วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นเปิดตัวแนวคิดเรือเอนกประสงค์ทรง Trimaran รถสะเทินน้ำสะเทินบกของ Mitsubishi และเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ใหม่

MAST Asia 2017: Japan unveils further details of multipurpose trimaran concept proposal for JMSDF
A model of the trimaran concept being proposed by ATLA to the JMSDF. Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
http://www.janes.com/article/71354/mast-asia-2017-japan-unveils-further-details-of-multipurpose-trimaran-concept-proposal-for-jmsdf

สำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของแนวคิดเรือรบเอนกประสงค์ทรง Trimaran
ที่กำลังเสนอให้กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) (สำหรับเป็นเรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดอเนกประสงค์) ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ MAST Asia 2017 ที่กรุงโตเกียวระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายนที่ผ่านมา

การศึกษาแนวคิดเรือรบทรง Trimaran ถูกเปิดเผยครั้งแรกในปี 2014 เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบที่สามารถตอบสนองได้อย่างคล่องแคล่วต่อภัยคุกคามทุ่นระเบิดทางทะเล
แต่มันได้ถูกประเมินค่ามาเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่และเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กของ JMSDF ตามที่เจ้าหน้าที่ของ ATLA ได้กล่าวกับ Jane's ในงาน

คุณสมบัติของข้อเสนอแนวคิดแบบเรือรบทรง Trimaran ตัวเรือมีความยาว 92m กว้าง 21m กินน้ำลึก 4m และมีระวางขับน้ำสูงสุดประมาณ 1,500tons โดยสร้างจาก aluminium ในส่วนลำตัวเรือและดาดฟ้ายก มีอาวุธคือปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 และปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Phalanx CIWS(Close-In Weapon System) 20mm
แนวคิดเรือรบทรง Trimaran ยังสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เกิน 35knots และมีพิสัยทำการปกติ 3,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15 knots ด้วยเครื่องยนต์ Water Jet สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 14ton คือเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิดทางอากาศ Kawasaki MCH-101(ACMC: Airborne Mine Countermeasures) ที่มีพื้นฐานจาก AgustaWestland AW101

เรือยังถูกออกแบบให้รองรับภารกิจที่หลายหลายรูปแบบนอกเหนือจากการต่อต้านทุ่นระเบิด เช่น การสกัดกั้นทางทะเล, ต่อต้านกระกระทำอันเป็นโจรสลัด และค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue)
ห้องภารกิจ(Mission Bay)ใต้ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ยังรอบรับการติดตั้งชุดบรรทุกภารกิจ(Mission Modules)ได้หลายรูปแบบจำนวนหนึ่ง อย่างเช่นสำหรับปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle), ยานผิวน้ำไร้คนขับ(USV: Unmanned Surface Vehicle) และยานใต้น้ำไร้คนขับ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) แต่ไม่ได้ถูกแสดงในแบบจำลองเรือในงานครับ

MAST Asia 2017: Mitsubishi Amphibious Vehicle breaks cover
A model of the Mitsubishi Amphibious Vehicle, depicted in water operation mode, on display at MAST Asia 2017. (IHS Markit/Ridzwan Rahmat)

บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของรถสะเทินน้ำสะเทินบกสายพานต้นแบบสาธิตที่กำลังถูกเสนอให้กองกำลังป้องกันตนเองทางบก(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) ในงานแสดงอาวุธ MAST Asia 2017
เจ้าหน้าที่ MHI ได้กล่าวกับ Jane's ว่า รถสะเทินน้ำสะเทินบกของ Mitsubishi ได้ถูกออกแบบให้ทำได้ทั้งความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่บนบกที่ดี และสัมพันธ์กับความเร็วสูงในน้ำ เมื่อเปรียบเทียบรถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบอื่นที่มีในตลาดตอนนี้

"MHI มีประสบการณ์อย่างมากกมายในการออกแบบและสร้างเรือผิวน้ำขนาดใหญ่ เช่นนี้ MHI ได้รวบรวมประสบการณ์นี้ในการออกแบบรถซึ่งนั้นจะสามารถปฏิบัติการได้อย่างดีมากในน้ำ"
 Mitsuhiko Ikeya เจ้าหน้าที่สื่อสารบริษัทตัวแทน MHI กล่าวตอบคำถามของ Jane's ในส่วนจัดแสดงของงาน

