วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

บาห์เรนอนุมัติการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W SuperCobra สหรัฐฯมือสอง 24เครื่อง

Bahrain approved for 24 surplus SuperCobra attack helos from US



Having been retired by the USMC in 2020, the AH-1W SuperCobra fleet is to be refurbished, modernised, and sold off to the international market. Bahrain is the first customer to be approved for such a procurement. (Janes/Patrick Allen)

บาห์เรนได้อนุมัติที่จะจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1W SuperCobra ส่วนเกิน(surplus) จำนวน 24เครื่อง สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ประกาศเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2023
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติให้บาห์เรนจะจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ที่เคยประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) รวมอะไหล่, การฝึก และการบริการต่างๆเป็นวงเงินประมาณ $350 million

"ข้อเสนอการขายจะเพิ่มพูนขีดความสามารถของบาห์เรนเพื่อให้ตรงต่อภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคตต่างๆโดยการเพิ่มขีดความสามารถของตนที่จะเติมเต็มภารกิจการลาดตระเวนทางทะเล, การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support) 
และการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search-and-Rescue)" DSCA สหรัฐฯกล่าวในเอกสารประกาศแจ้งของตน ข้อเสนอการขายที่เป็นไปได้จะต้องได้รับการอนุมัติโดยสภา Congress สหรัฐฯ ก่อนที่จะบรรลุผลเสร็จสิ้น

ข่าวการอนุมัติมีขึ้นตามมาราว 5ปีหลัง Janes รายงานครั้งแรกว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้เสนอเฮลิคอปเตอร์ส่วนเกินเหล่านี้ ทั้งการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) และ Direct Commercial Sale(DCS) แก่ลูกค้า
ตามเอกสาร DSCA บาห์เรนจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์เหล่านี้ในรูปแบบยุทโธปกรณ์ส่วนเกิน Excess Defense Article(EDA) หมายความว่าโดยพื้นฐานแล้วพวกมันเป็นของขวัญ หักลบค่าใช้จ่ายการซ่อมคืนสภาพและการขนส่ง

ตามที่ Janes ระบุในเดือนมกราคม 2018 เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W SuperCobra เหล่านี้ ซึ่งได้ปลดประจำการจากนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในปี 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/ah-1w.html)
จะเป็นครั้งแรกที่ได้รับการติดตั้งด้วยห้องนักบินแบบ glass cockpit ก่อนหน้าการส่งมอบให้แก่(บรรดา)ลูกค้าใหม่ของพวกมัน(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/ah-1w.html) บาห์เรนเป็นลูกค้ารายแรกที่ได้รับการอนุมัติการจัดหาด้วยวิธีนี้

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W SuperCobra เข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯในปี 1986 เป็นรุ่นที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1 Cobra รุ่นสงครามเวียดนามที่ยังคงประจำการในกองทัพอากาศบาห์เรน(RBAF: Royal Bahraini Air Force) 
ที่รวมถึงรุ่นเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1E/F Cobra และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper รุ่นล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/bell-ah-1z.html) เช่นเดียวกับที่ยังคงประจำการในหลายประเทศทั่วโลก

เช่น อิหร่าน, ญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/ah-1s-cobra.html), จอร์แดน(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/ah-1f-cobra.html), เคนยา, ปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/z-10-t129-ah-1z.html), 
สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/36.html), ไต้หวัน, กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/air-assault-and-combined-arms.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/01/walkaround-ah-1f-cobra.html) และตุรกี

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ General Electric T700-GE-401 สองเครื่อง ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 147knots พิสัยทำการ 256nmi(474km) 
และเพดานบินสูงสุดที่ 18,700ft.(ถูกจำกัดเพดานบินสูงสุดในการบินปฏิบัติการจริงที่ 10,000ft. จากความต้องการ oxygen) ในทุกรูปแบบการติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ทำการรบพื้นฐาน

ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดที่ 6,697kg ฮ.โจมตี AH-1W ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ M197 Gatling สามลำกล้องหมุนขนาด 20mm พร้อมกระสุน 750นัด และมีสถานีอาวุธสี่ตำบลที่ปีกคานอาวุธภายนอกลำตัว
ที่สามารถยิงจรวดอากาศสู่พื้น Hydra ขนาด 70mm และ Zuni ขนาด 127mm, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น BGM-71 TOW และ AGM-114 Hellfire, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น AGM-122 Sidearm

