บทสัมภาษณ์นี้คัดมาจากนิตยสาร Menu Computer Idea ของ SPC Books ซึ่งตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๔ (ปัจจุบันเลิกไปนานมากแล้ว)
เกี่ยวกับภาพยนตร์ Animation ทางโทรทัศน์เรื่อง "เจ้าหนูผู้พิทักษ์" ซึ่งเป็นผลงานของ Mr.Won Chul Shin หรือคุณชิน นักAnimator ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งทำงานในเกาหลีและสหรัฐฯมาตลอด ๓๐ปี(๔๔ปีปัจจุบัน) กับ คุณกร วารัญญู เนตรเพ็ญ
ปัจจุบันผมไม่สามารถหาข่าวหรือข้อมูลความคืบหน้าของ Animation เรื่องนี้ได้แล้วแต่คาดว่าคงจะ"เลิกทำ" ไปนานแล้วครับ
แต่เห็นว่าบทสัมภาษณ์มีความน่าสนใจจึงนำมาลงครับ
เรื่องย่อการ์ตูนชุด เจ้าหนูผู้พิทักษ์
ตอนที่1: พ่อ...วีรบุรุษของผม
ครูก้อย เป็นอาสาสมัครที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เพื่อสอนหนังสือให้กับเด็กๆและชาวบ้านในหมู่บ้านผู้พิทักษ์
ขุน อดีตนายทหารมือหนึ่งจากหน่วยนาวิกโยธิน ผู้ซึ่งลาออกจากราชการมาเป็นอาสาสมัครพิทักษ์ป่า มีหน้าที่ป้องกันป่าไม้และสัตว์ป่า
เขากำลังตามหาพ่อค้ายาบ้าที่ชื่อเสือ ซึ่งเป็นผู้ลอบสังหาร
ธงชาติ นายทหารผู้กล้าพี่เขยของเขา ในขณะที่ธงชาติได้เข้าไปนำพระบรมฉายาลักษณ์ออกมาจากบ้านที่กำลังไฟไหม้เมื่อ2ปีที่แล้ว
เพราะเสือแค้นใจที่ธงชาติจับคนของเขาพร้อมกับยาบ้า10ล้านเม็ดส่งให้กับตำรวจ
ธงชาติได้ทิ้ง หน่อง ลูกชายคนเดียวไว้กับ พิมพ์ พี่สาวของขุน ก่อนที่ธงชาติจะสิ้นลมเขาได้สั่งเสียลูกชายของเขา พร้อมบอกคนในหมู่บ้านว่า
"จงปกป้องเมื่องไทยเพื่อในหลวงของเรา"...
กร: คุณชินเป็นพี่เขยของผมเอง เมื่อ3-4ปี(นับจากปี2544)ที่แล้วผมได้ฟัง Concept ของแกแล้วผมสนใจ มันน่าจะดี
สำหรับประเทศไทยคือตอนที่เขาอยู่เมืองนอก เขาก็ได้เห็นปัญหา ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ หลายๆปัญหา
ที่ประเทศของเขาไม่ว่าจะเป็นเกาหลี หรือแม้แต่อเมริกา ก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน แต่จะน้อยกว่าประเทศไทย
เขาก็ถามว่าทำไมประเทศเรามีปัญหาเยอะขนาดนี้
ชิน: คนไทยไม่ค่อยรักชาติ
กร: เมื่อ12ปีที่แล้ว(นับจากปี2544) ที่เขามาเยือนเมืองไทยปัญหายังไม่เยอะขนาดนี้ เขาก็เลยบอกว่าการแก้ปัญหาคือต้องปลุกจิตสำนึกทำให้คนไทยรู้จักหน้าที่ความเป็นคนไทย
ทีนี้พื้นฐานของการสร้างบรรทัดฐานของสังคมมันต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
แล้วเขาก็มีประสบการณ์ด้านการเขียนการ์ตูนสอนเด็กอยู่แล้ว เขาก็อยากทำสิ่งดีๆให้กับเมืองไทย ก็เลยคิดทำการ์ตูนเรื่องเจ้าหนูผู้พิทักษ์ขึ้นมา
