วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๙












The Defense & Security 2022 show in Bangkok during 29 August-1 September 2022 has Conclusion, next Defense & Security 2023 show to be held on 6-9 November 2023. (My Own Photos)

Defense & Security 2022:
Chaiseri และ DTI ไทยเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger 4x4
DTI ไทยเปิดตัวรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A สำหรับกองทัพเรือไทย
DTI ไทยส่งมอบยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4 ให้กองทัพไทย
โรงเรียนนายเรืออากาศ กองทัพอากาศไทยเปิดตัวแนวคิดอากาศยานกึ่งดาวเทียม M-Pseudo SAT
LIG Nex1 เกาหลีใต้เผยกองทัพอากาศไทยเป็นลูกค้าใหม่ของชุดระเบิดร่อนนำวิถีดาวเทียม KGGB
อู่กรุงเทพเสนอแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 90m OPV รุ่นปรับปรุงแก่กองทัพเรือไทย
ATIL ไทยเปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ DP-20/A UAV
Saab สวีเดนและไทยหารือการขยายระบบเครือข่ายทางอากาศ ACCS
Pulse Science ไทยจัดแสดงอากาศยานชุดแพทย์ทหารเผชิญเหตุ
Thales เสนอ radar GM400a แก่กองทัพอากาศไทย
กองทัพบกไทยขยายสายการผลิตปืนใหญ่อัตตาจร ATMG และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร ATMM
Chaiseri ไทยพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win รุ่นใหม่ต่างๆ
กองทัพเรือไทยศึกษาการติดอาวุธนำวิถีกับอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B

Conclusion of partnership   ภาพสรุปแห่งความสำเร็จของมิตรภาพ 
ด้วยพลังแห่งความร่วมมือของทุกภาคส่วน คือองค์ประกอบแห่งความสำเร็จของDefense&Security2022 ในครั้งนี้ จากการตอบรับอย่างอบอุ่นของผู้เข้าร่วมงานตลอด 4 วัน ทั้งภาคส่วนราชการ,ภาคเอกชน และ พลเรือน  
ช่วยตอกย้ำให้นิทรรศการนี้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมความมั่นคงอย่างเป็นรูปธรรม  สร้างความเชื่อมั่นให้กับมิตรประเทศ ในฐานะที่ประเทศไทยคือส่วนสำคัญของความมั่นคงแห่งภูมิภาคในทุกมิติ  ขอขอบคุณที่ภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้
เราจะกลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ แล้วพบกันในวันที่ 6 ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 Defense and Security 2023

งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022 ที่อาคาร Challenger Hall 1-2 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ผ่านมา ได้เลื่อนการจัดงานจากกำหนดเดิมในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
งาน Defense & Security 2022 จะเน้นความสำคัญที่อุตสหากรรมป้องกันประเทศของไทย จึงจะเห็นได้ว่าการจัดแสดงในงานจะเน้นไปที่ระบบอาวุธยุทโปกรณ์ที่พัฒนาสร้างในไทยเป็นหลักทั้งของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน แม้ว่าพื้นที่จัดแสดงเท่าเดิม แต่บริษัทจากต่างประเทศที่มาร่วมงานน้อยลง
โดยเฉพาะการคว่ำบาตรรัสเซียและประเทศที่สนับสนุนเช่นเบลารุสจากงานแสดงนานาชาติ ทำให้งานปรับการจัดแสดงระบบของรัสเซียผ่านตัวแทนจำหน่ายของไทย โดยงาน Defense & Security 2023 จะกลับมาจัดในวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ตามปกติเพื่อไม่ให้ตรงกับงานอื่นครับ


Chaiseri showcased prototypes of a newly developed First Win AFV (Armoured Fighting Vehicle) 4x4 and First Win ARV (Armoured Reconnaissance Vehicle) 4x4 at the Defense & Security 2022 show in Bangkok. (My Own Photos)

The new build AMV-420P Mosquito 4x4 (Armoured Fighting Vehicle-420 Panus) product of Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd.