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W ติดตั้งระบบชี้เป้ากลางคืน/กล้องสร้างภาพความร้อน(FLIR: Forward Looking Infrared) radar ที่ให้ขีดความสามารถการวัดระยะ-ค้นหา/กำหนดเป้าหมายด้วย Laser และกล้อง
บริษัท Bell สหรัฐฯส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W SuperCobra จำนวน 179เครื่องให้กับนาวิกโยธินสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1986 จนถึงปี 1999 และปลดประจำการในเดือนตุลาคม 2020 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

ตุรกีเปิดตัวอากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 UCAV ใหม่

Turkey showcases TB3 UCAV ahead of first flight



Turkey provided a first look at the new TB3 UCAV, ahead of its formal reveal at the Teknofest event in Istanbul to be held from 27 April to 1 May 2023. (Baykar)




Bayraktar TB3 UCAV may be earmarked for service aboard Turkey's planned TCG Anadolu aircraft carrier. (Turkish Navy)



บริษัท Baykar ตุรกีได้เปิดตัวอากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 (UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ของตน ก่อนหน้าการทำการบินครั้งแรกที่กำลังจะมาถึง
ชุดภาพที่เผยแพร่ทาง online โดยบริษัท Baykar ผู้ผลิตเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2023 แสดงเป็นครั้งแรกถึงเครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีความสามารถมากกว่าอากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB2 รุ่นก่อน(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/bayraktar-tb2-uav.html)

"นับวันที่จะทำการบินครั้งแรกของมันได้" ประธานคณะอำนวยการบริหารบริษัท Baykar ตุรกี Selçuk Bayraktar เผยแพร่จากบัญชี Twitter ทางการของเขา
ตามข้อมูลจาก Baykar อากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 UCAV จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานแสดง Teknofest 2023 ที่จะจัดขึ้นในมหานคร Istanbul ระหว่างวันที่ 27 เมษายน-1 พฤษภาคม 2023 ที่จะถึงนี้

ไม่มีข้อมูลคุณลักษณะได้รับการเปิดเผย แม้ว่า Bayraktar กล่าวว่า อากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 UCAV มีขีดความสามารถที่จะพับปีกของเครื่องได้
มีข้อสังเกตว่า Bayraktar TB3 อาจจะสามารถวางกำลังบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L-400 TCG Anadolu ของกองทัพเรือตุรกี(Turkish Navy) ได้(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/baykar-kizilelma.html)

นอกเหนือจากคุณลักษณะนี้ของ Bayraktar TB3 UCAV เป็นไปได้ที่จะดึงข้อสรุปอื่นๆบางอย่างจากชุดภาพที่เผยแพร่ออกมา โดยแบ่งปันรูปแบบเดียวกันเป็นส่วนใหญ่กับ Bayraktar TB2 UCAV จากบริษัทเดียวกัน
อากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 จะมีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) ที่สูงกว่า ทำให้สามารถที่จะมีภารกรรมบรรทุกที่ใหญ่กว่าและหนักกว่าได้

น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดที่มากขึ้นของอากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 ทำให้เครื่องสามารถที่จะบรรทุกเชื้อเพลิงที่มากขึ้นเพื่อเพิ่มขยายระยะทำการหรือเวลาปฏิบัติงานในพื้นที่เปรียบเทียบกับอากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB2 
และนี่สะท้อนในสิ่งที่ดูเหมือนการเพิ่มสายอากาศสื่อสารดาวเทียมภายในตัวอากาศยาน ตามที่ปรากฏเป็นโดมส่วนหน้าด้านบนพื้นที่ส่วนโครงสร้างอากาศยาน เมื่อเปรียบเทียบกับ Bayraktar TB2 ที่แบนกว่า

อากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 ยังมีการจัดรูปแบบส่วนฐานล้อลงจอดแบบพับเก็บได้ เปรียบเทียบกับแบบตรึงประจำที่ของ Bayraktar TB2 ซึ่งบ่งชี้ว่า Bayraktar TB3 มีระบปฏิบัติการไกลขึ้น และมีความเร็วสูงขึ้น
ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Unmanned อากาศยานรบไร้คนขับ Bayraktar TB3 มีความยาว 8.5m และมีปีกกว้าง 14m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 1,450kg และสามารถบรรทุกได้ถึง 280kg มีความเร็วสูงสุดที่ 160knots และความเร็วเดินทางที่ 125knots ครับ

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์กองทัพเรือไทยประสบความสำเร็จการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block 1C ในทะเลอันดามัน
