เพราะที่ผ่านมาอย่างที่เกาหลีเขาทำการ์ตูนเพื่อปลูกจิตสำนึกได้สำเร็จ อย่างเช่นการรณรงค์เรื่องเพศสัมพันธ์ในหมู่นักศึกษา
ชิน: สังคมในมหาวิทยาลัยที่เกาหลีมีปัญหา ชอบเลียนแบบญี่ปุ่นกับอเมริกา ผมก็เลยทำเสื้อยืดขึ้นมา สกีนลายเป็นรูปหัวใจแล้วมีตัวอักษรเขียนว่า
I will keep my virgin for my future husband (ฉันจะเก็บความบริสุทธิ์ของฉันไว้ให้สามีในอนาคต)
ทุกคนบอกว่าผมแรงมาก ปากเสีย แต่หลายคนก็ชอบบอกว่า Good Idea
อะไรทำให้คุณชินประสบความสำเร็จจากการใช้การ์ตูนเป็นสื่อในการปลุกจิตสำนึกของคนเกาหลี
กร: ดูได้จากปัจจุบันนี้ว่าประเทศเขาเป็นอย่างไร การที่จะสอนได้คงต้องสอนตั้งแต่เด็กๆ แล้วการ์ตูนก็เป็นสื่อที่อยู่คู่กับเด็กๆมาตลอด การ์ตูนเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างฮีโร่ สร้างความประทับใจให้กับเด็กๆ
ชิน: ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเลว สอนกันตรงๆ ไม่ได้สอนแบบไทยๆ
กร: คนไทยชอบให้สอนแบบค่อยๆซึมซับ การทำอะไรก็จะช้ากว่าประเทศอื่น
ชิน: จริงๆผมต้องการช่วยในหลวง คนไทยปากก็บอกว่ารักในหลวง ใช้ปากอย่างเดียวไม่ถูก
ถ้าจะเอาวิธีนี้มาใช้กับเด็กไทย
กร: การ์ตูนเป็นเพื่อนกับเด็กอยู่แล้ว ถ้าเราสร้างความประทับใจให้เขาได้ เราก็จะปลุกจิตสำนึกไว้ในตัวละครได้
ก่อนที่จะทำเรื่องนี้ ต้องวิเคราะห์พฤติกรรมความสนใจประเภทการ์ตูนของเด็กด้วยมั๊ย
กร: เด็กชอบเกือบทุกแนว ไม่เจาะจงว่าจะบู๊ล้างผลาญหรือโรแมนติกอย่างเดียว มันจะมีความสนุกสนาในตัวอยู่แล้ว มีจินตนาการต่างๆแอบแฝงอยู่
แต่ของเรานี้เจาะจงไปเลยเรื่องความรักชาติ และการต่อต้านยาเสพติด แต่ในขณะเดียวกันก็มีการ์ตูนอีกประเภทหนึ่งที่เป็นด้านมืด
ถ้าผู้ใหญ่มีจิตสำนึก ก็ต้องรู้จักคัดเกรดของการ์ตูน ต้องรู้จักแยกแยะ มันจะเป็นการปลูกฝังวัฒธรรมที่ผิดโดยเฉพาะเรื่องเซ็กซ์
ทำไมถึงเป็นการ์ตูนฉายทางโทรทัศน์
กร: เพราะเป็นสื่อที่เร็วที่สุดและคนดูได้มากที่สุด ผู้ใหญ่ที่ได้ดูก็จะเกิดความประทับใจด้วย
ชิน: ผมทำการ์ตูน พ่อแม่ก็ดูได้ ตัวการ์ตูนในเรื่องมี คาแรคเตอร์กลัวเมีย เรื่องจริงใครๆก็กลัวเมีย กินเหล้าไม่ได้ สูบบุหรี่ไม่ได้ แม่ทำกับข่าวไปก็ดูได้
กว่าจะมาเป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งฉายทางโทรทัศน์ได้ ยากลำบากขนาดไหน
กร: เพราะเป็นสื่อที่เร็วที่สุดและคนดูได้มากที่สุด ผู้ใหญ่ที่ได้ดูก็จะเกิดความประทับใจด้วย
ชิน: ผมทำการ์ตูน พ่อแม่ก็ดูได้ ตัวการ์ตูนในเรื่องมี คาแรคเตอร์กลัวเมีย เรื่องจริงใครๆก็กลัวเมีย กินเหล้าไม่ได้ สูบบุหรี่ไม่ได้ แม่ทำกับข่าวไปก็ดูได้