Ordnance Materriel Rebuild Center (OMRC), Ordnance Department, Royal Thai Army (RTA) has announcement of invitation to offer information for upgrading and testing V-150 4x4 and/or manufacturing/assembling prototype of new 4x4 wheeled armored vehicle on 22 September 2022.

Two of R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) by Panus Assembly Co.,Ltd. Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) have completed sea trial for Eight-wheel drive (8x8) Amphibious Armored Personnel Carrier requirement.
Royal Thai Navy has plan to request allocate 960,000,000 Baht ($25,593,187.20) on proposal Defence budget Fiscal Year 2023 for more 15 of R600 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier.




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has testing performance capabilities and tactical manuever on prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher, which is based on Israeli Elbit Systems PULS at Royal Thai Army (RTA) Artillery Center's firing range, Lopburi province during 20-21 September 2022. (DTI)


Royal Thai Marine Corps (RTMC) Royal Thai Navy and Defence Technology Institute have signd Memorandum of Agreement (MOA) for joint research and development for upgrade AAVP7A1 and First Win 4x4 vehicles with weapons system by Thailand company's Chaiseri on 27 September 2022.

ด่วน! รถเกราะล้อยาง 8X8 แบบ R600 ออกแบบสร้างภายในประเทศโดย บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ซึ่งกองทัพเรือสั่งซื้อจำนวน 2 คัน วงเงิน 99,900,000 บาท ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมทดสอบให้กองทัพเรือ 
โดยการทดสอบที่สำคัญคือการวิ่งในทะเล ซึ่ง R600 สามารถทำได้ 12 กม./ชม. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดของกองทัพเรือ เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้กำลังจะมีการจัดหาเพิ่มเติมอีกในเร็วๆนี้ ...ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
R600 หลังจากผ่านเกณฑ์การทดสอบตามมาตรฐานของกองทัพเรือแล้ว บริษัทพนัสฯจะได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมตามความคิดเห็นแนะนำของกองทัพเรือที่ได้จากการทดสอบ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ที่สุดก่อนนำไปใช้งานจริง
ข้อดีของรถที่ผลิตเองในประเทศประการหนึ่งก็คือ การที่ผู้ใช้สามารถให้การแนะนำเปลี่ยนแปลงแก้ไขในรายละเอียดบางอย่างได้ตามความต้องการ หลังจากมีการทดสอบ ซึ่งผู้ผลิตก็ยินดีและทำให้ได้ตามข้อแนะนำ เพื่อให้สอดคล้องในการนำไปใช้งาน

เมื่อวันที่ ๒๗ ก.ย.๖๕ พลเรือโท รณรงค์ สิทธินันทน์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ให้การต้อนรับ
พลเอก ชูชาติ บัวขาว ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และคณะฯ ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนา (MOA) ระหว่างหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 
ณ ห้องกรุงชิง อาคารอเนกประสงค์นาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

กองทัพบกไทยมองแผนที่จะปรับปรุงความทันสมัยรถเกราะล้อยาง V-150 4x4 ที่มีประจำการในกองพันทหารม้าลาดตระเวนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) และ/หรือรถเกราะล้อยาง 4x4 แบบใหม่ ซึ่งภาคเอกชนของไทยเช่นบริษัท Chaiseri ไทย และบริษัท Panus ไทย ต่างมีขีดความสามารถนี้
ติดอาวุธปืนกล 7.62mm เช่นเดียวกับปืนกล MG3 บนรถเกราะ V-150 ปัจจุบัน โดยการมองจะติดปืนกล 30mm นั้นโดยข้อกำหนดน้ำหนักรถที่ 8tons น่าจะเป็นป้อมปืน remote ขนาดเบาเช่น EOS R400S-Mk2-HD RWS พร้อมปืนใหญ่กล M230LF เช่นที่ติดกับยานยนต์รบไร้คนขับ DTI D-Iron RCV
นาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทยยังมีความคืบหน้าการทดสอบรถเกราะล้อยาง Panus R600 8x8 ๒คันสำหรับความต้องการรถหุ้มเกราะล้อยาง(8x8) ชนิดลำเลียงพล และยังมีแผนจะจัดหา R600 อีก ๑๕ คันวงเงิน ๙๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทย

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ยังมีความคืบหน้าในการทดสอบสมรรถนะและทดสอบทางยุทธวิธีต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A วันที่ ๒๐-๒๑ กันยายน ๒๕๖๕ ณ สนามทดสอบ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี กองทัพบกไทย
เช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG ที่บริษัท Elbit Systems อิสราเอลถ่ายทอดวิทยาการการผลิตในไทย เมื่อผ่านการทดสอบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A จะเริ่มสายการผลิตได้ในปี ๒๕๖๖ และน่าจะถูกส่งมอบให้ทั้งกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทยเหมือน ATMG
DTI และนาวิกโยธินไทยยังได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมการปรับปรุงรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAVP7A1 และยานเกราะล้อยาง 4x4 พร้อมระบบอาวุธ(First Win 4x4) สองโครงการร่วมกับบริษัท Chaiseri ไทย และระบบโครงข่ายส่วนบุคคลความเร็วสูง(LTE: Long Term Evolution) ด้วยครับ




2nd Personal and Tactics Training of Submarine Squadron, Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) on LPD-791 HTMS Angthong Landing Platform Dock during 30 August-9 September 2022 
show SEIE Mk11 suite Submarine Escape Immersion Equipment for first time.

15 September 2022, technical committee of Royal Thai Navy Naval Dockyard concluded testing China CHD 620 diesel generator engine for S26T Submarine
Royal Thai Navy Chief of Staff not yet reveal the results but rumor that by limited time and  tools CHD 620 engine is not Certification for replacing German MTU 396

พลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีของกองเรือดำน้ำ ครั้งที่ ๒ ในส่วนของการช่วยเหลือและกู้ภัยเรือดำน้ำ บนเรือหลวงอ่างทอง ท่าเรือแหลมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๕
การฝึกฯ ในครั้งนี้ จัดให้มีขึ้นระหว่าง วันที่ ๓๐ สิงหาคม - ๙ กันยายน ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความพร้อมยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้สำหรับหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือที่เกี่ยวข้องกับ
การค้นหาและช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ ยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ  การดำเนินการฝึกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การฝึกปรับมาตรฐาน ขั้นที่ ๒ การฝึกในท่า และ ขั้นที่ ๓ การฝึกในทะเล 
หัวข้อการฝึกที่สำคัญ อาทิเช่น การฝึกการขนย้ายห้องปรับความดันบรรยากาศลงดาดฟ้ายานพาหนะเรือหลวงอ่างทอง การฝึกการค้นหาเรือดำน้ำที่ประสพภัยด้วยเรือและอากาศยาน การฝึกการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ เป็นต้น หน่วยเข้าร่วมการฝึก 
ได้แก่ กองเรือยุทธการ กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ กรมแพทย์ทหารเรือ มีกำลังพลร่วมการฝึกรวมทั้งสิ้น ๖๐๑ นาย

วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ  ตรวจเยี่ยมการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีของกองเรือดำน้ำ ครั้งที่ ๒ ส่วนของการฝึกในทะเล ในการช่วยเหลือและกู้ภัยเรือดำน้ำ บนเรือหลวงอ่างทอง ซึ่งการฝึกฯ ในครั้งนี้ จัดให้มีขึ้นระหว่าง วันที่ ๓๐ สิงหาคม - ๙ กันยายน ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความพร้อมยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้สำหรับหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาและช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ การดำเนินการฝึกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การฝึกปรับมาตรฐาน ขั้นที่ ๒ การฝึกในท่า และ ขั้นที่ ๓ การฝึกในทะเล หัวข้อการฝึกที่สำคัญ อาทิเช่น การฝึกการขนย้ายห้องปรับความดันบรรยากาศลงดาดฟ้ายานพาหนะเรือหลวงอ่างทอง การฝึกการค้นหาเรือดำน้ำที่ประสพภัยด้วยเรือและอากาศยาน การฝึกการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ เป็นต้น หน่วยเข้าร่วมการฝึก ได้แก่ กองเรือยุทธการ กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ กรมแพทย์ทหารเรือ กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ มีกำลังพลร่วมการฝึกรวมทั้งสิ้น ๖๐๑ นาย

พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร และปิดการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมกำลังพลประจำเรือดำน้ำและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ณ สโมสรสัญญาบัตร กองเรือยุทธการ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕ 
กองเรือยุทธการ โดย กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ได้เปิดการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมกำลังพลประจำเรือดำน้ำและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 
หลักสูตรการเตรียมความพร้อมในการรับการฝึกหนีภัยออกจากเรือดำน้ำ หลักสูตรการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับกำลังพลประจำเรือดำน้ำ หลักสูตรการอบรมภาษาจีนสำหรับกำลังพลประจำเรือดำน้ำ 
หลักสูตรการอบรมความรู้เรือดำน้ำเบื้องต้น และ หลักสูตรการอบรมทักษะการปฏิบัติงานเรือดำน้ำเบื้องต้น เปิดการอบรม ตั้งแต่ วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึง วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ 
โดยมี พลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ เป็นนายทหารควบคุมหลักสูตร มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน ๑๕๐ นาย ประกอบด้วย 
กำลังพลที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกำลังพลประจำเรือดำน้ำ ๙๒ นาย ฝ่ายอำนวยการรบ ๒๔ นาย ครูฝึก ๑๖ นาย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่าม ๑๐ นาย กำลังพลสมทบจากกองเรือดำน้ำ ๖ นาย และ กำลังพลสมทบจากกรมแพทย์ทหารเรือ 2 นาย

Facebook page "กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ" กลับมา post ใหม่ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ หลังจากไม่มีความเคลื่อนไหวมาหลายปี กิจกรรมแรกคือการจัดงานวันเรือดำน้ำเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๕ และการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีของกองเรือดำน้ำครั้งที่๒ วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕
ในส่วนของการฝึกช่วยเหลือและกู้ภัยเรือดำน้ำบนเรือหลวงอ่างทอง นั้นเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นภาพชุดหนีภัยจากเรือดำน้ำ(Submarine Escape Immersion Equipment) แบบ SEIE Mk11 ที่จัดหาจำนวน ๒๐ชุด ราคา ๗,๔๘๔,๐๐๐บาท ราคาต่อหน่วย ๓๗๔,๒๐๐บาท ปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ชุดหนีภัยจากเรือดำน้ำ SEIE Mk11 เป็นชุดหนีภัยมาตรฐานตะวันตก ที่จัดหาแยกจากโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จีน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกำลังพลประจำเรือดำน้ำและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องของกองทัพเรือไทย ที่มีพิธีการปิดการอบรมหลักสูตร เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕

อย่างไรก็ตามปัญหาที่ผ่านมาทั้งสถานการณ์โรคระบาดในจีน และการที่เยอรมนีปฏิเสธการส่งมอบเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 ทำให้กำหนดการส่งมอบเรือดำน้ำ S26T ลำแรกแก่กองทัพเรือไทยถูกเลื่อนออกไปหลายครั้ง ล่าสุดจะไม่เร็วไปกว่าปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026) เป็นอย่างน้อย
โดยวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา คณะกรรมการฝ่ายเทคนิค กรมอู่ทหารเรือ อร. ได้ส่งสรุปผลรายงานเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 ที่จีนเสนมมาทดแทนเครื่องยนต์ MTU 396 เยอรมนีให้คณะเสนาธิการทหารเรือแล้ว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยผลสรุปเรื่องนี้ต่อสาธารณะ
จากข่าวลือคือกรมอู่ทหารเรือมีเวลาและเครื่องมือที่จำกัดในการทดสอบเครื่องยนต์จึงไม่สามารถชี้ชัดเมื่อนำไปใช้งานในทะเลหรือปฏิบัติงานจริงได้ หมายความว่าไม่แนะนำให้ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 แต่ถ้ายกเลิกโครงการ S26T นี่จะเป็นความพยายามการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายของไทยครับ




Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate (pictured) has participated exercise Kakadu 2022 at Northern Australian Exercise area, Darwin, Australia during 12-24 September 2022.