Royal Thai Navy (RTN)'s OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the second Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) has successfully live fire Boeing Harpoon Block 1C anti ship missile at 55miles off coast Cape Panwa, Phuket Provibce, Andaman sea during Naval Exercise Fiscal Year 2023 on 28 March 2023.
The live fire exercise has inspection by Commander-in-chief of Royal Thai Navy Admiral Choengchai Chomchoengpaet, Deputy commander-in-chief of Royal Thai Navy Admiral Thaloengsak Sirisawat
Chief of Defence Forces of Royal Thai Armed Forces (RTARF) General Chalermpol Srisawat, Commander-in-chief of Royal Thai Army (RTA) General Narongpan Jittkaewtae, Deputy commander-in-chief of Royal Thai Air Force (RTAF) Air Chief Marshal Chanon Mungthanya and Commissioner-General of the Royal Thai Police (RTP) Police General Damrongsak Kittipraphat aboard on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier.



ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพ สังเกตการณ์ฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

วันที่ 28 มีนาคม 2566  พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางไปตรวจเยี่ยมและสังเกตการณ์การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น - สู่ - พื้น แบบ Harpoon Block 1C โดย เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือยิงหลัก และ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือยิงสำรอง 
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566 โดยมี พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พลอากาศเอก ชานนท์  มุ่งธัญญา รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
ร่วมสังเกตการณ์บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในพื้นที่ทะเลอันดามัน บริเวณระยะ 55 ไมล์  จาก แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต   
โดยมี พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการ การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566 ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองอำนวยการฝึกฯ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ

กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงความพร้อมของหน่วยต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศ แบ่งการฝึกเป็นวงรอบทุก 2 ปี ตามสถานการณ์ที่ถูกกำหนดขึ้น  
สำหรับการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ถึง 22 มิถุนายน 2566 มีพื้นที่การฝึกทั้งในทะเลและบนบกโดยแบ่งการฝึกเป็น 2 ส่วน คือ 
การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) มีระยะเวลาการฝึกรวม 3 สัปดาห์ ทำการฝึกระหว่าง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 17 มีนาคม 2566  
มีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการควบคุมบังคับบัญชา และทดสอบแนวความคิดในการใช้กำลังและหลักนิยมต่าง ๆ ของหน่วยบังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ 
และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ทำการฝึกระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - ถึง 12 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการของหน่วยกำลังรบประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล 
รวมทั้งเป็นการทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการต่าง ๆรวมถึงการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น - สู่ - พื้น แบบ Harpoon Block 1C  ในครั้งนี้    

นอกจากนั้น ยังมีการฝึกในหัวข้อสำคัญ ที่จะทำการฝึกในห้วงต่อไป คือ การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การยิงอาวุธประจำหน่วย และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ของกำลังภาคพื้นดิน ทั้งกำลังจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
รวมทั้งกองทัพบก และกองทัพอากาศที่ได้จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ด้วย ในขณะเดียวกัน ได้มีการฝึกด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistics Exercise: LOGEX) เพื่อทดสอบขีดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและการปฏิบัติของหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ พร้อมกันไปด้วย 
และที่สำคัญ คือ การฝึกในครั้งนี้ ได้มีการเชิญ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล( ศรชล. ) กองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในหัวข้อการฝึกต่าง ๆ อีกด้วย

สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน ได้พัฒนาโดยบริษัท McDonnell Douglas Astronautics Company ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอาวุธปล่อยนำวิถี แบบ พื้น - สู่ - พื้น และอากาศ - สู่ - พื้น เพื่อใช้ทำลายเรือผิวน้ำ  ด้วยความเร็ว 60 ไมล์ทะเล ต่อชั่วโมง 
มีคุณสมบัติ ถูกออกแบบให้มีหัวรบมีอำนาจทำลายสูง ด้วยดินระเบิดขนาด 500 ปอนด์ สามารถโจมตีเป้าหมายซึ่งมองเห็นได้ หรือที่อยู่ไกลเกินขอบฟ้า สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ สภาวะอากาศ เครื่องค้นหาเป้ามีสมรรถภาพสูง ตรวจจับเป้าได้ในระยะไกล 
มีขีดความสามารถติดตามเป้าในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งระยะยิงของอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน ที่ไกลที่สุด คือ 75 ไมล์ทะเล และสามารถค้นหาเป้าเรือผิวน้ำภายในพื้นที่รัศมีวงกลมได้มากกว่า 17,500 ตารางไมล์ 
สามารถทำการยิงได้จากเรือผิวน้ำ ด้วยการใช้แท่นยิงที่ติดตั้งบนเรือผิวน้ำซึ่งอาจจะเป็นแท่นยิงของตัวระบบฮาร์พูนเองหรือแท่นยิงของระบบอาวุธอื่น ๆ ซึ่งได้ปรับปรุงให้สามารถทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนได้

