วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

กองทัพเรือไทยปลดระวางประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย และอนาคตหลังการปลดประจำการเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พิธีปลดระวางประจำการ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย

พลเรือตรี สานนท์  ผะเอม ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย 
ตามคำสั่ง กห.ที่ ๙๔/๒๕๕๘ ลง ๓ ก.พ.๕๘ ให้ปลดระวางประจำการ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย
ทั้งนี้เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ปฏิบัติราชการในกองทัพเรือสืบมา เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ณ ท่าเทียบเรือจุกเสม็ด กทส.ฐท.






http://www.frigate1.com/index.php/th/generalnews/216-2015-04-09-02-48-07

กองทัพเรือไทยจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox มือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯคือ
ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเดิมคือ FF-1095 USS Truett ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ.๒๕๓๗
และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเดิมคือ FF-1077 USS Ouellet ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ.๒๕๓๙
ซึ่งเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทั้งสองลำนั้นเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox รุ่นที่ติดตั้งระบบป้องกันตัวระยะประชิด CIWS แบบ Phalanx ขนาด 20mm


เดิมทีนั้นกองทัพเรือมีความต้องการในการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox จำนวน ๔-๖ลำในช่วงก่อนปี ๒๕๔๐ แต่ได้ปรับลดเหลือเพียง ๒ลำ
โดยก่อนหน้านั้นกองทัพเรือต้องการจัดหาเรือพิฆาตชั้น Charles F. Adams มือสองจากสหรัฐฯ ซึ่งปลดประจำการในช่วงใกล้เคียงกัน
เนื่องจากต้องการเรือที่มีแท่นยิง Mk13 สำหรับยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-66 Standard SM-1
แต่ทางสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ซึ่งตัวเรือมีอายุการใช้งานน้อยกว่าให้กองทัพเรือแทน
ทั้งนี้สหรัฐฯยังได้ปฏิเสธที่จะเสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เป็นรุ่นติดตั้งแท่นยิง Mk25 สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ด้วย

เหตุผลที่กองทัพเรือปลดประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อน ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็เนื่องจากอายุการใช้งานตัวเรือโดยรวมที่มากกว่าครับ
เพราะเดิมนั้น FF-1077 USS Ouellet นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1970–1993
ซึ่งตัวเรือได้ผ่านการปรับปรุงตัวเรือใหม่มาระยะหนึ่งก่อนที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือไทยประจำการเป็น ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย
ขณะที่ FF-1095 USS Truett นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1974–1994
และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยแบบ Hot Transfer ในปีเดียวกันที่ปลดคือ พ.ศ.๒๕๓๗
ซึ่ง ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั่นมีกำหนดจะปลดประจำการถัดไปในปี พ.ศ.๒๕๖๐

ตลอดระยะเวลาที่ประจำการมาราว ๒๐ปีนั้น เรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นเรือที่มีขีดความสามารถในการทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำสูงที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพเรือ
เนื่องจากติดตั้งระบบปราบเรือดำน้ำหลายอย่างที่ค่อนข้างทันสมัยในเวลานั้นหลายแบบเช่น
ระบบควบคุมการยิงอาวุธปราบเรือดำน้ำ Mk114, Sonar หัวเรือแบบ AN/SQS-26CX, Sonar ชักหย่อนแบบ AN/SQS-35(V) และ Sonar ลากท้ายแบบ AN/SQR-18A(V)1
ซึ่ง Sonar ชักหย่อน กับ Sonar ลากท้าย นั้นไม่ค่อยได้มีการฝึกใช้งานมากนักเนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในเขตทะเลลึกที่ระดับความลึก 250m ลงไปสำหรับตรวจจับเรือดำน้ำนิวเคลียร์มากกว่า
และระบบอาวุธหลักคือ จรวดปราบเรือดำน้ำแบบ RUR-5 ASROC ในแท่นยิงแบบ Mk16 ๘ท่อยิง ซึ่งติดตั้ง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Mk44 sหรือ Mk46 มีระยะยิงราว 10nmi
พร้อมระบบเป้าลวง Torpedo แบบ T-Mk 6 Fanfare และ AN/SLQ-25 Nixie นับว่าเป็นระบบปราบเรือดำน้ำที่ค่อนข้างทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือไทยในขณะนั้น


อย่างไรก็ตามตลอดที่ประจำการมากว่าเกือบ๒๐ปี เรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในช่วงหลายปีหลังค่อนข้างจะประสบปัญหาเรือการซ่อมบำรุงเรือค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะในส่วนเครื่องยนต์กังหังไอน้ำ Westinghouse steam turbine ขนาด 35,000shp ซึ่งเป็นระบบที่เก่าและล้าสมัย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงค่อนข้ามาก และซ่อมบำรุงยาก
ดูได้จาก Clip ขั้นตอนการติดไฟหม้อน้ำของ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ครับ


ปัจจุบันนี้เรือที่ใช้เครื่องยนต์กังหันไอน้ำนั้นได้ทยอยกันปลดประจำการออกจากกองทัพเรือทั่วโลกจนแทบจะหมดแล้ว
ซึ่งรวมถึงเรือฟริเกตชั้น Knox ในกองทัพเรือต่างๆทั่วโลกทั้ง กองทัพเรือกรีซที่ปลดไปหมดแล้ว กองทัพเรือไต้หวัน กองทัพเรือเม็กซิโก กองทัพเรือตุรกี และกองทัพเรืออียิปต์ในอนาคตอันใกล้

สำหรับกองทัพเรือไทยเองนั้นในอนาคตหลังปี พ.ศ.๒๕๖๐ กองทัพเรือไทยจะคงกำลังเรือฟริเกตที่เป็นเรือรบผิวน้ำหลักจำนวน ๘ลำด้วยกันคือ
ชุด ร.ล.เจ้าพระยา ๒ลำ, ชุด ร.ล.กระบุรี ๒ลำ, ชุด ร.ล.นเรศวร ๒ลำ และเรือฟริเกตชุดใหม่ที่สั่งต่อกับ DSME สาธารณรัฐเกาหลี ๒ลำ ซึ่งลำที่สองจะต่อในไทย
ในขณะที่เรือฟริเกตเก่าทั้ง ร.ล.มกุฎราชกุมาร, ชุด ร.ล.ตาปี รวม ๕ลำซึ่งมีอายุการใช้งานนานและค่อนข้างล้าสมัยมากแล้วจะมีการปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้
นับจากนี่ต่อไปหลังจากที่มีการปลดประจำการเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ลงหมดทั้งสองลำนั้น กองทัพเรือไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดกำลังทางเรืออีกมากทั้งกองเรือฟริเกตที่๑ และกองเรือฟริเกตที่๒
โดยเฉพาะในส่วนกองเรือฟริเกตที่๑ ที่จะมีเรือปลดไปหลายลำและอาจจะมีเรือใหม่เข้าประจำการครับ