สำนักข่าวเกียวโด (Kyodo News) ญี่ปุ่นได้รายงานการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า
กองทัพอากาศไทยแสดงความสนใจในการจัดหาอากาศยานจากญี่ปุ่น โดยกล่าวว่ามีความจำเป็นต้องตรวจสอบความเป็นไปได้ให้ครอบคลุมในหลายด้าน เช่น ด้านค่าใช้จ่ายและความสะดวกในการจัดหา เป็นต้น
มีการวิเคราะห์ว่าอากาศยานแบบดังกล่าวน่าจะเป็นเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ ShinMaywa US-2 ที่ประจำการอยู่ในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF)
และญี่ปุ่นได้อนุมัติการส่งออกให้ต่างประเทศแล้วคือกองทัพเรืออินเดียจำนวน ๑๘เครื่อง วงเงิน $1.65 billion และมีประเทศในกลุ่ม ASEAN คืออินโดนีเซียกำลังให้ความสนใจจัดหาเช่นกัน
โดย US-2 ที่ถูกส่งออกนั้นจะถูกนำมาใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางทะเล สนับสนุนปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และดับเพลิงทางอากาศ ซึ่งไม่ขัดกับข้อห้ามรัฐธรรมนูญสันติภาพที่ไม่ให้ญี่ปุ่นผลิตอาวุธส่งออก
ส่วนตัวมีข้อสังเกตุว่าถ้าไทยจะสนใจเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2 ของญี่ปุ่นจริงน่าจะเป็นในส่วนของกองทัพเรือมากกว่ากองทัพอากาศที่ไม่มีเครื่องลักษณะนี้ประจำการในปัจจุบันครับ
โดยกองการบินทหารเรือมีความต้องการเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ทดแทน บ.ธก.๑ CL-215 ที่ประจำการมานานตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ จำนวน ๒เครื่อง แต่ยังไม่มีโครงการจัดหาเสียที
ที่ผ่านมา CL-215 ของกองทัพเรือก็ได้ถูกนำออกมาใช้ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยทางทางทะเล ร่วมถึงการดับเพลิงทางอากาศมาแล้วหลายครั้ง
ก็เห็นกองทัพเรือเคยศึกษาข้อมูลเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ทดแทน CL-215 อยู่หลายแบบ
เช่น Bombardier 415 หรือเดิมคือ CL-415 ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นที่พัฒนาต่อจาก CL-215 ที่มีใช้ในหลายประเทศ ในกลุ่ม ASEAN ก็เช่นหน่วยยามฝั่งมาเลเซีย ก็เป็นเครื่องที่เหมาะสมจะมาแทน CL-215
แต่จนถึงปัจจุบันก็ไม่เห็นมีการจัดตั้งโครงการจัดหาเสียที
ถ้าเทียบสมรรถนะของ CL-215 ที่ทำความเร็วได้สูงสุด 157knot มีพิสัยการบินไกลสุด 1,760nm นาน ๑๑ชั่วโมง โดยบรรทุกผู้โดยสารได้ ๑๘คน หรือน้ำ 5,346litres
กับเครื่อง US-2 ที่ขนาดใหญ่กว่าเกือบสองเท่า คือทำความเร็วได้สูงสุด 302knot มีพิสัยการบินไกลสุด 2,538nm พร้อมผู้โดยสาร ๒๐คนแล้ว แม้ว่า US-2 จะมีราคาแพงกว่ามากแต่ก็มีสมรรถนะสูงกว่า CL-215 มากเช่นกัน
ซึ่งหากข่าวความสนใจอากาศยานจากญี่ปุ่นของไทยคือ US-2 มีการจัดหาได้จริงแล้ว ก็นับเป็นการจัดหาอากาศยานจากญี่ปุ่นของไทยครั้งใหม่ในรอบหลายปี
จากที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเคยจัดหาอากาศยานจากญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาบ้าง
เช่น เฮลิคอปเตอร์ Kawasaki KH-4 (พัฒนาจาก Bell 47) และ Kawasaki KV-107IIA (Boeing Vertol CH-46) และ Sikorsky S-62J ที่ผลิตโดย Mitsubishi
ซึ่งญี่ปุ่นได้สิทธิบัตรในการผลิตในประเทศและส่งออกให้ไทยเมื่อกว่า ๔๐-๕๐ปีก่อนเป็นต้น
ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ได้มีความพยายามในการตีความเพื่อแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ญี่ปุ่นเพื่อลดข้อจำกัดของกองกำลังป้องกันตนเองและเพิ่มความร่วมมือทางการทหารกับมิตรประเทศได้มากขึ้น
จะเห็นได้จากการเสนอขาย Technology เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Soryu ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือออเตรเลียแทนเรือดำน้ำชั้น Collins
การจัดงานแสดง Technology ด้านความมั่นคงที่โยโกฮามา การเพิ่มความร่วมมือด้านการซ้อมรบกับมิตรประเทศ โดยเฉพาะใน ASEAN ที่เพิ่งมีการซ้อมรบทางทะเลกับฟิลิปปินส์ และจะส่งมอบเรือตรวจการณ์มือสองให้
ซึ่งญี่ปุ่นเองต้องการเข้ามามีบทบาทความร่วมมือด้านความมั่นคงและทางทหารกับประเทศในกลุ่ม ASEAN มากขึ้นเพื่อเป็นการคานอำนาจกับจีนที่เข้ามาขยายอิทธิพลคุกคามต่อประเทศกลุ่ม ASEAN เช่น ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มากขึ้น
แม้ว่าการจัดหายุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นที่เป็นอาวุธทางการรบในสงครามโดยตรงอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับไทยในขณะนี้(รวมถึงประเทศอื่นๆใน ASEAN ด้วย)
แต่ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชิงรับ หรือเพื่องานด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติช่วยเหลือประชาชนแบบต่างๆ
อย่างเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก ShinMaywa US-2 นั้นก็เป็นระบบที่น่าสนใจสำหรับไทยจะพิจารณาถ้าญี่ปุ่นยินดีอนุมัติการขายให้โดยไม่ติดขัดปัญหาอะไร
เพราะกองการบินทหารเรือ กองทัพเรือ จำเป็นต้องหาเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่มาแทน CL-215 ที่ใช้มานานได้แล้ว และอาจจะร่วมถึงหน่วยบินของหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆของไทยด้วยครับ