถูกประกาศโดยกอง F-15 กรมเครื่องบินขับไล่และอากาศยานขั้นก้าวหน้า(AFLCMC/WAQ, Fighters and Advanced Aircraft Directorate, F-15 Division) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2020

กองทัพอากาศสหรัฐฯมองหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องความเป็นไปได้ทางวิทยาการและการเพิ่มขีดความสามารถที่จะรวมถึงการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-15EX Advanced Eagle ในอนาคต และหรือสำหรับความเข้ากันได้ร่วมกับฝูงเครื่องบินขับไล่ F-15E Strike Eagle รุ่นดั้งเดิม

"กอง F-15 ในความร่วมมือกับกองบัญชาการยุทธทางอากาศ(ACC: Air Combat Command) เป็นเจ้าภาพการประชุมเชิงปฏิบัติการนักรบสงคราม(ผู้ปฏิบัติงานและช่างซ่อมบำรุง) เพื่อระบุและลำดับความสำคัญช่องว่างขีดความสามารถในปัจจุบันและอนาคต 
ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการถูกนำมาใช้ในการสร้างรายการลำดับความสำคัญของช่องว่างเดี่ยวที่โดยทั่วไปถูกตัดออกแบ่งเป็นหกประเภท" กองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว

หกประเภทเหล่านี้ประกอบด้วย การปฏิบัติให้ลุล่วง(Prosecute)-ความสามารถเพื่อโจมตีและกำจัดเป้าหมาย, ความอยู่รอด(Survive)-ความสามารถที่จะมีชีวิตรอดตลอดการโจมตีกับระบบข้าศึกต่างๆ,
การยืนหยัด(Persist)-ความสามารถที่จะขยายการปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่ต้องการ, การทำงานร่วมกัน(Interoperability)-ความสามารถที่จะสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับระบบอาวุธอื่นๆ,

การบำรุงรักษา(Maintain)-ความสามารถที่จะดำรงความพร้อมของฝูงบิน F-15E/F-15EX, การฝึก(Train)-ความสามารถที่จะสนับสนุนการฝึกแก่ผู้ปฏิบัติงานและช่างซ่อมบำรุง
ขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐฯเผนแพร่การจำแนกหกประเภทดังกล่าวเหล่านี้ มีการเน้นว่าการระบุข้อบกพร่องในหัวข้อแต่ละประเภทนั้นถูกปกปิดในชั้นความลับ

กองทัพอากาศสหรัฐฯได้ทำสัญญากับบริษัท Boeing สหรัฐฯเพื่อการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-15EX Advanced Eagle ชุดแรก การประกาศสัญญาสายการผลิตไม่เกินกว่า Lot 1 ประกาศเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2020 เป็นวงเงิน $1.2 billion
และครอบคลุมการออกแบบ, การพัฒนา, การบูรณาการ, การผลิต, การทดสอบ, การยืนยัน, การรับรอง, การส่งมอบ, การดำรงสภาพ และการดัดแปลงของเครื่องบินขับไล่ F-15EX ขั้นต้นจำนวน 8เครื่อง

เช่นเดียวกับอะไหล่, อุปกรณ์สนับสนุน, สิ่งวัสดุการฝึก, ข้อมูลทางเทคนิค และการสนับสนุนทางเทคนิค การประกาศสัญญานี้เป็นหลายๆคำสั่งซื้อระยะ 10ปี 
และช่วงสมรรถนะการส่งมอบไม่จำกัดครั้งไม่จำกัดจำนวน(IDIQ: Indefinite Delivery Indefinite Quantity) ระยะ 15ปี สัญญาการพัฒนาและจัดซื้อจัดจ้างวงเงิน $22.89 billion สำหรับ F-15EX ถึง 200เครื่อง

"F-15EX เป็นแนวทางที่เหมาะสมและรวดเร็วที่สุดเพื่อฟื้นฟูขนาดและปรับปรุงขีดความสามารถให้กับฝูงเครื่องบินขับไล่ F-15C/D ที่มีอายุการใช้มานานของเรา F-15EX พร้อมที่จะต่อสู้ทันทีที่มันออกจากสายการผลิต" พลอากาศเอก Mike Holmes ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศกล่าว
ตามข้อมูลจากเอกสารแจ้งเตือนสัญญากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ งานเกี่ยวกับคำสั่งการส่งมอบแรกจะถูกดำเนินการใน St Louis มลรัฐ Missouri และฐานทัพอากาศ Eglin AFB(Air Force Base) มลรัฐ Florida และคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2023 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อินเดียจะรับมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส 5เครื่องแรกในปลายเดือนกรกฎาคม 2020