Coast Guard Squadron (CGS), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy final two T.91 class Coastal Patrol Craft, T.98 and T.99 and Amphibious and Combat Support Service Squadron (ACSSS), RTF, RTN YTM-854 HTMS Rang tug boat are decommissioned from 1 October 2022. (Royal Thai Navy)

กองเรือยุทธการ ประกอบพิธีทำบุญ ร.ล.รัง ก่อนปลดระวางประจำการ
วันที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. พล.ร.ต.อาภา  ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ กองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีทำบุญ ร.ล.รัง ก่อนปลดระวางประจำการ 
เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่เรือ ที่ได้ปฏิบัติราชการให้กับ ทร. มาอย่างยาวนาน ซึ่ง ทร. ได้เสนอขออนุมัติปลดระวางประจำการ ร.ล.รัง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 
สำหรับ ร.ล.รัง เป็นเรือประเภทเรือลากจูงขนาดกลาง ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 5 มี.ค.24  รวมระยะเวลาประจำการทั้งสิ้น 41 ปี ระหว่างการประจำการของ ร.ล.รัง ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ อาทิเช่น 
สนับสนุนการเข้าเทียบ-ออกจากเทียบ ให้กับเรือ ทร. ที่ปฏิบัติราชการในพื้นที่ ทรภ.1 ทรภ.2 และทรภ.3 สนับสนุนการลากจูงเรือประมงต่างชาติที่ถูกจับกุมเนื่องจากลุกล้ำเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย  และสนับสนุนการลากจูงเรือต่างๆ เพื่อเข้ารับการซ่อมทำที่อู่ของ ทร. เป็นต้น

กองทัพเรือไทยได้ส่งเรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุยเดช ซึ่งเป็นเรือรบผิวน้ำที่มีสมรรถนะสูงที่สุดในขณะนี้ของไทยเข้าร่วมการฝึกผสมทางเรือ Kakadu 2022 ที่ Darwin ออสเตรเลีย ร่วมกับมิตรประเทศจาก ๒๐ประเทศ นับเป็นการอวดธงและแสดงถึงศักยภาพของกองทัพเรือไทยต่อนานาชาติได้อย่างดี
ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ นี้ กองทัพเรือไทยได้ปลดระวางประจำการเรือลงหลายลำ เช่น เรือตรวจการใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 สองลำสุดท้าย เรือ ต.98 และเรือ ต.99 ที่มีระยะเวลาประจำการถึงปัจจุบัน ๓๗ปี และ ๓๔ปี ตามลำดับ
และเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงริ้น เรือหลวงรัง (854) ที่ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๔(1981) พร้อมกับ ร.ล.ริ้น (853) รวมระยะเวลาประจำการทั้งสิ้น ๔๑ปี แต่จากที่งบประมาณกลาโหมในส่วนกองทัพเรือที่จำกัดมาหลายปี การจัดหาเรือใหม่มาทดแทนจึงทำได้ช้าครับ




Thailand Royal Thai Navy has signed contract for Elbit Systems Hermes 900 land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) on 21 September 2022. 