ทั้งนี้ กองทัพเรือ ได้เริ่มนำอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน แบบพื้น - สู่ - พื้น เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยติดตั้งมากับเรือคอร์เวตชุด เรือหลวงรัตนโกสินทร์ 
ต่อมาได้ทำการปรับปรุง เครื่องบินแบบ F - 27 MK 200 เมื่อปี พ.ศ.2533 ให้สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน แบบอากาศ - สู่ - พื้น เพื่อใช้โจมตีเรือผิวน้ำ ต่อมาเรือที่เข้าประจำการในกองทัพเรือหลายลำ ก็ได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนเป็นอาวุธหลัก 
ได้แก่ เรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร 2 ลำ ( เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงตากสิน ปัจจุบันประจำการอยู่ใน กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ) เรือฟริเกตชุด เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2 ลำ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ปัจจุบันปลดประจำการ)  
โดยการยิงอาวุธปล่อย นำวิถี ฮาร์พูน ในครั้งนี้ ใช้เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือยิง มี พลเรือตรี วรพาท รัตตะสังข์ ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บังคับหมวดเรือ ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน   
ซึ่งผลจากการยิง อาวุธปล่อยนำวิถี สามารถทำลายเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 55 ไมล์ ( 101.86 กิโลเมตร) ได้อย่างแม่นยำ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอาวุธปล่อยนำวิถีชนิดนี้  
นอกจากนั้นการยิง อาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน ในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก ที่มีการยิงจากเรือ ที่ต่อขึ้นเองภายในประเทศ โดย เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 ที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ 
ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร   
โดยใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นแบบพื้นฐาน

คุณลักษณะทั่วไปของเรือ
- ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
- ความยาวที่แนวน้ำ 83.00 เมตร กินน้ำลึก 3.70 เมตร
- ระวางขับน้ำไม่น้อยกว่า 1,960 ตัน
- ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 23 นอต (ที่ Full load)
- ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 3,500 ไมล์ทะเล (ที่ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 15 นอต)
ระบบอาวุธประจำเรือ
- ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ รุ่น Multi – Feeding Vulcano Super Rapid จำนวน 1 ระบบ
- ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว รุ่น Seahawk MSI-DS30MR จำนวน 2 กระบอก
- ปืนกลขนาด 0.50 นิ้ว M2 จำนวน 2 กระบอก
- อาวุธปล่อยนำวิธีพื้นสู่พื้น Harpoon Block II แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System จำนวน 1 ระบบ ประกอบด้วย 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อยิง
- ระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ 1 ระบบ ประกอบด้วย ระบบอำนวยการรบ ระบบควบคุมการยิงระบบตรวจการณ์ ระบบเดินเรือแบบรวมการ ระบบสื่อสารแบบรวมการ และการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์
- เครื่องยิงเป้าลวง ( Decoy Launcher ) จำนวน 2 แท่น

ขีดความสามารถ (Combat Capability)
- สามารถออกปฏิบัติงานในทะเลอย่างต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม
- สามารถปฏิบัติการได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5 (Sea State 5)
- สามารถตรวจการณ์ และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้าและเป้าอากาศยานได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
- สามารถโจมตีเป้าพื้นน้ำในระยะพ้นขอบฟ้าได้ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี
- สามารถป้องกันภัยทางอากาศในระยะประชิดได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ
- สามารถทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์โดยติดตั้งอุปกรณ์ ESM และออกแบบให้รองรับการติดตั้งเชื่อมต่อการใช้งานระบบเป้าลวงได้
- สามารถปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ขนาดไม่ต่ำกว่า 11.5 ตัน ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
- สามารถรองรับกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 115 นาย (กำลังพลประจำเรือ 99 นาย และปฏิบัติการทางอากาศ 16 นาย)

การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84D Harpoon Block 1C จากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ทะเลอันดามัน 55nmi จากแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต 
เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ นับเป็นเหตุการณ์สำคัญของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) โดยเป็นครั้งแรกที่เรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก.และเป็นเรือที่สร้างในไทยได้ทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/harpoon.html)

การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon Block 1C เป็นไปตามการวางแผนกำหนดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ในพื้นที่ทัพเรือภาคที่๓(3rd NAC: Third Naval Area Command) ซึ่งปัจจุบัน ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ วางกำลังที่ฐานทัพเรือพังงา จังหวัดพังงา
เรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ที่กำหนดเป็นเรือยิงสำรองในการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ครั้งนี้ ได้รับการวางแผนสำหรับการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84L Harpoon Block 2 ในการฝึกกองทัพเรือในปีถัดไป

การสังเกตการณ์การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block 1C จาก ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ โดยผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารอากาศ และ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
ได้แสดงให้เห็นว่า ดาดฟ้าบิน ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้รับการซ่อมบำรุงพื้นผิวและทำสีใหม่เสร็จแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/blog-post.html) รวมถึงเรือคอร์เวตเรือหลวงรัตนโกสินทร์ที่เป็นเรือลำแรกของกองทัพเรือไทยที่ติดอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ร่วมขบวนหมู่เรือด้วยครับ

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์กองทัพเรือไทยเตรียมการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ในทะเลอันดามัน








Royal Thai Navy (RTN) commander-in-chief Admiral Choengchai Chomchoengpaet was visited Third Naval Area Command at Phang Nga Naval Base on 26 March 2023,
include inspection on OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the second Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) is set to conduct live firing for Harpoon Block 1C anti ship missile at Andaman sea during Naval Exercise Fiscal Year 2023 soon.











ผู้บัญชาการทหารเรือ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ ตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลฐานทัพเรือพังงา 

วันที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย นางจตุพร ชมเชิงแพทย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ 
เดินทางไปตรวจเยี่ยมฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 เพื่อเยี่ยมการปฏิบัติงานและบำรุงขวัญกำลังใจแก่กำลังพล  ณ  ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ตำบลทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ในการนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะ ได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับอุปสรรค และข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3  
สำหรับฐานทัพเรือพังงาเป็นหน่วยงานหลักของกองทัพเรือในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีหน้าที่ในการส่งกำลังบำรุงแก่กำลังทางเรือของกองทัพเรือที่ออกปฏิบัติการในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน 
รวมทั้งดำเนินการด้านการกิจการพลเรือน การควบคุมเรือพาณิชย์ ตลอดจนการให้ความร่วมมือกับภาครัฐและการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
   
ต่อมา ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมความพร้อมของเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ก่อนการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566  และ เยี่ยมกำลังพล ในกองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 3 ที่ปฏิบัติงานในฝั่งทะเลอันดามัน
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กล่าวให้โอวาทแก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ว่า 
“การที่ท่านทั้งหลายยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเข้มแข็ง จึงเป็นสิ่งที่ผมและข้าราชการกองทัพเรือรู้สึกชื่นชมในความเสียสละของท่านที่มีต่อประเทศชาติของเรา ผมขอให้กำลังพลทุกนายปฏิบัติภารกิจด้วยความไม่ประมาท 
เตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจะดำเนินการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ ขอให้กำลังพลทุกนายยึดมั่นในความเสียสละปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ 
พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติการใด ๆ ขอให้พิจารณาด้วยความสุขุมรอบคอบ อดทน เพื่อเป็นหลักและเป็นที่พึ่งของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่กองทัพเรือที่ประชาชน เชื่อมั่น และภาคภูมิใจ”

สำหรับเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 ที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ 
ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
โดยใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นแบบพื้นฐาน

คุณลักษณะทั่วไปของเรือ ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 83.00 เมตร กินน้ำลึก 3.70 เมตร ระวางขับน้ำไม่น้อยกว่า 1,960 ตัน 
ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 23 นอต (ที่ Full load) ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 3,500 ไมล์ทะเล (ที่ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 15 นอต)
ระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญประกอบด้วย ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ รุ่น Multi Feeding Vulcano Super Rapid จำนวน 1 ระบบ ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว รุ่น Seahawk MSI-DS30MR จำนวน 2 กระบอกปืนกลขนาด 0.50 นิ้ว M2 จำนวน 2 กระบอก 
อาวุธปล่อยนำวิธีพื้นสู่พื้น Harpoon Block II แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System 1 ระบบ จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อยิง 
สามารถออกปฏิบัติงานในทะเลอย่างต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม และปฏิบัติการได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5 (Sea State 5) 
นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ขนาดไม่เกิน 11.5 ตัน ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน รองรับกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 115 นาย (กำลังพลประจำเรือ 99 นาย และปฏิบัติการทางอากาศ 16 นาย)

การฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/blog-post_11.html) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้กำหนดการปฏิบัติการฝึกในฝั่งทะเลอันดามัน
รวมถึงการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84D Harpoon Block 1C จากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ที่ขณะนี้วางกำลัง ณ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่๓(3rd NAC: Third Naval Area Command)

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำตระกูล Harpoon เป็นอาวุธหลักที่ติดตั้งใช้งานในเรือรบผิวน้ำหลายแบบ เช่น เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200 
ซึ่งในรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Harpoon Block 1C ได้มีการฝึกยิงมาแล้วหลายครั้ง เช่นการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร เรือหลวงตากสิน ทำการยิง Harpoon ในทะเลอันดามัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_26.html)

การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ในทะเลอันดามันโดย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖ ที่จะมีขึ้นนี้มีความสำคัญคือเป็นครั้งแรกที่กองทัพเเรือไทยทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำจากเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก.(OPV: Offshore Patrol Vessel)
และยังเป็นการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีจากเรือรบที่สร้างในไทยครั้งแรก โดยแบบเรือ 90m OPV ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรที่ส่งออกให้หลายประเทศนั้น เรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ของกองทัพเรือไทยติดตั้งอาวุธที่ก้าวหน้ามากที่สุดครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/international-fleet-review-2022-50.html)

วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

เครื่องยนต์ไอพ่น WS20 สำหรับเครื่องบินลำเลียง Y-20 จีนน่าจะถูกนำเข้าประจำการแล้ว

Chinese WS20 engine likely entering operational service



China's project goals for the domestically developed WS20 engine include greater thrust, reliability, and fuel efficiency compared with Russian engines currently powering the XAC Y-20A transport aircraft. (Janes)

เครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ Shenyang WS20 ที่จีนพัฒนาภายในประเทศสำหรับเครื่องบินลำเลียง Xi'an Aircraft Corporation(XAC) Y-20 ได้ปรากฏว่าน่าจะพร้อมสำหรับการเข้าประจำการแล้ว
ชุดภาพในสื่อสังคม Online ที่พบในกลางเดือนมีนาคม 2023 แสดงเครื่องบินลำเลียง Y-20 ที่กำลังทำการบินด้วยเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan อัตราส่วน bypass สูงสองชุดใบพัด WS20 สี่เครื่อง

เครื่องบินลำเลียง Y-20 ซึ่งถูกทำสีพรางในประจำการกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ถูกถ่ายภาพขณะทำการบินเหนือเมือง Kaifeng ในมณฑล Henan ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชุดภาพก่อนหน้าของเครื่องบินลำเลียง Y-20 รุ่นใหม่ที่ถูกอ้างถึงโดยทั่วไปว่าเครื่องบินลำเลียง Y-20B ได้ปรากฏภาพในสีรองพื้นสีเหลือง บ่งชี้ว่าพวกมันอยู่ในสถานะกำลังทดสอบ

ตามข้อมูลจาก Janes ฐานทัพอากาศ Kaifeng ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมือง เป็นที่ตั้งของกรมบินที่37(37th Air Regiment) ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force)
กรมบินที่37 มีประจำการผสมด้วยเครื่องบินลำเลียง Y-8C และเครื่องบินลำเลียง Y-20A เครื่องบินลำเลียง Y-20B ใหม่ไม่ได้ปรากฏว่ามีหมายเลขประจำการ ซึ่งเป็นมาตรฐานของเครื่องที่อยู่ในประจำการ

อย่างไรก็ตามเครื่องบินลำเลียง Y-20B ใหม่ที่ถูกถ่ายภาพได้มีเครื่องหมายตรากองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนแบบถูกตรวจพบได้ต่ำ บ่งชี้ว่านี่เป็นเครื่องของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
ตามข้อมูลของ Janes เครื่องยนต์ WS20 ได้รับการพัฒนาที่จะได้รับการเพิมขึ้ของระดับประสิทธิภาพและแรงขับเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan ตระกูล Aviadvigatel D-30KP 2 รัสเซียที่เป็นเครื่องยนต์ของเครื่องบินลำเลียง Y-20A ที่มีอยู่