คุณสมบัติต่างที่นำมาประกอบใช้กับรถสะเทินน้ำสะเทินบกตามที่ MHI กล่าว มีทั้งระบบกันกระเทือนแขน hydro pneumatic ซึ่งสามารถถอนออกจากการยึดกลับล้อกดและสายพานขณะเคลื่อนที่ในน้ำเพื่อลดแรงต้าน
การขับเคลื่อนในน้ำของรถใช้เครื่องยนต์ Water Jet กำลังขับสูงขนาดกะทัดรัด การเคลื่นที่บนบกใช้เครื่องยนต์ดีเซลของ MHI กำลัง 3,000HP(2,206kW) แต่ความเร็วสูงสุดของรถที่ทำได้ทั้งบนบกและในน้ำนั้นจำเป็นต้องได้รับการยืนยันจากการทดสอบรถสาธิตก่อน

ตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ตัวแทน MHI กล่าวในงาน รถสะเทินน้ำสะเทินบกสามารรองรับกำลังพลประจำรถได้ 15นาย แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของ JGSDF และภารกิจที่ได้รับ ระบบอาวุธที่สามารถติดตั้งกับรถได้ยังไม่มีการสรุปเสร็จสิ้นในตอนนี้
รถสะเทินน้ำสะเทินบกสาธิตของ Mitsubishi กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพิ่มเติมภายในโดยบริษัทอยู่ แต่การแสดงขีดความสามารถของรถต่อ JGSDF คาดว่าจะมีในเร็วๆนี้ ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นที่ได้สั่งจัดหา AAV7A1 ไปครับ

MAST Asia 2017: Mitsui unveils new LPD vessel concept
An image of the new LPD design on display at Mitsui's stand during the MAST Asia 2017 exhibition. (IHS Markit/Ridzwan Rahmat)

จากประสบการณ์ในการสร้างเรือยกพลขึ้นบกชั้น Osumi สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลมาแล้ว 2ลำ บริษัท Mitsui Engineering & Shipbuilding Co, Ltd ได้เปิดตัวการออกแบบเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ใหม่ในงาน MAST Asia 2017
บริษัทได้ออกแบบเรือ LPD ตามการคาดการณ์ถึงความต้องการเพิ่มเติมสำหรับ JMSDF ในร่างแผนกลาโหมอนาคต ซึ่งคาดว่ากองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจำเป็นที่ต้องเพิ่มความสามารถด้านปฏิบัติการยกพลบกของตนในอนาคต ตามที่ตัวแทนบริษัท Mitsui กล่าวกับ Jane's ในงาน

เรืออู่ยกพลขึ้นบก Mitsui LPD มีความยาว 210m กว้าง 30m กินน้ำลึก 7m ระวางขับน้ำ 16,000tons สามารถรองรับกำลังพลได้สูงสุด 200นาย มีโรงเก็บอากาศยานในเรือรองรับอากาศยานปีกกระดก V-22 Osprey 2เครื่อง 
และมีอู่ลอย(well deck) รองรับยานเบาะอากาศ LCAC(Landing Craft Air Cushion) 2ลำ มีโรงเก็บรถรองรับยานพาหนะทางทหารได้ 40คัน ตามที่ Isao Yoshino ผู้จัดการทั่วไปแผนกวิศวกรรมเรือนาวีของ Mitsui กล่าว

ระบบอาวุธที่ติดตั้งกับเรือ LPD ได้ขึ้นกับลูกค้า โดยภาพการออกแบบของเรือที่แสดงในงานนั้นติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิด CIWS 2ระบบ ระบบหนึ่งที่แท่นอาวุธหลักหน้าเรือ อีกระบบที่หลังคาโรงเก็บอากาศยานหน้าดาดฟ้าบินท้ายเรือ
ภารกิจของเรือยังรองรับได้นอกเหนือไปจากปฏิบัติการจู่โจมยกพลขึ้นบก ทั้งการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) และการบัญชาการและควบคุมทางทะเล นาย Yoshino กล่าว

นอกจากนี้บริษัท Mitsui ยังได้จัดแสดงแบบแผนแนวคิดเรือยกพลขึ้นบกอื่นที่เสนอให้ JMSDF เช่น เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Platform Dock) ยาว 210m ระวางขับน้ำ 16,000tons ที่เป็นการนำคุณสมบัติของเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์รวมกับเรืออู่ยกพลขึ้นบก
และเรือขนส่งกำลังยกพลขึ้นบก(MLP: Mobile Landing Platform) ความยาว 240m ระวางขับน้ำ 21,000tons ซึ่งเป็นเรือขนส่งที่บรรทุกกำลังพลได้ 240นายที่มีดาดฟ้าสำหรับให้เฮลิคอปเตอร์ลงจอดได้ 4จุด และมีประตูขนาดใหญ่ข้างตัวเรือสำหรับเรือระบายพลครับ