วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ออสเตรเลียปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Anzac ลำแรก FFH150 HMAS Anzac

Australia decommissions lead Anzac-class frigate







HMAS Anzac was decommissioned on 18 May 2024. (Commonwealth of Australia)



ออสเตรเลียได้ปลดประจำการเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Anzac(แบบเรือ MEKO 200 เยอรมนี) ลำแรก เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac ซึ่งเคยประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) 
ได้ถูกปลดประจำการอย่างเป็นทางการในพิธีปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2024 ณ ฐานทัพเรือ HMAS Stirling ในรัฐ Western Australia(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/hunter-6.html)

ระหว่างพิธีปลดประจำการเรือฟริเกต HMAS Anzac เคยเป็นเรือที่ประจำการมายาวนานที่สุดในกองทัพเรือออสเตรเลีย กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียเน้นในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2024 เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงการปลดประจำการ
"การปลดประจำการเรือฟริเกต HMAS Anzac จะเป็นการปูทางสำหรับการลงทุนในระยะยาวในการเพิ่มขนาดและเพิ่มขยายของกองเรือของกองทัพเรือออสเตรเลีย ในการตอบสนองต่อข้อแนะนำต่างๆที่จัดทำขึ้นโดยการวิเคราะห์อิสระของกองเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือออสเตรเลีย" แถลงการณ์เสริม

เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac ถูกขึ้นระวางประจำการโดยกองทัพเรือออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม 1996 เป็นหนึ่งในเรือฟริเกตชั้น Anzac จำนวน 8ลำที่ประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลีย
เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac มีระวางขับน้ำเต็มที่ที่ประมาณ 3,800tonnes และตัวเรือมีความยาวรวม 118m, ความกว้างรวม 14.8m และตัวเรือกินน้ำลึกที่ 4.5m ระบบขับเครื่องเครื่องดีเซล MTU สองเครื่อง และเครื่อง gas turbine LM2500 ในรูปแบบ CODOG(Combined Diesel or Gas)

เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 27knots และมีระยะปฏิบัติการปกติที่ประมาณ 6,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots ระบบอาวุธประจำเรือรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84J/L Harpoon Block II แปดท่อยิง,
แท่นยิงดิ่ง Mk 41 VLS(Vertical Launching System) แปดท่อยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile(ESSM) จำนวน 32นัด, ท่อยิง torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ 324mm แฝดสาม 2แท่นยิงรวมหกท่อยิง และปืนเรือ Mk 45 ขนาด 127mm ในฐานะอาวุธหลักของเรือ

ในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามเพิ่มอายุการใช้งานของเรือฟริเกตชั้น Anzac เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถโครงการป้องกันอาวุธปล่อนำวิถีต่อต้านเรือ ASMD(Anti-Ship Missile Defence) ในช่วงปี 2010-2017 และต่อมาโครงการปรับปรุงครึ่งอายุ AMCAP(ANZAC Midlife Capability Assurance Program)
รวมถึงการติด AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ CEAFAR และระบบควบคุมการยิง CEAMOUNT ของบริษัท CEA Technologies ออสเตรเลีย และระบบควบคุมการยิง Ceros 200 สวีเดนร่วมกับการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ 9LV ของบริษัท Saab สวีเดน

เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac ที่ได้ปลดประจำการลงในเดือนพฤษภาคม 2024 เป็นการสิ้นสุดระยะเวลาประจำการนานราว 28ปีลง เรือฟริเกตชั้น Anzac ที่เหลือ 7ลำคือลำที่สองเรือฟริเกต FFH151 HMAS Arunta ที่เข้าประจำการในปี 1998 มีแผนที่จะปลดประจำการลงในปี 2026
ลำที่สามเรือฟริเกต FFH152 HMAS Warramunga เข้าประจำการปี 2001, ลำที่สี่เรือฟริเกต FFH153 HMAS Stuart เข้าประจำการปี 2002, ลำที่ห้าเรือฟริเกต FFH154 HMAS Parramatta เข้าประจำการปี 2003, ลำที่หกเรือฟริเกต FFH155 HMAS Ballaratเข้าประจำการปี 2004, 

ลำที่เจ็ดเรือฟริเกต FFH156 HMAS Toowoomba เข้าประจำการปี 2005 และลำที่แปดและลำสุดท้ายเรือฟริเกต FFH157 HMAS Perth เข้าประจำการปี 2006 จะเริ่มทยอยถูกปลดประจำการลง
กองเรือรบผิวน้ำอนาคตของกองทัพเรืออสเตรเลียจะประกอบด้วยเรือรบหลักจำนวน 26ลำ รวมถึงเรือรบผิวน้ำระดับ 'Tier 1' จำนวน 9ลำ ที่รวมถึงเรือพิฆาตชั้น Hobart จำนวน 3ลำที่ประจำการอยู่ และเรือฟริเกตชั้น Hunter จำนวน 6ลำที่กำลังสร้างครับ

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทยทำพิธีเจิมเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงช้าง Type 071ET LPD










Long Live The King and Long Live The Queen.
Royal Thai Navy (RTN) held ship anointing ceremony for LPD-792 HTMS Chang(III), the Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) at Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi Province, Thailand on 18 May 2024. (Royal Thai Navy)




Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy announced to procure new Combat Management System (CMS), Surveillance System (search radar), Fire Control System (FCS), Weapon Systems and Gyro system to be fitted on LPD-792 HTMS Chang for 920,000,000 Baht ($25,330,406),
refer to source of median price Investigate prices from market seven potential tenders include Leonardo S.p.A, Thales Nedeland B.V., Navantia S.A. S.M.E., ASELSAN ELEKTRONIK SANAYI TICARET A.S., Israel Aerospace Industry (IAI), Hartech Technologies Ltd., and Rafael Advanced Defense Systems Ltd.