กว่าจะมาเป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งฉายทางโทรทัศน์ได้ ยากลำบากขนาดไหน
กร: เริ่มแรกเราคิดเนื้อเรื่องกัน โดยผมจะเป็นคนให้ข้อมูลทั้งหมด เราคิดจะทำกัน 52ตอน แบ่งเป็น 3ภาคๆ แรก 26ตอนๆ แรกกล่าวถึงหมู่บ้านผู้พิทักษ์ ภาคที่2กล่าวถึงทะเลของไทย ภาคที่3อเมซอน
เป็นการช่วยปกป้องทรัพยากรของโลก
เราทำเป็นเนื้อเรื่องเสร็จเราก็ออกแบบตัวละคร เช่น หน่องกับขุนเป็นตัวเอก หน่องจะมีความสามารถพิเศษคือสื่อสารสัตว์ได้ ขุนเป็นอดีตทหารนาวิกโยธินมือหนึ่งของไทย
ในส่วนที่ลงมือวาดจะเป็นคุณชิน เนื้อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนผมจะเป็นผู้แปล
สังเกตดูหน้าตาตัวละครจะออกไปแนวญี่ปุ่นมากกว่าแบบไทยๆ
กร: ผมยังหา Character ที่สวยงามแบบไทยๆ ยังไม่ได้ คิดว่าทำอย่างไรให้เด็กสนใจ ถ้าเราวาดไม่สวยเด็กก็ไม่สนใจ ก็เลยออกมาแนวนี้ก่อน จากนั้นก็ Design location แล้วก็ทำมาเป็น Storyboard จะรวม Layout แล้วก็ตำแหน่งการวางภาพต่างๆ เพื่อเป็น Key สำหรับทำ Animation
ใช้เวลานานแค่ไหนสำหรับการทำ Storyboard
ชิน: 1วันก็เสร็จ คนไทยตกใจ
กร: ทั้งวันวาดอย่างเดียว หลังจากมีเนื้อเรื่องแล้ว 1วันวาดได้ 1ตอน แต่ก็ไม่ได้ทำทุกวัน มันสำคัญตรงเนื้อเรื่องมากกว่า ภาพไม่ค่อยเท่าไร ตอนนี้เราก็ทำกันแค่สองคนเลยใช้เวลานานหน่อย
ในส่วน Animation จริงๆเรายังไม่ได้เริ่มเลย เราต้องจ้างพนักงานเพิ่มอีก
ชิน: คนเก่ง 1คน กับคนไม่เก่ง 5คน คนเก่ง1คนสามารถทำได้ดีกว่าเร็วกว่า ส่วนคน5คนใช้เวลานานและใช้เงินเยอะ นี้คือเกาหลีสไตล์ Animator เมืองไทยชอบที่จะใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าจะใช้ฝีมือจริงๆ
ผมยอมขาดทุนนอนวันละ 3ช.ม.เป็นเวลา3ปี ผมไม่ยอมแพ้เพื่อต้องการเป็นที่1
เขียน Storyboard ได้กี่ตอนแล้ว
กร: 26ตอนแล้วครับ ส่วน Animation เราทำเป็นตัวอย่างไว้ประมาณ 5นาที
ตอนที่ทำคิดถึงเรื่องการตลาดด้วยมั๊ย เช่น เงินทุนเท่าไร จะไปฉายช่องไหน
กร: ผมไปคุยกับหลายสถานี ซึ่งตอนนั้นมีโครงเรื่องและภาพประกอบแล้ว ทุกช่องยินดีให้การสนับสนุนแต่ไม่มีงบประมาณ
อย่างไอทีวีบอกเลยว่าถ้าเราทำเสร็จเมื่อไรเขาหาเวลาลงให้ได้เลย เขาบอกว่าเนื้อเรื่องแบบนี้เข้ากับช่องของเขา ทางช่อง5 ก็ให้ความสนใจ
งบประมาณในการทำงานตอนนี้เป็นอย่างไร
กร: 1ตอน20นาที ใช้งบประมาณ 3แสนบาท เป็นค่าแรงทั้งหมด ทั้งการวาด การลงสี การทำเสียง การตัดต่อ
ชิน: เกาหลีทำ3-4ล้าน อเมริกาทำ 5ล้านบาท เมืองไทยใช้วิธีซื้อการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างเดียว ง่ายๆเก็บเงินได้ด้วย
