วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความหวังในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นอาจเลือนลางเพราะสถานะผู้มาทีหลัง

Japan defense export hopes dimmed by latecomer status
A visitor takes photo of a scale model of a Japanese Maritime Self Defense Force Soryu-class
http://bigstory.ap.org/article/649c26a58e694c92886744ae2aae3367/japan-defense-export-hopes-dimmed-latecomer-status

งานแสดง Technology ด้านความมั่นคงทางทะเล อากาศยาน และอวกาศ ที่เพิ่งจัดขึ้นที่โยโกฮามานั้นนับเป็นงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ครั้งแรกของญี่ปุ่นในรอบ50ปี
ซึ่งจากการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงและการดำเนินการตีความเพื่อเตรียมแก้ไขรัฐธรรมนูญสันติภาพที่ใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด
ของรัฐบาลญี่ปุ่นที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ นั้นวางแผนที่จะให้ญี่ปุ่นสามารถเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มิตรประเทศมากขึ้น
โดยญี่ปุ่นตั้งเป้าที่ในอนาคตจะสามารถกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหม่ประเทศหนึ่งเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วชั้นนำที่แข่งขันผลิตอาวุธส่งออกสู่ตลาดโลกได้

แต่อย่างไรก็ตามบทความวิเคราะห์ AP นั้นกล่าวว่าความหวังที่ญี่ปุ่นจะกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์รายใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและดูเลือนลาง
เพราะแม้ว่าญี่ปุ่นจะสามารถเจรจาโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นในช่วงหลายปีหลังมานี้
เช่น การขายเครื่องบินทะเลตรวจการณ์ ShinMaywa US-2 ให้อินเดีย และการเสนอ Technology เรือดำน้ำชั้น Soryu ให้ออสเตรเลียในการแข่งขันโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ทดแทนเรือชั้น Collins
และความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมขั้นสูงจนอาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์อะไรที่ญี่ปุ่นผลิตไม่ได้ยกเว้นอาวุธนิวเคลียร์

แต่หลายๆบริษัทอย่าง Kawasaki Heavy Industries ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยุทโธปกรณ์สำคัญของญี่ปุ่นก็มีสถานะการเงินที่ทรงตัวแม้ว่าจะมีผลประกอบการทั่วโลกราว $400 billion ก็ตาม
โดยขนาดอุตสาหกรรมยุทโธปกรณ์ภายในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีขนาดวงเงินเพียง $12.5 billion ซึ่งเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆของญี่ปุ่นในภาพรวมนับว่าค่อนข้างน้อยมาก
ประกอบกับอาวุธยุทโธปกรณ์หลักส่วนใหญ่ของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นนั้นยังเป็นระบบจัดหาจากต่างประเทศโดยซื้อสิทธิบัตรในการผลิตเองในประเทศญี่ปุ่นอีกเป็นจำนวนมาก
ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองและหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นเองก็ถูกจัดเป็นลูกค้าที่เสนอขายระบบต่างๆให้ยากในสายตาของบริษัทอาวุธหลายๆบริษัทหรือแม้แต่บริษัทของญี่ปุ่นเอง

เมื่อรวมกับความเป็นหน้าใหม่ที่จะต้องเข้าไปแข่งขันกับประเทศที่เป็นผู้ครองตลาดการค้าอาวุธอยู่แล้วทั้ง สหรัฐฯ ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันตก รัสเซีย จีน หรือแม้แต่เกาหลีใต้ซึ่งเข้ามาจับตลาดอุตสาหกรรมอาวุธก่อนแล้ว
การที่ญี่ปุ่นหวังจะผลักดันตนเองเข้าไปสู่การแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมความมั่นคงระดับโลกซึ่งหลายๆอย่างภายในญี่ปุ่นยังไม่ได้มีวางแผนการรองรับและประสบการณ์ที่มากพอนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายและดูเลือนลางครับ