วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K สหรัฐฯทำการทดสอบในทะเลครั้งแรก

US Marine Corps CH-53K performs first sea trials



The US Marine Corps (USMC) Sikorsky CH-53K King Stallion heavy-lift helicopter performed sea trials during a two-week period in early June over the Atlantic Ocean. (US Marine Corps)



เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53K King Stallion นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ได้ดำเนินการทดสอบการปฏิบัติการในทะเลครั้งแรกของตน 
ระหว่างช่วงระยะเวลาสองสัปดาห์ในต้นเดือนมิถุนายน 2020 เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ตามการแถลงของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)

การทดสอบดำเนินขึ้นบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock) ชั้น Wasp คือ LHD-1 USS Waps ชุดการทดลองในทะเลเป็นส่วนหนึ่งของชุดการทดสอบเพื่อประมินค่าสมรรถนะของอากาศยานปีกหมุนในทะเล
โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K รวมทั้งหมด 200เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/hh-60w.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/05/ch-53k.html)

การดำเนินการทดสอบรวมถึงการทดลองการบินขึ้นและลงจอด, การติดเครื่องยนต์หมุนใบพัดและดับเครื่อง, ความเข้ากันได้กับการปฏิบัติการบนเรือ
การทดสอบทั้งหมดดำเนินการในความเร็วลมที่เพิ่มขึ้นและหลายหลายทิศทางลม การทดสอบส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกับการปฏิบัติการบินขึ้นและลงจอดบนเรือ

โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ Megan Wasel กล่าวเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2020 ว่าทีมทดสอบในการเพิ่มเติมการขยายคุณลักษณะรูปแบบการบินขึ้นและลงจอด ที่ถูกดำเนินการทดสอบความเข้ากันได้กับการปฏิบัติการประจำเรือหลายแบบ
การทดสอบต่างๆเหล่านี้รวมถึงการเชื่อต่อกับระบบเติมเชื้อเพลิงอากาศยานและระบบกำเนิดพลังงานไฟฟ้าภายนอกประจำเรือ การทดสอบยังรวมถึงการบำรุงรักษาเฮลิคอปเตอร์ขณะวางกำลังบนเรือ

เพื่อให้มั่นใจว่าเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K จะมีขนาดพอดีในทุกพื้นที่ตลอดดาดฟ้าบินและโรงเก็บอากาศยานภายในของเรือ และการประเมินค่าขั้นตอนการร้อยสายโซ่และผูกมัดตรึงตัวเครื่องกับพื้นเรือ
ฮ.ลำเลียงหนัก CH-53K ดำเนินการปฏิบัติการลงจอดและบินขึ้นจากเรือ 364ครั้งจากจุดลงจอดทั้ง 9จุดบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHD-1 USS Waps ระหว่างการทดสอบระยะเวลาสองสัปดาห์

CH-53K King Stallion เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างใหม่เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53E Super Stallion นาวิกโยธินสหรัฐฯที่มีอายุการใช้งานมานาน
โดยใช้การออกแบบอัจฉริยะยุคใหม่ ให้มีความน่าเชื่อถือสูง, ต้องการการบำรุงรักษาต่ำ, มีความพร้อมปฏิบัติการสูง และเพิ่มความอยู่รอดในการปฏิบัติการ จากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าส่วนใหญ่ที่ยากลำบากและห่างไกลครับ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รัสเซียจะปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 ให้เทียบเท่า Mi-28NM รุ่นล่าสุด

Russian hi-tech firm to upgrade Mi-24 attack helicopter to latest-generation gunship

Latest modernization Mi-24P-1M attack helicopter at MAKS-2019 International air show in 27 August to 1 September 2019


Also, the helicopter’s lighting equipment has been adapted for using night vision goggles



กลุ่มวิทยาการวิทยุ-ไฟฟ้า(KRET, Radio-Electronic Technologies Group) ในเครือ Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย กำลังดำเนินงานเพื่อปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-24 
ให้เป็นมาตรฐานระดับเดียวกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28NM รุ่นล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/mi-28nm-mi-38t-2019.html) Alexei Panin ผู้อำนวยการบริหารของ Rychag Company(เป็นส่วนหนึ่งของ KRET) กล่าวเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2020

"ชุดช่วยการป้องกันตัวที่หาคู่แข่งเปรียบเทียบไม่ได้ทั้งในรัสเซียและในโลกได้ถูกติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์ มันได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Stella-K และทำให้เป็นการสร้างโล่ป้องกันเฮลิคอปเตอร์จากระบบอาวุธที่ก้าวหน้ามากที่สุด เช่นเดียวกับการลาดตระเวนทางวิทยุ-เทคนิค และการก่อก่วนสัญญาณ 
อุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้าขั้นก้าวหน้าที่ติดตั้งในเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 ทำให้มันเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลการรบอย่างมีประสิทธิเมื่อเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์โจมตีรุ่นล่าสุด ในราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใหม่" ผู้อำนวยการบริหาร Rychag รัสเซียกล่าว

หลังการปรับปรุง ฮ.โจมตี Mi-24 จะมีคุณสมบัติติดตั้งอุปกรณ์ประจำเครื่องแบบล่าสุดที่พัฒนาโดยบริษัทในเครือ KRET ห้องนักบินในตำแหน่งที่นั่งหลังจะถูกสร้างโดยใช้หลักการห้องนักบินแบบ 'Glass Cockpit'
ห้องนักบินจะถูกติดตั้งด้วยอุปกรณ์นำร่องขั้นก้าวหน้าทีทำให้เป็นไปได้สำหรับการปฏิบัติการ ฮ.โจมตีทั้งกลางวันและกลางคืนในทุกสภาพอากาศและที่เพดานบินต่ำ การใช้แผนที่ Digital บนพื้นฐานหลักการบินด้วยสายตาและเครื่อวัดประกอบการบิน

