Royal Thai Navy second Krabi class Offshore Patrol Vessel HTMS Trang Keel laying ceremony on 26 June 2017
Long Live The King and Long Live The Princess
พิธีวางกระดูกงู เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง) กับ กำลังพลรับเรือบางส่วน ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มาทรงเป็นประธานในพิธีในวันนี้
เพจ Navy For Life ขอแสดงความยินดีกับกองทัพเรือ ที่กำลังจะประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง อีก 1 ลำ ด้วยฝีมือของคนไทย และกำลังพลรับเรือที่จะได้ปฏิบัติงานบนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยต่อเรือรบใช้เอง
By Admin ต้นปืน561
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1380326378671919
https://www.facebook.com/NavyForLifePage
พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ
ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล
เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ที่ว่า “กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม”
ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554
เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงกระบี่ เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ
โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ เพื่อให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 นี้ปฏิบัติการตามภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ที่พระราชทาน ในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.91 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2510 ณ กรมอู่ทหารเรือ ที่ว่า
“การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระหนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบจะมีคุณภาพดี ประกอบพร้อมกันไป บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศ
การที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดี และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าสำคัญก้าวหนึ่งของกองทัพเรือ”
สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561
ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 โดยจะดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช
จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง
โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ
คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
- ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
- กินน้ำลึก 3.70 เมตร
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
- ความเร็วสูงสุด 23 นอต
- รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต ได้ถึงระยะ 3,500 ไมล์ทะเล
- อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ และปืนขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
- ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อ ยิง
โดยเรือสามารถปฏิบัติการในทะเลเปิด ต่อเนื่องได้อย่างน้อย 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงและสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะทะเลระดับ SEA STATE 5
ข้อมูลจำเพาะพิธีวางกระดูกงูเรือ
พิธีวางกระดูงูเรือ เป็นพิธีแรกในการสร้างเรือ คำว่า “กระดูกงู” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าพิธีวางกระดูกงูเรือจึงเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งในการเริ่มสร้างเรือมานับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ ส่วนพิธีการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชาติ
พิธีวางกระดูกงูเรือของไทยนั้น คงจะสืบเนื่องมาจากการนับถือเทพธิดา (นางไม้) เพราะในสมัยโบราณถือกันว่าการเข้าป่าตัดไม้ต้องทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์ (พฤกษเทวดา) เสียก่อนจึงจะหาตัวเรือไม้แม่ย่านางและมาดเรือได้ดี
และเป็นไม้ที่นายช่างผู้ชำนาญการต่อเรือได้พิจารณาเลือกคัดเอาแต่ที่อย่างเอก ๆ เป็นไม้ที่ดีที่หนึ่ง เมื่อได้ไม้มาแล้วก่อนจะทำการโกลนและเปิดมาดขึ้นกง (การปรับแต่งตัวเรือและขึ้นโครงเรือเฉพาะเรือไม้) ก็ทำพิธีบวงสรวงเชิญเทวพฤกษ์มาสิงสถิตปกปักรักษา
พิธีนี้ก็เห็นจะเนื่องมาจากพิธีของพราหมณ์ดังกล่าวมาแล้ว
สำหรับราชนาวีไทยคงได้ประกอบพิธีมาตั้งแต่สมัยเรือรบที่สร้างตัวเรือด้วยไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนการสร้างจากตัวเรือไม้มาเป็นตัวเรือเหล็ก สำหรับเรือรบที่สร้างด้วยเหล็กตามหลักฐาน ได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือหลวงสัตหีบเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2499
โดย กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้สร้าง ได้มีพิธีทางศาสนาพุทธ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีพราหมณ์ประกอบการบูชากฤษ์
มี ฯพณฯ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประกอบพิธีย้ำหมุดเป็นปฐมฤกษ์ และมี จอมพลเรือ ป.ยุทธศาสตร์โกศล ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้กล่าวเชิญประกอบพิธี ในปัจจุบันได้กำหนดพิธีวางกระดูกงูของราชนาวีไทย พอสังเขปดังนี้
พิธี ประกอบด้วย การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงูโดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรก หรือกดปุ่มสวิตช์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า
