Royal Thai Navy (RTN)'s task force unit led by FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate was departed Chuk Samet Pier, Sattahip Port, Sattahip Naval Base, Thailand to participate International Fleet Review 2022 at Japan on 6 November 2022.
International Fleet Review 2022 at Japan also marks for 70th anniversary of founding the Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF), which involved with Navy of several nations.
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการตรวจเยี่ยมและให้โอวาทหน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ (IFR 2022)
พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เดินทางไปตรวจเยี่ยมและให้โอวาทแก่หน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ (IFR2022) ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ
เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและมอบนโยบายให้กับกำลังพล ที่จะเป็นตัวแทนของกองทัพเรือไทยในการประกาศศักยภาพในการสวนสนามทางเรือนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่นต่อไป
เรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช สังกัด กองเรือฟริเกตที่๑(1st Frigate Squadron) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ออกเดินเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อเข้าร่วมงานสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022
หลังจากที่กลับมาไทยเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกผสมทางเรือ Kakadu 2022 ณ Darwin ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/kakadu-2022-sea-phase.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/09/kakadu-2022.html)
การสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review(IFR) ที่เป็นความร่วมมือในการแสดงกำลังและความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือมิตรประเทศหลายชาติได้ถูกงดเว้นไปหลายปีเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 โดยกองทัพเรือไทยได้มีส่วนร่วมในงาน IFR นี้หลานครั้ง
เช่น International Fleet Review 2013 ที่ออสเตรเลียได้ส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือหลวงกระบี่ ที่สร้างในไทยเข้าร่วม International Fleet Review 2017 มีไทยเป็นเจ้าภาพในโอกาสครบ ๕๐ปี ASEAN จัดที่พัทยา จังหวัดชลบุรี(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post.html)
และ International Fleet Review 2018 ที่ เกาะ JEJU สาธารณรัฐเกาหลี โดยกองทัพเรือไทยส่งเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.กระบี่ เข้าร่วม(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/international-fleet-review-jeju-2018.html)
อย่างไรก็ตามในงาน International Fleet Review JEJU 2018 ญี่ปุ่นไม่ได้ส่งเรือของตนเข้าร่วมจากประเด็นที่ญี่ปุ่นปฏิเสธคำขอของสาธารณรัฐเกาหลีที่ขอไม่ให้เรือญี่ปุ่นชักธงนาวีญี่ปุ่น(Naval ensign of Japan) ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวทางประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศ
International Fleet Review 2022 ที่ญี่ปุ่นในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ยังจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๐ปีการก่อตั้งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) แต่เพื่อการป้องกัน Covid-19 จะไม่มีการเชิญผู้ชมมีเพียงการถ่ายทอดวีดิทัศน์เท่านั้น
ตามการปรับเปลี่ยนนโยบายความสัมพันธ์ใหม่หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีในปี 2022 มีความเป็นไปได้ที่กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) จะส่งเรือของตนเข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022 ที่ญี่ปุ่น
นอกจากการสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022 กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นยังได้จัดงาน Fleet Week ระหว่างวันที่ ๒๙ ตุลาคม-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าชมเรือและมีการจัดแสดงดนตรี การสวนสนาม และนิทรรศการต่างๆ
การส่ง ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช เช้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022 นับเป็นการอวดธงราชนาวีไทยต่อนานาชาติล่าสุดที่มีอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งเป็นการแสดงทั้งความพร้อมของกำลังทางเรือและความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศทั่วโลกของกองทัพเรือไทยครับ