วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558
SAAB AB สวีเดนเสนอเรือดำน้ำแบบ A26 ให้กองทัพเรือไทย
บริษัท Saab ประเทศสวีเดน เข้ามาบรรยายข้อมูลเรือดำน้ำชั้น A-26 เมื่อ 2 เม.ย.58 โดยมี พล.ร.ท.ไพฑูรย์ ประสพสิน รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง
ที่มา Page กองเรือดำน้ำ
https://www.facebook.com/222887361082619/photos/a.646128485425169.1073741837.222887361082619/878976835473665/?type=1
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619
SAAB AB สวีเดนนับเป็นบริษัทแรกในเดือนเมษายนที่มาบรรยายเสนอข้อมูลเรือดำน้ำแบบ A26 ให้กองทัพเรือไทยรับทราบ
ก็เป็นที่น่าสนใจว่ารัฐบาลสวีเดนเองเพิ่งจะอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำ A26 จำนวน ๒ลำ วงเงินโครงการไม่เกิน SEK8.2 billion หรือราว $943 million
หลังจากที่ SAAB AB ซื้ออู่ Kockums คืนจากเครือ TKMS เยอรมนีและซื้อตัววิศวกรทางเรือสวีเดนมาทำงานให้ SAAB ที่ในปี 2014 นั้นรัฐบาลสวีเดนได้เคยสั่งยกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำ A26 ไป แต่ก็มีการตั้งโครงการใหม่อีกครั้ง
ซึ่งเป็นไปตามแผนปรับปรุงกำลังเรือดำน้ำกองทัพเรือสวีเดนที่ต้องการจัดหาเรือดำน้ำใหม่แทนเรือแบบ A17 ชั้น Sodermanland ๒ลำที่จะปลดประจำการในอนาคตอันใกล้
โดยกองทัพเรือสวีเดนจะได้รับมอบเรือดำน้ำ A26 ครบทั้ง๒ลำภายในปี 2022
http://www.saabgroup.com/en/Naval/Kockums-Naval-Solutions/Submarines/Kockums-Next-Generation-Submarine/
เรือดำน้ำแบบ A26 นั้นเป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่ออกแบบมาสำหรับการปฏิบัติการในเขตน่านน้ำชายฝั่งซึ่งเป็นสภาพภูมิศาสตร์ของอ่าว Baltic สวีเดนที่มีความลึกไม่มากนัก
เรือดำน้ำแบบ A26 ถูกออกแบบให้เป็นเรือดำน้ำยุคอนาคตที่มีความสมบัติตรวจจับได้ยากมากสูงทั้งขณะลอยลำเหนือผิวน้ำและดำอยู่ใต้น้ำ
ทั้งนี้เรือดำน้ำแบบ A26 ยังถูกออกแบบให้มีความอ่อนตัวต่อภารกิจหลายรูปแบบ เช่น การลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเล ทำสงครามทุ่นระเบิด โจมตีเรือข้าศึก และสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
รวมถึงขีดความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่าย Data Link Network Centric ที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมระบบอำนวยการรบที่ล้ำยุค ตัวเรือซ่อมบำรุงง่ายและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตลอดอายุการใช้งานต่ำ
ระบบอาวุธหลักของเรือดำน้ำ A26 ประกอบไปด้วยท่อ Torpedo จำนวน ๔ท่อยิงสำหรับ Torpedo ขนาด 53cm, Torpedo ขนาด 40cm และทุ่นระเบิด ซึ่งเรือดำน้ำ A26 สามารถติดตั้ง Torpedo หนักได้สูงสุดมากกว่า ๑๕นัด
พร้อมส่วน Multimission Portal ที่สามรถติดตั้งระบบเสริมต่างๆตามความต้องการภารกิจได้ เช่น ติดตั้งยานใต้น้ำ UUV/ROV หรือสนับสนุนหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ หรือเป็นคลัง Torpedo หรือทุ่นระเบิดเสริม
โดยเรือดำน้ำแบบ A26 นั้นติดตั้งระบบ Stirling AIP ที่มีความก้าวหน้าสูงซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะเวลาในการปฏิบัติใต้มากขึ้น และปลอดภัยต่อแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดใต้น้ำ
