วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อินเดียวางแผนตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MMRCA ใหม่

India Is Set to Re-Compete MMRCA!
Six bidders are likely to replay in the endless game -the 'mother of all defense deals' - can anyone say NO to the chance to win a $30 billion jackpot?
http://defense-update.com/20150802_mmrca-3.html

หลังจากที่อินเดียมีข้อตกลงในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่องโดยตรงจากฝรั่งเศส และยกเลิกโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MMRCA(Medium Multi-Role Combat Aircraft) จำนวน 126เครื่อง ซึ่งเลือก Rafale เป็นผู้ชนะนั้น
ล่าสุดมีแนวโน้มว่าอินเดียต้องการจะจัดตั้งโครงการ MMRCA ขึ้นมาใหม่ เนื่องจากกองทัพอากาศอินเดียจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวนอย่างน้อยอีก 90เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องรุ่นเก่าที่จะปลดประจำลงในอนาคตอันใกล้
ทั้งเครื่องบินขับไล่ MiG-21 เครื่องบินโจมตี MiG-27 และเครื่องบินโจมตี Jaguar จำนวนหลายร้อยเครื่อง โดยอินเดียมีความต้องการที่จะจัดตั้งสายการผลิตเครื่องขับไล่แบบใหม่นี้เพื่อทำการประกอบในประเทศเองด้วย
คาดว่าจะมีการออกเอกสารการยื่นขอข้อเสนอ(RFP:Request for Proposal) ภายหลังการออกร่างขั้นตอนการจัดซื้อจัดจัดจ้างด้านความมั่นคง(DPP: Defence Procurement Procedure)ใหม่ที่กำลังจะมาถึง

โดยตามข้อมูลที่มีในขณะนี้โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MMRCA ใหม่จำนวน 90เครื่องจะมีวงเงินที่ $30 billion ประกอบไปด้วยการจัดหาเครื่องรุ่นที่นั่งเดี่ยว 54เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 36เครื่อง และอาจจะมีการจัดหาเพิ่มเติมภายหลังอีก 45เครื่อง
และบริษัทที่ส่งแบบเครื่องที่เข้าแข่งขันในโครงการนี้อาจจะเป็นผู้แข่งรายเดิมที่เคยนำเครื่องมาเสนอให้กองทัพอากาศอินเดียทำการประเมินในโครงการก่อนหน้านี้มาแล้ว
ทั้ง MiG-35 รัสเซีย, SAAB Gripen สวีเดน, Lockheed Martin F-16IN และ Boeing F/A-18IN สหรัฐ, Typhoon อังกฤษ และ Dassault Rafale ฝรั่งเศสเองด้วย ข้อเสนอของแต่ละบริษัทที่มีก็เช่น
BAE Systems เสนอลดราคาค่าใช้จ่ายการผลิตลงร้อยละ20 ขณะที่ปรับปรุงบางคุณสมบัติของ Typhoon, SAAB มองโอกาสในการเสนอ Gripen ให้อินเดียอักครั้งโดยให้ข้อเสนอการถ่ายทอด Technology ให้อินเดียในการผลิตเครื่องเองในประเทศ
ส่วนรัสเซียมุ่งความร่วมมือกับอินเดียไปยังโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 FGFA(Fifth Generation Fighter Aircraft) ที่มีแบบแผนจาก Sukhoi PAK FA T-50 ซึ่งจะสำเร็จภายในช่วงหลังสิ้นทศวรรษนี้

อย่างไรก็ตามข้อตกลงระหว่างประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีอินเดียที่มีขึ้นหลังการเยือนฝรั่งเศสเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36นั้นยังไม่ได้มีการลงนามสัญญาในขณะนี้
เนื่องจากยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงในรายละเอียด ซึ่งทางอินเดียต้องการให้ฝรั่งเศสมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนและค่าชดเชยในราคาและค่าใช้ที่สูงขึ้นในการส่งมอบ
โดยทางอินเดียเรียกร้องในระดับที่สูงกว่าปกติที่ร้อยละ50 ซึ่งมากกว่าระดับมาตรฐานร้อยละ30 ของการลงทุนใหม่ที่ต้องการสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ครับ