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงช้าง ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ 
วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงช้าง ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนเฝ้า ฯ รับเสด็จ
การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศบูชา พระพุทธนวราชบพิตร ทรงศีล พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ทูลเกล้า ฯ ถวายสูจิบัตรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รองศาสตราจารย์ วัชรีวรรณ ทองสะอาด ภริยาผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ทูลเกล้า ฯ ถวายสูจิบัตรแด่ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี 
และพลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาในการต่อเรือหลวงช้าง และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ฯ ไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงช้าง

จากนั้นเสด็จขึ้นเรือหลวงช้าง บริเวณดาดฟ้าหลัก (Main deck) (ทางบันได) ทรงทำความเคารพธงราชนาวีทางท้ายเรือ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเรือตรี อารยะ สิงหเสมานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ กราบบังคมทูลรายงาน นาวาเอก ธีรสาร คงมั่น ผู้บังคับการเรือหลวงช้าง กราบบังคมทูลรายงานและกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ฯ รับการถวายความเคารพยิงสลุตหลวง   
เสด็จขึ้นแท่น ณ พระสุจหนี่ รับการถวายการยิงสลุตหลวง ทรงผินพระพักตร์ไปทางเรือหลวงปิ่นเกล้า ทรงรับการถวายความเคารพเรือหลวงปิ่นเกล้า ยิงสลุตหลวงจำนวน 21 นัด เสร็จแล้วเสด็จ ฯ ไปยังบริเวณหัวเรือ เรือหลวงช้าง ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมที่แผ่นป้ายชื่อเรือหลวงช้าง 
ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ลำนี้ว่า “เรือหลวงช้าง” ชื่อภาษาอังกฤษ “H.T.M.S. CHANG” ตามชื่อของหมู่เกาะช้างในจังหวัดตราด ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกองทัพเรือ ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือยกพลขึ้นบก กำหนดให้ตั้งชื่อตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศไทย 
จากนั้นทรงคล้องพวงมาลัยบริเวณแผ่นป้ายชื่อเรือหลวงช้าง แล้วเสด็จออกจากบริเวณหัวเรือ ไปยังห้องประทับรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และทรงลงพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปยังห้องโถงนายทหาร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ น้อมเกล้า ฯ ถวาย เรือหลวงช้าง (จำลอง) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ น้อมเกล้า ฯ ถวายลองลูกปืนยิงสลุตหลวงนัดแรก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
พลเรือตรี อารยะ สิงหเสมานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ  กองเรือยุทธการ ทูลเกล้า ฯ ถวายพระมาลาปักชื่อเรือหลวงช้าง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ นาวาเอก ธีรสาร คงมั่น ผู้บังคับการเรือหลวงช้าง เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายพระมาลาปักชื่อเรือหลวงช้าง แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี 
แล้วทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีและนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ จำนวน 1 ชุด

เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จฯไปยังห้องสะพานเดินเรือ ทอดพระเนตรภายในห้องสะพานเดินเรือ โดยสะพานเดินเรือ หรือ ห้องควบคุมการเดินเรือ  มีไว้สำหรับควบคุมการเดินเรือ เพื่อให้เรือสามารถเดินทางไปได้อย่างปลอดภัยและถึงที่หมายอย่างตรงเวลา 
โดยมีนายยามเรือเดินซึ่งได้รับแนวทางและคำสั่งการของผู้บังคับการเรือ ตามระเบียบของกองทัพเรือ ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการบนสะพานเดินเรือ
สำหรับสะพานเดินเรือ เรือหลวงช้างนั้น มีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการนำเรือที่ทันสมัย อาทิเช่น เรดาร์เดินเรือจำนวน 2 ตัวแบบ x-band และ s-band แผนที่อิเล็คทรอนิกส์ จีพีเอสสำหรับการนำเรือ ระบบกล้องวงจรปิด ที่สามารถใช้ตรวจสอบ ในขณะปฏิบัติการยพกล และ ขณะปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือกับอากาศยาน รวมทั้ง ระบบถือท้ายที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย

จากนั้น เสด็จฯไปยังบริเวณหัวเรือ เสด็จขึ้นแท่น ประทับยืน ณ พระสุจหนึ่ทรงผินพระพักตร์ไปทางเรือหลวงปิ่นเกล้า ทรงรับการถวายความเคารพจากเรือหลวงปิ่นเกล้า ยิงสลุตหลวงจำนวน 21 นัด เสร็จสิ้นแล้วเสด็จลงจากแท่นรับการถวายการยิงสลุตหลวง ไปยังบันไดทางลงเรือ  ทรงทำความเคารพธงราชนาวีทางท้ายเรือ 
เสด็จลงจากเรือหลวงช้าง  ไปยังพลับพลาพิธี   ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก เสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการทรงลาพระสงฆ์ เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังรถยนต์พระที่นั่ง  เสด็จพระราชดำเนินกลับ