พิธีลงนามในสัญญาซื้อขายอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง ในวันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม
วันที่ 21 กันยายน 2565 พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ และ Mr. Nissim Assaf Cohen ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด ( Business Development and Marketing Director) บริษัท Elbit Systems Ltd. 
ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาซื้อขายอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง ระหว่าง กองทัพเรือ กับ บริษัท Elbit Systems Ltd. รัฐอิสราเอล ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ  
โดยสัญญาดังกล่าว เป็นการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งแบบ HERMES 900 ในการปฏิบัติการเพื่อรักษาสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย และคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเลเข้า - ออกประเทศไทยให้ได้อย่างต่อเนื่อง  
โดยใช้ในการตรวจการณ์พื้นน้ำ พิสูจน์ทราบ ชี้เป้าพ้นระยะขอบฟ้า และโจมตีเป้าหมายได้ตามขีดความสามารถของระบบอาวุธ รวมทั้งช่วยเหลือในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายทางทะเล 
การบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายตลอดจนสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลโดยติดตั้งประจำ ณ ทัพเรือภาคต่าง ๆ 
ตามที่ ทร. จะกำหนด ในวงเงินรวมไม่เกิน 4,070,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี   ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 – 2568 ซึ่งระบบดังกล่าวได้ถูกใช้งานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กว่า 10 ประเทศ 
ได้แก่ อิสราเอล ชิลี เม็กซิโก โคลัมเบีย บราซิล สวิสเซอแลนด์ แคนาดา ฟิลิปปินส์ ไอซ์แลนด์ กรีซ สิงคโปร์ และ UN

Hermes 900 กับภารกิจทางทะเล ...UAV กำลังกลายเป็นพาหนะสำคัญสำหรับการดำเนินการค้นหาและกู้ภัย
ปัจจุบันมีภัยธรรมชาติในทะเลหลายรูปแบบเช่นภัยจากคลื่นซึนามิ การเกิดพายุในทะเล และสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดการอัปางของเรือต่างๆเช่นเรือประมง และเรือสินค้าเป็นต้น การช่วยเหลือจึงต้องมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน การใช้ UAV จึงมีประโยขน์สูงสุด 
ทั้งการตรวจการณ์ และการส่งลงด้วยแพชูชีพกู้ภัย เมื่อเทียบกับการเข้าถึงพื้นที่แบบอื่นๆ เช่นเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และเรือ ที่สำคัญคือ UAV จะมีการส่งภาพและวิดีโอมาให้เห็นได้แบบ Real Time ที่จะสามารถวิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที
ในด้านการติดตามค้นหาช่วยเหลือและกู้ภัยนั้น Hermes 900 นับว่ามีจุดเด่น คือการปฏิบัติภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางทะเล (SAR) ระยะไกลได้ โดยสามารถบรรทุกแพชูชีพได้ถึง 4 ลำ ที่ใต้ปีกทั้งสองข้าง หรือช่องที่ใต้ลำตัว 
โดยแพนี้มีหลังคาสำหรับกันแดดมาด้วย พร้อมสิ่งของยังชีพสำหรับประทังชีวิตเมื่ออยู่ในทะเลเป็นเวลานาน ทุ่นระบุตำแหน่งและอุปกรณ์ส่องสว่าง แต่ละแพสามารถบรรทุกผู้ประสบภัยได้ 6 คน  
เรดาร์และกล้อง EO/IR ที่มีความคมชัดรวมความสามารถในการตรวจจับและระบุตัวตน และดำเนินการคำนวณจุดดรอปอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถส่งแพชูชีพจากระดับความสูง 600 ฟุตไปยังตำแหน่งที่ระบุในระยะที่ปลอดภัยจากผู้รอดชีวิต 
เมื่อแพถึงพื้นน้ำมันจะกางออก พร้อมกับระบบเติมลมอัตโนมัติทำงาน สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที 
Hermes 900 สามารถทำงานได้ในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน อย่างต่อเนื่องกว่า 24 ชั่วโมง สิ่งเหล่านี้นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญของอย่างหนึ่งของ Hermes 900 ด้วย