อุปกรณ์การให้แสงสว่างของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 ยังได้รับการปรับแต่งสำหรับการใช้กล้องมองกลางคืน(NVG: Night Vision Goggles) ด้วย
ระบบควบคุมอาวุธแบบล่าสุดจะทำใหเพิ่มอำนาจการยิงของ ฮ.โจมตี Mi-24 และเพื่อทำให้สามารถรองรับการใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกล โดยอาวุธปล่อยนำวิถีหลายแบบได้รับการขยายการรองรับการติดตั้งใช้งานมากขึ้น

ในงานแสดงการบินและอวกาศนานาชาติ MAKS 2019 ที่ Zhukovskiy ใกล้นครหลวง Moscow รัสเซียระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม-1 กันยายน 2019 ที่ผ่านมา Russian Helicopters กลุ่มผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนรัสเซีย 
ในเครือ United Aircraft Corporation(UAC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียได้เปิดตัวเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24P-1M ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงความทันสมัยของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-24P

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24P เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมากของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 ที่ใช้งานในกองทัพรัสเซียเอง ระบบอาวุธประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศอัตโนมัติขนาด 23mm สองกระบอกที่ด้านข้างหัวเครื่อง
คานอาวุธข้างลำตัวรวม 6ตำบลสามารถติดอาวุธได้หนักรวม 2.5 tonnes ในแต่ละจุดแข็งรอบรับอาวุธเช่นลูกระเบิดขนาด 50kg-500kg กระเปาะจรวด และอาวุธปล่อยนำวิถี รวมถึงสามารถบรรทุกทหารไปกับเครื่องได้ 8นาย ทำให้ Mi-24 เป็นการผสมระหว่าง ฮ.โจมตี กับรถรบทหารราบครับ 

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2563

สมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register อังกฤษจะรับรองเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD จีนสำหรับกองทัพเรือไทย




China State Shipbuilding Corporation (CSSC) was displayed model of 22,000 tons landing platform dock (LPD) at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)

The Royal Thai Navy (RTN) has signed a contract to procure from China a Type 071E (Yuzhao)-class landing platform dock (LPD). The deal was signed in Beijing on 9 September and is reportedly worth THB4 billion (USD130 million).



Royal Thai Navy's Pattani-class offshore patrol vessels (OPVs) OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 HTMS Naratiwat.

Hudong-Zhonghua Shipbuilding selects LR for two naval projects.
LR to provide assurance and certification services for vessels being built for the Algerian and Thai navies.

สมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register(LR) สหราชอาณาจักรได้รับเลือกเพื่อการมอบบริการการรับประกันและการรับรองแก่อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับสองโครงการทางเรือที่สำคัญกับกองทัพเรือแอลจีเรีย(Algerian Naval Force) และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ภายใต้กฎระเบียบเรือนาวี(Naval Ship Rules) ของ LR

โครงการของกองทัพเรือแอลจีเรียประกอบด้วยเรือคอร์เวตขนาด 96m จะถูกออกแบบและสร้างโดยกฎระเบียบเรือนาวีของ LR เรือคอร์เวตถูกออกแบบสำหรับการปฏิบัติการต่างๆรวมถึงการลาดตระเวน, คุ้มกัน และปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลภายในน่าน้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแอลจีเรีย
เรือคอร์เวตจะรองรับลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือและกำลังพล 78นาย มีพิสัยทำการที่ 3,500nmi และสามารถทำความเร็วสูงสุดที่เกิน 27 knots เรือมีกำหนดการส่งมอบในปี 2022

โครงการที่สองคือเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Type 071E สำหรับกองทัพเรือไทย ความยาวเรือ 210m สามารถบรรทุกนาวิกโยธินได้ ๘๐๐นายและรถสะเทินน้ำสะเทินบกได้ ๒๐คัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_23.html
และมีอู่ลอย(well-deck) ท้ายเรือที่สามารถวางกำลังยานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft Air Cushion) หรือ Hovercraft ขนาด 150 tonnes ได้ถึง ๔ลำ

เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD สำหรับกองทัพเรือไทยยังได้รับการติดตั้งโรงเก็บอากาศยานขนาดใหญ่สองห้องที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ถึง ๔เครื่องและดาดฟ้าบินท้ายเรือที่สามารถปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ได้ ๒เครื่อง คาดว่าวันการส่งมอบเรือ LPD คือปี 2023
นอกเหนือจากภารกิจตามแบบในการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกทางทหารที่เพิ่มมากขึ้น กองทัพเรือไทยยังจะใช้เรือ LPD สำหรับภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ด้วย

เรือ Type 071E LPD สำหรับกองทัพเรือไทยเป็นรุ่นส่งออกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ปัจจุบันประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ซึ่งยังได้รับการสร้างโดยอู่เรือ HZ จีน
สมาคมจัดชั้นเรือ LR สหราชอาณาจักรจะมอบบริการการรับรอบการออกแบบและการสร้างแก่อู่เรือ HZ จีนตามกฎระเบียบเรือนาวีของ LR