ทั้งนี้ เรือหลวงช้าง เป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ลำใหม่ที่กองทัพเรือได้ว่าจ้าง บริษัท China Shipbuilding Trading (CSSC) ให้ต่อขึ้น ณ อู่ต่อเรือหูตงจงหัว เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแบบมาจากเรือ LPD Type 071 ที่ประจำการในกองทัพเรือจีน มีขีดความสามารถ ในการควบคุมบังคับบัญชา การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก 
และมีขีดความสามารถในการลำเลียงกำลังรบยกพลขึ้นบกจำนวน 650 นาย มียานรบประเภทต่าง ๆ รวมถึงยุทโธปกรณ์ อีกทั้งสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกับอากาศยานของกองทัพเรือได้ทุกประเภท ใช้ระยะเวลาในการต่อเรือ 4 ปี จึงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566 
โดยมีพลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น  เดินทางไปเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงช้าง ณ อู่ต่อเรือหูตงจงหัว เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างการเดินทางกลับ เรือหลวงช้างได้ประกอบกำลังเดินทางกับเรือหลวงนราธิวาส รวมทั้งทำการฝึกการปฏิบัติงานในสถานีเรือต่าง ๆ เพื่อให้กำลังพล และเรือมีความพร้อมปฏิบัติราชการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายทันทีที่เดินทางกลับมาถึง 

เรือหลวงช้างลำใหม่นี้เป็นเรือหลวงช้างลำที่ 3 ของราชนาวีไทย มีความยาวตลอดลำ 210 เมตร ความกว้าง 28 เมตร กินน้ำลึก 7 เมตร ระวางขับน้ำ 25,000 ตัน มีกำลังพลประจำเรือ 196 นาย แบ่งเป็น นายทหารสัญญาบัตร 26 นาย พันจ่า 39 นาย จ่า 96 นาย และพลทหาร 35 นาย โดยได้เข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ 
มีภารกิจหลักในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งและลำเลียง อีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ และมีภารกิจรองในการสนับสนุนการปฏิบัติการของเรือดำน้ำ อาทิ การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) การอพยพประชาชน การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ

กองประชาสัมพันธ์ 
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

ซื้อระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบไยโร พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับการปฏิบัติการทางเรือ จำนวน ๑ ระบบ โดยวิธีคัดเลือก (เลขที่โครงการ : 67059245267)
วันที่ประกาศ 15/05/2567  ราคากลาง(บาท) 920,000,000.00  สถานะโครงการ ระหว่างดำเนินการ

เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเจิมเรือเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  นับเป็นสิริมงคลอย่างหาที่สุดมิได้แก่กำลังพลประจำเรือและกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
โดยพิธีเจิมเรือหลวงของราชนาวีไทยลำก่อนหน้าคือพิธีเจิมเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html) นับเป็นเวลาห่างกันราว ๕ปีในการทำพิธีเจิมเรือกับเรือหลวงใหม่ของราชนาวีไทย
เรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock) เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ที่เข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย เป็นรุ่นส่งออกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) 

นับตั้งแต่เดินทางจากอู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) มหานคร Shanghai ในเครือ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือจีน มายังไทยในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-sattahip.html) เรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย ร.ล.ช้าง ก็ได้ปฏิบัติภารกิจการทดสอบคุณลักษณะของเรือและเข้าร่วมการฝึกต่างๆอย่างต่อเนื่อง
ในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ดำเนินการนำเรือหลวงช้างเข้าอู่แห้งรับการซ่อมทำจำกัดเพื่อการตรวจสอบสภาพตัวเรือใต้แนวน้ำ ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการรับประกันจากบริษัท China Shipbuilding Trading Company(CSTC) ฝ่ายการค้าของ CSSC จีนผู้สร้างเรือ ผลการตรวจสภาพและบำรุงรักษาตัวเรือไม่พบปัญหาใดๆ

ต่อมา website ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(Thai Government Procurement) กรมบัญชีกลาง(CGD: Comptroller General's Department) กระทรวงการคลังไทย ได้เผยแพร่เอกสารประกาศของ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ สยป.ทร.(NAMO: Naval Acquisition Management Office) กองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
เกี่ยวกับตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและรายละเอียดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช้การจัดซื้อจัดจ้าง โครงการซื้อระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบไยโร พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับการปฏิบัติการทางเรือ จำนวน ๑ ระบบ โดยวิธีคัดเลือก
วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ๙๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($25,330,406) วันที่กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ แหล่งที่มาของราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ใช้ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด จำนวน ๗บริษัท ดังนี้

๑.บริษัท Leonardo S.p.A อิตาลี
๒.บริษัท Thales Nedeland B.V. เนเธอร์แลนด์
๓.บริษัท Navantia S.A. S.M.E. สเปน
๔.บริษัท ASELSAN ELEKTRONIK SANAYI TICARET A.S. ตุรกี
๕.บริษัท Israel Aerospace Industry (IAI) อิสราเอล
๖.บริษัท Hartech Technologies Ltd. อิสราเอล
๗.บริษัท Rafael Advanced Defense Systems Ltd. อิสราเอล

