วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

รัสเซียเสนอเรือดำน้ำ Project 636 Kilo และ Amur 1650 ให้กองทัพเรือไทยอีกครั้ง

บริษัท Rosoboronexport สหพันธรัฐรัสเซีย เข้ามาบรรยายสรุปข้อมูลเรือดำน้ำชั้น Kilo (Project 636) และ Amur 1650 โดยมี พล.ร.ท.ประดิษฐ์ ศิริคุปต์ รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง เมื่อ 16 ม.ค.58


https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=837946006243415&id=222887361082619
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619

รัสเซียนับเป็นประเทศที่สองในปี ๒๕๕๘ นี้ต่อจากจีนที่เข้ามาบรรยายเสนอแบบเรือดำน้ำของตนคือ Project 636 Kilo และ Amur 1650 ให้กองทัพเรือไทยรับทราบข้อมูล
ซึ่งนี่นับเป็นอีกหลายๆครั้งที่รัสเซียมานำเรือดำน้ำของตนให้กองทัพเรือไทย โดยครั้งล่าสุดก็เพิ่งจะเสนอไปเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ ปีที่แล้วนี้เอง
(ซึ่งส่วนตัวก็ได้เขียนบทความวิเคราะห์ไปแล้วเช่นกัน ท่านสามารถกลับไปอ่านได้ครับ)

ในแถบภูมิภาค ASEAN และและกลุ่มประเทศที่มีพื้นที่ทางภูมิภาคใกล้เคียงจะมีสามประเทศที่มีเรือดำน้ำแบบ Kilo ประจำการเป็นจำนวนมากครับ คือ

กองทัพเรืออินเดียชั้น Sindhugosh เป็นเรือแบบ Project 877EKM รุ่นเก่าที่เข้าประจำการในช่วงปลายปี 1980sถึงปี 2000 จำนวน ๑๐ลำ
แต่หลายท่านคงจะทราบเรือเรือชั้น Sindhugosh ของกองทัพเรืออินเดียนี้ผ่านการปรับปรุงไปในช่วงสิบปีมานี้ จนถึงกรณีเกิดอุบัติเหตุเช่นไฟไหม้เรือระเบิดที่ท่า
จนปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่ากองทัพเรืออินเดียจะเหลือเรือชั้น Sindhugosh ที่พร้อมรบ ๘ลำ
หลังจาก S63 Sindhurakshak ระเบิดจมที่ท่าเรือมุมไบปี 2013 และ S61 Sindhukirti ที่จะเข้าประจำการใหม่หลังปรับปรุงได้ใน ๓๑ มีนาคมปี 2015นี้ ตามที่เคยรายงานไปแล้ว

อีกประเทศคือกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน มีเรือแบบ Project 877EKM Kilo ๒ลำ, Project 636 ๒ลำ และ Project 636M ๖ลำรวม ๑๐ลำ
ซึ่งสั่งเข้าประจำการในช่วงปี 1994-1995,1997-1998 และ 2005-2006


และประเทศล่าสุดคือกองทัพเรือประชาชนเวียดนาม สั่งจัดหา Project 636M รวม ๖ลำ
มี HQ-182 Ha Noi, HQ-183 Ho Chi Minh City, HQ-184 Hai Phong, HQ-185 Da Nang, HQ-186 Khanh Hoa และ HQ-187 Ba Ria-Vug Tau
โดยเริ่มส่งมอบเข้าประจำการในปี 2014 และจะครบจำนวนทุกลำในปี 2016


ในด้านกองทัพเรือรัสเซียเองก็สั่งต่อเรือดำน้ำ Project 636.3 Varshavyanka เข้าประจำการเองเช่นกันครับ
โดยสองลำแรก B-261 Novorossiysk และ B-237 Rostov-on-Don เข้าประจำการเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา
และอีก ๔ลำที่เหลือคือ B-262 Stary Oskol และ B-265 Krasnodar จะต่อเสร็จเข้าประจำการปี 2015 นี้
ส่วน B-268 Veliky Novgorod และ B-271 Kolpino จะเข้าประจำการในปี 2016 ทั้งหมดสังกัดกองเรือทะเลดำ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าแบบเรือดำน้ำ Project 636 Improved Kilo นั้นเป็นเรือดำน้ำรัสเซียที่มียอดการสั่งต่อจัดหาจำนวนมากจากหลายประเทศทั่วโลก
เช่นล่าสุดที่กองทัพเรือแอลจีเรียสั่งจัดหาเรือ Project 636M Kilo จากรัสเซียเพิ่มอีก๒ลำในปี 2018
หลังจากนำเรือชุดแรก๒ลำเข้าประจำการเมื่อปี 2010 แล้ว โดยกองทัพเรือแอลจีเรียก็มีเรือแบบ Project 877EKM รุ่นเก่าอยู่ ๒ลำ ประจำการตั้งแต่ปี 1987 เช่นกัน
http://www.janes.com/article/47827/algeria-to-get-new-subs-in-2018