"การได้รับเลือกให้ร่วมงานบนเรือนาวีเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ที่ยาวนานของเรากับ Hudong-Zhonghua จีนและกองทัพเรือทั้งสองประเทศ 
เราประสบความสำเร็จในการเสร็จสิ้นงานกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessels) ขนาด 95m สำหรับกองทัพเรือไทยระหว่างปี 2003-2006(เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส) 
และสนับสนุนการสร้างเรือคอร์เวตขนาด 2,880 tonne สำหรับกองทัพเรือแอลจีเรียระหว่างปี 2013-2016(เรือคอร์เวตชั้น Adhafer)" Maogen Xue หัวหน้า LR ภาคจีนแผ่นดินใหญ่กล่าว

David Lloyd ผู้อำนวยการธุรกิจนาวีสากลกล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้รับเลือกโดย Hudong-Zhonghua จีนเพื่อสนับสนุนโครงการเรือสองแบบที่แตกต่างกันมาก 
เป็นการแสดงถึงความสามารถของ LR เพื่อมอบบริการความยืดหยุ่น, การปรับแต่งการรับประกันและรับรองทางนาวีที่สนับสนุนลูกค้าของเราอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นี่ยังพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างสองบริษัท เช่นเดียวกับความปรารถนาทั้งสองฝ่ายเพื่อขยายประสบการณ์ที่สำคัญในความเป็นหุ้นส่วนการสร้างเรือนาวีที่จะนำกองทัพเรือไปรอบโลก"

กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD จำนวน ๑ลำ วงเงินรวมราว ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6) กับ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือของจีนเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ก่อนหน้านี้กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จีน ๑ลำเป็นลำแรก แต่ผลกระทบจากการระบาด Covid-19 ที่งบประมาณกลาโหมถูกตัดลดลงทำให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ ถูกยกเลิกไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19.html)

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563

โมร็อกโกลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache สหรัฐฯ

Morocco signs for Apache helos


Morocco has become the 17th and latest customer for the AH-64E Apache Guardian, with an order for 24 helicopters announced on 25 June. (Janes/Kelvin Wong)

โมร็อกโกได้ลงนามสัญญาสำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian จำนวน 24เครื่องในวงเงินที่ไม่เปิดเผยมูลค่า บริษัท Boeing สหรัฐฯผู้ผลิตประกาศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2020
สัญญาการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ได้รับการลงนามสักช่วงเวลาก่อนหน้าการประกาศ การส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian แก่โมร็อกโกจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2024

Boeing สหรัฐฯไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมของสัญญาในส่วนรูปแบบระบบอุปกรณ์และอาวุธและอาวุธที่จะติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache สำหรับโมร็อกโก
แม้ว่าบริษัทจะให้ระยะเวลาสำหรับการส่งมอบ โดยเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E เหล่านี้จะถูกสร้างในรูปแบบมาตรฐานรุ่น Version 6 ล่าสุด

ข่าวของการลงนามสัญญามีขึ้นให้หลัง 7เดือนจากที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอนุมัติการขาย ฮ.โจมตี Apache จำนวน 36เครื่องเช่นเดียวกับอุปกรณ์, อาวุธ, การฝึก และสนับสนุนที่เกี่ยวข้องแก่โมร็อกโกในวงเงินประมาณ $4.25 billion
ยังคงต้องรอดูต่อไปว่าสัญญาสำหรับ ฮ.โจมตี AH-64E จำนวน 24เครื่องที่มีขึ้นนี้เป็นจำนวนทั้งหมดที่โมร็อกโกจัดซื้อ หรือ ฮ.ที่เหลืออีก 12เครื่องจะถูกจัดหาตามมาภายหลังหรือไม่

ในเดือนพฤศจิกายน 2019 รายการอุปกรณ์ในเอกสารที่ประกาศโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เป็นมาตรฐานพอประมาณของ ฮ.โจมตี AH-64E สำหรับโมร็อกโก
ขณะที่ระบบอาวุธประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Lockheed Martin AGM-114L/R Hellfire, ชุดจรวดนำวิถี laser แบบ BAE Systems Advanced Precision Kill Weapon System(APKWS) และจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70 ขนาด 70mm มากกว่า 5,000นัด

และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Raytheon AIM-92H Stinger ยังรวมถึงระบบมาตรการต่อต้านป้องกันตัว เช่นเดียวกับอุปกรณ์ Manned-Unmanned Teaming-2(MUMT-2) ประจำเครื่องสำหรับควบคุมอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)
"ข้อเสนอการขายนี้จะสนับสนุนนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯโดยการช่วยเหลือต่อการเพิ่มความมั่นคงของพันธมิตรนอก NATO ที่เป็นกองกำลังสำคัญสำหรับเสถียรภาพทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในแอฟริกาเหนือ" DSCA กล่าวในปี 2019

โมร็อกโกได้กลายเป็นลูกค้ารายที่17 และรายล่าสุดสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64 Apache โดย Boeing สหรัฐฯยังคาดที่จะได้รับการลงนามจัดซื้อ AH-64E จากลูกค้ารายใหม่ในภูมิภาคแปซิฟิก(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/boeing-ah-6i-ah-64e.html)
ซึ่ง Boeing ระบุว่าลูกค้าใหม่ที่ลึกลับดังกล่าวไม่ใช่ฟิลิปินส์ซึ่งได้รับอนุมัติการขาย ฮ.โจมตี AH-64E Apache จำนวน 6เครื่องไปเมื่อเดือนเมษายน 2020 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/ah-64e-apache-ah-1z-viper.html)

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ไทยวางแผนสร้างนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

Thailand plans new 'defence industry estate'




Thailand is preparing to set up its first defence industry estate, with the aim to support local programmes such as the upgrade of Royal Thai Air Force Northrop F-5 fighter aircraft (pictured). (Janes/Kelvin Wong)(Thanawat Wongsaprom)



กระทรวงกลาโหมประเทศไทยกำลังผลักดันการเดินหน้าด้วยแผนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแห่งแรงในไทย โดยตั้งเป้าเพื่อส่งเสริมพึ่งพาตนเองของประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/blog-post_28.html)
กระทรวงกลาโหมไทยตั้งเป้าที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมผ่านความเป็นหุ้นส่วนหน่วยงานภาครัฐ-ภาคเอกชน ซึ่งตามที่รัฐบาลไทยจะมีความร่วมมือกับบริษัทต่างๆของไทยและต่างประเทศในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโรงงานต่างๆ

ในฐานะส่วนหนึ่งของแผน กระทรวงกลาโหมไทยยังจะย้ายที่ตั้งของโครงข่ายโรงงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหลายแห่งของประเทศที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพเป็นเจ้าของมาอยู่รวมภายในนิคมอุตสาหกรรมใหม่
นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศใหม่เมื่อเปิดใช้งานจะถูกวางตำแหน่งให้ตรงความต้องการของกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) ในแง่ของการผลิตและการให้บริการที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น การบำรุกรักษา, ซ่อม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul)

นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแห่งแรกของไทยยังถูกคาดหวังว่าจะตรงความต้องการภายในภูมิภาคกลุ่มชาติ ASEAN ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาล่าสุดรัฐบาลไทยได้กำลังทบทวนสถานที่สองแห่งที่ถูกเสนอสำหรับเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม 
ที่หนึ่งคือ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรีห่างจากกรุงเทพฯทางตะวันตก 150km(มีขนาด ๓,๐๐๐ไร่ หรือ 4.8 square km) อีกที่คือ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีห่างจากกรุงเทพฯทางตะวันออก 100km

พื้นที่ในกาญจนบุรีเป็นที่ชื่นชอบมากกว่าเนื่องจากเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีชุมชนโดยรอบ ส่วนทางพื้นที่ในชลบุรีมีความเป็นไปได้น้อยกว่าเนื่องจากพื้นที่มีขนาดเล็กกว่าและกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เจ้าของพื้นที่มีโครงการก่อสร้างอื่นที่จะเชื่อมโยงกับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา
Jane's เข้าใจว่ากระทรวงต่างๆของรัฐบาลไทยล่าสุดได้เริ่มต้นความเป็นไปได้กับมุมมองที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบนที่ดินที่กองทัพไทยเป็นเจ้าของในจังหวัดดังกล่าว การศึกษาคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม 2020

"กาญจนบุรีมีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพราะว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จัดตั้งโดยรัฐบาลไทย"
พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหมไทย กล่าวให้ความเห็นในรายงานโดยหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020)

นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศถูกตั้งเป้าเพื่อสนับสนุนโครงการภายในไทย เช่นการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ จำนวน ๑๔เครื่องเป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ F-5TH Super Tigris ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในไทยและต่างประเทศครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

อินโดนีเซียส่งสัญญาณความเป็นไปได้ในการเพิ่มงบประมาณกลาโหมปี 2021 อย่างมาก

Covid-19: Indonesia signals potential major increase in defence spending



Indonesia has proposed a strong increase in defence spending for 2021, with procurement identified as a priority. The country’s modernisation targets include the acquisition of the Harimau medium tank (pictured) developed by PT Pindad and FNSS. (FNSS)



อินโดนีเซียอาจจะอยู่ในเส้นทางการเพิ่มงบประมาณที่สูงขึ้นเท่าที่มีมาเกือบ 150 trillion Indonesian rupiah($10.6 billion) สำหรับงบประมาณประจำปี 2021 ถ้าการยื่นข้อเสนองบประมาณได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาอินโดนีเซียในปี 2020 นี้
ข้อเสนองบประมาณถูกตั้งข้อสังเกตว่าอินโดนีเซียอาจจะอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งมากขึ้นในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาด Coronavirus Covid-19 มากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า

กระทรวงการคลังอินโดนีเซียกล่าวว่ารายงานนโยบายงบประมาณประจำปีที่ได้นำเสนอต่อรัฐสภาอินโดนีเซียล่าสุด กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ระบุระดับความต้องการงบประมาณสูงสุดที่ 129.3 trillion Indonesian rupiah สำหรับงบประมาณปี 2021
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยังเสนอข้อมูลในการประชุมคณะกรรมาธิการกลาโหมของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเพิ่มเติมงบประมาณวงเงิน 19 trillion Indonesian rupiah ที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการริเริ่มหลายอย่าง รวมถึงการจัดหาทางทหาร

ถ้าได้รับการอนุมัติข้อเสนอจะมอบงบประมาณกลาโหมวงเงิน 148.3 trillion Indonesian rupiah สำหรับปี 2021 นี่แสดงถึงการเพิ่มวงเงินขึ้น 25.9 trillion Indonesian rupiah หรือร้อยละ21 มากกว่าที่ได้รับอนุมัติงบประมาณกลาโหม 122.4 trillion Indonesian rupiah ในปี 2020
เดิมงบประมาณกลาโหม 2020 ได้รับอนุมัติที่วงเงิน 131.2 trillion Indonesian rupiah แต่ได้ถูกตัดลดลงตามการออกคำสั่งข้อบังคับของประธานาธิบดีอินโดนีเซียในเดือนเมษายน 2020 ในการตอบสนองผลกระทบของ Covid-19

รายงานนโยบายงบประมาณประจำปีกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย ลำดับความสำคัญงบประมาณสำหรับกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในปี 2021 รวมถึงการจัดซื้อเครื่องกระสุน, ยานเกราะ และเรือรบ และการสนับสนุน และการทดแทนอากาศยานทางทหาร
นอกจากนี้งบประมาณมีความต้องการเพื่อให้เสร็จสิ้น "โครงการและกิจกรรม" ที่ถูกระงับไว้ที่มีผลจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่มาจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 รายงานกล่าว

เป้าหมายการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Dara) ได้รวมถึงการจัดหารถถังขนาดกลาง Harimau(White Tiger "พยัคฆ์ขาว") 
ที่พัฒนาโดย PT Pindad รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธอินโดนีเซีย และบริษัท FNSS Savunma Sistemleri ตุรกี ซึ่งติดป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ Cockerill 3105 ของบริษัท John Cockerill เบลเยียมครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/harimaukaplan.html)

Cavalry of The Little Tiger-ทหารม้าไทยไปเกาหลี (๗๐ปีสงครามเกาหลี)





70th years anniversary Korean War began on 25 June 1950, M24 Chaffee light tank crews from Cavalry branch of Royal Thai Army (part of 1st Cavalry Division, US Army), Royal Thai Expeditionary Force was there. 

วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๓(1950) เป็นวันเริ่มต้นสงครามเกาหลีเมื่อกองทัพประชาชนเกาหลี Korean People's Army แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีบุกข้ามเส้นขนาดที่๓๘องศาเหนือรุกเข้าสาธารณรัฐเกาหลี
เป็นที่ทราบกันดีว่ากองทัพไทยในพระราชการสงครามเกาหลีได้เข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติทำการรบเพื่อปกป้องเกาหลีใต้จากเกาหลีเหนือและกองทัพอาสาสมัครประชาชนจีน People's Volunteer Army
ทหารไทยมีวีรกรรมากมายในสงครามเกาหลี ไม่ว่าจะสมรภูมิ Pork Chop Hill กองพันพยัคฆ์น้อย กรมผสมที่๒๑ กองทัพบกไทย, วีรกรรมเรือหลวงประแส กองทัพเรือไทย, หน่วยบินเครื่องบินลำเลียง C-47 กองทัพอากาศไทย แม้แต่อาสาสมัครพยาบาลสุภาพสตรีไทยในแนวหลังที่ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

แต่ดูเหมือนว่าจาก ๕ปีก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2015/01/cavalry-of-little-tiger.html) ผู้เขียนยังหาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับปฏิบัติการของเหล่าทหารม้าไทยในสงครามเกาหลีไม่ได้มากขึ้นนัก
นอกจากบทบาทของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เป็นนายทหารม้าซึ่งเคยได้ทราบมาว่าในช่วงสงครามเกาหลีมีบทบาทอยู่ร่วมสังเกตุการณ์ในคณะการเจรจาหยุดยิงที่หมู่บ้าน Panmunjom ช่วงท้ายๆของสงครามในปี 1953
ที่จบการศึกษาหลักสูตรโรงเรียนยานเกราะกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army Armor School) ที่ Fort Knox(ปัจจุบันย้ายไป Fort Benning) ในปี ๒๔๙๑(1948) ปี ๒๔๙๓(1950) ขณะมียศพันตรีได้ดำรงแหน่งผู้บังคับ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่๑ กรมทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์(ในเวลานั้น)

โดยที่กำลังกองทัพบกไทยในสงครามเกาหลีประกอบด้วยเหล่าราบเป็นหลัก แต่ก็เคยถูกจัดกำลังขึ้นสายบัญคับบัญชากับ กองพลทหารม้าที่1 กองทัพบกสหรัฐฯ ก่อนที่ต่อมาจะย้ายมาขึ้นการบัญชาการกับ กองพลทหารราบที่2(2nd Infantry Division) กองทัพบกสหรัฐฯ 
ในช่วงสงครามเกาหลีเป็นช่วงเดียวกับที่กองทัพบกไทยได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯในการปรับปรุงความทันสมัย ซึ่งก็รวมถึงการจัดตั้งกำลังทหารม้ายานเกราะสมัยใหม่ที่เป็นพื้นฐานอัตราจัดกำลังและนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
อาวุธยุทโธกรณ์เหล่าทหารม้าในยุคนั้นก็มีเช่น รถเกราะล้อยาง M8 Greyhound, รถกึ่งสายพานลำเลียง M3 half-track และรถถังเบา M24 Chaffee เป็นต้น ก็น่าสงสัยว่าในช่วงสงครามทหารม้ากองทัพบกไทยมีบทบาทการปฏิบัติการรบอย่างไรในสงครามเกาหลีครับ?

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กองทัพบกไทยทดสอบรถเกราะล้อยาง V-100 ติดป้อมปืน Remote ใหม่











Royal Thai Army's Cadillac Gage V-100 Commando 4x4 armored car fitted new Remote Weapons Station (RWS) with M2 .50 caliber (12.7x99mm) heavy machine gun and FN MAG 7.62x51mm machine gun as test-based vehicle,
trials involved by 1st Ammunition Depot, Ordnance Ammunition Depot Division, Ordnance Department, RTA and Defence Technology Institute (DTI).

Clip: Royal Thai Army's V-100 4x4 test firing new Remote Weapons Station at Royal Thai Army Artillery Center Range.

กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก โดย คลังแสงที่ 1 ได้ดำเนินการติดตั้งอาวุธ ประกอบด้วย ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว ปืนกล ขนาด 7.62 มม บนป้อมปืนอัตโนมัติ Remote Weapons Station ของ รถเกราะล้อยาง V-100 เป็นที่เรียบร้อย 
และ จะนำไปยิงทดสอบ ณ สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ในห้วง 22-26 มิถุนายน 2563 เพื่อทดสอบระบบรับแรง ระบบกล้อง และ ระบบความปลอดภัยต่อไป

วันที่ 22 มิ.ย.63 เวลา 1300-1800 กองคลังแสง โดย คลังแสง 1 นำกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ยานเกราะล้อยาง V-100 ติดตั้งระบบป้อมปืนอัตโนมัติ RWS ที่ทำการจัดปรับเส้นเล็งตามขั้นตอน Boresighting เรียบร้อย 
นำไปทดสอบและทำการยิงอาวุธปืน 2 ชนิด ได้แก่ ปก.ขนาด .50 นิ้ว และ ปก.ขนาด 7.62 มม.เพื่อทดสอบระบบการทำงานของป้อมปืนติดอาวุธ ร่วมกับระบบกล้องเล็ง บริเวณหน้าพลับพลา สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ศป.
ผลการทดสอบขีปนวิธี สามารถจัดปรับวิถีกระสุนให้เข้ากับระบบกล้องเล็งได้เป็นอย่างดี ระบบอำนวยการยิงมีความแม่นยำ ผลการยิงวันแรก เป็นที่พอใจ โดยในวันพรุ่งนี้จะทำการทดลองติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด40 มม. ความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป





การทดสอบติดตั้งและทำการยิงป้อมปืน Remote พร้อมปืนกล ปก.๓๘ FN MAG ขนาด 7.62mm และปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 .50cal แบบใหม่บนรถเกราะล้อยาง V-100 4x4 กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ที่ สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี นั้น
มีข้อมูลว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI มีส่วนร่วมในโครงการด้วย โดยก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) DTI ก็ได้นำป้อมปืน Remote ที่ตนพัฒนาเองมาทดสอบติดกับรถเกราะ V-100 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/dti-remote-v-100.html)

กองทัพบกไทยได้จัดหารถเกราะล้อยาง Cadillac Gage V-100 Commando 4x4 สหรัฐฯเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕(1972) จำนวน ๖คัน และจัดหาเพิ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๘(1975) อีก ๒๐คัน โดยประจำการในเหล่าทหารม้าเป็นหน่วยแรกที่ต่อมาได้รับมอบรถเกราะล้อยาง V-150 รุ่นใหม่กว่า
รถเกราะ V-100 ที่ถูกปลดประจำการจากกองทัพบกไทยไปก่อนหน้าแล้วจำนวนหนึ่งได้ถูกนำมาปรับปรุงความทันสมัย โดยติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลและระบบส่งกำลังใหม่พร้อมเครื่องปรับอากาศเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง เช่นการใช้เป็นรถทดสอบระบบอาวุธใหม่ในข้างต้น

มีข้อสังเกตจากชุดภาพข้างต้นว่าป้อมปืน Remote ใหม่ที่ทดสอบติดกับรถเกราะ V-100 กองทัพบกไทย ดูเหมือนกับป้อมปืน PROTECTOR Dual Remote Weapon Station(RWS) ของบริษัท Kongsberg นอร์เวย์มาก
โดยป้อมปืน Kongsberg PROTECTOR Dual RWS รองรับการติดตั้งอาวุธปืนกลขนาด 7.62mm เช่น ปก.๓๘ FN MAG ร่วมกับปืนกลหนักขนาด 12.7mm เช่น M2 .50cal หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด 40x53mm เช่น STK 40 AGL สิงคโปร์ ที่กองทัพบกไทยจะทดสอบต่อไปเป็นต้น

ป้อมปืน RWS ตระกูล Kongsberg PROTECTOR นอร์เวย์ได้รับการจัดหานำมาติดตั้งกับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล M1126 Stryker ICV(Infantry Carrier Vehicle) 8x8 กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) 
โดยป้อมปืน M151 Protector สามารถติดปืนกล M240 ขนาด 7.62x51mm(ปืนกล FN MAG เบลเยียมที่ประจำการในกองทัพสหรัฐฯ) หรือปืนกลหนัก M2 .50cal หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ Mk 19 ขนาด 40mm ได้ พร้อมเครื่องยิงลูกระเบิดควัน M6 สี่นัด

ตามที่กองทัพบกไทยได้เป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker RTA ICV 8x8 ที่เข้าประจำการ ณ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/fn-scar-stryker.html)
อาวุธที่ตั้งกับยานเกราะล้อยาง Stryker กองทัพบกไทยปัจจุบันคือ ปก.๙๓ M2 Flex .50cal หรือ ค.อัตโนมัติ STK 40 AGL แบบใช้พลยิงประจำป้อมนอกตัวรถโดยมีโล่กำบังนั้น มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีแผนที่จะปรับปรุงติดตั้งป้อมปืน Remote ใหม่ที่ทดสอบกับรถเกราะ V-100 ล่าสุดนี้ครับ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

นาวิกโยธินไทยจะจัดหายานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ๓คัน

NORINCO was displayed model of its wide range products include VN16 tracked amphibious assault vehicle and VN18 tracked infantry fighting vehicle at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photo)


NORINCO has showcased Model of VN18 Tracked Amphibious Infantry Fighting Vehicle and VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicle to offer Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos)