แม้ไม่ได้มีรายละเอียดเพิ่มใดๆระบุไว้แต่จากวงเงินงบประมาณและชื่อโครงการเป็นที่เข้าใจว่านี่คือโครงการจัดซื้อระบบต่างๆเพื่อเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ซึ่งตั้งแต่รับมอบเรือยังไม่ได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System), radar ตรวจการณ์, ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System) และระบบอาวุธ อย่างเต็มรูปแบบ
โดยตามแผนที่กองทัพเรือเผยแพร่แก่สื่อของไทย ร.ล.ช้าง ขณะนี้ได้รับการติดตั้งอาวุธที่ดำเนินการในไทยแล้วประกอบด้วยปืนกลหนัก M2 .50cal ๔กระบอก ที่กราบซ้ายและกราบขวาของเรือ และปืนกล Oerlikon GAM-CO1 20mm ๒แท่นยิงที่กราบซ้ายและขวาหน้าสะพานเดินเรือ ระบบอาวุธอื่นๆที่มีแผนจะติดตั้งรวมถึงปืนเรือ 76mm ๑กระบอกที่หัวเรือ, ปืนกล 30mm หรือ 40mm ๒แท่นยิง และเครื่องยิงเป้าลวง ๔ระบบ
เจ็ดบริษัทที่มีรายชื่อนั้นต่างมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความต้องการโครงการเช่น บริษัท Leonardo อิตาลีผู้ผลิตปืนเรือ 76/62 ที่ใช้ในเรือหลายชุดของกองทัพเรือไทยรวมถึงเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงอ่างทอง บริษัท Thales ยุโรป, บริษัท Navantia สเปน, บริษัท ASELSAN ตุรกี, บริษัท IAI อิสราเอล, บริษัท Hartech อิสราเอล และบริษัท Rafael  อิสราเอล ก็ต่างมีระบบ CMS, Radar, FCS, อาวุธ และ Gyro หลายแบบครับ

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทยจะปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี OPV ทั้ง ๒ลำ








Royal Thai Navy's OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 OPV-512 HTMS Naratiwat, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV). (Royal Thai Navy)
Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy (RTN) announced to enhanced capabilities for its two Pattani-class OPVs with new Combat Management System (CMS) and related systems for 2,829,554,000 Baht ($78,229,302),
refer to source of median price Investigate prices from market six potential tenders include Leonardo S.p.A, Thales Nedeland B.V., Navantia S.A. S.M.E., ASELSAN ELEKTRONIK SANAYI TICARET A.S., SAAB AB, and Elbit Naval Systems.  

ซื้อระบบการรบและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับปรับปรุงขีดความสามารถ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ชุด ร.ล.ปัตตานี จำนวน ๒ ลำ โดยวิธีคัดเลือก (เลขที่โครงการ : 67059158553)
วันที่ประกาศ 10/05/2567  ราคากลาง(บาท) 2,770,793,808.00  สถานะโครงการ ระหว่างดำเนินการ

website ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(Thai Government Procurement) กรมบัญชีกลาง(CGD: Comptroller General's Department) กระทรวงการคลังไทย ได้เผยแพร่เอกสารประกาศของ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ สยป.ทร.(NAMO: Naval Acquisition Management Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
เกี่ยวกับตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและรายละเอียดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช้การจัดซื้อจัดจ้าง โครงการซื้อระบบการรบและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี จำนวน ๒ลำ โดยวิธีคัดเลือก(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/thalay-laut-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/05/asean-fleet-review-2023.html
วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ๒,๘๒๙,๕๕๔,๐๐๐บาท($78,229,302) วันที่กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นเงิน ๒,๗๗๐,๗๙๗,๘๐๘บาท($76,604,745) แหล่งที่มาของราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ใช้ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด จำนวน ๖บริษัท ดังนี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/imdex-2023.html)

๑.บริษัท Leonardo S.p.A อิตาลี
๒.บริษัท Thales Nedeland B.V. เนเธอร์แลนด์
๓.บริษัท Navantia S.A. S.M.E. สเปน
๔.บริษัท ASELSAN ELEKTRONIK SANAYI TICARET A.S. ตุรกี
๕.บริษัท SAAB AB สวีเดน 
๖.บริษัท Elbit Naval Systems อิสราเอล

ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมขณะที่เขียนบทความขณะนี้ ก่อนหน้านี้กองทัพเรือไทยได้ประกาศแผนโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส ที่วงเงิน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($11,427,756) ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นการปรับปรุงในส่วนการติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) ใหม่
โดยหกบริษัทที่มีรายชื่ออ้างอิงราคากลางนั้นบางบริษัทมีผลิตภัณฑ์ระบบอำนวยการรบติดตั้งในเรือของกองทัพเรือไทยอยู่แล้วรวมถึง บริษัท Thales ยุโรปสำหรับระบบอำนวยการรบ TACTICOS บนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ ทั้ง ๒ลำ ร.ล.กระบี่ และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/milan-2024.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/12/port-blair-nicobar.html)
และบริษัท SAAB สวีเดนสำหรับระบบอำนวยการรบ 9LV บนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/blog-post.html), เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำคือ ร.ล.นเรศวร และเรือหลวงตากสิน(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/blog-post.html)