Indian Air Force expects delivery of first five Rafale fighters in late July


France’s Dassault Aviation in October 2019 released images of the second of 36 Rafale aircraft ordered for the IAF in September 2016. (Dassault Aviation/G. Gosset)



กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) กำลังคาดว่าการส่งมอบเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Dassault Rafale ฝรั่งเศสชุดแรก 5เครื่องจากทั้งหมด 36เครื่อง
จะมีขึ้นก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม 2020 ตามการแถลงโดยกระทรวงกลาโหมอินเดียในนครหลวง New Delhi เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2020

เครื่องบินขับไล่ Rafale คาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการ ณ สถานีกองทัพอากาศ Ambala Air Force Station(AFS) ทางตอนเหนือของอินเดียในวันที่ 29 กรกฎาคม 2020 "ขึ้นกับปัจจัยทางสภาพอากาศ" กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าว
โดยเสริมว่าไม่มีแผนการครอบคลุมสื่อเมื่อเครื่องเดินทางมาถึงอินเดีย พิธีการนำเครื่องเข้าประจำการสุดท้ายจะมีขึ้นในครึ่งหลังของเดือนสิงหาคม 2020

"นักบินและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินกองทัพอากาศอินเดียได้รับการฝึกที่ครอบคลุมกับเครื่องบิน รวมถึงระบบอาวุธขั้นก้าวหน้าระดับสูงของเครื่อง และมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราแล้วตอนนี้ 
หลังการมาถึงของเครื่อง ความพยายามจะมุ่งเน้นไปที่การนิยามเชิงปฏิบัติการของเครื่องบินโดยเร็วที่สุด" กระทรวงกลาโหมอินเดียเสริม

อินเดียสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่องในปี 2016 ที่วงเงิน 7.9 billion Euros($9.04 billion)(https://aagth1.blogspot.com/2016/09/rafale-36.html
และได้รับมอบเครื่องแรกในพิธีที่จัดขึ้น ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศสเมื่อเดือนตุลาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/rafale.html)

ขั้นต้นเคยคาดว่าเครื่องบินขับไล่ Rafale หนึ่งในสี่เครื่องจะทำการบินเดินทางมาถึงสถานีกองทัพอากาศ Ambala AFS ในเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม 2020
เพื่อเข้าประจำการในฝูงบินที่17(No.17 Squadron) 'Golden Arrows' ซึ่งถูกกำหนดให้ประจำการเครื่องบินขับไล่ Rafale ทั้งหมดรวม 18เครื่อง โดยฝูงบินตั้งห่างจากชายแดนปากีสถาน 200km

สำหรับ Rafale ฝูงที่สองนั้นคาดว่าจะประจำการในฝูงบินที่101(No.101 Squadron) 'Falcons' รวม 18เครื่องเช่นกัน ซึ่งมีที่ตั้ง ณ สถานีกองทัพอากาศ Hasimara AFS ทางตะวันออกของอินเดียใกล้พรมแดนกับจีน
อย่างไรก็ตามการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale แก่อินเดียได้มีความล่าช้าที่เป็นผลเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19 ครับ

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Putin ทำพิธีวางกระดูกงูเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Project 23900 สองลำแรกของรัสเซีย

Russia lays down two universal helicopter carriers for first time 


The ceremony was attended by Russian President Vladimir Putin

Three leading Russian shipyards simultaneously laid down six new ocean-going ships on Monday





เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ 2ลำใหม่ล่าสุดสำหรับกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy, VMF) ได้วางกระดูกงูเรือเป็นครั้งแรก ณ อู่เรือ Zaliv ใน Kerch, Crimea เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2020
พิธีวางกระดูงูเรือได้เชิญประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ทำการตอกแผ่นโลหะลงบนชิ้นส่วนกระดูกงูเรือของเรือยกพลขึ้นบกเอนกประสงค์(Universal Landing Ships, UDK) ชั้น Project 23900 ลำแรก