Chaiseri was displayed upgraded RTMC's AAVP7A1 at Defense and Security Thailand 2019.(My Own Photo)

Royal Thai Navy to buy three Amphibious Assault Vehicles
ZTD-05, also named VN-16 in the export version (Picture source: Chinese MoD)

ตามข้อมูลจาก Defense Studies กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) โดย สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(Naval Acquisition Management Office) จะได้รับงบประมาณ ๔๐๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($13,064,516) ที่คาดว่าจะประกาศการจัดจัดจ้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
สำหรับโครงการซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่๑ ซึ่งจากข้อมูลที่เผยแพร่ใน Website ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ก่อนการแก้ไขเมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ระบุว่าเป็นการจัดซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่๑ จำนวน ๓คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกดังกล่าวไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นยานเกราะแบบใด แต่เป็นที่คาดว่าจะเป็นยานเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกจู่โจม VN16 หรือรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบกสายพาน VN18 ที่ผลิตโดย NORINCO รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน(RTMC: Royal Thai Marine Corps) กองทัพเรือไทยแสดงความสนใจโดยมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปชมที่จีนมาแล้ว เช่นเดียวกับที่จีนจะสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 LPD รุ่นส่งออกให้ไทยด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)

ZTD-05 หรือในชื่อส่งออกว่า VN16 เป็นรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบกที่ออกแบบและผลิตโดย NORINCO จีนสำหรับนาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAMC: People's Liberation Army Navy Marine Corps) โดยเฉพาะ
ซึ่งจีนได้ส่งออกรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ให้กับนาวิกโยธินเวเนซุเอลา(Venezuelan Bolivarian Marine Corps) รวมกับ VN18 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD-05 ที่นาวิกโยธินจีนมีใช้งาน

รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ZTD-05 ติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm พร้อมปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm และปืนกลหนักขนาด 12.7mm ที่หลังคาป้อมปืน 
ขณะที่รถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD-05 ติดตั้งป้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm พร้อมปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง HJ-73C ที่ข้างป้อมปืนแต่ละด้านรวมสองนัด

ยานเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกตระกูล Type 05 จีนเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดกลางที่มีความเร็วขณะเคลื่อนที่ในน้ำสูงสุดถึง 45km/h และเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบกที่ก้าวหน้ามากที่สุดที่จีนออกแบบ
มีรายงานว่าจีนได้รับความช่วยเหลือจากสำนักออกแบบ Tula KBP รัสเซียโดยใช้ห้องการรบของรถรบทหารราบ BMP-3 เป็นจุดเริ่มต้น โรงงานสร้างเครื่องจักร Kurgan รัสเซียยังมีส่วนร่วมในการพัฒนารถทั้งหมดเช่นเดียวกับการเปิดสายการผลิตจำนวนมาก

ตัวเลือกอื่นยังรวมถึงรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1(Assault Amphibious Vehicle) สหรัฐฯที่พร้อมขายในรูปแบบนำรถมือสองที่เก็บสำรองไว้มาคืนสภาพใหม่(refurbished) ในราคาที่ได้เปรียบ เช่นที่ส่งออกให้ไต้หวัน(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/bae-systems-aav7a1-36.html)
หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก KAAV(Korean Amphibious Assault Vehicle) สาธารณรัฐเกาหลี เช่นที่ส่งออกให้ฟิลิปปินส์(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/kaav-ssv-tarlac.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kaav-aw159.html)

กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย.(Marine Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps Division) กองทัพเรือไทยมีรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ประจำการอยู่แล้วราว ๒๔คัน
โดยมี ๓คันที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดยบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ประเทศไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_26.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/09/aav7a1-chaiseri.html)

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ฟินแลนด์เปิดเผยการลดงบประมาณโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ HX

Finnish auditor reveals breakdown for HX procurement



The addressable cost for replacing Finland’s legacy F/A-18C/D Hornet fleet has been reduced, according to figures from Finnish auditors. (Finnish Air Force)



สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินฟินแลนด์(NAOF: National Audit Office of Finland) ออกเอกสารรายงานเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2020 ครอบคลุมการจัดซื้อจัดจ้างโครงการเครื่องบินขับไล่ HX 
และการจัดหาเรือคอร์เวตเอนกประสงค์ Squadron 2020(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/squadron-2020-pohjanmaa.html) เปิดเผยถึงราคาชุดการจัดซื้อที่ต่ำลงสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่

ในจำนวนตัวเลขที่เผยแพร่โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินฟินแลนด์ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติสำหรับจัดซื้อจัดจ้าง(หรือผู้รับหน้าที่การจัดซื้อจัดจ้าง) ของเครื่องบินขับไล่, ระบบอาวุธ และระบบตรวจจับ
มีมูลค่าเป็นวงเงินสูงสุดที่ 9.3 billion Euros($10.4 billion) ขณะที่งบประมาณเพิ่มเติมอีก 500 million Euros ได้รับการจัดสรรเพื่อเป็น "งบประมาณอื่นๆสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง"

โฆษกสำนักงานโครงการ HX ฟินแลนด์ยืนยันจำนวนวงเงินต่อ Jane's โดยวงเงิน 500 million Euros ได้เริ่มถูกนำมาใช้ค่าใช้จ่ายอย่างเช่น การบูรณาการเครื่องบินขับไล่ใหม่เข้ากับระบบป้องกันภัยของฟินแลนด์,
การส่งนักบินและช่างเทคนิคไปต่างประเทศสำหรับการฝึกในระยะแรกของการจัดหาและการวางกำลัง และการจัดวงเงินสำรองความเสี่ยง เช่นเดียวการแก้ไขหรือเพิ่มเติมงบประมาณที่เป็นไปได้

