วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมและงานวิจัยพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของไทย-๑

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น
การรายงานข้อมูลและภาพของานในปีนี้จะเน้นไปที่ระบบที่พัฒนาโดยคนไทยเป็นหลักครับ เพราะว่าสื่อต่างประเทศบางทีก็มักไม่ค่อยเสนอรายงานอะไรเกี่ยวกับของไทยมากนัก นอกจากจะเป็นเรื่องหลักสำคัญและก็มักจะรายงานแค่สั้นๆด้วย
ก็เป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของคนไทยด้วยกันครับ




ผลงานแรกที่ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI: Defence Technology Institute) นำมานำเสนอเป็นระบบเด่นในงานแสดงคือ รถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 Black Widow Spider
ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนากับภาคเอกชนคือ บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม ในการสร้างรถเกราะต้นแบบจริงทีมีการทดสอบสมรรถนะการขับเคลื่อนและความทนทานของเกราะกับวัตถุระเบิดจริงไปแล้ว






รถเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider 8x8 นั้นมีน้ำหนักรถพร้อมรบที่ 25tons ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลของ Caterpillar กำลังขับ 450HP ให้อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 21HP/ton
ทำความเร็วได้สูงสุดบนถนนมากกว่า 100km/h และทำความเร็วขณะลอยตัวในน้ำที่มากกว่า 8km/h มีกำลังพลประจำรถ ๓นายคือ ผู้บังคับการรถ, พลขับ และพลยิง บรรทุกทหารราบไปได้รวม ๙นาย
รถเกราะ Black Widow Spider ติดตั้งระบบขับเคลื่อนและระบบกันกระเทือนล้อยางที่ควบคุมด้วย Computer มีการติดตั้งกล้องตรวจการณ์กลางวัน/กลางคืนรอบตัวรถทำให้พลประจำรถสามารถหยั่งรู้สถานการณ์ภายนอกได้สูงขึ้น
ในด้านการป้องกันรถเกราะ Black Widow Spider ให้ทรงตัวถังรถแบบ V-Shape บางส่วน และมีเกราะระดับมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 4
ซึ่งสามารถป้องกันกระสุนปืนกลหนักขนาด 14.5x114mm รัสเซียได้ที่ระยะ 200m, กันแรงระเบิดและสะเก็ดระเบิดของกระสุนปืนใหญ่ 155mm ที่ระยะ 30m ขึ้นไป และป้องกันทุ่นระเบิดต่อสู้รถถังขนาด 10kg ได้



รถเกราะ Black Widow Spider คันต้นแบบที่นำมาแสดงในงานได้ติดตั้งป้อมปืนไร้คนบังคับ (RCWS: Remote Control Weapon Staion) ที่ได้รับความร่วมมือจาก Singapore Technologies Kinetics (ST Kinetics)
โดยป้อมปืนของ ST Kinetics ใช้ปืนใหญ่กล Bushmaster II ขนาด 30mm(30x173mm) และปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62x51mm NATO
รองรับการรบแบบเครือข่าย (Network Centric) มีความเหมาะสมกับภาพภูมิประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(มีระบบปรับอากาศ) และอ่อนตัวต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบรถตามต้องการของภารกิจ ทั้งยังประหยัดและสะดวกในการปรนนิบัติซ่อมบำรุง

Thailand looks to Singapore to complete development of Black Widow Spider
http://www.janes.com/article/55769/thailand-looks-to-singapore-to-complete-development-of-black-widow-spider

จากรายงานข่าวของ Jane's นั้นทาง DTI ไทยได้มองความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับ ST Kinetics สิงคโปร์ในการพัฒนาระบบรถเกราะ Black Widow Spider ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ก็จะเห็นได้ว่ารถเกราะ Black Widow Spider มีรูปแบบรถคล้ายคลึงกับรถเกราะตระกูล Terrex ของ ST Kinetics ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนารถเกราะ Terrex 2 รุ่นล่าสุดตามที่เคยรายงานไป
ขณะนี้รถเกราะ Black Widow Spider เป็นการผลิตภายในประเทศไทยเองราวร้อยละ ๖๐ โดย DTI วางแผนที่จะส่งมอบรถต้นแบบให้กองทัพบกใช้ประเมินค่าอย่างน้อย ๑คัน (ควรจะบรรทุกทหารได้หนึ่งหมู่ปืนเล็ก ๑๑นาย ตามอัตราจัดมาตรฐานของกองทัพบกไทย)
แต่ในอนาคตถ้าจะมีการออกแบบรถเกราะรุ่นสำหรับ นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ซึ่งต้องมีคุณสมบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกจากเรือระบายพลหรือเรือยกพลขึ้นบกลงทะเลสู่ฝั่งที่ดีกว่านี้ รวมถึงสามารถบรรทุกหมู่ปืนเล็กนาวิกโยธิน ๑๓นาย ได้ด้วยเป็นต้น
หรือการจะเข้าสู่ระดับขั้นเปิดสายการผลิตจำนวนมากได้จริงรึไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทัพและรัฐบาลที่จะมีการสนับสนุนตามมาในอนาคตครับ
(เพิ่งรายงานข่าวความร่วมมือระหว่างกองทัพบกไทยกับยูเครนที่มีแผนการเปิดสายการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ภายในไทยไป ซึ่งนั่นเป็นเรื่องดีที่เจ้าหน้าที่ไทยจะได้มีประสบการณ์การผลิตรถเกราะจำนวนมาก
ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วราคาของ BTR-3E1 กับ Black Widow Spider ก็ยังมีความใกล้เคียงกัน คือ BTR-3E1 คันละไม่เกิน ๓๐-๓๕ล้านบาท($950,000-$1 million) ขณะที่ Black Widow Spider ราคาคันละ ๔๐ล้านบาท($1.12 million)
แต่ก็หวังว่าถ้ามีการเปิดสายการผลิตรถเกราะ BTR-3E1 ในไทยจริง โครงการรถเกราะ DTI Black Widow Spider 8x8 จะยังคงดำเนินการพัฒนาควบคู่ไปด้วยจนสามารถเปิดสายการผลิตเข้าประจำการได้ครับ)