เรือดำน้ำแบบ A26 มีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำประมาณ 1,800tons ขณะดำประมาณ 1,900tons ตัวเรือยาว 62m ดำน้ำได้ลึกสุดมากกว่า 200m
ทำความเร็วได้สูงสุดเมื่อใช้ Snorkel มากกว่า 12knots เมื่อใช้ Stirling AIP มากกว่า 6knots ระยะเวลาปฏิบัติการสูงสุด ๔๕วัน กำลังพลประจำเรือ ๒๖นาย
อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำแบบ A26 นั้นมีข้อเสียเปรียบถ้าเทียบกับบริษัทอื่นๆที่มานำเสนอแบบเรือของตนให้กองทัพเรือรับทราบ ตรงที่ยังเป็นแบบเรือที่อยู่ระหว่างการออกแบบยังไม่ได้ต่อขึ้นมาจริงในขณะนี้
อีกทั้งสวีเดนยังได้ทิ้งช่วงการต่อเรือดำน้ำเองในประเทศไปนานนับตั้งแต่ต่อเรือดำน้ำแบบ A19 ชั้น Gotland ๓ลำในช่วงปี 1990s เป็นต้นมา ทำให้ถูกมองว่าขาดประสบการณ์ด้านการต่อเรือดำน้ำไป
ซึ่งเหตุผลนี้เองทำให้กองทัพเรือออสเตรเลียปฏิเสธแบบเรือ Type 612 ขนาด 4,000tons ที่พัฒนาจากเรือแบบ A26 ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำทดแทนเรือชั้น Collins โดยให้ความสนใจ Technology เรือชั้น Soryu ของญี่ปุ่น
ถ้ากองทัพเรือไทยสนใจแบบเรือดำน้ำ A26 ของ SAAB AB สวีเดนจริงก็คงจะต้องรอจนราวหลังปี 2020 เป็นต้นไปที่เรือดำน้ำลำแรกของกองทัพเรือสวีเดนจะสร้างเสร็จเข้าประจำการ
ซึ่งถ้ากองทัพเรือไทยจะมีการจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำและพิจารณาเลือกแบบเรือภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ แล้ว การเลือกแบบเรือ A26 อาจจะต้องใช้เวลาจัดหาและรับมอบเรือนานกว่าการเลือกเรือแบบอื่นอยู่บ้าง
แต่โดยความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่ต่างกันมากนัก
ซึ่งการเลือกแบบเรือดำน้ำนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะเลือกแบบเรือที่เข้ากับระบบการฝึกกำลังพลที่กองเรือดำน้ำจัดตั้งมาได้จะดีกว่า โดยเรือดำน้ำจากเยอรมนีซึ่งกองเรือดำน้ำก็ใช้ระบบฝึกจำลองเรือดำน้ำของเยอรมันอยู่
หรือเรือดำน้ำสวีเดนก็เป็นระบบมีมาตรฐานสูงได้รับการพิสูจน์ในการฝึกซ้อมร่วมนานาชาติมาแล้วหลายครั้ง หรือเรือดำน้ำเกาหลีใต้ที่กองทัพเรือส่งกำลังพลไปศึกษาก็เช่นกัน
และน่าจะเข้าระบบฝึกพื้นฐานของกองทัพเรือได้มากกว่าเรือดำน้ำรัสเซียที่กองทัพเรือไทยไม่มีความคุ้นเคยกับระบบอาวุธทางเรือรัสเซียเลย หรือเรือดำน้ำจีนที่แทบจะไม่มีประเทศใดจัดหาไปใช้งานนักด้วย
แต่ก็นั่นละว่าตอนนี้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยยังไม่ได้มีการตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเลย จึงยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวถึงความชัดเจนของเรือดำน้ำในขณะนี้
ทางกองทัพเรือคงไม่ได้รีบมากในการพิจารณาการจัดตั้งโครงการและเลือกแบบเรือครับ แต่ถ้าช้าเกินไปก็ไม่ดี
เพราะ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ปลดประจำการไปตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมาและ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็จะปลดตามไปในอนาคตอันใกล้ ทำให้กองทัพเรือขาดประสิทธิภาพในการปราบเรือดำน้ำลงไปอีกพอสมควร
ถ้ากองทัพเรือไทยจัดหาเรือดำน้ำได้ช้าเกินไปมากเท่าไร ความมั่นคงของชาติทางทะเลของไทยก็ตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้นครับ