วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

อากาศยานไร้คนขับ ATIL DP16 UAV ไทยประสบความสำเร็จการปล่อยระเบิดนำวิถี








Thailand's Defence Technology Institute (DTI) announced Thai firm Aero Technology Industry Company Limited (ATIL)'s DP16 Unmanned Aerial Vehicle (UAV) was successfully to drop two small laser guided bombs without warhead on targets. (ATIL/DTI)



ครั้งแรกของไทย !!!
การทดสอบปล่อยระเบิดจริงแบบนำวิถีด้วยแสงเลเซอร์  ไม่ติดหัวรบ (Warhead) จากอากาศยานไร้คนขับ DP16 UAV

บริษัท แอร์โร เทคโนโลยี อินดัสทรี จำกัด (ATIL) หนึ่งในบริษัทร่วมทุน สทป. การทดสอบทิ้งระเบิดแบบนำวิถีด้วยแสงเลเซอร์  ไม่ติดหัวรบ (Warhead) จากอากาศยานไร้คนขับ DP16 UAV จำนวน 2 ลูก พร้อมบินขึ้นไปที่ความเร็ว 130 กม./ชม. 
โดยมีเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 2 กม. ในแนวระดับและจากระยะความสูงประมาณ 6,000 ฟุต หรือ 2 กม. จากระดับพื้น โดยระยะทำการของจรวดดังกล่าวนั้นสามารถพุ่งเข้าสู่เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งใช้ระยะเวลาเข้าสู่เป้าหมายอยู่ที่ 25 วินาที

ขอบคุณภาพจาก บริษัท แอร์โร เทคโนโลยี อินดัสทรี จำกัด (ATIL)

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute) ได้ประกาศความสำเร็จของอากาศยานไร้คนขับ DP16 UAV(Unmanned Aerial Vehicle) ที่พัฒนาโดยบริษัท Aero Technology Industry Company Limited(ATIL) ไทย
ในการทิ้งระเบิดนำวิถีโดย laser แบบที่ไม่ติดหัวรบ(warhead) จำนวน ๒ลูก โจมตีเป้าหมายที่ห่างออกไป 2km ขณะทำการบินที่ความเร็ว 130km/h ความสูง 6,000ft. โดยระเบิดนำวิถีทั้งสองลูกใช้เวลาโคจรเข้าสู่เป้าหมายภายใน ๒๕วินาที และประสบความสำเร็จในการพุ่งชนสองเป้าหมาย

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI ไทยประกาศข่าวความสำเร็จล่าสุดของตนในสื่อสังคม Online ของตนเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) และเผยแพร่วีดิทัศน์การทดสอบตามมาสื่อสังคม Online ของตนในวันต่อมาวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖
DTI ไทย และบริษัท ATIL ไทย ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวอาวุธที่ใช้กับอากาศยานไร้คนขับ DP16 UAV แต่จากภาพที่ปรากฎระบุได้ว่าเป็นระเบิดนำวิถีด้วย laser ขนาดเล็กที่ไม่มีระบบขับเคลื่อนตัวซึ่งเป็นระบบที่จีนพัฒนาโดยถ่ายทอดวิทยาการให้กับไทย

บริษัท ATIL ไทย ซึ่งเป็นกลุ่มร่วมทุนระหว่างบริษัท Beihang UAS Technology จีน กับ DTI ไทย และบริษัท PYN INTERNATIONAL ไทยได้เปิดตัวแบบจำลองขนาดเท่าของจริง(mockup) ของอากาศยานไร้คนขับของตน คืออากาศยานไร้คนขับแบบ DP20-A, DP20 และ DP16 
ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022 ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) โดยในงานจะเห็น DP16 UAV ติดตั้งอาวุธนำวิถีสองนัดที่ตำบลตัวเครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-atil-dp-20a-uav.html)  

DTI ไทย และ ATIL ไทยยังมีความคืบหน้าในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง DP20 UAS(Unmanned Aircraft System) สำหรับความต้องการของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/dti-dp20-uas.html)
เช่นเดียวกับอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) แบบ DP6 สำหรับกองทัพบกไทยแข่งขันกับ RV Connex PATHUM 4(Aeronautics  Orbiter 4 VTOL)(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/dp6-pathum-4.html)

ความสำเร็จในการปล่อยระเบิดนำวิถี laser จากอากาศยานไร้คนขับ ATIL DP16 UAV เป็นความพยายามล่าสุดในการพัฒนาอากาศยานรบไร้คนขับติดอาวุธ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ภายในประเทศไทย ต่อจากการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Thales FFLMM ยุโรป
เข้ากับอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลางติดอาวุธ RTAF U1-M(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html) กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่มีการทดสอบไปแล้ว แต่ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าผลการทดสอบไม่เป็นที่น่าพอใจนัก

อากาศยานไร้คนขับ DP16 UAV มีความยาว 6m สูง 1.2m และมีปีกกว้าง 10m ทำความเร็วได้สูงสุดที่ 180km/h ความเร็วการบินปฏิบัติการ 120-150km/h เพดานบินเดินทาง 3,000-4,000ft. มีระยะเวลาปฏิบัตินาน ๖ชั่วโมง น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) 360kg 
ภารกรรมบรรทุก(payload) สูงสุด 80kg สามารถติดตั้งระบบตรวจจับเช่นกล้อง EO/IR(Electro-Optical/Infrared) ได้ โดยปัจจุบันรองรับการติดตั้งอาวุธนำวิถี ๒นัดที่ตำบลอาวุธจุดแข็งที่โคนปีกทั้งสองข้าง ในอนาคตอาจจะเพิ่มตำบลอาวุธที่จุดแข็ง ๓จุดใต้เครื่องรวมเป็น ๕นัดครับ