DTI Mini UAV ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กองทัพอากาศ และ DTI โดยมีพิธีส่งมอบให้ กอ.รมน.ภาค๔ (ส่วนหน้า) ไปใช้ในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
กองทัพบกได้รับมอบจำนวน ๔ระบบ โดยหนึ่งระบบประกอบไปด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก ติดกล้องถ่ายภาพกลางวัน ๑เครื่อง และติดกล้องภ่ายภาพกลางคืนอีก ๑เครื่อง เสาอากาศควบคุม สถานีควบคุมภาคพื้นดิน พร้อมคู่มือและอะไหล่
สามารถบินได้นาน ๑ชั่วโมง ๓๐นาที พิสัยบินไกล 10km เพดานบิน 500m ติดตั้งกล้องถ่ายภาพที่สามารถหมุนได้รอบทิศทาง


DTI Multi-Rotor UVS ขนาดเล็กขึ้นลงทางดิ่ง รัศมีทำการ 2km เพดานบิน 700ft บินได้นาน ๕๐นาที-๑ชั่วโมง ระบบควบคุมบินขึ้นและลงจอดควบคุมแบบอัตโนมัติ ติดตั้งกล้องถ่ายภาพกลางวัน/กลางคืน


จรวด DTI-2 122mm ระยะยิงไกลสุด 40km ใกล้สุด 15km ครีบหางจรวดแบบโค้ง(Wrap Around Fin) หัวรบระเบิดแรงสูง หรือระเบิดควัน ชนวนหัวรบชนิดกระทบแตก ระบบขับเคลื่อนดินขับชนิดฐานผสม(Composite)
ความยาวจรวด 2,753mm น้ำหนักจรวด 70kg น้ำหนักหัวรบ 19kg การกระจายตัวร้อยละ ๑.๒๕ ของระยะยิง
จรวด DTI-2 122mm แบบฝึก มีระยะยิงไกลสุด 10km ใกล้สุด 4km ความยาวจรวด 2,342mm น้ำหนักจรวด 68.5kg น้ำหนักหัวรบ 18.5kg
ตัวจรวด DTI-2 122mm เป็นการออกแบบวิจัยพัฒนาเองในไทยทั้งหมด



รถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องแบบสายพาน เป็นการปรับปรุงรถสายพานลำเลียง Type 85 หรือ รสพ.๓๐ รุ่นติดเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง จลก.๓๑ Type 82 ขนาด 130mm ๓๐ท่อยิง จีนเดิมที่มีระยะยิงเพียง 10km
กองทัพบกได้ประจำการระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง จลก.๓๑ ใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กองพลทหารปืนใหญ่ จำนวน ๖ระบบ ซึ่งมีการทดสอบยิงจริงมาหลายครั้งตลอดหลายสิบปีนับตั้งแต่นำเข้าประจำการ
โดยการปรับปรุงจะทำการถอดแท่นยิงจรวดจีนเดิมและทำการติดตั้งแท่นยิงจรวด DTI-2 122mm แบบ ๒๐ท่อยิง พร้อมติดตั้งระบบควบคุมการยิงหาพิกัดด้วยดาวเทียม GPS และระบบวิทยุสื่อสารความถี่ก้าวกระโดดแบบมีการเข้ารหัส



โครงการสร้างกระสุนฝึก(TP) และกระสุนฝึกส่องวิถี(TP-T) ขนาด 30x165mm ซึ่งเป็นกระสุนปืนใหญ่กลที่ใช้ในรถรบ และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศ ของระบบอาวุธรัสเซีย เช่น 2A38M, 2A42 และ 2A72
สำหรับไทยกระสุนชนิดนี้มีใช้กับปืนใหญ่กล ZTM-1 ซึ่งเป็นอาวุธหลักของรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของกองทัพบกไทย และ นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย
การที่เราสามารถสร้างกระสุนฝึกได้จะเป็นการประหยัดงบประมาณในการนำเข้ากระสุนฝึกได้มาก และจะต่อยอดไปสู่การผลิตกระสุนขนาดนี้แบบอื่นๆต่อไปในอนาคตครับ