"วันนี้(20 กรกฎาคม 2020) สามอู่เรือชั้นนำของรัสเซียได้ทำการวางกระดูงูเรือเดินสมุทรใหม่ 6ลำพร้อมกัน ที่นี่ใน Kerch นี่คือเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมเอนกประสงค์ 2ลำ
ที่อู่เรือ Severnaya ใน St. Petersburg คือเรือฟริเกต 2ลำ และที่อู่เรือ Sevmash ใน Severodvinsk คือเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน 2ลำ" ประธานาธิบดีรัสเซีย Putin กล่าว

วิดีทัศน์การถ่ายทอดสดพิธีวางกระดูงูเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 2ลำที่ Kerch ยังได้เชื่อมโยงสัญญาณภาพการทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกตชั้น Project 22350 รุ่นปรับปรุงสองลำใหม่ชื่อ Admiral Yumashev และ Admiral Spiridonov ที่อู่เรือ Severnaya
และเรือดำน้ำติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนพลังงานนิวเคลียร์(SSGN) ชั้น Project 885M Yasen-M สองลำใหม่ชื่อ Voronezh และ Vladivostok ซึ่งจะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง Hypersonic ที่อู่เรือ Sevmash

เรือฟริเกตชั้น Project 22350 มีสองลำที่เข้าประจำการแล้วคือ Admiral Gorshkov และ Admiral Kasatonov อยู่ระหว่างการสร้างและทดลองเรือสองลำคือ Admiral Golovko และ Admiral Isakov และรุ่นปรับปรุงใหม่ที่กำลังสร้างสองลำคือ Admiral Amelko และ Admiral Chichagov
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนชั้น Project 885M ถูกสร้างออกมาก่อนหน้าแล้ว 6ลำคือ K-561 Kazan, K-573 Novosibirsk, K-571 Krasnoyarsk, K-564 Arkhangelsk, Perm และ Ulyanovsk(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_24.html)

เรือดำน้ำติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Project 885 รุ่นแรกลำแรกคือ K-560 Severodvinsk เข้าประจำการในกองเรือทะเลเหนือ(Northern Fleet) กองทัพเรือรัสเซียในปี 2014 โดยเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 885M รุ่นปรับปรุงลำแรก K-561 Kazan จะเข้าประจำการในปี 2020 นี้
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 885/885M สามารติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Kalibr-PL และ/หรือ Oniks รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง Hypersonic แบบ Tsirkon(Zircon) ได้(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/ssbn-laika.html)

เรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ชั้น Project 23900 ใหม่สองลำ(ลำดับการสร้างหมายเลข 01901 และ 01902) ได้รับการตั้งชื่อเรือว่า Ivan Rogov และ Mitrofan Moskalenko
พัฒนาโดยสำนักออกแบบ Zelenodolsk(ZPKB) ในเครือ United Shipbuilding Corporation(USC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือรัสเซีย โดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ลงนามสัญญาสร้างเรือในเดือนพฤษภาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/project-23900.html)

เรือยกพลขึ้นบกเอนกประสงค์ชั้น Project 23900 ยังสามารถถูกเรียกได้ว่าเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock) มีระวางขับน้ำ 25,000tons โดยมีความยาวตัวเรือสูงสุดประมาณ 220m สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดหนักได้มากกว่า 20เครื่อง 
และมีอู่ลอย(Well Dock) ท้ายเรือสำหรับรองรับการเข้าเทียบของเรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU: Landing Craft Utility) ภายในตัวเรือยังมีห้องบรรทุกสำหรับยานเกราะและรถถัง และจะสามารถรองรับการลำเลียงทหารราบทางเรือ(Naval Infantry) ได้ถึง 900นาย

เดิมในปี 2011 กองทัพเรือรัสเซียเคยสั่งจัดหาเรือชั้น Mistral จากฝรั่งเศส โดยมีการสร้างเสร็จสองลำคือ Sevastopol และ Vladivostok ซึ่งต่อมาถูกขายต่อให้กองทัพเรืออียิปต์(Egyptian Navy) เข้าประจำการในชื่อ L1010 Gamal Abdel Nasser และ L1010 Anwar El Sadat
เนื่องจากในปี 2014 ฝรั่งเศสได้ระงับการส่งมอบเรือให้รัสเซียเพื่อตอบโต้รัสเซียที่เข้าผนวก Crimea และแทรงแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลยูเครนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/mistral.html)