กร: เมืองไทยเรายังขาดบุคลากรที่เป็น Animator อีกเยอะ เหมือนกับหมอแหละครับ เรียนไม่รู้จบ หมอยังต้องเรียนเฉพาะด้าน Animator ก็เหมือนกัน
Animator ต้องทำอะไรบ้าง
กร: เขาจะเป็นคนจินตนาการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูน จะขยับซ้ายหรือขวา เมื่อลุกขึ้นมาจะขยับยังไง จำนวนภาพที่วาดก็ไม่ใช่น้อยๆ อย่างถ้าวาดภาพคนเดินด้านข้าง อาจจะวาด8ภาพ แล้วเอามาซ้ำใน Shot ต่อไป
หลังจาก Animator วาด Key แล้วก็ส่งให้ผู้ช่วยวาดภาพระหว่าง Key อีกที ถ้า Key คือภาพที่1-8 ผู้ช่วยอาจจะวาดภาพที่ 2,4,8 การวาดก็จะวาดลงกระดาษธรรมดา แล้วเราก็เอาไป Scan เพื่อลงสีด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเมื่อก่อนถ่ายลงฟิล์มแล้วค่อยลงสีสดๆกัน
อย่างนี้เราต้อง Scan เป็นหมื่นๆ ภาพเลยหรือ
กร: ใช่ครับ แต่ปัจจุบันก็มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับ Animation ขึ้นมา Support โดยเฉพาะ หลังจากเรา Scan ภาพและลงสีเสร็จ ก็จะเอาไปประกบบนภาพ Background ที่เราวาดไว้รอต่างหากอีก
ชิน: 1ตอนใช้ 15,000แผ่น ต้องระบายสีทั้งหมดแล้วก็มี Background อีก 600แผ่น
กร: พอเอาภาพมาประกบแล้วก็จะได้เป็น Scene จากนั้นเราก็เอามาตัดต่อสัญญาณลงเทปอีกที
ใช้เวลาทำจริงๆนานแค่ไหน
กร: ขึ้นอยู่กับจำนวนคน ถ้าคนเราเยอะอาจจะ 10วันเสร็จได้ ซึ่งเราก็มีทีมที่จะรอเรียกให้มาทำอยู่แล้ว
งบที่ใช้อยู่ตอนนี้มาจากไหน
กร: ทุนส่วนตัวทั้งหมด หมดไปประมาณ 4แสนแล้วครับ ตอนนี้กำลังหาทุนเพิ่ม
ชิน: ผมเชื่อว่าเมืองไทยมีคนดีเยอะ แต่ผมไม่มีเพื่อนก็เลยโฆษณาไม่ได้
กร: ตอนนี้เราก็นำเรื่องเข้าถึงเลขาท่านนายกฯ แล้ว เขาก็รับพิจารณาเรียบร้อยแล้วแต่ต้องรออีกนิด ส่วนใหญ่ที่ผมไปคุยมาเขาก็มองว่าจะขายสปอนเซอร์ได้เหรอ สรุปว่าไปทำมาให้ดูก่อนแล้วจะไปเสนอสปอนเซอร์ให้ บางคนก็บอกฉายไปก่อน ถ้าเรทติ้งดีก็จะหาสปอนเซอร์ให้
ชิน: ไม่เหมือนเกาหลีเมื่อ30ปีที่แล้ว(44ปีปัจจุบัน) ใคนมี Concept ดี รักชาติ ไปสถานีโทรทัศน์แล้วเสนอ Concept เขายินดีให้เงินทุนมาทำเลย
คาดว่าอีกนานมั๊ยกว่าจะได้ดูการ์ตูนเรื่องนี้
กร: ถ้าได้งบประมาณ คาดว่าปลายปีนี้(2544)คงได้ดู เพราะจริงๆแล้วมันไม่ยากหรอกครับ
ชิน: ผมกล้าพูดได้เลยว่าคนไทยที่ได้ดูเรื่องนี้จะต้องสนุก ร้องไห้ และภาคภูมิใจไปกับเนื้อเรื่องและตัวละคร สมมุติดูการ์ตูนจบวันรุ่งขึ้นไปโรงเรียนเรามาคุยกัน
"สัญญาได้มั๊ย ว่าเราจะช่วยในหลวง ใครสัญญายกมือขึ้น"
พ่อแม่ก็ดูได้ ผมเขียนการ์ตูนผมร้องไห้หลายครั้ง เพราะผมภูมิใจในหลวง