วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ลงนามข้อตกลงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KFX ไปอีกขั้น

Indonesia, South Korea sign up for next phase of KFX programme

The KFX programme will be based on a twin-engine design developed by KAI. Source: IHS/James Hardy

http://www.janes.com/article/44212/indonesia-south-korea-sign-up-for-next-phase-of-kfx-programme

อินโดนีเซียและสาธารณรัฐเกาหลีลงนามในข้อตกลงร่วมด้านการพัฒนาและวิศวกรรมในโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคที่4.5 KFX
ทางสำนักงานการจัดหาเพื่อความมั่นคง(Defense Acquisition Program Administration) ได้ประกาศที่ Seoul เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา
ระหว่าทูตเกาหลีใต้ประจำเมือง Surabaya Cho Tai-young กับรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Purnomo Yusgiantoro
เป็นสานต่อการลงนามบันทึกความเข้า(MOU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 และเมษายน 2011 ที่ผ่านมาในด้านข้อมูลทาง Technic ในระยะสองปี
โดยข้อตกลงล่าสุดเกาหลีใต้จะออกค่าใช้จ่ายในโครงการร้อยละ80 ขณะที่อินโดนีเซียจะจ่ายร้อยละ20
ซึ่งผู้พัฒนาอากาศยานหลักคือ Korea Aerospace Industries (KAI) และมี PT Dirgantara อินโดนีเซียร่วมพัฒนา

KFX เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่4.5 ของเกาหลีใต้เองโดยเป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจที่นั่งเดี่ยวสองเครื่องยนต์
มีคุณสมบัติตรวจจับยาก ติดตั้ง AESA radar และมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว
กองทัพอากาศเกาหลีใต้ต้องการ KFX ราว 250เครื่องสำหรับทดแทน F-4E, F-5E และ F-16 ในอนาคต และคาดหวังว่าจะส่งออกให้ต่างประเทศได้ราว 350เครื่อง
ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้ได้อนุมัติงบประมาณไปกับโครงการ KFX ในปีล่าสุด 2014 รวม $8 billion แล้ว

Jane's ได้ให้ความเห็นว่าที่ผ่านมาในระยะหลังโครงการ KFX มีความเสี่ยงที่จะถูกรัฐบาลเกาหลีใต้สั่งยุติโครงการ
เนื่องจากความล่าช้าในการเลือกแบบต้นแบบเครื่องในการพัฒนาจริงที่มีหลายแบบ เช่นแบบเครื่องยนต์เดียว C501 และแบบ ย.คู่ C103 ซึ่งในที่สุดก็เลือกแบบ C103
รวมถึงการประกาศจัดหา F-35A 40เครื่องในโครงการจัดหา บ.ขับไล่ FX-III ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 เข้าประจำการในอนาคต
ซึ่งข้อตกลงในสัญญาจะรวมถึงการถ่ายทอด Technology ใกล้เคียงกับ KF-16 ซึ่งเกาหลีใต้ประกอบเองในประเทศด้วย
แต่ทางเกาหลีใต้ก็เลือกที่จะคงโครงการ KFX ต่อไปแม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่ค่าใช้จ่ายพุ่งสูงขึ้นอยู่

ทั้งนี้อินโดนีเซียเองก็ได้จัดหาอาวุธจากเกาหลีใต้เป็นจำนวนมากในช่วงหลัง
เช่น เครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง KAI T-50 16เครื่อง รถทางทหาร Black Fox ของ Doosan DST
การปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น Cakra Type209/1300 2ลำ และจัดหาเรือดำน้ำชั้น Chang Bogo Type 209/1200 3ลำจาก DSME
โดยเกาหลีใต้เองก็จัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN235 8เครื่องที่ผลิตที่ PTDI อินโดนีเซียภายใต้สิทธิบัตรสำหรับหน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้ด้วยเช่นกันครับ