บริษัทอื่นๆรวมถึงบริษัท Leonardo อิตาลี, บริษัท Navantia สเปน, บริษัท ASELSAN ตุรกี, และบริษัท Elbit Naval Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/iai-sea-mini-pop.html) ต่างมีผลิตภัณฑ์ระบบอำนวยการรบ CMS ของตนเองที่สามารถเสนอให้กองทัพเรือไทยตามความต้องการโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ด้วยเช่นกัน
ชุดเรือหลวงปัตตานีเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก.(OPV: Offshore Patrol Vessel) ชุดแรกของกองทัพเรือไทย ถูกสร้างโดยอู่เรือ Hudong-Zhonghua ในมหานคร Shanghai ที่ลงนามสัญญากับ China Shipbuilding Trading Co.,Ltd.(CSTC) ฝ่ายการค้าของ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือจีนในปี พ.ศ.๒๕๔๔(2001) วงเงินราว ๓,๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($100 million ในเวลานั้น)
ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ถูกขึ้นระวางประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๘(2005) และ พ.ศ.๒๕๔๙(2006) ตามลำดับ ติดตั้งระบบการรบจากตะวันตกรวมถึงระบบอำนวยการรบ Atlas Elektronik COSYS, radar ตรวจการณ์ Selex RAN-30X/I, ระบบควบคุมการยิง Rheinmetall TMX/EO และปืนเรือ Oto Melara 76/62 ซึ่งเดิมมองจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือเช่น Harpoon Block II หรือ Exocet MM40 Block 3 เพิ่มด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อินโดนีเซียรับมอบเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 เครื่องสุดท้าย

Indonesia receives final C-130J-30





Indonesia was supposed to receive its fourth and fifth (and final) C-130J-30s in January 2024. In this May 2024 picture is the final C-130J-30 received by Indonesia (serial no A-1342), which arrived in Indonesia on 16 May 2024. (Indonesian Ministry of Defense)



กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ได้ประกาศว่าตนได้รับมอบเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J-30 Super Hercules เครื่องที่ห้าและเครื่องสุดท้ายของตนแล้ว
"เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 เครื่องที่ห้า(หมายเลขแพนหาง A-1342) ได้มาถึงฐานทัพอากาศ Halim Perdanakusuma ในนครหลวง Jakarta แล้ว" กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2024

Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่าการจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 Super Hercules จำนวน 5เครื่องเป็นส่วนหนึ่งของสัญญารูปแบบการขายโดยตรงเชิงพาณิชย์(DCS: Direct Commercial Sale) กับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
ตามกำหนดการส่งมอบเดิม เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 จำนวน 4เครื่องจะถูกส่งมอบภายในเดือนตุลาคม 2023 โดยเครื่องสุดท้ายจะถูกส่งมอบในเดือนมกราคม 2024(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/c-130j-30.html)

ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 จำนวน 3เครื่องได้ถูกส่งมอบในปี 2023 เครื่องแรก(หมายเลขเครื่อง A-1339) ในเดือนมีนาคม 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/c-130j-30.html),
เครื่องที่สอง(หมายเลขเครื่อง A-1340) ในเดือนมิถุนายน 2023 และเครื่องที่สาม(หมายเลขเครื่อง A-1343) ในเดือนสิงหาคม 2023 เครื่องที่สี่(หมายเลขเครื่อง A-1344) ได้ถูกส่งมอบในเดือนมกราคม 2024

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเสริมว่าหลังจากเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 หมายเลขเครื่อง A-1342 บินเดินทางออกจากโรงงานอากาศยานของ Lockheed Martin ที่ Marietta, มลรัฐ Georgia สหรัฐฯ
เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 หมายเลข A-1342 ได้ทำการบินมุ่งตรงมายัง Jakarta อินโดนีเซียผ่าน San Diego, Honolulu, หมู่เกาะ Marshall และเกาะ Guam

เครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ทั้ง 5เครื่องจะประจำการที่ฝูงบินที่31(Air Squadron 31, Skadron Udara 31) ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ณ ฐานทัพอากาศ Halim Perdanakusuma
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้กล่าวเสริมว่า การจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ใหม่จะ "เสริมกำลัง" ฝูงบินที่31 ซึ่งปฏิบัติการเครื่องบินลำเลียง C-130 หลายรุ่นผสมกัน ที่รวมถึงเครื่องลำเลียง L-100-30 Hercules ที่จัดหาในปี 1980s และปี 1990s จากสายการบินพลเรือนในประเทศ

เครื่องบินลำเลียง C-130H ที่มีอายุการใช้งานมากที่สุดของฝูงบินที่31 ได้ถูกโอนย้ายไปยังฝูงบินที่32(Air Squadron 32, Skadron Udara 32) ณ ฐานทัพอากาศ Abdulrachman Saleh Malang
เครื่องบินลำเลียง C-130 จำนวนมากที่ประจำการในฝูงบินที่32 เป็นเครื่องบินลำเลียง C-130B ที่ผลิตมาตั้งยุคปี 1960s เครื่องเหล่านี้กำลังถูกทยอยปลดประจำการต่อไป ขณะที่เครื่องบินลำเลียง C-130H ส่วนหนึ่งกำลังได้รับการปรับปรุงเพื่อใช้งานต่อไปครับ

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อังกฤษยังคงมองหาผู้ซื้อเครื่องบินลำเลียง C-130J Hercules ที่ปลดประจำการแล้วของตน

UK continues search to sell surplus Hercules airlifters





One of the last C-130Js in RAF service made its farewell flypast in June 2023. The MoD is continuing its search to find buyers for this and 14 other surplus airframes. (Crown Copyright)

สหราราชอาณาจักยังคงค้นหาอย่างต่อเนื่องที่จะพบผู้ซื้อสำหรับฝูงบินเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J/C-130J-30 Hercules ที่ปลดประจำการแล้วของตน(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/c-130-hercules-56.html)
โดยกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรกล่าวกับ Janes ว่า ตนได้ระบุผู้ซื้อที่มีความเป็นไปได้หลายราย(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/c-130j-hercules.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/09/c-130j-e-3d.html)