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อินโดนีเซียเข้าหาออสเตรียสำหรับความเป็นไปได้การขายเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon

Indonesia approaches Austria for potential sale of Eurofighter Typhoons



Austria’s first Typhoon, which landed in the country in 2007. (Austrian Air Force)

รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto ได้เขียนจดหมายถึงรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรีย Klaudia Tanner หุ้นส่วนของเขา โดยแสดงความสนใจในการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Eurofighter Typhoon ในข้อความตอนท้าย
กองทัพอากาศออสเตรีย(AAF: Austrian Air Force, Österreichische Luftstreitkräfte) มีเครื่องบินขับไล่ Typhoon ประจำการ 15เครื่อง ซึ่งบรรลุความพร้อมปฏิบัติการในกลางปี 2008

"เพื่อบรรลุเป้าหมายของกระผมที่จะปรับปรุงความทันสมัยกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ดังนั้นกระผมใคร่ขอเสนอที่จะเข้าสู่การหารืออย่างเป็นทางการกับ ฯพณฯ ท่าน
ถึงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ทั้งหมด 15เครื่องจากออสเตรียสำหรับกองทัพอากาศของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย" Prabowo กล่าวในจดหมายของเขาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2020

ในจดหมายสำเนาซึ่งถูกส่งในรูปแบบ electronic ถึง Janes เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2020 รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo ยังกล่าวพาดพิงถึงปัญหาการใช้งานที่ปรากฎที่กองทัพอากาศออสเตรียเผชิญกับเครื่องบินขับไล่ Typhoon ของตน
ตั้งแต่เข้าประจำการข้อจำกัดด้านงบประมาณได้จำกัดการใช้งานเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ของออสเตรียที่เพียง 1,500 ชั่วโมงบินต่อปีตลอดทุกเครื่อง

เช่นนั้นแล้ว นักบินเครื่องบินขับไล่ Typhoon กองทัพอากาศออสเตรียได้ทำการบินเพียง 70-80 ชั่วโมงบินในแต่ละปี แทนที่จะเป็นตามแผนที่ปีละ 110 ชั่วโมงบิน ขณะที่มาตรฐาน NATO สำหรับนักบินพร้อมรบจะมีชั่วโมงบินอยู่ที่ 180 ชั่วโมงบินต่อปี ตามข้อมูลจาก Janes All the World’s Aircraft
ดังนั้นออสเตรียจึงมีแผนที่จะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Typhoon ทั้ง 15เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/eurofighter-typhoon-2020.html) และมีการยื่นฟ้องร้องบริษัท Airbus(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/airbus-eurofighter-typhoon.html)

"กระผมรับทราบประเด็นข้อกังวลของ Eurofighter อย่างเต็มที่และผลกระทบที่มีจนถึงวันนี้ในออสเตรีย และกระผมตระหนักอย่างครบถ้วนถึงความอ่อนไหวของเรื่องนี้ ถึงกระนั้นก็ตาม กระผมมั่นใจว่าข้อเสนอของกระผมได้เสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำหรับทั้งสองฝ่าย
ท้ายที่สุดขอให้กระผมแสดงความหวังอย่างจริงใจว่า การหารือเพื่อพิจารณาของเราจะเปิดบทใหม่ในความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างเราสองประเทศ กระผมรอคอยที่จะได้รับการตอบกลับที่น่านับถือยิ่งของท่าน" จดหมายของ Prabowo กล่าวในช่วงท้าย

อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรีย Tanner ได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2020 ว่า ออสเตรียจะยังคงประจำการเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ต่อไป อย่างน้อยตราบเท่าที่สัญญาปัจจุบันกับบริษัท Airbus คงดำเนินอยู่
ตามที่มันจะมีราคาที่ต้องชดใช้แพงมากที่จะถอนตัวจากสัญญากับ Airbus แม้ว่ารัฐมนตรีกลาโหมออสเตรียจะไม่ได้เปิดเผยว่าสัญญานี้มีกำหนดจะสิ้นสุดลงเมื่อไรครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/typhoon-saab-105.html)