วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รถรบทหารช่าง กองทัพบกไทย


http://mrdc.6te.net/mrdcnewsletter/images/1vol1/MRDC%20Newsletter%20Vol.1_3.cooperation4.pdf#page=3&zoom=100,250,100&view=FitV,top

มีกระแสข่าวว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการในการจัดหา รถรบทหารช่าง(CEV:Combat Engineering Vehicle) สำหรับหน่วยทหารช่างของกองทัพบก
ซึ่งรถรบทหารช่างนี้มีความแตกต่างจากรถกู้ซ่อมหรือรถถังหลักที่ติดผาไถ(Bulldozer) หรือเครื่องขุดบดทำลายกับระเบิด
เพราะออกแบบมาสำหรับในภารกิจทำลายเครื่องกีดขวางและที่มั่นแข็งแรง ไปพร้อมกับการรุกคืบของฝ่ายเดียวกัน เช่น ทหารราบและหน่วยยานเกราะในสงครามตามแบบโดยเฉพาะ
โดยส่วนใหญ่รถรบทหารช่างหลายแบบจะเป็นรถที่พัฒนาจากรถเกราะแบบอื่นๆมาก่อนหรือตัวถังรถหลักจากรถถังหลัก
เช่น M728 ซึ่งดัดแปลงจากรถถังหลัก M60 Patton ซึ่งมีประจำการในกองทัพบางประเทศนอกจากสหรัฐฯ เช่นกองทัพบกสิงคโปร์ 8คัน
ก็นับว่าเป็นแนวคิดหลักการใช้กำลังรบของทหารช่างใหม่จากที่ไม่เคยมีมาก่อนในกองทัพบกไทย

จากจดหมายข่าวในข้างต้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม(ศวพท.วท.กห.)
มีแผนการพัฒนาร่วมกับกรมการทหารช่างในการพัฒนารถรบทหารช่างจากรถถังเบา M41A3 ที่ปลดประจำการแล้วจำนวนหนึ่งนั้น
นับเป็นเรื่องดีมากที่กองทัพบกมีแนวคิดจะนำยุทโธปกรณ์เก่าที่ปลดประจำการแล้วมาดัดแปลงใช้งานในภารกิจใหม่

โดยในช่วงหลังมานี้กองทัพเริ่มมีผลงานวิจัยพัฒนาจากหน่วยต่างๆที่สามารถสร้างออกมาได้ใช้งานได้จริงจำนวนมาก ที่เริ่มแจกจ่ายให้หน่วยงานต่างๆในกองทัพมากขึ้น
เช่นที่เห็นข่าวล่าสุดคือ ระบบสูบน้ำและผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบลากจูง
ของกองพลังงานทดแทน กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
แผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้พอสำหรับสำนักงานหน่วยหนึ่ง
ตอนนี้ก็กำลังทดสอบที่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒ รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ รักษาพระองค์ อยู่ และหน่วยอื่นๆเช่น โรงเรียนนายร้อย จปร.

แต่มีข้อสงสัยคือว่า ถ้ากองทัพบกมีแนวคิดที่จะพัฒนาดัดแปลงรถรบทหารช่างใช้เองแล้ว
หมายความว่ากองทัพบกไม่สามารถหารถรบทหารช่างที่มีประสิทธิภาพตามต้องการได้จากแหล่งต่างประเทศเช่นนั้นหรือ?

อย่างไรก็ตามถ้าดูจากแนวคิดในภาพรวมแล้วการนำ ถ.เบาM41A3 มาดัดแปลงใช้ในภารกิจใหม่
ก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่ามากอยู่ดี เพราะเราทำเองใช้เอง ไม่ได้ซื้อมาจากต่างประเทศทั้งหมด
ซึ่งถ้ามีรถต้นแบบที่สร้างออกมาสามารถใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ได้รับการผลิตในจำนวนมากพอสำหรับหน่วยทหารช่าง
จะเป็นการประหยัดงบประมาณการจัดหาและเพิ่มทักษะความรู้ในด้านนี้อย่างมากครับ