Janes ประเมินว่าถ้าการตั้งเป้าของโครงการได้ประสบความสำเร็จ เครื่องยนต์ไอพ่น WS20 น่าจะเพิ่มขีดความสามารถการบรรทุกและระยะทำการของเครื่องบินลำเลียง Y-20(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/yy-20.html)
เครื่องยนต์ไอพ่น WS20 ถูกรายงานว่าให้กำลังขับที่ 28,660lbs(127.5kN) ตัวเครื่องยนต์มีมิติขนาดแตกต่างจากเครื่องยนต์ไอพ่นตระกูล D-30KP 2 โดยมีช่องรับอากาศเข้าที่กว้างกว่า และตัวเครื่องยนต์เองที่สั้นกว่าเครื่องยนต์ D-30KP 2 รัสเซีย

ตามที่ Janes วิเคราะห์จากชุดภาพที่ปรากฏ เครื่องยนต์ไอพ่น WS20 มีความยาวที่ราว 3.7m และช่องรับอากาศเข้ามีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 2.2m 
เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ไอพ่น D-30KP 2 ที่มีความยาว 5.6m(รวมส่วนกลับด้านแรงขับ thrust reverser) ช่องรับอากาศเข้ามีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 1.4m และให้กำลังขับที่ 28,460lbs(117.7kN) ครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566

สหรัฐฯ ออสเตรเลีย อียิปต์สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache รวม 184เครื่อง

US, Australia, Egypt order 184 AH-64E Apaches







The AH-64E Apache Longbow of 25th Combat Aviation Brigade, US Army during exercise Cobra Gold 2023 at Thailand on 10 March 2023. (Boeing/Kittidej Sanguantongkam/Sukasom Hiranphan)





เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2023 กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ที่นำไปสร้างใหม่(remanufactured) จำนวน 115เครื่อง และวางตัวเลือกสำหรับสั่งเพิ่มเติมอีก 15เครื่อง 
เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศรูปแบบการจัดซื้อ Foreign Military Sales(FMS) จำนวน 54เครื่อง เป็นวงเงิน $1.9 billion รวมทั้งหมด 184เครื่อง

การนำมาสร้างใหม่ของสหรัฐฯจะเป็นการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D เป็นรุ่นมาตรฐานเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E version 6(v6) ฮ.โจมตี AH-64E v6 เข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯในปี 2021
การขายรูปแบบ FMS เป็นการขายให้ออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-apache.html) และอียิปต์ ตามการประกาศสัญญาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

รายละเอียดอย่างเป็นทางการยังไม่มีในทันที แต่ออสเตรเลียประกาศในปี 2022 ว่าตนจะสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E จำนวน 29เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Eurocopter EC665 Tiger 
และอียิปต์ไดสั่งจัดหาชุดระบบตรวจจับจำนวน 25ชุดสำหรับการสร้างใหม่ของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D Apache Longbow ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/ah-64d-ah-64e.html)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E v6 มอบการเพิ่มพูนขีดความสามารถเหนือรุ่นก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/boeing-ah-64e.html
รวมถึงความสามารถที่จะตรวจจับและโจมตีเป้าหมายเรือขนาดเล็ก และอากาศยานไร้คนขับ (UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ระบบตรวจจับพิสัยไกลต่างๆ และ Link 16 datalink

การส่งมอบจากสัญญาจะดำเนินการในปี 2024 บริษัท Boeing สหรัฐฯกล่าวกับ Janes เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E จะถูกสร้างที่โรงงานอากาศยานของ Boeing ใน Mesa, มลรัฐ Arizona
ก่อนหน้านี้บริษัท Boeing ได้กล่าวกับ Janes ว่าบริษัทกำลังจะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache V6 จำนวน 6เครื่องแก่กองทัพบกอินเดีย(IA: Indian Army)(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/ah-64e-apache.html)

กองทัพบกสหรัฐฯได้นำเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache จากกองพันทหารม้าที่2, กรมทหารม้าที่6(2nd Squadron, 6th Cavalry Regiment) กองพลน้อยบินรบที่25(25th CAB: 25th Combat Aviation Brigade) กองพลทหารราบที่25(25th Infantry Division) 
เข้าร่วมการฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2023 ณ สนามยิงปืนใหญ่ บ้านดีลัง ศูนย์การทหารปืนใหญ่ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ประเทศไทยระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์-๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/calfex-cobra-gold-2023.html)

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566

สโลวาเกียส่งมอบเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ชุดแรก 4เครื่องแก่ยูเครน