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ได้ปลดประจำการเครื่องบินลำเลียง C-130J 'รุ่นลำตัวสั้น'(กำหนดแบบเป็นเครื่องบินลำเลียง C-130J Hercules C5) จำนวน 1เครื่อง 
และเครื่องลำเลียง C-130J-30 'รุ่นลำตัวยาว'(กำหนดแบบเป็นเครื่องบินลำเลียง C-130J Hercules C4) จำนวน 13เครื่องเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2023(โดยพิธีบินผ่านอำลาครั้งสุดท้ายของเครื่องบินลำเลียง C-130 Hercules มีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2023)

เครื่องบินลำเลียง C-130J C5/C-130J-30 C4 ทั้งหมด ซึ่งรวมไปกับเครื่องบินลำเลียง C-130J C5 เพิ่มเติมอีกจากการปลดปลดประจำการรอบก่อนหน้าในปี 2015 ขณะนี้ได้พร้อมต่อการจัดหาจากผู้ซื้อต่างประเทศต่างๆแล้ว
"กองการการขายยุทโธปกรณ์กลาโหม(DESA: Defence Equipment Sales Authority) กำลังบริหารจัดการโครงการขายในนามของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรและเดินหน้าที่จะผลักดันการขายเชิงรุกกับผู้ซื้อเป็นไปได้ต่างจำนวนหนึ่ง" กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรกล่าวเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2024

โดยเครื่องบินลำเลียง C-130J C5 จำนวน 8เครื่องจาก 9เครื่องที่ปลดประจำการไปก่อนหน้าได้รับการจัดหาแล้วจากบังคลาเทศจำนวน 5เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/c-130j-2.html), บาห์เรนจำนวน 2เครื่อง และกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) จำนวน 1เครื่อง
ความสนใจในเครื่องบินลำเลียง C-130J C5/C-130J-30 C4 ส่วนเกิน(surplus) ได้มีมาจากกรีซ แม้ว่าภายหลังมีรายงานว่ากรีซได้จัดซื้อเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ส่วนเกินจำนวน 6เครื่องจากอิตาลีในเดือนกุมภาพันธ์ 2023

และต่อมากรีซได้รับการอนุมัติสำหรับเครื่องบินลำเลียง C-130J ส่วนเกินจำนวน 4เครื่องจากสหรัฐฯในเดือนเมษายน 2023(แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเครื่องบินลำเลียง C-130J/C-130J-30 มือสองเหล่านี้ยังไม่มีเครื่องใดที่ถูกส่งมอบให้กรีซไปแล้ว)
กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรเปิดเผยก่อนหน้าว่าความสนใจของนานาชาติในรุ่นเครื่องบินลำเลียง C-130J Hercules จำนวน 14เครื่องที่ปลดประจำการแล้วของตนมีมาจาก 15ประเทศที่แตกต่างกัน รวมถึง 11ชาติสมาชิก NATO

เครื่องบินลำเลียงตระกูล Hercules เข้าประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรครั้งแรกในรุ่นเครื่องบินลำเลียง C-130K รูปแบบสำหรับสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะในเดือนตุลาคม 1966 เครื่องบินลำเลียง C-130K ได้ถูกเลิกใช้งานแล้ว 
และควรจะถูกทำการบินต่อด้วยรุ่นมาตรฐานเครื่องบินลำเลียง C-130J/C-130J-30 ที่ใหม่กว่าไปจนถึงปี 2035 อย่างไรก็ตามสมุดบัญชาการกลาโหม(Defence Command Paper) ที่เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2021 นำวันการปลดประจำการเร็วขึ้นเป็นปี 2023 ด้วยเหตุผลด้านงบประมาณครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เกาหลีใต้วางแผนจะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-4 Phantom II ในเดือนมิถุนายน 2024

South Korea plans to retire F-4 Phantom IIs in June







Four RoKAF Boeing (McDonnell Douglas) F-4Es conducted the fleet's final flight on 9 May 2024. The aircraft were painted in the various colour schemes used by the type over the course of RoKAF service, including a discontinued jungle camouflage pattern and a light grey scheme. 
Two aircraft were painted in the RoKAF's current dark grey colour scheme. (South Korean Ministry of National Defense)

กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) กำลังวางแผนที่จะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Boeing(McDonnell Douglas) F-4E Phantom II ของตนในเดือนมิถุนายน 2024 นี้
ฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II ได้ทำการยิงอาวุธครั้งสุดท้ายและทำการบินข้ามทั่วประเทศตามที่ตนเตรียมที่จะปิดฉากการประจำการจากกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2024

เครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II จำนวน 4เครื่องได้ทำการบินขึ้นจากฐานทัพอากาศ Suwon ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2024 เพื่อทำการบินเป็นที่ระลึก กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีเสริม
ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี เที่ยวบินข้ามประเทศเป็นความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ เครื่องบินขับไล่ F-4E จำนวน 4เครื่องที่ถูกเรียกว่า 'ฝูงบินชัยชนะ'(Victory Squadron) ทำการบินเหนือ  Pyeongtaek ที่ซึ่งค่าย Humphreys ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพันธมิตรสหรัฐฯ-สาธารณรัฐเกาหลีตั้งอยู่

เครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II ยังได้บินเหนือท่าเรือของ Pyeongtaek-Dangjin ซึ่งเป็นศูนย์กลางหลักสำหรับการจราจรทางเรือในทะเลเหลือง(ทะเลตะวันตก) กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีเสริมว่าเครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II ยังทำการบินเหนือฐานทัพอากาศ Cheongju ที่ซึ่งเป็นฐานทัพอากาศหลักของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีด้วย
ฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีปัจจุบันวางกำลังประจำการที่ Cheongju จากข้อมูลรายการอาวุธยุทโธปกรณ์ของ Janes(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/f-35a.html)

