วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๘-๔

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมาเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ดังนั้นข่าวการจัดหายุทโธปกรณ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาจึงมีข่าวใหม่ออกมามากพอสมควรครับ





https://www.facebook.com/dtithailand/posts/494896260670379

https://www.facebook.com/dtithailand/videos/496700107156661/
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา DTI ร่วมกับบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม และศูนย์การทหารราบ กองทัพบก ได้ทำการทดสอบคุณสมบัติเกราะกันระเบิด (Mine Blast Test) ของยานเกราะล้อยาง BWS 8x8 
โดยทำการจุดระเบิดน้ำหนัก 6 กิโลกรัมที่ตำแหน่งกึ่งกลางใต้ท้องรถ และใต้ล้อ เพื่อทดสอบว่าเกราะและตัวถังของยานเกราะที่ออกแบบมานั้นสามารถกันการระเบิดตามที่ออกแบบไว้ได้หรือไม่ 
ซึ่งเป็นการทดสอบตามมาตรฐาน AEP-55 V.2 Edition 1 (STANAG 4569 Level 2a และ 2b) ของกลุ่มประเทศ NATO โดยผลการทดสอบประสบความสำเร็จด้วยดี

เริ่มจากในส่วนของโครงการยานเกราะล้อยางแห่งชาติ DTI BWS 8x8 Black Widow Spider ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(Defence Technology Institute) ร่วมกับ บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม พัฒนาขึ้นมานั้น
ก็ได้มีการเปิดตัวรถต้นแบบจริงและมีการทดสอบระบบตัวรถและขีดความสามารถของเกราะไปแล้ว
รถเกราะล้อยาง DTI BWS 8x8 Black Widow Spider จะมีการนำมาเปิดตัวแสดงอย่างเป็นทางการในงาน Defense & Security 2015 ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ IMPACT Exhibition Center เมืองทองธานีครับ



DSEI 2015: Royal Thai Army orders additional Starstreak systems

ในส่วนของกองทัพบก บริษัท Thales ได้ให้ข้อมูลต่อสื่อในงาน DSEI 2015 ที่ London เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่าได้รับการสั่งจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak เพิ่มเติมจากกองทัพบกไทย 
โดยเป็นการสั่งซื้อร่วมกับบริษัท DataGate ที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายระบบของไทย แต่ไม่มีการให้รายละเอียดจำนวนและวงเงิน โดยคาดว่าจะมีกำหนดส่งมอบระบบ Starstreak ชุดใหม่ได้ในปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐
กองทัพบกไทยได้มีการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak ชุดแรก ๘ชุดยิงพร้อมจรวด ๘๐นัด ในปี ๒๕๕๕ วงเงิน ๓๗๘ล้านบาท($12 million) ทดแทน ปตอ.12.7mm (M2 .50cal ติดแท่นยิงต่อสู้อากาศยาน)
ซึ่งมีการนำแท่นยิงไปติดตั้งกับรถยนต์บรรทุก 4x4 รยบ.๕๐ เป็นระบบอัตราจร ที่ไทยสร้างเอง ในส่วนของกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๑ เป็นต้น

DSEI 2015: Malaysia inks contract for Starstreak

ทั้งนี้ในงาน DSEI 2015 เช่นเดียวกัน Thales ได้ประกาศว่ากองทัพบกมาเลเซียได้ลงนาสัญญาจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak เช่นกัน
เพื่อนำเข้าประการแทนระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starburst ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งจะปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้ 
แต่ก็เช่นเดียวกับสัญญาของกองทัพบกไทยที่ Thales ไม่เปิดเผยรายละเอียดจำนวนและวงเงิน แต่คาดว่าน่าจะอยู่ที่ราวเกือบ 100 million Pound ($154 million)
ซึ่งกองทัพบกสิงคโปร์มีแผนที่จะนำระบบแท่นยิง Starstreak ไปติดตั้งกับรถยนต์บรรทุก 4x4 ของ Global Komited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Weststar มาเลเซียเองด้วย

