วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

กองทัพเรืออินโดนีเซียเลือกระบบป้องกันระยะประชิด Type 730 จีนสำหรับเรือเร็วโจมตี KCR-60M

DSA 2016: Indonesia selects Type 730 CIWS for KCR-60M attack craft
The Type 730 CIWS on the TNI-AL's Kapitan Pattimura-class corvette, KRI Sultan Thaha Syaifuddin. The vessel was used as a platform to evaluate the Type 730's effectiveness.
The weapon system has now been selected for the first the TNI-AL's first two KCR-60M-class attack craft. Source: TNI-AL
http://www.janes.com/article/59568/dsa-2016-indonesia-selects-type-730-ciws-for-kcr-60m-attack-craft

งานแสดงยุทโธปกรณ์ DSA 2016 ที่จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายนนั้น มีการเปิดเผยข้อมูลกับ Jane's ว่า
กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้เลือกระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) แบบ Type 730 จีนสำหรับการปรับปรุงเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น KCR-60M
โดยเรือเร็วโจมตี KCR-60M สองลำแรกจากสามลำในชั้นคือ KRI Sampari(628) และ KRI Tombak(629) จะได้รับการติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล Type 730 ที่ท้ายเรือแทนปืนใหญ่กล Denel Vector G12 ขนาด 20mm 2กระบอกที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้เรือ KRI Sampari และ KRI Tombak มีกำหนดการที่จะเข้ารับการปรับปรุงเรือซึ่งรวมถึงการติดตั้งระบบอำนวยการรบและอาวุธใหม่ที่อู่ PT PAL ใน Surabaya ที่เป็นอู่ต่อเรือรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเดือนกันยายน 2016 นี้
ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพเรืออินโดนีเซียได้เคยทดลองติดตั้ง Type 730 CIWS กับเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้น Kapitan Pattimura (เรือคอร์เวตชั้น Project 133 Parchim เยอรมันตะวันออก/รัสเซีย) คือ KRI Sultan Thala Syafuddin(376) มาแล้ว

ระบบป้องกันระยะประชิด Type 730 CIWS เป็นปืนใหญ่กล Gatling 7ลำกล้องหมุนขนาด 30mm ควบคุมการยิงด้วย Radar ออกแบบมาสำหรับการสกัดกั้นเพื่อป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำและอาวุธนำวิถีแบบต่างๆที่จะเข้าโจมตีเรือ
(ซึ่งระบบ Type 730 CIWS มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับระบบป้องกันระยะประชิด Goalkeeper CIWS ของ Thales เนเธอร์แลนด์ที่มีใช้งานในเรือหลายชั้นทั่วโลกมาก )
โดยกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนได้ติดตั้ง Type 730 CIWS ในเรือของตนหลายชั้น เช่น เรือพิฆาตชั้น Type 051C (Luzhou), Type 052B (Luyang I) และ Type 052C (Luyang II) และเรือฟริเกตชั้น Type 054A (Jiangkai II) เป็นต้น
ตามแผนการปรับปรุงเรือเร็วโจมตี KCR-60M ทั้งสองลำที่จะติดตั้งระบบอำนวยการรบใหม่ของจีนซึ่งจะเชื่อมโยงระบบอาวุธปืนใหญ่เรือ Bofors 57mm กับ Type 730 CIWS และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-705 จีนนั้น เป็นสัญญาณถึงการนำระบบอาวุธจีนมาติดตั้งใช้งานในเรือรบของกองทัพเรืออินโดนีเซียมากขึ้นครับ