การประมาณการค่าใช้จ่ายการก่อสร้างของโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงที่สำคัญใหม่ใดๆจะได้รับการพิจารณาตามลำดับและสำหรับผู้แข่งขันแต่ละรายโดยเฉพาะ โฆษกสำนักงานโครงการ HX ฟินแลนด์เสริม
รายงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินฟินแลนด์ยังยืนยันการปรับปรุงครึ่งอายุสองครั้งที่กำหนดจะมีขึ้นในปี 2040-2041 และปี 2050-2051 โดยการกำหนดงบประมาณมีวงเงินที่ 1 billion Euros ในแต่ละครั้งตามมูลค่าเงินปี 2020

ประเด็นถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายประจำปีของการปฏิบัติการและการบำรุงรักษา(O&M: Operations and Maintenance) เกิดขึ้นระหว่างสำนักงานโครงการเครื่องบินขับไล่ HX และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินฟินแลนด์
ตามรายงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินฟินแลนด์ งบประมาณ O&M ที่ได้รับจากรัฐบาลฟินแลนด์สำหรับระบบเครื่องบินขับไล่ใหม่จะอยู่ที่ 270 million Euros ต่อปี เป็นร้อยละ10 ของงบประมาณกลาโหมประจำปี นี่ทำให้มีค่าใช้จ่ายรวมเป็นวงเงิน 20 billion Euros ในค่าเงินปี 2020 จนถึงปี 2060 

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ HX ของกองทัพอากาศฟินแลนด์(Finnish Air Force) มีขึ้นเพื่อการทดแทนเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C ที่นั่งเดี่ยว 55เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F/A-18D สองที่นั่ง 7เครื่อง
โครงการแข่งขันเครื่องบินขับไล่ใหม่ HX Challenge ได้มีบริษัทจากประเทศต่างๆส่งเครื่องบินขับไล่ของตนมาทำการประเมินค่าที่ฟินแลนด์ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2020 ประกอบด้วย

เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon โดย บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/eurofighter-typhoon-hx.html), เครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส, 
เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E และเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม GlobalEye AEW&C(Airborne Early Warning and Control) สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/saab-gripen-e.html),

เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-35a_13.html) และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler สหรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เกาหลีใต้จะศึกษาความเป็นไปได้เพื่อปรับปรุงเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50

South Korea's ADD to study possible upgrades for FA-50 light attack aircraft


South Korea’s ADD is aiming to improve the combat capabilities of the KAI FA-50 light combat aircraft, 60 units of which are currently in RoKAF service. (KAI)



สำนักงานการพัฒนาทางกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี(ADD: Agency for Defense Development) กำลังมุ่งเป้าที่จะเพิ่มขยายรูปแบบขีดความสามารถและการรบของเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา Korea Aerospace Industries (KAI) FA-50 Fighting Eagle
ซึ่งปัจจุบันเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา KAI FA-50 จำนวน 60เครื่องได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) แล้ว

ตามที่เครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II และเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-4E Phantom II ที่มีอายุการใช้งานมานานกำลังทยอยปลดประจำการจากกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
เครื่องบินขับไล่โจมตีเบาสองที่นั่งเครื่องยนต์ไอพ่นเดี่ยว FA-50 ซึ่งเดิมถูกพัฒนาสำหรับภารกิจการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support) น่าจะมีบทบาทที่ใหญ่ยิ่งขึ้นในกองทัพ เจ้าหน้าที่กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2020

ผลที่ตามมา ADD สาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2020 เพื่อเพื่อตรวจสอบว่าจะขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ในหลายภาคส่วนอย่างไร
รวมถึงความเป็นไปได้ในการติดตั้งถังเชื้อเพลิงเสริมภายนอกแนบลำตัว(CFT: Conformal Fuel Tank) เช่นเดียวกับกระเปาะชี้เป้าหมายและระบบอาวุธใหม่ที่รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond-Visual-Range Air-to-Air Missile)

เครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 Fighting Eagle เป็นรุ่นโจมตีเบาของเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50 Golden Eagle ที่ถูกพัฒนาขึ้นในแนวทางเดียวกับเครื่องบินฝึกไอพ่นต่างประเทศที่มีรุ่นฝึกและรุ่นโจมตีเบา
เช่นเครื่องบินฝึกไอพ่น Yakolev Yak-130 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html) และเครื่องบินฝึกไอพ่น Leonardo M-346 อิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/m-346.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/02/leonardo.html)

F-50 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ General Dynamics M197 Gatling-gun สามลำกล้องหมุนขนาด 20mm(ดัดแปลงจากปืนใหญ่อากาศ M61A2) ภายในลำตัวเครื่อง 
และตำบลอาวุธภายนอกลำตัว 7จุดแข็ง(หนึ่งจุดใต้ส่วนกลางลำตัวเครื่อง, สองจุดใต้ปีกทั้งสองข้างรวมเป็นสี่จุด และรางที่ปลายปีกทั้งสองข้างสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ)

FA-50 สามารถติดตั้งอาวุธได้หลายแบบ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick,
กระเปาะจรวดอากาศสู่พื้น, ระเบิดทำลาย เช่น Mk 82 ขนาด 500lbs, ระเบิดอมภัณฑ์ย่อย, ระเบิดฝึก หรืออุปกรณ์ และเป้าหมายสำหรับการฝึกครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/kai-fa-50.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50-asean.html)