ฐานทัพอากาศ Cheongju นี้ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกตอนกลางของสาธารณรัฐเกาหลีเคยเป็นฐานบินหลักสำหรับฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีตั้งแต่ปี 1979-2018 กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีเน้น
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-4D Phantom II ตั้งแต่ปี 1969 ทำให้กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีสามารถจะสร้างเปลี่ยนผ่านจาก "กองทัพอากาศทางยุทธวิธี" ไปสู่ "กองทัพอากาศทางยุทธศาสตร์" ได้ กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2024

เครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II จำนวน 4เครื่องที่ทำการบินข้ามประเทศเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2024 แต่ละเครื่องได้ถูกทำลวดลายสีพรางที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นลวดลายที่เคยใช้งานในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
รวมถึงรูปแบบลวดลายพรางป่าโทนสองสีเขียว-น้ำตาลหนึ่งเครื่อง และลวดลายสีเทาอ่อนหนึ่งเครื่องซึ่งเลิกใช้งานแล้ว โดยอีกสองเครื่องได้ทำสีในลวดลายพรางเทาเข้มซึ่งถูกใช้งานในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีปัจจุบัน

เที่ยวบินระลึกเพื่ออำลาเครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II ครั้งสุดท้ายยังได้ทำการบินร่วมกับเครื่องบินขับไล่ Korea Aerospace Industries(KAI) KF-21 Boramae จำนวน 2เครื่องที่พัฒนาในสาธารณรัฐเกาหลีด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/kf-21.html)
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีประกาศก่อนหน้าในเดือนเมษายน 2024 ถึงแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ KF-21 จำนวน 40เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kf-21-40.html) ซึ่งจะนำมาทดแทนครื่องบินขับไล่ F-4 และเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5 Tiger II ที่มีอายุการใช้งานมานานภายในปี 2026 ครับ

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Chaiseri ไทยเปิดตัวรถรบปฏิบัติการพิเศษ Wildcat HMV 4x4 ใหม่








Chaiseri displayed its new Wildcat HMV (High Mobility Vehicle) 4x4 for special operations at the DSA 2024 show in Kuala Lumpur, Malaysia on 6-9 May 2024. (DEFENSE INFO/Sukasom Hiranphan)
Thai compamy Chaiseri and Malaysian company Widad Group Berhad also signed Memorandum of Understanding (MOU) to support offering Wildcat HMV 4x4 for Malaysian Army requirement.

ชัยเสรีลงนามความร่วมมือกับบริษัทมาเลเซีย เปิดตัวWildcat HMVให้กับกองทัพมาเลเซีย
บริษัทชัยเสรี เม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด และบริษัท Widad Group Berhad ได้ลงนามความตกลงร่วมกัน(MOU)ในการเป็นตัวแทนเพื่อนำเสนอ รถรบปฏิบัติงานพิเศษ ” ไวลด์แค๊ทHMV ”  และ UAVตรวจการณ์ขึ้นลงทางดิ่งแบบCS-01 
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 67 ในนิทรรศการDSA2024 มาเลเซีย โดยมี Datuk Seri Isham Bin Ishak ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พลเอกMuhammad  Hafizuddeain ผู้บัญชาการทหารบกมาเลเซียร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี
การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อให้กลุ่มบริษัทWidad ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบของบริษัทชัยเสรีจากประเทศไทย เข้าร่วมการประเมินการทดสอบตามความต้องการการจัดหาของกองทัพมาเลเซีย 
โดยยานยนต์สี่ล้อเคลื่อนที่เร็วแบบ ไวลด์แค๊ท HMV (High Mobility Vehicle)เป็นยานยนต์ที่ออกแบบมาตามความต้องการของกองทัพบกมาเลเซียที่ต้องการยานยนต์เคลื่อนที่เร็วสำหรับการวิ่งในสภาพภูมิประเทศของมาเลเซียโดยเฉพาะ ที่จะมีการประกาศผลการคัดเลือกแบบในเร็วๆนี้

บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทยเปิดตัวรถรบปฏิบัติการพิเศษ Wildcat HMV(High Mobility Vehicle) 4x4 ใหม่ที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับบริษัท Widad Group Berhad มาเลเซีย
เพื่อเสนอแก่กองทัพบกมาเลเซีย(Malaysian Army, Tentera Darat Malaysia ระหว่างงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defence Services Asia (DSA) 2024 ในมหานคร Kuala Lumpur ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา

ตามข้อมูลจากบริษัท Chaiseri ไทย รถรบปฏิบัติการพิเศษ Wildcat HMV 4x4 เป็นรถยนต์วิบาก(ATV: All-Terrain Vehicle) หุ้มเกราะเบาที่เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างจากรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ที่ประสบความสำเร็จไปก่อนหน้าในหน่วยงานรัฐของไทยและต่างประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-chaiseri-awav-8x8.html)
ออกแบบสำหรับปฏิบัติการในทางวิบาก(off-road) ขณะที่ยังมอบเกราะป้องกันแก่กำลังพล โดยรถ Wildcat HMV 4x4 สามารถปฏิบัติการได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายรวมถึงภูมิประเทศที่ขรุขระและยากลำบากเพื่อปฏิบัติภารกิจหลายรูปแบบตั้งแต่การลาดตระเวนและการส่งกลับทางสายแพทย์