อีกส่วนคือโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T จำนวน ๔๙คัน สำหรับกองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์นั้น
ก็ตามที่เคยรายงานไปครับว่าทาง Ukroboronprom ยูเครนจะเร่งรัดให้โรงงานรถถัง Malyshev ผลิตรถถังหลัก Oplot ชุดใหม่อีก ๕คันให้ทันส่งมอบให้ไทยก่อนเส้นตายในสัญญา ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ นี้
แต่ก็นั่นละว่าถ้าดูจากประสบการณ์ที่ผ่านๆมาทั้งการจัดส่งรถเกราะล้อยาง 8x8 BTR-3E1 และ ถ.หลัก Oplot สองชุดก่อนหน้านี้ที่ล่าช้าแล้ว ทางยูเครนจะทำตามที่ว่าได้จริงหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้ครับ



ผู้บัญชาการทหารเรือร่วมลงนามในสัญญาซื้อขายแบบและพัสดุ สำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ และ นาวาเอก พิชเยนทร์ ตันประเสริฐ  กรรมการผู้จัดการ บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาซื้อขายแบบและพัสดุ สำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 
ณ ห้องรับรอง ชั้น ๒ กองบัญชาการกองทัพเรือ อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ 
โดยมี พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี  ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็นผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายกองทัพเรือ และ พลเรือตรี เอกชัย ตรุศบรรจง  รองผู้จัดการ (บริหาร) บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เป็นผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายบริษัทอิตัลไทย มารีน จำกัด 
และมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กองทัพเรือและผู้แทนบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เข้าร่วมพิธี

ผู้บัญชาการทหารเรือร่วมลงนามในสัญญาว่าจ้างสร้างเรือลากจูงขนาดกลาง
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ และ นายวิรัตน์ ชนะสิทธิ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือลากจูงขนาดกลาง 
โดยมี พลเรือโท ไพฑูรย์  ประสพสิน  รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายกองทัพเรือ และ นายเชิดชัย ชาญวิทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายบริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด 
ณ ห้องรับรอง ชั้น ๒ กองบัญชาการกองทัพเรือ อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ 

ในส่วนของกองทัพเรือก็มีการลงนามสัญญาซื้อขายแบบและพัสดุสำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สอง กับบริษัท อู่กรุงเทพ และเรือลากจูงขนาดกลาง กับบริษัท อิตัลไทย มารีน
โดยแบบแผนของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมจาก ร.ล.กระบี่ ซึ่งบริษัท อู่กรุงเทพ ซื้อสิทธิบัตรแบบเรือจาก BAE Systems Surface Ships เช่นเดิม ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘-๒๕๖๑ วงเงิน ๒,๘๕๐ล้านบาท
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดข้อมูลของแบบเรือหรือแผนการก่อสร้างออกมาในขณะนี้ แต่จากเอกสารที่เคยหลุดออกมาเผยแพร่มีหลายๆอย่างที่พัฒนาปรับปรุงจากเรือ ตกก. ร.ล.กระบี่เดิมมากขึ้น

ตลอดทั้งเดือนกันยายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ นั้นดูเหมือนว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีนั้นก็ไม่ได้มีวาระเรื่องโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือเข้าที่ประชุมแต่อย่างใด
ถ้าเป็นเช่นนั้นการผลักดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำซึ่งคณะกรรมการของกองทัพเรือได้เลือกแบบเรือดำน้ำจีนแบบ S26T จำนวน ๓ลำ ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของท่านผู้บัญชาการทหารเรือท่านใหม่ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ในปีงบประมาณต่อๆไปหลังจากนี้
อย่างไรก็ตามโดยความเห็นส่วนตัวแล้วคำถามที่ว่าเมื่อไรกองเรือดำน้ำจึงจะสามารถจะจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการได้จริงๆเสียที อาจจะมีความยากพอๆกับคำถามว่าเมื่อไรฟุตบอลทีมชาติไทย(ชาย)จะได้ไปแข่ง FIFA World Cup ได้ครับ




กองทัพอากาศลงนามจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH กับบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี

เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น 
ได้เป็นผู้แทนกองทัพอากาศ ลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน ๔ เครื่อง 
พร้อมอะไหล่ขั้นต้น อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรมนักบินและ เจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งข้อเสนอพิเศษ 
กับ นาย Ha Sung Yong ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) จำกัด
ในการจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๑) ระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี 
ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งก่อนดำเนินการ ซึ่งกองทัพอากาศได้นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบผลการดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ 
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นตามโครงการ ฯ (ระยะที่๑) เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘
สำหรับเครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกที่จะเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) ของกองทัพอากาศที่มีแผนจะปลดประจำการซึ่งใช้งานมานาน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และมีเทคโนโลยี ที่ล้าสมัย 
ไม่สามารถฝึกนักบินให้ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตนักบินเพื่อไปปฏิบัติการบินกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่กองทัพอากาศได้จัดหามาแล้วและทำการปรับปรุง 
คือ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ (Gripen 39 C/D) และเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙ (F-16 MLU) 
ทั้งนี้เครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบันต่อไปได้ 
มีระบบการฝึกอบรมและระบบสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจที่ทันสมัย ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่กองทัพอากาศใช้งานในปัจจุบันได้ 
ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นข้อเสนอพิเศษ ที่ประเทศไทยและกองทัพอากาศจะได้รับเพิ่มเติมได้แก่ ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน ๘ ทุน และความร่วมมือ และการสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทย

พลอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร
โฆษกกองทัพอากาศ
๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๔๕ น.

ในส่วนของกองทัพอากาศก็มีการลงนามสัญญาจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จาก KAI สาธารณรัฐเกาหลี ขั้นต้น ๔เครื่อง ตามที่เคยได้รายงานไปแล้ว

รัชต์ รัตนวิจารณ์

Royal Thai Air Force selects KAI T-50 as new jet trainer

ทั้งนี้ข่าวของ Jane's มีข้อมูลเพิ่มมาเล็กน้อยครับว่า การลงนามสัญญาจัดซื้อในขั้นสุดท้ายจะแบ่งเป็นสองส่วนภายในสิ้นปีนี้ 
นั่นอาจจะหมายความว่าการจัดงบประมาณในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ จะถูกแบ่งใช้ไปตามช่วงปีงบประมาณคือตั้งแต่ งป.๒๕๕๘-งป.๒๕๖๐ หรือไม่
ซึ่งนี้อาจจะทำให้ข่าวของทางเกาหลีใต้ที่ระบุว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะมีการจัดหา T-50TH เพิ่มเติมอีก ๒๐เครื่อง รวมเป็นอย่างน้อย ๒๔เครื่องมีความเป็นไปได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนออกมาจากกองทัพอากาศครับว่า จำนวนเครื่องทึ่จะจัดหาทั้งหมดว่ามีเท่าใด หรือรุ่นของ T-50TH ว่าเป็นเครื่องรุ่นใด
ตัวอย่างเช่น T-50I ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียเป็นรุ่นฝึก T-50, T-50PH ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์เป็นรุ่นขับไล่ FA-50 และ T-50IQ ของกองทัพอากาศอิรักเป็นรุ่นโจมตี TA-50 เป็นต้น

คณะติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข. ๑๘ ข/ค
พลอากาศโท สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองเสนาธิการทหารอากาศ และคณะติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุง ขีดความสามารถ บ.ข. ๑๘ ข/ค (F-5E/F) 
โดยมี นาวาอากาศเอก นิสิต โขเมษฐวัฒน์ ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ ให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ ณ กองบิน ๒๑ จังหวัดอุบลราชธานี
ที่มา รัชต์ รัตนวิจารณ์

อีกส่วนคือโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข.๑๘ ข/ค(F-5E/F) ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศมีประจำการที่ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี เพียงฝูงเดียวนั้น
ตามเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้ถึงโครงการจ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยานและระบบ Avionic รวมทั้งระบบอาวุธของ บ.ข.๑๘ ข/ค(F-5E/F) จำนวน๑๐เครื่อง วงเงิน ๒,๐๕๐ล้านบาท
ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศที่มีการกำหนดราคากลางเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ นั้น ก็มีการติดตามผลความคืบหน้าของโครงการปรับปรุงตามข้อมูลในต้น
ถึงแม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดออกมาอย่างเป็นทางการ เช่นในส่วนของระบบ Radar ใหม่แทน AN/APQ-159 ที่ใช้อยู่เดิมตั้งแต่โครงการปรับปรุง F-5T Tigris มีปี พ.ศ.๒๕๔๕ 
รวมถึงหมวกนักบิน DASH รุ่นใหม่ และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีรใหม่นอกจาก Python4 แล้ว ก็จะเห็นได้ว่ากองทัพอากาศมี่แผนที่จะปรับปรุงและยืดอายุการใช้งาน F-5E/F ต่อไปอีกยาวนานไม่ต่ำกว่า ๑๐ปีครับ