วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กองทัพอากาศไทยเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่๑

พิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่ ๑

กองทัพอากาศ กำหนดจัดพิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่ ๑ โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีฯ ในวันพุธที่ ๑๙ 


กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๙๓๐ ณ กรมช่างอากาศ บางซื่อ (ขออย่าให้มีเหตุต้องเลื่อนวัน)

กรมช่างอากาศ มีขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และสร้างเครื่องบินเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องบินฝึก/ธุรการ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนมีผลงานวิจัยที่

สามารถพัฒนาเข้าสู่สายการผลิตได้ คือ บ.ทอ.๖

ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๖๒ (ฉบับปรับปรุงปี ๒๕๕๒) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ได้กำหนดกลยุทธ์ให้มีการสร้างเครือข่าย

ความร่วมมือเชิงวิจัยและพัฒนากิจการการบินและอุตสาหกรรมการบิน และกิจการเกี่ยวข้องเนื่องในด้านการบินของประเทศ

นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ปี ๒๕๕๖ นโยบายเร่งด่วน ข้อ ๙ นำผลการวิจัยและพัฒนา บ.ทอ.๖ เข้าสู่สายการผลิต เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก/ธุรการ และพิจารณาการ

ติดตั้งกล้องพร้อมระบบ Video Down Link (VDL) ที่ได้จากการวิจัย เพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ ของกองทัพอากาศ และต่างเหล่าทัพในอนาคต


โดยจัดให้มีแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

โครงการผลิต บ.ทอ.๖ จำนวน ๒๕ เครื่อง เป็นโครงการผูกพันระยะเวลาดำเนินการ ๖ ปี วง
เงินงบประมาณ จำนวน ๓,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐.-บาท แบ่งโครงการเป็น ๓ ระยะ โดยในระยะที่ ๑ ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ จะดำเนินการผลิตจำนวน ๓ เครื่อง

โดย รัชต์ รัตนวิจารณ์


Page ทางการของ บ.ทอ.๖
https://www.facebook.com/rtaf6

บ.ทอ.๖ เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินฝึกใบพัดด้วยตนเองของกองทัพอากาศที่มีมาต่อเนื่องยาวนาน
(ตั้งแต่มีแนวคิดราวปี ๒๕๔๘ จนถึงสร้าง บ.ชอ.๒ ที่ทำวิศวกรรมย้อนกลับจาก บ.ฝ.๑๕ SF.260MT บินในปี ๒๕๕๐)

บ.ชอ.๒

นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่๒ เป็นต้นมากองทัพอากาศก็ได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเครื่องบินด้วยตนเองมาตลอดหลายโครงการ
บ้างก็ประสบความสำเร็จ เช่น บ.ฝ.๑๗ จันทรา
http://www.encyclopediathai.org/aircraft/Trainer/chantra/chantra.htm

บ้างก็ประสบความล้มเหลว เช่น Fantrainer
http://www.encyclopediathai.org/aircraft/Trainer/Fantrainer/Fantrainer600.htm

สำหรับ บ.ทอ.๖ ที่จะทำการผลิตในระยะที่๑ จำนวน ๓เครื่องนั้นจะเป็นเครื่องในระดับ Pre-Production Prototype
ซึ่งจะเป็นต้นแบบของเครื่องที่จะอยู่ในสายการผลิตจริงระยะที่๒ และระยะที่๓ ตามมาอีก ๒๒ลำ ภายในระยะเวลา ๖ปี


ส่วนตัวมองว่าหลายปีที่ผ่านมาถึงจะล่าช้าไปพอสมควรแต่โครงการ บ.ทอ.๖ ก็มาได้ไกลระดับหนึ่งแล้ว
แต่การที่เครื่องบินฝึกแบบนี้จะต่อยอดไปในระดับต่างๆที่วางไว้นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างอีกมากครับ
อย่างการทำเป็นเครื่องลาดตระเวนทางอากาศติดกล้อง หรือผลิตให้ต่างเหล่าทัพ จนถึงส่งออกต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลอีกมาก


เราคงต้องหวังเสียก่อนว่าเครื่อง Pre-Production Prototype ที่จะผลิต ๓ลำในช่วงงบประมาณปี ๒๕๕๗-๒๕๕๙
จะประสบความสำเร็จเสียก่อน จนเข้าสู่ขั้นสายการผลิตแบบ Mass-Production ในระยะที่๒ และระยะที่๓ ถัดไปด้วยครับ