รถรบปฏิบัติการพิเศษ Wildcat HMV 4x4 ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำลังขับสูงและเครื่องเปลี่ยนความเร็ว transmission อัตโนมัติ(บริษัท Chaiseri ไม่ได้ระบุรุ่นของเครื่องยนต์และเครื่องเปลี่ยนความเร็วที่ใช้) ทำให้รถสามารถทำความเร็วได้สูงขณะที่ยังคงความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่
รถรบปฏิบัติการพิเศษ Chaiseri Wildcat HMV 4x4 มีน้ำหนักรถสูงสุดที่ 3,750 kg มีระยะปฏิบัติการไกลสุดที่ประมาณ 500km ที่ความเร็วสูงสุดบนถนนที่ 110km/h ไต่ทางลาดชันได้ 60% ไต่ทางลาดเอียงได้ 30% ข้ามคูได้กว้าง 0.5m ข้ามเครื่องกีดขวางได้สูง 0.4m

รถรบปฏิบัติการพิเศษ Wildcat HMV 4x4 ถูกออกแบบให้บรรทุกกำลังพลได้ ๔นาย และมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่ 1,000kg บริษัท Chaiseri ไม่ได้นำเสนอรูปแบบการติดตั้งอาวุธบนรถที่จัดแสดงในงาน DSA 2024 แม้ว่าเป็นที่เข้าใจว่ารถสามารถจะรองรับความต้องการนี้ได้ก็ตาม
Wildcat HMV ใหม่ของ Chaiseri ไทยมีชื่อคล้ายยานรบลาดตระเวน D-Wildcat ของ DTI ไทยที่มีพื้นฐานจากยานยนต์วิบากตระกูล Chaborz ของรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/dti-d-lion-d-wildcat.html) แต่รถของ Chaiseri ไทยเป็นการออกแบบใหม่แต่ต้น(clean-sheet) ครับ

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อินโดนีเซียขอลดการชำระค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 เกาหลีใต้

Indonesia requests payment reduction for KF-21 programme





The Defense Acquisition Program Administration (DAPA) said it has tested the KAI KF-21's ability to launch the MBDA Meteor air-to-air missile and guide the weapon to target using the aircraft's active electronically scanned array (AESA) radar. (DAPA)



รัฐบาลอินโดนีเซียได้ร้องขอการลดการแบ่งปันการชำระค่าใช้จ่ายของตนสำหรับการพัฒนาร่วมของโครงการเครื่องบินขับไล่ Korea Aerospace Industries(KAI) KF-21(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kf-21-40.html)
จาก 1.6 trillion Korean Won เป็น 600 billion Korean Won($1.2 billion เป็น $438 million) ตามข้อมูลจากสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี

"ฝ่ายอินโดนีเซียได้เสนอการปรับส่วนแบ่งของตนเป็น 600 billion Korean Won ภายในปี 2026 ซึ่งเป็นระยะเวลาสิ้นสุดการพัฒนาระบบเครื่องบินขับไล่ KF-21" DAPA สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2024
รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในนครหลวง Seoul "เป็นที่คาดว่าจะยอมรับข้อเสนอของอินโดนีเซีย" กระทรวงกลาโหมสาธารรัฐเกาหลีเสริมในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ในวันเดียวกัน

ตามข้อมูลจาก DAPA สาธารณรัฐเกาหลี การลงทุนที่ต้องการในปัจจุบันทั้งหมดของโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 อยู่ที่วงเงิน 8.1 trillion Korean Won ภายในปี 2026
อัตราส่วนการแบ่งปันค่าใช้จ่ายคือร้อยละ60 สำหรับรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี, ร้อยละ20 สำหรับอินโดนีเซีย และร้อยละ20 สำหรับบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตเครื่องบิน

"อินโดนีเซียได้ชำระค่าใช้จ่ายไปแล้วประมาณ 400 billion Korean Won จากทั้งหมด 1.6 trillion Korean Won จนถึงเดือนที่แล้ว(เมษายน 2024)" DAPA สาธารณรัฐเกาหลีกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kf-21.html)
Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความพยายามโดยรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีที่จะแก้ไขความล่าช้าในการชำระค่าใช้จ่ายของอินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/kai-mum-t-kf-21.html)

ในเดือนตุลาคม 2023 คณะตัวแทนของ DAPA สาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าพบเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเพื่อหารือในประเด็นนี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/dapa-kf-21.html
ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสาธารรัฐเกาหลี อินโดนีเซียร้องขอการปรับแก้ใหม่ของข้อตกลงการแบ่งปันค่าใช้จ่ายของตนหลัง "เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้แจ้งเตือนฝ่ายอินโดนีเซียในจดหมายว่าตนจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามระยะเวลาการชำระค่าใช้จ่ายจนถึงปี 2026"

ตามข้อมูลจาก DAPA ตนจะยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหม(Defense Acquisition Program Committee) สาธารณรัฐเกาหลีเกี่ยวกับการแบ่งปันการพัฒนาร่วมภายหลังในเดือนพฤษภาคม 2024 นี้
DAPA ยังเปิดเผยว่าตนได้ทดสอบขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่ KF-21 ที่จะยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor

และนำวิถีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MBDA Meteor สู่เป้าหมายด้วยการใช้ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ของเครื่องบินขับไล่ KF-21 ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลีด้วยครับ