Ukraine conflict: Slovakia transfers first MiG-29s to Ukraine







A screenshot from a Slovak Air Force video released on 23 March, showing the first four MiG-29s being prepped ahead of their transfer to Ukraine. (Armed Forces of the Slovak Republic)



สโลวาเกียได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ MiG-29(NATO กำหนดรหัส 'Fulcrum') ของตนชุดแรกแก่ยูเครน โดยเครื่องบินได้ทำการบินจากฐานทัพอากาศ Sliač ไปยังตำแหน่งที่ไม่เปิดเผยในประเทศเพื่อนบ้าน
รัฐมนตรีกลาโหมสโลวาเกีย Jaroslav Naď ประกาศการส่งมอบเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2023 กล่าวว่า เครื่องบินขับไล่ MiG-29 จำนวน 4เครื่องแรกได้ถูกส่งมอบให้ยูเครนแล้ว

"ขอให้พวกมันรักษาชีวิตจำนวนมาก และช่วยยูเครนปกป้องแผ่นดินและโครงสร้างพื้นฐานของตนต่อการรุกรานของ Putin! การสนับสนุนของเราจะมีต่อเนื่องยาวนานเท่าที่จำเป็น" Nad กล่าวในบัญชี Twitter ทางการของตน
ในเวลาเดียวกับที่รัฐมนตรีกลาโหมสโลวาเกียได้ทำการประกาศของเขา กองทัพอากาศสโลวาเกีย(Slovak Air Force) เผยแพร่วีดิทัศน์ online แสดงถึงเครื่องบินได้ถูกเตรียมพร้อมสำหรับการส่งมอบ และบินออกจากฐานทัพอากาศที่ตั้งของพวกมันสำหรับยูเครน

ขณะที่เครื่องหมายพิสูจน์ทราบฝ่ายบางส่วนถูกทำให้เป็นภาพ pixel ชุดภาพวีดิทัศน์แสดงถึงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ที่นั่งเดี่ยวจำนวน 4เครื่อง ซึ่งหนึ่งในเครื่องเหล่านั้นมีหมายเลขที่แพงหางแนวตั้ง 6124
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนจากการประกาศหรือวีดิทัศน์ว่านักบินเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จะเป็นชาวสโลวาเกียหรือชาวยูเครน แม้ว่าสื่อสโลวาเกียอ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อที่กล่าวว่านักบินเป็นชาวยูเครน

การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ชุดแรกมีขึ้นให้ราว 6วันหลังจากนายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย Eduard Heger กล่าวเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2023 ว่า เครื่องบินขับไล่ MiG-29 จำนวน 13เครื่องที่ไม่ได้ถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศสโลวาเกียจะถูกมอบเป็นของขวัญให้ยูเครน 
ตามข้อมูลจาก Janes World Air Forces(JWAF) กองทัพอากาศสโลวาเกียมีเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ที่นั่งเดี่ยว 9เครื่อง และ MiG-29UB สองที่นั่ง 2ครื่อง หมายความว่า 13เครื่องที่ถูกระบุโดยนายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย Heger จะรวมถึงเครื่องที่ถูกเก็บไว้ที่จะใช้ใช้เป็นอะไหลด้วย

รัฐมนตรีกลาโหมสโลวาเกีย Nad ยังได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2022 กล่าวว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper จำนวน 12เครื่อง เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Lockheed Martin AGM-114 Hellfire II จำนวน 500นัด จากสหรัฐฯ
จะถูกส่งมอบให้สโลวาเกียในการแลกเปลี่ยนสำหรับการส่งมอบฝูงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 และระบบป้องกันภัยทางอากาศ 2K12 Kub(NATO กำหนดรหัส SA-6 'Gainful') ของตนแก่ยูเครนด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/ah-1z-mig-29.html)

Naď เสริมว่าการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z Viper ยังเป็นการชดเชยทางอ้อมจากรัฐบาลสหรัฐฯสำหรับความล่าช้าในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon ที่สโลวาเกียสั่งจัดหา(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/lockheed-martin-f-16v.html)
ข้อตกลงมีมูลค่าที่เกินวงเงิน $1 billion เล็กน้อย ซึ่งรัฐบาลสโลวาเกียจะจ่ายเป็นวงเงิน $340 million เป็นเวลา 3-4ปี โดยที่เหลือจะครอบคลุมภายใต้รูปแบบการช่วยเหลือทางการเงิน Foreign Military Financing(FMF) ครับ