ผู้ประกอบพิธี ในประเทศอาจเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนต่างประเทศ
อาจเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้น ๆ ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนตามที่กองทัพเรือจะพิจารณากำหนดพิธี แล้วแต่ฤกษ์
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1572843932766957
https://www.facebook.com/prthainavy/
สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สองคือ ร.ล.ตรัง ที่ได้มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือไปนี้คาดว่าจะมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ซึ่งในส่วนงบประมาณการก่อสร้างเรือที่มีการอนุมัติการลงนามสัญญาไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙(2016) รวมวงเงิน ๕,๕๐๐ล้านบาท($170 million)นั้นแบ่งเป็นสองส่วนคือ
๑.วงเงิน ๒,๘๕๐ล้านบาท เฉพาะตัวเรือประกอบด้วยแบบเรือและพัสดุในการสร้างเรือพร้อมการสนับสนุน ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๑(2015-2018)
๒.วงเงิน ๒,๖๕๐ล้านบาท ในส่วนระบบควบคุมบังคับบัญชา,ระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ประกอบด้วย ระบบอำนวยการรบของ Thales Nederland B.V. ๑ระบบ, แท่นยิงเป้าลวง ๒แท่นยิง,
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Vulcano Super Rapid ๑กระบอก, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm ๒กระบอก, ปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon Block II ๘นัด
มีข้อมูลเพิ่มเติมส่วนหนึ่งว่า กองทัพเรือไทยวางแผนที่จะต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สามในอนาคต โดยกำลังรอการบรรจุโครงการในแผนการดำเนินเพื่อให้มีการอนุมัติในงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
อย่างไรก็ตามมีการให้ข้อมูลว่า กองทัพเรือไทยจะจะต่อเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ ที่ใช้แบบแผนเรือ 90m Offshore Patrol Vessel ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัทอู่บางกอก(Bangkok Dock) ซื้่อสิทธิบัตรมาเพียง ๓ลำเท่านั้น
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพื่อทดแทนเรือเก่าทั้งหมดรวมอย่างน้อย ๖ลำ ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งประจำการแล้ว ๒ชุด รวม ๓ลำคือ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ประกอบด้วย ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ซึ่งต่อที่สาธารณรัฐประชาชนจีน กับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ คือ ร.ล.กระบี่ที่ต่อในไทย และ ร.ล.ตรัง ที่จะเข้าประจำการในอนาคต
นั่นทำให้เมื่อรวมกับแผนการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลชุด ร.ล.กระบี่ลำที่สาม ทำให้กองทัพเรือไทยมีเรือ ตกก.รวม ๕ลำ ซึ่งเรือ ตกก.ลำต่อไปนั้นอาจจะเปลี่ยนแบบเรือเป็นชุดใหม่ โดยอู่บางกอกก็กำลังพิจารณาศึกษาแบบเรือจากบริษัทต่างๆตามที่ได้เคยรายงานไปครับ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ
ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล
เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ที่ว่า “กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม”
ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554
เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงกระบี่ เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ
โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ เพื่อให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 นี้ปฏิบัติการตามภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ที่พระราชทาน ในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.91 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2510 ณ กรมอู่ทหารเรือ ที่ว่า
“การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระหนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบจะมีคุณภาพดี ประกอบพร้อมกันไป บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศ
การที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดี และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าสำคัญก้าวหนึ่งของกองทัพเรือ”
สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561
ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 โดยจะดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช
จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง
โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ
คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
- ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
- กินน้ำลึก 3.70 เมตร
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
- ความเร็วสูงสุด 23 นอต
- รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต ได้ถึงระยะ 3,500 ไมล์ทะเล
- อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ และปืนขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
- ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อ ยิง
