วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

DTI ไทยทดสอบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งขนาดเล็กเครื่องยนต์ Hybrid แบบ Skyfront Perimeter 4









Defence Technology Institute (DTI) with Thaliand's company GCS GROUP CORPORATION CO., LTD. was testing Skyfront Perimeter 4, the Hybrid Electrical-Fuel Engine Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) at Photharam airfield, Ratchaburi Province in 19-23 April 2021

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) พัฒนาอากาศยานไร้คนขับ ขึ้น – ลงขนาดเล็ก แบบเครื่องยนต์ผสม (Hybrid Electrical – Fuel Engine) ที่มีขีดความสามารถบินนานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที ร่วมกับเอกชนสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย 

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และบริษัท จีซีเอส กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการของบริษัท Skyfront 
ร่วมพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ ขึ้น-ลง แนวดิ่งขนาดเล็ก แบบเครื่องยนต์ผสม (Hybrid Electrical – Fuel Engine) ที่มีขีดความสามารถบินนานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย 

ตามวัตถุประสงค์ของ สทป. ที่มุ่งเน้นการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีป้องกันประเทศเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประกันประเทศ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน 
เพื่อนำองค์ความรู้จากเทคโนโลยีต้นแบบผลิตภัณฑ์ มาพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยได้พัฒนาอากาศยานไร้คนขับ ขึ้น – ลงขนาดเล็ก แบบเครื่องยนต์ผสม (Hybrid Electrical – Fuel Engine) Multi Rotor รุ่น Skyfront Perimeter 4 
ซึ่งมีคุณสมบัติการใช้งานได้คล่องตัว (User Friendly) บินได้นานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งผ่านการทดสอบสมรรถนะขีดความสามารถ และนำไปใช้ในภารกิจต่างๆ อย่างแพร่หลาย อาทิ การส่งเวชภัณฑ์ การสำรวจท่อก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น  

ในห้วง 19-23 เมษายน 2564 ที่ผ่านมาคณะผู้บริหาร นักวิจัยและพัฒนาของ สทป. ได้เข้าร่วมทำการทดสอบสมรรถนะ และขีดความสามารถ
ของอากาศยานไร้คนขับ ขึ้น – ลงขนาดเล็ก แบบเครื่องยนต์ผสม (Hybrid Electrical – Fuel Engine) Multi Rotor รุ่น Skyfront Perimeter 4  
ร่วมกับบริษัท จีซีเอส กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ณ สนามบินโพธาราม จ.ราชบุรี 
โดยมีหัวข้อในการทดสอบดังนี้

1.การบินพร้อมแบกรับน้ำหนัก Payload 2.5 กิโลกรัม ในระยะเวลาการบิน (Flight time) 1 ชั่วโมง 30 นาที (ข้อมูลจากบริษัท บริษัท Skyfront : Flight time 2 + ชั่วโมง ขณะแบกรับน้ำหนัก Payload ที่ 5.5 ปอนด์ (2.5 กิโลกรัม) )
2.การบินพร้อมแบกรับน้ำหนัก Payload ไม่น้อยกว่า 3 กิโลกรัม
(ข้อมูลจากบริษัท บริษัท Skyfront : แบกรับน้ำหนัก Payload ที่ 33 ปอนด์ (15 กิโลกรัม) )
3.การบินเครื่องเปล่า ไม่แบกรับน้ำหนัก Payload ในระยะเวลาการบิน (Flight time) 4 ชั่วโมง ต่อเนื่อง
(ข้อมูลจากบริษัท บริษัท Skyfront : 4.34 ชั่วโมง )
4.การบินความเร็วสูงสุด Max speed ที่ 40 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง
(ข้อมูลจากบริษัท บริษัท Skyfront : 36 ไมล์ ต่อ ชั่วโมง (57 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง)
5.การส่งผ่าน Telemetry ในระยะไกลถึง 9 กิโลเมตร (ส่งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว EO/IR) 
(ข้อมูลจากบริษัท บริษัท Skyfront : telemetry ได้ไกลถึง 6.2 ไมล์ (10 กิโลเมตร) ส่งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว EO/IR ได้ไกลถึง 30 ไมล์ (50 กิโลเมตร) เมื่อไม่มีสิ่งกีดขวาง (line of sight)

การทดสอบใน 5 หัวข้อได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานได้เป็นอย่างดี จากนั้นคณะนักวิจัยและพัฒนาของ สทป. ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการบินสำหรับ 
อากาศยานไร้คนขับ ขึ้น – ลงขนาดเล็ก แบบเครื่องยนต์ผสม (Hybrid Electrical – Fuel Engine) Multi Rotor รุ่น Skyfront Perimeter 4 จาก ดร.พิศักดิ์ เจิมประยงค์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับรอง Pilot Instructor คนแรกของประเทศไทยจากบริษัท Skyfront ประเทศสหรัฐอเมริกา 
เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ ศักยภาพและความสามารถด้านการบินอากาศยานไร้คนขับ 

ความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ ขึ้น – ลงขนาดเล็ก แบบเครื่องยนต์ผสม (Hybrid Electrical – Fuel Engine) Multi Rotor รุ่น Skyfront Perimeter 4 ในครั้งนี้ 
สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาอื่นๆ เพื่อการผลิตและขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรมและผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Research Utilization to Commercialization: RUC) 
เพื่อสร้างประโยชน์และสร้างรายได้เพื่อความมั่นคงให้กับประเทศต่อไปในอนาคต





สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. มีผลงานวัจัยพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aerial System) หลายแบบ ซึ่งหลายระบบได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาถึงขั้นที่มีสายการผลิตหรือสร้างขึ้นจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้งานในหน่วยผู้ใช้งานจริงแล้ว
เช่น ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก D-Eyes 02 Mini UAV ที่ถูกส่งมอบให้ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ทดลองใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/dti-d-eyes-02-mini-uav.html)

อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งขนาดเล็กแบบ Skyfront Perimeter 4 ในความร่วมมือระหว่าง DTI ไทยกับ บริษัท GCS Group ไทยซึ่งเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของ บริษัท Skyfront สหรัฐฯ หนึ่งในผู้นำด้านวัตกรรมระบบอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์ผสม Hybrid Electrical-Fuel Engine
โดยระบบเครื่องผสมไฟฟ้า-เชื่อเพลิงน้ำมันนั้น ทำให้มีข้อได้เปรียบที่สำคัญต่างจาก VTOL UAV ที่พัฒนาในไทยก่อนหน้าซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานจาก Battery ไฟฟ้าคือในขนาดที่ใกล้เคียงกัน VTOL UAV ระบบเครื่องยนต์ผสมจะมีระยะเวลาปฏิบัติการที่นานกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบพลังงาน

Skyfront Perimeter 4 VTOL UAV มีระยะเวลาการบินเมื่อบรรทุกหนัก 2.5kg ที่มากกว่า ๒ชั่วโมง(ทดสอบได้ที่ ๑ชั่วโมง ๓๐นาที) สามารถบรรทุกได้หนักสุด 15kg(ทดสอบที่ไม่น้อยกว่า 3kg) ถ้าไม่มีการบรรทุกจะบินได้นานต่อเนื่อง ๔ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 57km/h(ทดสอบที่ 40km/h)
การส่งผ่านโทรมาตร(Telemetry) ไกลถึง 10km(ทดสอบที่ 9km) ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง Electro-Optical/Infrared(EO/IR) ได้ไกล 50km เมื่อไม่มีสิ่งกีดขวาง ความร่วมมือระหว่าง DTI ไทยกับเอกชนไทยกับต่างประเทศเป็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงที่ถูกต้องครับ