แต่โดยความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าเรือดำน้ำแบบ Project 636 Kilo นั้นค่อนข้างจะมีระวางขับน้ำใหญ่เกินไปหน่อยคือราว 2,350tons บนผิวน้ำ และ 4,000tons ขณะดำใต้น้ำ
โดยการใช้งานของกองทัพเรือไทยในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันแล้วเราน่าจะต้องการเรือดำน้ำที่มีระวางขับน้ำย่อมลงมากว่านี้สักหน่อย
ซึ่งแบบเรือที่รัสเซียเสนอมาพร้อมกันคือ Amur 1650 ระวางขับน้ำ 1765tons และ 2,700tons ขณะดำใต้น้ำ น่าจะเหมาะสมกว่า
อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำแบบ Amur นี้ยังมีไม่มีลูกค้าจัดหาจึงยังไม่มีการต่อจริงขึ้นมาสักลำ แต่ก็ตามที่เคยรายงานข่าวไปเมื่อปีที่แล้วครับรัสเซียได้เสนอเรือดำน้ำแบบ Amur ให้หลายประเทศ
ซึ่งที่ให้ความสนใจล่าสุดก็มีเช่น กองทัพเรืออินเดียสำหรับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งจากความล่าช้าของโครงการสร้างเรือดำน้ำแบบ Scorpene ๖ลำในประเทศที่ล่าช้า
และจีนให้ความสนใจที่จะจัดหาเรือดำน้ำแบบ Amur พร้อมระบบ AIP ๔ลำ แม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันทางการที่ชัดเจนเหมือข่าวการที่จีนจะจัดหา Su-35 จากรัสเซียด้วย
(ซึ่งทั้งสองข่าวก็ได้เคยรายงานไปในปีที่ผ่านมาแล้วเช่นกัน)
ตรงนี้จึงมองว่าถึงแม้ว่าแบบเรือดำน้ำ Amur 1650 จะยังไม่มีประเทศใดลงนามจัดหาอย่างเป็นทางการในตอนนี้ แต่โดยคุณสมบัติตัวเรือแล้วน่าจะเหมาะสมกว่า Kilo สำหรับกองทัพเรือไทยครับ

จะเห็นได้ว่าในเดือนมกราคมนี้มีบริษัทจากสองประเทศคือจีนและรัสเซียได้นำเสนอบรรยายข้อมูลเรือดำน้ำของตนแก่กองทัพเรือไทยแล้ว
และก็น่าเชื่อได้ว่าจะยังมีบริษัทจากอีกหลายประเทศที่จะนำเสนอแบบเรือดำน้ำของตนให้กองทัพเรือรับทราบข้อมูลตามมาอีกจากนี้ครับ
แต่การผลักดันโครงการเรือดำน้ำครั้งใหม่ของกองทัพเรือไทยนั้นจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ก็ไม่อาจจะทราบได้ เพราะยังมีหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคอยู่
อย่างไรก็ตามก็คงต้องกล่าวเหมือนเดิมซ้ำอีกครั้งครับ คือหวังว่ากองทัพเรือและกองเรือดำน้ำจะสามารถจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำได้โดยมีการพิจารณาเลือกแบบเรือที่มีเหมาะสมได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะในขณะที่กองทัพเรือในกลุ่มประเทศ ASEAN รอบไทยมีเรือดำน้ำกันแทบจะหมดแล้ว แต่กองทัพเรือไทยยังไม่มีเรือดำน้ำ
ยิ่งถ้ากองทัพเรือมีเรือดำน้ำประจำการช้าเท่าไร ประเทศไทยเราจะยิ่งเสียเปรียบทางด้านยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศทางทะเลมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อความมั่นคงชาติอย่างร้ายแรงครับ