Royal Thai Air Force (RTAF) Saab Gripen C/D of 701st Squadron and Saab 340 Erieye AEW&C(Airborne Early Warning and Control) of 702nd Squdron show their performance at 40th anniversary of founding Wing 7 Surat Thani on 15 September 2022. (Wing 7, Royal Thai Air Force)

เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 Erieye AEW&C และเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๗ บ.ล.๑๗ Saab 340B ฝูงบิน๗๐๒ ได้แสดงสมรรถนะในพิธีวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ ๔๐ปี กองบิน๗
เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานชุดคำสั่งรุ่น MS20 หลังจากที่ล่าช้าจากสถานการณ์การระบาด Covid-19 ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/gripen-ms20.html)
การปรับปรุง บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D MS20 ของกองทัพอากาศไทยยังน่าจะรวมถึงแผนการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MBDA Meteor ด้วย โดยก่อนหน้านี้เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดทำให้กองทัพอากาศไทยไม่สามารถสั่งซื้อในจำนวนมากพอที่บริษัท MBDA จะเปิดสายการผลิตให้ครับ




Thai Aviation Industries (TAI) has completed capabilities improvement programme for Royal Thai Air Force (RTAF) Lockheed Martin C-130H Hercules tactical transport aircrafts. (Thai Aviation Industries/Royal Thai Air Force)

โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H)ของกองทัพอากาศ
26 กันยายน 2565 พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) ณ โรงซ่อมอากาศยาน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ดอนเมือง                                              
กองทัพอากาศได้มอบหมายให้ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI) ดำเนินการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) จำนวน 4 รายการ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2565 ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วตามกรอบเวลาที่กำหนด 
โดยมีงานถอดเปลี่ยนจอแสดงผลในห้องนักบิน (Multi-function Display : MFD) จำนวน 8 เครื่อง เครื่องละ 4 จอ และมีจอแสดงผลไว้สำรอง จำนวน 4 จอ รวมทั้งหมด 36 จอ , 
งานปรับปรุงระบบป้องกันการชนระหว่างอากาศยาน (Traffic Alert and Collision Avoidance System Version 7.1 : TCAS7.1) และติดตั้งระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ (Automatic Dependent Surveillance–Broadcast : ADS-B) จำนวน 4 เครื่อง , 
งานถอดเปลี่ยน Center Wing Upper and Lower Rainbow Fitting ทั้งด้านซ้ายและขวา จำนวน 8 เครื่อง และการซ่อมใหญ่ ชุด Quick Engine Change (QEC) ให้มีความสมบูรณ์ และมีสภาพพร้อมใช้งาน จำนวน 28 ชุด 
นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ ให้มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานอีกด้วย
ผลจากการปรับปรุงขีดความสามารถในครั้งนี้ ทำให้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) มีเครื่องวัดประกอบการบินและเครื่องช่วยเดินอากาศที่ทันสมัยมากขึ้น ตอบสนองเทคโนโลยีการบินและข้อกำหนดในปัจจุบัน 
อีกทั้งโครงสร้างของเครื่องบินได้รับการปรับปรุงให้มีความแข็งแรง และได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล 
ซึ่งกองทัพอากาศจะสามารถใช้งานเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

ตามพิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ณ โรงซ่อมอากาศยาน บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ ที่ผ่าานมา
โดยมีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H จำนวน ๘เครื่อง จากทั้งหมด ๑๒เครื่องในฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ที่ผ่านการปรับปรุง ในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖ ที่เริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ นั้นจะมีการปรับปรุงอีก ๔เครื่อง ทำให้ บ.ล.๘ C-130H ทั้ง ๑๒เครื่องจะใช้งานได้ไม่ต่ำกว่าอีก ๑๐ปีข้างหน้า
ตามสมุดปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) กองทัพอากาศไทยควรจะเริ่มการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน C-130H แล้ว แต่จาการตัดงบประมาณกลาโหมต่อเนื่องหลายปี ทำให้ต้องให้ลำดับความสำคัญโครงการที่จำเป็นที่สุดคือเครื่องบินขับไล่ F-35 ครับ