โดยเรือสามารถปฏิบัติการในทะเลเปิด ต่อเนื่องได้อย่างน้อย 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงและสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะทะเลระดับ SEA STATE 5
ข้อมูลจำเพาะพิธีวางกระดูกงูเรือ
พิธีวางกระดูงูเรือ เป็นพิธีแรกในการสร้างเรือ คำว่า “กระดูกงู” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าพิธีวางกระดูกงูเรือจึงเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งในการเริ่มสร้างเรือมานับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ ส่วนพิธีการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชาติ
พิธีวางกระดูกงูเรือของไทยนั้น คงจะสืบเนื่องมาจากการนับถือเทพธิดา (นางไม้) เพราะในสมัยโบราณถือกันว่าการเข้าป่าตัดไม้ต้องทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์ (พฤกษเทวดา) เสียก่อนจึงจะหาตัวเรือไม้แม่ย่านางและมาดเรือได้ดี
และเป็นไม้ที่นายช่างผู้ชำนาญการต่อเรือได้พิจารณาเลือกคัดเอาแต่ที่อย่างเอก ๆ เป็นไม้ที่ดีที่หนึ่ง เมื่อได้ไม้มาแล้วก่อนจะทำการโกลนและเปิดมาดขึ้นกง (การปรับแต่งตัวเรือและขึ้นโครงเรือเฉพาะเรือไม้) ก็ทำพิธีบวงสรวงเชิญเทวพฤกษ์มาสิงสถิตปกปักรักษา
พิธีนี้ก็เห็นจะเนื่องมาจากพิธีของพราหมณ์ดังกล่าวมาแล้ว
สำหรับราชนาวีไทยคงได้ประกอบพิธีมาตั้งแต่สมัยเรือรบที่สร้างตัวเรือด้วยไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนการสร้างจากตัวเรือไม้มาเป็นตัวเรือเหล็ก สำหรับเรือรบที่สร้างด้วยเหล็กตามหลักฐาน ได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือหลวงสัตหีบเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2499
โดย กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้สร้าง ได้มีพิธีทางศาสนาพุทธ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีพราหมณ์ประกอบการบูชากฤษ์
มี ฯพณฯ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประกอบพิธีย้ำหมุดเป็นปฐมฤกษ์ และมี จอมพลเรือ ป.ยุทธศาสตร์โกศล ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้กล่าวเชิญประกอบพิธี ในปัจจุบันได้กำหนดพิธีวางกระดูกงูของราชนาวีไทย พอสังเขปดังนี้
พิธี ประกอบด้วย การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงูโดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรก หรือกดปุ่มสวิตช์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า
ผู้ประกอบพิธี ในประเทศอาจเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนต่างประเทศ
อาจเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้น ๆ ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนตามที่กองทัพเรือจะพิจารณากำหนดพิธี แล้วแต่ฤกษ์
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1572843932766957
https://www.facebook.com/prthainavy/
สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สองคือ ร.ล.ตรัง ที่ได้มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือไปนี้คาดว่าจะมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ซึ่งในส่วนงบประมาณการก่อสร้างเรือที่มีการอนุมัติการลงนามสัญญาไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙(2016) รวมวงเงิน ๕,๕๐๐ล้านบาท($170 million)นั้นแบ่งเป็นสองส่วนคือ
๑.วงเงิน ๒,๘๕๐ล้านบาท เฉพาะตัวเรือประกอบด้วยแบบเรือและพัสดุในการสร้างเรือพร้อมการสนับสนุน ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๑(2015-2018)
๒.วงเงิน ๒,๖๕๐ล้านบาท ในส่วนระบบควบคุมบังคับบัญชา,ระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ประกอบด้วย ระบบอำนวยการรบของ Thales Nederland B.V. ๑ระบบ, แท่นยิงเป้าลวง ๒แท่นยิง,
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Vulcano Super Rapid ๑กระบอก, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm ๒กระบอก, ปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon Block II ๘นัด
มีข้อมูลเพิ่มเติมส่วนหนึ่งว่า กองทัพเรือไทยวางแผนที่จะต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สามในอนาคต โดยกำลังรอการบรรจุโครงการในแผนการดำเนินเพื่อให้มีการอนุมัติในงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
อย่างไรก็ตามมีการให้ข้อมูลว่า กองทัพเรือไทยจะจะต่อเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ ที่ใช้แบบแผนเรือ 90m Offshore Patrol Vessel ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัทอู่บางกอก(Bangkok Dock) ซื้่อสิทธิบัตรมาเพียง ๓ลำเท่านั้น
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพื่อทดแทนเรือเก่าทั้งหมดรวมอย่างน้อย ๖ลำ ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งประจำการแล้ว ๒ชุด รวม ๓ลำคือ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ประกอบด้วย ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ซึ่งต่อที่สาธารณรัฐประชาชนจีน กับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ คือ ร.ล.กระบี่ที่ต่อในไทย และ ร.ล.ตรัง ที่จะเข้าประจำการในอนาคต
นั่นทำให้เมื่อรวมกับแผนการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลชุด ร.ล.กระบี่ลำที่สาม ทำให้กองทัพเรือไทยมีเรือ ตกก.รวม ๕ลำ ซึ่งเรือ ตกก.ลำต่อไปนั้นอาจจะเปลี่ยนแบบเรือเป็นชุดใหม่ โดยอู่บางกอกก็กำลังพิจารณาศึกษาแบบเรือจากบริษัทต่างๆตามที่ได้เคยรายงานไปครับ